วันเสาร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

คุณลักษณะคุณค่าและความสำคัญของ ict ต่อการศึกษา

ความหมาย คุณลักษณะ คุณค่า และความสำคัญของ ict ต่อการศึกษา

"ICT-ไอซีที" นั้น คือ ตัวย่อของ Information and Communication Technology ขยายความเป็นไทยได้ว่า "เทคโนโลยีด้านข้อมูลข่าวสารและการติดต่อสื่อสาร" ซึ่งมีความจำเป็นต่อชีวิตประจำวันทุกวันนี้อย่างยิ่ง จึงตั้งหน่วยงานขึ้นรองรับและบริการ เกิดเป็นกระทรวงใหม่ชื่อ "กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร-Ministry of Information and Communication Technology" หรือกระทรวงไอซีที-ICT

อธิบายขอบข่ายงานแยกตามตัวอักษรได้ว่า "I" Information -สารสนเทศ นำข้อมูลที่เก็บรวบรวมไว้มาผ่านกระบวนการเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่มีประโยชน์ต่อการตัดสินใจ มีภาระหน้าที่ให้ความสำคัญกับความปลอดภัยของข่าวสารข้อมูลบนเครือข่าย อยู่ในศีลธรรมอันดี และไม่กระทบต่อความมั่นคงของประเทศ

จัดตั้งกองทุนเพื่อการส่งเสริมธุรกิจ ICT เป็นการเฉพาะ โดยให้สิทธิ์พิเศษในด้านการจัดหาเงินทุนหรือการร่วมลงทุน เป็นแหล่งกลางของข้อมูลออนไลน์ จัดให้มีองค์กรที่ช่วยในการแลกเปลี่ยนและวิเคราะห์ข้อมูลข่าวสารของธุรกิจ ICT สนับสนุนส่งเสริมให้มีการวิจัยพัฒนาเกี่ยวกับการป้องกันเครือข่ายสารสนเทศในสถาบันการศึกษา และเผยแพร่ข้อมูลให้กับกลุ่มธุรกิจ

"C" Communications-การสื่อสาร ขอบข่ายงานคือจัดให้มีโครงสร้างพื้นฐานด้านการสื่อสารทั้งในและระหว่างประเทศที่เพียงพอในต้นทุนที่แข่งขันได้กับประเทศในกลุ่มผู้นำในภูมิภาค มีเป้าหมายให้ประชากรมากกว่าร้อยละ 70 สามารถเข้าถึงอินเตอร์เน็ตได้ เพิ่มห้องสมุดไอที เพิ่มอัตราความสามารถในการใช้ ICT ของประชากรให้ถึงร้อยละ 60 เนื่องจากเป็นพื้นฐานต่อทักษะของประชาชนในสังคมเศรษฐกิจ องค์ความรู้

กำหนดให้อัตราค่าบริการในการเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศขั้นต้นเหมาะสมกับประชาชนส่วนใหญ่ ให้มีการสร้างเครือข่ายภายในระหว่างหน่วยงานของรัฐ โดยมีโครงสร้างการเชื่อมต่อตามโครงสร้างระบบราชการ

"T" Technology-เทคโนโลยี รวมคำ 2 คำคือ Technique หมายถึงวิธีการที่มีการพัฒนาและสามารถนำไปใช้ได้ และ Logic หมายถึงความมีเหตุผลที่เป็นที่ยอมรับ รวมกันหมายถึงวิธีการปฏิบัติที่มีการจัดลำดับอย่างมีรูปแบบและขั้นตอน เพื่อทำให้เกิดประสิทธิภาพในเรื่องความเร็ว

ลักษณะงานคือสร้างกรอบกฎหมายที่เอื้อต่อการลงทุนสร้างนวัตกรรมใหม่และการผลิตภายในประเทศ สร้างความตระหนักถึงความสำคัญของ ICT ลดความเสี่ยงในการป้องกันความปลอดภัยของข้อมูล สนับสนุนบทบาทของภาคเอกชนโดยเฉพาะ SME ในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการรายย่อยเกี่ยวกับเทคโนโลยีการผลิตใหม่ๆ ร่วมมือกับประเทศคู่ค้า เพื่อให้สามารถทำงานร่วมกันได้ และมีความปลอดภัยในระบบ ส่งเสริมให้มีการผลิตฮาร์ดแวร์ของอุปกรณ์โทรคมนาคมที่ได้มาตรฐาน


http://www.learners.in.th/blogs/posts/32717

คำว่าเทคโนโลยีสารสนเทศ มาจากคำ 2 คำนำมารวมกัน คือ คำว่า เทคโนโลยี และสารสนเทศ
เทคโนโลยี + สารสนเทศ = เทคโนโลยีสารสนเทศ

เมื่อพิจารณาความหมายของแต่ละคำจะมีความหมายดังนี้

เทคโนโลยี หมายถึง การประยุกต์เอาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ ความจริงเกี่ยวกับธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม มาทำให้เกิดประโยชน์ต่อมวลมนุษย์ เทคโนโลยีจึงเป็นวิธีการในการสร้างมูลค่าเพิ่มของสิ่งต่าง ๆ ให้เกิดประโยชน์มากยิ่งขึ้น

สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ ข้อมูลดังกล่าวต้องผ่านการเก็บรวบรวม จัดเก็บ ตรวจสอบความถูกต้อง แบ่งกลุ่มจัดประเภทของข้อมูล และสรุปออกมาเป็นสารสนเทศ และมนุษย์นำเอาสารสนเทศนั้นไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ เช่น รายงาน ผลงานการวิจัย ข่าวสารต่าง ๆ

เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology : IT) หมายถึงการนำเอาเทคโนโลยีมาใช้สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสารสนเทศ ทำให้สารสนเทศมีประโยชน์ และใช้งานได้กว้างขวางมากขึ้น เทคโนโลยีสารสนเทศรวมไปถึงการใช้เทคโนโลยีด้านต่าง ๆ ที่จะรวบรวม จัดเก็บ ใช้งาน ส่งต่อ หรือสื่อสารระหว่างกัน เทคโนโลยีสารสนเทศเกี่ยวข้องโดยตรงกับเครื่องมือเครื่องใช้ในการจัดการสารสนเทศ ซึ่งได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์รอบข้าง ขั้นตอน วิธีการดำเนินการ ซึ่งเกี่ยวข้องกับซอฟต์แวร์ เกี่ยวข้องกับตัวข้อมูล เกี่ยวข้องกับบุคลากร เกี่ยวข้องกับกรรมวิธีการดำเนินงานเพื่อให้ข้อมูลเกิดประโยชน์สูงสุด นอกจากนี้แล้วยังรวมไปถึง โทรทัศน์ วิทยุ โทรศัพท์ โทรสาร หนังสือพิมพ์ นิตยสารต่าง ๆ ฯลฯ



ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ



สามารถอธิบายความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศในด้านที่มีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมด้านต่าง ๆ ของผู้คนไว้หลายประการดังต่อไปนี้



ประการที่หนึ่ง เทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้สังคมเปลี่ยนจากสังคมอุตสาหกรรมมาเป็นสังคมสารสนเทศ



ประการที่สอง เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้ระบบเศรษฐกิจเปลี่ยนจากระบบแห่งชาติไปเป็นเศรษฐกิจโลก ที่ทำให้ระบบเศรษฐกิจของโลกผูกพันกับทุกประเทศ ความเชื่อมโยงของเครือข่ายสารสนเทศทำให้เกิดสังคมโลกาภิวัฒน์



ประการที่สาม เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้องค์กรมีลักษณะผูกพัน มีการบังคับบัญชาแบบแนวราบมากขึ้น หน่วยธุรกิจมีขนาดเล็กลง และเชื่อมโยงกันกับหน่วยธุรกิจอื่นเป็นเครือข่าย การดำเนินธุรกิจมีการแข่งขันกันในด้านความเร็ว โดยอาศัยการใช้ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และการสื่อสารโทรคมนาคมเป็นตัวสนับสนุน เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลได้ง่ายและรวดเร็ว



ประการที่สี่ เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเทคโนโลยีแบบสุนทรียสัมผัส และสามารถตอบสนองตามความต้องการการใช้เทคโนโลยีในรูปแบบใหม่ที่เลือกได้เอง

ประการที่ห้า เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้เกิดสภาพทางการทำงานแบบทุกสถานที่และทุกเวลา
ประการที่หก เทคโนโลยีสารสนเทศก่อให้เกิดการวางแผนการดำเนินการระยะยาวขึ้น อีกทั้งยังทำให้วิถีการตัดสินใจ หรือเลือกทางเลือกได้ละเอียดขึ้น

กล่าวโดยสรุปแล้ว เทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทที่สำคัญในทุกวงการ มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงโลกด้านความเป็นอยู่ สังคม เศรษฐกิจ การศึกษา การแพทย์ เกษตรกรรม อุตสาหกรรม การเมือง ตลอดจนการวิจัยและการพัฒนาต่าง ๆ

https://sites.google.com/site/destinyraisa/thekhnoloyi-sarsnthes-laea-kar-suxsar/khwam-hmay-khxng-ict

คุณลักษณะของครูในยุคศตวรรษที่ 21

E- Teacher ประกอบด้วย

1. Experience มีประสบการณ์การเรียนรู้แบบใหม่ ใช้เครื่องมือต่างๆ เช่น Intermet

e-mail CD เป็นต้น

2. Extended มีทักษะการค้นหาความรู้ได้ตลอดเวลาเพราะเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ต สามารถใช้ได้ตลอด 24 ชั่วโมง ที่ไหนก็ได้ ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ในการ หาความรู้ ด้วยเทคโนโลยี

3. Expanded การขยายผลสู่ความรู้นั้นสู่นักเรียน ประชาชนทั่วไปและชุมชนสามารถ ถ่ายทอดความรู้ลง CD VDO โทรทัศน์ หรือบน web เพื่อให้เกิดการเพิ่มความรู้ที่ เป็น ประโยชน์ของบุคลากรโดยรวม

4. Exploration สามารถเลือกเนื้อหาที่ทันสมัยเอกสารอ้างอิงค้นคว้าทั้งสารและบันเทิง เพื่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์เพื่อนำมาออกแบบการเรียนการสอน

5. Evaluation เป็นนักประเมินที่ดี สามารถใช้เทคโนโลยีในการประเมินผล

6. End-User เป็นผู้ใช้ปลายทางที่ดี เช่น สามารถ Browers ไป website ที่มีคุณค่า บน อินเตอร์เน็ตและเป็นผู้ใช้เทคโนโลยีได้

7. Enabler สามารถใช้เทคโนโลยีสร้างบทเรียนและเนื้อหาเพิ่มเติมมาใช้ประกอบการ เรียนการสอน สามารถใช้ software และ hardware มาสร้างบทเรียนอย่างน้อยที่สุด สมารถสร้างการนำเสนอเนื้อหาด้วย power point เป็นการจูงใจให้นักเรียนสนใจใน การเรียนมากขึ้นหรือการใช้ Authoring เป็นต้น

8. Engagement ครูที่ร่วมมือกัน แลกเปลี่ยนความเห็นหาแนวร่วม เพื่อให้เกิดชุมชน เช่น การพูดคุยกันบนเว็บ ทำให้มีความคิดใหม่ๆ มีข้อเสนอแนะ เกิดชุมชนครูบนเว็บ

9. Efficient and Effective ครูที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลคือ ใช้เทคโนโลยีได้ อย่างคล่องแคล่วเป็นผู้ผลิตผู้กระจายและใช้ความรู้

http://www.learners.in.th/blogs/posts/456094

การจัดงบประมาณด้าน ICT ประจำปี 2556

http://www.moac.go.th/more_news.php?cid=774&filename=index

จากการประชุมร่วมระหว่างหน่วยงานภาคผู้ผลิตจากสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาซึ่งส่วนใหญ่คือสถานศึกษาผู้ผลิตแรงงานที่เกี่ยวข้องกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในเขตภาคเหนือ โดยมีวิทยาลัยเทคนิคเชียงใหม่เป็นเจ้าของเรื่องและมีผู้ประสานหลักคือ BOI ภาคเหนือร่วมแรงร่วมใจเชิญชวนสถานประกอบการทั้งภาครัฐและเอกชนมาร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับลักษณะงานที่สถานประกอบการดำเนินการผลิต และคุณลักษณะที่พึงประสงค์สำหรับผู้ที่จะทำงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของสถานประกอบการเหล่านี้ ซึ่งพอสรุปได้ว่า คุณลักษณะที่พึงประสงค์และต้องการให่สถานศึกษาฝึกฝนบ่มเพาะให้มาก ได้แก่

มีความรับผิดชอบ
รักความก้าวหน้า ใฝ่เรียนใฝ่รู้ โดยเฉพาะด้านเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ต้องเรียนรู้พัฒนาด้วยตนเองมากกว่าในห้องเรียน และต้องพัฒนาตนอย่างต่อเนื่อง

มีความมุ่งมั่นอดทน
สามารถใช้ภาษาอังกฤษเพื่อสื่อสารโต้ตอบแสดงความคิดเห็นได้ทั้งภาษาพูด ภาษาเขียน และอ่านภาษาอังกฤษที่เกี่ยวกับงานได้เข้าใจ
มีประสบการณ์ในการทำโครงงานร่วมกับสถานประกอบการเพื่อได้มีประสบการณ์ในการทำงานในสถานการจริง
สามารถคิด ตัดสินใจได้เองเกี่ยวกับเรื่องงาน/ปัญหาเฉพาะหน้าโดยไม่ต้องรอคำสั่ง
มีความรู้ลึกในเรื่องเทคโนโลยีอย่างน้อย 1 เรื่อง
มีความรู้เกี่ยวกับการใช้งาน Open Source และสามารถทำงานและพัฒนางานได้จริง
สามารถศึกษาค้นคว้า สืบค้นข้อมูล ความรู้จาก Internet และแหล่งเรียนรู้อื่นๆ ได้นอกเหนือจากที่ได้เรียนในชั้นเรียน
มีจรรยาบรรณและรับผิดชอบต่อสังคม
สามารถผลิตชิ้นงานด้านweb-site สามารถ update ข้อมูล และพัฒนานำความรู้ใหม่ๆ มาใช้งานได้

คุณลักษณะผู้เรียนกับการเรียนรู้ด้วย ICT

ผู้เรียน จะมีลักษณะเป็น
1. E-confidence Learner ตามทฤษฏีของ Bloom’s Taxonomy กล่าวคือ มีความรู้และทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้เหมาะสมเป็นลำดับขั้นตามช่วงวัย
1.1 มีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ ICT เช่น รู้จัก Hardware และ Software
1.2 สามารถเลือกใช้ ICT เป็นเครื่องมือในการสืบค้นแหล่งข้อมูลเพื่อประกอบการทำงาน
ในรายวิชาที่
เรียนได้
1.3 สามารถวิเคราะห์ ความน่าเชื่อถือและคุณภาพของข้อมูลที่ได้จากการสืบค้นด้วย ICT และรู้จัก
เลือกใช้ ICT ได้ด้วยตัวเองอย่างเหมาะสม
1.4 สามารถเลือกและใช้ ICT เป็นเครื่องมือในการเข้าสู่แหล่งข้อมูลต่าง ๆ ได้อย่างกว้างขวางและเกิดประโยชน์สูงสุดในช่วงที่เหมาะสม นอกจากนั้นยังสามารถบูรณาการใช้ ICT ให้เหมาะกับตนเอง งานและผุ้ที่เกี่ยวข้องได้

2. เกิด Independent Learning หมายถึง ผู้เรียนสามารถค้นคว้าความรู้ต่าง ๆ ได้ด้วยตัวเองทุกที่
ทุกเวลา ในเรื่องที่สนใจ ตระหนักและเห็นคุณค่าว่าการเรียนเป็นสิ่งสำคัญและเป็นประโยชน์ต่ออนาคตของตน มากกว่าเรียนแบบเดิมที่ เรียนตามเนื้อหาที่หลักสูตรกำหนดให้

มีทักษะที่จำเป็นต่อการใช้ ICT ในโรงเรียน ดังนี้

1.1 learning to learn เกิดการเรียนเพื่อรู้ เรียนเพื่อสนองความอยากรู้ของตน รู้วิธีที่จะเรียนให้ประสบความสำเร็จ
1.2 Collaboration มีเครือข่าย สังคมแห่งการเรียนรู้ทั้งในและนอกห้องเรียน สามารถเรียนรู้ได้อย่างกว้างขวาง และลงลึกในรายละเอียดได้
1.3 Team work ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
1.4 Communication มีการสื่อสาร ปรึกษาหารือระหว่างเพื่อนและครู ได้
1.5 Problem Solving รู้และใช้กลวิธีต่าง ๆในการแก้ไขปัญหาได้
1.6 Information Handling สามารถรู้จักแหล่งสืบค้นข้อมูลและเลือกใช้ข้อมูลได้อย่างเหมาะสม

http://www.gotoknow.org/posts/337401


คุณค่าของเทคโนโลยีการศึกษา

แนวคิดทางการศึกษาของบุคคลทั้งหลายเหล่านี้ พัฒนาไปพร้อม ๆ กับความก้าวหน้าทางสิ่งประดิษฐ์คิดค้นของนักวิทยาศาสตร์ ที่ส่งผลให้เทคโนโลยีการศึกษาเจริญก้าวหน้า เช่น การผลิตกระดาษ การพิมพ์ การถ่ายภาพ การฉายภาพ การบันทึกเสียง วิทยุ-โทรทัศน์ การบันทึกภาพ จนถึงยุคคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน

เทคโนโลยีก่อประโยชน์แก่ระบบการศึกษามากขึ้น การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการศึกษาสามารถเร่งอัตราการเรียนรู้ให้เร็วขึ้น ลดภาระทางด้านการบริหารของครูและยังทำหน้าที่แทนครูในการถ่ายทอดเรื่องราวหรือข่าวสารประจำวันต่าง ๆ

เทคโนโลยีเน้นการศึกษาไปสู่ความเป็นส่วนบุคคลมากขึ้น การนำเอาเทคโนโลยีมาใช้อย่างเหมาะสมนั้นเป็นการขยายขอบเขตของการเรียนรู้ออกไปได้อย่างกว้าง

เทคโนโลยีทำให้การสอนมีพลังยิ่งขึ้น ระบบการสื่อสารในปัจจุบันได้ช่วยเพิ่มความสามารถให้กับคนเรา ดังนั้นสื่อการสอนในยุคใหม่นี้จึงสามารถจำลองสถานการณ์จริง ช่วยร่นระยะทางและเหตุการณ์ที่อยู่คนซีกโลกมาสู่นักเรียนได้

เทคโนโลยีทำให้การเรียนเป็นไปอย่างฉับพลันยิ่งขึ้น เทคโนโลยีการสอนเปรียบเสมือนสะพานที่เชื่อมโยงระหว่างที่อยู่ภาย นอกโรงเรียนและโลกที่อยู่ภายในโรงเรียน

เทคโนโลยีสามารถทำให้เกิดความเสมอภาคของการศึกษามากขึ้น

ทุกคนสามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีได้ทุกหนแห่ง เทคโนโลยีพร้อมที่จะหยิบยื่นความรู้ให้แก่ทุกคนเสมอ

http://www.edu.nu.ac.th/wbi/355201/p2-3.html


ประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศ

การนำเทคโนโลยีสารนิเทศมาใช้กับสังคมสารนิเทศใน ปัจจุบันก่อให้เกิดการสื่อสารและการใช้ประโยชน์ จากสารนิเทศได้อย่างเต็มที่ และมีประสิทธิภาพ ประโยชน์ของเทคโนโลยีสารนิเทศมีดังต่อไปนี้ คือ
1. ช่วยให้ติดต่อสื่อสารระหว่างกันอย่างสะดวกรวดเร็ว โดยใช้โทรศัพท์ คอมพิวเตอร์หรือในรูปของ สิ่งพิมพ์ต่าง ๆ
2. ช่วยในการจัดระบบข่าวสารจำนวนมหาศาล ซึ่งผลิตออกมาในแต่ละวัน
3. ช่วยให้เก็บสารนิเทศไว้ในรูปที่สามารถเรียกใช้ได้ครั้งแล้วครั้งเล่าอย่างสะดวก
4. ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสารนิเทศ เช่น ช่วยนักวิทยาศาสตร์ วิศวกร ด้วยการช่วยคำนวณตัวเลขที่ยุ่งยาก ซับซ้อนซึ่งไม่สามารถทำให้สำเร็จได้ด้วยมือ
5. ช่วยให้สามารถจัดระบบอัตโนมัติเพื่อการเก็บ เรียกใช้และประมวลผลสารนิเทศ
6. สามารถจำลองแบบระบบการวางแผนและทำนาย เพื่อทดลองกับสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น
7. อำนวยความสะดวกในการเข้าถึงสารนิเทศดีกว่าสมัยก่อน ทำให้ผู้ใช้สารนิเทศมี ทางเลือกที่ดีกว่า มีประสิทธิภาพกว่า และสามารถแข่งขันกับผู้อื่นได้ดีกว่า


8. ลดอุปสรรคเกี่ยวกับเวลาและระยะทางระหว่างประเทศ

เทคโนโลยีสารนิเทศเบื้องต้นที่ควรนำมาใช้ในการดำเนินงานทั่วๆไป คือ

การใช้เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ในการจัดการข้อมูล
ในบรรดาองค์ประกอบของเทคโนโลยีสารนิเทศทั้งหมด คอมพิวเตอร์ นับว่ามีบทบาทมากที่สุดต่อการเป็น องค์ประกอบที่สำคัญ คอมพิวเตอร์เป็น อุปกรณ์สื่อสารนิเทศที่มีบทบาทอย่างมากต่อสังคมสารนิเทศ คอมพิวเตอร์ เปลี่ยนแปลงสภาพการให้บริการสารนิเทศในห้องสมุดจากการเสียเวลา สืบค้นสารนิเทศหลาย ๆ นาที หรือหลายชั่วโมงมาเป็นเสียเวลา เพียงไม่กี่วินาที คอมพิวเตอร์เปลี่ยนแปลงสภาพความเป็นอยู่ของคนในสังคม เป็นเครื่องมือในการดำรงชีวิตที่มีบทบาทยิ่งกว่าเครื่องมือหรืออุปกรณ์ใด ๆ ที่มนุษย์ได้ผลิตขึ้นใช้ในโลกมาก่อน คนในสังคมสมัยสังคมสารนิเทศจะเห็น พัฒนาการด้านนี้ได้อย่างเด่นชัด นับตั้งแต่มีการประดิษฐ์เครื่องคอมพิวเตอร์ ขึ้นใช้เป็นครั้งแรก คอมพิวเตอร์ไม่ใช่เพียงสิ่งประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์เท่านั้น แต่กลับเป็นสิ่งที่คนในสังคมสารนิเทศ ต้องรู้จักและมีส่วนเกี่ยวข้องด้วยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เป็นอุปกรณ์และองค์ประกอบที่สำคัญของเทคโนโลยีสารนิเทศ ที่บรรณารักษ์จะต้องนำมาใช้อยู่ตลอดเวลา เครื่องคอมพิวเตอร์ได้รับการพัฒนามาโดยลำดับ ตั้งแต่ยุคแรก (พ.ศ. 2487-2501) จนถึงยุคปัจจุบัน (พ.ศ. 2531 เป็นต้นมา) ได้มีการนำเครื่อง คอมพิวเตอร์มาใช้งานกันอย่างแพร่หลาย เช่น งานจัดการเอกสารข้อมูลแบบ ต่าง ๆ งานระบบสารนิเทศเพื่อการจัดการและงานด้านระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System) เป็นต้น และจากการแข่งขัน ในการผลิตเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์มีราคาถูก และสามารถใช้กันอย่างแพร่หลาย เป็นสิ่งหนึ่งที่จำเป็นในสังคมสารนิเทศ ปัจจุบัน

ในสังคมสารนิเทศปัจจุบัน กล่าวได้ว่า คอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาท ในชีวิตประจำวันของคนในสังคมมากยิ่งขึ้น บทบาทของคอมพิวเตอร์มีมากยิ่งขึ้นสำหรับผู้ที่ต้องการสารนิเทศ และสำหรับผู้ที่ไม่ต้องการสารนิเทศเพื่อใช้ประโยชน์ กับตนเองก็หลีกเลี่ยงการ ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อประโยชน์ด้านอื่น ๆ ไม่ได้

บทบาทของคอมพิวเตอร์ที่มีต่อการใช้สารนิเทศในสังคมมีดังต่อไปนี้

ด้านการศึกษา

การใช้คอมพิวเตอร์ในด้านการศึกษา แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ ใช้เป็นเครื่องมือในการศึกษา และใช้เป็นเครื่องมือในการสอน การใช้เป็นเครื่องมือในการศึกษาเกี่ยวข้องกับการบริหารการศึกษา ซึ่งผู้บริหารการศึกษา จำเป็นต้องทราบสารนิเทศต่าง ๆ ทางด้าน นักศึกษา ด้านแผนการเรียน ด้านบุคลากร ด้านการเงิน และด้านอาคารสถานที่และอุปกรณ์ ข้อมูลแต่ละด้านที่ได้จากคอมพิวเตอร์ ผู้บริหารการศึกษาสามารถนำมาใช้ช่วย ในการตัดสินใจได้ การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อเป็นเครื่องมือในการสอน เป็นการช่วยให้ครูใช้ความรู้ ความสามารถพิเศษให้เป็นประโยชน์แก่ระบบการศึกษาได้มากขึ้น การนำคอมพิวเตอร์เข้า มามีส่วนช่วยในการสอน และการศึกษามีประโยชน์ในเรื่องดังต่อไปนี้ คือ

1. เพื่อการสอนแบบตัวต่อตัว
2. เพื่อฝึกทักษะต่าง ๆ ในการเรียน
3. เพื่อการสาธิต
4. เพื่อการเล่นเกมและสถานการณ์จำลอง
5. เพื่อสอนงานด้านการเขียน
6. เพื่อการเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการเรียนการสอน
7. เพื่อช่วยผู้เรียนที่มีปัญหาเฉพาะตัว


ปัจจุบัน คอมพิวเตอร์กำลังมีบทบาทต่อการศึกษาด้านภาษา เป็นเพราะว่าแต่เดิมมานั้น คอมพิวเตอร์มีบทบาท เฉพาะการเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับภาษาอังกฤษ ทั้งนี้เพราะคอมพิวเตอร์ได้รับการประดิษฐ์ขึ้นในประเทศที่ใช้ ภาษาอังกฤษ แต่ในขณะนี้สังคมข่าวสารไม่ ได้สกัดกั้นในการรับรู้สารนิเทศในภาษาอื่น ๆ มีการสร้างโปรแกรม ภาษาต่าง ๆ เช่น ภาษาฝรั่งเศส เยอรมัน อิตาเลียน รัสเซีย สเปน และแม้แต่ภาษาทางด้านตะวันออก เช่น ภาษาอารบิค จีน ฮิบรู ญี่ปุ่น เกาหลี การสร้างโปรแกรมภาษาต่าง ๆ จัดทำโดยผู้ที่รู้ภาษานั้น ๆ โดยตรง หรือผู้ที่สนใจในการสร้าง โปรแกรมภาษาต่าง ๆ เช่น การสร้างโปรแกรม การใช้ภาษาไทย หรือ ภาษาลาว ตลอดจนการใช้โปรแกรมภาษาพม่า ซึ่งประดิษฐ์ขึ้นโดย วิศวกรไทย คอมพิวเตอร์จะเป็นตัวกลางในการขจัดปัญหาเรื่องความไม่เข้าใจภาษาระหว่าง ชนชาติในอนาคต ในประเทศสหรัฐอเมริกา คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลมีบทบาทในด้าน การศึกษา มี การใช้คอมพิวเตอร์ มากขึ้นในระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษา มีการคาดหมายว่าจะมีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในชั้นเรียน จาก 1:40 ในปี พ.ศ. 2529 เป็น 1 ต่อ 20 ภายในปี พ.ศ. 2533 คอมพิวเตอร์มีบทบาทต่อการถ่ายทอดข้อมูลข่าวสาร ทางด้านการศึกษาได้ เป็นอย่างดีไม่เฉพาะแต่ภายในสถานศึกษาเท่านั้น บริษัทเอกชนต่าง ๆ สามารถนำคอมพิวเตอร์ มาใช้ฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ของตน ให้ได้รับการศึกษา หรือฝึกอบรมในงานหน้าที่ได้เป็นอย่าง ดีด้วย การใช้คอมพิวเตอร์ เพื่อการศึกษา จะเป็นเรื่องธรรมดาในระบบการศึกษาต่อไป


ด้านการแพทย์และสาธารณสุข

คอมพิวเตอร์มีบทบาทอย่างสูงทางด้านการแพทย์และสาธารณสุข คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือที่ช่วยอำนวย ความสะดวก อย่างยิ่งในด้านการแพทย์ เริ่มตั้งแต่การรักษาพยาบาล ทั่ว ๆไป โรงพยาบาลบางแห่งใช้คอมพิวเตอร์ ในการทำทะเบียนคนไข้ ตลอดจนการวินิจฉัย และรักษาโรคต่าง ๆ จากการใช้ประโยชน์ของสารนิเทศที่ได้ จากเครื่องคอมพิวเตอร์ การใช้คอมพิวเตอร์ทางด้านการแพทย์และสาธารณสุขอาจเกี่ยวข้องในด้านต่อไปนี้ คือ ด้านการ รักษาพยาบาลทั่วไป ด้านการบริหารการแพทย์ ด้านห้องทดลอง ด้านตรวจวินิจฉัยโรค และด้านการศึกษา และวิจัยทางการแพทย์ การใช้ข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ด้านการแพทย์และ สาธารณสุขที่สำคัญในปัจจุบันคือ ด้านวินิจฉัยโรคและด้านการศึกษาและวิจัยทางการแพทย์ นักวิทยาศาสตร์การแพทย์สามารถค้นคว้าข้อมูลทาง การแพทย์เพิ่มเติมได้ตลอดเวลา เป็นการพัฒนาความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์การแพทย์และการสาธารณสุข อย่างไม่หยุดยั้ง คอมพิวเตอร์มีบทบาทต่อการให้ข้อมูลเพื่อการวินิจฉัยโรค สำหรับทำการรักษา ได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำขึ้น ในวงการแพทย์เริ่มรู้จักใช้เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ที่ เรียกว่า อีเอ็มไอสแกนเนอร์ (EMI Scanner) เมื่อปี พ.ศ. 2515 เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์เครื่องนี้ใช้ถ่ายภาพสมองมนุษย์เพื่อตรวจดูเนื้อ งอก พยาธิ เลือดออกในสมองและความผิดปกติอื่น ๆ ในสมอง ต่อมาได้พัฒนาให้ถ่ายภาพหน้าตัดได้ทั่วร่างกาย เรียกชื่อว่าซีเอที (CAT-Computerized Axial Tomographic Scanner) มีวิธีการฉายแสงเป็นจังหวะไปรอบ ๆ ร่างกายของมนุษย์ที่ต้องการ ถ่ายเอกซเรย์และเครื่องรับแสงเอ็กซเรย์ที่อยู่ตรงข้ามจะเปลี่ยนแสงเอกซเรย์ ให้เป็นสัญญาณไฟฟ้าไปเก็บไว้ในจาน หรือแถบแม่เหล็ก แล้ว นำสัญญาณไฟฟ้าเหล่านี้เข้าไปวิเคราะห์ในเครื่องคอมพิวเ ตอร์ ซึ่งเมื่อได้ผลลัพธ์ออกมาก็นำไป เก็บในส่วนความจำ และพิมพ์ภาพออกมาหรือแสดงเป็นภาพทางจอโทรทัศน์ เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์จึงเป็นตัวอย่าง ของการใช้คอมพิวเตอร์ในการวินิจฉัยและรักษาโรค

ด้านอุตสาหกรรม
คอมพิวเตอร์มีส่วนช่วยพัฒนาความก้าวหน้าทางด้านอุตสาหกรรม โดยนักวิทยาศาสตร์ได้ประดิษฐ์หุ่นยนต์ เพื่อใช้ในบ้านและหุ่นยนต์อุตสาหกรรม ทั้งนี้หุ่นยนต์จะเป็นอุปกรณ์ที่สร้างขึ้นเพื่อเลียนแบบการทำงานของอวัยวะ ส่วนบนของมนุษย์ ประกอบด้วยระบบทางกลของหุ่นยนต์ และระบบควบคุมหุ่นยนต์ ประกอบด้วยอุปกรณ์ควบคุม ซึ่งควบคุมการทำงานของ หุ่นยนต์โดยอัตโนมัติด้วยคอมพิวเตอร์ นับเป็นส่วนสำคัญที่สุดของหุ่นยนต์ ระบบควบคุมนี้ทำหน้า ที่เป็นสมองเก็บข้อมูลสั่งหุ่นยนต์ ให้ทำงานตรวจสอบและควบคุมรายละเอียดของการทำงาน ให้ถูกต้อง การประดิษฐ์หุ่นยนต์อุตสาหกรรมอำนวยประโยชน์ในการช่วยทำงานใน อุตสาหกรรมที่สำคัญคือ งานที่ต้องเสี่ยงภัยและเป็นอันตรายต่อสุขภาพ เช่น โรงงานยา ฆ่าแมลง โรงงานสารเคมี ง านที่ต้องการความละเอียด ถูกต้อง และรวดเร็ว เช่น โรงงาน ทำฟันเฟืองนาฬิกา โรงงานทำเลนส์กล้องถ่ายรูป และงานที่ต้องทำซ้ำ ๆ ซาก ๆ และ น่าเบื่อหน่าย เช่น โรงงานประกอบรถยนต์ โรงงานประกอบวงจรเบ็ดเสร็จ หรือไอซี และโรงงานทำแบตเตอรี่ เป็นต้น การประดิษฐ์สิ่งของหรือผลิตภัณฑ์บางอย่าง ในโรงงานอุตสาหกรรม คอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาทอย่างสูงต่อการ ควบคุม การผลิตสินค้าโดยไม่ต้องใช้แรงงานคนมาก เป็นการประหยัดแรงงาน นอกจากด้านการผลิตสินค้าแล้ว คอมพิวเตอร์ยังมีส่วนช่วยต่อการจัด ส่งสินค้า ตามใบสั่งสินค้า การควบคุมวัสดุคงคลัง และการคิดราคาต้นทุนสินค้า เป็นต้น

ด้านเกษตรกรรม
การนำคอมพิวเตอร์มาใช้ประโยชน์ในด้านเกษตรกรรม ได้แก่ การจัดทำระบบ ข้อมูลเพื่อการเกษตร ซึ่งอาจมีทั้งระดับท้องถิ่น ระดับชาติ และระดับนานาชาติ สำหรับระดับ นานาชาตินั้น อาจจะเริ่มด้วย สำมะโนเกษตรนานาชาติ ซึ่งสถาบันการเกษตรระหว่างประ เทศ (International Institute of Agriculture) ได้เริ่มต้นตั้งแต่ พ.ศ. 2473โดยมีประเทศต่าง ๆ ร่วมเก็บข้อมูล รวม 46 ประเทศ ต่อมาองค์การอาหารและเกษตร(FAO) ได้ดำเนินงานต่อในปี พ.ศ. 2493 และมีประเทศต่าง ๆ ร่วมโครงการเพิ่มเติมมากขึ้น ทำให้ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกได้ข้อมูลเพื่อเกษตรกรรมทางด้านสำมะโนเกษตร นอกจากนี้ยังใช้คอมพิวเตอร์ช่วยทำแบบจำลอง พยากรณ์ความต้องการ พยากรณ์ผลผลิตด้าน การเกษตร เป็นต้น

ด้านการเงินการธนาคาร
การใช้คอมพิวเตอร์ในด้านการเงินและการธนาคาร เป็นการนำคอมพิวเตอร์มา ช่วยในงานด้านการบัญชี และด้านการบริหาร การฝากถอนเงิน การรับจ่าย การโอนเงิน แบบอิเล็กทรอนิกส์ การหักบัญชีอัตโนมัติ ด้านสินเชื่อ ด้านแลกเปลี่ยนเงินตรา บริการข่าว สารการธนาคาร บริการฝากถอนเงินนอกเวลาและบริการอื่น ๆ การใช้คอมพิวเตอร์ด้านการเงินการธนาคารที่ประชาชนรู้จักและใช้กันอย่างแพร่ หลาย ได้แก่ บริการฝากถอนเงินนอกเวลา ซึ่งมีใช้กันทั้งในต่างประเทศและในประเทศ ไทย ซึ่งเรียกชื่อว่า บริการเงินด่วน หรือบริการเอทีเอ็ม ( Automatic Teller Machine - ATM ) ที่ธนาคารต่าง ๆ สามารถให้บริการเงินด่วนแก่ลูกค้าได้ ทำให้เกิด ความสะดวกรวดเร็วต่อการใช้เงินในการดำเนินงานทางธุรกิจต่างๆ ได้

ด้านธุรกิจการบิน ธุรกิจสายการบินมีความจำเป็นต้องนำคอมพิวเตอร์มาใช้ เพื่อให้สามารถให้บริการได้รวดเร็ว เพื่อการแข่งขันกับ สายการบินอื่น ๆ และเพื่อรักษาความปลอดภัยในการบินโดยช่วยตรวจสอบสภาพเครื่องและอุปกรณ์ได้ อย่างถูกต้องแน่นอนและสม่ำเสมอ ธุรกิจที่มีการนำ คอมพิวเตอร์มาใช้ด้านการบิน อาจแบ่งเป็น 3 ประเภท คือ ผู้โดยสาร สินค้าพัสดุภัณฑ์ และ บริการอื่น ๆ ของสายการบิน ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจน คือระบบบริการผู้โดยสาร อาจจะ เริ่มด้วยระบบบันทึกตารางการบิน ซึ่งบันทึกและเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อมูลเที่ยวบิน เส้นทางบิน เวลาออกและเวลาถึง จำนวนที่นั่ง สารนิเทศด้านการบริการผู้โดยสารมีความสำคัญอย่างมาก และจำเป็นต้องได้รับข้อมูลอย่างรวดเร็ว โดยปราศจากปัญหาทางด้านเวลา และสถานที่ รายการบินต่าง ๆ จึงได้แข่งขันในการสร้างฐานข้อมูล ทางด้านนี้ บางสายการบินได้รวมตัวกัน เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการใช้สารนิเทศร่วมกัน

ด้านกฎหมายและการปกครอง
ทางด้านกฎหมายและการปกครอง มีการใช้คอมพิวเตอร์แก้ปัญหาด้านกฎหมาย คืองานระบบข้อมูล ทางกฎหมายมีการนำสารนิเทศที่เกี่ยวข้องกับตัวบทกฎหมายทุกฉบับ รัฐธรรมนูญทุกฉบับ กฎหมายอาญา กฎหมายแพ่ง พระราชบัญญัติ พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวงประกาศต่างๆและอื่น ๆ เข้าคอมพิวเตอร์ทั้งหมด หลังจากนั้นคอมพิวเตอร์จะ ช่วยในการค้นสารนิเทศทางด้านกฏหมายได้อย่างรวดเร็ว ดังตัวอย่างในประเทศ สหรัฐอเมริกา มีการใช้คอมพิวเตอร์ระบบแอสเปน (Aspen System Corporation) ซึ่งเป็นระบบข้อมูล ทางด้านกฎหมายที่ใช้กันมากกว่า 50 แห่ง นักกฎหมายและผู้ที่เกี่ยวข้องจึงได้ประโยชน์ในการ ค้นสารนิเทศในเวลา อันรวดเร็ว โดยเฉพาะในการค้นข้อมูลเกี่ยวกับคดีต่าง ๆ ที่เคยเกิดขึ้น แล้ว เป็นต้น แทนที่จะค้นจากหนังสือ ซึ่งต้องเสียเวลาเป็นอันมาก การใช้คอมพิวเตอร์ทางด้านการปกครอง ส่วนใหญ่ใช้ในกิจกรรมการเลือกตั้งดัง เช่นในประเทศไทย เมื่อมีการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมาล่าสุด มีการใช้คอมพิวเตอร์มาประมวล ผลข้อมูลการเลือกตั้ง ทำให้ประชาชนได้ทราบผลการเลือกตั้งได้อย่างรวดเร็ว

ด้านการทหารและตำรวจ
มีการใช้คอมพิวเตอร์ด้านการทหารและตำรวจ อย่างแพร่หลายในประเทศต่างๆ ในประเทศสหรัฐอเมริกา การใช้คอมพิวเตอร์ในด้านการทหารได้เจริญก้าวหน้าไปมากกว่า ประเทศอื่นใดในโลก แต่ผลงานด้านนี้มักจะเป็น ผลงาน ชนิดลับสุดยอดต่าง ๆ เท่าที่พอจะ ทราบกัน ได้แก่ การใช้คอมพิวเตอร์ในวงจรสื่อสารทหาร ใช้ในการควบคุม ประสานงาน ด้านการท หารใช้แปลรหัสลับในงานจารกรรมระหว่างประเทศ ใช้ในการผลิตระเบิดนิว เคลียร์ ใช้ในการทำสงครามจิตวิทยา ใช้ในการวิจัยเตรียมทำสงครามเชื้อโรค ใช้ในการสร้างขีปนาวุธ และใช้ในการส่ง ดาวเทียม จารกรรม เป็นต้น กรมตำรวจ กระทรวง มหาดไทย มีศูนย์ประมวลข่าวสารกรมตำรวจ มีคอมพิวเตอร์ ขนาดกลางใช้ทำทะเบียนปืน ทำทะเบียนประวัติอาชญากรรม ทำให้เกิดความสะดวกต่อการสืบสวนคดีต่าง ๆ

ด้านอุตสาหกรรมการพิมพ์และธุรกิจอื่น ๆ
บทบาทของคอมพิวเตอร์ต่อธุรกิจอุตสาหกรรมการพิมพ์ในปัจจุบันมีมาก หน่วยงานทางการพิมพ์ ตลอดจนสำนักข่าวใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในการจัดพิมพ์ต้นฉบับ ตรวจแก้ไข จนกระทั่งจัดพิมพ์เป็นรูปเล่ม ทำให้การจัดทำหนังสือพิมพ์ วารสาร และหนังสือต่าง ๆดำเนินไปด้วยความรวดเร็ว และถึงมือผู้อ่านได้อย่างทันท่วงที อุตสาหกรรมการพิมพ์เป็นธุรกิจที่ทำรายได้ให้แก่ประเทศต่าง ๆ อยู่ในขณะนี้ และเป็นธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสารนิเทศ มีรายงานว่ามีเจ้าหน้าที่คนงานในประเทศ สหรัฐอเมริกากว่า 50 ล้านคน ได้ใช้ประโยชน์จากการใช้คอมพิวเตอร์ ในการดำเนินงาน ทางธุรกิจ มีการใช้อุปกรณ์สื่อสารระบบสำนักงาน อัตโนมัติและเทคโนโลยีโทรคมนาคมอื่น ๆ ร่วมกับคอมพิวเตอร์ทำให้การดำเนินงานทาง ธุรกิจต่าง ๆ ดำเนินไปด้วยความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ทำให้ธุรกิจต่าง ๆ ไม่มีปัญหา ทางด้านระยะเวลา และสถานที่ต่อการติดต่อทางธุรกิจอีกต่อไป

ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อประโยชน์ทางด้านวิทยาศาสตร์มีมาก ในสถาบันการศึกษา ตลอดจนสถาบันวิจัยต่าง ๆ มีการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการวิจัยทดลองทางด้านวิทยาศาสตร์ เช่น การวิจัยในทางนิวเคลียร์ฟิสิกส์ ซึ่งเป็นวิชาว่าด้วยส่วนประกอบที่เล็กที่สุดของสสาร การค้นคว้าทดลองทางวิทยาศาสตร์สาขาต่าง ๆ ทำให้เกิดการพัฒนาประเทศอย่างไม่หยุดยั้ง เช่น ทางด้านวิศวกรรมศาสตร์มีการใช้คอมพิวเตอร์ ให้มีส่วนร่วมต่อการออกแบบโครงสร้าง ทางวิศวกรรมที่ยุ่งยากสลับซับซ้อน ทำให้มีส่วนช่วยต่อการออกแบบ ทางด้านวิศวกรรมและ สถาปัตยกรรมได้อย่างไม่มีขอบเขตจำกัด บทบาทของคอมพิวเตอร์ทางด้านวิทยาศาสตร์จึงมี ประโยชน์ต่อการพัฒนาข้อมูลสารนิเทศอย่างไม่หยุดยั้ง

จากการเชื่อมโยงเครือข่ายข้อมูลสารนิเทศโดยระบบโทรคมนาคมคอมพิวเตอร์ มีบทบาทอย่างสูง ต่อการให้บริการข้อมูลอย่างไม่มีขอบเขตจำกัด ผู้ใช้สารนิเทศสามารถเรียกค้นข้อมูลจากผู้ให้บริการ สารนิเทศตั้งแต่เรื่องทั่ว ๆไปจนกระทั่งขอค้นรายละเอียดจากหนังสือสารานุกรมได้ และภายในบ้านเรือน คอมพิวเตอร์มีบทบาทต่อการใช้ของสมาชิกภายในครอบครัวทุกคนภายในบ้าน มีโอกาสได้เล่นเกมวีดิทัศน์ ด้วยความบันเทิงสนุกสนาน และ ศึกษาความรู้จากบทเรียนสำเร็จรูป ไปด้วยในตัว คอมพิวเตอร์สำหรับบ้าน เป็นอุปกรณ์ที่จำเป็น สำหรับนักธุรกิจในการจัดเตรียมจดหมาย การจัดเก็บรวบรวมข้อมูลสารนิเทศส่วนบุคคล และ การดำเนินงานกิจการต่าง ๆ ของสมาชิกภายในครอบครัว บทบาทของคอมพิวเตอร์ ยังมีอีกมากมายทางด้านต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับผู้ใช้สารนิเทศ ต้องการใช้ในด้านใด คอมพิวเตอร์เมื่อนำมาใช้รวมกับระบบโทรคมนาคมการสื่อสาร สามารถจะเปลี่ยนอนาคตของสังคมปัจจุบัน เปลี่ยนวิถีชีวิตประจำวันของประชาชนต่อการทำ กิจกรรมต่าง ๆ สิ่งที่บรรณารักษ์จะหลีกเลี่ยงต่อไปไม่ได้ คือการนำเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์มาใช้ในการจัดการข้อมูล ภายในห้องสมุดโรงเรียน นับตั้งแต่การนำมาใช้แทน เครื่องพิมพ์ดีดในขอบเขตของงานเอกสาร ตลอดจนกระทั่งถึงงานการให้บริการข้อมูลจากฐานข้อมูลสำเร็จรูป หรือ งานฐานข้อมูลที่สร้างขึ้นเอง


บทความโดย
นาง ฐิตารีย์ องอาจอิทธิชัย
องค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี

ที่มาจาก
http://learners.in.th/blog/add/72404
ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต
http://blog.eduzones.com/moobo/78858


ประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศ

การกำเนิดของคอมพิวเตอร์เมื่อประมาณห้าสิบกว่าปีที่แล้ว เป็นก้าวสำคัญที่นำไปสู่ยุคสารสนเทศ ในช่วงแรกมีการนำเอาคอมพิวเตอร์มาใช้เป็นเครื่องคำนวณ แต่ต่อมาได้มีความพยายามพัฒนาให้คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์สำคัญสำหรับการจัดการข้อมูล เมื่อเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ได้ก้าวหน้ามากขึ้น ทำให้สามารถสร้างคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็กลง แต่ประสิทธิภาพสูงขึ้น สภาพการใช้งานจึงใช้งานกันอย่างแพร่หลาย ผลของเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อชีวิตความเป็นอยู่และสังคมจึงมีมาก มีการเรียนรู้และใช้สารสนเทศกันอย่างกว้างขวาง ผลของเทคโนโลยีสารสนเทศโดยรวมกล่าวได้ดังนี้

1. การสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สภาพความเป็นอยู่ของสังคมเมือง มีการพัฒนาใช้ระบบสื่อสารโทรคมนาคม เพื่อติดต่อสื่อสารให้สะดวกขึ้น มีการประยุกต์มาใช้กับเครื่องอำนวยความสะดวกภายในบ้าน เช่น ใช้ควบคุมเครื่องปรับอากาศ ใช้ควมคุมระบบไฟฟ้าภายในบ้าน เป็นต้น

2. เสริมสร้างความเท่าเทียมในสังคมและการกระจายโอกาส เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้เกิดการกระจายไปทั่วทุกหนแห่ง แม้แต่ถิ่นทุรกันดาร ทำให้มีการกระจายโอกาสการเรียนรู้ มีการใช้ระบบการเรียนการสอนทางไกล เสริมสร้างการเรียนรู้ เพราะปัจจุบันมีสื่อการศึกษาที่ทันสมัยมากขึ้นนอกจากหนังสือเรียนธรรมดาแล้ว ยังมี วีดีทัศน์ อินเตอร์เน็ต เป็นต้น ที่ช่วยเสริมสร้างการเรียนรู้ด้วยตนเองของผู้เรียน

3. สารสนเทศกับการเรียนการสอนในโรงเรียน การเรียนการสอนในโรงเรียนมีการนำคอมพิวเตอร์และเครื่องมือประกอบช่วยในการเรียนรู้ เช่น วีดีทัศน์ เครื่องฉายภาพ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน คอมพิวเตอร์ช่วยจัดการศึกษา จัดตารางสอน คำนวณระดับคะแนน หรืออย่างที่ครูเป๋งให้เราฝึกทำBlog ไงล่ะคะ ปัจจุบันมีการเรียนการสอนทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในโรงเรียนจึงมากขึ้น

4.เทคโนโลยีสารสนเทศกับสิ่งแวดล้อม การจัดการทรัพยากรธรรมชาติหลายอย่างจำเป็นต้องใช้สารสนเทศ เช่น การดูแลรักษาป่า จำเป็นต้องใช้ข้อมูล มีการใช้ภาพถ่ายดาวเทียม การติดตามข้อมูลสภาพอากาศ การพยากรณ์อากาศ การจำลองรูปแบบสภาวะสิ่งแวดล้อมเพื่อปรับปรุงแก้ไข การเก็บรวมรวมข้อมูลคุณภาพน้ำในแม่น้ำต่าง ๆ การตรวจวัดมลภาวะ ตลอดจนการใช้ระบบการตรวจวัดระยะไกลมาช่วย ที่เรียกว่าโทรมาตร เป็นต้น เทคโนโลยีสารสนเทศกับการป้องกันประเทศ กิจการทางด้านการทหารมีการใช้เทคโนโลยี อาวุธยุทโธปกรณ์สมัยใหม่ล้วนแต่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์และระบบควบคุม มีการใช้ระบบป้องกันภัย ระบบเฝ้าระวังที่มีคอมพิวเตอร์ควบคุมการทำงาน

5. การผลิตในอุตสาหกรรม และการพาณิชยกรรม การแข่งขันทางด้านการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมจำเป็นต้องหาวิธีการในการผลิตให้ได้มาก ราคาถูกลงเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาทมาก มีการใช้ข้อมูลข่าวสารเพื่อการบริหารและการจัดการ การดำเนินการและยังรวมไปถึงการให้บริการกับลูกค้า เพื่อให้ซื้อสินค้าได้สะดวกขึ้น

เทคโนโลยีสารสนเทศมีผลเกี่ยวข้องกับทุกเรื่องในชีวิตประจำวัน บทบาทเหล่านี้มีแนวโน้มที่สำคัญมากยิ่งขึ้น ด้วยเหตุนี้เยาวชนคนรุ่นใหม่จึงควรเรียนรู้ และเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อจะได้เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศให้ก้าวหน้าและเกิดประโยชน์ต่อประเทศต่อไป

ข้อมูลเพิ่มเติม http://www.info.tdri.or.th/library/quarterly/white-pp/wb14.htm
สิริวดี เวทมาหะ เลขที่ 34 ห้อง ม.4/2 สิริวดี เวทมาหะ เลขที่ 34 ห้อง ม.4/2 ที่ 5/30/2551
ป้ายกำกับ: ประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศ

http://siriwadee.blogspot.com/2008/05/blog-post_7994.html


ความสำคัญของเทคโนโลยีต่อการศึกษาไทย
บทบาทสำคัญของเทคโนโลยีสมัยใหม่ ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา โดยเฉพาะการศึกษาทั้งในระบบ นอกระบบและตามอัธยาศัย

ในปัจจุบันโลกเราก้าวล้ำเทคโนโลยีไปอย่างรวดเร็วทำให้การพัฒนาด้านการศึกษารุดหน้าก้าวไกลตามเทคโนโลยีด้วย เครือข่ายคอมพิวเตอร์ เป็นแหล่งรวบรวมขุมทรัพย์ทางปัญญาอย่างมากมายมหาศาลในลักษณะที่สื่อประเภทอื่น ไม่สามารถกระทำได้ ผู้เรียนจะมี ความสะดวกต่อการค้นหาข้อมูลในลักษณะใดก็ได้ เช่น การค้นหาหนังสือ หรืออ่านบทคัดย่อ จากห้องสมุดออนไลน์(E-Library) การเข้าไปอ่าน หนังสือนิตยสารต่าง ๆ วรรณกรรม ตำรา วารสาร หรือเอกสารทางวิชาการบนเครือข่าย ไม่ว่าจะอยู่สถานที่ใดก็ตาม จะเป็นโรงเรียนต่างจังหวัด โรงเรียนในเมือง หรือโรงเรียนในต่างประเทศ ก็สามารถเข้าไปใช้ เครือข่ายได้อย่างเท่าเทียมกันโดยผ่าน (E-learning) เกิดทักษะการคิดอย่างมีระบบ (high-order thinking skills) โดยเฉพาะทักษะการวิเคราะห์ แบบสืบค้น (inquiry-based analytical skills) การคิดเชิงวิเคราะห์ (critical thinking) การวิเคราะห์ข้อมูล การแก้ปัญหา และการคิดอย่างอิสระ ทั้งนี้เทคโนโลยีทำให้ย่อโลกอยู่ในมือคุณ เพียงแค่คลิก ซึ่งสอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษา พ.ศ. 2542 หมวด 3 ระบบการศึกษา มาตรา 15 การจัดการศึกษามีสามรูปแบบ คือ การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย

(1) การศึกษาในระบบ เป็นการศึกษาที่กำหนดจุดมุ่งหมาย วิธีการศึกษา หลักสูตรระยะเวลาของการศึกษา การวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษาที่แน่นอน

(2) การศึกษานอกระบบ เป็นการศึกษาที่มีความยืดหยุ่นในการกำหนดจุดมุ่งหมายรูปแบบ วิธีการจัดการศึกษา ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญของการสำเร็จการศึกษา โดยเนื้อหาและหลักสูตรจะต้องมีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของบุคคลแต่ละกลุ่ม

(3) การศึกษาตามอัธยาศัย เป็นการศึกษาที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองตามความสนใจ ศักยภาพ ความพร้อม และโอกาส โดยศึกษาจากบุคคล ประสบการณ์ สังคม สภาพแวดล้อมสื่อหรือแหล่งความรู้อื่น ๆ สถานศึกษาอาจจัดการศึกษาในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งหรือทั้งสามรูปแบบก็ได้ ให้มีการเทียบโอนผลการเรียนที่ผู้เรียนสะสมไว้ในระหว่างรูปแบบเดียวกันหรือต่างรูปแบบได้ไม่ว่าจะเป็นผลการเรียนจากสถานศึกษาเดียวกันหรือไม่ก็ตาม รวมทั้งจากการเรียนรู้นอกระบบ ตามอัธยาศัย การฝึกอาชีพ หรือจากประสบการณ์การทำงาน

ดังนั้น ปัจจัยด้านเทคโนโลยีในปัจจุบันส่งผลและมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาการเรียนการสอนและยกระดับการศึกษาทั้งในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย ดังนี้

1. เปิดโอกาสให้ครู อาจารย์ นักเรียน และนักศึกษา สามารถเข้าถึงแหล่งความรู้ที่หลากหลาย หรือ เสมือนหนึ่งมี " ห้องสมุดโลก" (Library of the World) เพียงปลายนิ้วสัมผัส ตัวอย่างเช่น ครูและนักเรียนสามารถค้นหาหรือสืบค้นข้อมูลจากแหล่งความรู้ต่าง ๆ ได้ทั่วโลก โดยไม่มีข้อจำกัดทางด้านสถานที่ และเวลา (Anywhere & Anytime) คณาจารย์และนักเรียนที่ด้อยโอกาสอันเนื่อง มาจากความห่างไกล ทุรกันดาร ขาดแหล่งห้องสมุดที่ดีสามารถค้นหาข้อมูลข่าวสารและความรู้ได้อย่างเท่าเทียมกัน มากยิ่งขึ้น เด็กนักเรียนเองสามารถร่วมกันผลิตข้อมูลในแขนงต่าง ๆ เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับพันธุ์พืช ธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม ข้อมูลทาง ประวัติศาสตร์ชุมชน ศิลปะวัฒนธรรมท้องถิ่น ภูมิปัญญาชาวบ้าน เพื่อเผยแพร่แลกเปลี่ยนกับเด็ก ทั่วโลก ในขณะที่ครูสามารถ

นำ เนื้อหาทางวิชาการที่มีประโยชน์ เช่น บทความทางวิชาการ เอกสารการสอน ลงในเว็บไซต์เพื่อให้นักเรียนได้ศึกษา และแลกเปลี่ยนภายในวงการซึ่งกันและกัน

2.พัฒนาการสื่อสารระหว่างครูกับนักเรียน ซึ่งมีผลสืบเนื่องมาจากการที่อินเทอร์เน็ตสามารถให้บริการไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ที่มีความสะดวก รวดเร็ว แม่นยำ และง่ายต่อการใช้ ทำให้เกิดการสื่อสาร เพิ่มมากขึ้นในระบบการศึกษาทั้งที่เป็นการสื่อสาร ระหว่างครูกับครู ครูกับนักเรียน และระหว่างนักเรียนกับนักเรียนเองซึ่งในปัจจุบันคณาจารย์จำนวนมากในหลายสถาบัน ทั้งระดับมัธยมศึกษา และอุดมศึกษา ได้ใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์เป็นสื่อกลางในการให้การบ้าน รับการบ้าน และตรวจส่งคืน การบ้าน ในขณะเดียวกัน การสื่อสารระหว่างนักเรียนสามารถช่วยส่งเสริมการทำงานกลุ่ม การปรึกษาหารือกับครูและเพื่อนนักเรียน ในเชิงวิชาการ ตลอดจนการติดต่อกับเพื่อนทั้งในและต่างประเทศ

3. เปลี่ยนบทบาทของครูและนักเรียน การใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการเรียนการสอนจะทำให้บทบาทของครูปรับเปลี่ยนไป จากการเน้นความเป็น "ผู้สอน" มาเป็น "ผู้แนะนำ" มากขึ้น ในขณะที่กระบวนการเรียนรู้ของนักเรียนจะเป็นการเรียนรู้ "เชิงรุก" มากขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากฐานข้อมูลในอินเทอร์เน็ตเป็นปัจจัยบวกที่สำคัญที่จะเอื้ออำนวยให้นักเรียนสามารถเรียน และค้นคว้า ได้ด้วยตนเอง (independent learning) ได้สะดวกรวดเร็วและมากยิ่งขึ้นแต่อย่างไรก็ตามก็มีความจำเป็น ที่จะต้องตระหนักว่า บทบาทและรูปแบบที่จะปรับเปลี่ยนไปนี้จะต้องมีการเตรียมการที่ดีควบคู่ไปด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในส่วนของครูที่จะต้อง วางแผนการ "ชี้แนะ" ให้รัดกุม เพื่อให้การเรียนรู้ของเด็กมีประสิทธิผลดีขึ้น ปรับจากการเรียน ตามครูสอน (passive learning) มาเป็นการเรียนรู้วิธีเรียน (learning how to learn) และเป็นการเรียนด้วยความอยากรู้ (active learning) อย่างมีทิศทาง.

อย่างไรก็ตามแม้เทคโนโลยีจะช่วยยกระดับการศึกษาให้ทุกคนได้ตลอดชีวิต เพียงแค่คลิกทุกอย่างย่อมมี 2 ด้าน ดังนั้นทั้งครูผู้สอนและผู้ใช้เทคโนโลยีในการศึกษานั้น ควรตระหนักถึงจริยธรรมและสิทธิส่วนบุคคลในการใช้เทคโนโลยีเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้เรียนรู้ต่อไปดังคำว่า “การศึกษาเป็นการลงทุนที่ร่ำรวยที่สุดของมนุษย์”

แหล่งอ้างอิง:
พระราชบัญญัติการศึกษา พ.ศ. 2542 [online]. เข้าถึงได้จาก : http://www.panyathai.or.th (2552, กุมภาพันธ์ 24 )เวลา 14.10 น.

ความสำคัญของอินเตอร์เน็ตต่อการศึกษา [online].เข้าถึงได้จาก: http://www.comindex.thport.com (2552, กุมภาพันธ์ 24 )เวลา 14.15 น.
http://www.gotoknow.org/posts/244347

ความหมายของเทคโนโลยี
ความหมายของ "เทคโนโลยีการศึกษา" (education technology)
ได้มีนักการศึกษาได้ให้ความหมายของเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา ดังนี้
. วิจิตร ศรีสะอ้าน (2517 : 120-121)
เป็นการประยุกต์เอาเทคนิค วิธีการ แนวความคิด อุปกรณ์และเครื่องมือใหม่ ๆ มาใช้เพื่อช่วยแก้ปัญหาทางการศึกษาทั้งในด้านการขยายงานและด้านการปรับปรุงคุณภาพของการเรียนการสอน

. คาร์เตอร์ วี กูด (Carter V.Good ,1973)

เป็นการนำหลักการทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ เพื่อการออกแบบ และส่งเสริมระบบการเรียนการสอนโดยเน้นที่วัตถุประสงค์ทางการศึกษาที่สามารถวัดได้อย่างถูกต้องแน่นอน มีการยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียน รวมถึงเทคนิคการสอนโดยใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ สื่อการสอนต่าง ๆ ในลักษณะของสื่อประสมและ การศึกษาด้วยตนเอง

. กิดานันท์ (2543)

เป็นการประยุกต์เอา เทคนิค วิธีการ แนวความคิด วัสดุ อุปกรณ์ และสิ่งต่าง ๆ อันสืบเนื่องมาจากเทคโนโลยีมาใช้ในวงการศึกษาจากการที่นักการศึกษาและนักวิชาการท่านต่าง ๆ ได้ให้ความหมายของเทคโนโลยีการศึกษาไว้มากมาย หลายแง่มุมเพื่ออธิบายภาพลักษณ์ของเทคโนโลยีการศึกษา เป็นที่น่าสนใจอย่างหนึ่งว่า ความหมายของคำนี้ได้มีพัฒนการ และเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยตามการพัฒนาเทคโนโลยีีนับตั้งแต่ปีพ.ศ.2506เป็นต้นมาจนถึงความหมายที่ใช้กันในปัจจุบันตามที่สมาคมเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา (Association for Educational Communications and Technology: AECT) แห่งสหรัฐอเมริกาได้ให้ความหมาย ไว้เมื่อปี พ.ศ.2537ว่า (Seels&Richey, 1994:9)

"เทคโนโลยีการศึกษาเป็นทฤษฎีและการปฏิบัติของ
การออกแบบ การพัฒนา การใช้ การจัดการ และการประเมินของ
กระบวนการและทรัพยากรสำหรับการเรียนรู้"

. ณัฐวดี ศรีขวัญแก้ว

ความหมายของเทคโนโลยี มีการให้ความหมายของเทคโนโลยีหลากหลายกันออกไป ดังนี้ เทคโนโลยีเป็นการประยุกต์เอาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ การศึกษาพัฒนาองค์ความรู้ต่าง ๆ เพื่อให้เข้าใจธรรมชาติ กฎเกณฑ์ของสิ่งต่าง ๆ และหาทางนำมาประยุกต์ให้เกิดประโยชน์ การนำความรู้ความเข้าใจทางวิทยาศาสตร์ มาใช้ในการสร้างสรรค์ผลงานมาประดิษฐ์คิดค้น การควบคุมการผลิต เพื่อให้ มนุษย์มีความสะดวกสบาย ในการดำเนินชีวิตอย่างมีประสิทธิภาพ

ความสำคัญของเทคโนโลยีการศึกษา
ได้สรุปความสำคัญของเทคโนโลยีการศึกษาดังนี้
1 เทคโนโลยีการศึกษาทำให้การเรียนการสอน มีความหมายมากขึ้น ทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนได้กว้างขวาง เรียนได้เร็วขึ้น ทำให้ผู้สอนมีเวลาให้ผู้เรียนมากขึ้น
2 เทคโนโลยีการศึกษาสามารถตอบสนองความแตกต่างของผู้เรียน ผู้เรียนสามารถเรียนได้ตามความสามารถของผู้เรียน การเรียนการสอนจะเป็นการตอบสนองความสนใจและความต้องการของแต่ละบุคคลได้ดี
3 เทคโนโลยีการศึกษาทำให้การจัดการศึกษา ตั้งบนรากฐานของวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ทำให้การจัดการศึกษาเป็นระบบและเป็นขั้นตอน
4 เทคโนโลยีการศึกษาช่วยให้การศึกษามีพลังมากขึ้น การนำเทคโนโลยีด้านสื่อเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งที่จะทำให้การศึกษามีพลัง
5 เทคโนโลยีการศึกษาทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้อย่างกว้างขวาง และได้พบกับสภาพความจริงในชีวิตมากที่สุด
6 เทคโนโลยีการศึกษาทำให้เปิดโอกาสทางการศึกษาทั้งๆ การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย

บทบาทของเทคโนโลยีการศึกษาในการเรียนการสอนจึงมีอยู่ 4 บทบาท ดังนี้
1. บทบาทด้านการจัดการ
2. บทบาทด้านการพัฒนา
3. บทบาทด้านทรัพยากร
4. บทบาทด้านผู้เรียน

จาก Domain of Education Technology จะเห็นได้ว่าแนวโน้มของเทคโนโลยีทางการศึกษา คือ การจัดระเบียบ (organizing) และการบูรณาการ (integrating) องค์ประกอบต่างๆ ทั้งหลายที่จะเอื้ออำนวยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล หรือกล่าวได้ว่า เป็นการเอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้

http://portal.in.th/natthawadee/pages/dete/


การบูณาการ ICT กับการเรียนการสอน
“ผู้เรียน ผู้สอน บุคลากรทางการศึกษา และประชาชน ใช้ประโยชน์จาก ICT ในการเข้าถึงบริการทางการศึกษา ได้เต็มศักยภาพ อย่างมีจริยธรรม มีสมรรถนะทาง ICT ตามมาตรฐาน สากล”
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
เทคโนโลยีสำหรับการประมวลผลสารสนเทศ
ครอบคลุมถึง
การรับ-ส่ง
การแปลง
การจัดเก็บ
การประมวลผล
การค้นคืนสารสนเทศ.
หมายถึง

ความเป็นมาของ ICT กับการศึกษา

การเปลี่ยนแปลงด้านรูปแบบการศึกษา
รูปแบบการศึกษาที่เปลี่ยนแปลงไป คือ เน้นการพัฒนาวิธีการเรียนรู้ ความคิด และกระบวนการที่รวดเร็วต่อสารสนเทศ การใช้รูปแบบการสอนแบบยืดหยุ่นที่ไปเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีที่มี อยู่ใน ประเทศ จัดสภาพแวดล้อมทางการเรียนและสิ่งอำนวยความสะดวกที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการเรียนมากกว่าการสอนโดยใช้โครงสร้างการเรียนแบบยืดหยุ่นพัฒนาเทคนิคการใช้คอมพิวเตอร์และมัลติมีเดียเพื่อการเรียนการสอน

การเปลี่ยนแปลงด้านสภาพแวดล้อมทางการศึกษา

อิทธิพลของเทคโนโลยีสารสนเทศส่งผลต่อระบบโครงสร้างของสภาพแวดล้อมทางการศึกษาหลายด้าน อาทิ ระบบสังคมเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการการศึกษามากขึ้น หลักสูตรเป็นแบบ ยืดหยุ่น และมีการกระจายในหลายๆ ด้านการบริหารเน้นกระจายการบริหารสู่ ชุมชน กลุ่มผู้เรียนเป็นกลุ่มเล็ก และใช้เครือข่ายการเรียนรู้ มีการร่วมมือกันระหว่างโรงเรียน ชุมชน สมาชิกของสังคม ครูและนักเรียนเป็นต้นดังนั้นสภาพแวดล้อมทางการศึกษาในยุคเทคโนโลยีสารสนเทศเปลี่ยนแปลงกระบวนการในการเรียนใหม่ และเปลี่ยนแปลงความต้องการในการศึกษาในอนาคต สื่อสมัยใหม่เข้ามาแทนที่สื่อ แบบเก่า แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้จึงเป็นสิ่งที่ช่วยสนับสนุนกระบวนการเรียนรู้ในสภาพแวดล้อมของเทคโนโลยีสารสนเทศ

ธรรมชาติของนักเรียน

จะเป็นผู้แสวงหาและใฝ่หาเพื่อการเรียนรู้อยู่แล้ว ครูจึงเสมือนเป็นผู้เสริมแต่ง และสร้างแนวทาง รวมทั้งสนับสนุนให้เกิดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อการเรียนรู้ เน้นวิธีการเรียนรู้ในแนวใหม่ที่สามารถเรียนรู้ร่วมกันทั้งในห้องเรียน และนอกห้องเรียน โดยไม่จำกัดเวลา สถานที่และบุคคล จากแนวคิดดังกล่าวจึงได้สร้างรูปแบบการคำนวณโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) เป็นเครื่องมือช่วยสร้างกิจกรรมการเรียนการสอนที่บูรณาการเข้ากับทุกวิชาในโรงเรียนตั้งแต่การใช้กิจกรรมเสริมความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ความคิดแบบเป็นระบบ ความคิดที่มีเหตุผล การหาคำตอบและคิดค้นต่าง ๆ รวมทั้งสร้างโมเดลการศึกษาแบบ ต่างๆ เป็นการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างเพื่อนนักเรียนด้วยกัน รุ่นพี่ รุ่นน้อง เพื่อนต่างห้อง ต่างโรงเรียน บ้านและโรงเรียน เพื่อเสริมสร้างกิจกรรมการศึกษาทั้งในรูปแบบซิงโครนัสและอะซิงโครนัส โดยใช้เครื่องมือเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) เข้ามาช่วย

ปัจจุบันพัฒนาการทางเทคโนโลยีสารสนเทศก้าวหน้าขึ้นอย่างรวดเร็ว มีการประยุกต์ใช้งานอย่างกว้างขวาง คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตได้เข้ามีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวัน ทั้งนี้เพราะเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และระบบสื่อสารโทรคมนาคมสามารถประมวลผลข้อมูลข่าวสารได้เร็ว และสื่อสารกันได้สะดวก เทคโนโลยีดังกล่าวจึงเรียกรวมว่า Information and Communication Technology (ICT) มีบทบาทต่อการศึกษาอย่างมาก โดยเฉพาะการประยุกต์ในระบบการศึกษา

แนวคิดเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อช่วยในการเรียนรู้

เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามามีส่วนช่วยเรื่องการเรียนรู้ ปัจจุบันมีเครื่องมือที่ช่วย สนับสนุนการเรียนรู้หลายด้านมีระบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) ระบบสนับสนุนการรับรู้ ข่าวสาร เช่น การค้นหาข้อมูลข่าวสารเพื่อการเรียนรู้ใน World Wide Web

เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาสนับสนุนการจัดการศึกษา โดยเฉพาะการจัดการ ศึกษาสมัยใหม่จำเป็นต้องอาศัยข้อมูลข่าวสารเพื่อการวางแผน การดำเนินการติดตามและประเมินผลซึ่งอาศัยคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารโทรคมนาคมเข้ามามีบทบาทที่สำคัญ

เทคโนโลยีสารสนเทศกับการสื่อสารระหว่างบุคคล ในเกือบทุกวงการทั้งทางด้าน การศึกษาจำเป็นต้องอาศัยสื่อสัมพันธ์ระหว่างตัวบุคคล เช่น การสื่อสารระหว่างผู้สอนกับ ผู้เรียน โดยใช้องค์ประกอบที่สำคัญช่วยสนับสนุนให้เกิดประสิทธิภาพในการดำเนินงาน

พัฒนาคุณภาพการศึกษา โดยเกิดการศึกษาในรูปแบบใหม่ กระตุ้นความสนใจแก่ผู้เรียน โดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นสื่อในการสอน (Computer-Assisted Instruction : CAI) และการเรียนรู้โดยใช้คอมพิวเตอร์ (Computer-Assisted Learning : CAL) ทำให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจในบทเรียนมากยิ่งขึ้น ไม่ซ้ำซากจำเจผู้เรียนสามารถเรียนรู้สิ่งต่างๆ ได้ด้วยระบบที่เป็นมัลติมีเดีย นอกจากนั้นยังมีบทบาทต่อการนำมาใช้ในการสอนทางไกล (Distance Learning) เพื่อผู้ด้อยโอกาสทางการศึกษาในชนบทที่ห่างไกล

บทบาทของสถานศึกษาในการใช้ ICT
• กำหนดนโยบายที่สอดคล้องกับสภาพปัจจุบันด้าน ICT
• จัดทำหลักสูตร/จัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับสภาพความต้องการด้าน ICT
• ผู้บริหารมีความมุ่งมั่น และมีการพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่อง
• สนับสนุนครู และบุคลากรทางการศึกษาได้มีโอกาสเข้าถึงการใช้งาน ICT อย่างทั่วถึง
• ปรับบทบาทและวิธีการสอนของครู

สถานศึกษาที่มุ่งหวังจะนำ ICT มาใช้ในการเรียนการสอนจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจ ในเรื่องต่อไปนี้
• มีความร่วมมือระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียน ผู้เรียนกับผู้สอน
• ติดต่อกับแหล่งความรู้ต่าง ๆ ทั้งในและนอกโรงเรียน สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ เชื่อมโยงโรงเรียนเข้ากับชุมชน มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
• จัดการเรียนรู้โดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ
• ขจัดปัญหาเรื่องพรมแดน สถานที่และเวลา
• นำศักยภาพของสื่อ ICT มาช่วยเสริมกระบวนการเรียนรู้
ความสำเร็จในการใช้ ICT ในการเรียนรู้
• ผู้เรียน : จะต้องมีทักษะพื้นฐานในการใช้ ICT เพื่อการเรียนรู้
• หลักสูตร : จะต้องมีการสอดแทรก ICT เข้าในกิจกรรมการเรียนการสอนและส่งเสริมให้ เกิดการคิด วิเคราะห์ และการสร้างองค์ความรู้
• ผู้สอน/ผู้บริหาร : จะต้องมีทักษะพื้นฐาน และสามารถนำ ICT ไปประยุกต์ใช้ในกิจกรรม การเรียนการสอน
• เทคโนโลยี : เลือกใช้เทคโนโลยีได้สอดคล้อง และเหมาะสมกับผู้เรียน

ประโยชน์การบูณาการ ICT กับการเรียนการสอน
1) ครูเป็นผู้นำส่งข้อมูลใหม่ๆ กระตุ้นให้นักเรียนทำงาน เรียนรู้จากแหล่ง เรียนรู้ ที่กำหนดไว้
2) การให้ความรู้ที่นักเรียนต้องการจะช่วยให้นักเรียนเกิดการเรียนเรียนรู้ได้ ดีกว่าการให้ความรู้ใน สิ่งที่ครูต้องการ
3)นักเรียนเปลี่ยนบทบาทจากการเป็นผู้ฟัง เป็นผู้ลงมือปฏิบัติเพื่อให้เกิด การเรียนรู้ด้วยตนเอง
4)การใช้เวลาในการทำงาน หรืออ่าน ในสิ่งที่สนใจ จะช่วยให้เกิดการเรียนรู้ดีกว่าการฟังครูพูด
5) นักเรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองตลอดเวลา
6) ช่วยครูประหยัดเวลาในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน

ที่มา นายมังกร ศรีษะโคตร นิสิตปริญญาโท สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา (พ.21) ศูนย์มหาสารคาม
http://www.learners.in.th/blogs/posts/259529

วิเคราะห์ 5 ปัจจัยภายนอกที่มีผลต่อการศึกษาไทย
การกำหนดทิศทางและนโยบายการจัดการศึกษาไทย จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องจัดทำฐานข้อมูล โดยวิเคราะห์และสกัดปัจจัยสำคัญออกมา บทความนี้นำเสนอปัจจัยภายนอก 5 ประการสำคัญที่มีผลต่อการจัดการศึกษาไทย ดังนี้

1. ปัจจัยด้านเทคโนโลยี ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีมีผลต่อการกำหนดคุณสมบัติและคุณภาพของแรงงานในอนาคต เทคโนโลยีสารสนเทศ เทคโนโลยีการขนส่ง เทคโนโลยีการผลิต นาโนเทคโนโลยี เทคโนโลยีชีวภาพ ฯลฯ มีความก้าวหน้าขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเทคโนโลยีเหล่านี้มีประโยชน์ในการเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของประเทศ ดังนั้นการจัดการศึกษาจึงต้องมีการเพิ่มเติมความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีใหม่ ๆ ในหลักสูตรการเรียนการสอน และปรับปรุงให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี

2. ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ ปัจจัยทางเศรษฐกิจมีผลต่อตลาดแรงงานและตลาดการศึกษา เนื่องจากการกำหนดลักษณะของแรงงานที่ต้องการ อาทิ เศรษฐกิจใหม่ จะแข่งขันกันด้วยนวัตกรรมใหม่ ๆ ซึ่งต้องอาศัยการวิจัยและพัฒนา ดังนั้น การศึกษาต้องพัฒนาคนให้มีทักษะการทำวิจัย ให้สามารถสร้างนวัตกรรมใหม่ที่มีคุณค่าต่อระบบเศรษฐกิจ การเปิดเสรีทางการค้าและการลงทุน เกิดการเคลื่อนย้ายสินค้า และเงินลงทุนจากต่างประเทศมากขึ้น ประเทศต่าง ๆ ไม่เพียงแต่ต้องลดการกีดกันการแข่งขันเท่านั้น ยังต้องแข่งขันกันด้วยสินค้าที่มีคุณภาพ ซึ่งต้องอาศัยแรงงานที่มีฝีมือ มีทักษะความสามารถที่หลากหลาย เช่น ความรู้ด้านเทคโนโลยี ภาษาต่างประเทศ การบริหาร ฯลฯ ซึ่งเป็นหน้าที่ของผู้บริหารการศึกษาที่จะพัฒนาคนให้มีคุณภาพ

3. ปัจจัยด้านระบบราชการ การปฏิรูปการศึกษาที่ผ่านมาเคลื่อนไปอย่างยากลำบาก เนื่องด้วยระบบราชการเป็นอุปสรรค ซึ่งเกิดจาก ความล่าช้าในการประสานงาน เนื่องจากการทำงานตามระบบราชการไทย มักทำงานแบบต่างคนต่างทำไม่ไปในทิศเดียวกัน นอกจากนี้ ยังมีลักษณะของการรวมศูนย์ที่ส่วนกลางมากเกินไป การทำงานแบบราชการ ที่ยึดกฎระเบียบตายตัว ขาดความยืดหยุ่น และเอื้อต่อการปฏิบัติงานของผู้บริหารการศึกษาและครูบางส่วนที่ไม่ยอมปรับตัว

4. ปัจจัยด้านการเมือง กล่าวกันว่า การปฏิรูปหรือพัฒนาการจัดการศึกษาจะสำเร็จหรือล้มเหลว ขึ้นอยู่กับการเมืองมากกว่าแนวทางและวิธีการ แต่หากการเมืองไทยมีเงื่อนไขบางประการที่เป็นอุปสรรค จะส่งผลให้การปฏิรูปการศึกษาไทยไม่ก้าวหน้าหรือประสบความสำเร็จเท่าที่ควร อาทิ

การปรับเปลี่ยนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) บ่อยครั้งทำให้การดำเนินนโยบายการพัฒนาการศึกษาไม่ต่อเนื่อง โดยเฉพาะรัฐบาลทักษิณ มีการเปลี่ยนรัฐมนตรี ศธ. บ่อยมาก คนละ 9 เดือนโดยเฉลี่ย นักการเมืองมอง ศธ. ว่า เป็นกระทรวงที่สร้างผลงานได้ยาก ตำแหน่ง รมว. ศธ. จึงนำมาใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางการเมือง อาทิ เป็นรางวัลแก่ผู้สนับสนุนพรรค ผู้ที่เข้ามาดำรงตำแหน่งจึงมิใช่ผู้มีความรู้ในด้านการศึกษาอย่างแท้จริง

ความไม่สอดคล้องของเป้าหมายของการจัดการศึกษากับเป้าหมายทางการเมืองเป้าหมายของนักการเมืองหลายคนคือ ต้องการคะแนนนิยม จึงมีนักการเมืองจำนวนไม่น้อยที่ไม่ดำเนินนโยบายที่ให้ผลในระยะยาว เนื่องจากเสี่ยงที่จะทำให้ตนเองไม่เป็นที่นิยมทางการเมือง ซึ่งนั่นหมายความรวมถึงนโยบายการศึกษา ดังนั้นนักการเมืองจึงเลือกดำเนินนโยบายที่เห็นผลในระยะสั้น เพื่อทำให้ตนเองได้รับเลือกตั้งเข้ามาอีกครั้ง อันเป็นอุปสรรคยิ่งต่อการพัฒนาการศึกษาไทย

5. ปัจจัยด้านวัฒนธรรม สังคมไทยมีเงื่อนไขทางวัฒนธรรมหลายประการ ที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาไทย ดังนี้

ขาดวัฒนธรรมการมีส่วนร่วม สังคมไทยในปัจจุบันขาดความเหนียวแน่น ขาดความร่วมแรงร่วมใจ คนในสังคมจึงมองการศึกษาว่าเป็นเรื่องของรัฐบาลไม่เกี่ยวกับตนเอง

รักความสนุกและความสบายคนไทยส่วนใหญ่สนใจความบันเทิงมากกว่าการแสวงหาความรู้ จึงเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา

สังคมอุปถัมภ์ สังคมไทยยังมีลักษณะสังคมอุปถัมภ์ เห็นแก่พวกพ้องมากกว่าส่วนร่วม ผู้ที่มีอำนาจมักแสวงหาผลประโยชน์เพื่อตนเองและพวกพ้อง โดยที่ประชาชนไม่กล้าขัดขวาง เพราะต้องพึ่งพาอาศัย ดังนั้น เมื่อมีการกระจายอำนาจทางการศึกษา อาจกลายเป็นแหล่งผลประโยชน์ให้กับผู้มีอิทธิพลได้หากควบคุมไม่ดี

ขาดการเปิดกว้างทางความคิดและการรับฟังความเห็นของผู้อื่น สังคมไทยมีค่านิยมว่า การมีความคิดที่แตกต่างหรือการเป็นแกะดำ เป็นสิ่งไม่ดี มองผู้ที่คิดแตกต่างเป็นศัตรู และพยายามหักล้างความคิดซึ่งมักกระทำโดยใช้อารมณ์มิได้ใช้เหตุผลเป็นที่ตั้ง ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาผู้เรียนที่ปัจจุบันมุ่งสร้างคนให้คิดเป็นทำเป็น

ปัจจัยที่กล่าวมาทั้งหมดข้างต้น ล้วนเป็นปัจจัยหลักที่หน่วยงานกำหนดธงพัฒนาระบบการศึกษาไทย จะต้องให้ความสำคัญ และนำไปใช้วิเคราะห์วางแผนกำหนดทิศทางและนโยบาย โดยเฉพาะปัจจัยด้านการเมือง ซึ่งมีอิทธิพลมากต่อการพัฒนาการศึกษาไทย เพราะหากแม้ว่าจะมีการขยับหรือพัฒนาปัจจัยอื่นมากเพียงใด แต่หากปัจจัยการเมืองไม่ถูกพัฒนาให้เอื้อต่อการจัดการศึกษา ย่อมส่งผลให้การขยับหรือพัฒนาปัจจัยอื่นย่อมกระทำได้ยาก และอาจไม่นำพาสู่ความสำเร็จได้ หากเปรียบเทียบให้ปัจจัยทางการเมือง เปรียบเสมือนน้ำที่หล่อเลี้ยงให้ระบบการศึกษาไทยเติบโตงอกงามผลิดอกออกผลที่มีคุณภาพ แต่หากขาดการหล่อเลี้ยงน้ำที่มากเพียงพอ ย่อมจะทำให้การจัดการศึกษาเหี่ยวเฉา และไม่เจริญก้าวหน้า ดังนั้นการพัฒนาการจัดการศึกษาไทย จึงขึ้นอยู่กับจุดยืนและภาวะของผู้นำประเทศและผู้นำกระทรวงศึกษาธิการที่ให้ความสำคัญ ผลักดันและสนับสนุน ให้เกิดการขับเคลื่อนในการพัฒนาระบบการศึกษาไทย

http://www.kriengsak.com/node/1040




ICT ในการสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ

บทความ เรื่อง ICT ในการสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ

ปัจจุบันพัฒนาการทางเทคโนโลยีสารสนเทศก้าวหน้าขึ้นอย่างรวดเร็ว มีการประยุกต์ใช้งานอย่างกว้างขวาง คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตได้เข้ามีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวัน ทั้งนี้เพราะเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และระบบสื่อสารโทรคมนาคมสามารถประมวลผลข้อมูลข่าวสารได้เร็ว และสื่อสารกันได้สะดวก เทคโนโลยีดังกล่าวจึงเรียกรวมว่า ICT - Information and Communication Technology ไอซีที มีบทบาทต่อการศึกษาอย่างมาก โดยเฉพาะการประยุกต์ในระบบการศึกษา ดังกระทรวงศึกษาธิการ ได้กำหนดวิสัยทัศน์ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (พ.ศ. 2547 - 2549) ไว้ว่า “ผู้เรียน สถานศึกษา และหน่วยงานทางการศึกษา ทุกแห่งมีโอกาสเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต การบริหารจัดการ การวิจัย การพัฒนาอาชีพ การพัฒนาคุณภาพชีวิตโดยได้รับบริการอย่างทั่วถึง เท่าเทียม มีคุณภาพและประสิทธิภาพ นำไปสู่สังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้”

พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ได้กำหนดแนวทางในการปฏิรูปการศึกษาไทย โดยให้ความสำคัญ กับผู้เรียนเป็นหลัก เพื่อรองรับกระแสความเปลี่ยนแปลงของโลกทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมและเทคโนโลยี ให้ความสำคัญสูงสุดในกระบวนการการปฏิรูปการเรียนรู้ ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง เพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาเต็มศักยภาพ สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง และรู้จักแสวงหาความรู้ได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต จัดกระบวนการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของผู้เรียน โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล ฝึกทักษะ กระบวนการคิด การจัดการให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง การปฏิบัติให้คิดเป็น ทำเป็น ปลูกฝังคุณธรรมในทุกวิชา มีเป้าหมายให้ผู้เรียนเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เป็นคนดี คนเก่ง และมีความสุขอย่างแท้จริง



ลักษณะการใช้ ICT

· การสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต

· การนำข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตมาใช้งาน

· การสร้างแหล่งข้อมูลด้วยตนเอง

แผนหลักใช้ ICT เพื่อพัฒนาการศึกษา

กระทรวงศึกษาธิการมีภารกิจหลักที่จะต้องดูแลเด็กและเยาวชนทั้งในระบบโรงเรียนและนอกระบบโรงเรียน รวมแล้วประมาณ 18 ล้านคน ให้ได้รับการศึกษาภาคบังคับ (9 ปี) และการศึกษาขั้นพื้นฐานในเบื้องต้น (12 ปี) รวมทั้งสนับสนุนให้เรียนถึงระดับอุดมศึกษา ตามศักยภาพของแต่ละคนเพื่อสามารถประกอบอาชีพเลี้ยงตนเองและครอบครัวได้ รวมทั้งเป็นกำลังงานของประเทศชาติ ช่วยพัฒนาด้านต่าง ๆ ให้สังคมร่มเย็นเป็นสุขและสามารถไปสู่เป้าหมายข้อหนึ่งที่รัฐบาลระบุไว้ คือ เพื่อให้เป็นสังคมแห่งคุณธรรม ภูมิปัญญาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต มีการสร้างเสริม ต่อยอดการเรียนรู้และสร้างมูลค่าเพิ่มอยู่ตลอดเวลา

นโยบายการเร่งใช้ ICT (Information and Communication Technology) เพื่อพัฒนาการศึกษาในทุกด้านโดยเฉพาะการช่วยพัฒนา ครู อาจารย์ การช่วยให้เด็กและเยาวชนได้เข้าถึงแหล่งความรู้และได้เรียนอย่างทัดเทียมกัน การพัฒนาระบบบริหารจัดการให้ฉับไว มีประสิทธิภาพสูงสุด การจัดเครื่องมืออุปกรณ์คอมพิวเตอร์และการเชื่อมโยงเครือข่ายจึงเป็นนโยบายสำคัญของกระทรวง ศึกษาธิการ

แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ (พ.ศ.2547-2549) ที่จัดทำโดยผู้ทรงคุณวุฒิจากส่วนราชการและภาคเอกชนภายนอกที่เกี่ยวข้องและผู้แทนระดับ CIO (Chief Information Officer) ของแต่ละกรมของกระทรวงศึกษาธิการ มีรายละเอียดขั้นตอน วิธีการทำงานชัดเจนมาก แต่ในที่นี้ขอกล่าวเฉพาะยุทธศาสตร์ 4 ประการที่แผนหลักนี้ระบุไว้ เพื่อไปสู่ความสำเร็จ คือ 1) การใช้ ICT เพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ 2) การใช้ ICT เพื่อการบริหารและบริการทางการศึกษา 3) การผลิตและการพัฒนาบุคลากร และ 4) การกระจายโครงสร้างพื้นฐาน ICT เพื่อการศึกษา



ในเรื่องการใช้ ICT เพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ มีเป้าหมายให้ผู้เรียนทุกคนมีโอกาสเข้าถึงและสามารถใช้ ICT ตามมาตรฐานหลักสูตร ซึ่งจะประกอบด้วยเรื่องสำคัญ อาทิ ความหมายของข้อมูล แหล่งข้อมูล การจัดเก็บและเรียกใช้ ส่วนประกอบหลักของคอมพิวเตอร์ ประโยชน์ และการใช้ระบบปฏิบัติการ การใช้คอมพิวเตอร์ การใช้เทคโนโลยีกับภูมิปัญญาท้องถิ่นและสากลความรู้และการใช้เครือข่ายค้นคว้า วิเคราะห์ภาษาคอมพิวเตอร์ และการพัฒนาโปรแกรม ซึ่งกรอบหลักสูตรดังกล่าว จะมีความยากง่าย เป็นขั้นตอน ครู อาจารย์ จะเป็นส่วนสำคัญมากที่จะพัฒนาความรู้ กระบวนการ ถ่ายทอดความรู้ ให้เด็กเรียนอย่างเข้าใจและสนุกสนาน รวมทั้งใช้เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต คุณภาพการทำงานของครู อาจารย์ เด็กและผู้ปกครองที่เกี่ยวข้องทุกคน

นอกจากนั้นในแผนหลัก กระทรวงศึกษาธิการจะจัดทำและสนับสนุนหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-Book) อย่างน้อยปีละ 1,000 เล่ม เพื่อเสริมการเรียนการสอน (ปัจจุบันกรมวิชาการได้จัดทำแล้วประมาณ 500 เล่ม) จะมีศูนย์รวมสื่อและมีห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ (e-Library) เพื่อให้บริการนักเรียนและประชาชนทุกเขตพื้นที่การศึกษา มีการวิจัยพัฒนาการประยุกต์ใช้ ICT อย่างน้อยปีละ 100 เรื่อง มีหลักสูตร ICT ในระดับการศึกษาพื้นฐาน อาชีวศึกษา อุดมศึกษา และการศึกษานอกโรงเรียน รวมทั้งมีการทำงานร่วมกันระหว่างมหาวิทยาลัย และโรงเรียนประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ทั้งของรัฐบาลและเอกชน เพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ไปสู่การศึกษาผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (e-Learning) อย่างเหมาะสมและเกิดประโยชน์สูงสุด

ในส่วนของการใช้ ICT เพื่อการบริหารและบริการทางการศึกษา มีการจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการในระดับเขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษาเพิ่มจากระดับกระทรวง ระดับกรมที่ตั้งเรียบร้อยแล้วมีข้อมูลทะเบียนนักเรียนโดยใช้ระบบ EIS (Educational Information Systems) ซึ่งจะมีการใช้เลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก เป็นตัวเชื่อมโยงและรวบรวมข้อมูล ซึ่งสามารถติดตามความก้าวหน้า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนติดตามเพื่อให้การช่วยเหลือกรณีที่อยู่ในกลุ่มยากไร้ ด้อยโอกาสหรือพิการ หรือเป็นกลุ่มมีความสามารถพิเศษ ซึ่งข้อมูลต่าง ๆ เหล่านี้จะสามารถถ่ายโอนไปยังโรงเรียนแห่งใหม่ได้โดยสะดวก มีระบบบริหารงานบุคคล ระบบงานสารบรรณ ระบบห้องสมุด ซึ่งจะเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อการค้นคว้าที่กว้างขวางขึ้นได้ ระบบบริหารพัสดุครุภัณฑ์ ระบบบริหารสถานศึกษาโดยจะนำระบบ GIS (Geographic Information Systems) เข้ามาช่วยในการดูแลการจัดสรรทรัพยากรการจัดการในระดับพื้นที่

สำหรับด้านการผลิตและพัฒนาบุคลากร มุ่งด้านพัฒนาครู อาจารย์ ให้สามารถใช้ ICT ช่วยให้การสอนมีความน่าสนใจ สนุกสนาน ค้นคว้าต่อยอด ความรู้ประสบการณ์จากที่มีอยู่เดิม (ครู อาจารย์ทั้งหมดประมาณ 522,000 คน อบรมไปแล้ว 353,000 คน คิดเป็นประมาณร้อยละ 67 แผนหลักนี้จะเร่งดำเนินการในส่วนที่เหลือโดยสถาบันราชภัฏทั่วประเทศเป็นเจ้าภาพเรื่องนี้ ร่วมกับกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และภาคเอกชน ซึ่งดำเนินการหลายโครงการ อาทิ โครงการอบรมโปรแกรม Think.com และโครงการ Intel Teach to the Future โครงการความร่วมมือกับประเทศญี่ปุ่น JICA (Japan International Cooperation Agency) ความร่วมมือจากองค์การ Unicef เป็นต้น ซึ่งในจำนวนนี้จะมีครู อาจารย์ จำนวนมากที่จะสามารถพัฒนาโปแกรมเพื่อช่วยการสอน CAI (Computer Assisted Instruction) ได้เอง ปัจจุบันมีการประกวด Website และ CAI โดยมีผู้สนใจส่งเข้าประกวดหลายร้อยรายการ

นอกจากนั้นในแผนนี้ยังมุ่งผลิตบุคลากรที่สามารถเขียนและพัฒนาโปรแกรมได้เอง โดยปูพื้นฐานนักเรียนมัธยมศึกษาและต่อยอดที่ระดับอุดมศึกษา เพื่อให้เป็นกำลังสำคัญในการผลิตทรัพย์สินทางปัญญา ลดการนำเข้า และสร้างความสามารถในการแข่งขัน ในระดับนานาชาติ ให้ประเทศชาติแข็งแรงและมีความมั่นคงในด้านนี้ต่อไปด้วย

ในเรื่องการกระจายโครงสร้างพื้นฐาน ICT เพื่อการศึกษา แผนหลักได้ระบุพันธกิจและเป้าหมายให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะศูนย์สารสนเทศ กระทรวงศึกษาธิการ และหน่วยงานด้านสารสนเทศของกรมเป็นเจ้าภาพ ให้จัดหาและสนับสนุนเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ประกอบ และที่สำคัญ คือการทำงานร่วมกับกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อต่อเชื่อมเครือข่าย Internet จากเดิมที่ไม่ทั่วถึง ให้เป็นเครือข่ายครอบคลุมทั่วประเทศ (EdNet) โดยจะมีการต่อเชื่อมไปยังโรงเรียนมัธยมศึกษาและประถมศึกษาที่สอนมัธยม ภายในปีงบประมาณ 2546 และ 2547 และโรงเรียนประถมศึกษาทุกแห่ง ภายในปีงบประมาณ 2548 ตามลำดับ (จำนวนโรงเรียนทั้งสิ้น 37,000 โรงเรียน) โดยทุกตำบลจะมีโรงเรียนอย่างน้อย 1 แห่ง มีห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ในช่วงเวลาที่รัฐบาลโดยกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กำลังให้จองคอมพิวเตอร์รุ่น "สินสมุทร" และ "สุดสาคร" ที่มีคุณภาพมาตรฐานและราคาย่อมเยานั้น ท่านปองพล อดิเรกสาร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ประธาน การจัดทำแผนแม่บทของกระทรวงฉบับนี้ ได้ให้กรมสำรวจความต้องการของครู อาจารย์ และ บุคลากรที่เกี่ยวข้องเพื่อจะได้สั่งจองในภาพรวม ซึ่งจะช่วยให้มีเครื่องมือนี้ทำงาน เป็นการช่วยเสริมการจัดหาของราชการอีกทางหนึ่งด้วย นอกจากนี้จะจัดหาโปรแกรมมีลิขสิทธ์ตามกฎหมายหรือโปรแกรมที่เป็นชนิด open source เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนและบริหารจัดการ ทั้งนี้จะรวมถึงการเชื่อมโยงเครือข่ายไปยังโรงเรียนสมบูรณ์แบบของทุกอำเภอที่เป็นนโยบายของรัฐบาลและกระทรวงศึกษาธิการในช่วงกำลังดำเนินการนี้ด้วย

ปัจจุบันกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ซึ่งนอกจากจะเป็นกำลังสำคัญด้านวางโครงสร้างให้ทั่วถึงและกระจายเครือข่ายให้สมบูรณ์ (โรงเรียนในฝัน) รวมทั้งประสานการผลิตคอมพิวเตอร์รุ่นพิเศษแล้ว ยังช่วยระดมการบริจาคเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่ใช้แล้วแต่ยังมีคุณภาพใช้ได้ สมทบกับ "โครงการปลูกต้นกล้าปัญญาเด็กไทย" ที่ท่านรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง (ดร.สิริกร มณีรินทร์) เป็นประธานการดำเนินการ ทำให้กระทรวงศึกษาธิการ มีเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สำคัญเพิ่มขึ้น จากที่ได้รับบริจาคไว้ รอตรวจสอบสมรรถนะ จากศูนย์ซ่อมบำรุง สังกัดกรมอาชีวศึกษา พร้อมจะจัดสรรทยอยให้โรงเรียนที่ขาดแคลนอุปกรณ์ด้านนี้ นับหมื่นเครื่อง ซึ่งจะช่วยลดภาระรัฐในการจัดหาเครื่องโดยเงินงบประมาณแผ่นดิน ในช่วงเวลาที่งบประมาณแผ่นดินยังมีค่อนข้างจำกัดนี้ได้เป็นอย่างมาก

แผนหลักด้าน ICT ของกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งกำหนดกรอบงบประมาณรวม 22,885 ล้านบาท เพื่อดำเนินการตามยุทธศาสตร์หลักในช่วงเวลา 3 ปีดังกล่าวแล้วนั้น มิใช่แผนหลักที่เป็นความฝัน แต่เป็นแผนที่เป็นจริงได้และส่วนหนึ่งเป็นจริงแล้ว การทำงานด้านพัฒนาครู อาจารย์ และบุคลากรที่เกี่ยวข้องจะดำเนินให้ได้ครบถ้วน การมุ่งใช้ ICT ช่วยพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ การบริหารการจัดการการ การจัดหาเครื่องมืออุปกรณ์ การเชื่อมโยงเครือข่าย การจัดทำ Website ของสถานศึกษา การแลกเปลี่ยนความรู้ แนวคิดผ่านเครือข่าย จะมีความเป็นรูปธรรมมากขึ้นและจะสมบูรณ์มากขึ้น นอกจากนั้น มิติการทำงานกับชุมชน องค์กรเอกชนทั้งในประเทศและต่างประเทศ มีความเป็นรูปธรรมอย่างเห็นได้ชัด

ตัวชี้วัดส่วนหนึ่ง คือ Website ของเขตพื้นที่การศึกษาและของโรงเรียนที่มีเพิ่มขึ้นทุกวัน จำนวน CAI ที่ครู อาจารย์ทุกระดับ รวมทั้งอาจารย์มหาวิทยาลัย ร่วมกับนักวิชาการด้านคอมพิวเตอร์พัฒนามีแพร่หลายในงานนิทรรศการและวงการธุรกิจด้านนี้ เห็นได้ชัดเจนทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ และจะมีมากขึ้นอีก จำนวน e-mail ที่ส่งถึงกัน แลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน เป็นหนังสือราชการมากขึ้น มีความเป็นวิชาการ มีส่วนของความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ต่อยอดกันมากขึ้น

นอกจากนี้ยังมี Website ที่เด็กนักเรียนสร้างขึ้นเป็นส่วนตัวมีเพิ่มขึ้นเป็นการเอื้อต่อการระดมกำลังกัน ร่วมกันทำงาน เสริมความรู้ซึ่งกันและกันทำให้การเรียนรู้เป็นประโยชน์มากกว่าการรู้แบบแยกส่วน แบบต่างคนต่างรู้ ซึ่งการเสริมกำลังความรู้กันนั้นทำให้หนึ่งบวกหนึ่งมีค่ามากกว่าสองจะเป็นประโยชน์และสร้างความเข้มแข็งทางพลังปัญญา ช่วยในการพัฒนาด้านต่าง ๆ แก่ประเทศชาติโดยรวม ได้มากขึ้นแน่นอน

ดร.สิริกร มณีรินทร์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยว่า บทบาทของกระทรวง ศึกษาธิการต่อการศึกษาไทยในอนาคตนั้น ในพระราชบัญญัติการศึกษาได้แบ่งการปฏิรูปการศึกษา เป็น 5 ด้าน ซึ่ง ฯพณฯ รมต. ปองพล อดิเรกสารเรียกว่า ปัญจปฏิรูป ซึ่งประกอบด้วย

1) ปฏิรูประบบการศึกษา เร่งดำเนินการการเรียนรู้ตลอดชีวิต, การบูรณาการการเรียนรู้ 3 รูปแบบ คือ การศึกษาในระบบโรงเรียน การศึกษานอกระบบโรงเรียน และการศึกษาตามอัธยาศัย, การเทียบโอนผลการเรียนรู้, การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน, การศึกษาปฐมวัย, การศึกษาภาคบังคับ 9 ปี, การศึกษาสำหรับผู้ด้อยโอกาส ผู้พิการ และผู้มีความสามารถพิเศษ ,การปฏิรูปอาชีวศึกษา, และ การปฏิรูปอุดมศึกษา การปฎิรูปที่กล่าวมาข้างต้นนี้เน้นให้ทุกส่วนของสังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา

2) ปฏิรูปการเรียนรู้ โดยให้มีการเรียนรู้เต็มตามศักยภาพของผู้เรียน, เชื่อมโยงหลักสูตรสาระ การเรียนรู้ของ ผู้เรียนตั้งแต่อายุ 0-20 ปี, ปฏิรูปวิธีการเรียนรู้และการสอนโดยใช้กระบวนการวิจัย, ใช้แหล่งเรียนรู้ทุกรูปแบบ, ประเมินผลจากพัฒนาการของผู้เรียน และใช้วิธีที่หลากหลายในการจัดสรรโอกาสการเข้าศึกษาต่อ

3) ปฏิรูประบบการบริหารและการจัดการศึกษา ส่วนกลาง กำหนดนโยบาย แผนมาตรฐานการ ศึกษา สนับสนุน ทรัพยากร ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผล, กระจายอำนาจการบริหารและ การจัดการศึกษาไปสู่เขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษา และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, การมีส่วนร่วม ของผู้เกี่ยวข้องในการบริหารสถานศึกษาและเขตพื้นที่การศึกษาในรูปองค์คณะบุคคล, ส่งเสริม การจัดการศึกษาของเอกชน และให้ระบบการประกันคุณภาพเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารสถานศึกษา

4) ปฏิรูปครูและบุคลากรทางการศึกษา มีการเร่งพัฒนาครูประจำการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน, การยกย่องและให้ผู้นำครูสร้างเครือข่ายปฏิรูปการเรียนรู้, การผลิตครูใหม่, ยกฐานะครูเป็นผู้ประกอบ วิชาชีพชั้นสูง, กระจายอำนาจการบริหารงานบุคคลไปยังเขตพื้นที่การศึกษา, สนับสนุนเงินเดือนและ ค่าตอบแทนที่สอดคล้องกับมาตรฐานวิชาชีพ และสนับสนุนให้ครูภูมิปัญญาไทยในท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา

5) ปฏิรูปทรัพยากร มีการระดมทรัพยากรจากทุกส่วนของชุมชนเพื่อการเรียนรู้, จัดสรร ทรัพยากรอย่างทั่วถึง เสมอภาค และเป็นธรรม รวมทั้งเร่งปรับปรุงประสิทธิภาพของการใช้ทรัพยากรเพื่อการศึกษา

“ทั้งนี้ คนไทยควรจะได้รับการพัฒนาและส่งเสริมให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เป็นคนดี คนเก่ง มีความสุข รักการเรียนรู้ พึ่งตนเองได้ มีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืนเพื่อความมั่นคงของ มนุษย์ และพร้อมก้าวทันสังคมโลก ในส่วนของ ICT นั้น ผู้เรียน สถานศึกษาและหน่วยงานทาง การศึกษาทุกแห่ง ควรมีโอกาสเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต การบริหารจัดการ การวิจัย การพัฒนาอาชีพ การพัฒนา คุณภาพชีวิตโดยได้รับบริการอย่างทั่วถึง เท่าเทียม มีคุณภาพและประสิทธิภาพนำไปสู่สังคมแห่ง ภูมิปัญญาและการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิตระทรวงศึกษาธิการได้มีการดำเนิน โครงการต่าง ๆ อาทิ การแก้ปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา โครงการรักการอ่าน การจัดการศึกษา สำหรับผู้อยู่นอกระบบ การพัฒนาห้องสมุด ที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน การปฏิรูปกระบวนการ เรียนรู้ การนำหลักสูตรใหม่ไปประยุกต์ใช้การพัฒนาครูทั้งระบบ

นอกจากนี้ กระทรวงศึกษาธิการยังได้ดำเนินการจัดตั้ง วิทยาลัยชุมชนขึ้น 10 แห่ง คือ วิทยาลัยชุมชนจังหวัดตาก, พิจิตร, อุทัยธานี, บุรีรัมย์, สระแก้ว, มุกดาหาร, หนองบัวลำภู, ระนอง,แม่ฮ่องสอนและนราธิวาส

ปัจจุบันกระทรวงศึกษาธิการได้มีการกำหนดให้ ICT เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของเนื้อหาหลักสูตร ทั้งในระดับประถมและมัธยมศึกษาและมีนโยบายเน้นให้ใช้ ICT เป็นเครื่องมือครูในการพัฒนา คุณภาพของนักเรียน การร่วมมือระหว่างกระทรวงศึกษาธิการกับภาคเอกชน มูลนิธิ รวมทั้งองค์กร ต่างประเทศในการให้ การอบรมครูเพื่อนำเอาความรู้ทางด้าน ICT เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอน อาทิ โครงการ Think.com เป็นความร่วมมือระหว่างกระทรวงศึกษาธิการกับบริษัท Oracle เน้นการนำเอา ICT มาใช้ในการเรียนการสอนในชั้นเรียน โครงการ Intel Teach to the Future เป็นความร่วมมือระหว่างกระทรวงศึกษาธิการกับบริษัท Intel เน้นการนำเอา ICT มาเพื่อสนับสนุน การเรียนการสอน ให้ครูแต่ละกลุ่มสาระวิชานำเอา ICT มาใช้ในการเรียนการสอน โครงการความ ร่วมมือระหว่างกระทรวงศึกษาธิการและ British Council เน้นการใช้ภาษาอังกฤษในการติดต่อสื่อสาร ให้นักเรียน ครู อาจารย์ ในประเทศไทยได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และดำเนินโครงการ ร่วมกับนักเรียน ครู อาจารย์ในประเทศอังกฤษ โครงการความร่วมมือระหว่างกระทรวงศึกษาธิการ และรัฐบาลญี่ปุ่น (JICA) เพื่อพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมด้าน IT และ ฝึกอบรมครู บุคลากรทางการศึกษา และประชาชนในด้านความรู้ความสามารถด้าน IT โครงการความร่วมมือระหว่างกระทรวงศึกษาธิการ กับ Edgewood College โดยเน้นภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา การเตรียมความพร้อมของครูเพื่อ รองรับการปฏิรูปการเรียนรู้ และการจัดทำเครือข่ายทางการศึกษา เช่น โครงการแลกเปลี่ยนนักเรียน ครู ผู้บริหาร การจัด Bilingual Education การพัฒนาจริยศึกษา การดำเนินงานในเรื่อง Choice School และความร่มมือในการจัดการศึกษาโดยผ่านระบบonline

โครงการความร่วมมือระหว่างกระทรวงศึกษาธิการ ประเทศไทย และกระทรวงศึกษาธิการจีน โดยจะมีการแลกเปลี่ยนบุคลากรด้านต่าง ๆ เช่น ครูสอนภาษา วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ การพัฒนา สื่อตำราเรียน โครงการโรงเรียนพี่โรงเรียนน้อง การดำเนินการรับบริจาคเครื่องเพื่อนำเครื่องไปใช้ ในการเรียนการสอน คือ โครงการปลูกต้นกล้าปัญญาเด็กไทย ซึ่งปัจจุบันได้รับบริจาคเครื่องมาแล้ว ประมาณ 1900 เครื่องและได้แจกจ่ายไปยังโรงเรียนต่าง ๆ แล้วจำนวน 1300 เครื่อง เช่น โรงเรียนมุสลิมบำรุง จังหวัดยะลา โรงเรียนสีคิ้วหนองขาว จังหวัดนครราชสีมา โรงเรียนบ้านนาทราบ จังหวัดลำพูน โรงเรียนวัดสุพรรณพนมทอง จังหวัดพิษณุโลก โรงเรียนสระกำแพงวิทยาคม จังหวัด ศรีสะเกษ เป็นต้น และในระหว่างมีกำลังมีการดำเนินการซ่อมบำรุงอยู่ 600 เครื่อง โดยได้รับความอนุเคราะห์จาก วิทยาลัยเทคนิคราชบุรี, เทคนิคมีนบุรี, เทคนิคราชสิทธาราม, เทคนิคปทุมธานี และ เทคนิคดอนเมือง เป็นหน่วยตรวจสอบและซ่อมบำรุงก่อนแจกจ่ายไปยัง โรงเรียนต่าง ๆ ทั้งนี้ ในส่วนของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ได้รับจากกระทรวง ICT จะส่งไปซ่อมบำรุงยัง วิทยาลัยเทคนิคทั้ง 5 แห่งก่อนกระจายไปยังโรงเรียน ต่าง ๆ ทั่วประเทศต่อไป” อนึ่ง ผู้ที่สนใจสามารถ แสดงความจำนงบริจาคคอมพิวเตอร์ได้ที่หมายเลข 1545 ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป และขอเชิญประชาชน ทั่วไปติดตามชมการถ่ายทอดสดในวันศุกร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ 2546 เวลา 21.30 – 23.00 น. ณ สถานี โทรทัศน์ ช่อง 11 ซึ่งนอกจากจะบริจาคคอมพิวเตอร์แล้ว ผู้ที่สนใจสามารถร่วมแสดงความคิดเห็นต่อ โครงการได้ด้วย



แหล่งที่มา http://www.it.mut.ac.th/news/ittechno/newtechno14.html
แหล่งที่มา http://www.thaigoodview.com/ict/main/what_ict.html

https://www.google.co.th/url?sa=t&rct=j&q=&esrc=s&source=web&cd=4&cad=rja&ved=0CEgQFjAD&url=http%3A%2F%2Fwww.kroobannok.com%2Fblog%2F47711&ei=HI-2Uar4OIm3rAecmIH4Cw&usg=AFQjCNFk6S91RzvwoOZfw1F_D3T5yTCh4w&sig2=tKmJDj9PyBP69OCJx8Ju-A&bvm=bv.47534661,d.bmk



การบำรุงรักษาคอมฯ

http://noomook-ict.exteen.com/20090812/ict




ความหมายของเทคโนโลยี

ความหมายของเทคโนโลยี

ความเจริญในด้านต่างๆ ที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบัน เป็นผลมาจากการศึกษาค้นคว้าทดลองประดิษฐ์คิดค้นสิ่งต่างๆ โดยอาศัยความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เมื่อศึกษาค้นพบและทดลองใช้ได้ผลแล้ว ก็นำออกเผยแพร่ใช้ในกิจการด้านต่างๆ ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพัฒนาคุณภาพ และประสิทธิภาพในกิจการต่างๆ เหล่านั้น และวิชาการที่ว่าด้วยการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ มาใช้ในกิจการด้านต่างๆ จึงเรียกกันว่า "วิทยาศาสตร์ประยุกต์" หรือนิยมเรียกกันทั่วไปว่า "เทคโนโลยี" (boonpan edt01.htm)

เทคโนโลยี หมายถึง การใช้เครื่องมือให้เหมาะสมกับสถานการณ์ในการแก้ปัญหา ผู้ที่นำเอาเทคโนโลยีมาใช้ เรียกว่านักเทคโนโลยี (Technologist) (boonpanedt01.htm)

เทคโนโลยีทางการศึกษา (Educational Technology) ตามรูปศัพท์ เทคโน (วิธีการ) + โลยี(วิทยา) หมายถึง ศาสตร์ที่ว่าด้วยวิธีการทางการศึกษา ครอบคลุมระบบการนำวิธีการ มาปรับปรุงประสิทธิภาพของการศึกษาให้สูงขึ้นเทคโนโลยีทางการศึกษาครอบคลุมองค์ประกอบ 3 ประการ คือ วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการ (boonpan edt01.htm)

สภาเทคโนโลยีทางการศึกษานานาชาติได้ให้คำจำกัดความของ เทคโนโลยีทางการศึกษา ว่าเป็นการพัฒนาและประยุกต์ระบบเทคนิคและอุปกรณ์ ให้สามารถนำมาใช้ในสถานการณ์ได้อย่างเหมาะสม เพื่อสร้างเสริมกระบวนการเรียนรู้ของคนให้ดียิ่งขึ้น (boonpan edt01.htm)

ดร.เปรื่อง กุมุท ได้กล่าวถึงความหมายของเทคโนโลยีการศึกษาว่า เป็นการขยายขอบข่ายของการใช้สื่อการสอน ให้กว้างขวางขึ้นทั้งในด้านบุคคล วัสดุเครื่องมือ สถานที่ และกิจกรรมต่างๆในกระบวนการเรียน

Edgar Dale กล่าวว่า เทคโนโลยีทางการศึกษา ไม่ใช่เครื่องมือ แต่เป็นแผนการหรือวิธีการทำงานอย่างเป็นระบบ ให้บรรลุผลตามแผนการ นอกจากนี้เทคโนโลยีทางการศึกษา เป็นการขยายแนวคิดเกี่ยวกับโสตทัศนศึกษา ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น ทั้งนี้ เนื่องจากโสตทัศนศึกษาหมายถึง การศึกษาเกี่ยวกับการใช้ตาดูหูฟัง ดังนั้นอุปกรณ์ในสมัยก่อนมักเน้นการใช้ประสาทสัมผัส ด้านการฟังและการดูเป็นหลัก จึงใช้คำว่าโสตทัศนอุปกรณ์ เทคโนโลยีทางการศึกษา มีความหมายที่กว้างกว่า ซึ่งอาจจะพิจารณาจาก ความคิดรวบยอดของเทคโนโลยีได้เป็น 2 ประการ คือ

1. ความคิดรวบยอดทางวิทยาศาสตร์กายภาพ ตามความคิดรวบยอดนี้ เทคโนโลยีทางการศึกษาหมายถึง การประยุกต์วิทยาศาสตร์กายภาพ ในรูปของสิ่งประดิษฐ์ เช่น เครื่องฉายภาพยนตร์ โทรทัศน์ ฯลฯ มาใช้สำหรับการเรียนรู้ของนักเรียนเป็นส่วนใหญ่ การใช้เครื่องมือเหล่านี้ มักคำนึงถึงเฉพาะการควบคุมให้เครื่องทำงาน มักไม่คำนึงถึงจิตวิทยาการเรียนรู้ โดยเฉพาะเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล และการเลือกสื่อให้ตรงกับเนื้อหาวิชา

ความหมายของเทคโนโลยีทางการศึกษา ตามความคิดรวบยอดนี้ ทำให้บทบาทของเทคโนโลยีทางการศึกษาแคบลงไป คือมีเพียงวัสดุ และอุปกรณ์เท่านั้น ไม่รวมวิธีการ หรือปฏิกิริยาสัมพันธ์อื่น ๆ เข้าไปด้วย ซึ่งตามความหมายนี้ก็คือ "โสตทัศนศึกษา" นั่นเอง

2. ความคิดรวบยอดทางพฤติกรรมศาสตร์ เป็นการนำวิธีการทางจิตวิทยา มนุษยวิทยา กระบวนการกลุ่ม ภาษา การสื่อความหมาย การบริหาร เครื่องยนต์กลไก การรับรู้มาใช้ควบคู่กับผลิตกรรมทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรม เพื่อให้ผู้เรียน เปลี่ยนพฤติกรรมการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นมิใช่เพียงการใช้เครื่องมืออุปกรณ์เท่านั้น แต่รวมถึงวิธีการทางวิทยาศาสตร์เข้าไปด้วย มิใช่วัสดุ หรืออุปกรณ์ แต่เพียงอย่างเดียว



ขอบข่ายของเทคโนโลยีการศึกษา



เทคโนโลยีการศึกษา มี 5 ขอบข่าย ดังรายละเอียดต่อไปนี้

1. การออกแบบ (Design)

2. การพัฒนา (Development)

3. การใช้ (Utilization)

4. การจัดการ (Management)

5. การประเมิน (Evaluation)



1. การออกแบบ (Design) คือ กระบวนการในการกำหนดสภาพของการเรียนรู้ ได้แก่



1.1 การออกแบบระบบการสอน (Instructional systems design) มี 5 ขั้นตอนดังนี้

1) การวิเคราะห์ (analysis) คือ กระบวนการที่กำหนดว่าต้องการให้ผู้เรียนได้รับอะไรจากการเรียน ต้องเรียนในเนื้อหาอะไรบ้าง

2) การออกแบบ (design) คือ กระบวนการที่จะต้องระบุว่าให้ผู้เรียนเรียนอย่างไร ที่สามารถทำให้เกิดการเรียนรู้สูงสุดต่อผู้เรียน

3) การพัฒนา (development) คือ กระบวนการสร้าง การผลิตสื่อการสอน

4) การนำไปใช้ (implementation) คือ การใช้วัสดุและยุทธศาสตร์ต่างๆ ในการสอน

5) การประเมิน (evaluation) คือ กระบวนการในการประเมินการสอน



1.2 ออกแบบสาร (message design) คือ การวางแผน เปลี่ยนแปลงสารเน้นทฤษฎีการเรียนที่ประยุกต์ความรู้บนพื้นฐานของความสนใจ การรับรู้ ความจำ การออกแบบสารมีจุดประสงค์เพื่อการสื่อความหมายกับผู้เรียน



1.3 กลยุทธ์การสอน (instructional strategies) เน้นที่การเลือก ลำดับเหตุการณ์ และกิจกรรมในบทเรียน ในทางปฏิบัติกลยุทธ์การสอนมีความสัมพันธ์กับสถานการณ์การเรียน ผลของปฏิสัมพันธ์นี้สามารถอธิบายได้โดยโมเดลการสอน การเลือกยุทธศาสตร์การสอนและโมเดลการสอนต้องขึ้นอยู่กับสถานการณ์การเรียน รวมถึงลักษณะผู้เรียน ธรรมชาติของเนื้อหาวิชา และจุดประสงค์ของผู้เรียน



1.4 ลักษณะผู้เรียน (learner characteristics)คือ ลักษณะและประสบการณ์เดิมของผู้เรียนที่จะมีผลต่อกระบวนการเรียนการสอน การเลือก และการใช้ยุทธศาสตร์การสอน



2. การพัฒนา (Development) คือ กระบวนการเปลี่ยนการออกแบบ



2.1 เทคโนโลยีสิ่งพิมพ์ (print technologies) เป็นการผลิต หรือส่งสาร สื่อด้านวัสดุ เช่น หนังสือ โสตทัศนวัสดุพื้นฐานประเภทภาพนิ่ง ภาพถ่าย รวมถึงสื่อข้อความ กราฟิก วัสดุภาพสิ่งพิมพ์ ทัศนวัสดุ สิ่งเหล่านี้เป็นพื้นฐานของการพัฒนา การใช้สื่อวัสดุการสอนอื่นๆ ตัวอย่าง หนังสือพิมพ์ วารสาร แมกกาซีน



2.2 เทคโนโลยีโสตทัศนูปกรณ์ (audiovisual technologies) เป็นวิธีการในการจัดหา หรือส่งถ่ายสาร โดยใช้เครื่องมืออุปกรณ์ หรือเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์เพื่อนำเสนอสารต่างๆ ด้วยเสียง และภาพ โสตทัศนูปกรณ์จะช่วยแสดงสิ่งที่เป็นธรรมชาติจริง ความคิดที่เป็นนามธรรม เพื่อผู้สอนนำไปใช้ให้มีปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียน ตัวอย่างอุปกรณ์โสตฯ โปรเจคเตอร์, เครื่องเสียง, ไมโครโฟน, ลำโพง, กล้องวีดีโอ, กล้องดิจิตอล, เครื่องฉายข้ามศีรษะ



2.3 เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ (computer – based technologies) เป็นวิธีการในการจัดหา หรือส่งถ่ายสารโดยการใช้ไมโครโพรเซสเซอร์ เพื่อรับและส่งข้อมูลแบบดิจิตอล ประกอบด้วย คอมพิวเตอร์ช่วยสอน คอมพิวเตอร์จัดการสอน โทรคมนาคม การสื่อสารทางอิเล็กทรอนิกส์ การเข้าถึงและใช้แหล่งข้อมูลในเครือข่าย



2.4 เทคโนโลยีบูรณาการ (integrated technologies) เป็นวิธีการในการจัดหา หรือส่งถ่ายข้อมูลกับสื่อหลาย ๆ รูปแบบภายใต้การควบคุมของคอมพิวเตอร์







3. การใช้ (Utilization) คือ ใช้กระบวนการ และแหล่งทรัพยากรเพื่อการเรียนการสอน



3.1 การใช้สื่อ (Media Utilization) เป็นระบบของการใช้สื่อ แหล่งทรัพยากรเพื่อ การเรียน โดยใช้กระบวนการตามที่ผ่านการออกแบบการสอน



3.2 การแพร่กระจายนวัตกรรม (Diffusion of innovation) เป็นกระบวนการสื่อความหมาย รวมถึงการวางยุทธศาสตร์ หรือจุดประสงค์ให้เกิดการยอมรับนวัตกรรม



3.3 วิธีการนำไปใช้ และการจัดการ (Implementation and Institutionalization) เป็นการใช้สื่อการสอนหรือยุทธศาสตร์ในสถานการณ์จริงอย่างต่อเนื่องและใช้นวัตกรรมการศึกษาเป็นประจำในองค์การ



3.4 นโยบาย หลักการและกฎระเบียบข้อบังคับ (policies and regulation) เป็นกฎระเบียบ ข้อบังคับของสังคมที่ส่งผลต่อการแพร่กระจาย และการใช้เทคโนโลยีการศึกษา



4. การจัดการ (Management) คือ ควบคุมกระบวนการทางเทคโนโลยีการศึกษา ตลอดจนการวางแผน จัดการ การประสานงาน และให้คำแนะนำ



4.1 การจัดการโครงการ (Project Management) เป็นการวางแผน กำกับ ควบคุม การออกแบบ และพัฒนาโครงการ



4.2 การจัดการแหล่งทรัพยากร (Resource Management) เป็นการวางแผน กำกับ ควบคุมแหล่งทรัพยากร ที่ช่วยระบบและการบริการ



4.3 การจัดการระบบส่งถ่าย (Delivery System Management) เป็นการวางแผน กำกับ ควบคุมวิธีการซึ่งแพร่กระจายสื่อการสอนในองค์การ รวมถึงสื่อ และวิธีการใช้ที่จะนำเสนอสารไปยังผู้เรียน



4.4 การจัดการสารสนเทศ (Information Management) เป็นการวางแผน กำกับ ควบคุม การเก็บ การส่งถ่าย หรือกระบวนการของข้อมูลสารเพื่อสนับสนุนแหล่งทรัพยากรการเรียน



5. การประเมิน (Evaluation) คือ การหาข้อมูลเพื่อกำหนดความเหมาะสมของการเรียนการสอน



5.1 การวิเคราะห์ปัญหา (Problem Analysis) เป็นการทำให้ปัญหาสิ้นสุด โดยการใช้ข้อมูลต่างๆ และวิธีการที่จะช่วยตัดสินใจ



5.2 เกณฑ์การประเมิน (Criterion – Reference Management) เทคนิคการใช้เกณฑ์เพื่อการประเมินการสอน หรือประเมินโครงการเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา



5.3 การประเมินความก้าวหน้า (Formative Evaluation) มีการใช้ข้อมูลอย่างเหมาะสมจากการประเมินความก้าวหน้าเพื่อเป็นฐานในการพัฒนาต่อไป



5.4 การประเมินผลสรุป (Summative Evaluation) มีการใช้ข้อมูลอย่างเหมาะสมที่จะตัดสินใจกับการดำเนินงานโปรแกรม หรือโครงการต่อไป



ขอขอบคุณแหล่งศึกษาจากอาจารย์ผู้สอน ดร.ดิศกุล เกษมสวัสดิ์ และแหล่งข้อมูลขนาดใหญ่ในโลกไซเบอร์นี้ค่ะ จาก Google และ danupon89.multiply.multiplycontent.com ค่ะ



คำสำคัญ (keywords): กลยุทธ์การสอน, การจัดการ, การจัดการสารสนเทศ, การจัดการโครงการ, การประเมิน, การพัฒนา, การวิเคราะห์ปัญหา, การออกแบบ, การแพร่กระจายนวัตกรรม, การใช้, การใช้สื่อ, ขอบข่ายของเทคโนโลยีการศึกษา, เกณฑ์การประเมิน, เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์, เทคโนโลยีสิ่งพิมพ์, การออกแบบระบบการสอน, ออกแบบสาร, ลักษณะผู้เรียน, เทคโนโลยีโสตทัศนูปกรณ์, เทคโนโลยีบูรณาการ, วิธีการนำไปใช้ และการจัดการ, นโยบาย หลักการ และกฎระเบียบข้อบังคับ, การจัดการแหล่งทรัพยากร, การจัดการระบบส่งถ่าย, การประเมินความก้าวหน้า, การประเมินผลสรุป



แนวคิดของสมาคมสื่อสารและเทคโนโลยีการศึกษาแห่งสหรัฐอเมริกา (Association for Educational Communications and Technology: AECT, 1994)

ได้แบ่งขอบข่ายเทคโนโลยีการศึกษาตาม Seels and Richey ได้ศึกษาไว้ ประกอบด้วย 5 ขอบข่ายใหญ่ และแต่ละขอบข่ายแยกเป็น 4 ขอบข่ายย่อย รวมเป็นขอบข่ายย่อยทั้งหมด 20 ขอบข่าย ดังนี้

1.1 การออกแบบ (design) คือ กระบวนการในการกำหนดสภาพของการเรียนรู้1.1.1 การออกแบบระบบการสอน (instructional systems design) เป็นวิธีการจัดการที่รวมขั้นตอนของการสอนประกอบด้วย การวิเคราะห์ (analysis) คือ กระบวนการที่กำหนดว่าต้องการให้ผู้เรียนได้รับอะไร เรียนในเนื้อหาอะไร การออกแบบ (design) กระบวนการที่จะต้องระบุว่าให้ผู้เรียนเรียนอย่างไร การพัฒนา (development) คือ กระบวนการสร้างผลิตสื่อวัสดุการสอน การนำไปใช้ (implementation) คือ การใช้วัสดุและยุทธศาสตร์ต่างๆ ในการสอน และ การประเมิน (evaluation) คือ กระบวนการในการประเมินการสอน 1.1.2 ออกแบบสาร (message design) เป็นการวางแผน เปลี่ยนแปลงสารเน้นทฤษฎีการเรียนที่ประยุกต์ความรู้บนพื้นฐานของความสนใจ การรับรู้ ความจำ การออกแบบสารมีจุดประสงค์เพื่อการสื่อความหมายกับผู้เรียน 1.1.3 กลยุทธ์การสอน (instructional strategies) เน้นที่การเลือก ลำดับเหตุการณ์ และกิจกรรมในบทเรียน ในทางปฏิบัติกลยุทธ์การสอนมีความสัมพันธ์กับสถานการณ์การเรียน ผลของปฏิสัมพันธ์นี้สามารถอธิบายได้โดยโมเดลการสอน การเลือกยุทธศาสตร์การสอนและโมเดลการสอนต้องขึ้นอยู่กับสถานการณ์การเรียน รวมถึงลักษณะผู้เรียน ธรรมชาติของเนื้อหาวิชา และจุดประสงค์ของผู้เรียน

1.1.4 ลักษณะผู้เรียน (learner characteristics) คือลักษณะและประสบการณ์เดิมของผู้เรียนที่จะมีผลต่อกระบวนการเรียน การสอน การเลือก และการใช้ยุทธศาสตร์การสอน

1.2 การพัฒนา (development) เป็นกระบวนการของการเปลี่ยนการออกแบบ ประกอบด้วย 1.2.1 เทคโนโลยีสิ่งพิมพ์ (print technologies) เป็นการผลิต หรือส่งสาร สื่อด้านวัสดุ เช่น หนังสือ โสตทัศนวัสดุพื้นฐานประเภทภาพนิ่ง ภาพถ่าย รวมถึงสื่อข้อความ กราฟิก วัสดุภาพสิ่งพิมพ์ ทัศนวัสดุ สิ่งเหล่านี้เป็นพื้นฐานของการพัฒนา การใช้สื่อวัสดุการสอนอื่นๆ 1.2.2 เทคโนโลยีโสตทัศนูปกรณ์ (audiovisual technologies) เป็นวิธีการในการจัดหา หรือส่งถ่ายสาร โดยใช้เครื่องมืออุปกรณ์ หรือเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์เพื่อนำเสนอสารต่างๆ ด้วยเสียง และภาพ โสตทัศนูปกรณ์จะช่วยแสดงสิ่งที่เป็นธรรมชาติจริง ความคิดที่เป็นนามธรรม เพื่อผู้สอนนำไปใช้ให้มีปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียน 1.2.3 เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ (computer – based technologies) เป็นวิธีการในการจัดหา หรือส่งถ่ายสารโดยการใช้ไมโครโพรเซสเซอร์ เพื่อรับและส่งข้อมูลแบบดิจิตอล ประกอบด้วย คอมพิวเตอร์ช่วยสอน คอมพิวเตอร์จัดการสอน โทรคมนาคม การสื่อสารทางอิเล็กทรอนิกส์ การเข้าถึงและใช้แหล่งข้อมูลในเครือข่าย 1.2.4 เทคโนโลยีบูรณาการ (integrated technologies) เป็นวิธีการในการจัดหา หรือส่งถ่ายข้อมูลกับสื่อหลาย ๆ รูปแบบภายใต้การควบคุมของคอมพิวเตอร์

1.3 การใช้ (utilization) เป็นการใช้กระบวนการ และแหล่งทรัพยากรเพื่อการเรียนการสอน

ประกอบด้วย 1.3.1 การใช้สื่อ (media utilization) เป็นระบบของการใช้สื่อ แหล่งทรัพยากรเพื่อ การเรียน โดยใช้กระบวนการตามที่ผ่านการออกแบบการสอน 1.3.2 การแพร่กระจายนวัตกรรม (diffusion of innovations) เป็นกระบวนการสื่อความหมาย รวมถึงการวางยุทธศาสตร์ หรือจุดประสงค์ให้เกิดการยอมรับนวัตกรรม 1.3.3 วิธีการนำไปใช้ และการจัดการ (implementation and institutionalization) เป็นการใช้สื่อการสอนหรือยุทธศาสตร์ในสถานการณ์จริงอย่างต่อเนื่องและใช้นวัตกรรมการศึกษาเป็นประจำในองค์การ 1.3.4 นโยบาย หลักการและกฎระเบียบข้อบังคับ (policies and regulations)

เป็นกฎระเบียบ ข้อบังคับของสังคมที่ส่งผลต่อการแพร่กระจาย และการใช้เทคโนโลยีการศึกษา

1.4 การจัดการ (management) เป็นการควบคุมกระบวนการทางเทคโนโลยีการศึกษา ตลอดจนการวางแผน การจัดการ การประสานงาน และการให้คำแนะนำ ประกอบด้วย 1.4.1 การจัดการโครงการ (project management) เป็นการวางแผน กำกับ ควบคุม การออกแบบ และพัฒนาโครงการสอน 1.4.2 การจัดการแหล่งทรัพยากร (resource management) เป็นการวางแผน กำกับ ควบคุมแหล่งทรัพยากร ที่ช่วยระบบและการบริการ 1.4.3 การจัดการระบบส่งถ่าย (delivery system management) เป็นการวางแผน กำกับ ควบคุมวิธีการซึ่งแพร่กระจายสื่อการสอนในองค์การ รวมถึงสื่อ และวิธีการใช้ที่จะนำเสนอสารไปยังผู้เรียน

1.4.5 การจัดการสารสนเทศ (information management) เป็นการวางแผน กำกับ ควบคุม การเก็บ การส่งถ่าย หรือกระบวนการของข้อมูลสารเพื่อสนับสนุนแหล่งทรัพยากรการเรียน



1.5 การประเมิน (evaluation) กระบวนการหาข้อมูลเพื่อกำหนดความเหมาะสมของการเรียนการสอน

ประกอบด้วย 1.5.1 การวิเคราะห์ปัญหา (problem analysis) เป็นการทำให้ปัญหาสิ้นสุด โดยการใช้ข้อมูลต่างๆ และวิธีการที่จะช่วยตัดสินใจ 1.5.2 เกณฑ์การประเมิน (criterion – reference measurement) เทคนิคการใช้เกณฑ์เพื่อการประเมินการสอน หรือประเมินโครงการเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา 1.5.3 การประเมินความก้าวหน้า (formative evaluation) มีการใช้ข้อมูลอย่างเหมาะสมจากการประเมินความก้าวหน้าเพื่อเป็นฐานในการพัฒนาต่อไป 1.5.4 การประเมินผลสรุป (summative evaluation) มีการใช้ข้อมูลอย่างเหมาะสมที่จะตัดสินใจกับการดำเนินงานโปรแกรม หรือโครงการต่อไป

ที่มา : http://richey.exteen.com/20080201/entry


ธรรม(ชาติ)ของมนุษย์กับเทคโนโลยี ICT









ธรรม(ชาติ)ของมนุษย์กับเทคโนโลยี ICT Print


Friday, 29 January 2010 21:09


มนุษย์เป็นสัตว์สังคมซึ่งต้องอาศัยพึ่งพากัน การติดต่อสื่อสารจึงเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นสำหรับการดำเนินชีวิต เทคโนโลยีที่เข้ามาเสริมด้านการสื่อสารเพื่อตอบสนองปัจจัยพื้นฐานหรือเพิ่มขีดความสามารถของมนุษย์ด้านนี้จึงกลายเป็นที่ต้องการ(และทำรายได้)อย่างมากหรือกลายเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในวิถีชีวิตยุคนี้ ตัวอย่างเช่น โทรศํพท์มือถือที่ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการรับฟังระยะไกล เทคโนโลยีนี้พัฒนาจากสิ่งที่ต้องการเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ไปแล้วในปัจจุบัน อีกเทคโนโลยีหนึ่งที่ขาดไม่ได้คืออินเทอร์เน็ต ซึ่งมีวิวัฒนาการตามเทคโนโลยีการสื่อสารที่รวดเร็วขึ้น เข้าถึงได้มากขึ้น ขยายบริบทของการสื่อสารให้ครอบคลุมทั้งโลกและหลอมรวมสื่อทุกประเภทเข้าด้วยกัน


นอกจากความต้องการด้านการสื่อสารแล้ว เทคโนโลยีสารสนเทศก็เข้ามาเปลี่ยนวิถีชีวิตอย่างมากมายดังจะเห็นได้จากบริการของธนาคารที่เป็น Automation ด้วยตู้อัตโนมัติต่างๆหรือ การทำธุรกรรมผ่านโทรศัพท์มือถือที่เพิ่มบริการมากขึ้นทุกวัน


คำถามที่ผู้วางนโยบายต้องการทราบคือในอนาคตวิถีชีวิตกับเทคโนโลยีจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรอีก คำตอบนี้หาได้จากการศึกษาข้อมูลการเปลี่ยนแปลงในอดีตจนถึงปัจจุบัน แนวโน้มเทคโนโลยีในอนาคต และความต้องการของมนุษย์


อนึ่งแม้ว่าเทคโนโลยีจะก้าวหน้าไปอาทิความเร็วของการสื่อสารไร้สายยุค 4G แต่สุดท้ายก็ต้องนำมาประยุกต์เพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์อยู่ดี ในบทความนี้จะใช้ความต้องการของมนุษย์เป็นตัวหลักในการให้โจทย์ว่าเทคโนโลยีในอนาคตควรจะต้องเป็นอย่างไร


ความต้องการของมนุษย์ตามแนวความคิดของมาสโลว์ (Abraham Maslow นักจิตวิทยาชาวสหรัฐอเมริกา) เขาได้แบ่งความต้องการของมนุษย์ออกเป็น 5 ขั้นเรียงตามลำดับ ดังนี้


ขั้นที่ 1 ความต้องการทางด้านร่างกาย (Physiological Needs) คือความต้องการปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิต ถือเป็นความต้องการที่มีอำนาจมากที่สุดและสังเกตได้ชัดที่สุด ในส่วนของเทคโนโลยี ICT ที่ตอบสนองความต้องการในขั้นนี้จะเป็นในทางอ้อม เพราะตัวสารสนเทศกับการสื่อสารไม่เป็นปัจจัยโดยตรงที่ร่างกายต้องการ แต่เราก็อาศัย ICT เพื่อแสวงหาปัจจัยพื้นฐานเหล่านี้เช่น เราสั่งอาหารทางโทรศัพท์หรืออินเทอร์เน็ต


ขั้นที่ 2 ความต้องการความมั่นคงปลอดภัย (Safety and Security Needs) คือความต้องการที่จะมีชีวิต


ที่มั่นคง ปลอดภัย สำหรับเทคโนโลยี ICT มีส่วนอย่างมากในด้านนี้เพราะข้อมูลสารสนเทศเองก็ต้องการความมั่นคงปลอดภัยในธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ความปลอดภัยต่อการใช้งานคอมพิวเตอร์ โทรศัทพ์มือถือ ทั้งในแง่สุขภาพและความเป็นส่วนตัว เมื่อเทคโนโลยีก้าวหน้าไป ความมั่นคงปลอดภัยก็จำเป็นต้องก้าวให้ทัน เพื่ออุดช่องโหว่หรือป้องกันการนำเทคโนโลยีไปใช้ในทางที่ผิด อย่างเช่น virus/worm ก็เกิดมาแพร่ทางอินเทอร์เน็ต Anti-virus ก็ต้องพัฒนาอยู่ตลอดเวลา แนวคิดของ Virtualization ก็กลับมาเพื่อแยกทรัพยากรระดับล่างออกจากผู้ใช้ ทำให้ผู้ใช้ได้ทรัพยากรเสมือนและไม่ต้องห่วงเรื่องความปลอดภัยในทรัพยากรจริง นอกจากนี้เทคโนโลยียังเข้ามามีบทบาทด้านความปลอดภัยต่อร่ายกายโดยตรงเช่น การขับขี่รถที่มีระบบแจ้งเตือนอุบัติเหตุ ระบบช่วยในการมองเห็นในที่มืด ระบบ CCTVกันการโจรกรรม เป็นต้น ในเรื่องของมาตรการ นโยบายและการกำกับก็มีบทบาทต่อความต้องการด้านนี้ อย่างเช่น ISO/IEC ได้ออกมาตรฐาน ISO/IEC 27001 Information Security Management มากำกับหน่วยงานเพื่อรักษาความมั่งคงปลอดภัยให้ได้ตามเกณฑ์มาตรฐาน สำหรับเรื่องกระแสการรณรงค์ลดภาวะโลกร้อน ลึกๆแล้วก็เป็นความต้องการความมั่่นคงปลอดภัย Green IT จึงกลายเป็นประเด็นที่ Gartner จัดไว้เป็น top 10 strategic technologies สำหรับปี 2009 ที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นวัสดุของผลิตภัณฑ์ การทำลาย การประหยัดพลังงาน การลดการปล่อยกาซเรือนกระจก เหล่านี้เกี่ยวพันกับเทคโนโลยี ICT ทั้งสิ้น


ขั้นที่ 3 ความต้องการความรักและการเป็นที่ยอมรับของกลุ่ม (Love and Belonging Needs) มนุษย์เมื่อเข้าไปอยู่ในกลุ่มใดก็ต้องการให้ตนเป็นที่รักและยอมรับในกลุ่มที่ตนอยู่ แฟร์ชันของการบริโภคเทคโนโลยีเพื่อไม่ให้ตัวเองตกรุ่น หรือเพื่อให้เข้าสังคมได้ หรือการสร้างกลุ่มเพื่อนฝูง เริ่มตั้งแต่ mail-group, blog, กลุ่มใน Hi5, facebook ก็เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนว่าเราต้องการกลุ่ม ต้องการสังกัด ต้องการคนเอาใจใส่ข้อความหรือรูปภาพที่เราโพสท์ลงในเว็บ เทคโนโลยี ICT จะมีพัฒนาการเพื่อตอบโจทย์ความต้องการนี้ได้ดีขึ้นเรื่อยๆ Hi-speed Internet หรือ 3G/4G ทำให้เราคุยกันผ่านวิดีโอ ส่งคลิปแทนคำพูดที่ใช้ใน emailยุคเก่า ทำให้เราสื่อความรู้สึกถึงกันได้ ในอนาคตก็น่าจะแบ่งปัน กลิ่น รส หรือสัมผัสได้ หรือแม้แต่การอ่านคลื่นสมอง คลื่นความร้อนเพื่อทำนายอารมณ์และความคิดได้ ก็จะเกิดขึ้นได้ในอนาคตเช่นกัน ในส่วนเทคโนโลยีICT ที่ต้องใช้กับคนหมู่มากนี้ อินเทอร์เน็ตถือว่าเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญที่ทำให้วิถีชีวิตเปลี่ยนแปลงไป ปฎิสัมพันธ์ระหว่างคนน้อยลงแต่มีชีวิตอยู่กับหน้าจอหรือโทรศัทพ์เครื่องมือถือ แต่กลับสื่่อสารกับคนได้มากขึ้นพร้อมๆกัน ตัดข้อจำกัดด้านระยะทางออกไป เมื่อขีดจำกัดกลับมาอยู่ที่ความสามารถของเทคโนโลยี ด้วย CPU ที่เร็วขึัน Network ที่เร็วขึ้น Storage ที่มากขึ้น และราคาที่ถูกลงทำให้การบริการคนหมู่มากทั้ง HaaS, IaaS, PaaS และ SaaS (Hardware, Infrastructure, Platform, Software as a service) ผ่าน Cloud computing อุบัติขึ้นมา อนึ่ง Cloud computing จะเป็นประโยขน์อย่างมากต่อหน่วยงานในการลดภาระ infrastructure หรือบริการที่ไม่เป็นความลับและสามารถพึ่งพา Cloud computing ภายนอกได้ หรือหากองค์กรมีขนาดใหญ่มากก็พัฒนา Internal Cloud computing ขึ้นภายในองค์กรได้เช่นกัน


ขั้นที่ 4 ความต้องการได้ รับการยกย่องจากผู้อื่น (Self -Esteem Needs) เป็นความต้องการในลำดับต่อมา ซึ่งความต้องการในชั้นนี้ถ้าได้รับจะก่อให้เกิดความภาคภูมิใจใจตนเอง แฟร์ชันของเทคโนโลยีก็จัดอยู่ในข้อนี้ การที่คนเราเปลี่ยนมือถือทั้งที่ยังใช้ได้อยู่ หรือมีมือถือที่มีฟังก์ชันเกินความต้องการ แต่เนื่องจากเราต้องการได้รับการยกย่อง(รวมทั้งยอมรับ)จากผู้อื่น เช่นเดียวกันกับการ share รูปภาพใน Social network เพื่อให้คนวิจารณ์ ก็คงหวังจะได้รับคำชมเชยเช่นกัน เทคโนโลยี ICT ก็นำข้อนี้มาพัฒนาApplication ได้หลากหลาย การเล่นเกมส์ออนไลน์ การสร้าง Blog ของตัวเอง การเล่น twitter เพื่อสร้างอำนาจกับฐานจำนวนผู้ตามให้สูงขึ้นก็เพื่อการยกย่องเช่นกัน


ขึ้นที่ 5 ความต้องการในการเข้าใจและรู้จักตนเอง (Self-Actualization Needs) เป็นความต้องการชั้นสูง


ของมนุษย์ ซึ่งน้อยคนที่จะประสบได้ถึงขั้นนี้ Maslow อธิบาย ความต้องการเข้าใจตนเองอย่างแท้จริง ว่าเป็นความปรารถนาในทุกสิ่งทุกอย่างซึ่งบุคคลสามารถจะได้รับอย่างเหมาะสม บุคคลที่ประสบผลสำเร็จในขั้นสูงสุดนี้จะใช้พลังอย่างเต็มที่ในสิ่งที่ท้าทายความสามารถและศักยภาพของเขาให้บรรลุถึงจุดสูงสุด ของศักยภาพ เช่น นักดนตรีก็ต้องใช้ความสามารถทางด้านดนตรี ศิลปินก็จะต้อง วาดรูป สำหรับงานของโปรแกรมเมอร์ก็มีช่องทางของ Opensourceที่เปิดโอกาสให้นักพัฒนาทั่วไปแสดงความสามารถของตนเองด้าน ICTออกมา นอกจากนี้ API ต่างๆ เช่น Twitter API ก็มีส่วนช่วยผลักดันความต้องการข้อนี้ได้อย่างมาก แนวโน้มของการพัฒนาจึงออกมาในแนวการเปิดโอกาสให้ผู้อื่นมา "ต่อยอด" แทนการพัฒนาเองคิดเองทั้งหมดซึ่งจะสู้การลงแขกช่วยกันต่อยอดไม่ได้


นอกจากความต้องการทั้ง 5 ของมนุษย์ตามปรัชญาของ Maslow นี้แล้วยังมีอีกสองความต้องการระดับสูงที่จะพัฒนาตนเองไปสู่ความเจริญได้แก่


ความต้องการรู้และเข้าใจ หลายครั้งที่เราต้องพึ่ง Search engine หรือ Wikipedia เพื่อค้นคว้าวิจัย ตอบสนองความอยากรู้อย่างรวดเร็ว การตั้งกระทู้ถามใน pantip.com ก็เป็นการถามความเห็นหรือประสบการณ์ตรงจากสังคมผู้สนใจในเรื่องเดียวกัน การเรียนการสอนทางไกล การเฝ้าติดตามข่าวผ่านRSS feed เพื่อให้รู้ทันการณ์ เพื่อดูผลกีฬา การดู Review product จาก youtube.com เพื่อการตัดสินใจ จะเห็นได้ว่าเทคโนโลยี ICT มีบทบาทมากในความต้องการข้อนี้


ความต้องการสุนทรีย์ ความซาบซึ้งในศิลปะและดนตรี(ภาพยนต์) เทคโนโลยี ICT มีบทบาทตั้งแต่การค้นคว้า การสร้างแรงบันดาลใจ การสร้างผลงาน การนำเสนอ การวิจารณ์ ในอนาคตหากเทคโนโลยีICT พัฒนาก้าวไปก็จะช่วยตอบสนองความต้องการนี้ได้ดีขึ้น เช่น ความคมชัดของจอภาพ ความจุของ Blu-ray (50GB สำหรับ double layer disc) ที่จะมาแทนที่ DVD เป็นต้น


ในเรื่องของความต้องการของมนุษย์อาจจะศึกษาจากบริบทของธรรมะในพุทธศาสนาหรือทฤษฎีของเมอร์เรย์(Murray)ได้เช่นกัน ในทางพุทธศาสนา กล่าวถึง ความต้องการของมนุษย์ หรือความอยากซึ่งเรียกว่า กิเลส มีอยู่ 3 อย่าง คือ ( พระธรรมปิฎก ป.อ. ปยุตโต , 2538: 67 - 70) 



กามตัณหา คือ ความอยากในกามคุณทั้ง 5 คือ ความอยากหรือปรารถนาในสิ่งน่ารักใคร่พอใจ ซึ่งอาจเป็น รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส มิใช่หมายถึงความต้องการทางเพศเพียงอย่างเดียวอย่างเช่นที่คนส่วนใหญ่เข้าใจกัน ในข้อนี้เทียบเคียงได้กับความต้องการในข้อที่1 ของ Maslow สิ่งนี้เป็นความต้องการที่เทคโนโลยี ICT สนองความต้องการได้ดีดังที่กล่าวมาแล้ว เพราะความต้องการไม่มีที่สิ้นสุด เทคโนโลยีก็จะถูกจับมาพัฒนาสนองความต้องการนี้ไม่สิ้นสุดเช่นกัน



ภวตัณหา คือ ความอยากมี อยากเป็น อยากได้
 ซึ่งเทียบได้กับความต้องการตั้งแต่ข้อ 2 เป็นต้นไปของ Maslow


วิภวตัณหา คือ ความไม่อยากมี ไม่อยากเป็น ไม่อยากได้
 ข้อนี้เป็นข้อที่น่าทึ่งในหลักธรรม และเป็นความท้าทายของนักพัฒนาเทคโนโลยี ICTอย่างยิ่งว่าจะตอบโจทย์ข้อนี้ได้อย่างไร พุทธศาสนาสอนให้เราคิดให้เป็นหรือรู้จักคิด(โยนิโสมนสิการ) แทนที่จะปล่อยให้เทคโนโลยีดึงเราไปจมติดอยู่กับข้อ 1 และข้อ 2


อีกประเด็นหนึ่งที่ไม่อยากให้ข้างไปคือการเทียบความต้องการกับอิฐารมณ์ 4 คือ (เสถียร เหลืองอร่าม, 2519 : 21) 
1. ลาภ ซึ่งได้แก่ ทรัพย์ ศฤงคาร(สิ่งที่ทำให้เกิดความรัก, ความใคร่) เงินทอง
 2. ยศ ได้แก่ ตำแหน่ง เหรียญตรา ปริญญา วิทยฐานะ 
3. สรรเสริญ ได้แก่ ความเคารพ นับถือจากผู้อื่น
 4. ความสุข ทั้งในร่างกายและจิตใจ


กล่าวโดยสรุปจะเห็นได้ว่าความต้องการจะหนีไม่พ้นสิ่งเหล่านี้ ก็อยู่ที่การรู้จักคิดนำเทคโนโลยีมาตอบสนองความต้องการที่ละเอียดขึ้นเรื่อยๆ หากเราวิเคราะห์ความต้องการได้ถ่องแท้และรู้ทันเทคโนโลยีก็เป็นไปได้ว่าเราจะคาดการณ์ความเป็นไปของ ICT ในอนาคตได้ถูกต้องยิ่งขึ้น


ภาสกร ประถมบุตร


ที่มา


http://blogs.gartner.com/david_cearley/2008/10/14/gartner’s-top-10-strategic-technologies-for-2009/


http://th.wikipedia.org/wiki/อับราฮัม_มาสโลว์


http://www.novabizz.com/NovaAce/Personality/Human_Needs.htm

คำกล่าวรายงานปักเขตวิสุงคามสีมา

คำกล่าวรายงาน กราบนมัสการ................................................... เจ้าคณะ................................. ประธานฝ่ายสงฆ์ เรียน ......................................นายอำเภอ................................. ประธานฝ่ายฆราวาส กระผม....................................................ตำแหน่ง................................. ขออนุญาตกล่าวรายงานการจัดพิธีปักเขตวิสุงคามสีมา ในนามตัวแทนคณะกรรมการ อุบาสก อุบาสิกา ขอขอบพระคุณพระเดชพระคุณ....................................เจ้าคณะอำเภอ................ ประธานฝ่ายสงฆ์ ขอขอบคุณ ......................................นายอำเภอ................................. ประธานฝ่ายฆราวาส ที่ได้ให้เกียรติเป็นประธานในการประกอบพิธีปักเขตวิสุง คามสีมา วัดบ้านทำนบ ตำบลกันตวจระมวล อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ เพื่อโปรดทราบ ดังนี้ วิสุงคามสีมา หมายถึง เขตที่พระราชทานแก่สงฆ์เพื่อใช้เป็นที่สร้างอุโบสถ หรือเขตที่พระสงฆ์ใช้ประกอบสังฆกรรม พระมหากษัตริย์ผู้เป็นองค์ศาสนูปถัมภก มีพระราชประสงค์อำนวยความสะดวกแก่สงฆ์ จึงทรงออกประกาศพระราชทานที่ตั้งวัดเป็นวิสุงคามสีมา การยกที่ดินเป็นเขตวิสุงคามสีมาถือว่า ได้พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ตั้งวัด แต่การขอพระบรมราชานุญาตนั้น กำหนดเฉพาะบริเวณที่ตั้งอุโบสถเท่านั้น ปัจจุบันการขอรับพระราชทานวิสุงคามสีมาให้แก่วัด ดำเนินการตามกฎกระทรวง ซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.๒๕๐๕ และที่แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.๒๕๓๕ คือวัดที่สมควรได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา ต้องปรากฏว่า ได้สร้างขึ้น หรือไปปฏิสังขรณ์เป็นหลักฐานถาวร และมีพระภิกษุอยู่ประจำไม่น้อยกว่า ๕ รูป ติดต่อกันเป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๕ ปี แต่ระยะเวลา ๕ ปีมิได้ใช้บังคับแก่วัดที่สร้างอุโบสถเสร็จเรียบร้อยแล้ว และสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติเ ห็นสมควรขอพระราทานวิสุงคามสีมา วิธีการขอพระราชทานวิสุงคามสีมา ให้เจ้าอาวาสเป็นผู้เสนอรายงานต่อผู้บังคับบัญชาฝ่ายสงฆ์ ขอความเห็นชอบและปรึกษาเจ้าหน้าที่ฝ่ายบ้านเมืองตามลำดับชั้น จนถึงสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เมื่อสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติพิจารณาเห็นสมควรแล้ว ก็จะกราบบังคมทูลสมเด็จพระสังฆราชเพื่อทรงอนุมัติแล้วนำความกราบบังคมทูลขอรับพระราชทานวิสุงคามสีมา วัดบ้านทำนบ ตำบลกันตวจระมวล อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ ได้ดำเนินการตามขั้นตอนดังกล่าว และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา ซึ่งได้มีประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ ๖ เดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ โดยมีความกว้าง ๓๐ เมตร ยาว ๖๐ เมตร เพื่อให้การดำเนินการ และสามารถประกอบสังฆกรรมได้อย่างถูกต้องตามหลักพระธรรมวินัย จึงได้ประกอบพิธีปักเขตวิสุงคามสีมา ในวันพฤหัสบดีที่ ๑๑ เดือนกรกฎาคม ๒๕๕๖ (ขึ้น ๔ ค่ำ เดือน ๘) เวลา ๐๙.๓๙ น. ซึ่งได้รับความเมตตาอันสูงยิ่งจาก................................................... เจ้าคณะ................................. ประธานฝ่ายสงฆ์ และมี ......................................นายอำเภอ.......................... ประธานฝ่ายฆราวาส พร้อมด้วยพุทธศาสนิกชน ข้าราชการ ผู้ปกครองส่วนท้องถิ่น ร่วมเป็นสักขีพยาน บัดนี้ ได้เวลาอันเป็นอุดมมงคลฤกษ์แล้ว กระผมขอกราบนมัสการ............................................... เจ้าคณะ............................ ประธานฝ่ายสงฆ์ และเรียน .................................นายอำเภอ................................. ประธานฝ่ายฆราวาส ได้ประกอบพิธีปักเขตวิสุงคามสีมา เป็นลำดับต่อไป กราบนมัสการและกราบเรียนด้วยความเคารพอย่างสูง

ทฤษฎีแรงจูงใจ Motivation Theory

ทฤษฎีแรงจูงใจ Motivation Theory
แนวความคิดของการจูงใจมีได้หลายแง่หลายมุม ดังนั้นจึงมีทฤษฎีต่างๆ ที่พยายามอธิบายสภาวะ ของอินทรีย์เช่นนี้และ พอจะแบ่งออกได้เป็น
1. ทฤษฎีเกี่ยวกับสมดุลยภาพและแรงขับ (Homeostasis and drive theory)
พื้นฐานเกี่ยวกับ มโนภาพของแรงขับ คือ หลักการของสมดุลยภาพ (homeostasis) ซึ่งหมายถึง ความโน้มเอียงของร่างกาย ที่จะทำให้สิ่งแวดล้อมภายในคงที่อยู่เสมอ ตัวอย่าง คนที่มีสุขภาพดีย่อมสามารถ ทำให้อุณหภูมิใน ร่างกายคงที่อยู่ได้ใน ระดับปรกติไม่ว่าจะอยู่ในอากาศร้อนหรือหนาว ความหิว และความกระหาย แสดงให้เห็นถึงกลไกเกี่ยวกับ สมดุลยภาพเช่นกัน เพราะว่าแรงขับดังกล่าว จะไปกระตุ้นพฤติกรรม เพื่อก่อให้เกิดความสมดุลย์ของส่วนประกอบหรือสารบางอย่างในเลือด ดังนั้นเมื่อเรามองในทัศนะของสมดุลยภาพ ความต้องการเป็นความไม่สมดุลย์ทางสรีรวิทยา อย่างหนึ่งอย่างใดหรือเป็น การเบี่ยงเบนจากสภาวะที่เหมาะสม และการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาที่เกิดตามมาก็คือแรงขับ เมื่อความไม่สมดุลทางสรีรวิทยา คืนสู่ภาวะปกติ แรงขับจะลดลงและการกระทำ ที่ถูกกระตุ้นด้วยแรงจูงใจก็จะหยุดลงด้วย
นักจิตวิทยาเชื่อว่า หลักการของสมดุลยภาพมิได้เป็นเรื่องของสรีรวิทยาเท่านั้น แต่ยังเกี่ยวข้องกับจิตใจด้วย กล่าวคือความไม่สมดุลย์ทางสรีรวิทยา หรือ ทางจิตใจ (physiological or psychological imbalance) มีส่วนจูงใจพฤติกรรม เพื่อทำให้ภาวะสมดุลย์กลับคืนมาเช่นเดิม
2. ทฤษฎีของความต้องการและแรงขับ (Theory of needs and drives)
เมื่อทฤษฎีของสัญชาตญาณซึ่งจะได้กล่าวต่อไปนั้นได้รับความนิยมลดลง ได้มีผู้เสนอแนวความคิดของแรงขับขึ้นมาแทน แรงขับ (drive) เป็นสภาพที่ถูกยั่วยุอันเกิดจากความต้องการ (need) ทางร่างกายหรือเนื้อเยื่อบางอย่าง เช่น ความต้องการอาหาร น้ำ ออกซิเจน หรือการหลีกหนีความเจ็บปวด สภาพที่ถูกยั่วยุเช่นนี้จะจูงใจอินทรีย์ให้เริ่มต้นแสดงพฤติกรรม เพื่อตอบสนองความต้องการที่เกิดขึ้น เช่น การขาดอาหารก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมีบางอย่างในเลือด แสดงให้เห็นถึงความต้องการสำหรับอาหาร ซึ่งต่อมามีผลทำให้เกิดแรงขับ อันเป็นสภาพของความยั่วยุหรือความตึงเครียด อินทรีย์จะพยายามแสวงหาอาหารเพื่อลดแรงขับนี้ และเป็นการตอบสนองความต้องการไปในตัวด้วย บางครั้งความต้องการและแรงขับอาจถูกใช้แทนกันได้ แต่ความต้องการมักจะหมายถึง สภาพสรีรวิทยาของการที่เนื้อเยื่อขาดสิ่งที่จำเป็นบางอย่าง ส่วนแรงขับหมายถึงผลที่เกิดตามมาทาง สรีรวิทยาของความต้องการ ความต้องการและแรงขับเคียงคู่กัน แต่ไม่เหมือนกัน
3. ทฤษฎีเกี่ยวกับเหตุกระตุ้นใจ (Incentive theory)
ในระยะต่อมาคือ ราว ค.ศ. 1950 นักจิตวิทยาหลายท่านเริ่มไม่พอใจทฤษฎีเกี่ยวกับการลดลงของแรงขับ (drive-reduction theory) ในการอธิบายการจูงใจของพฤติกรรมทุกอย่าง จะเห็นได้ชัดว่าสิ่งเร้าจากภายนอกเป็นตัวกระตุ้นของพฤติกรรมได้ อินทรีย์ไม่เพียงแต่ถูกผลักดันให้เกิดกิจกรรมต่าง ๆ โดยแรงขับภายในเท่านั้น เหตุกระตุ้นใจหรือเครื่องชวนใจ (incentives) บางอย่างก็มี ความสำคัญในการยั่วยุพฤติกรรม เราอาจมองการจูงใจได้ในฐานะเป็นการกระทำระหว่างกัน (interaction) ของวัตถุที่เป็นสิ่งเร้าในสิ่งแวดล้อมกับสภาพทางสรีรวิทยาของอินทรีย์อย่างหนึ่งโดยเฉพาะ คนที่ไม่รู้สึกหิวอาจถูกกระตุ้น ให้เกิดความหิวได้ เมื่อเห็นอาหารที่อร่อยในร้านอาหาร
ในกรณีนี้เครื่องชวนใจคือ อาหารที่อร่อยสามารถกระตุ้นความหิวรวมทั้งทำให้ความรู้สึกเช่นนี้ลดลง สุนัขที่กินอาหารจนอิ่ม อาจกินอีกเมื่อเห็นสุนัขอีกตัวกำลังกินอยู่ กิจกรรมที่เกิดขึ้นมิได้เป็นเรื่องของแรงขับภายใน แต่เป็นเหตุการณ์ภายนอก พนักงาน พอได้ยินเสียงกริ่งโทรศัพท์ก็รีบยกหูขึ้นพูด ดั้งนั้นจึงกล่าวได้ว่าพฤติกรรมที่มีการจูงใจ อาจเกิดขึ้นภายใต้การควบคุมของสิ่งเร้า หรือเหตุกระตุ้นใจมากกว่าที่จะเกิดจากแรงขับ
4. ทฤษฎีเกี่ยวกับสัญชาตญาณ (Instinct theory)
สัญชาตญาณคือแรงทางชีวภาพที่มีมาแต่กำเนิด และเป็นตัวผลักดันให้อินทรีย์แสดงพฤติกรรมอย่างหนึ่งอย่างใดออกมา พฤติกรรม ของสัตว์ ส่วนใหญ่เชื่อว่าเป็นเรื่องของสัญชาตญาณ เพราะสัตว์ไม่มีวิญญาณ สติปัญญาหรือเหตุผล เช่น มนุษย์ William McDougall กล่าวว่าความคิดและพฤติกรรมทั้งหมดของคนเราเป็นผลของสัญชาตญาณในหนังสือ Social psychology ตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1908 ท่านได้จำแนกสัญชาตญาณต่างๆ ไว้ดังนี้
  • การหลีกหนี (flight)
  • การขับไล่ (repulsion)
  • ความอยากรู้ (curiosity)
  • ความอยากต่อสู้ (pugnacity)
  • การตำหนิตนเอง (self-abasement)
  • การเสนอตนเอง (self-assertion)
  • การสืบพืชพันธุ์ (reproduction)
  • การรวมกลุ่ม (gregariousness)
  • การแสวงหา (acquisition)
  • การก่อสร้าง(construction)
จะเห็นว่าทฤษฎีเกี่ยวกับสัญชาตญาณ ไม่ค่อยจะสมเหตุผลนักในทัศนะของนักจิตวิทยาหลายท่าน
 5. ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตไร้สำนึก (Theory of unconscious motivation)
ฟรอยด์มีความเชื่อว่าพฤติกรรมของมนุษย์ถูกกำหนดโดยพลังพื้นฐานสองอย่างคือ สัญชาตญาณแห่งชีวิต (life instincts) ซึ่งแสดงออกมา เป็นพฤติกรรมทางเพศ และสัญชาตญาณแห่งความตาย (death instincts) ซึ่งผลักดันให้เกิดเป็นพฤติกรรมก้าวร้าว สัญชาตญาณ ทั้งสองอย่างนี้เป็นแรงจูงใจที่ทรงพลังอย่างยิ่งและอยู่ภายในจิตไร้สำนึก บ่อยครั้งคนเรามักจะไม่รู้ว่าอะไรคือ แรงจูงใจ หรือเป้าประสงค์ ที่แท้จริง เขาอาจให้เหตุผลที่ดีบางอย่างสำหรับพฤติกรรมของเขา แต่เหตุผลเหล่านี้มักไม่ถูกต้อง ตามความเป็นจริงอยู่เสมอ
6. ทฤษฎีเกี่ยวกับการรู้ (Cognitive theory)
การรู้ (cognition) มาจากภาษาลาติน แปลว่าการรู้จัก (knowing) ทฤษฎีนี้เน้นเกี่ยวกับความเข้าใจหรือการคาดคะเนเหตุการณ์ต่างๆ โดยอาศัยการกำหนดรู้ (perception) มาก่อน อาจรวมทั้งการคิดค้นและการตัดสินใจ เช่น ในกรณีที่ต้องมีการเลือกสิ่งของที่มีคุณค่า ใกล้เคียงกัน การกระตุ้นก็ดีหรือพฤติกรรมที่กำลังดำเนินไปสู่เป้าประสงค์ (goal-seeking behavior) ก็ดีเกิดจากความรู้ ที่เคยพบมาเป็น ตัวกำหนด นอกจากนั้นยังต้องอาศัยเหตุการณ์ในอดีต สิ่งแวดล้อมในปัจจุบันและความคาดหวังในอนาคต
Festinger (1957) ได้อธิบายเกี่ยวกับความขัดแย้งหรือความไม่ลงรอยกันของการรู้ (cognitive dissonance) ซึ่งมีผลทำให้เกิด แรงจูงใจ ในการเปลี่ยนพฤติกรรม บางอย่างได้ เช่น คนที่ติดบุหรี่ สูบบุหรี่จัดเมื่อทราบข่าวว่า การสูบบุหรี่มีส่วนทำให้เกิดเป็น มะเร็งของปอด เกิดความขัดแย้งระหว่างพฤติกรรมของการสูบบุหรี่กับข่าวใหม่ เขาจะต้องเลือกเอา อย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อลดความขัดแย้ง ที่เกิดขึ้น ถ้าเขาตัดสินใจเลิกสูบบุหรี่ความขัดแย้งจะลดลงไปโดยการเลิกความเชื่อเดิมที่ว่าสูบบุหรี่แล้วจะปลอดภัย รวมทั้งความอยากที่จะสูบอีกด้วย
7. ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตวิญญาณ (Spiritual theory)
เป็นทฤษฎีที่เกี่ยวกับกฎแห่งกรรมในพุทธศาสนา จำลอง ดิษยวณิช (2545) ได้อธิบายความหมายของคำว่าจิตวิญญาณ ไว้ดังนี้ "จิตวิญญาณ หมายถึง ภวังคจิต (the life continuum) ในพุทธศาสนา หรือจิตไร้สำนึก (the unconscious) ในจิตวิเคราะห์ " จิตวิญญาณ ซึ่งเป็นส่วนลึกภายในจิตใจของมนุษย์มีแรงจูงใจที่ทรงพลังอย่างหนึ่งคือ"กรรม" กรรมเป็นการกระทำของคนเรา ไม่ว่าจะเป็นทางใจ ทางวาจา หรือทางกาย ถ้ากระทำกรรมดีก็จะส่งผลไปในทางที่ดี ถ้ากระทำกรรมชั่วก็จะส่งผลไปในทางที่ไม่ดี ทำกรรมเช่นใด ย่อมได้ผลเช่นนั้น สมดังคำกล่าวว่า "ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว" พลังกรรมและผลของกรรมถือว่า เป็นแรงจูงใจ ที่สำคัญอย่างหนึ่ง ในชีวิตประจำวันของคนเรา และถูกเก็บสั่งสมไว้ในจิตไร้สำนึก ความสุขจะเกิดขึ้นได้เพราะ เป็นผลของการ กระทำกรรมดี แต่ในทางตรงกันข้ามความทุกข์จะเกิดขึ้น เนื่องจากผลของการกระทำกรรมที่ไม่ดี

http://www.novabizz.com/NovaAce/Behavior/Motivation_Theory.htm