วันจันทร์ที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2557

การพัฒนาระบบสารสนเทศการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา

การพัฒนาระบบสารสนเทศการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาโรงเรียนบ้านบักดอก
อำเภอปราสาท  จังหวัดสุรินทร์
Developing the Information System of Internal Quality Assurance ,Bakdok school, Prasat DistrictSurin Province
พิมพ์ขวัญ  งามศิริ,1 จุฑาพร  บุญวรรณ  2
Pimkwan Ngamsiri,1  Juthaporn Boonwan2
1นิสิตระดับปริญญาโทสาขาการบริหารการศึกษาคณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
2อาจารย์ดร. ที่ปรึกษาการศึกษาค้นคว้าอิสระ
1students graduate degree in Educational Administration, Faculty of Education, Mahasarakham University.
 
2Dr. Advisor Independent Study.


บทคัดย่อ

             การดำเนินการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของโรงเรียนบ้านบักดอก อำเภอปราสาท  จังหวัดสุรินทร์  ให้มีประสิทธิภาพ โดยใช้หลักการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ตามกรอบกระบวนการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาตามวงจรการพัฒนาระบบสแตร์ 5 กรอบกลยุทธ์ที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ได้แก่  การประชุมเชิงปฏิบัติการ และการนิเทศภายใน กลุ่มผู้ร่วมศึกษาค้นคว้าและผู้ให้ข้อมูลจำนวน 12 คนได้แก่ กลุ่มผู้ร่วมศึกษาค้นคว้า จำนวน 11 คน และกลุ่มผู้ให้ข้อมูล จำนวน 1 คน ประกอบด้วยผู้ศึกษาค้นคว้า   ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านบักดอก   ครูโรงเรียนบ้านบักดอก   จำนวน  8  คนครูหัวหน้างานด้านการประกันคุณภาพ  จำนวน 1 คน  ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้ที่มีความรู้และเชี่ยวชาญทางด้านระบบสารสนเทศการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา จำนวน 1 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่  แบบบันทึกการประชุมเชิงปฏิบัติการ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง แบบสังเกตแบบมีโครงสร้าง แบบบันทึกการนิเทศภายใน แบบประเมินการใช้โปรแกรมและแบบวัดความพึงพอใจ ตรวจสอบข้อมูลด้วยวิธีการสามเส้า วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพจากเอกสารเชิงปริมาณใช้สถิติพื้นฐานค่าเฉลี่ย นำเสนอผลการศึกษาค้นคว้า ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยตารางและข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยวิธีพรรณนา
           ผลการศึกษาค้นคว้า พบว่า การพัฒนาระบบสารสนเทศการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาโรงเรียนบ้านบักดอก อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ ทำให้ได้ระบบสารสนเทศการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของโรงเรียนบ้านบักดอก อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ ที่มีประสิทธิภาพรวดเร็วสมบูรณ์เป็นปัจจุบันและสืบค้นง่าย

คำสำคัญ : การพัฒนาระบบสารสนเทศ, การประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา,
              การวิจัยเชิงปฏิบัติการ

ABSTRACT

             
The purpose of this study is to develop Information system development  quality assurance ,Banbakdok school, Prasat DistrictSurin Province. To be effective. Using action research principles. By the process development cycle, quality assurance in education by developing a Terre five strategic framework for the study of this question. Workshop. And Supervision. Study group participants and contributors in 12 patients, including a study group of 11 people and the number one people comprised the study. Banbakdok school,  director. School teacher at Banbakdok school, 8 teachers, supervisors, quality assurance 1 person contributors include people with knowledge and expertise in information systems and quality assurance study of one of the instruments used to collect data. question. Form workshop. A structured interview. Structured observation. Supervision records. Evaluating the use and satisfaction. To check the data centers. Quantitative analysis of qualitative data from the statistics, the average. Present study. Quantitative data with qualitative data with tables and descriptive.
           The study found that the development of information systems for quality assurance in education,
Banbakdok school, Prasat DistrictSurin Province .Make information systems for quality assurance in education of the Banbakdok school, Prasat DistrictSurin Province. Powerful, fast, complete, current, and easily searched.

Key words:   Information systems development, Quality assurance in education,.
     Action research.

บทนำ
              การปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ.๒๕๕๒-๒๕๖๑) มุ่งเน้นเป้าหมายหลักคือการพัฒนาคุณภาพการศึกษาการพัฒนาคุณภาพการศึกษาจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องบริหารจัดการในเชิงคุณภาพโดยมีการประกันคุณภาพการศึกษาเป็นกลไกลสำคัญที่จะส่งเสริมและผลักดันให้กระบวนการทำงานในทุกระดับและบุคลากรที่เกี่ยวข้องดำเนินไปอย่างต่อเนื่องเป็นระบบมุ่งหน้าไปในทิศทางเดียวกันเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของการปฏิรูปการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพโดยอาศัยหลักการวิธีการบริหารและการจัดการเชิงคุณภาพ (Quality Management) สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพุทธศักราช 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่2) พุทธศักราช 2545กำหนดไว้ในหมวด 6 มาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษามาตรา 47 ให้มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาทุกระดับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ..2542 ได้กำหนดไว้ชัดเจนในหมวด6 เรื่องมาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษามาตรา47ว่าให้มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา (กระทรวงศึกษาธิการ.2553 : 1-3 )
           ดังนั้นการประกันคุณภาพการศึกษาจึงเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้เกี่ยวข้องทุกคนจะได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพจากสถานศึกษาซึ่งเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบและพัฒนาความรู้ความสามารถและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามมาตรฐานการศึกษาที่กำหนดในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างเต็มศักยภาพสอดคล้องกับมาตรา 48 ระบุว่า การประกันคุณภาพภายในเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการการจัดการศึกษาที่สถานศึกษาต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องสถานศึกษาถือเป็นหน่วยงานที่สำคัญอย่างหนึ่งที่มีความรับผิดชอบโดยตรงต่อการจัดการศึกษาการนำข้อมูลจากสถานศึกษาไปใช้เพื่อการบริการหรือการปฏิบัติงานการจัดการศึกษาจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่สถานศึกษาจะต้องมีระบบสารสนเทศซึ่งประกอบด้วยสารสนเทศที่สมบูรณ์เป็นปัจจุบัน สะดวกรวดเร็ว เรียกใช้ง่ายทันสมัยมีข้อมูลเป็นปัจจุบันครอบคลุมทุกตัวชี้วัดในแต่ละมาตรฐานคุณภาพการศึกษาที่กำหนดจึงเป็นการส่งเสริมให้โรงเรียนสามารถพัฒนาคุณภาพได้ตามมาตรฐานที่กำหนดอันจะนำไปสู่การได้รับรองคุณภาพตามระบบประกันคุณภาพการศึกษาภายนอกรอบต่อไป (กระทรวงศึกษาธิการ.2553 : 4-6 )
            จุดมุ่งหมายของการพัฒนาระบบสารสนเทศการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาคือการที่สถานศึกษาร่วมกันพัฒนาปรับปรุงคุณภาพให้เป็นไปตามมาตรฐานการศึกษาโดยเป้าหมายที่สำคัญอยู่ที่การพัฒนาคุณภาพให้เกิดขึ้นกับผู้เรียนระบบสารสนเทศการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารจัดการและการทำงานของบุคลากรทุกคนในสถานศึกษาโดยสถานศึกษาจะต้องวางแผนพัฒนาและแผนปฏิบัติการที่มีเป้าหมายชัดเจนทำตามแผนสามารถตรวจสอบประเมินผลและพัฒนาปรับปรุงระบบสารสนเทศอย่างต่อเนื่องมีความโปร่งใสและมีจิตสำนึกในการพัฒนาคุณภาพการทำงาน ในปัจจุบันระบบสารสนเทศมีความสำคัญและความจำเป็นอย่างยิ่งในการดำเนินงานของหน่วยงานต่างๆไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานรัฐบาลหรือเอกชนโดยอาศัยกระบวนข้อมูลข่าวสารที่มีอยู่มาจัดการบริหารโดยใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการดำเนินงานประหยัดทั้งเวลางบประมาณและบุคลากรที่มีจำนวนจำกัดระบบสารสนเทศการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาเพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาโรงเรียนบ้านบักดอก อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) เพื่อให้การจัดการมีข้อมูลสารสนเทศการประกันคุณภาพการศึกษาภายในโรงเรียนอย่างเป็นระบบถูกต้องมีประสิทธิภาพรวดเร็วสมบูรณ์เป็นปัจจุบันและสืบค้นง่ายโดยนำระบบดังกล่าวมาใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนส่งผลให้ผู้เรียนมีความรู้ตามมาตรฐานคุณภาพการศึกษาช่วยให้บุคลากรในสถานศึกษาได้เข้าใจและมีความตระหนักถึงประโยชน์ของการประกันคุณภาพได้อย่างชัดเจนและถูกต้องสามารถวางแผนการดำเนินงานในการพัฒนาปรับปรุงคุณภาพการศึกษาต่อไป (แนวทางการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. 2553 : 19-21 )
                       
การดำเนินการศึกษาค้นคว้า
               การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้  ใช้หลักการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) ตามแนวคิดของ เคมมิส และแม็กแท็กการ์ท ( Kemmis  and  McTaggart. 1988 : 14 ) โดยดำเนินการตามขั้นตอน 4 ขั้นตอน ดังนี้  1)  การวางแผน ( Planning 2)  การปฏิบัติ ( Action ) 3) การสังเกต
( Observation )  4) การสะท้อนผล ( Reflection)

เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า
                         เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ ได้แก่ แบบบันทึกการประชุมเชิงปฏิบัติการ แบบบันทึกการนิเทศภายใน  แบบสังเกตแบบมีโครงสร้าง แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างแบบประเมินการใช้โปรแกรม และแบบวัดความพึงพอใจ

การจัดกระทำและการวิเคราะห์ข้อมูล
           1.  ข้อมูลสภาพปัจจุบันปัญหาของระบบสารสนเทศตามมาตรฐานการศึกษา 5 ด้าน 15 มาตรฐาน 65 ตัวบ่งชี้โดยใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล จากการดำเนินการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อศึกษาระบบสารสนเทศการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาโดยใช้วิธีการสังเกตแบบมีโครงสร้างการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างและการบันทึกการประชุมเชิงปฏิบัติการ
           2. ข้อมูลจากการวิเคราะห์ระบบเพื่อวิเคราะห์จุดแข็งจุดอ่อน วิธีแก้ไขปัญหาและนำข้อมูลไปจัดทำข้อมูลระบบสารสนเทศตามมาตรฐานการศึกษาจากการดำเนินการประชุมเชิงปฏิบัติการโดยใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการจากการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างและการบันทึกการประชุมเชิงปฏิบัติการ
               3. ข้อมูลจากการออกแบบระบบเพื่อให้ได้โปรแกรมการพัฒนาระบบสารสนเทศการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาตามมาตรฐานการศึกษา 5 ด้าน 15 มาตรฐาน 65 ตัวบ่งชี้จากการดำเนินการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อการออกแบบระบบโดยใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการจากการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง การสังเกตแบบมีโครงสร้าง การบันทึกการประชุมเชิงปฏิบัติการและการประเมินการใช้โปรแกรม
           4. ข้อมูลจากการนำระบบไปใช้เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจความสามารถและมีทักษะในการใช้โปรแกรมการพัฒนาระบบสารสนเทศการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาจากการดำเนินการนิเทศภายในโดยผู้เชี่ยวชาญด้านโปรแกรมจากภายในโรงเรียนบ้านบักดอกทำหน้าที่คอยช่วยเหลือให้คำแนะนำปรึกษาด้านการใช้โปรแกรมในการกรอกข้อมูลโดยใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง การสังเกตแบบมีโครงสร้างการบันทึกการนิเทศภายใน การประเมินการใช้โปรแกรมและการวัดความพึงพอใจ
           5. ข้อมูลจากการดูแลรักษาและตรวจสอบระบบเพื่อให้เข้าใจขั้นตอนและวิธีการดูแลรักษา การตรวจสอบระบบและป้อนข้อมูลให้ใช้งานได้จากการดำเนินการนิเทศภายในโดยผู้เชี่ยวชาญด้านโปรแกรมจากภายในโรงเรียนบ้านบักดอกโดยใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และการบันทึกการนิเทศภายใน
           6.  นำผลการศึกษาค้นคว้าไปหาข้อสรุปและปรับปรุงเป็นข้อมูลในการพัฒนาระบบ
สารสนเทศการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาโรงเรียนบ้านบักดอกมาจัดหมวดหมู่ข้อมูลตามขอบเขตการศึกษาค้นคว้า แล้วสรุปผลการศึกษาค้นคว้าและเขียนรายงาน


ผลการศึกษาค้นคว้า
           การศึกษาค้นคว้าในครั้งนี้ ได้ดำเนินงานตามกระบวนการพัฒนาระบบ 5 ขั้นตอน ได้แก่
การศึกษาระบบ การวิเคราะห์ระบบ การออกแบบระบบ การนำระบบไปใช้ และการดูแลรักษาและตรวจสอบระบบ โดยใช้กลยุทธ์ในการพัฒนา ได้แก่ การประชุมเชิงปฏิบัติการ และการนิเทศภายใน
สามารถสรุปผลได้ดังนี้
            1. ขั้นตอนการศึกษาระบบ ปรากฏว่า ได้ทราบถึงสภาพปัญหาการพัฒนาระบบสารสนเทศการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาโรงเรียนบ้านบักดอกตามมาตรฐานการศึกษา 5 ด้าน 15 มาตรฐาน 65 ตัวบ่งชี้ระบบสารสนเทศการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาในด้านต่างๆ ยังไม่เป็นระบบ ข้อมูลสารสนเทศไม่มีประสิทธิภาพ ล่าช้า ไม่มีการสรุปและนำไปใช้ได้ตามต้องการ ข้อมูลอ้างอิงเกณฑ์มาตรฐานการศึกษาไม่สอดคล้องกันและไม่เป็นปัจจุบันปัญหาที่พบมากคือ ขาดผู้รับผิดชอบ ข้อมูลไม่สมบูรณ์ไม่ตรงประเด็นตามตัวบ่งชี้และขาดความเป็นปัจจุบันมีการประมวลผลด้วยมือ แฟ้มงานกระจัดกระจายตามกลุ่มงานต่าง ๆ  จำเป็นต้องมีการปรับปรุงแก้ไขเป็นการด่วน
           2. ขั้นตอนการวิเคราะห์ระบบ ปรากฏว่าการวิเคราะห์ระบบทำให้ทราบจุดอ่อนจุดแข็งของงานสารสนเทศการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนอย่างแท้จริงจุดแข็งของการพัฒนาระบบสารสนเทศการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาโรงเรียนบ้านบักดอกโรงเรียนได้ดำเนินการจัดทำโครงการต่อเนื่องที่ตรงกับตัวบ่งชี้ตามราย มาตรฐาน และแบ่งหน้าที่บุคลากรรับผิดชอบแต่ละมาตรฐานจุดอ่อน ของระบบ คือการรวบรวมและสรุปข้อมูลความสำคัญและความจำเป็นในการใช้ข้อมูลแต่ละประเภท การนำมาใช้ได้ยังไม่เป็นปัจจุบันและทันต่อเหตุการณ์
           3. ขั้นการออกแบบระบบ กลุ่มผู้ร่วมศึกษาค้นคว้าทุกคนให้ความสนใจเป็นอย่างดี เห็นความสำคัญในการออกแบบโปรแกรมการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาให้มีความถูกต้องสมบูรณ์ เป็นปัจจุบัน สะดวกรวดเร็วในการสืบค้นสามารถเรียกใช้ได้ทันที มีความทันสมัย เป็นระบบสามารถนำเข้าข้อมูลและจัดเก็บข้อมูลสะดวกรวดเร็วทั้ง 5 ด้าน 15 มาตรฐาน 65 ตัวบ่งชี้ โปรแกรมเป็นระบบกึ่งอัตโนมัติออกแบบจากโปรแกรม Microsoft Office Excel ในการประเมินมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาที่มีคู่มือในการใช้งานที่เข้าใจง่าย
          4. ขั้นตอนการนำระบบไปใช้ ปรากฏว่า การใช้ระบบเดิมร่วมกับระบบใหม่ทำให้ได้ข้อมูลสารสนเทศตรงกับความต้องการของผู้ใช้ ระบบใหม่ใช้การประมวลผลอย่างเป็นรูปแบบ ผู้รับผิดชอบหรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง สามารถศึกษาการใช้งานและปฏิบัติงานได้ ทำให้การปฏิบัติงานระบบประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ได้ข้อมูลสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพและเหมาะสมยิ่งขึ้นจากผลการประเมินความเหมาะสมด้านเนื้อหาของโปรแกรมการพัฒนาระบบสารสนเทศการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาตามมาตรฐานการศึกษา 5 ด้าน 15 มาตรฐานของโรงเรียนบ้านบักดอก  ปรากฏว่า ผลการประเมินการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อการพัฒนาระบบสารสนเทศการพัฒนาการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาโดยกลุ่มผู้ร่วมศึกษาค้นคว้าและผู้ให้ข้อมูล ค่าเฉลี่ยโดยรวม 4.46 มีระดับความเหมาะสมมาก         
            5.  ขั้นตอนการดูแลรักษาและการตรวจสอบระบบ ปรากฏว่า กลุ่มผู้ร่วมศึกษาค้นคว้ามีความรู้ความเข้าใจขั้นตอนและวิธีการดูแลรักษาการตรวจสอบระบบและป้อนข้อมูลให้ใช้งานได้ การจัดระบบบริหารและสารสนเทศมีความจำเป็นอย่างมากในปัจจุบัน การดำเนินงานมีจัดเก็บและรวบรวมข้อมูลเป็นระบบมากขึ้นมีการพัฒนาที่ดีขึ้น มีผู้รับผิดชอบชัดเจนโดยมีการแต่งตั้งผู้รับผิดชอบดูแลรักษาโปรแกรม กำหนดวิธีการป้องกันรักษาข้อมูลโดยการจัดเก็บเป็นไฟล์ต่างๆเพื่อไม่ให้ข้อมูลในระบบสูญหายเมื่อต้องการเรียกใช้งานใหม่ทุกครั้งการตรวจสอบการใช้ระบบจะต้องมีการกำหนดระยะเวลาในการตรวจสอบให้ชัดเจน รวมถึงการป้องกันไวรัสและสำรองข้อมูลทุก 2 เดือนและการตรวจสอบระบบควรให้ครอบคลุมในเรื่อง การจัดเก็บข้อมูลตรงตามต้องการ การทำงานของระบบมีประสิทธิภาพ การปรับปรุงแก้ไข และพัฒนาระบบให้สามารถใช้งานได้ดีตลอดเวลาแต่ยังมีกลุ่มผู้ร่วมศึกษาบางคนที่ยังไม่เกิดความชำนาญในการใช้ระบบ และต้องได้รับการพัฒนาในวงรอบที่ 2 ต่อไป
              จากผลการดำเนินงานตามกระบวนการพัฒนาในวงรอบที่ 2 การพัฒนาระบบสารสนเทศการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาผู้ศึกษาค้นคว้าและกลุ่มผู้ร่วมศึกษาค้นคว้าได้พัฒนาตามกลยุทธ์การประชุมเชิงปฏิบัติการ การนิเทศภายใน พบว่า การดำเนินการในวงรอบที่ 2 ขั้นการนำระบบไปใช้ ปรากฏว่า กลุ่มผู้ร่วมศึกษาค้นคว้า มีความสามารถและทักษะสามารถใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการจัดเก็บข้อมูลได้ และเข้าใจระบบสารสนเทศการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาได้อย่างถูกต้อง ชัดเจนขึ้นมากและมีทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ดีขึ้น สามารถลงมือปฏิบัติได้จริง ป้อนข้อมูล การเรียกใช้ข้อมูลได้รวดเร็วและถูกต้องผลการประเมินการใช้โปรแกรมโดยกลุ่มผู้ร่วมศึกษาและกลุ่มผู้ให้ข้อมูลมีระดับความเหมาะสมมากที่สุดและผู้เชี่ยวชาญด้านโปรแกรมมีระดับความเหมาะสมมากที่สุดและผลการวัดความพึงพอใจในการใช้โปรแกรมมีระดับความพึงพอใจมากที่สุด ขั้นการดูแลรักษาและตรวจสอบระบบปรากฏว่าครูมีความเข้าใจขั้นตอนและวิธีการดูแลรักษาระบบและป้อนข้อมูลให้ใช้งานได้ตรงตามกำหนดมีผลสะท้อนในการพัฒนา ดังนี้ 1) ครูมีความสามารถใช้งานโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา 2) ครูสามารถกรอกข้อมูลได้ถูกต้องและส่งตรงตามกำหนดเวลา
           จากผลการพัฒนาระบบสารสนเทศการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาทั้ง 2 วงรอบ ทำให้ผู้ศึกษาค้นคว้าและผู้ร่วมศึกษาค้นคว้าสามารถใช้ระบบสารสนเทศการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาได้ดี ทำให้โรงเรียนบ้านบักดอกมีระบบสารสนเทศการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาที่ครอบคลุม มีความทันสมัย การจัดเก็บและการประมวลผลได้ถูกต้อง สะดวกในการใช้งานและรวดเร็วในการให้บริการ ส่งผลให้การบริการข้อมูลและสารสนเทศของโรงเรียนเป็นระบบที่ทันสมัย รวดเร็ว และสามารถเรียกใช้ได้ทันเวลาและทุกเวลา ทุกสถานที่ การนำระบบกึ่งอัตโนมัติมาใช้ในการบริหารงานด้านระบบสารสนเทศการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาทำให้ข้อมูลสารสนเทศมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผลอีกทั้งสารสนเทศที่ได้จากระบบมีความถูกต้อง สมบูรณ์ เป็นปัจจุบันและเรียกใช้ได้สะดวกมากขึ้น



อภิปรายผล


           การพัฒนาระบบสารสนเทศการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา โรงเรียนบ้านบักดอก อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ โดยใช้กลยุทธ์ในการพัฒนา คือ การประชุมเชิงปฏิบัติการ การนิเทศภายใน ทำให้การจัดเก็บข้อมูลเป็นระบบ มีความถูกต้องสมบูรณ์และเป็นปัจจุบัน สามารถนำมาวางแผนพัฒนาโรงเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ การตัดสินใจ การเรียกใช้ข้อมูล ทำได้สะดวกรวดเร็วตรงตามความต้องการของผู้ใช้ สอดคล้องกับงานวิจัยของ ณิรัชกร ทองน้อย (2550 : 148-149) ได้ศึกษาการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการประกันคุณภาพการศึกษา โรงเรียนบ้านเปลือย (สามัคคีราษฎร์ประสิทธิ์) ทั้งมาตรฐานด้านคุณภาพผู้เรียน มาตรฐานด้านการเรียนการสอน มาตรฐานด้านการบริหารและการจัดการศึกษาและมาตรฐานด้านการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ ข้อมูลยังเป็นระบบไม่เป็นปัจจุบันไม่สมบูรณ์ และข้อมูลยังเก็บไว้กับเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบเป็นส่วนใหญ่ ทำให้ไม่สะดวกในการสืบค้นข้อมูล พบว่า ได้ระบบสารสนเทศเพื่อการประกันคุณภาพการศึกษาที่มีการประมวลผลโดยใช้โปรแกรม Microsoft Access ทำให้สารสนเทศเพื่อการประกันคุณภาพการศึกษามีความถูกต้องสมบูรณ์ เป็นปัจจุบัน และสืบค้นได้ง่ายขึ้น และวีระศักดิ์ ตะหน่อง ( 2550 :  147-150 ) ได้ศึกษาการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาด้านการรายงานคุณภาพการศึกษาประจำปีโรงเรียนดอนตาลดงบังวิทยา อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี พบว่า การพัฒนาระบบการพัฒนางานประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาด้านการรายงานคุณภาพการศึกษาประจำปีโรงเรียนดอนตาลดงบังวิทยา ก่อนการพัฒนาโรงเรียนมีการเก็บรวบรวมข้อมูลพัฒนาคุณภาพการศึกษาแต่ยังไม่ครอบคลุมมีวิธีการเก็บที่ไม่เป็นระบบมีการจัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์ในการประชุมเชิงปฏิบัติการและการนิเทศภายใน พบว่า โรงเรียนมีระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ด้านการรายงานคุณภาพการศึกษาประจำปี ที่ถูกต้อง สมบูรณ์เป็นปัจจุบัน ในด้านระบบการจัดทำรายงานใช้กลยุทธ์การประชุมแบบมีส่วนร่วมอย่างสร้างสรรค์ ยังมีจุดอ่อน คือต้องปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่องและต้องมีการพัฒนาผู้ปฏิบัติงานเพื่อให้มีการพัฒนาระบบงานการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาด้านการรายงานคุณภาพการศึกษาประจำปีให้มีประสิทธิภาพ การใช้ระบบสารสนเทศการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษายังช่วยการจัดการเรียนการสอนได้ดีอีกด้วย สอดคล้องกับงานวิจัยของ สุนีย์ สอนตระกูล. (2550 : 63-65)  ได้ศึกษาการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในโรงเรียนรัตนาธิเบศร์ พบว่า ระบบการประกันคุณภาพภายในโรงเรียนรัตนาธิเบศร์ เป็นระบบที่สามารถนำมาใช้ในการเรียนการสอนตามปกติโดยได้จัดทำคู่มือครูในการประกันคุณภาพภายในเพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงาน และเพื่อให้บุคลากรในโรงเรียนมีความเข้าใจตรงกัน มีความสะดวกในการรวบรวมข้อมูล สะดวกในการวิเคราะห์ข้อมูล มีการประสานงานกันอย่างเป็นระบบ มีระบบการนิเทศติดตาม และให้คำแนะนำ และจากการได้ศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับระบบการประกันคุณภาพจากเอกสารต่างๆ ได้  การจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการแต่ละครั้งต้องมีขั้นตอนการวางแผนอย่างมีระบบ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและการแก้ไขปัญหาร่วมกัน ดำเนินการไปในทิศทางเดียวกัน งานจึงจะเกิดการพัฒนาที่รวดเร็วได้ สอดคล้องกับงานวิจัยของ สิทธิชัย อาทิตย์ตั้ง (2550 : 90-93) ได้ศึกษาการพัฒนาระบบงานการประกันคุณภาพการศึกษาภายในโรงเรียนนาทมวิทยาเป็นการดำเนินงานที่ขาดการวางแผนอย่างเป็นระบบผู้ศึกษาค้นคว้าและผู้ร่วมศึกษาค้นคว้าได้ร่วมกันวิเคราะห์สภาพปัญหาการดำเนินการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาโดยศึกษาแผนพัฒนาคุณภาพให้เกิดการเข้าใจในการปฏิบัติร่วมกัน การวิเคราะห์ระบบโดยการประชุมเชิงปฏิบัติการ การนำระบบไปใช้และการดูแลตรวจสอบระบบโดยใช้กิจกรรมการนิเทศภายในผลการศึกษาค้นคว้าพบว่าการพัฒนาระบบงานการประกันคุณภาพทำให้ได้ระบบการพัฒนาที่มีคุณภาพ มีขั้นตอนการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นได้รับความรู้มีความสามารถที่จะทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพเกี่ยวกับการปฏิบัติงานตามระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในได้อย่างครบถ้วนถูกต้อง
           จากการใช้กลยุทธ์การประชุมเชิงปฏิบัติการ การนิเทศภายใน ในการพัฒนาระบบสารสนเทศการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา โรงเรียนบ้านบักดอก อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ นั้น สามารถอภิปรายผล ดังนี้
                1. การประชุมเชิงปฏิบัติการ เป็นการเน้นการร่วมกันทำงานเพื่อฝึกการแก้ปัญหาโดยผู้เข้าประชุมทุกคนจะต้องมีส่วนร่วมลงมือปฏิบัติ การประชุมลักษณะนี้มีเป้าหมายเพื่อให้ได้อะไรซักอย่างที่เป็นผลงานอย่างเป็นรูปธรรมเป็นผลสำเร็จออกไปเป็นที่ประจักษ์สอดคล้องกับหลักการประชุมเชิงปฏิบัติการของนาฏสุดา เขมนะศิริ (2542 : 63) ได้สรุปว่า การประชุมเชิงปฏิบัติการคือ การศึกษาปัญหาต่างๆ โดยหมู่คณะ ทำให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการปรับปรุงหน่วยงาน การดำเนินการประชุมตามขั้นตอนต่อไปนี้ 1) ศึกษาสภาพปัญหา 2) วิเคราะห์สาเหตุปัญหา 3) กำหนดจุดมุ่งหมายในการแก้ปัญหาและ 4) วิธีแก้ปัญหาและทางเลือก การประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้จึงทำให้รู้ว่าโรงเรียนบ้านบักดอกมีจุดแข็ง จุดอ่อนด้านระบบสารสนเทศการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ซึ่งจะต้องนำจุดแข็งจุดอ่อนมาปรับปรุงพัฒนาการจัดการข้อมูลได้ สามารถเรียกใช้ได้สะดวก รวดเร็ว มีประสิทธิภาพ
               2. การใช้กลยุทธ์การนิเทศภายใน โดยผู้ศึกษาค้นคว้าร่วมกับผู้ร่วมศึกษาค้นคว้าได้จัดกิจกรรมการนิเทศภายใน และประเมินผลการนำโปรแกรมระบบสารสนเทศการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาไปใช้ในการจัดเก็บข้อมูลให้ตรงตามความต้องการ เพื่อการทำงานของระบบมีประสิทธิภาพ สามารถรับทราบข้อมูลปัญหาการใช้ การเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อวางแผน กำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาและดำเนินการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ได้โปรแกรมที่สมบูรณ์และมีประสิทธิภาพมากที่สุด สอดคล้องกับผลงานวิจัยของชาตรี พิมพ์ชัย (2550 : 97 – 99) ได้ศึกษาการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการประกันคุณภาพการศึกษา โรงเรียนบ้านโนนจิก อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ พบว่า ได้ดำเนินการตามขั้นตอนการพัฒนาระบบ 5 ขั้นตอน คือ การศึกษาระบบ การวิเคราะห์ระบบ การออกแบบระบบ การใช้ระบบและการดูแลรักษาและตรวจสอบระบบ โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ คือ การวางแผน การปฏิบัติ การสังเกตและการสะท้อนผลการปฏิบัติทั้ง 2 วงรอบ ตามกรอบมาตรฐานการประกันคุณภาพ 18 มาตรฐาน 84 ตัวบ่งชี้นั้น ผู้ศึกษาผู้ร่วมศึกษา ผู้ให้ข้อมูล ผู้เชี่ยวชาญด้านการเขียนโปรแกรม ได้พยายามใช้กิจกรรม เพื่อให้เกิดความสัมพันธ์และสอดคล้องในการพัฒนาระบบสารสนเทศ จากสภาพปัจจุบัน ปัญหาการดำเนินการระบบสารสนเทศเพื่อการประกันคุณภาพการศึกษา พบว่า ไม่มีระบบสารสนเทศเพื่อการประกันคุณภาพการศึกษาที่เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ การจัดเก็บข้อมูลอยู่ในรูปเอกสารที่เป็นกระดาษ ระบบสารสนเทศด้านต่าง ๆ ที่ดำเนินการเกี่ยวกับการประกันคุณภาพ ตามกรอบงานยากต่อการสืบค้น ใช้เวลานาน ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่งานประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนไม่สามารถนำสารสนเทศที่มีอยู่ไปใช้ในการวางแผนดำเนินการและตัดสินใจที่จะพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา ใช้กิจกรรม 3 กิจกรรม คือการประชุมเชิงปฏิบัติการ การมอบหมายงานให้ปฏิบัติ และการนิเทศติดตาม เมื่อมีการพัฒนาโดยการสร้างประกันคุณภาพทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านผู้บริหาร ด้านครูผู้สอน และด้านนักเรียน ถูกเก็บไว้ในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นเครื่องมือกลที่มีประสิทธิภาพและเป็นที่ยอมรับในปัจจุบัน เป็นผลให้โรงเรียนมีระบบสารสนเทศที่ทันสมัย การค้นหาสะดวกรวดเร็ว นำสารสนเทศเพื่อการประกันคุณภาพการศึกษามาใช้อย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น เป็นที่ยอมรับจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสถานศึกษาทั่วไปสอดคล้องกับงานวิจัยของสุรัตน์ แสงสว่าง ( 2552: 121-124 ) การพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสำหรับสถาบันอุดมศึกษาของกองทัพไทยดำเนินการศึกษา 2 ระยะโดยระยะที่ 1 การศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการประกันคุณภาพและแหล่งข้อมูลบุคคลที่เลือกแบบเจาะจงเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสังเกตแบบมีส่วนร่วมการสัมภาษณ์ พบว่า ระบบการประกันคุณภาพภายในเน้นการรับตรวจจาก สมศ.ขาดขั้นตอนการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพตามอัตลักษณ์สถาบัน ผลการประเมินคุณภาพจากผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นด้วยกับการนำประโยชน์ไปใช้ให้มากที่สุดและเห็นว่าระบบประกันคุณภาพภายในจะทำให้นักเรียนทหารมีอุดมการณ์ ความรู้ ทักษะที่เกี่ยวข้องกับทหารและสมรรถนะที่เป็นที่ต้องการของทหารอาชีพ และการผลวิจัยของประสิทธิ์ พ้องเสียง ( 2553: 106 ) ได้ศึกษาการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในวิทยาลัยการอาชีพโพนทอง  อำเภอโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ดตามกรอบการศึกษา 3 ด้านคือ ด้านการเตรียมการ ด้านการดำเนินการและด้านการรายงานผลการปฏิบัติงาน โดยใช้หลักการวิจัยปฏิบัติการ ใช้วงจรการพัฒนาระบบ 5 ขั้นตอนของสแตร์  ใช้กลยุทธ์การประชุมเชิงปฏิบัติการ และการนิเทศภายใน เป็นกลยุทธ์ในการพัฒนาโดยดำเนินการ 2 วงรอบ ผลการศึกษาพบว่า การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในวิทยาลัยการอาชีพโพนทองอำเภอโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด โดยใช้กลยุทธ์การประชุมปฏิบัติการและการนิเทศ ทำให้ได้ระบบประกันคุณภาพการศึกษา บุคลากรมีความตระหนัก ความรู้ ความเข้าใจในระบบการประกันคุณภาพภายในวิทยาลัย จึงควรสนับสนุนส่งเสริมให้นำกลยุทธ์การประชุมเชิงปฏิบัติการและการนิเทศภายใน ไปใช้พัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ในสถานศึกษาอื่นๆ


ข้อเสนอแนะ

            1. ข้อเสนอแนะในการนำผลการศึกษาค้นคว้าไปใช้
                1.1 ควรมีการขยายผลการดำเนินการพัฒนาบุคลากรในการประชุมเชิงปฏิบัติการและประชาสัมพันธ์ให้ครูทุกคนมาใช้บริการให้ครบทุกคนเพื่อช่วยสร้างความตระหนักในคุณค่าและความสำคัญของการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาให้แก่ครู อาจารย์และบุคคลที่เกี่ยวข้อง
                1.2 ควรจัดให้มีการประชุมเชิงปฏิบัติการแก่บุคลากรอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ทันต่อยุคการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน
                1.3 ควรจัดให้ครูทุกคนได้รับผิดชอบแต่ละมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาร่วมกัน ทุกคนจะได้เห็นความสำคัญในงานของตนเองและโรงเรียนมากขึ้น
                1.4 ในการวางแผนพัฒนาโรงเรียนบ้านบักดอก ควรนำเอาข้อมูลสารสนเทศไปประกอบในการวางแผนทุกครั้ง
            2. ข้อเสนอแนะในการศึกษาค้นคว้าครั้งต่อไป
                2.1ควรพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของระบบสารสนเทศการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา
                2.2 ควรมีการพัฒนาระบบสารสนเทศการประกันคุณภาพอย่างต่อเนื่อง
                2.3 ควรศึกษาปัญหาการพัฒนาระบบสารสนเทศการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของโรงเรียนในภาพรวม เพื่อนำข้อมูลไปใช้วางแผนพัฒนาการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาและการดำเนินการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพต่อไป


เอกสารอ้างอิง

กรมวิชาการ. (2544). การประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
            ระบบการประกันคุณภาพการศึกษา กรอบและแนวคิดการดำเนินการ. กรุงเทพฯ :
             โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
_______. (2544). การประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
           แนวทางการจัดทำระบบสารสนเทศสถานศึกษา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภา.
_______. (2539). การพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศของสถานศึกษา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภา.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). การกำหนดมาตรฐานการศึกษา : สำนักทดสอบทางการศึกษา
           สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.
_______. (2553).การจัดระบบบริหารและสารสนเทศภายในสถานศึกษา : สำนักทดสอบทาง
           การศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
_______. (2553). แนวทางการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา :
           สำนักทดสอบทางการศึกษาสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
โกวัฒน์ เทศบุตร ดร. (2545). เอกสารประกอบการสอนวิชาการ 501807 การวิเคราะห์
            และการพัฒนาระบบงาน. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม : ภาควิชาการบริหารการศึกษา
            คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
_______. (2554). ทฤษฎีระบบและการประยุกต์ใช้: ภาควิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์
               มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
เกรียงศักดิ์ พราวศรี. (2544).การจัดระบบสารสนเทศในการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานเพื่อการ
           ประเมินคุณภาพการศึกษา. กรุงเทพฯ : บุ๊คพอยท์.
จิติมา เทียมบุญประเสริฐ. (2544). ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ. กรุงเทพฯ : วี.เจพริ้นติ้ง.
ชัยวัฒน์  ถิระพันธุ์ และปาริชาต สถาปิตานนท์ ดร. (2547).หนังสือ  การประชุมอย่างสร้างสรรค์” ,
              สืบค้น http://utcc.ac.th/el/kaewta/meeting.
ณิรัชกร ทองน้อย. (2550). การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการประกันคุณภาพการศึกษา โรงเรียน
           บ้านเปลือย (สามัคคีราษฎร์ประสิทธิ์) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาร้อยเอ็ด เขต 1.
           การศึกษาค้นคว้าอิสระ กศ.ม. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ดรุพร มณีวรรณ. (2554). การพัฒนาระบบสารสนเทศงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา
            ด้านปัจจัยทางการศึกษา โรงเรียนเทศบาลพลประชานุกูล อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น.
            กศ.ม. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ทิพวรรณ หล่อสุวรรณรัตน์. (2545). ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ. กรุงเทพฯ : สถาบันบัณฑิต
            พัฒนบริหารศาสตร์.
ประสิทธิ์ พ้องเสียง. (2553). การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในวิทยาลัยการอาชีพ
           โพนทอง  อำเภอโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด. กศ.ม.การบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัย
           มหาสารคาม.
ผุสดี ยืนชีวิต. (2551). การพัฒนาระบบสารสนเทศการประกันคุณภาพ ด้านการเรียนการสอน
           โรงเรียนมัธยมหนองศาลา อำเภอแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ. การศึกษาค้นคว้าอิสระ กศ.ม.
           มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
วีรศักดิ์ ตะหน่อง. (2550). การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาด้านการรายงาน
           คุณภาพ  การศึกษาประจำปีโรงเรียนดอนตาลดงบังวิทยา อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี.
            กศ.ม การบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สุนีย์ สอนตระกูล. (2550). การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในโรงเรียนรัตนาธิเบศร์.
           วิทยานิพนธ์ ค.ม. การบริหารการศึกษา:มหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม.
สุนีย์ เหมาะประสิทธิ์. (2540). การวิจัยเชิงปฏิบัติการ," วารสารศึกษาศึกษาศาสตร์. 2(2) : 136 ;
           เมษายน- กันยายน,
สุรัตน์ แสงสว่าง. (2552). การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในสำหรับสถาบันอุดมศึกษา
           กองทัพไทย ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. การประเมินการศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สิทธิชัย อาทิตย์ตั้ง. (2550). การพัฒนาระบบงานการประกันคุณภาพการศึกษาภายในโรงเรียนนาทม
           วิทยา. การศึกษาค้นคว้าอิสระ กศ.ม. การบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
อรุณศรี  เกษกร. (2554). การพัฒนาระบบสารสนเทศการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน
           สถานศึกษา โรงเรียนวังไม้แดงพิทยาคม อำเภอประทาย จังหวัดนครราชสีมา. การศึกษา
           ค้นคว้าอิสระ กศ.ม. การบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.



วิเคราะห์และออกแบบโครงงานการออกแบบเว็บไซต์อีเลิร์นนิง

วิเคราะห์และออกแบบโครงงานการออกแบบเว็บไซต์อีเลิร์นนิงที่คาดว่าจะพัฒนาในรายวิชานี้

ชื่อเรื่อง วิชา และสาระการเรียนรู้/สาขาวิชา ของเว็บไซต์อีเลิร์นนิงที่คาดว่าจะพัฒนา
กลุ่มเป้าหมาย และวัตถุประสงค์ของการพัฒนาเว็บไซต์อีเลิร์นนิงนี้
เพื่อจะได้รู้ว่าผู้ชมหลักของเราคือใคร และออกแบบ เว็บไซต์ ให้ตอบสนองความต้องการผู้ชมกลุ่มนั้นให้มากที่สุด
วิเคราะห์และออกแบบโครงสร้างเนื้อหาของเว็บไซต์
ออกแบบกิจกรรมที่คาดว่าจะมีในเว็บไซต์ (เบื้องต้น)
ออกแบบโครงสร้างเว็บไซต์ (Site Structure)

ตัวอย่างการออกแบบหน้าจอเว็บไซต์ โดยผู้เรียนสามารถใช้ Template ที่มีอยู่แล้ว หรือบันทึกภาพหน้าจอการออกแบบของเว็บไซต์ที่มีความใกล้เคียงกับงานที่จะ พัฒนามานำเสนอได้เช่นเดียวกัน

1.โครงสร้างเว็บ
โครงสร้างเว็บไซท์ ( Site Structure ) เป็นแผนผังของการลำดับเนื้อหาหรือการจัดวางตำแหน่งเว็บเพจทั้งหมด ซึ่งจะทำให้เรารู้ว่าทั้งเว็บไซท์ประกอบไปด้วยเนื้อหาอะไรบ้าง และมีเว็บเพจหน้าไหนที่เกี่ยวข้องเชื่อมโยงถึงกัน ดังนั้นการออกแบบโครงสร้างเว็บไซท์จึงเป็นเรื่องสำคัญ เปรียบเสมือนกับการเขียนแบบอาคารก่อนที่จะลงมือสร้าง เพราะจะทำให้เรามองเห็นหน้าตาของเว็บไซท์เป็นรูปธรรมมากขึ้น สามารถออกแบบระบบเนวิเกชั่นได้เหมาะสม และเป็นแนวทางการทำงานที่ชัดเจน สำหรับขั้นตอนต่อๆไป นอกจากนี้โครงสร้างเว็บไซท์ที่ดียังช่วยให้ผู้ชมไม่สับสนและค้นหาข้อมูลที่ต้องการได้อย่างรวดเร็ว
วิธีการจัดโครงสร้างเว็บไซท์สามารถทำได้หลายแบบ แต่แนวคิดหลักๆที่นิยมใช้กันมีอยู่ 2 แบบคือ
จัดตามกลุ่มเนื้อหา ( Content-based Structure )
จัดตามกลุ่มผู้ชม ( User-based Structure )
Analysis การวิเคราะห์ (Analysis)
คือ ขั้นตอนการวิเคราะห์เป็นรากฐานสำหรับขั้นตอนการออกแบบการสอนขั้นตอนอื่นๆ   ในระหว่างขั้นตอนนี้ คุณจะต้องระบุปัญหาระบุแหล่งของปัญหา         และวินิจฉัยคำตอบที่ทำได้    ขั้นตอนนี้อาจประกอบด้วยเทคนิคการวินิจฉัยเฉพาะ  เช่น   การวิเคราะห์ความต้องการ(ความจำเป็น) , การวิเคราะห์งานการวิเคราะห์ภารกิจ    ผลลัพธ์ของขั้นตอนนี้มักประกอบด้วย เป้าหมาย (goal),  และรายการภารกิจที่จะสอน  ผลลัพธ์เหล่านี้จะถูกนำเข้าไปยังขั้นตอนการออกแบบต่อไป
รูปภาพเว็บ
การออกแบบ (Design)
คือ ขั้นตอนการออกแบบเกี่ยวข้องกับการใช้ผลลัพธ์จากขั้นตอนการวิเคราะห์ เพื่อวางแผนกลยุทธ์สำหรับพัฒนาการสอนในระหว่างขั้นตอนนี้คุณจะต้องกำหนดโครงร่างวิธีการให้บรรลุถึงเป้าหมายการสอน  ซึ่งได้รับการวินิจฉัยในระหว่างขั้นตอนการวิเคราะห์ และขยายผลสารัตถะการสอน
องค์ประกอบบางประการของขั้นตอนการออกแบบอาจจะประกอบด้วยการเขียนรายละเอียดกลุ่มประชากรเป้าหมายการดำเนินการวิเคราะห์การเรียน,          การเขียนวัตถุประสงค์และข้อทดสอบเลือกระบบการนำส่ง และจัดลำดับขั้นตอนการสอน ผลลัพธ์ของขั้นตอนการออกแบบจะเป็นข้อมูลนำเข้าสำหรับขั้นตอนการพัฒนาต่อไป

Site Structure = Main, Home, Resource, About me, WBI, Webquest
Sequence = Page 1, Page2, Page3, Page4
Hierarchy = Unit1, Unit2, Unit3, Unit1.1, Unit2.1, Unit3.1
Combination = Home, Unit1, Unit2, Unit3

การพัฒนา (Development)
          ขั้นตอนการพัฒนาสร้างขึ้นบนบนขั้นตอนการวิเคราะห์และการออกแบบ จุดมุ่งหมายของขั้นตอนนี้คือสร้างแผนการสอนและสื่อของบทเรียนในระหว่างขั้นตอนนี้คุณจะต้องพัฒนาการสอนและสื่อทั้งหมดที่ใช้ในการสอน และเอกสารสนับสนุนต่างๆ สิ่งเหล่านี้อาจจะประกอบด้วยฮาร์ดแวร์ (เช่น เครื่องมือสถานการณ์จำลองและซอฟต์แวร์ (เช่น บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน)
การดำเนินการให้เป็นผล (Implementation)
           ขั้นตอนการดำเนินการให้เป็นผล หมายถึงการนำส่งที่แท้จริงของการสอน ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบชั้นเรียน หรือห้องทดลอง หรือรูปแบบใช้คอมพิวเตอร์เป็นฐานก็ตาม จุดมุ่งหมายของขั้นตอนนี้คือการนำส่งการสอนอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล  ขั้นตอนนี้จะต้องให้การส่งเสริมความเข้าใจของผู้เรียนในสารปัจจัยต่างๆ,  สนับสนุนการเรียนรอบรู้ของผู้เรียนในวัตถุประสงค์ต่างๆและเป็นหลักประกันในการถ่ายโอนความรู้ของผู้เรียนจากสภาพแวดล้อมการเรียนไปยังการงานได้

การประเมินผล (Evaluation)
           ขั้นตอนนี้วัดผลประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการสอน  การประเมินผลเกิดขึ้นตลอดกระบวนการออกแบบการสอนทั้งหมด กล่าวคือ ภายในขั้นตอนต่างๆ และระหว่างขั้นตอนต่างๆ และภายหลังการดำเนินการให้เป็นผลแล้ว   การประเมินผล   อาจจะเป็นการประเมินผลเพื่อพัฒนา (Formative evaluation) หรือการประเมินผลรวม (Summative evaluation)