ทฤษฎีแห่งความรู้
Epistemology (ญาณวิทยา) กีรติ บุญเจือ ได้แปลความหมายไว้ว่า epistemology มาจากภาษากรีก จากศัพท์ episteme แปลว่าความรู้ และ logos แปลว่าคำพูดหรือวิชา (กีรติ บุญเจือ 2521:256) อีกทั้งจากเว็บไซด์ http://lcc.gatech.edu:80/gallery/rhetoric/terms/ epistemology.html ก็ยังคงให้คำจำกัดความของ epistemology เช่นเดียวกับที่กีรติได้อธิบายไว้ ต่างกันตรงคำแปล logos ที่แปลว่าทฤษฎี ดังนั้นคำแปลของ Epistemology ซึ่งอาจมีการใช้คำว่า ญาณวิทยา หรือญาณปรัชญา ก็คือปรัชญาบริสุทธิ์แขนงหนึ่ง ที่ กล่าวถึงปัญหาว่า เรารู้ความเป็นจริงได้อย่างไร บางทีก็เรียกว่าทฤษฎีความรู้ (Theory of knowledge) (กีรติ บุญเจือ 2533 :49)
ญาณวิทยา (Epistemology, Theory of Knowledge) คือ ทฤษฎีที่ว่าด้วยความรู้ มาจากภาษาอังกฤษว่า epistemology ซึ่งมาจากคำว่า episteme มีความหมายเท่ากับ knowledge หรือความรู้ กับคำว่า logia ซึ่งตรงกับคำว่า science หรือ theory หมายถึงศาสตร์ หรือทฤษฎี (ชัยวัฒน์ อัตวัฒน์ 2528)
Epistemology เป็นภาษากรีก มีรากศัพท์มาจากคำกรีกว่า episteme หมายถึง ความรู้ ดังนั้น Epistemology เป็นการศึกษาเกี่ยวกับคำถามที่ว่า เรารู้ได้อย่างไร และสิ่งที่รู้ รู้ตรงตามข้อเท็จจริงหรือไม่ ความรู้ที่แท้จริงของสิ่งนี้คืออะไร ทฤษฎีทางปรัชญาของนักปรัชญาคือ เรื่องราวของทฤษฎีความรู้ในปรัชญา ทฤษฎีความรู้ต้องเผชิญกับการถูกท้าทายจากข้อสงสัยต่างๆ การตรวจสอบความรู้ ถือว่ามีความจำเป็น ความสงสัยที่เกิดเรียกว่าวิมัติวาท (Sceptic) และวิมัติวาทที่ไม่สุดโต่งเกินไปจะเป็นประโยชน์ในการตรวจสอบความรู้ ถ้ายังไม่สามารถมีข้อวินิจฉัยมารับรองว่าความรู้นั้นถูกต้องหรือไม่ ก็ให้รอไปก่อนจนกว่าจะพบความจริงที่ชัดเจนจึงสามารถทำให้เป็นทฤษฎีได้ (พรทิพา บรรทมสินธุ์ 2546)
ญาณวิทยาคือทฤษฎีแห่งความรู้ (Theory of Knowledge) เป็นปรัชญาอีกสาขาหนึ่งที่อธิบายถึงปัญหาเกี่ยวกับที่มาของความรู้ แหล่งเกิดของความรู้ ธรรมชาติของความรู้ และเหตุแห่งความรู้ที่แท้จริง
ญาณวิทยา (Epistemology, Theory of Knowledge) คือ ทฤษฎีที่ว่าด้วยความรู้ มาจากภาษาอังกฤษว่า epistemology ซึ่งมาจากคำว่า episteme มีความหมายเท่ากับ knowledge หรือความรู้ กับคำว่า logia ซึ่งตรงกับคำว่า science หรือ theory หมายถึงศาสตร์ หรือทฤษฎี (ชัยวัฒน์ อัตวัฒน์ 2528)
Epistemology เป็นภาษากรีก มีรากศัพท์มาจากคำกรีกว่า episteme หมายถึง ความรู้ ดังนั้น Epistemology เป็นการศึกษาเกี่ยวกับคำถามที่ว่า เรารู้ได้อย่างไร และสิ่งที่รู้ รู้ตรงตามข้อเท็จจริงหรือไม่ ความรู้ที่แท้จริงของสิ่งนี้คืออะไร ทฤษฎีทางปรัชญาของนักปรัชญาคือ เรื่องราวของทฤษฎีความรู้ในปรัชญา ทฤษฎีความรู้ต้องเผชิญกับการถูกท้าทายจากข้อสงสัยต่างๆ การตรวจสอบความรู้ ถือว่ามีความจำเป็น ความสงสัยที่เกิดเรียกว่าวิมัติวาท (Sceptic) และวิมัติวาทที่ไม่สุดโต่งเกินไปจะเป็นประโยชน์ในการตรวจสอบความรู้ ถ้ายังไม่สามารถมีข้อวินิจฉัยมารับรองว่าความรู้นั้นถูกต้องหรือไม่ ก็ให้รอไปก่อนจนกว่าจะพบความจริงที่ชัดเจนจึงสามารถทำให้เป็นทฤษฎีได้ (พรทิพา บรรทมสินธุ์ 2546)
ญาณวิทยาคือทฤษฎีแห่งความรู้ (Theory of Knowledge) เป็นปรัชญาอีกสาขาหนึ่งที่อธิบายถึงปัญหาเกี่ยวกับที่มาของความรู้ แหล่งเกิดของความรู้ ธรรมชาติของความรู้ และเหตุแห่งความรู้ที่แท้จริง
Epistemology ญาณวิทยาเป็นสาขาที่สำคัญที่สุดสาขาหนึ่งของปรัชญา เป็นสาขาที่ค้นคว้าถึงต้นกำเนิดโครงสร้าง วิธีการ และความสมเหตุสมผลของความรู้ ในภาษาอังกฤษใช้คำว่า Epistemology ซึ่งมีรากศัพท์มาจากคำวา Episteme ซึ่งแปลว่า ความรู้ (knowledge) กับ Logos ซึ่งแปลว่าทฤษฎี (Theory) ดังนั้น ในภาษาไทยจะเรียกญาณวิทยาว่า ทฤษฎีความรู้ก็ได้ และในภาษาอังกฤษจะใช้คำว่า Theory of knowledge แทน epistemology (ปานทิพย์ ศุภนคร 2538: 99)
Epistemology ญาณวิทยาหมายถึงศาสตร์หรือทฤษฎีเกี่ยวกับความรู้แท้ หรือความรู้ที่มีระบบ ในทางปรัชญา ความรู้ต้องเป็นความรู้ในความจริง เพราะฉะนั้นปัญหาญาณวิทยา จึงไม่ใช่เพียงว่า ความรู้คืออะไร แต่ยังเกี่ยวพันกับความจริงด้วย เช่น อะไรคือสิ่งที่เรารู้ มนุษย์รู้ความจริงได้หรือไม่ โดยวิธีใด ความจริงเป็นสิ่งสัมพัทธ์ (Relative) หรือเป็นสิ่งสัมบูรณ์ (Absolute) เป็นต้น (จักรฤทธิ์ อุทโธ 2546)
ทฤษฎีความรู้ (Epistemology) ปัญหาเกี่ยวกับความรู้และที่มาแห่งความรู้นั้น เป็นปัญหาสำคัญอย่างยิ่งในปรัชญาสาขานี้ ปรัชญาเมธีหลายท่านทั้งไทยและต่างประเทศได้คิดค้น และศึกษา อาจกลายเป็นความรู้ที่แท้จริงและอย่างไรที่ถือว่าเป็นทฤษฎีที่ถูกต้อง ปรัชญาเมธีเหล่านั้นต่างก็มีความคิด หรือทัศนะแตกต่างกันไป แต่จะอย่างไรก็ตาม การที่จะอธิบายทฤษฎีความรู้หรือญาณวิทยาก็หมายความว่า พยายามจะตอบปัญหาหรือเปิดเผยความรู้ในเรื่องต่อไปนี้คือ ความรู้เกิดขึ้นได้อย่างไร จะสร้างความรู้ได้อย่างไร อะไรคือสิ่งที่เราสามารถรู้ได้ และอะไรคือเงื่อนไขเหตุปัจจัยหรือแหล่งให้เกิดความรู้ (บุญมี แท่นแก้ว 2536:132)
ญาณวิทยาหรือทฤษฎีความรู้ คือทฤษฎีที่ว่าด้วยความรู้ ได้ศึกษาถึงเหตุปัจจัยที่ทำให้ความรู้เกิดขึ้น ทำให้ความรู้เป็นไปได้ทำให้เราเข้าใจเกี่ยวกับความรู้ศึกษาปัญหาที่ว่าอะไรเป็นบ่อเกิดของความรู้ อะไรเป็นธรรมชาติแห่งความรู้ ขอบเขตแห่งความรู้มีกำหนดแค่ไหน และอะไรเป็นปัจจัยให้เกิดความรู้ (บุญมี แท่นแก้ว 2536:10)
ทฤษฎีความรู้ (epistemology) เป็นสาขาปรัชญาที่ว่าด้วยอะไรคือลักษณะทั่วไปของความรู้ มนุษย์เรารู้ความจริงได้แค่ไหน ความรู้ได้มาทางไหน และปัญหาก็คือ ความจริง (Truth) ความรู้ (วิทย์ วิศวเวทย์ 2531: 171)
Epistemologyหรือญาณวิทยา เป็นสาขาหนึ่งของปรัชญา ที่มุ่งตอบปัญหาเกี่ยวกับความรู้ของมนุษย์ได้มาจากไหน ผิดถูกอย่างไร วุฒิปัญญาคืออะไร ปัญญามีวิวัฒนาการอย่างไรหรือไม่ (สมัคร บุราวาศ 2544: 9)
Epistemology ญาณวิทยาหมายถึงศาสตร์หรือทฤษฎีเกี่ยวกับความรู้แท้ หรือความรู้ที่มีระบบ ในทางปรัชญา ความรู้ต้องเป็นความรู้ในความจริง เพราะฉะนั้นปัญหาญาณวิทยา จึงไม่ใช่เพียงว่า ความรู้คืออะไร แต่ยังเกี่ยวพันกับความจริงด้วย เช่น อะไรคือสิ่งที่เรารู้ มนุษย์รู้ความจริงได้หรือไม่ โดยวิธีใด ความจริงเป็นสิ่งสัมพัทธ์ (Relative) หรือเป็นสิ่งสัมบูรณ์ (Absolute) เป็นต้น (จักรฤทธิ์ อุทโธ 2546)
ทฤษฎีความรู้ (Epistemology) ปัญหาเกี่ยวกับความรู้และที่มาแห่งความรู้นั้น เป็นปัญหาสำคัญอย่างยิ่งในปรัชญาสาขานี้ ปรัชญาเมธีหลายท่านทั้งไทยและต่างประเทศได้คิดค้น และศึกษา อาจกลายเป็นความรู้ที่แท้จริงและอย่างไรที่ถือว่าเป็นทฤษฎีที่ถูกต้อง ปรัชญาเมธีเหล่านั้นต่างก็มีความคิด หรือทัศนะแตกต่างกันไป แต่จะอย่างไรก็ตาม การที่จะอธิบายทฤษฎีความรู้หรือญาณวิทยาก็หมายความว่า พยายามจะตอบปัญหาหรือเปิดเผยความรู้ในเรื่องต่อไปนี้คือ ความรู้เกิดขึ้นได้อย่างไร จะสร้างความรู้ได้อย่างไร อะไรคือสิ่งที่เราสามารถรู้ได้ และอะไรคือเงื่อนไขเหตุปัจจัยหรือแหล่งให้เกิดความรู้ (บุญมี แท่นแก้ว 2536:132)
ญาณวิทยาหรือทฤษฎีความรู้ คือทฤษฎีที่ว่าด้วยความรู้ ได้ศึกษาถึงเหตุปัจจัยที่ทำให้ความรู้เกิดขึ้น ทำให้ความรู้เป็นไปได้ทำให้เราเข้าใจเกี่ยวกับความรู้ศึกษาปัญหาที่ว่าอะไรเป็นบ่อเกิดของความรู้ อะไรเป็นธรรมชาติแห่งความรู้ ขอบเขตแห่งความรู้มีกำหนดแค่ไหน และอะไรเป็นปัจจัยให้เกิดความรู้ (บุญมี แท่นแก้ว 2536:10)
ทฤษฎีความรู้ (epistemology) เป็นสาขาปรัชญาที่ว่าด้วยอะไรคือลักษณะทั่วไปของความรู้ มนุษย์เรารู้ความจริงได้แค่ไหน ความรู้ได้มาทางไหน และปัญหาก็คือ ความจริง (Truth) ความรู้ (วิทย์ วิศวเวทย์ 2531: 171)
Epistemologyหรือญาณวิทยา เป็นสาขาหนึ่งของปรัชญา ที่มุ่งตอบปัญหาเกี่ยวกับความรู้ของมนุษย์ได้มาจากไหน ผิดถูกอย่างไร วุฒิปัญญาคืออะไร ปัญญามีวิวัฒนาการอย่างไรหรือไม่ (สมัคร บุราวาศ 2544: 9)
การวิเคราะห์ (Analytic)
โดยสรุปจากความหมาย คำนิยาม หรือคำจำกัดความของ Epistemology (ญาณวิทยา) ก็คือ Theory of knowledge หรือทฤษฎีความรู้ ซึ่งเป็นสาขาหนึ่งในวิชาปรัชญา โดยที่ นักวิชาการทางปรัชญาแต่ละท่านก็ได้ศึกษาและพยายามอธิบายความหมาย หรือให้คำจำกัดความของคำว่า Epistemology ออกมาในมุมมองของที่หลากหลายต่างๆ กันไป เช่น
ญาณวิทยาที่ http://pibull.rip.ac.th/web/net13/philo51.html ได้อธิบายไว้ว่า เป็นการอ้างถึง ทฤษฎีการวัดความรู้ของพุทธศาสนาตามทัศนะของพุทธศาสนาว่าความรู้ย่อมเกิดจากปัญญา คำว่าปัญญาแปลว่าความรอบรู้ รู้ทั่ว เข้าใจ รู้ซึ้งและความรอบรู้ในสิ่งต่างๆ ที่เกี่ยวกับตัวเองและสิ่งแวดล้อมที่ปรากฏอยู่ในโลก โดยที่ปัญญานั้นมีลักษณะอยู่ 2 อย่างคือ
ญาณวิทยาที่ http://pibull.rip.ac.th/web/net13/philo51.html ได้อธิบายไว้ว่า เป็นการอ้างถึง ทฤษฎีการวัดความรู้ของพุทธศาสนาตามทัศนะของพุทธศาสนาว่าความรู้ย่อมเกิดจากปัญญา คำว่าปัญญาแปลว่าความรอบรู้ รู้ทั่ว เข้าใจ รู้ซึ้งและความรอบรู้ในสิ่งต่างๆ ที่เกี่ยวกับตัวเองและสิ่งแวดล้อมที่ปรากฏอยู่ในโลก โดยที่ปัญญานั้นมีลักษณะอยู่ 2 อย่างคือ
- ชาติปัญญา คือปัญญาที่ติดตัวตั้งแต่กำเนิดและ
- โยคปัญญา คือปัญญาความรู้ที่เกิดในภพปัจจุบัน
ในการศึกษาเกี่ยวกับ ญาณวิทยา (Epistemology) ในประเทศไทย มีนักวิชาการศาสตราจารย์กีรติ บุญเจือ ราชบัณฑิตสาขาปรัชญา จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ได้อธิบายในเรื่องของการศึกษาคำตอบของปัญหาที่ว่า “จิตของเรารู้ว่าอะไรจริงได้หรือไม่” โดยคำตอบนี้จะมี 2 ลัทธิคือ 1.) ลัทธิอัตนัยนิยม (Subjectivism) คือไม่สามารถรู้ได้ว่าจริงหรือไม่ และ 2.) ลัทธิปรนัยนิยม (Objectivism) คือ สามารถรู้ได้ว่าจริงหรือไม่ โดยได้กำหนดขอบเขต 5 อย่างเพื่อวิเคราะห์ ได้แก่ การสัมผัส (Sensation) ความเข้าใจ (Understanding) อัชฌัตติกญาณ (Intuition) ตรัสรู้ (Enlightenment) และวิวรณ์ (Revelation) แต่ในเว็บไซด์ http://pibull.rip.ac.th/web/net13/philo51.html ได้อธิบายถึงทฤษฎีของการเกิดความรู้ว่ามีอยู่ 5 ทฤษฎี คือ เหตุผลนิยม (Rationalism) ประจักษนิยม (Empiricism) เพทนาการนิยม (Sensationism) อนุมานนิยม (Apriorism) และสัญชาตญาณนิยม (Intutionism) ในขณะที่ เคนศักดิ์ ตันสิงห์ ก็ได้อธิบายถึงต้นกำเนิดความรู้มี 5 อย่างเช่นกัน คือ จิตนิยม (Idealism) เหตุผลนิยม (Rationalism) ประจักษนิยม (Empiricism) อัชฌัติกญาณ (Intutionism) และปฏิบัตินิยม (Pragmetism) (เคนศักดิ์ ตันสิงห์ 2538: 67) แต่ทว่าบุญมี แท่นแก้ว จากมหาวิทยาลัยศรีปทุม ได้อธิบายถึงทฤษฎีกำเนิดแห่งความรู้ว่ามีอยู่ 6 ทฤษฎี คือ เหตุผลนิยม (Rationalism) ประจักษนิยม (Empiricism) เพทนาการนิยม (Sensationism) อนุมานนิยม (Apriorism) สัญชาตญาณนิยม (Intutionism) และประกาศิตนิยม (Authoritism)
นอกจากนั้น บุญมี แท่นแก้ว ยังได้อธิบายเชิงเปรียบเทียบของคำว่า epistemology ในด้านการศึกษาของปรัชญาต่างๆ เช่นปรัชญาเชน ความรู้เกิดจาก 1.) โดยตรงได้แก่ อวธิชญาณ มนปรยายัชญาณ และเกวลัชญาณ และ 2.) โดยอ้อม ได้แก่ มติชญาณ และศรุติชญาณ ในขณะที่ปรัชญามหายานในญี่ปุ่นได้อธิบาย ความรู้เกิดจากประสาทสัมผัส การคิดนึกอย่างมีเหตุผล การฝึกฝนอบรมหรือหยั่งรู้ภายในจิต และจากพยานหรือหลักฐาน แต่ในพุทธปรัชญาจะอธิบายว่า ความรู้เกิดจากการฟัง การคิด และการฝึกฝนอบรม ในทำนองเดียวกัน เคนศักดิ์ ตันสิงห์ ก็ได้ศึกษาการเปรียบเทียบ Epistemology ในด้านปรัชญาต่างๆ เช่นกัน เช่นปรัชญาทางด้านตะวันตก มีนักปรัชญาหลายท่านที่ เคนศักดิ์ ตันสิงห์ ได้ยกมาอธิบายเกี่ยวกับญาณวิทยา ได้แก่ ปรัชญาของ โสเครติส (Socrates) ความรู้เกิดจากการคิดหาเหตุผล ปรัชญาของพลาโต (Plato) ความรู้เกิดจากการระลึกได้ ปรัชญาของอริสโตเติล (Aristotle) ความรู้เกิดจากคิดหาเหตุผล 2 แบบ คืออุปนัย และนิรนัย ปรัชญาของออกุสติน (St.Augustine) ความรู้เกิดจากอำนาจของตรีเอกานุภาพ คือบิดา บุตร และจิต เป็นต้น
ชัยวัฒน์ อัตวัฒน์ และปานทิพย์ ศุภนคร นักวิชาการด้านปรัชญาจากมหาวิทยาลัยรามคำแหงได้ให้ขอบเขตของญาณวิทยาในด้านความสัมพันธ์กับศาสตร์อื่นๆ ที่มีความเกี่ยวข้องอย่างไร ซึ่งศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับญาณวิทยามีอยู่กัน ได้แก่ อภิปรัชญา (Metaphysics) จิตวิทยา (Psychology) ตรรกศาสตร์ (Logic) และอัตถิภาวะนิยม (Existentialism) อีกทั้งยังได้ศึกษาเกี่ยวกับปัญหาทางญาณวิทยา 2 ปัญหาหลักๆ คือ ปัญหาเรื่องบ่อเกิดของความรู้ และปัญหาเรื่องธรรมชาติของความรู้สิ่งที่เรารู้คืออะไร
ความแตกต่างของญาณวิทยา (Epistemology) ในเรื่องสาขาของปรัชญาก็มีนักวิชาการที่ได้อธิบายแตกต่างกัน เช่น พรทิพา บรรทมสินธุ์ ได้อธิบายถึงญาณวิทยา (Epistemology) เป็นสาขาหนึ่งของวิชาปรัชญาเช่นเดียวกับอภิปรัชญา (Metaphysics) ตรรกวิทยา (Logic) และจริยศาสตร์ (Ethics) ในขณะที่ สมัคร บุราวาศ ได้กล่าวถึงอภิปรัชญา (Metaphysics) คือ ภววิทยา (Ontology) รวมกับญาณวิทยา (Epistemology) เช่นเดียวกับ เคนศักดิ์ ตันสิงห์ ก็ได้อธิบายถึงการแบ่งสาขาวิชาปรัชญาออกเป็น ภววิทยา (Ontology) ญาณวิทยา (Epistemology) และคุณวิทยา (Axiology)
นอกจากนั้น บุญมี แท่นแก้ว ยังได้อธิบายเชิงเปรียบเทียบของคำว่า epistemology ในด้านการศึกษาของปรัชญาต่างๆ เช่นปรัชญาเชน ความรู้เกิดจาก 1.) โดยตรงได้แก่ อวธิชญาณ มนปรยายัชญาณ และเกวลัชญาณ และ 2.) โดยอ้อม ได้แก่ มติชญาณ และศรุติชญาณ ในขณะที่ปรัชญามหายานในญี่ปุ่นได้อธิบาย ความรู้เกิดจากประสาทสัมผัส การคิดนึกอย่างมีเหตุผล การฝึกฝนอบรมหรือหยั่งรู้ภายในจิต และจากพยานหรือหลักฐาน แต่ในพุทธปรัชญาจะอธิบายว่า ความรู้เกิดจากการฟัง การคิด และการฝึกฝนอบรม ในทำนองเดียวกัน เคนศักดิ์ ตันสิงห์ ก็ได้ศึกษาการเปรียบเทียบ Epistemology ในด้านปรัชญาต่างๆ เช่นกัน เช่นปรัชญาทางด้านตะวันตก มีนักปรัชญาหลายท่านที่ เคนศักดิ์ ตันสิงห์ ได้ยกมาอธิบายเกี่ยวกับญาณวิทยา ได้แก่ ปรัชญาของ โสเครติส (Socrates) ความรู้เกิดจากการคิดหาเหตุผล ปรัชญาของพลาโต (Plato) ความรู้เกิดจากการระลึกได้ ปรัชญาของอริสโตเติล (Aristotle) ความรู้เกิดจากคิดหาเหตุผล 2 แบบ คืออุปนัย และนิรนัย ปรัชญาของออกุสติน (St.Augustine) ความรู้เกิดจากอำนาจของตรีเอกานุภาพ คือบิดา บุตร และจิต เป็นต้น
ชัยวัฒน์ อัตวัฒน์ และปานทิพย์ ศุภนคร นักวิชาการด้านปรัชญาจากมหาวิทยาลัยรามคำแหงได้ให้ขอบเขตของญาณวิทยาในด้านความสัมพันธ์กับศาสตร์อื่นๆ ที่มีความเกี่ยวข้องอย่างไร ซึ่งศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับญาณวิทยามีอยู่กัน ได้แก่ อภิปรัชญา (Metaphysics) จิตวิทยา (Psychology) ตรรกศาสตร์ (Logic) และอัตถิภาวะนิยม (Existentialism) อีกทั้งยังได้ศึกษาเกี่ยวกับปัญหาทางญาณวิทยา 2 ปัญหาหลักๆ คือ ปัญหาเรื่องบ่อเกิดของความรู้ และปัญหาเรื่องธรรมชาติของความรู้สิ่งที่เรารู้คืออะไร
ความแตกต่างของญาณวิทยา (Epistemology) ในเรื่องสาขาของปรัชญาก็มีนักวิชาการที่ได้อธิบายแตกต่างกัน เช่น พรทิพา บรรทมสินธุ์ ได้อธิบายถึงญาณวิทยา (Epistemology) เป็นสาขาหนึ่งของวิชาปรัชญาเช่นเดียวกับอภิปรัชญา (Metaphysics) ตรรกวิทยา (Logic) และจริยศาสตร์ (Ethics) ในขณะที่ สมัคร บุราวาศ ได้กล่าวถึงอภิปรัชญา (Metaphysics) คือ ภววิทยา (Ontology) รวมกับญาณวิทยา (Epistemology) เช่นเดียวกับ เคนศักดิ์ ตันสิงห์ ก็ได้อธิบายถึงการแบ่งสาขาวิชาปรัชญาออกเป็น ภววิทยา (Ontology) ญาณวิทยา (Epistemology) และคุณวิทยา (Axiology)
การประเมินค่า (Evaluation)
ญาณวิทยาเป็นพื้นฐานของอภิปรัชญา เพราะญาณวิทยาว่าด้วยความรู้ อภิปรัชญาว่าด้วยความแท้จริง เราจะสืบค้นความแท้จริงไม่ได้ ถ้าไม่มีความรู้และพิสูจน์ความรู้นั้นว่าสมเหตุสมหรือไม่ คำตอบพื้นฐานของญาณวิทยามี 2 ข้อ ที่เป็นมูลบทของระบบปรัชญาและของการกำหนดความคิด การตัดสิน และการตีค่าในปัญหาอื่นๆต่อไปนั่นคือคำตอบของปัญหาว่า “ความเป็นจริงคืออะไร” และ”เรารู้ความเป็นจริงได้อย่างไร”
ความรู้จะต้องมีแหล่งเกิดได้เน้นในลักษณะความรู้โดยการทดลองและลักษณะของจิต โดยอาศัยเครื่องมือ ซึ่งผิดปกติธรรมดาไป แต่ความรู้ไม่เพียงใช้เครื่องทดลองเท่านั้น แต่ควรใช้สติใคร่ครวญให้รอบคอบด้วย เพราะไม่เพียงแต่จะรู้เรื่องโลกโดยอาศัยการทดลองและดัดแปลงปรับปรุงความรู้ให้เหมาะสมกับโลกอย่างมีประสิทธิผล แต่จะต้องใช้สติใคร่ครวญต่อกฎระเบียบของโลกด้วย ในทำนองเดียวกันก็ต้องพินิจพิจารณาในความสวยงาม ความปรองดองกัน ความเป็นเอกภาพของสิ่งทั้งปวง และรู้จักคุณค่าทางอุดมคติด้วย
ความรู้จะต้องมีแหล่งเกิดได้เน้นในลักษณะความรู้โดยการทดลองและลักษณะของจิต โดยอาศัยเครื่องมือ ซึ่งผิดปกติธรรมดาไป แต่ความรู้ไม่เพียงใช้เครื่องทดลองเท่านั้น แต่ควรใช้สติใคร่ครวญให้รอบคอบด้วย เพราะไม่เพียงแต่จะรู้เรื่องโลกโดยอาศัยการทดลองและดัดแปลงปรับปรุงความรู้ให้เหมาะสมกับโลกอย่างมีประสิทธิผล แต่จะต้องใช้สติใคร่ครวญต่อกฎระเบียบของโลกด้วย ในทำนองเดียวกันก็ต้องพินิจพิจารณาในความสวยงาม ความปรองดองกัน ความเป็นเอกภาพของสิ่งทั้งปวง และรู้จักคุณค่าทางอุดมคติด้วย
บรรณานุกรม
- กีรติ บุญเจือ. ปรัชญาเบื้องต้น พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช, 2521.
- กีรติ บุญเจือ. ปรัชญาสำหรับผู้เริ่มเรียน พิมพ์ครั้งที่ 7 กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช, 2533.
- เคนศักดิ์ ตันสิงห. ปรัชญาเบื้องต้นเรียน พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพฯ : ,มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2538.
- จักรฤทธิ์ อุทโธ เอกสารประกอบการบรรยายวิชาภูมิปัญญาและพฤติกรรมมนุษย์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 2546.
- ชัยวัฒน์ อัตพัฒน์. ปรัชญาเบื้องต้น พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2528.
- บุญมี แท่นแก้ว. ปรัชญา พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์, 2536.
- ปานทิพย์ ศุภนคร. ปรัชญาเบื้องต้น พิมพ์ครั้งที่ 11 กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2538.
- วิทย์ วิศวเวทย์. ปรัชญาทั่วไป (มนุษย์ โลก และความหมายของชีวิต) พิมพ์ครั้งที่ 8 กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์, 2531.
- สมัคร บุราวาศ. วิชาปรัชญา พิมพ์ครั้งที่ 4 กรุงเทพฯ : ศยาม, 2544.
- Piaget , Kean. Psychology and epistemology: Towards a theory of knowledge, 2nd ed. NewYork: The Vinking Press, Inc., 1971.
- Russell, Bertrand. Theory of Knowledge, 2nd ed. Conwall: T.J.Press, 1992.
- Sorell, Tom. Scientism: philosophy and the infatuation with science, 2nd ed. New York, 1994.
- พรทิพา บรรทมสินธุ์, http://classroom.psu.ac.th/users/bpornthi/895-321/Document%20upload1.htm, 25 Sep. 2003.
- http://lcc.gatech.edu:80/gallery/ rhetoric/terms/epistemology.html, 25 Sep. 2003.
- http://pibull.rip.ac.th/web/net13/philo51.html, 25 Sep. 2003.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น