1. จิตวิทยาการศึกษา
1.1 ความหมายของจิตวิทยา
จิตวิทยา
มาจากคำในภาษาอังกฤษว่า Psychology ซึ่งมีรากศัพท์มาจากภาษากรีก 2 คำ คือ Psyche
หมายถึง จิตวิญญาณ (mind, soul) กับคำว่า
Logos หมายถึง ศาสตร์ วิชา
วิทยาการ (science, study) (กันยา สุวรรณแสง, 2542, หน้า
11)
จิตวิทยา หมายถึง วิชาว่าด้วยจิต
วิทยาศาสตร์แขนงหนึ่งว่าด้วยปรากฏการณ์พฤติกรรม และกระบวนการของจิต
(ราชบัณฑิตยสถาน, 2542, หน้า 312)
จิตวิทยาเป็นวิทยาศาสตร์ที่ว่าด้วยพฤติกรรม
โดยเน้นพฤติกรรมทางจิตของบุคคลทั่วไป (ปราณี รามสูต,
2542, หน้า 2)
จิตวิทยา คือ
การศึกษาพฤติกรรมกระบวนทางจิตเชิงปรนัย เป็นศาสตร์ที่มีขอบเขตกว้างขวาง
เป็นองค์ความรู้ทั้งเชิงศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์
คลอบคลุมทุกด้านเกี่ยวกับชีวิตมนุษย์ทั้งทางกาย สังคม อารมณ์ จิตใจ
ความคิดสติปัญญา จุดมุ่งหมายสำคัญของการศึกษาศาสตร์สายนี้คือ เพื่อที่จะเข้าใจ
อธิบาย ทำนาย พัฒนาและควบคุมพฤติกรรมด้านต่าง ๆ (จิราภา เต็งไตรรัตน์ และคนอื่น ๆ, 2550, หน้า 29)
จิตวิทยาเป็นวิชาที่มุ่งศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์และสัตว์
โดยใช้ระเบียบวิธีการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ (เติมศักดิ์ คทวณิช, 2546, หน้า 12)
จิตวิทยาเป็นศาสตร์ที่ศึกษาค้นคว้าเพื่อนำข้อมูลต่าง
ๆ ความรู้ที่ได้จากแนวคิดทฤษฎี
และการทดลองนำมาเสนอเพื่ออธิบายและควบคุมพฤติกรรมทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของมนุษย์
(สุปราณี สนธิรัตน์ และคณะ, 2537, หน้า
1)
จิตวิทยาเป็นศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรม
และกระบวนการทางจิตซึ่งหมายถึง ทั้งพฤติกรรมภายนอก พฤติกรรมภายใน
โดยที่บุคคลอาจจะไม่รู้ตัวเลยก็ได้ (วิไลวรรณ ศรีสงคราม และคณะ, 2549, หน้า 2)
จิตวิทยา (psychology) คือ
การศึกษาเรื่องของจิตใจ พฤติกรรมและสภาพแวดล้อมของคนและสัตว์โดยวิธีการทดลอง
สังเกต สำรวจอย่างเป็นวิทยาศาสตร์ มักเน้นการศึกษาแต่ละคนหรือกลุ่มเล็ก ๆ มากกว่า
แบ่งเป็นแขนงต่าง เช่น จิตวิทยาการทดลอง (experimental
psychology) เน้นวิธีการศึกษากระบวนการทางจิตใจและพฤติกรรมอย่างเป็นวิทยาศาสตร์
จิตวิทยาสังคม จิตวิทยาการศึกษา จิตวิทยาอาชีพ จิตวิทยาคลินิก (วิทยากร เชียงกูล, 2552, หน้า 191)
จิตวิทยา คือ
(1)
ศาสตร์สาขาหนึ่งที่ศึกษาพฤติกรรม การกระทำ หรือกระบวนการทางจิตใจ
(2)
ศาสตร์ที่ว่าด้วยพฤติกรรมของมนุษย์และสัตว์ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการทั้งหมดของชีวิต
รวมถึงระบบของร่างกายที่เกี่ยวกับพฤติกรรม
การทำงานของประสาทสัมผัสและการเคลื่อนไหว ปฏิสัมพันธ์ทางสังคม พัฒนาการ
ปัจจัยทางพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม
กระบวนการทางปัญญาที่อยู่ในจิตสำนึกและจิตใต้สำนึกสุขภาพจิตและความผิดปกติทางจิต
พลวัตของพฤติกรรม การสังเกต การทดสอบ และการทดลอง การประยุกต์ความรู้ทางจิตวิทยา
เช่น การจ้างงาน การจัดการศึกษา เรื่องเกี่ยวกับจิตบำบัด และพฤติกรรมของผู้บริโภค
(ราชบัณฑิตยสถาน, 2550, หน้า 323-324)
จิตวิทยา
เป็นวิชาที่ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับวิญญาณหรือจิตใจของสิ่งมีชีวิต (กระบวนการของจิต)
สมอง หรือกระบวนความคิดและพฤติกรรมของมนุษย์
ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ซึ่งครอบคลุมถึงอารมณ์ การนึกคิด
รับรู้พฤติกรรมและปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์ (สงกรานต์ ก่อธรรมนิเวศน์, 2552, หน้า 300)
จิตวิทยา คือ
ศาสตร์แขนงหนึ่งซึ่งศึกษาถึงเรื่องราวของพฤติกรรมของมนุษย์
เนื้อหาวิชาของจิตวิทยานั้นผิดแผกแตกต่างกันไปตามแต่แขนงวิชาของจิตวิทยา
จิตวิทยาบางแขนงเน้นศึกษาในเรื่องหนึ่ง ส่วนจิตวิทยาแขนงหนึ่งอาจเน้นไปศึกษาอีกเรื่องหนึ่งก็ได้
จิตวิทยาอาจหมายถึง วิชาการที่ศึกษาถึงกระบวนการของจิตใจ
หรือศึกษาถึงกระบวนการของตัวตน หรือการกระทำก็ได้
จิตวิทยาแตกแยกออกไปเป็นหลายพวกหลายสกุล
การจัดจำแนกสกุลจิตวิทยาอาจจะทำได้หลายทัศนะ
แต่ละทัศนะก็มีหลักยึดในการจัดจำแนกแตกต่างกัน เช่น
การจำแนกสกุลจิตวิทยาโดยถือเอาระบบและระเบียบวิธีการศึกษาเป็นเกณฑ์
การจำแนกสกุลจิตวิทยาโดยถือเอาลักษณะธรรมชาติของข้อมูลทางจิตวิทยาเป็นหลัก
และการจำแนกสกุลจิตวิทยาโดยถือเอาอินทรีย์ที่มุ่งศึกษาเป็นเกณฑ์ (เดโช สวนานนท์, 2520, หน้า 203)
จิตวิทยา
เป็นศาสตร์ที่ศึกษาเรื่อง พฤติกรรมของมนุษย์และสัตว์ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมซึ่งสามารถวัดได้ด้วยหลักวิทยาศาสตร์
และการรวบรวมข้อมูลอย่างมีหลักเกณฑ์เป็นระเบียบ ระบบ สมัยโบราณ จิตวิทยา หมายถึง
การศึกษาเกี่ยวกับจิตเนื่องจากเห็นว่า
จิตของมนุษย์เป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้บุคคลมีพฤติกรรมแตกต่างกันและต่างไปจากสัตว์หรือชีวิตอื่น
ๆ ต่อมาภายหลังจากการพัฒนาและความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์เพิ่มขึ้น
โดยเฉพาะความรู้ทางสรีรวิทยา
แนวการศึกษาทางจิตวิทยาจึงเปลี่ยนมาที่การกระทำของบุคคล และธรรมชาติของมนุษย์
(ทรงพล ภูมิพัฒน์, 2538, หน้า 24)
สรุปความหมายของจิตวิทยา
คือ วิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรม
หรือกิริยาอาการของมนุษย์รวมถึงความพยายามที่จะศึกษาว่ามีอะไรบ้างหรือตัวแปรใดบ้าง
ในสถานการณ์ใดที่เกี่ยวข้องกับการทำให้เกิดพฤติกรรมต่าง ๆ
ซึ่งข้อมูลดังกล่าวจะทำให้สามารถคาดคะเน หรือพยากรณ์ได้โดยใช้แนวทางหรือวิธีการทางวิทยาศาสตร์เป็นเครื่องมือช่วยในการวิเคราะห์จิตวิทยา
(อังกฤษ: psychology) คือ
ศาสตร์ที่ว่าด้วยการศึกษาเกี่ยวกับจิตใจ (กระบวนการของจิต) , กระบวนความคิด, และพฤติกรรม
ของมนุษย์ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เนื้อหาที่นักจิตวิทยาศึกษาเช่น การรับรู้
(กระบวนการรับข้อมูลของมนุษย์) , อารมณ์, บุคลิกภาพ, พฤติกรรม, และรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
จิตวิทยายังมีความหมายรวมไปถึงการประยุกต์ใช้ความรู้กับกิจกรรมในด้านต่าง ๆ
ของมนุษย์ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน (เช่นกิจกรรมที่เกิดขึ้นในครอบครัว, ระบบการศึกษา, การจ้างงานเป็นต้น)
และยังรวมถึงการใช้ความรู้ทางจิตวิทยาสำหรับการรักษาปัญหาสุขภาพจิต
นักจิตวิทยามีความพยายามที่จะศึกษาทำความเข้าใจถึงหน้าที่หรือจุดประสงค์ต่าง ๆ
ของพฤติกรรมที่เกิดขึ้นจากตัวบุคคลและพฤติกรรมที่เกิดขึ้นในสังคม
ขณะเดียวกันก็ทำการศึกษาขั้นตอนของระบบประสาทซึ่งมีผลต่อการควบคุมและแสดงออกของพฤติกรรม
1.2 ความสำคัญของจิตวิทยาและระเบียบวิธีการศึกษาเกี่ยวกับจิตวิทยา
จิตวิทยาเป็นศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมมนุษย์
ดังนั้นผู้ศึกษาวิชาจิตวิทยาจึงสามารถนำความรู้ไปใช้ได้อย่างกว้างขวาง
ไม่ว่าจะเป็นครอบครัวและ สถานที่ทำงาน ตลอดจนมีความสำคัญต่อประกอบอาชีพต่างๆ
ทั้งนี้เพราะหลักการทางจิตวิทยาสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับงานต่างๆ มากมาย
ความสำคัญและคุณค่าของวิชาจิตวิทยา เกี่ยวข้องกับชีวิตมนุษย์ในด้านต่างๆ
ดังต่อไปนี้ (ปราณี รามสูต, 2542, หน้า
4-5)
1.
จิตวิทยาช่วยให้ผู้ศึกษาเกิดความเข้าใจตนเอง โดยธรรมชาติของมนุษย์นั้น
มักให้ความสนใจตนเองมากกว่าผู้อื่นและอยากรู้อยากเห็นเกี่ยวกับตนเอง
การศึกษาจิตวิทยาซึ่งให้คำตอบเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์ในแง่มุมต่างๆ จึงช่วยให้ผู้ศึกษานำไปเปรียบเทียบกับตนเองและเกิดความเข้าใจตนเองไปด้วย
นอกจากนี้ยังช่วยให้มนุษย์รู้จักยอมรับตนเองและได้แนวทางในการจัดการกับตนเองอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
เช่นอาจเป็นการปรับตัว พัฒนาตน หรือเลือกเส้นทางชีวิตที่เหมาะสมกับต้นเองเป็นต้น
2. จิตวิทยาช่วยให้ผู้ศึกษาเกิดความเข้าใจผู้อื่น
ศาสตร์ทางจิตวิทยาซึ่งเป็นข้อสรุปธรรมชาติพฤติกรรมของคนส่วนใหญ่
นอกจากช่วยให้ผู้ศึกษาเกิด ความเข้าใจ พฤติกรรมของบุคคลทั่วไปแล้ว
ยังเป็นแนวทางให้เข้าใจพฤติกรรมของผู้ที่อยู่แวดล้อมด้วยอันอาจจะเป็นบุคคลในครอบครัว
กลุ่มเพื่อน กลุ่มบุคคลภายนอก
ความเข้าใจดังกล่าวส่งผลให้เกิดการยอมรับในข้อดีข้อจำกัดของกันและกัน
ช่วยให้มีการปรับตัวเข้าหากัน และยังช่วยการจัดวางตัวบุคคล
ให้เหมาะสมกับงานหรือการเรียนหรือกิจกรรมต่างๆ ได้ดีมากขึ้น
3.
จิตวิทยาช่วยให้ได้แนวทางในการวางกฎเกณฑ์ทางสังคม เช่น กฎหมายบ้านเมือง
ระเบียบปฏิบัติบางประการมักเกิดขึ้น หรือถูกยกร่างขึ้น
โดยอาศัยพื้นฐานความเข้าใจเกี่ยวกับธรรมชาติพฤติกรรมของมนุษย์ ตัวอย่างเช่น
จิตวิทยาที่ช่วยให้เกิดความเข้าใจในเรื่องความต้องการการยอมรับ
ความต้องการสิทธิเสรีภาพ และความเสมอภาคของคน ส่งผลให้เกิดกฎหมายว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
หรือการจัดให้มีวันเด็กแห่งชาติ ปีสากลสำหรับผู้สูงอายุ
หรือเกิดองค์กรบางลักษณะที่ทำงานในด้านการให้โอกาสที่เท่าเทียมกันสำหรับบุคคลบางกลุ่ม
หรือสำหรับผู้ด้อยโอกาสบางประเภท
หรือแม้แต่การจัดให้มีการแข่งขันกีฬานานาชาติสำหรับคนพิการ
ก็จัดเป็นส่วนหนึ่งของการนำความรู้เรื่องจิตวิทยาสำหรับผู้มีลักษณะพิเศษมาเป็นแนวทางปฏิบัติบางประการทางสังคม
นอกจากนั้น
จิตวิทยายังมีผลต่อ
กฎหมายว่าด้วยการพิจารณาความผิดทางกฎหมายบางลักษณะโดยมีการนำสามัญสำนึกมาร่วมพิจารณาความผิดของบุคคล
เช่น กฎหมายว่าด้วยการกระทำ ความผิดของผู้เยาว์
หรือผู้ที่มีสุขภาพจิตบกพร่องที่กระทำโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์หรือโดยเพราะความผิดปกติทางจิตใจ
ซึ่งจิตวิทยาจะช่วยให้ผู้ศึกษา
เกิดความเข้าใจความผิดปกติต่างๆเหล่านั้นได้มากกว่าศาสตร์สาขาอื่น
ช่วยให้การพิจารณาบุคคลหรือการวางเกณฑ์ทางสังคม เป็นไปอย่าง สมเหตุสมผลมากขึ้น
4.
จิตวิทยาช่วยบรรเทาปัญหาพฤติกรรม และปัญหาสังคม
ความรู้ทางจิตวิทยาในบางแง่มุมช่วยให้ผู้ศึกษาเกิดความเข้าใจในอิทธิพลของสิ่งเร้า
และสิ่งแวดล้อมทีมีผลต่อการหล่อหลอมบุคลิกภาพบางลักษณะ เช่น ลักษณะความเป็นผู้หญิง
ลักษณะความเป็นผู้ชาย ลักษณะผิดเพศบางประการ รวมไปถึงอิทธิพลของสื่อมวลชนบางประเภท
รายการโทรทัศน์บางลักษณะที่ส่งผลให้เด็กเกิดพฤติกรรมก้าวร้าวอยากทำลาย
หรือเกิดความเชื่อที่ผิด
หรือเกิดการลอกเรียนแบบอันไม่เหมาะสมซึ่งมีผลกระทบต่อการกระทำในเชิงลบฯลฯ เป็นต้น
จากความเข้าใจดังกล่าวนี้นำไปสู่การคัดเลือกสรร
สิ่งที่นำเสนอเนื้อหาทางสื่อมวลชนให้เป็นไปทางสร้างสรรค์
เพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมของเด็กและผู้ใหญ่ในสังคมอย่างเหมาะสม นอกจากนั้น
จากคำอธิบายของจิตวิทยาในเรื่องของเจตคติของบิดามารดาบางประการที่ส่งผลให้เด็กมีลักษณะลักเพศ
ก็อาจจะเป็นแนวคิดแก่บิดามารดา
ในการปรับพฤติกรรมการเลี้ยงดูเพื่อให้เด็กเจริญเติบโตอย่างเหมาะสมต่อไป
อันนับเป็นการบรรเทาปัญหาพฤติกรรมและปัญหาสังคมไปได้บ้าง
5.
จิตวิทยาช่วยส่งเสริมพัฒนาคุณภาพชีวิต ความรู้ทางจิตวิทยาที่ว่าด้วยการเลี้ยงดูในวัยเด็กอันมีผลต่อบุคคลเมื่อเจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่ส่งผลให้เกิด
ความพยายาม ในการสร้างรูปแบบการเลี้ยงดูที่เหมาะสมเพื่อเสริมสร้างพัฒนาคนทั้งกาย
อารมณ์ สังคมและสติปัญญา เพื่อให้ได้คนดีมีประสิทธิภาพ
หรือคนที่มีคุณลักษณะอันพึงปรารถนาของสังคมนั้นๆ และจิตวิทยายังช่วยให้ผู้ศึกษารับรู้โดยเร็ว
เกี่ยวกับสัญญาณเตือนภัยในพฤติกรรมผิดปกติต่าง ๆ
อันนำไปสู่การแก้ปัญหาและป้องกันปัญหาพฤติกรรม
รวมทั้งการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบางลักษณะที่ไม่เหมาะสมของบุคคล จึงกล่าวได้ว่า
จิตวิทยาเป็นศาสตร์ที่ช่วยเสริมสร้างพัฒนาคุณภาพชีวิตได้อีกศาสตร์หนึ่ง
ระเบียบวิธีการศึกษาทางจิตวิทยา
1.วิธีทดลอง (Experimental Method)
การทดลองสามารถทำได้ 2
ลักษณะ คือ การทดลองในสภาพธรรมชาติกับการทดลองในห้องปฏิบัติการ
แต่ไม่ว่าจะเป็นการทดลองชนิดใดต้องคำนึงถึงสิ่งสำคัญ ได้แก่
การปฏิบัติซ้ำเพื่อตรวจสอบผลให้เกิดความมั่นใจ การควบคุมเพื่อไม่ให้ผลลัพธ์คลาดเคลื่อนจากความจริง
ตัวแปร คือ สิ่งที่เปลี่ยนแปลงค่าได้ และต้องมีขอบเขตจำกัด
ในการทดลองจะมีการหาค่าความสัมพันธ์ระหว่างตัวประกอบ 2 ตัว หรือ 2กลุ่ม
โดยให้กลุ่มหนึ่งเป็นกลุ่มทดลอง (Experimental
Group) เป็นกลุ่มที่ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงและอีกกลุ่มหนึ่งเป็นกลุ่มควบคุม
(Control Group) การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจะถูกเปรียบเทียบกัน
ปัจจุบัน วิธีทดลองถูกนำไปใช้ในจิตวิทยาสมัยใหม่เกือบทุกสาขาอย่างได้ผลดี
2.วิธีการตรวจสอบจิต (Introspection)
เป็นการให้บุคคลสำรวจตรวจสอบตนเองด้วยการย้อนทบทวน
และความรู้สึกนึกคิดของตนเองในอดีตที่ผ่านมา
แล้วรายงานความรู้สึกออกมาดายการอธิบายทั้งเหตุและผลของการกระทำนั้นๆ
การศึกษาด้วยวิธีการนี้มีข้อดีตรงที่เป็นข้อมูลตรงจากผู้ได้รับประสบการณ์
หากผู้รายงานจดจำได้แม่นยำ รายงานตามความเป็นจริงไม่ปิดบัง
มีความซื่อสัตย์และจริงใจแต่อาจเป็นข้อเสียถ้าผู้รายงานจำเหตุการณ์ไม่ได้หรือไม่ชัดเจนหรือไม่ต้องการบอกข้อมูลที่แท้จริงให้ทราบซึ่งจะทำให้การตีความหมายของเรื่อง
เหตุการณ์นั้นคิดพลาดไม่ตรงตามข้อเท็จจริง
3.วิธีใช้แบบทดสอบ (Testing Method)
เป็นการใช้เครื่องมือที่มีเกณฑ์ในการวัดลักษณะพฤติกรรมใดพฤติกรรมหนึ่งหรือหลายๆพฤติกรรม
โดยให้ผู้รับการทดลองเป็นผู้ทำแบบทดสอบ
ซึ่งอาจเป็นแบบทดสอบข้อเขียนหรือข้อสอบปฏิบัติก็ได้
แบบทดสอบจะช่วยวัดความสามารถด้านต่างๆ ของมนุษย์ รวมทั้งการวัดบุคลิกภาพ อารมณ์
ความถนัด ความสนใจ ทัศนคติ และความคิดเห็นโดยใช้แบบทดสอบทางจิตวิทยาซึ่งมีหลายประเภท
การใช้แบบทดสอบมีสิ่งที่ควรระวังมากที่สุดคือค่าความเชื่อมั่นและค่าความเที่ยงตรงของแบบทดสอบซึ่งควรได้มาตรฐานและสามารแปรผลได้อย่างถูกต้อง
4.วิธีสังเกต (Observation)
การสังเกตมี 2 ลักษณะ
คือ การสังเกตอย่างไม่มีแบบแผน และการสังเกตอย่างมีแบบแผน
สำหรับการสังเกตอย่างไม่มีแบบแผน เป็นวิธีสังเกตธรรมชาติ
ไม่มีการเตรียมการหรือการวางแผนล่วงหน้า ผู้จะสังเกตสามารถสังเกตได้ตามความสะดวก
เป็นการศึกษาพฤติกรรมของบุคคลตามสภาพธรรมชาติ วิธีนี้มีข้อเสียคือ
ผู้สังเกตไม่สามารถควบคุมตัวประกอบเฉพาะส่วนที่สนใจจะศึกษาได้
ส่วนการสังเกตอย่างมีแบบแผนเป็นการสังเกตที่มีการเตรีมการและการวางแผนล่วงหน้า
กำหนดวัน เวลา สถานที่ บุคคล พฤติกรรมและสถานการณ์ไว้เรียบร้อยแล้ว
จุดสำคัญของการสังเกตคือ จะต้องทำอย่างระมัดระวัง ผู้สังเกตต้องไม่เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับสิ่งที่ตัวสังเกต
และต้องจดบันทึกสิ่งที่ได้เห็นอย่างละเอียด โดยไม่เพิ่มเติมความรู้ส่วนตัวลงไป
นอกจากนั้นผู้สังเกตควรได้รับการฝึกหัดสังเกตมาพอสมควร ต้องเป็นคนละเอียดถี่ถ้วน
และรู้จัดเทคนิคการสังเกตเป็นอย่างดีเพื่อหลีกเลี่ยงข้อผิดพลาดและกำจัดความลำเอียงให้มีน้อยที่สุด
-
ขั้นการตั้งสมมุติฐาน (Hypothesis) เป็นการคาดคะเนคำตอบของปัญหาไว้ล่วงหน้าอย่างมีเหตุผลเพื่อช่วยให้ผู้ศึกษาดำเนินไปสู่จุดหมายปลายทางอย่างรวดเร็วและถูกต้อง
- ขั้นการรวบรวมข้อมูล
(Collecting Data) เป็นขั้นรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับปัญหานั้นให้มากที่สุด
และต้องวางแผนไว้ว่าจะสามารถหาข้อมูลได้ด้วยวิธีใด เช่น การใช้แบบสอบถาม
การสัมภาษณ์ การทดลอง
-
ขั้นการวิเคราะห์ข้อมูล (Analysis of
Data) เป็นการนำข้อมูลต่างๆที่ได้มานำแปลความหมายด้วยกาสรวิเคราะห์ตามหลักสถิติ
- ขั้นการสรุปผล (Conclusion) เป็นการสรุปผลและรายงานผลที่ได้จาการศึกษาค้นคว้าและนำผลนั้นไปใช้
รวมทั้งให้ข้อ
เสนอแนะต่อไปด้วย
6.วิธีการศึกษารายกรณี (Case Study Method)
เป็นการศึกษาชีวประวัติความเป็นมาของบุคคลซึ่งต้องใช้เวลาศึกษาติดต่อกันเป็นระยะเวลาหนึ่ง
แล้วรวบรวมข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ พิจารณา
ตีความเพื่อให้เขาใจความเป็นมาในอดีตและช่วยชี้ให้เห็นปัญหาที่บุคคลนั้นกำลังเผชิญอยู่
ทำให้เข้าใจสาเหตุของปัญหาและพฤติกรรมปัจจุบัน เพื่อหาทางช่วยเหลือ แก้ไข ปรับปรุง
ตลอดจนส่งเสริมพฤติกรรมให้เป็นไปในทางสร้างสรรค์
โดยการศึกษาหาข้อมูลของบุคคลอย่างละเอียด เช่น ประวัติการตั้งครรภ์ การคลอด สุขภาพ
การเรียน สังคม อารมณ์ ซึ่งอาจได้จากการสัมภาษณ์ จากบุคคลใกล้ชิด เช่น บิดา มารดา
ญาติพี่น้อง ทั้งนี้เพื่อให้ได้ข้อมูลอย่างละเอียดให้มากที่สุด 7.วิธีการสัมภาษณ์
(Interview)
เป็นวิธีการที่นิยมกันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน
สามารถทำได้ทั้งอย่างมีแบบแผนและไม่มีแบบแผน
จุดประสงค์เพื่อต้องการรู้รายละเอียดและทำให้เข้าใจในตัวบุคคล การใช้เทคนิคการสัมภาษณ์มีลักษณะคล้ายแบบสอบถาม
คือ เป็นการ
ถามตอบเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ต้องการซึ่งสามารถทำได้ทั้งเป็นหมู่และเป็นรายบุคคล
โดยมีวิธีการเป็นขั้นตอนคือ ขั้นเตรียมการ ได้แก่ การเตรียมสถานที่ คำถาม
นัดหมายเวลา และสร้างความคุ้นเคยกับบุคคลที่จะถูกสัมภาษณ์ ขั้นสัมภาษณ์
เป็นการดำเนินการตามแผนที่วางไว้
พยายามให้ผู้ถูกสัมภาษณ์พูดหรือแสดงความคิดเห็นให้มากที่สุด
และขั้นสุดท้ายเป็นการยุติการสัมภาษณ์เมื่อถึงเวลาที่เหมาะสม
1.3 ความหมายของจิตวิทยาการศึกษา
จิตวิทยาการศึกษา หมายถึง
วิชาที่เกี่ยวกับปัญหาทางจิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา
ตลอดจนศึกษาธรรมชาติและกระบวนการศึกษาเรียนรู้เพื่อนำหลักเกณฑ์ทางจิตวิทยาที่ได้รับจากการศึกษามาใช้ในการเรียนการสอนให้ได้ผลดี
มีประสิทธิภาพ ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมของนักเรียนในสภาพของการจัดการเรียนการสอน
โยมีเนื้อหาและระเบียบวิธีการส่วนของเนื้อหาจะเกี่ยวข้องกับธรรมชาติของการเรียนรู้และพัฒนาการ
สภาวะของเด็กและสภาพแวดล้อมในโรงเรียน
และประมวลนำเนื้อหามาหาวิธีการจัดรูปแบบที่ทำให้ครูและผู้เกี่ยวข้องกับเด็กสามารถนำไปใช้ได้
จิตวิทยาการศึกษาเป็นวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการเรียนรู้และพัฒนาการของผู้เรียน
ในสภาพการเรียนการสอนหรือในชั้นเรียoเพื่อค้นคิดทฤษฎีและหลักการที่จะนำมาช่วยแก้ปัญหาทางการศึกษาและส่งเสริมการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ
จิตวิทยาการศึกษามีบทบาทสำคัญในการจัดการศึกษา
การสร้างหลักสูตรและการเรียนการสอน โดยคำนึงถึงความแตกต่างของบุคคล
นักการศึกษาและครูจำเป็นจะต้องมีความรู้พื้นฐานทางจิตวิทยาการศึกษา
เพื่อจะได้เข้าใจพฤติกรรมของผู้เรียนและกระบวนการเรียนรู้ ตลอดจนแก้ปัญหาต่างๆ
เกี่ยวกับการเรียนการสอนเหมือนกับวิศวกรที่จำเป็นจะต้องมีความรู้พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์
โดยทั่วไปแล้ว
เนื้อหาของจิตวิทยาการศึกษาที่เป็นความรู้พื้นฐานสำหรับครูและนักการศึกษาประกอบด้วยหัวข้อต่อไปนี้
การศึกษาพยายามที่จะช่วยเหลือคนในการปรับตัวได้อย่างดีที่สุดส่วนจิตวิทยาเป็นศาสตร์
คำนึงเกี่ยวกับการปรับตัวของคนดังนั้นจิตวิทยาการศึกษาจะเป็นการนำความรู้เกี่ยวกับการปรับตัวของคนไปปฏิบัติจริงเพื่อช่วยเหลือในการปรับตัวดังนั้นหน้าที่สำคัญประการแรกคือการจัดการ
เกี่ยวกับเรื่องการเรียนรู้
การเรียนการสอนซึ่งจะเป็นเรื่องราวทางจิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา อันได้แก่
ทฤษฎีการเรียนรู้ ทฤษฎีแรงจูงใจ และทฤษฎีพัฒนาการ ลักษณะธรรมชาติผู้เรียน
สิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อการเรียนรู้ตลอดจนวิธีการนำความรู้ความเข้าใจที่เกิดขึ้นไปประยุกต์ใช้ปรับปรุงการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ
เพื่อให้สามารถนำความรู้ไปช่วยในการปรับตัวให้ดีขึ้น
1.4 จุดมุงหมายของจิตวิทยาการศึกษา
จุดมุ่งหมายทั่วไปของการเรียนจิตวิทยาการศึกษา คือ เพื่อให้เข้าใจ (Understanding) เพื่อการทำนาย
(Prediction) และเพื่อควบคุม
(Control) พฤติกรรมการเรียนรู้ของมนุษย์ในสถานการณ์ต่างๆ
กู๊ดวินและคลอส ไมเออร์(Goodwill
& Cross Mier,1975)
ได้กล่าวถึงจุดมุ่งหมายที่สำคัญของการเรียนจิตวิทยา ไว้ดังนี้
1.เป็นการให้ความรู้เกี่ยวกับการเรียนรู้ที่เป็นระบบทั้งด้านทฤษฎี
หลักการและสาระอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ของมนุษย์ทั้งเด็กและผู้ใหญ่
2.เป็นการนำความรู้เกี่ยวกับการเรียนรู้
และตัวผู้เรียนให้แก่ครูและผู้เกี่ยวข้องกับการศึกษานำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการเรียนการสอน
3.เพื่อให้ครูสอนสามารถนำเทคนิคและวิธีการการเรียนรู้ไปใช้ในการเรียนการสอน
การแก้ไขปัญหาในชั้นเรียน ตลอดจนสามารถดำรงตนอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
1.5 ขอบข่ายของจิตวิทยาการศึกษา
2.จิตวิทยาพัฒนาการ (Developmental Psychology) ศึกษาเกี่ยวกับลำดับขั้นตอนของพัฒนาการเจริญเติบโตในแต่ละวัยต่างๆ
ของมนุษย์ ตั้งแต่ปฏิสนธิจนถึงวัยชรา
3.จิตวิทยาสังคม (Social Psychology) ศึกษาเกี่ยวกับบทบาทความสัมพันธ์และพฤติกรรมของบุคคลในกลุ่มสังคม
ปฏิกิริยาตอบสนองของบุคคลที่อยู่รวมกัน เจตคติและความคิดเห็นของกลุ่มชน
4.จิตวิทยาการทดลอง (ExperimentalPsychology) ศึกษาเกี่ยวกับระบบประสาทและพฤติกรรมของมนุษย์และสัตว์ในห้องทดลอง
5.จิตวิทยาการแนะแนว(Guidance Psychology) นักจิตวิทยาแนะแนวทำหน้าที่ให้คำแนะนำ
ให้แนวทาง และให้คำปรึกษาสถานศึกษากับนักเรียน นักศึกษา
เพื่อให้ความช่วยเหลือผู้มีปัญหาด้านการปรับตัว ปัญหาการเรียน
และปัญหาส่วนตัวอื่นๆ
7.จิตวิทยาประยุกต์ (Applied Psychology) เป็นการนำหลักการทางจิตวิทยามาใช้ประโยชน์ในสาขาวิชาชีพต่างๆ
เช่น ธุรกิจอุตสาหกรรม การแพทย์ การทหาร เป็นต้น
8.จิตวิทยาอุตสาหกรรม (Industrial Psychology) ศึกษาเกี่ยวกับประสิทธิภาพในการทำงาน
ผลกระทบของสิ่งแวดล้อมที่มีต่อการทำงาน แรรงจูงใจในการทำงาน การคัดเลือกคนงาน
การประเมินผลงาน
9.จิตวิทยาการศึกษา (Educational Psychology) ศึกษาสิ่งที่เกี่ยวกับงานด้านการเรียนการสอน
การเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นวิชาที่สำคัญสำหรับครูและนักการศึกษา
10.จิตวิทยาการทดลอง (ExperimentalPsychology) มีการศึกษาโดยการทดลองกับมนุษย์และสัตว์ทั้งในสภาพแวดล้อมทั่วไปและในห้องปฏิบัติการ
วิธีการศึกษาส่วนใหญ่ใช้การสังเกต
1.6 ประโยชน์ของจิตวิทยาการศึกษา
จิตวิทยาการศึกษามีประโยชน์สำหรับบุคคลทุกวัยไม่เฉพาะครูผู้สอน
เช่น ผู้บริหารการศึกษา นักแนะแนว ศึกษานิเทศก์ หัวหน้าหน่วยงานต่างๆ รวมทั้งบิดา
มารดา ผู้ปกครอง ในด้านต่างๆ ต่อไปนี้
1.ช่วยให้ครูเข้าใจธรรมชาติ
ความเจริญเติบโตของเด็กและสามารถนำความรู้ที่ได้มาจัดการเรียนการสอนได้อย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับธรรมชาติ
ความต้องการ ความสนใจของเด็กแต่ละวัย
2.ช่วยให้ครูสามารถเตรียมบทเรียน วิธีสอน จัดกิจกรรม
ตลอดจนใช้วิธีการวัดและประเมินผลการศึกษาได้สอดคล้องกับวัย
ซึ่งเป็นการช่วยให้จัดการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพ
3.ช่วยให้ครูสามารถจัดกิจกรรมได้อย่างสนุกสนานด้วยบรรยากาศของความเข้าใจ
การให้ความร่วมมือ และให้การยอมรับซึ่งกันและกัน
4.ช่วยสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างครู ผู้ปกครองและเด็ก
ทำให้ปกครองเด็กง่ายขึ้นและสามารถทำงานกับเด็กได้อย่างราบรื่น
5.ช่วยให้ครูป้องกันและหาทางแก้ไข
ตลอดจนพัฒนาบุคลิกภาพของเด็กได้อย่างเหมาะสม
6.ช่วยให้ผู้บริหารการศึกษาวางแนวทางการศึกษา จัดหลักสูตร
อุปกรณ์การสอนและการบริหารงานได้เหมาะสม
7.ช่วยให้ผู้เรียนเข้ากับสังคมได้ดี ปรับตัวเข้ากับผู้อื่นได้ดี
1.7 แนวความคิดของนักจิตวิทยาการศึกษาพฤติกรรม
1. พฤติกรรมการตอบสนองของมนุษย์เกิดจากการวางเงื่อนไขที่ตอบสนองต่อความต้องการทางธรรมชาติ
2.
พฤติกรรมการตอบสนองของมนุษย์สามารถเกิดขึ้นได้จากสิ่งเร้าที่เชื่อมโยงกับสิ่งเร้าตามธรรมชาติ
3.
พฤติกรรมการตอบสนองของมนุษย์ที่เกิดจากสิ่งเร้าที่เชื่อมโยงกับสิ่งเร้าตามธรรมชาติจะลดลงเรื่อย
ๆ และหยุดลงในที่สุดหากไม่ได้รับการตอบสนองตามธรรมชาติ
4.
พฤติกรรมการตอบสนองของมนุษย์สิ่งเร้าที่เชื่อมโยงกับสิ่งเร้าตามธรรมชาติจะลดลงและหยุดไปเมื่อไม่ได้รับการตอบสนองตามธรรมชาติ
และจะกลับปราฏขึ้นได้อีกโดยไม่ต้องใช้สิ่งเร้าตามธรรมชาติ
5.
มนุษย์มีแนวโน้มที่จะจำแนกลักษณะของสิ่งเร้าให้แตกต่างกันและเลือกตอบสนองได้ถูกต้อง
http://www.wijai48.com/learning_stye/learningprocess.htm
ได้รวบรวมกลุ่มพฤติกรรมนิยมให้ความสนใจกับ
”พฤติกรรม” มากเพราะพฤติกรรมเป็นสิ่งที่เห็นได้ชัด สามารถวัดและทดสอบได้
ทฤษฏีการเรียนรู้ในกลุ่มนี้ ประกอบด้วยแนวคิดสำคัญๆ 3 แนวด้วยกัน คือ
- ทฤษฎีการเชื่อมโยง(Classical Connectionism) ของธอร์นไดค์(Thorndike) มีความเชื่อว่าการเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองซึ่งมีหลายรูปแบบบุคคลจะมีการลองผิดลองถูกปรับเปลี่ยนไปเรื่อยๆ
จนกว่าจะพบรูปแบบการตอบสนองที่สามารถให้ผลที่พึงพอใจมากที่สุด
เมื่อเกิดการเรียนรู้แล้วบุคคลจะใช้รูปแบบการตอบสนองที่เหมาะสมเพียงรูปแบบเและจะพยายามใช้รูปแบบนั้นเชื่อมโยงกับสิ่งเร้าในการเรียนรู้ต่อไปเรื่อยๆการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จึงเน้นที่การเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนแบบลองผิดลองถูกบ้าง
มีการสำรวจความพร้อมของผู้เรียนซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องกระทำก่อนการสอนบทเรียนเมื่อผู้เรียนเกิดการเรียนรู้แล้วครูควรฝึกให้ผู้เรียนฝึกการนำการเรียนรู้นั้นไปใช้บ่อยๆ
การศึกษาว่าสิ่งใดเป็นสิ่งเร้าหรือรางวัลที่ผู้เรียนพึงพอใจจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
- ทฤษฎีการวางเงื่อนไข(Conditioning Theory) ประกอบด้วยทฤษฏีย่อย
4 ทฤษฏี ดังนี้
1)
ทฤษฏีการวางเงื่อนไขแบบอัตโนมัติของพาฟลอฟ (Pavlov’s
Classical Conditioning) เน้นการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข
สรุปแนวคิดตามทฤษฏีนี้ได้ว่า
การเรียนรู้ของสิ่งมีชีวิตเกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข
2)
ทฤษฏีการวางเงื่อนไขแบบอัตโนมัติของวัตสัน (Watson’s
Classical Conditioning) เน้นการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขเช่นกัน
สรุปแนวคิดตามทฤษฏีนี้ได้ว่า
การเรียนรู้จะคงทนถาวรหากมีการให้สิ่งเร้าที่สัมพันธ์กันนั้นควบคู่กันไปอย่างสม่ำเสมอ
- ทฤษฏีการเรียนรู้ของฮัลล์
(Hull’s Systematic Behavior Theory) มีความเชื่อว่าถ้าร่างกายเมื่อยล้า การเรียนรู้จะลดลงการตอบสนองต่อการเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ดีที่สุดเมื่อได้รับแรงเสริมในเวลาใกล้บรรลุเป้าหมาย
หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จึงมักคำนึงถึงความพร้อมความสามารถและเวลาที่ผู้เรียนจะเรียนได้ดีที่สุดการจัดการเรียนการสอนควรให้ทางเลือกที่หลากหลายเพื่อตอบสนองระดับความสามารถของผู้เรียน
สุรางค์ โค้วตระกูล (2541 :
186) กล่าวว่า การเรียนรู้ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
ซึ่งเป็นผลมาจากประสบการณ์ที่คนเราเคยมีปฎิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม
หรือจากการฝึกหัด รวมทั้งปริมาณการเปลี่ยนความรู้ของผู้เรียน ดังนั้น
งานสำคัญของครู คือ
การช่วยนักเรียนแต่ละคนเกิดการเรียนรู้หรือมีความรู้และมีทักษะตามที่หลักสูตรวางไว้
ดังนั้น กระบวนการเรียนรู้จึงเป็นรากฐานของการสอนที่มีประสิทธิภาพ
บรรณานุกรม
ทิศนา แขมมณี. (2548). ศาสตร์การสอน :
องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ :
บริษัทด่านสุทธาการพิมพ์ จำกัด. พิมพ์ครั้งที่ 4
http://www.wijai48.com/learning_stye/learningprocess.htm วันที่ เข้าถึงเมื่อ6 เดือน กรกฎาคม พ.ศ.2555
1.8 แนวความคิดของนักจิตวิทยากลุ่มต่างๆ เกี่ยวกับพฤติกรรมมนุษย์
กลุ่มพฤติกรรมนิยม(Behaviorism) ผู้นำกลุ่มนี้ได้แก่ John B.Watson ซึ่งเชื่อว่า
การศึกษาบุคคลจะต้องพิจารณาพฤติกรรมที่เขาแสดงออกมามากกว่าระบบการทำงานภายใน
ดังนั้นจิตวิทยาเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมที่สามารถสังเกตและวัดได้ชัดเจนเท่านั้นแนวคิดของวัตสันที่ว่า
จิตวิทยาเป็นวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรม
จึงได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในสหรัฐอเมริกา
และมีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงการพัฒนาการของจิตวิทยาในระยะต่อมา
ทำให้เกิดจิตวิทยาที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง
มักสนใจศึกษาสิ่งเร้าที่กระตุ้นให้เกิดการตอบสนองด้านการกระทำเป็นส่วนใหญ่
กลุ่มนี้ไม่สนใจเกี่ยวกับการศึกษาสิ่งที่เกิดขึ้นภายในตัวของบุคคลเพราะเห็นว่า
เป็นสิ่งที่สังเกตและวัดได้ยากไม่มีความเป็นวิทยาศาสตร์
นักคิดในกลุ่มนี้มองธรรมชาติของมนุษย์ในลักษณะที่เป็นกลาง คือ ไม่ดี ไม่เลว
การกระทำต่างๆ ของมนุษย์เกิดจากอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมภายนอก
พฤติกรรมของมนุษย์เกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้า
การเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง ประกอบด้วย วัตสันเชื่อมั่นว่า ถ้าสามารถควบคุมสิ่งแวดล้อมของมนุษย์ได้
จะทำให้มนุษย์คนนั้นมีพฤติกรรมอะไรก็ได้ตามที่ต้องการจะให้เป็นทฤษฎีการเรียนรู้ในกลุ่มนี้
ประกอบด้วยแนวคิดสำคัญๆ 3 แนวคิดด้วยกัน คือ
1. ทฤษฎีการเรียนรู้
ทฤษฎีการเชื่อมโยงของธอร์นไดค์(Thorndike’s
Classical Connectionism) ธอร์นไดค์(ค.ศ.1814-1949)
เชื่อว่าการเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง
ซึ่งมีหลายรูปแบบบุคคลจะมีการลองผิดลองถูก(trial and
error)ปรับเปลี่ยนไปเรื่อยๆ
จนกว่าจะพบรูปแบบการตอบสนองที่สามารถให้ผลที่พึงพอใจมากที่สุด เมื่อเกิดการเรียนรู้แล้ว
บุคคลจะใช้รูปแบบการตอบสนองที่เหมาะสมเพียงรูปแบบเดียว
และจะพยายามใช้รูปแบบนั้นเชื่อมโยงกับสิ่งเร้าในการเรียนรู้ต่อไปเรื่อย ๆ
ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบอัตโนมัติ(Classical
conditioning)ของพาฟลอฟ พาฟลอฟ(Pavlov)ได้ทำการทดลองให้สุนัขนํ้าลายไหลด้วยเสียงกระดิ่ง
การเรียนรู้ของสุนัขเกิดจากการรู้จักเชื่อมโยงระหว่างเสียงกระดิ่ง
ผงเนื้อบดและพฤติกรรมนํ้าลายไหล
ทฤษฎีการวางเงื่อนไขของวัตสัน(Watson) วัตสัน(Watson)ได้ทำการทดลองโดยให้เด็กคนหนึ่งเล่นกับหนูขาว
ก็ทำเสียงดังจนเด็กตกใจร้องไห้ หลังจากนั้นเด็กก็จะกลัวและร้องไห้เมื่อเห็นหนูขาว
ต่อมาทดลองให้นำหนูขาวมาให้เด็กดูโดยแม่จะกอดเด็กไว้จากนั้นเด็กก็จะค่อยๆหายกลัวหนูขาว
ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบต่อเนื่อง(Contiguous
Conditioning)ของกัทธรีกัทธรีได้ทำการทดลองโดยปล่อยแมวที่หิวจัดเข้าไปในกล่องปัญหา
มีเสาเล็กๆตรงกลาง มีกระจกที่ประตูทางออก มีปลาแซลมอนวางไว้นอกกล่อง
เสาในกล่องเป็นกลไกเปิดประตู แมวบางตัวใช้แบบแผนการกระทำหลายแบบเพื่อจะออกจากกล่อง
แมวบางตัวใช้วิธีเดียว
ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบโอเปอร์แรนต์(Operant Conditioning)ของสกินเนอร์(Skinner)สกินเนอร์(Skinner)ได้ทำการทดลองโดยนำหนูที่หิวจัดใส่กล่อง
ภายในมีคานบังคับให้อาหารตกลงไปในกล่องได้ ตอนแรกหนูจะวิ่งชนโน่นชนนี่
เมื่อชนคานจะมีอาหารตกมาให้กิน ทำหลายๆครั้งพบว่า
หนูจะกดคานทำให้อาหารตกลงไปได้เร็วขึ้น
3.ทฤษฎีการเรียนรู้ของฮัลล์(Hull’s Systematic Behavior Theory)
ฮัลล์(Hull)ได้ทำการทดลองโดยฝึกหนูให้กดคาน
โดยแบ่งหนูเป็นกลุ่มๆแต่ละกลุ่มอดอาหาร 24
ชั่วโมงและแต่ละกลุ่มมีแบบแผนในการเสริมแรงแบบตายตัวต่างกัน บางกลุ่มกดคาน 5 ครั้ง
จึงได้อาหารไปจนถึงกลุ่มที่กด 90 ครั้ง จึงได้อาหารและอีกพวกหนึ่งทดลองแบบเดียวกัน
แต่อดอาหารเพียง 3 ชั่วโมง ผลปรากฏว่า ยิ่งอดอาหารมาก คือ มีแรงขับมาก
จะมีผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงความเข้มของนิสัย กล่าวคือ
จะทำให้การเชื่อมโยงระหว่างอวัยวะรับสัมผัส receptor)กับอวัยวะแสดงออก(effector)เข้มแข็งขึ้น ดังนั้นเมื่อหนูหิวมากจึงมีพฤติกรรมกดคานเร็วขึ้น สรุป
ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม คือ มองธรรมชาติของมนุษย์ในลักษณะที่เป็นกลาง
คือ ไม่ดี – ไม่เลว การกระทำต่างของมนุษย์เกิดจากอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมภายนอก
พฤติกรรมของมนุษย์เกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้า(stimulus
response) การเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง
กลุ่มพฤติกรรมนิยมให้ความสนใจกับพฤติกรรมมากเพราะพฤติกรรมเป็นสิ่งที่เห็นได้ชัด
สามารถวัดและทดสอบได้มีทฤษฎีที่สำคัญอยู่ 3 กลุ่มคือ -
ทฤษฎีการเชื่อมโยงของธอร์นไดค์(Thorndike’s Classical
Connectionism) - ทฤษฎีการวางเงื่อนไข(Conditioning Theory) - ทฤษฎีการเรียนรู้ของฮัลล์(Hull’s Systematic Behavior Theory)
กลุ่มจิตวิทยากลุ่มนี้เน้นความสำคัญของ“จิตไร้สำนึก”(uncoscious mind)ว่า
มีอิทธิพลต่อพฤติกรรม กลุ่มนี้จัดเป็นกลุ่ม “พลังที่หนึ่ง”(The first force)ที่แหวกวงล้อมจากจิตวิทยายุคเดิม
นักจิตวิทยาในกลุ่มจิตวิเคราะห์ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันทั่วไป ได้แก่
ฟรอยด์(Sigmund Freud,1856-1939)และส่วนใหญ่แนวคิดในกลุ่มจิตวิเคราะห์นี้เป็นของฟรอยด์ซึ่งเป็นจิตแพทย์
ชาวออสเตรีย เป็นผู้ที่สร้างทฤษฎีจิตวิเคราะห์(Psychoanalytic
Theory) ซึ่งเป็นทฤษฎีทางด้านการพัฒนาPsychosexualโดยเชื่อว่าเพศหรือกามารมณ์(sex)เป็นสิ่งที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาของมนุษย์
แนวคิดดังกล่าวเกิดจากการสนใจศึกษาและสังเกตผู้ป่วยโรคประสาท
ด้วยการให้ผู้ป่วยนอนบนเก้าอี้นอนในอิริยาบถที่สบายที่สุด
จากนั้นให้ผู้ป่วยเล่าเรื่องราวของตนเองไปเรื่อยๆ
ผู้รักษาจะนั่งอยู่ด้านศีรษะของผู้ป่วย
คอยกระตุ้นให้ผู้ป่วยได้พูดเล่าต่อไปเรื่อยๆเท่าที่จำได้
และคอยบันทึกสิ่งที่ผู้ป่วยเล่าอย่างละเอียด โดยไม่มีการขัดจังหวะ แสดงความคิดเห็น
หรือตำหนิผู้ป่วย
ซึ่งพบว่าการกระทำดังกล่าวเป็นวิธีการที่ช่วยให้ผู้รักษาได้ข้อมูลที่อยู่ในจิตใต้สำนึกของผู้ป่วย
และจากการรักษาด้วยวิธีนี้เอง จึงทำให้ฟรอยด์เป็นคนแรกที่สร้างทฤษฎีจิตวิเคราะห์
เขาอธิบายว่า จิตของคนเรามี 3 ส่วน คือ จิตสำนึก(conscious
mind)จิตกึ่งรู้สำนึก(preconscious mind)และจิตไร้สำนึก
(unconscious mind)ซึ่งมีลักษณะดังนี้
เชื่อว่าพฤติกรรมของมนุษย์ส่วนมากกำหนดขึ้นโดยสัญชาตญาณ ซึ่งมีมาตั้งแต่กำเนิด
สัญชาตญาณเหล่านี้ส่วนมากจะอยู่ในระดับจิตไร้สำนึก เขาเชื่อว่าการทำงานของจิตแบ่งเป็น
3 ระดับ เปรียบเสมือนก้อนนํ้าแข็งลอยอยู่ในทะเล คือ
1.จิตรู้สำนึก(Conscious mind)เป็นส่วนที่โผล่ผิวนํ้าขึ้นมา
ซึ่งมีจำนวนน้อยมาก เป็นสภาพที่รู้ตัวว่าคือใคร อยู่ที่ไหน ต้องการอะไร
หรือกำลังรู้สึกอย่างไรต่อสิ่งใด เมื่อแสดงพฤติกรรมอะไรออกไปก็แสดงออกไปตามหลักเหตุและผล
แสดงตามแรงผลักดันจากภายนอก สอดคล้องกับหลักแห่งความเป็นจริง(principle of reality)
2.จิตกึ่งรู้สำนึก(Preconscious mind)เป็นส่วนที่อยู่ใกล้ๆผิวนํ้า
เป็นจิตที่เก็บสะสมข้อมูลประสบการณ์ไว้มากมาย มิได้รู้ตัวในขณะนั้นแต่พร้อมให้ดึงออกมาใช้
พร้อมเข้ามา อยู่ในระดับจิตสำนึก เช่น เดินสวนกับคนรู้จัก
เดินผ่านเลยมาแล้วนึกขึ้นได้รีบกลับไปทักทายใหม่ เป็นต้น
และอาจถือได้ว่าประสบการณ์ต่างๆที่เก็บไว้ในรูปของความจำก็เป็นส่วนของจิตกึ่งรู้สำนึกด้วย
เช่น ความขมขื่นในอดีต ถ้าไม่คิดถึงก็ไม่รู้สึกอะไร
แต่ถ้านั่งทบทวนเหตุการณ์ทีไรก็ทำให้เศร้าได้ทุกครั้ง เป็นต้น
3.จิตไร้สำนึก(Unconscious mind)เป็นส่วนใหญ่ของก้อนนํ้าแข็งที่อยู่ใต้นํ้า
ฟรอยด์เชื่อว่า จิตส่วนนี้มีอิทธิพลมากต่อพฤติกรรมของมนุษย์
กระบวนการจิตไร้สำนึกนี้ หมายถึง ความคิด ความกลัว และความปรารถนาของมนุษย์
ซึ่งผู้เป็นเจ้าของเก็บกดไว้โดยไม่รู้ตัวแต่มี
อิทธิพลต่อเขา พลังของจิตไร้สำนึกอาจจะปรากฏขึ้นในรูปของความฝัน
การพลั้งปากหรือการแสดงออกมาเป็นกิริยาอาการที่บุคคลทำโดยไม่รู้ตัว เป็นต้น
ฟรอยด์ เชื่อว่า
มนุษย์มีสัญชาตญาณติดตัวมาแต่กำเนิด
พฤติกรรมของบุคคลเป็นผลมาจากแรงจูงใจหรือแรงขับพื้นฐานที่กระตุ้นให้บุคคลมีพฤติกรรม
คือ สัญชาตญาณทางเพศ (sexual
instinct) 2 ลักษณะคือ
1.สัญชาตญาณเพื่อการดำรงชีวิต(eros = life
instinct)
2.สัญชาตญาณเพื่อความตาย(thanatos = death instinct)
1.ตนเบื้องต้น(id) คือ
ตนที่อยู่ในจิตไร้สำนึก เป็นพลังที่ติดตัวมาแต่กำเนิด มุ่งแสวงหา ความพึงพอใจ(pleasure seeking principles)และเป็นไปเพื่อตอบสนองความต้องการของตนเองเท่านั้น โดยไม่คำนึงถึงเหตุผล
ความถูกต้อง และความเหมาะสม ประกอบด้วย ความต้องการทางเพศและความก้าวร้าว
เป็นโครงสร้างเบื้องต้นของจิตใจ และเป็นพลังผลักดันให้ ego ทำในสิ่งต่างๆ ตามที่ id ต้องการ
2.ตนปัจจุบัน(ego)คือ
พลังแห่งการใช้หลักของเหตุและผลตามความเป็นจริง(reality
principle)เป็นส่วนของความคิดและสติปัญญา ตนปัจจุบัน
จะอยู่ในโครงสร้างของจิตใจทั้ง 3 ระดับ
3.ตนในคุณธรรม(superego)คือ ส่วนที่ควบคุมการแสดงออกของบุคคลในด้านคุณธรรม
ความดี ความชั่ว ความถูกผิด มโนธรรม
และจริยธรรมที่สร้างโดยจิตใต้สำนึกของบุคคลนั้น
ซึ่งเป็นผลที่ได้รับจากการเรียนรู้ในสังคมและวัฒนธรรมนั้นๆ
ตนในคุณธรรมจะทำงานอยู่ในโครงสร้างของจิตใจทั้ง 3 ระดับ
การทำงานของตนทั้ง 3
ประการ จะพัฒนาบุคลิกภาพของบุคคลให้เด่นไปด้านใดด้านหนึ่งของทั้ง 3 ประการนี้
แต่บุคลิกภาพที่พึงประสงค์ คือ การที่บุคคลสามารถใช้พลังอีโก้เป็นตัวควบคุมพลังอิด
และซูเปอร์อีโก้ให้อยู่ในภาวะที่สมดุลได้
นอกจากนี้ฟรอยด์ใช้วิธีการวิเคราะห์ความฝันของผู้มีปัญหา เขาเชื่อว่า
ความฝันมีความสัมพันธ์กับสิ่งที่ได้ประสบมาในชีวิตจริงปัญหาต่างๆที่แก้ไม่ได้อาจจะไปแสดงออกในความฝัน
เพื่อเป็นการระบายออกของพฤติกรรมอีกทางหนึ่ง
5.กลุ่มเกสตัลท์(Gestalt Psychology)
นักจิตวิทยาคนสำคัญกลุ่มนี้ได้แก่ Max Werthimer,Kurt
Koffka และWolfgang
Kohlerทั้งหมดเป็นชาวเยอรมันเชื้อสายยิว
กลุ่มนี้เชื่อว่ามนุษย์ไม่ได้เป็นเพียงหน่วยรับสิ่งเร้าที่อยู่นิ่งเฉยเท่านั้น
แต่จิตมีการสร้างกระบวนการประมวลข้อมูลที่รับเข้ามาและส่งผลออกไปเป็นข้อมูลใหม่หรือสารสนเทศชนิดใหม่นักจิตวิทยากลุ่มนี้ไม่เห็นด้วยกับแนวคิดของกลุ่มพฤติกรรมนิยม
กลุ่มนี้เน้นอธิบายว่า
การเรียนรู้เกิดจากการรับรู้เป็นส่วนรวมมากกว่าส่วนย่อยรวมกัน
เพราะคนเราจะรับรู้สิ่งต่างๆในลักษณะรวมๆได้ดีกว่ารับรู้ส่วนปลีกย่อย
กลุ่มนี้เห็นว่า การเรียนรู้จะเกิดขึ้น เมื่อมีการรับรู้เป็นส่วนรวมมากกว่าส่วนย่อยรวมกัน
มนุษย์จะรับในสิ่งที่ตนเองสนใจเท่านั้น สิ่งใดที่สนใจรับรู้จะเป็นภาพ
สิ่งใดที่ไม่ได้สนใจรับรู้จะเป็นพื้น ดังเช่น รูปภาพข้างบนถ้าสนใจมองที่สีขาว
เราจะมองเห็นเป็นแก้ว แต่ถ้าเราสนใจมองสีดำเราจะเห็นเป็น
รูปคนสองคนกำลังหันหน้าเข้าหากัน
คำว่า เกสตัลท์(Gestalt)เป็นภาษาเยอรมัน
ความหมายเดิมแปลว่า แบบหรือรูปร่าง (Gestalt =
form or Pattern) ต่อมาปัจจุบัน แปลว่า
ส่วนรวมหรือส่วนประกอบทั้งหมด(Gestalt =The
wholeness)
กลุ่มเกสตัลท์
มีแนวคิดว่าการเรียนรู้เกิดจากการจัดสิ่งเร้าต่าง มารวมกัน เริ่มต้นด้วยการรับรู้โดยส่วนรวมก่อนแล้ว
จึงจะสามารถวิเคราะห์เรื่องการเรียนรู้ส่วนย่อยทีละส่วนต่อไป ต่อมาเลวิน
ได้นำเอาทฤษฎีเกสตัลท์มาปรับปรุงเป็นทฤษฎีสนาม(Field
theory โดยนำความรู้ทางคณิตศาสตร์และฟิสิกส์มาอธิบายทฤษฎีของเขาแต่ก็ยังคงใช้หลักการเดียวกัน
นั่นคือการเรียนรู้ของบุคคลจะเป็นไปได้ด้วยดีและสร้างสรรค์ถ้าเขาได้มีโอกาสเห็นภาพรวมทั้งหมดของสิ่งที่จะเรียนเสียก่อน
เมื่อเกิดภาพรวมทั้งหมดแล้วก็เป็นการง่ายที่บุคคลนั้นจะเรียนสิ่งที่ละเอียดปลีกย่อยต่อไป
ปัจจุบันได้มีผู้นำเอาวิธีการเรียนรู้ของกลุ่มเกสตัลท์มาใช้อย่างกว้างขวางโดยเหตุที่เขา
เชื่อในผลการศึกษาค้นคว้าที่พบว่า
ถ้าให้เยาวชนได้เรียนรู้โดยหลักของเกสตัลท์แล้วเขาเหล่านั้นจะมีสติปัญญา
ความคิดสร้างสรรค์ และความรวดเร็วในการเรียนรู้เพิ่มขึ้น
หลักการเรียนรู้ของกลุ่มเกสตัลท์
กลุ่มเกสตัลท์ เชื่อว่า
การเรียนรู้ที่เห็นส่วนรวมมากกว่าส่วนย่อยนั้น จะต้องเกิดจากประสบการณ์เดิม
และการเรียนรู้ย่อมเกิดขึ้น 2 ลักษณะ คือ
1.การรับรู้(Perception)การรับรู้
หมายถึง
การแปลความหมายหรือการตีความต่อสิ่งเร้าของอวัยวะรับสัมผัสส่วนใดส่วนหนึ่งหรือทั้งห้าส่วน
ได้แก่ หู ตา จมูก ลิ้น และผิวหนัง การตีความนี้ มักอาศัยประสบการณ์เดิม
ดังนั้นแต่ละคนอาจรับรู้ในสิ่งเร้าเดียวกันแตกต่างกันได้ แล้วแต่ประสบการณ์ เช่น
นางสาว ก. เห็นสีแดงแล้วนึกถึงเลือด แต่นางสาว
ข.เห็นสีแดงอาจนึกถึงดอกกุหลาบสีแดงก็ได้
2.การหยั่งเห็น(Insight) การหยั่งเห็น หมายถึง
การเรียนรู้ด้วยตนเอง
โดยจะเกิดแนวความคิดในการเรียนรู้หรือการแก้ปัญหาขึ้นอย่างฉับพลันทันทีทันใด(เกิดความคิดแวบขึ้นมาในสมองทันที)มองเห็นแนวทางการแก้ปัญหาตั้งแต่จุดเริ่มต้นเป็นขั้นตอนจนถึงจุดสุดท้ายที่สามารถจะแก้ปัญหาได้
เช่น การร้องออกมาว่ายูเรก้าของอาร์คีเมดิสเพราะเกิดการหยั่งเห็น(Insight)ในการแก้ปัญหาการหาปริมาตรของมงกุฎทองคำด้วยวิธีการแทนที่นํ้า
ว่าปริมาตรของมงกุฎที่จมอยู่ในนํ้าจะเท่ากับปริมาตรของนํ้าที่ล้นออกมา
แล้วใช้วิธีการนี้หาปริมาตรของวัตถุที่มีรูปทรงไม่เป็นเรขาคณิตมาจนถึงบัดนี้
การเรียนรู้ของกลุ่มเกสตัลท์ที่เน้น
“การรับรู้เป็นส่วนรวมมากกว่าส่วนย่อย”นั้น ได้สรุปเป็นกฎการเรียนรู้ของทั้งกลุ่ม
4 กฎ เรียกว่า กฎการจัดระเบียบเข้าด้วยกัน(The Laws of
Organization) ดังนี้
1.กฎแห่งความแน่นอนหรือชัดเจน(Law of Pregnant)
2.กฎแห่งความคล้ายคลึง(Law of
Similarity)
3.กฎแห่งความใกล้ชิด(Law of
Proximity)
4.กฎแห่งการสิ้นสุด(Law of
Closure)
โดยกำหนดFigureและBackground แต่ในที่นี้ขอเสนอพอสังเขป
ดังนี้
แนวความคิดของนักจิตวิทยากลุ่มนี้ คือ
การพิจารณาพฤติกรรมหรือประสบการณ์ของคนเป็นส่วนรวม
ซึ่งส่วนรวมนั้นมีค่ามากกว่าผลบวกของส่วนย่อยต่างๆ มารวมกัน เช่น
คนนั้นมีค่ามากกว่าผลบวกของส่วนย่อยต่างๆมารวมตัวกันเป็นคน ได้แก่ แขน ขา ลำตัว
สมองฯลฯ
จิตวิทยากลุ่มเกสตัลท์นิยม จึงหมายถึง
จิตวิทยาที่ยึดถือเอาส่วนรวมทั้งหมดเป็นสำคัญ
นักจิตวิทยากลุ่มนี้ยังมีความเห็นอีกว่า
การศึกษาทางจิตวิทยานั้นจะต้องศึกษาพฤติกรรมทางจิตเป็นส่วนรวมจะแยกศึกษาที่ละส่วนไม่ได้
กลุ่มGESTALISM เห็นว่าวิธีการของ
BEHAVIORISM ที่พยายามจะแยกพฤติกรรมออกมาเป็นหน่วยย่อย
เช่น เป็นสิ่งเร้าและการตอบสนองนั้นเป็นวิธีการไม่ใช่เรื่องของจิตวิทยา
น่าจะเป็นเรื่องของเคมีหรือศาสตร์บริสุทธิ์แขนงอื่นๆ ดังนั้นกลุ่ม GESTALISM จึงไม่พยายามแยกพฤติกรรมออกเป็นส่วนๆ
แล้วศึกษารายละเอียดของแต่ละส่วนเหมือนกลุ่มอื่นๆ
แต่ตรงกันข้ามจะพิจารณาพฤติกรรมหรือการกระทำของมนุษย์ทุกๆอย่างเป็นส่วนรวม
เน้นในเรื่องส่วนรวม(WHOLE)มากกว่าส่วนย่อย
เพ่งเล็งถึงส่วนทั้งหมดในลักษณะที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน(UNIQUE)
6.กลุ่มมนุษยนิยม(Humanistic Perspective)
แนวคิดกลุ่มมนุษย์นิยม(The
Humanistic Perspective) เชื่อว่า
มนุษย์มีอิสระทางความคิดที่สามารถเลือกแสดงพฤติกรรมได้ การแสดงพฤติกรรมใดๆ
จึงเป็นทางเลือกของบุคคล ซึ่งทุกคนมีศักยภาพในการเจริญงอกงาม หรือพัฒนา
นักจิตวิทยากลุ่มนี้ ได้แก่ มาสโลว์(Abraham
Maslow)และคาร์ล โรเจอส์(Carl Rogers)
มาสโลว์(Maslow) กล่าวถึง
ทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการไว้ 5 ขั้นตอน ดังนี้
1.ความต้องการทางกายภาพ(Physiological
Needs) เป็นความต้องการขั้นพื้นฐานของมนุษย์เป็นสิ่งที่จำเป็นในการดำรงชีวิต
ได้แก่ อาหาร อากาศ ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค ความต้องการพักผ่อน
และความต้องการทางเพศ เป็นต้น
2.ความต้องการความมั่นคงและปลอดภัย(Safety Needs
and Needs for Security) ถ้าต้องการความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตทั้งในปัจจุบันและอนาคต
ต้องการความเป็นธรรมในการทำงาน ความปลอดภัยในเงินเดือนและการถูกไล่ออก
สวัสดิการด้านที่อยู่อาศัย และการรักษาพยาบาล
รวมทั้งความเชื่อในศาสนาและเชื่อมั่นในปรัชญา
ซึ่งจะช่วยให้บุคคลอยู่ในโลกของความเชื่อของตนเองและรู้สึกมีความปลอดภัย
3.ความต้องการมีส่วนร่วมในสังคม(Social
Belonging Needs)เมื่อความต้องการทางด้านร่างกา
และความปลอดภัยได้รับการตอบสนองแล้ว
ความต้องการทางด้านสังคมก็จะเริ่มเป็นสิ่งจูงใจที่สำคัญต่อพฤติกรรมของบุคคล
เป็นความต้องการที่จะให้สังคมยอมรับตนเป็น
สมาชิก ต้องการได้รับการยอมรับจากคนอื่นๆ
ได้รับความเป็นมิตรและความรักจากเพื่อนร่วมงาน
4.ความต้องการยกย่องนับถือ(Esteem Needs)
ความต้องการด้านนี้
เป็นความต้องการระดับสูงที่เกี่ยวกับความอยากเด่นในสังคม
ต้องการให้บุคคลอื่นยกย่องสรรเสริญ
รวมถึงความเชื่อมั่นในตนเองในเรื่องความรู้ความสามารถ ความเป็นอิสระ และเสรีภาพ
5.ความต้องการบรรลุในสิ่งที่ตั้งใจ(Need for Self Actualization) เป็นความต้องการระดับสูงสุด
ซึ่งเป็นความต้องการที่อยากจะให้เกิดความสำเร็จในทุกสิ่งทุกอย่างตามความนึกคิดของตนเอง
เป็นความต้องการที่ยากแก่การได้มา
1.)มนุษย์ทุกคนมีความต้องการ ความต้องการที่มนุษย์นี้จะอยู่ในตัวมนุษย์ตลอดไป
ไม่มีที่สิ้นสุด เมื่อสนใจในความต้องการหนึ่งแล้ว ก็ยังต้องการในระดับที่สูงขึ้น
2.)อิทธิพลใดๆ
ที่จะมีผลต่อความต้องการของมนุษย์อยู่ในความต้องการลำดับขั้นนั้นๆ เท่านั้น
หากความต้องการลำดับขั้นนั้นได้รับการสนองให้พอใจแล้วความต้องการนั้นก็จะหมดอิทธิพลไป
3)ความต้องการของมนุษย์จะมีลำดับขั้นจากตํ่าไปหาสูง
เมื่อความต้องการขั้นตํ่าได้รับการตอบสนองเป็นที่พอใจแล้ว
ความต้องการลำดับสูงขึ้นไปก็ตามมา
1.ตนที่ตนมองเห็น(Self Concept) ภาพที่ตนเห็นเองว่าตนเป็นอย่างไร
มีความรู้ความสามารถ ลักษณะเพราะตนอย่างไร เช่น สวย รวย เก่ง ตํ่าต้อย ขี้อายฯลฯ
การมองเห็นอาจจะไม่ตรงกับข้อเท็จจริงหรือภาพที่คนอื่นเห็น
2.ตนตามที่เป็นจริง (Real Self) ตัวตนตามข้อเท็จจริง
แต่บ่อยครั้งที่ตนมองไม่เห็นข้อเท็จจริง เพราะอาจเป็นสิ่งที่ทำให้รู้สึกเสียใจ
ไม่เท่าเทียมกับบุคคลอื่น เป็นต้น
3.ตนตามอุดมคติ(Ideal Self) ตัวตนที่อยากมีอยากเป็น
แต่ยังไม่มี ไม่เป็นในสภาวะปัจจุบัน เช่น ชอบเก็บตัวแต่อยากเก่งเข้าสังคม เป็นต้น
ถ้าตัวตนทั้ง 3 ลักษณะ
ค่อนข้างตรงกันมากจะทำให้มีบุคลิกภาพมั่นคง แต่ถ้าแตกต่างกันสูง
จะมีความสับสนและอ่อนแอด้านบุคลิกภาพ
โรเจอร์ วางหลักไว้ว่า
บุคคลถูกกระตุ้นโดยความต้องการสำหรับการยอมรับนับถือทางบวก
นั่นคือความต้องการความรัก การยอมรับและความมีคุณค่า
บุคคลเกิดมาพร้อมกับความต้องการ การยอมรับนับถือในทางบวก
และจะได้รับการยอมรับนับถือโดยอาศัยการศึกษาจากการดำเนินชีวิตตามมาตรฐานของบุคคลอื่น
ทฤษฏีของโรเจอร์
กล่าวว่า “ตนเอง”(Self) คือ
การรวมกันของรูปแบบ ค่านิยม เจตคติ การรับรู้ และความรู้สึก
ซึ่งแต่ละบุคคลมีอยู่และเชื่อว่า เป็นลักษณะเฉพาะของเขาเอง ตนเอง หมายถึง ฉัน
และตัวฉันเป็นศูนย์กลางที่รวมประสบการณ์ทั้งหมดของแต่ละบุคคล ภาพพจน์นี้เกิดจากการที่แต่ละบุคคลมีการเรียนรู้ตั้งแต่วัยเริ่มแรกชีวิต
ภาพพจน์นั่นเอง สำหรับบุคคลที่มีการปรับตัวดีก็จะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างคงที่
และมีการปรับตัวตามประสบการณ์ที่แต่ละคนมีอยู่การสังเกตและการรับรู้
เป็นเรื่องของตนเองที่ปรับให้เข้ากับสภาพสิ่งแวดล้อมในการทำงาน เช่น
พนักงานบางคนมีการตอบสนองอย่างมีประสิทธิภาพต่อสภาพสิ่งแวดล้อมในการทำงานและการเป็นผู้นำ
7.กลุ่มปัญญานิยม(Cognitive Psychology)
ผู้นำกลุ่มคนสำคัญ
คือ เพียเจต์ บรูเนอร์ และวายเนอร์ หลังปีค.ศ.1960 กลุ่มแนวคิดปัญญานิยมได้รับความสนใจอย่างมาก
แนวคิดกลุ่มปัญญานิยม สนใจศึกษาเรื่องกระบวนการทางจิต ซึ่งเป็น
พฤติกรรมภายในที่ไม่สามารถสังเกตได้โดยตรง ได้แก่ การรับรู้ การจำ การคิด
และความเข้าใจ เช่น ขณะที่เราอ่านหนังสือ เราจะทราบความสำคัญของข้อความ คำต่างๆ
เนื้อหาของเรื่องมากกว่าการรับรู้ตัวอักษร
นักวิจัยในกลุ่มปัญญานิยมสนใจศึกษากระบวนการทางจิต
ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่มองไม่เห็นภายในตัวบุคคลด้วยวิธีการวัดแบบวิทยาศาสตร์
แนวความคิดของกลุ่มนี้เชื่อว่า
มนุษย์จะเป็นผู้กระทำต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่าทำตามสิ่งแวดล้อม เพราะจากความรู้
ความเชื่อ และความมีปัญญาของมนุษย์
จะทำให้มนุษย์สามารถจัดการกับข้อมูลข่าวสารที่เข้ามาในสมองมนุษย์ได้ เช่น ยูริค
ไนเซอร์(Ulric Neisser) กล่าวว่า บุคคลต้องแปลผลสิ่งที่รับรู้มาเพื่อให้เข้าใจโลกรอบตัวของเขาได้
ดังนั้นเป้าหมายของนักจิตวิทยากลุ่มนี้คือ สามารถระบุเจาะจงได้ว่า
กระบวนการของจิตเกี่ยวข้องกับการแปลความหมายสิ่งที่บุคคลรับเข้ามา
แล้วส่งต่อให้หน่วยรับข้อมูล เพื่อแปลผลอีกครั้งหนึ่งว่า
มีกลไกอย่างไรบ้างที่ช่วยจัดระบบระเบียบการจำและเข้าใจทุกสิ่งทุกอย่างที่เราได้พบเห็นได้ด้วยวิธีใด
การทำงานของระบบความจำ และการใช้ความคิดในการแก้ไขปัญหา
วิธีการศึกษาของนักจิตวิทยากลุ่มปัญญานิยม จะเน้นวิธีการทดลองเป็นส่วนใหญ่
เช่น การทดลองให้ผู้รับการทดลองตั้งเทียนไขให้ขนานกับแนวฝาผนังโดยไม่มีอุปกรณ์ให้
ผู้รับการทดลองต้องใช้วิธีการอย่างไรก็ได้ ซึ่งมักจะประสบความยุ่งยากในการแก้ปัญหา
และต้องคิดค้นวิธีการใหม่ๆจากการใช้อุปกรณ์ที่มี จากการทดลองนี้วิธีคิดแบบเก่าๆ
จะมีผลสกัดกั้นความคิดใหม่ๆได้
เพราะฉะนั้นบุคคลจะมีวิธีการเอาชนะวิธีคิดที่ตนเองคุ้นเคยได้อย่างไร
และบุคคลจะสร้างสรรค์แนวคิดใหม่ๆเพื่อแก้ปัญหาได้อย่างไร
แหล่งอ้างอิง
ขอบคุณ: