แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ บทความ แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ บทความ แสดงบทความทั้งหมด

วันจันทร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2559

หัวเชื้อปราบหนอน

หัวเชื้อปราบหนอน 24-28 ชม. ไม่เกิน 36 ชม.
1.หัวเชื้อจุลินทรีย์ BT
2.ไมโทรฟากัส
3.มะพร้าวอ่อน
4.ให้พ่นตอนเย็น เพื่อหลีกเลี่ยงแสงแดด
ผสมเชื้อราฆ่าเชื้อรา
-ออแกนนิก ข้าวหัก 2 ขีดครึ่ง (หุงสุก)
-พาโนม่า (กำจัดเชื้อรา)  ไตรโคเดอร์ม่า
ผสมเข้ากัน หมักไว้ 2 สัปดาห์
การผลิตเชื้อราไตรโคเดอร์มา สด
1.หม้อหุงข้าวไฟฟ้า
2.แก้วน้ำหรือถ้วยตวง
3.ทัพพีตักข้าว
4.ถุงพลาสติก
5.ยางวง
6.เข็มเย็บผ้าหรือเข็มหมุด
7.ข้าวสารเจ้า หรือปลายข้าว
8.หัวเชื้อราไตรโคเดอร์มาชนิดผง
อัตรส่วน ข้าว 3 น้ำ 2 ส่วน หุงข้าวให้สุก ตักข้าวขณะร้อน ทิ้งไว้สักพัก (อุ่น ไม่เย็นเกินไป)
หยดเชื้อ 1-2 หยด มัดปากถุง คลุกเคล้าให้เข้ากัน
ใช้เข็มหมุดจิ้มถุงป็นรู เพื่อระบายอากาศ เก็บไว้ในที่สะอาด
ไม่ให้ถูกแสงแดด ไม่มีมดรบกวน สองวันคลุกเคล้าอีกครั้ง ระยะ 7 วัน

ใช้ 1 กก. ต่อน้ำ 200 ลิตร

เพาะไรแดง จุลินทรีย์สลายตอซัง

เพาะไรแดง (การทำน้ำเขียว)
1.หัวเชื้อน้ำเขียว หรือ สาหร่าย Chlorella 1:10
2.น้ำอามิ อามิ หรือ กากผงชูรส 1 ลิตร
3.รำละเอียด
4.ปุ๋ยสูตรเสมอ 16-16-16
5.ปุ๋ยยูเรีย 46-0-0 จำนวน 150 กรัม
6.ปุ๋ยสูตร 16-20-21 จำนวน 150 กรัม
7.ปุ๋ยสูตร 19-19-19 จำนวน 150 กรัม
8.ปูนขาว จำนวน 300 กรัม
9.ปุ๋ยซุปเปอร์ฟอสเฟส จำนวน 15 กรัม

วิธีการ ที่นา 1 ไร่ (ผสมฉีดในนา) สลายตอซัง
1.หัวเชื้อจุลินทรีย์น้ำ 5 ลิตร
2.น้ำ 100 ลิตร
3.กากน้ำตาล 5 กิโลกรัม
ทิ้งไว้ 7-10 วัน
สามารถนำมาทำเป็นหัวเชื้ออื่นๆ ผักต่างๆ สับผักเป็นชิ้นเล็กๆ (ผลหมักเร่งผล ใบหมักเร่งใบ)
หมักปลาทะเล ปลาน้ำจืด ไส้เดือนจะกินของเน่า

แบบที่ 1 การเพราะเชื้อแบบแห้ง
1.หัวเชื้อดินดีจากป่า 1 ส่วน (1 กก.)
2.รำละเอียด 1 ส่วน (1 กก.)
3.เศษใบไม้แห้ง แกลบดิบหรือใบไผ่แห้ง 1 กระสอบ (5 กก.)
4.กากน้ำตาล 200 ซีซี
5.น้ำ 5 ลิตร
วิธีการ
1.นำวัศดุมาคลุกเคล้ากัน
2.รดกองสัสดุด้วยกากน้ำตาล วัดความชื้นโดยเอามือกำส่วนผสม ถ้ากำใดไม่แตก ก็ใช้ได้
3.กองเป็นรูปหลังเต่าสูงประมาณ 50 ซม. คลุมด้วยกระสอบ

แบบที่ 2 การเพาะเลี้ยงแบบน้ำ
1.ถังน้ำสีทึบมีฝาปิด 200 ลิตร
2.การกน้ำตาล 10 กก. ถ้าไม่มีให้ใช้ปลายข้าวต้ม 10 กก. ใส่แทนกากน้ำตาลก็ได้
3.จุลินทรีย์ที่เก็บมาจากป่า หรือจุลินทรีย์ที่เพราะเชื้อแบบแห้ง
4.รำละเอียด
วิธีทำ
1.เอาน้ำใส่ถึงสีทึบขนาด 200 ลิตร มีฝาปิด
2.เอากากน้ำตาลหรือปลายข้าวต้ม 10 กก. ละลายให้เข้ากันในถัง
3.เอาจุลินทรีย์ใส่ลงไป
4.โรยรำละเอียดด้านบนให้ทั่ว
5.ปิดฝาให้สนิทแล้วเปิด แล้วเปิดคนทุกวัน
ผลที่ได้
1.ใน 1-2 วันจะเกิดฝ้าขาว ขึ้นที่ผิวน้ำ
2.เมื่อฝ้าจมลง ก็นำหัวเชื้อจุลินทรีย์ไปใช้ หรือขยายต่อไปได้
3.นำมาทำปุ๋ยหมัก ปุ๋ยน้ำชีวภาพ
4.สกัดสารสมุนไพร ไล่แมลง

5.ทำฮอร์โมน เอนไวม์ เพื่อใช้เป็นปุ๋ยทางใบ เร่งใบ เร่งดอก เร่งผล

การทำน้ำจุลินทรีย์ป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูพืช

วัตถุดิบใช้ในการทำน้ำจุลินทรีย์ป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูพืช
1. หัวเชื้อจุลินทรีย์ 1 ลิตร
2. สุราขาว 3 ขวด
3. น้ำส้มสายชู 4 ขวด
4. น้ำตาล 1 กิโลกรัม
5. หมักไว้ 2 สัปดาห์
6. 30 ซีซีต่อน้ำ 1 ลิตร
7. ยา 1 ลิตร ต่อ น้ำ 200 ลิตร

ปุ่ยแกลบดำมูลสัตว์
แกลบรองพื้น  ขี้เป็ด วัว ควาย สุกร คายข้าว รำ
1.นำส่วนผสมทั้งหมดคลุกเคล้าให้เข้ากัน
2.รดน้ำให้พอหมาดแล้วคลุกเคล้าให้เข้ากันอีกครั้ง
3.ทดสอบโดยปั้นให้ส่วนผสมจับตัวเป็นก้อน
4.นำผ้าพลาสติกคลุม 48 ชม.
5.กลับกองปุ๋ยทุก 2 วัน เพื่อให้จุลินทรีย์ฆ่าเชื้อโรคให้ทั่วกองปุ๋ย
6.ระยะเวลา 8 วัน

สูตรสมุนไพรกำจัดแมลงศัตรูพืช

สูตรสมุนไพรกำจัดแมลงศัตรูพืช สาธิตโดย คุณนิวัฒน์ อรสี
สูตร : หนอนตายยาก  ขิง, ตะไคร้หอม  สาบเสือ  สะเดา  น้อยหน่า  ขี้เหล็ก  บรเพ็ด  ผกากรอง  ฟ้าทะลายโจร  กระเพราช้าง  ยูคาลิป  ขมิ้น  พลูคาว
วิธีการทำ : (สับเป็นชิ้นเล็กๆ แล้วต้ม)  จำนวนเท่ากัน ตามปริมาณน้ำที่ต้องการ

วัตถุดิบที่ใช้ในการหมักสมุนไพรป้องกันและกำจัดศัตรูพืช ใช้ในการหมักโดยทุบให้แตก
ดีปลี  ใบพลู  ว่านหางจระเข้  พริกไทยสด  กระชาย  มะแขวน  กระเทียม  ไพล  พริกสด  น้ำตาลหรือกากน้ำตาล
วิธีทำ หัวเชื้อจุลินทรีย์ 1 ลิตร, (1 ต่อ 1 ทุกอย่างใช้น้ำ 2 ลิตร), หมักไว้อย่างน้อย 2 วันขึ้นไป หรือ 1 สัปดาห์

เชื้อรานมโมเรียป้องกันหนอนทุกชนิด

เชื้อรานมโมเรียป้องกันหนอนทุกชนิด
สูตร 1. น้ำเดือด 20 ลิตร
2. นมข้นหวาน 1 กระป๋อง
3. น้ำตาลทรายแดง 1 กก.
4. น้ำเย็น (ทิ้งไว้ 1 วัน) นำน้ำเชื้อใส่
วิธีการทำ ทิ้งไว้ 7 วัน นำหัวเชื้อไปใช้ได้  (1 ลิตร ต่อน้ำ 10 ลิตร)

ปราบเพลี่ยกระโดด
สูตร 1. น้ำเดือด 20 ลิตร
2. นมข้นหวาน 1 กระป๋อง
3. น้ำตาลทรายแดง 1 กก.

วิธีการทำ น้ำเย็น นำน้ำเชื้อ (ต่างกันที่หัวเชื้อ ต้องหัวเชื้อเฉพาะ)  1 ลิตร ต่อน้ำ 10 ลิตร

สูตรปุ๋ยหมัก (อัดเม็ดก็ได้)

สูตรปุ๋ยหมัก (อัดเม็ดก็ได้)
แกลบดำ
แกลบขาว
น้ำหมัก
มูลสัตว์ต่างๆ
กากน้ำตาล/ รำละเอียด
เสริมแร่ธาตู / ขี้ค้างขาว / ซากอ้อย

สูตรน้ำหมักบำรุงดินและพืช
1. กระถิน เจริญเติบโตดี แข็งแรง
2. ดอกบัว เร่งให้ออกดอกออกผลเร็ว
3. ผักบุ้ง การยืด
4. หน่อกล้วย จุลินทรีย์เยอะ ช่วยย่อยสลาย ดินร่วนซุย  (ตัด หั่นให้เป็นชิ้นเล็กๆ)
5. กากน้ำตาล
6 .สารเร่ง พด.2
วิธีการทำ  วัตถุดิบ 3 กก กากน้ำตาล 1 กก, ผสมจุลินทรีย์ พด.2 หนึ่งซองลงในน้ำ 1 กิโลกรัม, กลิ่งถึงวันละ 1 ครั้ง 7 วัน, หมักไว้ 45 วัน,  ใช้รดต้นพืช สัดส่วนน้ำหมัก 30 ซีซี ต่อ น้ำ 1 ปี๊บ ใช้ย่อยสลายฟางในนาข้าว สัดส่วนน้ำหมัก 6 ลิตร ต่อ นา 1 ไร่
--อีกวิธี--
ผักบุ้งจีน 1 ตรม. 2 ก.ก. ๆ 20 บาท อายุ 20 วัน, ดิน น้ำ ลม แดด อุณหภูมิ, ดิน = น้ำ (กรด-ด่าง 7) อากาศ แร่ธาตุ จุลินทรีย์ วัตถุไฟฟ้า, ดินเหนียวให้ฝังจุลินทรีย์ (มีแร่ธาตุมาก), สังเคราะห์แสง กับ ไม่ต้องการแสง
กากน้ำตาลเป็นแหล่งสะสมจุลินทรีย์ แต่ทำให้วิตามมิน ฮอร์โมนหายไป
(ขุยไผ่เป็นแหล่งสะสมอาหารที่ดีที่สุดของพืช)

ฮอร์โมนสำหรับข้าว (อาหารเสริม)

ฮอร์โมนสำหรับข้าว (อาหารเสริม)
1.ไข่ รวมเปลือก
2. แป้งข้าวหมัก
3. นม แล็คโตบาสิลัส
นำใส่ถังหมักประมาณ 1 เดือน

วิธีเพาะเลี้ยงเชื้อโปรโตซัว (หัวเชื้อ)
1. จาวปลวก  1 กำมือ ผสมกับ ข้าวสุก 1 กก.
2. น้ำ 10 ลิตร
3. แช่ทิ้งไว้ 7 วัน

จุลินทรีย์เหง้ากล้วย (หัวเชื้อ)
1. เหง้ากล้วย สับเป็นชิ้นเล็กๆ 3 กิโลกรัม
2. ผสมกากน้ำตาล 1 ลิตร
3. น้ำมะพร้าว 2 ลูก
4. ปิดฝาให้แน่น 2 วัน

วันอาทิตย์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2559

ฮอร์โมนเร่งดอก-ผล (หัวเชื้อ)

ฮอร์โมนเร่งดอก-ผล (หัวเชื้อ)
1. ถังพลาสติกมีฝาปิด
2. ไข่ไก่เบอร์ 0 16 ฟอง เบอร์อื่น 20 ฟอง  (1 ก.ก.)
3. กากน้ำตาลหรือโมลาส
4. หัวเชื้อจุลินทรีย์เหง้ากล้วย
5. น้ำมะพร้าวอ่อน 2 ลูก
6. ลูกแป้งทำน้ำข้าวหมาก 1 ลูก หรือยีสทำขนมปัง
วิธีทำ ปิดฝาเก็บไว้ประมาณ 1 เดือน จึงใช้งานได้ นำฮอร์โมนไปปั่น ผสมน้ำ 2 ช้อนโต๊ะ ต่อ น้ำ 5 ลิตร ถ้ามีผลแล้ว ให้ลดปริมาณเหลือ 1 ช้อน ใช้วันเว้นวัน หรืออาทิตย์ละ 2 ครั้ง
----อีกแบบ---
1. กล้วยน้ำหว้า+ฟักทอง+มะละกอสุก+สัปรด อย่างละ 1 กิโลกรัม
2. น้ำตาลทรายแดง 1 กิโลกรัม
3. น้ำต้มสุก 2 ลิตร
4. หมักทิ้งไว้ 45 วัน (พ่นลำต้นและราก)

สูตรต้านทานโรค

สูตรต้านทานโรค (หัวเชื้อ)
น้ำ + กากน้ำตาล + หัวเชื้อ พด.2
1. น้ำ 20 ลิตร
2. กากน้ำตาล 20 กิโลกรัม
3. สารเร่ง พด.2  2 ซอง
4. หอยเชอรี่ 60 กิโลกรัม (ทุบให้เปลือกแตก)
5. หน่อกล้วย 10 กิลโลกรัม
6. ผักบุ้ง 10 กิโลกรัม (เฉพาะยอดยาว 30 ซม.)
หมักไว้ 45 วัน คนทุก 3 วัน
วิธีการใช้น้ำหมักชีวภาพ นำน้ำหมักชีวภาพมาเจือจางในน้ำในอัตราส่วน 1 ต่อ 500 ก่อนนำไปรดต้นไม้

การผลิตน้ำหมักชีวภาพ

การผลิตน้ำหมักชีวภาพ สูตรช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช (หัวเชื้อ)
น้ำ + กากน้ำตาล + หัวเชื้อจุลินทรีย์
ผลไม้ หอยเชอรี่ ปลา รกหมู  (ช่วยการเติบโตของพืช) ฝรั่ง แตงไทย มะละกอ
น้ำ 20 ลิตร
กากน้ำตาล 20 กิโลกรัม
สารเร่ง พด.2  2 ซอง
ผลฝรั่ง 64 กิโลกรัม
มะละกอสุก 8 กิโลกรัม
แตงไทยสุก 8 กิโลกรัม
หมักไว้ 45 วัน (เปิดฝาคนทุก 3 วัน) เก็บในที่ร่ม

วิชาพึ่งตนเอง-จุลินทรีย์ก้อน

วิชาพึ่งตนเอง-จุลินทรีย์ก้อน
ส่วนผสม ประกอบด้วย
1. ปุ่ยอินทรีย์หมักจากซากพืช มูลสัตว์ 1 ส่วน  หรือปุ๋ยอินทรีย์ชนิดเม็ด 1 ส่วน
2.เลนน้ำจืด (ใช้ในคลอง บ่อ นา) จำนวน 1 ส่วน หรือเลนน้ำเค็ม (ใช้ในทะเล) จำนวน 1 ส่วน
(บำรุงดิน ล้างพิษ กระตุ้นจุลินทรีย์ในดิน เช่น พืชน้ำ สันตะวา รางจืด ข้าว น้ำซาวข้าว ผักบุ้ง ตำลึง ฯลฯ)
3.รำข้าว ช่วยกระตุ้นให้จุลินทรีย์ขยายตัวเร็วครึ่งส่วน
4.น้ำหมักชีวภาพรสจืด
5.น้ำสะอาด
(ตากไว้ในที่ร่วม ได้เป็นเดือน เป็นปุ๋ยชั้นดีของสัตว์น้ำ) (น้ำหมักชีวภาพ, เลน,)
วิธีใช้  บ่อปลา บ่อกุ้ง นา แม่น้ำ ทะเล โยนห่างกัน 1 เมตร

ปุ๋ยเคมี "ยารา" ทุน

ปุ๋ยเคมี "ยารา" หรือ "เรือใบไวกิ้ง" 21-7-14
นำเชื้อราไรโคเดอร์มา (Trichoderma harzianum) ทำลายเชื่อรารากเน่าในพืช จะมีคุณสมบัติการเป็นปุ๋ยอินทรีย์ได้มาตรฐานของกรมการเกษตร
เมื่อมะนาวมีอายุ 1 เดือน ให้ปุ๋ยสูตร 25-7-7

ทุน ต้องประกอบกัน (อดิสร พวงชมพู)
1. เวลา ธรรมชาติให้มาเท่ากัน
2. แรง แรงกาย-แรงใจ
3. ความรู้ ต้องมีพื้นฐานชีวิต
4. ปัญญา
5. นวัตกรรม
6. สังคม

7. เงิน

การใช้สารเคมีป้องกันกำจัดโรคของมะนาว

การใช้สารเคมีป้องกันกำจัดโรคของมะนาว


1. โรคแคงเกอร์ เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ใช้สารเคมีประเภทคอปเปอร์ไฮดรอกไซต์, คอปเปอร์ออกซีคลอไรด์, คอปเปอร์ออกไซด์ (หรือเรียกว่ายารักษาโรคแคงเกอร์ ชื่อทางการค้า แคงเกอร์เอ็กซ์)
2. โรครากเน่าโคนเน่า เกิดจากเชื้อราไฟทอปธอรา ใช้สารเคมีประเภทมีทาแลคซิล หรือแคปตาโฟล (หรือเรียกว่ายารักษาโรครากเน่าโคนเน่า ชื่อทางการค้า เมทาแลคซิล)
3. โรคราดำ ใช้สารเคมีประเภทกำจัดเชื้อราในสวนส้มหรือมะนาวทั่วๆ ไปได้ หรือสารเคมีกลุ่มแมนโคเซ็บ
4. โรคยางไหล เกิดจากเชื้อรา ใช้สารเคมีประเภทกำจัดเชื้อรา เช่น คูปราวิท, กำมะถันผสมปูนขาว ทาบาดแผลของลำต้น
5. โรคใบแก้ว-ใบด่าง ใช้สารป้องกันกำจัดเชื้อราประเภท ไดแทนเอ็ม-45 และให้ปุ๋ยทางรากทางใบและฮอร์โมนพืช
หมายเหตุ - สารเคมีข้างต้นหาซื้อได้ตามร้านเคมีเกษตรทั่วไป

สูตรยาฆ่าแมลง

สูตรยาฆ่าแมลง
วัสดุอุปกรณ์  (ขิง ข่า ตะไคร้ สะเดา นำตาลแดง เหล้าขาว)
1. โอ่งน้ำหรือถังพลาสติก ขนาดบรรจุ 5 ลิตร
2. กระดาษสา 1 แผ่น (สำหรับปิดปากโอ่งหรือถัง)
3. เหล้าขาว ( 40 ดีกรี ) 2 ขวด รวมปริมาตร 1.5 ลิตร
4. น้ำตาลทรายแดง 1 กิโลกรัม
5. ขิงแก่ 1 กิโลกรัม


ขั้นตอนและวิธีทำ
1. นำขิงมาหั่นเป็นแผ่น ๆ แล้วทุบให้ละเอียด
2. แบ่งน้ำตาลทรายแดงออกเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 จำนวน 3 ขีด ส่วนที่ 2 จำนวน 5 ขีด และส่วนที่ 3 จำนวน 2 ขีด
3. ใส่น้ำตาลทรายแดงส่วนที่ 1 ลงในโอ่งหรือถังพลาสติก
4. นำขิงที่ทุบแล้วมาผสมกับน้ำตาลทรายแดงส่วนที่ 2 คลุกเคล้าให้เข้ากัน แล้วใส่ลงในโอ่งเป็นชั้นที่ 2
5. นำน้ำตาลทรายแดงส่วนที่ 3 โรยทับเป็นชั้นที่ 3
6. ปิดปากโอ่งหรือถังพลาสติกด้วยกระดาษสา ทิ้งไว้ 5 วัน
7. หลังจากนั้นเทเหล้าขาวลงไป ทิ้งไว้อีก 7 วัน ก็นำไปใช้ได้


วิธีใช้
1. นำน้ำที่ได้จากการหมักมาผสมกับน้ำสะอาดในอัตราส่วน 1 ต่อ 1,000 จากนั้นนำมาฉีดพ่นใต้ใบมะนาว สัปดาห์ละ 1 ครั้ง สามารถแก้ปัญหาเชื้อราใบมะนาวได้
2. ส่วนกากที่เหลือนำมาทำปุ๋ย โดยการนำมาผสมกับปุ๋ยคอกในอัตราส่วน 1 ต่อ 50 ซึ่งปุ๋ยที่ได้จะมีกลิ่นเหม็น หมักไว้ประมาณ 2 – 3 วัน กลิ่นก็จะหาย จึงนำไปใส่รอบโคนต้นไม้ผล
1. สามารถฆ่าเชื้อราในใบมะนาว เป็นการลดค่าใช้จ่ายในการซื้อยาฆ่าเชื้อราได้

2. เพิ่มผลผลิตและความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ดินได้
ที่มา บุญชวน มะลัยโย