ทฤษฎีการเรียนรู้และทักษะทางการคิด
ทฤษฎีการเรียนรู้ ประกอบด้วย พฤติกรรมนิยม (Behaviorism) ปัญญานิยม (Cognitivism) การสร้างสรรค์องค์ความรู้ด้วยปัญญา (Constructivism)
ทฤษฎี หลักการ และแนวคิดเกี่ยวกับ “การคิด” จากต่างประเทศเกี่ยวกับการคิด ทฤษฎี หลักการ และแนวคิดที่สำคัญ ๆ ในเรื่องนี้มีดังนี้ (ทิศนา แขมมณี 2540)
ตารางเปรียบเทียบการใช้ทฤษฎีต่างๆ
ทฤษฎี | องค์ประกอบ |
การคิดตามหลักพุทธธรรม | วิธีคิดแบบสืบสาวหาเหตุผล, วิธีคิดแบบแยกส่วนประกอบ, วิธีคิดแบบสามัญลักษณ์หรือไตรลักษณ์, วิธีคิดแบบอริยสัจ/คิดแบบแก้ปัญหา, วิธีคิดแบบคิดตามหลักการ, วิธีคิดแบบเห็นคุณโทษและทางออก, วิธีคิดแบบรู้คุณค่าแท้-คุณค่าเทียม, วิธีคิดแบบเร้าคุณธรรม, วิธีคิดแบบอยู่กับปัจจุบัน, วิธีคิดแบบวิภัชชวาท |
เคมป์ kemp. 1985 : 11-12 Leith เลธ Dwyer ดวายเยอร์ | 1.ความต้องการด้านการเรียนของผู้เรียน 2.หัวเรื่อง/ภารกิจ จุดมุ่งหมาย 3.ลักษณะผู้เรียน 4.เนื้อหาวิชา การวิเคราะห์ผู้เรียน 5.จุดมุ่งหมายการเรียนการสอน 6.กิจกรรมการเรียนการสอน 7.ทรัพยากรการเรียนการสอน 8.สิ่งอำนวยความสะดวก 9.การประเมินผลการเรียน 10.การทดสอบก่อนเรียน |
ADDIE | 1. Analysis (การวิเคราะห์) 2.Design (การออกแบบ) 3. Development (การพัฒนา) 4.Implementation (การนำไปใช้) 5. Evaluation (การประเมินผล) |
ดิคและคาเรย์ Dick and Carey. 1985 | 1.กำหนดผล(จุดมุ่งหมาย)ของการสอน 2.การพัฒนาการสอน 3.การประเมินการเรียนการสอน |
รูปแบบการพัฒนาการสอนของสถาบันการสอน | 1.การให้ความหมาย (Define) สิ่งต่างๆ เกี่ยวกับการสอน -การกำหนดปัญหา Identify Problem -การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม Analyze Setting -การจัดการ Organize Management 2.การพัฒนา (Develop) -กำหนดจุดมุ่งหมาย Identify Objectives -กำหนดวิธีการ Specify Methods -การสร้างสื่อต้นแบบ Construct Prototypes 3.การประเมิน (Evaluate) -สร้างต้นแบบทดสอบ Test Prototypes -การวิเคราะห์ผล Analyze Results -การนำไปใช้/การทบทวน Implement/Recycle |
การพัฒนาระบบการสอน IPISD | การวิเคราะห์ การออกแบบ การพัฒนา การนำไปใช้ การควบคุม |
โยนิโสมนสิการ พระธรรมปิฎก 2539 | 1. สืบสาวเหตุปัจจัย 2.แยกแยะส่วนประกอบ 3.สามัญสัญลักษณ์ 4.อริยสัจ 5.อรรถสัมพันธ์ 6.คุณโทษและทางออก 7.รู้คุณค่าแท้-คุณค่าเทียม 8.เร้าคุณธรรม 9.อยู่กับปัจจุบัน 10.วิภัชชวาท |
อริยสัจ 4 | 1.กำหนดปัญหา (ทุกข์) 2.ตั้งสมมติฐาน (สมุทัย) 3.การทดลองและเก็บข้อมูล (นิโรธ) 4.วิเคราะห์ข้อมูลและสรุปผล (มรรค) |
ทฤษฎีการศึกษาพิพัฒนาวาท จอห์น ดิวอี้ John Dewey, วิลเลียม คิลแพทริก William Kilpatrick, จอห์น ไชล์ดส์ John Childs | 1.การศึกษาคือชีวิต 2.การศึกษาควรจัดให้สอดคล้องกับความสนใจของผู้เรียน โดยถือผู้เรียนเป็นสำคัญ 3.การเรียนรู้โดยวิธีการแก้ปัญหา ควรจะได้รับการเน้นมากกว่าการมุ่งสอนเนื้อหาวิชา 4.บทบาทของครูควรจะเป็นที่ปรึกษามากกว่าเป็นผู้กำกับการเรียนการสอนหรือเป็นผู้ออกคำสั่ง 5.โรงเรียนควรส่งเสริมความร่วมมือมากกว่าการแข่งขัน 6.วิถีชีวิตและค่านิยมประชาธิปไตยควรได้รับการเน้นเป็นพิเศษ |
บลูม (Bloom, 1961) | การรู้ขั้นความรู้ การรู้ขั้นเข้าใจ การรู้ขั้นวิเคราะห์ การรู้ขั้นสังเคราะห์ และการรู้ขั้นประเมิน |
เลวิน (Lewin) นักทฤษฎีกลุ่มเกสต์ตัลท์ (Gestalt) | ความคิดของบุคคลเกิดจากการรับรู้สิ่งเร้า ซึ่งบุคคลมักรับรู้ในลักษณะภาพรวมหรือส่วนรวมมากกว่าส่วนย่อย |
ทอแรนซ์ (Torrance, 1962) | องค์ประกอบของความคิดสร้างสรรค์ว่าประกอบไปด้วย ความคล่องแคล่วในการคิด (Fluency) ความยืดหยุ่นในการคิด (Flexibility) และความคิดริเริ่มในการคิด (Originality) |
ออซูเบล (Ausubel, 1964) | เป็นผลเนื่องมาจากการปะทะสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับสิ่งแวดล้อม โดยบุคคลพยายามปรับตัวโดยใช้กระบวนการดูดซึม (Assimilation) และกระบวนการปรับให้เหมาะ (Accommodation) โดยการพยายามปรับความรู้ ความคิดเดิมกับสิ่งแวดล้อมใหม่ ซึ่งทำให้บุคคลอยู่ในภาวะสมดุล สามารถปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมได้ |
บรูเนอร์ (Bruner, 1965) | เด็กเริ่มต้นเรียนรู้จากการกระทำ ต่อไปจึงจะสามารถจินตนาการ สร้างภาพในใจ หรือในความคิดขึ้นได้ แล้วจึงถึงขั้นการคิดและเข้าใจในสิ่งที่เป็นนามธรรม |
กาเย่ (Gagne, 1965) | 1) ทักษะทางปัญญา (Intellectual Skills) ซึ่งประกอบด้วยทักษะย่อย 4 ระดับ คือ การจำแนกแยกแยะ การสร้างความคิดรวมยอด การสร้างกฎ และการสร้างกระบวนการหรือกฎขั้นสูง 2) กลวิธีในการเรียนรู้ (Cognitive Strategies) ซึ่งประกอบด้วยกลวิธีการใส่ใจ การรับและทำความเข้าใจข้อมูล การดึงความรู้จากความทรงจำ การแก้ปัญหา และกลวิธีการคิด 3) ภาษา (Verbal Information) 4) ทักษะการเคลื่อนไหว (Motor Skills) 5) เจตคติ (Attitude) ทฤษฎีการเรียนรู้ 8 ขั้น การจูงใจ ( Motivation Phase) การคาดหวังของผู้เรียนเป็นแรงจูงใจในการเรียนรู้ การรับรู้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ (Apprehending Phase) ผู้เรียนจะรับรู้สิ่งที่สอดคล้องกับความตั้งใจ การปรุงแต่งสิ่งที่รับรู้ไว้เป็นความจำ ( Acquisition Phase) เพื่อให้เกิดความจำระยะสั้นและระยะยาว ความสามารถในการจำ (Retention Phase) ความสามารถในการระลึกถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว (Recall Phase ) การนำไปประยุกต์ใช้กับสิ่งที่เรียนรู้ไปแล้ว (Generalization Phase) การแสดงออกพฤติกรรมที่เรียนรู้ ( Performance Phase) การแสดงผลการเรียนรู้กลับไปยังผู้เรียน ( Feedback Phase) |
กิลฟอร์ด (Guilford, 1967) | 1) ด้านเนื้อหา (Contents) หมายถึง วัตถุ/ข้อมูลที่ใช้เป็นสื่อก่อให้เกิดความคิด ซึ่งมีหลายรูปแบบ เช่น อาจเป็นภาพ เสียง สัญลักษณ์ ภาษา และพฤติกรรม 2) มิติด้านปฏิบัติการ (Operations) หมายถึง กระบวนการต่าง ๆ ที่บุคคลใช้ในการคิด ซึ่งได้แก่การรับรู้และเข้าใจ (Cognition) การจำ การคิดแบบอเนกนัย การคิดแบบเอกนัย และการประเมินค่า 3) มิติด้านผลผลิต (Products) หมายถึง ผลของการคิด ซึ่งอาจมีลักษณะเป็นหน่วย (Unit) เป็นกลุ่มหรือพวกของสิ่งต่าง ๆ (Classes) เป็นความสัมพันธ์ (Relation) เป็นระบบ (System) เป็นการแปลงรูป (Transformation) และการประยุกต์ (Implication) ความสามารถทางการคิดของบุคคล เป็นผลจากการผสมผสานมิติด้านเนื้อหาและด้านปฏิบัติการเข้าด้วยกัน |
ลิปแมน และคณะ (Lipman, 1981) | ความคิดเชิงปรัชญาเป็นสิ่งที่ขาดแคลนมากในปัจจุบัน เราจำเป็นต้องสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ (Community of Inquiry) ที่ผู้คนสามารถร่วมสนทนากันเพื่อแสวงหาความรู้ความเข้าใจทางการคิด ปรัชญาเป็นวิชาที่จะช่วยเตรียมให้เด็กฝึกฝนการคิด |
คลอสไมเออร์ (Klausmier, 1985) | การประมวลผลข้อมูล (Information Processing) การคิดมีลักษณะเหมือนการทำงานของคอมพิวเตอร์ คือ มีการนำข้อมูลเข้าไป (Input) ผ่านตัวปฏิบัติการ (Processor) แล้วจึงส่งผลออกมา (Output) กระบวนการคิดของมนุษย์มีการรับข้อมูล มีการจัดกระทำและแปลงข้อมูลที่รับมา มีการเก็บรักษาข้อมูล และมีการนำข้อมูลออกมาใช้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ กระบวนการเกิดขึ้นในสมองไม่สามารถสังเกตได้โดยตรง แต่สามารถศึกษาได้จากการอ้างอิง หรือการคาดคะเนกระบวนการนั้น |
สเติร์นเบอร์ก (Sternberg, 1985) สามศร Triarchich | ทฤษฎีย่อยด้านบริบทสังคม (Contexual Subtheory) ซึ่งอธิบายถึงความสามารถทางสติปัญญาที่เกี่ยวข้องกับบริบททางสังคมและวัฒนธรรมของบุคคล และทฤษฎีย่อยด้านประสบการณ์ (Experiential Subtheory) ซึ่งอธิบายถึงผลของประสบการณ์ที่มีต่อ ความสามารถทางปัญญารวมทั้งทฤษฎีย่อยด้านกระบวนการคิด (Componential Subtheory) ซึ่งเป็นความสามารถทางสติปัญญาที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการคิด ปรัชญาการสร้างความรู้ การเรียนรู้เป้นกระบวนการที่เกิดขึ้นภายในบุคคลๆเป็นผู้สร้างความรู้จากการสัมพันธ์สิ่งที่พบเห็นกับความรู้ความเข้าใจที่มีอยู่เดิม |
ปรัชญาการสร้างความรู้ (Constructivism) | การเรียนรู้เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นภายในบุคล บุคลเป็นผู้สร้าง (Construct) ความรู้จากการสัมพันธ์สิ่งที่พบเห็นกับความรู้ ความเข้าใจที่มีอยู่เดิม เกิดเป็นโครงสร้างทางปัญญา (Cognitive Structure) |
การ์ดเนอร์ (Gardner ,1993) | เป็นผู้บุกเบิกแนวคิดใหม่เกี่ยวกับสติปัญญาของมนุษย์ คือ ทฤษฎีพหุปัญญา (Multiple Intelligences) ซึ่งแต่เดิม ทฤษฎีทางสติปัญญามักกล่าวถึงความสามารถเพียงหนึ่งหรือสองด้าน แต่การ์ดเนอร์เสนอไว้ถึง 8 ด้าน ได้แก่ ด้านดนตรี ด้านการเคลื่อนไหวร่างกายและกล้ามเนื้อ ด้านการใช้เหตุผลเชิงตรรกะและคณิตศาสตร์ ด้านภาษา ด้านมิติสัมพันธ์ ด้านการสัมพันธ์กับผู้อื่น ด้านการเข้าใจตนเอง และด้านการเข้าใจในธรรมชาติ |
หมวก 6 ใบ เอ็ดเวอร์ด เดอ โบโน | 1.หมวกสีขาว ข้อมูลเบื้องต้นของสิ่งนั้น 2.หมวกสีแดง ความรู้สึก สัญชาตญาณ 3.หมวกสีดำ ข้อควรคำนึงถึง สิ่งที่ทำให้เราเห็นว่าเราไม่ควรทำ 4.หมวกสีเหลือง การคาดการณ์ในทางบวก ความคิดเชิงบวก 5.หมวกสีเขียว ความคิดนอกกรอบทีมีความสัมพันธ์กับความคิดสร้างสรรค์ 6.หมวกสีน้ำเงิน การควบคุม และการบริหารกระบวนการคิด 1.สร้างความตระหนัก 2.ระดมพลังความคิด 3.สร้างสรรค์ชิ้นงาน 4.นำเสนอผลงาน 5.วัดประเมินผล 6.เผยแพร่ผลงาน |
สมาคมสื่อสารและเทคโนโลยีการศึกษาแห่งสหรัฐอเมริกา (Association forEducational Communications and Technology :AECT) ได้ใช้การแบ่งขอบข่ายเทคโนโลยีการศึกษาตามที่ Seels and Richey (1994) | 1) การออกแบบ (design) 1.1 การออกแบบระบบการสอน (instructional systems design) 1.2 ออกแบบสาร (message design) 1.3 กลยุทธ์การสอน (instructional strategies) 1.4 ลักษณะผู้เรียน (learner characteristics) 2) การพัฒนา (development) 2.1 เทคโนโลยีสิ่งพิมพ์ (print technologies) 2.2 เทคโนโลยีโสตทัศนูปกรณ์ (audiovisual technologies) 2.3 เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ (computer-based technologies) 2.4 เทคโนโลยีบูรณาการ (integrated technologies) 3) การใช้ (Utilization) 3.1 การใช้สื่อ (media utilization) 3.2 การแพร่กระจายนวัตกรรม (diffusion of innovations) 3.3 วิธีการนำไปใช้ และการจัดการ (implementation and institutionalization) 3.4 นโยบาย หลักการและกฎระเบียบข้อบังคับ (policies and regulations) 4) การจัดการ (management) 4.1 การจัดการโครงการ (project management) เ 4.2 การจัดการแหล่งทรัพยากร (resource management) 4.3 การจัดการระบบส่งถ่าย (delivery system management) 4.4 การจัดการสารสนเทศ (information management) 5) การประเมิน (evaluation) 5.1 การวิเคราะห์ปัญหา (problem analysis) 5.2 เกณฑ์การประเมิน (criterion-referenced measurement) 5.3 การประเมินความก้าวหน้า (formative evaluation) 5.4 การประเมินผลสรุป (summative evaluation) |
ขอบข่ายตามแนวตั้ง แนวนอน และแนวลึกของเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (ชัยยงค์ พรหมวงศ์, 2537:138) | แนวตั้ง (1)การจัดการ การพัฒนาและการออกแบบระบบทางการศึกษา (2)พฤติกรรมการเรียนการสอน (3)วิธีการสอน (4) สื่อสารการศึกษา (5) สภาพแวดล้อมทางการศึกษา (6) การจัดการด้านการเรียนการสอน และ(7)การประเมินการศึกษา แนวนอน (1) การศึกษาในระบบโรงเรียน จำแนกตามระดับการศึกษาระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา และอุดมศึกษา (2) การศึกษานอกระบบโรงเรียน (3) การฝึกอบรม และ(4) การศึกษาทางไกล |
แนวคิดวิธีการระบบ System Approach | 1.การวิเคราะห์ 2.การออกแบบ 3.การพัฒนา 4.การทดลองใช้ 5.การประเมินผล |
การจัดการโครงการ | 1.การวางแผน 2.การวิเคราะห์ 3.การออกแบบ 4.การพัฒนา 5.การดำเนินการ 6.การประเมินผล |
ผลกระทบเทคโนโลยีสารสนเทศ | ด้านวิถีการดำเนินชีวิต ด้านสังคมเมืองและชนบท ด้านการดำเนินธุรกิจ ด้านสังคมและเศรษฐกิจ ด้านกฎหมายศีลธรรมและจริยธรรม ด้านสุขภาพ ด้านการศึกษา |
Topical Trends | Podcasting, Mobile learning, Online Communities, Blogs, Social Networking Tools, Second Life Games, Wikis, Open Source |
การจัดการเรียนการสอนแบบ CIPPA MODEL มี 5 แนวคิด | 1) การสร้างสรรค์ความรู้ (Contructivism) 2)กระบวนการกลุ่มและการเรียนแบบร่วมมือ (Group Process and Cooperative Learning) 3)ความพร้อมในการเรียนรู้ (Learning Readiness) 4)การเรียนรู้กระบวนการ (Process Learning) 5)การถ่ายโอนการเรียนรู้ (Transfer of Learning) |
พัฒนาการทางสติปัญญา เพียเจต์ Piaget 1964 | 1.ระยะการแก้ปัญหาด้วยการกระทำ Sensorimotor Stage 2.ขั้นเตรียมสำหรับความคิดที่มีเหตุผล (Preparational Stage 3.ขั้นการคิดอย่างมีเหตุผลเชิงรูปธรรม (Concrete Operational Stage 4.ขั้นการคิดอย่างมีเหตุผลเชิงนามธรรม (Formal Operational Stage |
พัฒนาการทางสติปัญญา บรุนเนอร์ Bruner 1965 | 1.Enactive Stage แก้ปัญหาด้วยการกระทำ 2.Iconic Stage การแก้ปัญหาด้วยการรับรู้ 3.Symbolic Stage พัฒนาสูงสุดทางด้านความรู้และความเข้าใจ |
ทอแรนซ์ กล่าวว่า ความคิดสร้างสรรค์ | ขั้นที่ 1 การพบความจริง (Fact – Finding) ในขั้นนี้เริ่มตั้งแต่ความรู้สึกกังวล มีความสับสน วุ่นวาย เกิดขึ้นในจิตใจ แต่ไม่สามารถบอกได้ว่าเป็นอะไร จากจุดนี้ก็พยายามตั้งสติ และหาข้อมูลพิจารณาดูว่าความยุ่งยาก วุ่นวาย สับสน หรือสิ่งที่ทำให้กังวลใจนั้นคืออะไร ขั้นที่ 2 การค้นพบปัญหา ( Problem – Finding) ขั้นนี้เกิดต่อจากขั้นที่ 1 เมื่อได้พิจารณาโดยรอบคอบแล้ว จึงเข้าใจและสรุปว่า ความสับสนวุ่นวายนั้นก็คือ การเกิดปัญหานั่นเอง ขั้นที่ 3 การตั้งสมมติฐาน ( Idea – Finding ) ขั้นนี้ต่อจากขั้นที่ 2 เมื่อรู้ว่ามีปัญหาเกิดขึ้นก็จะพยายามคิดและตั้งสมมติฐาน และรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ เพื่อนำไปใช้ในการทดสอบสมมติฐานในขั้นที่ 3 ขั้นที่ 4 การค้นพบปัญหา ( Solution – Finding) ในขั้นนี้จะพบคำตอบจากการทดสอบสมมติฐานในขั้นที่ 3 ขั้นที่ 5 ยอมรับผลจากการค้นพบ ( Acceptance – finding) ขั้นนี้เป็การยอมรับคำตอบที่ได้จากการพิสูจน์เรียบร้อยแล้ว่าน่าจะแก้ปัญหาให้สำเร็จได้อย่างไร แต่ต่อจากจุดนี้การแก้ปัญหาหรือการค้นพบยังไม่จนตรงนี้ แต่ผลที่ได้จากการค้นพบจะนำไปสู่หนทางที่จะทำให้เกิดแนวคิดหรือสิ่งใหม่ต่อไปที่เรียกว่า New Challent |
ออซูเบล (Ausubel , David 1963) | 1. การเรียนรู้โดยการรับอย่างมีความหมาย (Meaningful Reception Learning) 2. การเรียนรู้โดยการรับแบบท่องจำโดยไม่คิดหรือแบบนกแก้วนกขุนทอง (Rote Reception Learning) 3.การเรียนรู้โดยการค้นพบอย่างมีความหมาย (Meaningful Discovery Learning) 4. การเรียนรู้โดยการค้นพบแบบท่องจำโดยไม่คิดหรือแบบนกแก้วนกขุนทอง (Rote Discovery Learning) |
ประมวลข้อมูลเกี่ยวกับการคิดของไทย | 1.การสังเกต การเปรียบเทียบ การจำแนกแยกแยะ การขยายความ การแปลความ การตีความ การจัดกลุ่ม/หมวดหมู่ การสรุป ฯลฯ 2.คิดกว้าง คิดถูก คิดคล่อง คิดรอบคอบ 3.กระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ กระบวนการแก้ปัญหา กระบวนการแก้ปัญหา กระบวนการคิดริเริ่มสร้างสรรค์ การสังเกต คิดผิด-คิดถูก กระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ การเปรียบเทียบ คิดสั้น-คิดยาว/คิดไกล กระบวนการคิดแก้ปัญหา การตั้งคำถาม คิดแคบ-คิดกว้าง กระบวนการคิดริเริ่มสร้างสรรค์ การแปลความหมาย คิดรอบคอบ คิดทบทวน กระบวนการตัดสินใจ การตีความหมาย คิดคล่อง คิดไว กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ การขยายความ คิดอย่างมีเหตุผล กระบวนการศึกษาวิจัย การอ้างอิง คิดหลากหลาย กระบวนการปฏิบัติ การคิดคะเน คิดละเอียดลออ การสรุป คิดเป็น การสร้าง |
ทิศนา แขมมณี และคณะ (2540) | 1.มิติด้านข้อมูลหรือเนื้อหาที่ใช้ในการคิด 2.มิติด้านคุณสมบัติที่เอื้ออำนวยต่อการคิด 3. มิติด้านทักษะการคิด 4.มิติด้านลักษณะการคิด 5.มิติด้านกระบวนการคิด 6.มิติด้านการควบคุมและประเมินการคิดของตน |
ทักษะการคิด | 1.พื้นฐาน ได้แก่ การฟัง การใช้ความรู้ การจำ การอธิบาย การอ่าน การทำความกระจ่าง การรับรู้ การบรรยาย การเก็บความรู้ การพูด การดึงความรู้ การเขียน การจำได้ การแสดงออก 2.พื้นฐานทั่วไป ได้แก่ ทักษะการสังเกต การระบุ การสำรวจ การจำแนกความแตกต่าง การตั้งคำถาม การจัดลำดับ การรวบรวมข้อมูล การเปรียบเทียบ การจัดหมวดหมู่ การอ้างอิง การตีความ การแปลความ การเชื่อมโยง การขยายความ การใช้เหตุผล การสรุปความ 3. ทักษะการคิดขึ้นสูง ได้แก่ การนิยาม การวิเคราะห์ การผสมผสาน การจัดระบบ การสร้าง การจัดโครงสร้าง การปรับโครงสร้าง ทักษะการหาแบบแผน การหาความเชื่อพื้นฐาน ทักษะการทำนาย การตั้งสมมติฐาน การทดสอบแบบสมมติฐาน การกำหนดเกณฑ์ ทักษะการพิสูจน์ การประยุกต์ |
(Convington, Crutchfield, Davies, and Olton, 1974) | 1. การระบุปัญหา (Identifying Problems) 2. การนิยาม (Defining Problems) 3. การเสนอทางเลือก (Explaining Alternatives) 4. การวางแผนดำเนินการ (Acting on a plan) 5. การศึกษาผล (Looking at the Effects) |
รูปแบบ/กระบวนการสอนที่เน้น/ส่งเสริมกระบวนการคิด | รูปแบบ/กระบวนการสอนที่เน้น/ส่งเสริมกระบวนการคิดจากต่างประเทศ 1) รูปแบบการสอนแบบอุปนัยของจอยส์และเวลล์ (Inductive Thinking) 2) รูปแบบการสอนแบบซักค้านของจอยส์และเวลล์ (Jurisprudential Inquiry Model) 3) รูปแบบการสอนแบบสืบสวนสอบสวนของจอยส์และเวลล์ (Inquiry Model) 4) รูปแบบการสอนแบบให้มโนทัศน์ล่วงหน้าของจอยส์ (Advance Organizer) 5) รูปแบบการสอนมโนทัศน์ของจอยส์และเวลล์ (Concept Attainment) 6) รูปแบบการสอนเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ตามแนวคิดของวิลเลียมส์ 7) การคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของ Center for Critical Thinking, Sonoma State University 8) รูปแบบการสอนของกานเย่ (Gagne) 9) รูปแบบการคิดอย่างมีวิจารณญาณของเอนนิส (Ennis) 10) รูปแบบการคิดแก้ปัญหาอนาคตของทอแรนซ์ (Torrance) 11) รูปแบบการคิดอย่างมีวิจารณญาณของเดรสเซลและเมย์ฮิว(Dressel,and Mayhew) 12) การพัฒนากระบวนการคิดของเดอโบโน (Edward De Bono) ฯลฯ
รูปแบบ/กระบวนการสอนของไทยที่เน้น/ส่งเสริมกระบวนการคิด 1) รูปแบบการสอนตามขั้นทั้ง 4 ของอริยสัจ โดย สาโรช บัวศรี 2) ระบบการเรียนการสอบแบบสืบสวนสอบสวนตามแนวพุทธศาสตร์ โดย วีระยุทธ วิเชียรโชติ 3) รูปแบบการสอนโดยสร้างศรัทธาและโยนิโสมนสิการ โดย สุมน อมรวิวัฒน์ 4) รูปแบบการสอนความคิด ค่านิยม จริยธรรม และทักษะ โดย โกวิท ประวาลพฤกษ์ 5) ทักษะกระบวนการ โดย กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ 6) กระบวนการวิทยาศาสตร์ โดย สสวท. 7) กระบวนการคิดเป็น โดย โกวิท วรพิพัฒน์ 8) “กระบวนการคิดเป็นเพื่อการดำรงชีวิตในสังคมไทย” โดยหน่วยศึกษานิเทศก์ กรมสามัญศึกษา 9) กระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ โดย เพ็ญพิศุทธิ์ เนคมานุรักษ์ 10) กระบวนการเกิดความสำนึกและการเปลี่ยนแปลงความสำนึก โดย เมธี ปิลันธนานนท์ 11) รูปแบบการสอนคณิตศาสตร์ตามแนวคิดของทฤษฏีคอนสตรัคติวิสต์ โดย ไพจิต สะดวกการสอนให้คิด คิดให้สอน โดย ชาตรี สำราญ ฯลฯ |
ไทเลอร์ (Tylor) | ความต่อเนื่อง (continuity) หมายถึง ในวิชาทักษะ ต้องเปิดโอกาสให้มีการฝึกทักษะในกิจกรรมและประสบการณ์บ่อยๆ และต่อเนื่องกัน |
ข้อคิด การคิดแก้ปัญหา | 1.การระบุปัญหาไม่ถูกต้อง 2.ขอบเขตของปัญหากว้างเกินไป 3.กำหนดวิธีการแก้ปัญหาก่อนที่จะวิเคราะห์ปัญหาอย่างจริงจัง 4.ลืมคนที่ใกล้ชิดปัญหามากที่สุด 5.ปัญหานั้นเกินกำลังความสามารถ 6.ไม่คิดแบบใหม่ 7.ขาดเกณฑ์ที่ดีในการตัดสินใจ 8.ข้อมูลน้อยเกินไป 9.หลงประสบการณ์ 10.หลงวิชาการ 11.ใช้อารมณ์ไม่ใช้เหตุผล 12.ขาดการประเมิน |
แนวคิดการคิดแก้ปัญหา Peter Tugwell 1983 | 1.การประเมินสถานการณ์เป็นการวิเคราะห์ถึงสภาพ ขอบเขต ขนาดของปัญหา 2.การค้นหาต้นเหตุของปัญหาเป็นการศึกษาถึงต้นเหตุหรือปัจจัยของปัญหา 3.การค้นหาวิธการแก้ปัญหาเป็นการแสวงหาแนวทางและทางเลือกที่เหมาะสมในการแก้ปัญหานั้นๆ เพ่อการประเมินหาทางเลือกที่เหมาะสมที่สุด 4.การดำเนินการแก้ปัญหาเป็นการเลือกโดยการประเมินวิธีการเพื่อทำให้เกิดประโยชน์สูงสุด 5.การควบคุมกำกับการดำเนินการเป็นการติดตามผลการปฏิบัติเป็นระยะๆ เพื่อให้สามารถแก้ปัญหาที่เกิดได้ |
ชาร์ลและคณะ Charles and others 1987:7-11 | 1.การพัฒนาทักษะความคิด 2.เลือกและใช้กลยุทธ์ในการแก้ปัญหา 3.พัฒนาเจตคติและความเชื่อที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับการแก้ปัญหา 4.ใช้ความรู้ที่เกี่ยวข้อง 5.ปรับปรุงแก้ไขและประเมินความคิด ความก้าวหน้าในขณะแก้ปัญหา 6.การแก้ปัญหาในสถานการณ์การเรียนแบบร่วมมือ 7.หาคำตอบที่ถูกต้องจากปัญหาแบบต่างๆ |
การสอนแบบแก้ปัญหา Problem Solving Method | 1.กำหนดปัญหา 2.วิเคราะห์ปัญหา 3.สมมติฐาน 4.เก็บรวบรวมข้อมูล 5.วิเคราะห์ข้อมูล 6.สรุปผล |
รูปแบบโมเดลการแก้ปัญหา Problem Solving Method (Learning and Skill Development Agency 2005:1 | 1.ระบุปัญหา 2.การวางแผนแก้ปัญหา 3.วางแผนและออกแบบ 4.ดำเนินการตามแผน 5.ตรวจสอบการแก้ปัญหา 6.นำไปใช้ |
การพัฒนาทักษะกระบวนการแก้ปัญหา Rolya 1957:v | 1.ทำความเข้าใจปัญหา 2.วางแผนแก้ปัญหา 3.ดำเนินการตามแผน 4.ตรวจสอบผลเฉลยหรือมองย้อนกลับ |
การแก้ปัญหาแบบเชิงเส้น Wilson 1993:57-75 | 1.อ่านปัญหา 2.พิจารณา 3.วางแผน 4.ดำเนินการ 5.ตรวจสอบคำตอบ |
การคิดแก้ปัญหา สเตนิช Stanish กระบวนการฝึกทักษะการคิดแก้ปัญหา | 1.ตระหนักรู้ 2.ค้นหาสาเหตุหรือรวบรวมข้อมูล 3.กำหนดปัญหา 4.แนวทางการแก้ปัญหา 5.ค้นหาข้อสรุปและเลือกวิธีการแก้ปัญหา 6.ยอมรับข้อสรุปและดำเนินการ |
การวิเคราะห์ผู้เรียน แอนโทนี เอฟ กราชา และไรช์แมน 1980 | 1.แบบอิสระ 2.แบบหลีกเลี่ยง 3.แบบร่วมมือ 4.แบบพึ่งพา 5.แบบแข่งขัน 6. แบบมีส่วนร่วม |
การวิเคราะห์ผู้เรียน คอล์บ | แบบคิดทางเดียว แบบช่างคิด แบบเจ้าหลักการ แบบนักปฏิบัติ |
แฮรีสและเลล์ 1990 | 1.เน้นกิจกรรม 2.เน้นการคิดไตร่ตรอง 3.เน้นหลักการและเหตุผล 4.เน้นการปฏิบัติจริง |
โฮเวิร์ด การ์ดเนอร์ Howard Gardner.1983 | 1.ปัญญาด้านภาพและมิติ 2.ด้านคำศัพท์และภาษา 3.ด้านตรรกะและคณิตศาสตร์ 4.ด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว 5.ด้านดนตรี 6.ด้านตัวตนตนตนเอง 7.ด้านมนุษยสัมพันธ์ |