วันเสาร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
ความหมายความแตกต่างระหว่างบุคคล (จิตวิทยาทั่วไป อ.สุธีรา เผ่าโภคสถิตย์:2543 หน้า 26-28)
มนุษย์เรามีความคล้ายคลึงกันอยู่หลายประการ เช่น ต่างก็มีความต้องการ มีความรู้สึก มีอารมณ์แต่ในขณะเดียวกันบุคคลแต่ละคนก็มีความแตกต่างจากคนอื่น ๆ ได้หลายประการ เช่น มีรูปร่างต่างกัน มีสีของตา สีของผมต่างกัน บางคนมีความฉลาดบางคนโง่เขลาแม้แต่คู่แฝดยังมี ความแตกต่างกัน เช่น แตกต่างกันในความคิดและอารมณ์ ฉะนั้นเราอาจกล่าวได้ว่า ไม่มีผู้ใดจะมีความเหมือนกันไปเสียทุกสิ่งทุกอย่าง มนุษย์ทุกคนในโลกนี้จึงมีความแตกต่างกันทั้งทางร่างกายและสิ่งแวดล้อมที่ต่างกันและความแตกต่างของมนุษย์จึงเป็นเรื่องที่บุคคลควรเข้าใจและศึกษาเพื่อให้เข้าใจเพื่อนมนุษ
วิวัฒนาการของการศึกษาเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล มีดังนี้
ความแตกต่างระหว่างบุคคลเป็นเรื่องที่ได้มีการรับรู้มาเป็นเวลานับตั้งแต่ เพลโต้ ( Plato ) ( 427 – 347 ก่อนคริสต์ศักราช ) นักปรัชญาชาวกรีก ได้เขียนไว้ในหนังสือชื่อ The Republic ว่าไม่มีบุคคลสองคนที่เกิดมาเหมือนกันไปเสียทุกอย่าง ต่อมาในศตวรรษที่สิบเก้า ผู้ที่ได้ศึกษาเรื่องราวของความแตกต่างระหว่างบุคคลอย่างเป็นวิทยาศาสตร์คือ เซอร์ ฟรานซิส กาลตัน ( Sir Francis Galton ) ซึ่งได้ศึกษาเรื่องราวของกรรมพันธุ์ ได้สรุปว่า สติปัญญาของแต่ละคนขึ้นอยู่กับพันธุกรรม และกาลตันยังกล่าวไว้ว่า ลายมือของคนเรายังมีความแตกต่างกันอีกด้วย
ในศตวรรษที่ยี่สิบ นักจิตวิทยาชาวอเมริกันชื่อ เจมส์ แมคคีน แคทเทลล์ ( James Mckeen Cattall ) ผู้เคยศึกษาร่วมกับ วิลเฮล์ม วุ้นส์ ( Wilhelm Wundt ) เรื่องจิตสำนึกของบุคคลต่อภาพที่เร้าในทันทีทันใดแคทเทลล์ได้ให้ความสนใจในด้านการวัดความแตกต่างระหว่างบุคคลและได้ริเริ่มออกแบบทดสอบการปฏิบัติงาน ( Perfor Mance Test )
ในเรื่องการวัดความแตกต่างทางจิตวิทยาที่สำคัญนี้เป็นผลงานของนักจิตวิทยาชาวฝรั่งเศส ชื่อแอสเฟรด บิเน่ท์ ( Alferd binet ) ซึ่งได้สร้างแบบทดสอบสติปัญญาร่วมกับนายแพทย์ ธีโอดอร์ ไซมอน( Theodore simon ) ให้ชื่อว่าแบบทดสอบ บิเน่ท์ – ไซมอน ใน ค.ศ. 1905 แบบทดสอบชนิดนี้มี30 ข้อและเน้นด้านความเข้าใจ การหาเหตุผล และการใช้วิจารณญาณของเด็กเพราะ บิเน่ท์ เห็นว่าสิ่งเหล่านี้เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของสติปัญญา บิเน่ท์ ใช้ทดสอบกับเด็กปกติจำนวน 50 คน อายุระหว่าง 3 – 11 ปี และเด็กปัญญาอ่อนจำนวนหนึ่ง เพื่อหาความสามารถเฉลี่ยของระดับอายุเด็กวิธีนี้เป็นการทดสอบสติปัญญาอย่างหยาบ ๆ เพราะถือว่าเด็กคนใดทำข้อทดสอบได้มากข้อ ก็มีสติปัญญาสูง แต่จะสูงเท่าใดไม่สามารถทราบได้ ต่อมาใน ค.ศ. 1908 แบบทดสอบนี้ได้รับการปรับปรุงโดยจัเป็นชุด ๆ ตามอายุของเด็กระหว่าง 3 – 13 ปี และเพิ่มคำถามให้มากขึ้น คะแนนที่เด็กได้รับจะแสดงถึงระดับความสามารถของเด็ก เมื่อเทียบกับเกณฑ์เฉลี่ยของเด็กที่มีอายุเท่า ๆ กันการเปลี่ยนแปลงแก้ไข ครั้งที่สองกระทำใน ค.ศ. 1911 และใช้ได้กับเด็กอายุวัย 3 ปีไปจนถึงวัยผู้ใหญ่ภายหลังได้มีผู้นำเอาแบบทดสอบของบิเน่ท์ไปปรับปรุงที่สำคัญคือ นักจิตวิทยาชื่อเทอร์แมน ( Termen ) แห่งมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด สหรัฐอเมริกาได้นำแบบทดสอบไปปรับปรุง และเรียกชื่อว่าแบบทดสอบสแตนฟอร์ด - บิเน่ท์ ใน ปี ค.ศ. 1916 จากแบบทดสอบนี้เทอร์แมน ได้นำอัตราส่วนของเชาว์ปัญญาหรือ IQ มาใช้เป็นครั้งแรก จากนั้นเทอร์แมนได้ร่วมมือกับเมอร์ริล ( Merrill ) ทำการดัดแปลงทดสอบซึ่ง ภายหลังบรรดาแบบทดสอบเชาว์ปัญญาส่วนใหญ่ได้พัมนามาจากแบบทดสอบที่เทอร์แมนและเมอร์ริลช่วยกันพัฒนามาจากนั้นจนถึงปัจจุบัน ได้มีผู้นำเอาเอกสารการทดสอบทางจิตวิทยามาใช้ประเมินความแตกต่าง ระหว่างบุคคลอย่างกว้างขวางไม่ว่าจะเป็นในวงการทหารวงการศึกษาวงการธุรกิจ ศูนย์แนะแนวอาชีพ ศูนย์สุขภาพจิต และโรงพยาบาลต่าง ๆ ในบทนี้มุ่งที่จะกล่าวถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลในด้านที่สำคัญสองด้านคือ บุคลิกภาพ และสติปัญญา เพื่อนำมาใช้เป็นแนวทางในการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างกันของมนุษย์
สาเหตุที่ทำให้บุคคลแตกต่างกัน
นักจิตวิทยาและนักการศึกษาเชื่อว่า ความแตกต่างระหว่างบุคคลเป็นผลมาจากพันธุกรรม และสิ่งแวดล้อม ถ้าความดีเลวเกิดจากพันธุกรรม สิ่งที่ควรทำคือ ควรปรับปรุงชาติพันธุ์ของเราให้ดียิ่งๆ ขึ้น แต่ถ้ามนุษย์เป็นผลมาจากสิ่งแวดล้อม สิ่งที่ควรปรับปรุงก็ได้แก่ สิ่งแวดล้อมรอบตัวเราทำให้ดีขึ้นเหมือนกับชาวนาถ้าต้องการให้ผลิตผลบังเกิดขึ้นอย่างงอกงามก็ต้องอาศัยการดูแลรักษาที่ดินให้สมบูรณ์และรู้จักเลือกใช้เมล็ดพันธุ์ที่ดี พืชแม้จะมีสายพันธุ์ที่ดี ถ้าปลูกในดินไม่ดี ดินไม่มีปุ๋ยพืชย่อมจะไม่ได้ผลผลิตดี ทำนองเดียวกันพื้นดินแม้จะดีเพียงใด ถ้าพืชพันธุ์ไม่ดี พืชพันธุ์อ่อนแอ พันธุ์พืชไม่สามารถทดต่อโรคและแมลง ก็ย่อมจะไม่ได้รับผลผลิตที่ดีเท่าที่ควร
ทฤษฎีความแตกต่างระหว่างบุคคล (Socialscience [Engine by iGetWeb.com 28ธันวาคม 2553)
ทฤษฎีนี้ได้รับการพัฒนามาจากแนวความคิดเรื่องสิ่งเร้าและการตอบสนอง (stimulus-response) หรือทฤษฎี เอส-อาร์ (S-R theory) และนำมาประยุกต์ใช้ (Defleur, 1989, p. 173) อธิบายว่า บุคคล มีความแตกต่างกันหลายประการ เช่น บุคลิกภาพ ทัศนคติ สติปัญญา และความสนใจ เป็นต้น และความแตกต่างนี้ยังขึ้นอยู่กับสภาพทาง สังคมและวัฒนธรรมทำให้มีพฤติกรรมการสื่อสารและการเลือกเปิดรับสารที่แตกต่างกัน
หลักการพื้นฐานเกี่ยวกับทฤษฎีนี้ที่สำคัญคือ
1. บุคคลมีความแตกต่างกันในด้านบุคลิกภาพและสภาพจิตวิทยา
2. ความแตกต่างกันดังกล่าวนี้เป็นเพราะบุคคลมีการเรียนรู้
3. บุคคลที่อยู่ต่างสภาพแวดล้อมกันจะได้รับการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน
4. การเรียนรู้จากสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันทำให้บุคคลมีทัศนคติ ค่านิยม ความเชื่อถือ และบุคลิกภาพที่แตกต่างกัน
สุรพงษ์ โสธนะเสถียร.(2533).การสื่อสารกับสังคม.กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Defleur, M. (1989). Theories of mass communication (5 th ed.). New York: Longman.
ทั้งนี้ในการศึกษาปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องพบว่ามีปีจจัย 2 ประการ เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องกับการยอมรับการสื่อสารของผู้รับสารคือ (สุรพงษ์ โสธนะเสถียร,2533,หน้า 60-67)
1. ปัจจัยแวดล้อมทางสังคมที่มีวัฒนธรรมแตกต่างกันย่อมจะมองหรือจะยอมรับข้อมูลในการสื่อสารแตกต่างกันไป
2. ปัจจัยส่วนบุคคลมีผลทำให้การยอมรับข้อมูลในการสิ่อสารแตกต่างกันเช่น ด้านประชากร (demographics) ได้แก่ อายุ เพศ สภาพทางเศรษฐกิจและสังคม หรือด้าน จิตวิทยา (psychographics) ได้แก่ แบบแผนการดำเนินชีวิต (lift style) หรือด้านการเปิดรับสื่อที่ไม่เหมือนกัน ก็มีผลทำให้บุคคลมีความชื่นชอบไม่เหมือนกันได้
แนวคิดเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล (individual differences theory) ได้นำมาเป็นตัวแปรในการศึกษาวิจัยครั้งนี้บนพื้นฐานความคิดที่ว่า เพศ อายุ รายได้ ที่แตกต่างกันทำให้มีผลต่อความพึงพอใจในการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนแตกต่างกัน และความแตกต่างในเรื่องทัศนคติ ค่านิยม ความเชื่อ น่าจะมีผลต่อความพึงพอใจในการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนได้เช่นกัน
ทฤษฎีความแตกต่างระหว่างบุคคล (จิตวิทยาทั่วไป อ.สุธีรา เผ่าโภคสถิตย์:2543 หน้า (28-29)
ทฤษฎีความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual Differences Theory) ได้รับการพัฒนามาจากแนวความคิดเรื่องสิ่งเร้าและการตอบสนอง (Stimulus-Response) หรือทฤษฎี เอส-อาร์ (S-R theory) ของกาเย่(Gagne)และนำมาประยุกต์ใช้ (Defleur, 1966) อธิบายว่า บุคคลมีความแตกต่างกันหลายประการ เช่น บุคลิกภาพ ทัศนคติ สติปัญญา และความสนใจ เป็นต้น
ความแตกต่างนี้ยังขึ้นอยู่กับสภาพทางสังคมและวัฒนธรรมทำให้มีพฤติกรรมการสื่อสารและการเลือกเปิดรับสารที่แตกต่างกัน ได้แก่
1) มนุษย์เรามีความแตกต่างกันมากในองค์ประกอบทางจิตวิทยาส่วนบุคคล
2) ความแตกต่างนี้บางส่วนมาจากลักษณะแตกต่างทางชีวภาค หรือทางร่างกายของแต่ละบุคคล แต่ส่วนใหญ่แล้วจะมาจากความแตกต่างที่เกิดจากการเรียนรู้
3) มนุษย์ซึ่งถูกชุบเลี้ยงภายใต้สภาพการณ์ต่างๆ จะเปิดรับความคิดเห็นแตกต่างกันไป
4) การเรียนรู้สิ่งแวดล้อมทำให้เกิดทัศนคติ ค่านิยม และความเชื่อที่รวมเป็นลักษณะทางจิตวิทยาส่วนบุคคลที่แตกต่างกันไป
ทฤษฎีพัฒนาการ
ทฤษฎีพัฒนาการของเพียเจท์
ได้อธิบายว่าการพัฒนาสติปัญญาและความคิดของผู้เรียนนั้น เกิดจากการปรับตัวกับสิ่งแวดล้อม และผู้สอนควรจะต้องจัดสภาพแวดล้อมทางการเรียนการสอน ให้สอดคล้องกับความพร้อมของผู้เรียนด้วย
ทฤษฎีพัฒนาการของบรูนเนอร์
มีแนวคิดว่าความพร้อมของเด็กสามารถจะปรับได้ ซึ่งสามารถจะเสนอเนื้อหาใดๆ แก่เด็กในอายุเท่าใดก็ได้แต่จะต้องรู้จักการจัดเนื้อหา และวิธีการสอนที่เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็กเหล่านั้น ดังนั้นผู้สอนจึงจำเป็นจะต้องเข้าใจเด็ก และรู้จักกระตุ้นโดยการจัดสภาพการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับความต้องการของเด็ก
ทฤษฎีพัฒนาการของอิริคสัน
มีแนวคิดว่า การพัฒนาการทางบุคลิกภาพย่อมขึ้นอยู่กับการปฏิสัมพันธ์ระหว่างอินทรีย์กับสภาพสังคมที่มีอิทธิพลมาเป็นลำดับขั้นของการพัฒนาและจะสืบเนื่องต่อๆไป เด็กที่มีสภาพสังคมมาดีก็จะมีผลต่อการพัฒนาบุคลิกภาพที่ดีด้วย ดังนั้นผู้สอนควรจะสร้างสัมพันธภาพกับผู้เรียนให้ความสนใจเพื่อแก้ปัญหาค่านิยมบางประการ
ทฤษฎีพัฒนาการของกีเซล
มีแนวคิดว่าพฤติกรรมของบุคคลจะขึ้นอยู่กับพัฒนาการซึ่งจะเป็นไปตามธรรมชาติและเมื่อถึงวัยก็สามารถกระทำพฤติกรรมต่างๆได้เอง ไม่จะเป็นต้องฝึกหรือเร่งเมื่อยังไม่พร้อม ในการจัดการเรียนการสอนผู้สอนจะต้องคำนึงถึงความพร้อม ความสามารถ ความสนใจ และความต้องการของผู้เรียน
ความสำคัญของความแตกต่างระหว่างบุคคล
ความแตกต่างระหว่างบุคคลทำให้เราเข้าใจเพื่อนมนุษย์มากยิ่งขึ้นและเข้าใจธรรมชาติของแต่ละคนไม่เหมือนกัน ดังนั้นจะให้บุคคลอื่นคิดอย่างที่เราคิดหรือทำอย่างที่เราทำไม่ได้ ทุกคนมีพันธุกรรมที่แตกต่างกันมีสิ่งแวดล้อมที่ต่างกันได้รับประสบการณ์ต่างๆ ที่เหมือนๆกันแต่ไม่ได้หมายความว่าบุคคลต้องตัดสินใจในเรื่องเดียวกันเหมือนกันทั้งก็มาจากความแตกต่างระหว่างบุคคล ยอมรับความต่างของกันและกันเลือกปฏิบัติในสิ่งที่ดีๆให้กันและกัน
พันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม (จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ลักขนา สริวัฒน์
2544 หน้า 22-23)
มนุษย์แต่ละคนย่อมมีความแตกต่างกันในหลายๆ ด้าน ทั้งที่เป็นความแตกต่างภายนอก ได้แก่รูปร่าง
หน้าตา สีผิว สีผม ฯลฯ และทั้งที่เป็นความแตกต่างภายใน ได้แก่ ความคิด เจตคติ ความต้องการ เป็นต้น
ความแตกต่างระหว่างบุคคลดังกล่าวเป็นผลมาเนื่องจากสาเหตุที่สำคัญ คือ พันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม ดังนั้น หากต้องการจะเข้าใจบุคคลได้ดีจึงควรทำความเข้าใจในเรื่องพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมอย่างถ่องแท้ด้วย
จุดเริ่มต้นของชีวิต (จิตวิทยาทั่วไป อ.สุธีรา เผ่าโภคสถิตย์:2543 หน้า 26-28)
เมื่อชายหญิงมีเพศสัมพันธ์กัน เซลล์สืบพันธุ์ของชายเรียกว่า Sperm จำนวนหนึ่งจะแหวกว่ายไปตามส่วนต่างๆของมดลูกของหญิง ถ้าเป็นระยะที่ฝ่ายหญิงตกไข่ Sperm ตัวที่ว่ายไปพบไข่ก่อนจะแทรกส่วนหันเข้าไปในเยื่อหุ้มไข่ และเกิดเยื่อหุ้มเซลล์ไข่ที่แข็งแรงขึ้น เป็นการป้องกันไม่ให้ Sperm ตัวอื่นแทรกเข้าไปได้อีก การรวมตัวของเซลล์สืบพันธุ์ทั้งสอง คือ Sperm และไข่ (Ovum) จะได้เซลล์ใหม่ขึ้น
ใน 2-3 หลังการปฏิสนธิ ชีวิตใหม่ที่เกิดขึ้นนั้นเรียกว่า ไซโกต (Zygote) หลังการปฎิสนธิไซโกตจะค่อยๆ เคลื่อนที่มาตามท่อนำไข่ไปฝังตัวลงกับผนังมดลูก ขณะที่เคลื่อนที่นั้น จะเกิดการแบ่งเซลล์แบบ
ไมโตซิส(Meitosis) ซึ่งมีหลักการสรุปได้ว่า เซลล์เดิมจะสร้างโครโมโซมใหม่ที่มีลักษณะเดิมเสียก่อน
แล้วจึงแบ่งเซลล์แบบทวีคูณ คือ แบ่งจาก 1 เป็น 2 เป็น 4, 8, 16... การแบ่งเซลล์แบบนี้ทำให้สารที่มีอยู่ในโครโมโซมแต่ละเซลล์มีลักษณะเหมือนกันมาก ในช่วงที่ยังเป็นไซโกตอยู่นี้ การแบ่งเซลล์ดังกล่าวยังไม่มีการแบ่งเฉพาะที่ใดที่หนึ่ง เพื่อให้เป็นอวัยวะต่างๆ
ระยะต่อจากไซโกต เป็นระยะที่เราเรียกสิ่งมีชีวิตใหม่นี้ว่า เอ็มบริโอ (Embryo) ซึ่งเอ็มบริโอนี้จะ
ลอยตัวอยู่ในถุงของเหลว คือ ถุงน้ำคร่ำ (Amniotc Sac) น้ำคร่ำรักษาอุณภูมิของตัวอ่อนและเป็นตัวกัน
การสั่นสะเทือนของตัวอ่อน ระยะของตัวอ่อนนี้จะใช้เวลา 8 สัปดาห์ (Endoderm) จะเจริญไปเป็นอวัยวะภายใน เช่น สมอง หัวใจ ตับ ฯลฯ เนื้อเยื่อชั้นกลาง (Mesoderm) จะเจริญไปเป็นกล้ามเนื้อ กระดูก
หลอดเลือด และเลือด ส่วนเนื้อเยื่อชั้นนอก (Ectoderm) จะเจริญเป็นผิวหนังและระบบประสาทรับสัมผัส
ระยะต่อมาเรียกว่า ฟิตัส (Fetus) เป็นระยะที่ทารกในครรภ์จะเจริญขึ้นเรื่อยๆ ทั้งเพิ่มเติมในราย
ละเอียดและพัฒนาทางด้านขนาดของร่างกาย เช่น ช่วง 4-6 เดือน อวัยวะภายในจะได้รับการสร้างให้สมบูรณ์
ขึ้นและเริ่มทำงานอายุ 5 เดือน ผู้เป็นแม่จะรู้สึกว่าทารกเคลื่อนไหวอายุ 6 เดือน สามารถลืมตาได้ ขยับแขนขาได้ มีการหลับตื่น ในช่วงอายุ 7-9 เดือน ทารกจะเติบโตมากขึ้นเด็กจะไม่อยู่นิ่งๆ มีการเตะ ขยับตัว หมุนตัว
สะอึก และจาม ในเดือนที่ 9 คือ เดือนสุดท้ายของการอยู่ในครรภ์ ไขมันจะจับตามลำตัว ผมและเล็บจะเกิดขึ้น จนในที่สุดก็ครบกำหนดคลองซึ่งโดยทั่วไประยะเวลาในการตั้งครรภ์ของมนุษย์ คือ ประมาณ
280 วัน หรือ 9 เดือน
จากพัฒนาการของตัวอ่อนในครรภ์ (Prenatal Development) จะพบว่า เมื่อทารกในครรภ์มีอายุถึงเดือนที่ 3 อวัยวะ เพศจะปรากฏและสามารถบอกได้ว่าเป็นเพศหญิงหรือชาย ซึ่งเกียวกับเพศทารกที่จะเกิดใหม่นี้อาจอธิบายให้ทราบโดยสังเขปดังนี้คือ
ภายในนิวเคลียส (Nucleus) ของเซลล์ปกติของมนุษย์ 1 เซลล์ จะมีโครโมโซมซึ่งมีลักษณะคล้ายเส้นด้ายเป็นท่อนๆ มีจำนวน 46 โครโมโซมหรือ 23คู่ โครโมโซมทั้ง 23คู่ดังกล่าว แบ่งออกเป็น 2 ประเภท
คือ Autosme จำนวน 22 คู่ ทำหน้าที่ให้ยีนส์ (Genes) ซึ่งเป็นตัวบันทึกลักษณะต่างๆ ของผู้เป็นเจ้าของเกาะอยู่และโครโมโซมที่เหลืออีก 1 คู่ เรียกว่า Sex Chromosome เป็นโครโมโซมแสดงลักษณะเพศชายและหญิงจะมีโครโมโซมคู่นี้แตกต่างกัน นักวิทยาศาสตร์ให้ชื่อโครโมโซมเพศชายว่า xy และของหญิงว่า xx ดังนั้น
ในเซลล์ปกติของชาย จึงมีลักษณะโครโมโซมเป็น 44 + xy และในเซลล์ปกติของเพศหญิงมีลักษณะโครโมโซมเป็น 44 + xx
จากการแบ่งเซลล์แบบไมโอซิส (Meiosis) ซึ่งมีหลักการสรุปโดยว่า ผลของการแบ่งเซลล์แบบนี้จะได้เซลล์สืบพันธุ์แต่ละเซลล์ที่มีคุณลักษณะของยีนส์ที่อยู่ในโครโมโซมแตกต่างกัน ดังนั้นเซลล์สืบพันธุ์จึงมีโครโมโซมคือ Ovum มี 22 + x และ Sperm บางเซลล์มี 22 + y เมื่อเป็นเช่นนี้เพสของทารกจึงขึ้นอยู่กับ Sperm ตัวใดจะมีโอกาสรามตัวกับ Ovum ถ้า Sperm ตัวที่มี 22 + x รวมกับ Ovum จะได้เซลล์ ปฏิสนธิ
44 + xx ซึ่งหมายความว่า ทารกจะเป็นเพศหญิงแต่หากว่า Sperm ตัวที่มี 22 + y รวมกับ Ovum จะได้เซลล์ปฏิสนธิเป็น 44 + xy ซึ่งก็หมายความว่าทารกจะเป็นเพศชาย
โดยปกติมนุษย์จะตั้งครรภ์มีตัวอ่อนครั้งละ 1 เท่านั้น ถ้าตังครรภ์แล้วมีตัวอ่อนมากกว่า 1 ถือว่าเป็นการตั้งครรภ์ผิดปกติ กล่าวคือ ถ้ามีไข่ถูกผสมมากว่าหนึ่งใบ จะเกิดการปฏิสนธิซ้อน ไข่สองใบที่ได้รับ
การผสมจากอสุจิสองตัว จะให้ลูกแฝดเทียม (Frateranl Twins) ซึ่งจะมีลักษณะทางพันธุกรรมไม่เหมือนกันเพราะเกิดจากเซลล์ที่ต่างกัน แต่ถ้าไข่ใบหนึ่งได้รับการผสมแล้วเกิดการผิดปกติในการแบ่งเซลล์ คือ แทนที่เซลล์เกาะกันเป็นกลุ่มเดียว กลับแยกเป็น 2 กลุ่ม ซึ่งแต่ละกลุ่มก็พัฒนาเป็นทารก 2 คน แฝดแบบนี้จะเป็นแฝดแบบแท้ (Identical Twins) มีลักษณะทางพันธุกรรมเหมือนกันทุกประการเช่น เพศ รูปร่าง หน้าตา กลุ่มเลือด ฯลฯ ในกรณีที่ทารกแฝดยังไม่แยกตัวจากันโดยเด็จขาด มีส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายติดกัน เราเรียกว่าแฝดสยาม (Siamese Twins) เช่นฝาแฝด อิน – จัน เป็นต้น ในจำนวนแฝดทั้งหมดมีเพียง 1/3 เท่านั้น
ที่เป็นฝาแฝด การเกิดลูกแฝดมีโอกาส 1 ใน 90 ครั้งของเด็กที่คลอดออกมา การมีแฝดสามมีโอกาส 1 ใน 9,000 ครั้ง และแฝดสี่มีโอกาส 1 ใน 500,000 ครั้ง
พันธุกรรม ( Heredity ) (จิตวิทยาทั่วไป อ.สุธีรา เผ่าโภคสถิตย์:2543 หน้า( 28-30)
พันธุกรรม หมายถึง สิ่งที่ถ่ายทอดจากบรรพบุรุษไปสู่ลูกหลาน ให้เป็นมรดกติดตัวมาพร้อมกับการเริ่มกำเนิดชีวิต ด้วยกระบวนการทางชีววิทยา ( Biologicl Transmission ) และอาศัยยีนส์ ( genes ) เป็นตัวนำสิ่งที่ได้รับถ่ายทอดมาดังกล่าว เป็นปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อการดำรงชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพัฒนาการและพฤติกรรมของแต่ละบุคคล
สิ่งที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมมีทั้งลักษณะทางกายและลักษณะทางจิตตลอดจนสมอง ลักษณะทางกายได้แก่ ลักษณะทางเพศ รูปร่าง สีผิว สีผม สีตา ลักษณะเส้นผม ลักษณะใบหน้า ตาชั้นเดียว ตาสองชั้น กลุ่มเลือด ศีรษะล้าน ตาบอดสี โรคลมชัก โรคฮีโมฟีเรีย ( Hemophilia ) เป็นต้น ส่วนลักษณะทางจิตและสมอง ได้แก่ อารมณ์ ความถนัด เชาวน์ปัญญา
ดังได้กล่าวแล้วว่า ยีนส์เป็นตัวนำลักษณะพันธุกรรม ในที่นี้จะอธิบายลักษณะและหน้าที่ของยีนส์โดยสังเขป
ยีนส์ เป็นสารทางชีวเคมีที่ซับซ้อนอยู่ในโครโมโซม โครโมโซมประกอบไปด้วยโมเลกุลของสารที่เรียกว่า DNA ( Deoxyribonucleic Acid ) สารนี้มีคุณสมบัติในการสร้างสาร DNA อันใหม่ให้เหมือนกับตัวเองได้และยังเป็นแบบให้แก่สาร RNA ( Ribonucleic Acid ) ซึ่งทำหน้าที่ในการสร้างส่วนที่เป็นโปรตีนของร่ากาย DNA ของแต่ละบุคคลจะแตกต่างกันไปตามลักษณะและโครงสร้างของบุคคลนั้น DNA เป็นส่วนประกอบของยีนส์ ซึ่งทำหน้าที่กำหนดลักษณะต่างๆ ของบุคคล ในเซลล์สืบพันธุ์แต่ละเซลล์จะมียีนส์จำนวนประมาณ 40,000-60,000 ยีนส์ ดังนั้นในเซลล์ปฏิสนธิที่จะพัฒนาเป็นทารกแต่ละคนจะได้รับการถ่ายทอดลักษณะจากบิดามารดารวมกัน จำนวนประมาณ 80,000-120,000 ยีนส์ และในกระบวนการสร้างเซลล์สืบพันธุ์นั้นยีนส์ไมโคโซมหนึ่ง อาจถ่ายทอดไปสู่ยีนส์ในโครโมโซมที่คู่ขนานกันได้ เรียกว่า การถ่ายทอดข้ามของยีนส์ ( Crossing-over Genes ) ซึ่งลักษณะนี้จะทำให้เพิ่มความแตกต่างของยีนส์ในเซลล์สืบพันธุ์มากขึ้น
เมื่อเกิดการปฏิสนธิ โครโมโซมของพ่อและแม่จะมารวมจับคู่กัน และถึงแม้ว่าลักษณะของพ่อแม่จะได้รับการถ่ายทอดไปยังลูกโดยยีนส์ แต่ลูกก็ไม่ได้ถอดแบบพ่อแม่มาได้ทั้งหมด ทั้งนี้เพราะยีนส์ทำงานเป็นคู่โดยมาจากพ่อ 1 และแม่ 1 การรวมตัวกันของยีนส์นี้อาจจะได้ผลทำให้ลูกมีลักษณะไม่เหมือนพ่อหรือแม่ก็ได้ แต่อาจมีส่วนคล้ายคลึงกับบรรพบุรุษแทน กล่าวคือ ยีนส์กำหนดลักษณะบางอย่างมีอิทธิพลข่มยีนส์กำหนดลักษณะที่มีอิทธิพลน้อยกว่าไม่ให้ปรากฏออกมาชัดเจน ยีนส์ที่สามารถจะข่มยีนส์อื่นได้ เรียกว่า ยีนส์ลักษณะเด่น ( Dominant ) ส่วนยีนส์ที่ถูกข่มไม่ให้ปรากกฎลักษณะออกมานั้นเรียกว่า ยีนส์ลักษณะด้อย ( Recessive ) ซึ่งยีนส์ลักษณะด้อยนี้ จะปรากฏออกมาให้เห็นได้ต่อเมื่อยีนส์ลักษณะด้อยจับคู่กันเท่านั้น สำหรับตัวอย่างของยีนส์ลักษณะด้อย ได้แก่ ตาสีฟ้า ผมสีทอง ผลเหยีอดตรง สีผิวเผือก ( Albino ) เป็นต้น นอกจากนี้ยังมียีนส์ลักษณะด้อยบางอย่างที่แฝงอยู่ในโครโมโซมเพศ โดยเฉพาะโครโมโซม x เช่น ยีนส์ ตาบอดสี ศีรษะล้าน โรคฮีโมฟีเรีย ( Hemophilia )
ในการศึกษาเกี่ยวกับการถ่ายทอดพันธุกรรมอันเกี่ยวกับยีนส์ลักษณะเด่นและลักษณะด้อยนั้น มีศัพท์ 2 คำที่ควรทำความเข้าใจคือ คำว่า Genotype และ Phenotype
Genotype หมายถึง ลักษณะต่าง ๆ ของยีนส์ที่บุคคลมีอยู่ตามปกติ แม้สิ่งแวดล้อมเปลี่ยนไปก็ไม่ทำให้ Genotype ของบุคคลเปลี่ยนไป เช่น หญิงที่มีตาชั้นเดียวย่อมมียีนส์บันทึกลักษณะตาชั้นเดียว แม้ว่าหญิงนั้นจะไปทำศัลยกรรมตกแต่งเป็นตาสองชั้นก็ตาม
Phenotype หมายถึง ลักษณะที่ปรากฏภายนอก เช่น เด็กชายแดงได้รับยีนส์ตาสีดำจากพ่อและยีนส์ตาสีฟ้าจากแม่ ดังนั้น Genotype สำหรับสีนัยน์ตาของแดงจะเป็นสีดำ-ฟ้า แต่เนื่องจากยีนส์ตาสีดำเป็นยีนส์ลักษณะเด่น จึงมีคุณสมบัติข่มยีนส์ตาสีฟ้าซึ่งเป็นยีนส์ลักษณะด้อย ดังนั้น แดงจึงมี Phenotype เป็นตาสีดำ
อัตราส่วนของ Genotype และ Phenotype ที่ปรากฏเนื่องจากกระบวนการถ่ายทอดทางพันธุกรรมนั้น ขึ้นอยู่กับยีนส์ลักษณะเด่นลักษณะด้อยของบิดามารดาดังตัวอย่างตามตารางต่อไปนี้
หมายเหตุ
1. ตัวอักษรที่เป็นตัวใหญ่ เช่น HH เป็นสัญลักษณ์ที่ใช้แทนลักษณะเด่นทั้งคู่ ตัวอักษรเล็ก เช่น hh ใช้แทนลักษณะด้อยทั้งคู่ อักษรปนกัน เช่น Hh หมายความว่ามีลักษณะเด่นและลักษณะด้อยอยู่ด้วยกัน ลักษณะของยีนส์ที่จับกันเป็นคู่ เรียกว่า อัลลีลส์ ( Alleles ) ถ้าคู่ของยีนส์มีลักษณะเดียวกัน เช่น HH หรือ hh เรียกว่า ยีนส์อยู่ในสภาพ Homozygous แต่ถ้าคู่ของยีนส์มีรูปต่างกัน เช่น Hh เรียกว่า ยีนส์อยู้ในสภาพ Heterozygous
2. ลักษณะภายนอก ( Phenotype ) ของบุคคลที่เรามองเห็นนั้น เป็นการแสดงถึงลักษณะของยีนส์ ( Genotype ) ของเขาเพียงบางส่วนเท่านั้น ยีนส์ของเขาทั้งหมดสามารถถ่ายทอดไปให้ลูกหลานได้
ในกรณีที่บุคคลมีความผิดปกติอันเกิดจากยีนส์ ( Genetic Defects ) จะเป็นสามารถหนึ่งที่ทำให้บุคคลนั้นเป็นปัญญาอ่อนและตายตั้งแต่ยังอยู่ในวัยเด็ก จากการวิจัยพบว่า ความผิดปกติทางยีนส์ส่วนใหญ่ มีสาเหตุจากยีนส์ลักษณะด้อย ตัวอย่างของโรคที่เกิดจากความผิดปกติของยีนส์ เช่น Down’Syndrome ( Mongolism ) เด็กจะมีอาการปัญญาอ่อน มีลักษณะทางกายผิดปกติ คือ ตาเฉียงขึ้น หน้าและจมูกแบน ตัวเตี้ย แขนขาสั้น โรค Sickel-cell anemia พบมากในหมู่ชาวอัฟริกัน โรคนี้เกิดจากยีนส์ด้อยเมื่ออยู่ในสภาพโฮโมไซกัตทำให้ลักษณะเม็ดเลือดแดงแบนเรียวผิดปกติไปมาก ซึ่งมีผลกระทบต่อการนำพาออกซิเจน ทำให้เด็กถึงแก่ความตายได้ในที่สุด นอกจากนี้เด็กที่เป็น PKU ( Phenylketonuria ) จะขาดเอ็นไซม์ที่ช่วยละลาย Phenylalanine ซึ่งมีมากในอาหารประเภทโปรตีนสูง เช่น นม ดังนั้น Phenylalanine จึงจะสะสมอยู่ในร่างกายและทำอันตรายต่อสมองตลอดจนระบบประสาท เซลล์สมองถูกทำลาย เด็กจะเป็นคนปัญญาอ่อนอย่างร้ายแรง มีความผิดปกติทางผิวหนัง ผมสีจาง ( Discoloration ) และมีอาการชัก
อิทธิพลของพันธุกรรม
พันธุกรรมมีอิทธิพลต่อมนุษย์ในหลาย ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นรูปร่าง หน้าตา สติปัญญา สภาพจิต อารมณ์ บุคลิกภาพ ตลอดจนพฤติกรรม ดังนั้น พันธุกรรมจึงเป็นสาเหตุสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้มนุษย์มีความแตกต่างกัน กล่าวได้ว่า พันธุกรรมช่วยให้บุคคลสามารถสืบสายเชื้อสายบรรพบุรุษทั้งด้านร่างกายและจิตใจ เป็นตัวที่มีบทบาทต่อพัฒนาการและความเจริญเติบโตของบุคคลในด้านต่าง ๆ อันจะเป็นพื้นฐานนำไปสู่การแสดงออกของพฤติกรรม
หากจะพิจารณาถึงอิทธิพลของพันธุกรรมที่มีต่อบุคคล อาจพิจารณาได้ 3 ทาง คือ ทางกาย วาจา ทางสติปัญญา และทางอารมณ์
1. อิทธิพลของพันธุกรรมที่มีต่อลักษณะทางกาย อิทธิพลด้านนี้จะเห็นได้ชัดเจนมากกว่าด้านอื่นโดยจะดูได้ 1.1 ลักษะรูปร่างสัดส่วนทั่วไป เช่น สีผิว สีตา สีผม ความสูง ความเตี้ย ของร่างกาย ลักษณะจมูก เป็นต้น
1.2 ลักษณะการทำงานของร่างกาย เช่น การเริ่มมีประจำเดือนครั้งแรก ระยะการมีประจำเดือน ความสามารถในการเดินเป็นครั้งแรก เป็นต้น
1.3 ความบกพร่องทางกายและโรคภัยไข้เจ็บบางอย่าง เช่น ศีรษะล้าน ตาบอดสี โรคลมบ้าหมู เบาหวาน 1.4 ความผิดปกติของจำนวนโครโมโซม เช่น พวก Klinefekter’s Syndrome เป็นเพศชายซึ่งมีโครโมโซมผิดปกติแบบ XXY มักเป็นหมัน พวก Turner’s Syndrome มีโครโมโซมแสดงเพศหญิงเพียงชิ้นเดียว และมักเป็นหมันเช่นกัน
1.5 ชนิดของกลุ่มเลือด ทารกที่เกิดใหม่จะต้องมีกลุ่มเลือดที่สัมพันธ์กับกลุ่มเลือดของพ่อ-แม่ ดังนี้
กลุ่มเลือดของพ่อ
กลุ่มเลือดของแม่
O
A
B
AB
O
A
B
O
O,A
O,B
A,O
O,A
O,A,B,AB
B,O
O,A,B,AB
O,B
A,B
A,B,AB
A,B,AB
AB
A,B
A,B,AB
A,B,AB
A,B,AB
2. อิทธิพลของพันธุกรรมที่มีผลต่อลักษณะทางอารมณ์ เมื่อมีการเปรียบเทียบกับบรรดาลักษณะต่าง ๆ ที่สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้นั้น จะพบว่าลักษณะทางอารมณ์น่าจะเป็นเรื่องที่ศึกษาได้ยากที่สุด อย่างไรก็ตาม นักจิตวิทยาลงความเห็นว่า พันธุกรรม มีอิทธิพลต่อลักษณะทางอารมณ์อย่างแน่นอนอารมณ์บางอย่าง เช่น ความร่าเริงแจ่มใส ความเจ้าทุกข์ อารมณ์เห่านี้เชื่อกันว่ามีแนวโน้มมาจากพันธุกรรมและจากการศึกษากรณีของเด็กฝาแฝดจากไข่ใบเดียวกัน คือ ฝาแฝดแท้ ซึ่งเราทราบดีว่าจะมีลักษณะทางพันธุกรรมเหมือนกันนั้น พบว่ามีปฏิกิริยาต่างกัน นอกจากนี้ยังพบอีกว่าแม้เด็กที่ได้รับการเลี้ยงดูภายใต้สิ่งแวดล้อมเดียวกัน ก็ยังมีลักษณะทางอารมณ์แตกต่างกัน สิ่งเหล่านี้ย่อมเป็นข้อแสดงว่าพันธุกรรมมีอิทธิพลต่อลักษณะทางอารมณ์
3. อิทธิพลของพันธุกรรมที่มีผลต่อสติปัญญา เป็นที่ยอมรับกันว่า สติปัญญาของมนุษย์นั้น ส่วนหนึ่งขึ้นอยู่กับข้อมูลทางพันธุกรรม ดังนั้น คนทีมีพันธุกรรมคล้ายคลึงกันก็ควรจะมีสติปัญญาคล้ายคลึงกันด้วย เหมือนอย่างที่เรามักได้ยินอยู่เสมอว่า ถ้าพ่อแม่เป็นคนฉลาด ลูกก็มักจะฉลาดด้วย ในทางตรงข้ามถ้าพ่อแม่เป็นคนโง่ มีสติปัญญาในระดับต่ำ ลูกก็มักจะเป็นคนโง่ สติปัญญาต่ำด้วยเช่นกัน ระดับสติปัญญาที่บุคคลมีแตกต่างกันเช่นนี้ ย่อมมีผลต่อความคิด ความจำ ความสามารถในการเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ นักจิตวิทยาได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับอิทธิพลของพันธุกรรมที่มีต่อลักษณะทางสติปัญญา โดยใช้วิธีทดสอบค่า I.Q. ( Intelligence Quotients ) ของกลุ่มบุคคลที่มีความใกล้ชิดกันทางพันธุกรรมบ้างและห่างไกลกันทางพันธุกรรมบ้าง แล้วนำค่าเหล่านั้นมาหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ซึ่งเป็นการคำนวณโดยใช้วิธีการทางสถิติจากนั้นก็เปรียบเทียบค่าที่คำนวณได้ ยกตัวอย่างเช่น กลุ่มนักจิตวิทยาอเมริกัน และกลุ่มนักจิตวิทยาอังกฤษได้ศึกษาค่าสัมประสิทธิ์สหพันธ์ ปรากฏว่า ระหว่างแฝดเหมือนเลี้ยงแยกกันและแฝดไม่เหมือนเลี้ยงด้วยกัน ทั้งกลุ่มอเมริกันและกลุ่มอังกฤษได้ผลตรงกันในข้อที่ว่าค่าสหสัมพันธ์ของแฝดเหมือนเลี้ยงแยกกัน จะสูงกว่าแฝดไม่เหมือนเลี้ยงด้วยกัน กล่าวคือ กลุ่มอเมริกันได้ค่า .77 และกลุ่มอังกฤษได้ค่า .84 สำหรับแฝดเหมือนเลี้ยงแยกกัน ในขณะที่ได้ค่าสำหรับแฝดไม่เหมือนเลี้ยงด้วยกันเป็น .63 และ .53 ตามลำดับ
ในการแสดงแบบทดสอบวัดระดับสติปัญญานี้ Alfed Binet และ Simon ได้สร้างขึ้น โดยใช้อัตราเปรียบเทียบระหว่างอายุสมองกับอายุจริงของเด็กในปัจจุบันแบบทดสอบที่ใช้กันแพร่หลายได้แก่ Revised Stanford Binet Intelligence Scale, Lorge Thorndike Intelligence Test เป็นต้น สำหรับแบบทดสอบของ Binet
มีสูตรว่า I.Q. =
โดยที่ I.Q. คือ Intelligence Quotients ที่จะวัด
M.A. คือ Mental Age อายุสมอง
C.A. คือ Chronological Age อายุจริง
จากตารางแปลความหมายของ I.Q. แบบ Stanford Binet พบว่า คนที่มีระดับ I.Q. ตั้งแต่ 140 ชึ้นไปถือได้ว่าเป็นอัจฉริยะ ถ้าอยู่ในระดับ 110-119 ถือว่าฉลาด ระดับ 90-109 ถือว่าปานกลาง ระดับ 69 ลงมาถือว่าปัญญาอ่อน และถ้าอยู่ในระดับ 24 ลงมาจัดอยู่ในประเภทโง่ที่สุด ( Idiot ) คือ ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้
จากการศึกษาของ Goddard พบว่า บุคคลมีโอกาสได้รับการถ่ายทอดทางพันธุกรรมเกี่ยวกับความมีสติปัญญาสูงและความมีสติปัญญาต่ำ อยู่มนเกณฑ์ใกล้เคียงกัน กล่าวคือ ความสติปัญญาสูงจะถ่ายทอดได้ 46 % ในขณะที่ความมีสติปัญญาต่ำจะถ่ายทอดได้ถึง 54%
เชาว์ปัญญาของบุคคลจะอยู่ในเกณฑ์สูงสุดเมื่อมีอายุในช่วงวัยรุ่นตอนปลายกับวัยผู้ใหญ่ตอนต้น คือ ประมาณอายุ 16-21 และจะคงสภาพอยู่เช่นนั้น อาจจะเพิ่มขึ้นหรือลดลงบ้าง แต่ก็ไม่มากนัก
2.1.4 สิ่งแวดล้อม (Environment)
สิ่งแวดล้อมอาจมีความหมายได้หลายแง่มุม เช่น
สิ่งที่อยู่รอบตัวเราและมีอิทธิพลต่อพัฒนาการของบุคคล มีทั้งสภาพที่เป็นสิ่งที่ดีและสิ่งที่เลว
สิ่งที่ทำหน้าที่เป็นสิ่งเร้าที่กระตุ้นให้บุคคลมีปฏิกิริยาตอบสนอง
ผลรวมของการกระตุ้นต่างๆ ที่บุคคลได้รับผลกระทบตั้งแต่เริ่มมีชีวิตจนกระทั่งตาย
จากความหมายต่างๆ ข้างต้น จะเห็นได้ว่าสิ่งแวดล้อมมีอยู่มากมายทั่งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม ทั้งที่เป็นสิ่งที่มองเห็นได้และมองไม่เห็น สิ่งแวดล้อมเหล่านี้เป็นสาเหตุหนึ่งร่วมกับพันธุกรรม ที่ทำให้บุคคลมีความแตกต่างกัน มนุษย์ได้รับผลกระทบจากสิ่งแวดล้อมโดยวิธีอัตโนมัติและโดยการเรียนรู้สิ่งแวดล้อมนั้นๆ เอง กล่าวได้ว่า สิ่งแวดล้อมสามารถสัมผัสกับตัวเราได้ 2 ทาง คือ
โดยอัตโนมัติ มีอำนาจบังคับต่อเราโดยตรง ให้เราต้องมีปฏิกิริยาตอบสนอง ไม่ว่าเราจะสนใจเรียนรู้สิ่งแวดล้อมนั้นไปปฏิบัติหรือไม่ก็ตาม ตัวอย่างของสิ่งแวดล้อมในลักษณะนี้ได้แก่ ธรรมชาติแวดล้อมตัวเรา และสิ่งจำเป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิต เช่น อากาศ อาหาร อุณหภูมิ เป็นต้น
โดยการที่บุคคลเรียนรู้สิ่งแวดล้อมเหล่านั้นแล้วนำมาปฏิบัติ ซึ่งได้แก่ บรรทัดฐาน วัฒนธรรม อุดมการณ์ทางการเมือง เป็นต้น
2.1.5 อิทธิพลของสิ่งแวดล้อม
สิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อบุคลิกภาพและพฤติกรรมของมนุษย์เป็นอย่างมาก ตลอดชีวิตของบุคคลแต่ละคน ย่อมได้รับผลกระทบจากสิ่งแวดล้อมต่างๆ ซึ่งอาจเป็นสิ่งที่ช่วยเสริมสร้าง หรือเป็นอุปสรรคต่อพัฒนาการของบุคคลก็ได้ หากจะแบ่งสิ่งแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการของบุคคล อาจแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
สิ่งแวดล้อมก่อนเกิด หมายถึง สิ่งแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อบุคคล ตั้งแต่เริ่มปฏิสนธิจนกระทั่งคลอดจากครรภ์มารดา ได้แก่ อาหารที่แม่รับประทานเข้าไป ถ้าเป็นอาหารที่มีคุณค่าเสริมสร้างสุขภาพของแม่และทารก จะมีผลทำให้ทารกในครรภ์มีพัฒนาการไปด้วยดี นอกจากสุขภาพทางกายแล้ว สุขภาพจิตของแม่ก็สำคัญด้วย หากขณะตั้งครรภ์แม่มีสุขภาพจิตไม่ดี อาจมีผลกระทบกระเทือนด้านอารมณ์ของเด็ก กล่าวคือ ต่อมอะดรีนัลจะขับฮอร์โมนเข้าสู่โลหิตของแม่และไปถึงทารกโดยผ่านทางรกและสายสะดือ ทำให้เด็กตกใจง่าย หวาดผวา สะดุ้ง นอกจากนั้นการมีโรคภัยไข้เจ็บบางอย่างเกิดขึ้นขณะตั้งครรภ์ก็มีผลทำให้ทารกกลายเป็นคนพิการทางกายและทางสติปัญญาได้ การปฏิบัติตนของแม่ขณะตั้งครรภ์ ก็เป็นสิ่งสำคัญต่อการพัฒนาการของทารกในครรภ์ ถ้าแม่สูบบุหรี่ ดื่มสุรา ขณะตั้งครรภ์ จะมีผลเสียต่อทารกในครรภ์
สิ่งแวดล้อมหลังเกิด หมายถึง สิ่งแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อบุคคลภายหลังที่คลอดออกมาแล้ว ได้แก่ สถาบันทางสังคมต่างๆ คือ ครอบครัว โรงเรียน ศาสนา สื่อสารมวลชน เป็นต้น
อนึ่ง ขณะกำลังคลอดก็เป็นช่วงเวลาที่มีความสำคัญเช่นเดียวกัน เพราะหากเกิดความผิดปกติขึ้น เช่น แม่มีกระดูกเชิงกรานแคบ หรือเด็กอยู่ในลักษณะท่าคลอดผิดปกติ ทำให้คลอดยาก หากอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการคลอดเท่าที่ควร เป็นต้นว่า ไม่ได้อยู่ในความดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ อาจทำให้แม่และทารกมีอันตรายได้
การที่สิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อบุคคลในด้านต่างๆ อย่างมากมายนี้เอง จึงควรมีการจัดเตรียมสิ่งแวดล้อมที่ดีไว้เพื่อให้เด็กที่จะเกิดมาและเติบโตต่อไปในอนาคต เป็นบุคคลที่มีพัฒนาการสมบูรณ์ทั้งกายและใจมากที่สุดเท่าที่จะมากได้ และเป็นสมาชิกที่มีคุณภาพของสังคมต่อไป
การจัดการสิ่งแวดล้อมที่ดี อาจทำได้ ดังนี้
ควรมีการวางแผนล่วงหน้าว่าจะมีบุตรเมื่อใด เพราะการมีลูกเมื่อมีความพร้อมที่จะมีนั้น จะเป็นผลดีต่อเด็กอย่างยิ่ง การที่พ่อแม่มีเจตคติที่ดีต่อลูกที่จะเกิดมา จะทำให้พ่อแม่มีกำลังใจและความพยายามในการเตรียมตัวและเตรียมใจจัดสิ่งแวดล้อมที่ดีให้แก่ลูก
ในการวางแผนล่วงหน้าที่จะมีลูกนั้น มีข้อควรคำนึงหลายประการ อาทิเช่น วัยในการจะมีบุตร วัยที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง 21-30 ปี ไม่ควรจะต่ำกว่า 18 ปี หรือไม่ควรสูงกว่า 40 ปี เพราะการมีลูกอายุน้อยเกินไป ร่างกายของแม่เองยังไม่พัฒนาเต็มที่ พ่อแม่อาจขาดความรู้และประสบการณ์ในการเลี้ยงดูเด็ก ส่วนการมีลูกเมื่อมีอายุมากเกินไปมีแนวโน้มว่าลูกอาจผิดปกติได้ง่าย เนื่องจากร่างกายของแม่เริ่มทรุดโทรมและมีการสะสมสารพิษต่างๆ ไว้มากแล้ว นอกจากเรื่องของวัยที่จะมีลูกแล้ว เรื่องของกลุ่มเลือดก็มีความสำคัญต่อการอยู่รอดของเด็กด้วย กล่าวคือ คู่สมรสควรได้รับการตรวจเลือดก่อนแต่งงาน หรือก่อนการมีลูก เพราะหากมีความผิดปกติจากปัจจัย Rh ในเลือด ทำให้ Rh ในเลือดของแม่และลูกไม่เข้ากัน คือ พ่อ Rh+ แม่ Rh- ลูก Rh+ ในการตั้งครรภ์ครั้งแรก ขณะคลอดเม็ดเลือดแดงของลูกจะผ่านเข้าไปในกระแสโลหิตของแม่ ทำให้ Rh+ เข้าไปในเลือดแม่ร่างกายแม่จะสร้าง Antibody ขึ้นอยู่ในร่างกายของแม่ต่อไป และเมื่อแม่ตั้งครรภ์ลูกคนที่สอง Antibody Rh+ ที่แม่มีสะสมอยู่นี้ จะเข้าไปในกระแสโลหิตของทารก ทำให้ทารกตายได้ ถ้ารอดชีวิตก็จะเป็นอัมพาตสมองบกพร่องเพราะเม็ดเลือดแดงถูกทำลายเนื่องจากขาดออกซิเจนเลี้ยงสมอง
นอกจากเรื่องวัย เรื่องกลุ่มเลือดแล้ว ข้อควรคำนึงในการวางแผนล่วงหน้าในการมีลูก ยังรวมไปถึงความพร้อมในเรื่องของสุขภาพกายใจของแม่และความพร้อมทางเศรษฐกิจอีกด้วย
การคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมขณะตั้งครรภ์ ได้แก่
อาหารที่แม่รับปราน ควรเป็นอาหารที่ให้คุณประโยชน์ต่อการพัฒนาส่วนต่างๆ ของทารกในครรภ์ อาหารชนิดใดให้โทษต่อการพัฒนาการของทารก ควรงดเว้น เช่น ถ้าอยากให้ลูกที่จะเกิดมามีโครงกระดูกและฟันแข็งแรง ควรกินอาหารที่มีแคลเซี่ยมมากๆ เช่น นม ปลาตัวเล็ก ที่ทอดกินก้างได้
สุขภาพของแม่ ควรบำรุงรักษาร่างกายให้แข็งแรงสมบูรณ์ ไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มสุรา เพราะจะทำให้เป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ อาจแท้งหรือคลอดก่อนกำหนด สติปัญญาเจริญช้า ควรพยายามหลีกเลี่ยงเชื้อโรคต่างๆ เช่น กามโรค หัดเยอรมัน เพราะจะทำให้เด็กพิการ ตาบอด หูหนวก สมองพิการ นิ้วมือนิ้วเท้าด้วน เป็นต้น ยาที่รับประทานเข้าไปขณะตั้งครรภ์ก็ควรระมัดระวังเป็นอย่างยิ่ง โดยให้อยู่ในดุลยพินิจของแพทย์ ไม่ควรซื้อยากินเอง เพราะอาจเกิดอันตรายกับทารกในครรภ์ เช่น ยาทาลิโดไมด์ (Thalidomide) ซึ่งเป็นยาแก้แพ้ ทำให้ทารกมีร่างกายผิดปกติ ยาควินินรักษาไข้มาเลเรีย ทำให้ทารกหูหนวก ยาเตตราไซคลีน (Tetracycline) ซึ่งเป็นยาแก้อักเสบ จะทำให้เด็กฟันเหลือง เป็นต้น การเจ็บป่วยของแม่ โดยเฉพาะในช่วงระยะเวลา 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ จะมีผลต่อความปลอดภัยและพัฒนาการของทารกมาก
นอกจากสุขภาพทางกายแล้ว สุขภาพจิตของแม่ขณะตั้งครรภ์ก็เป็นเรื่องสำคัญ การที่แม่มีอารมณ์เครียด ไม่สบายใจ วิตกกังวลตลอดเวลา เศร้าโศก จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพเคมีในร่างกาย หรือเกิดผิดปกติในด้านการไหลเวียนของโลหิต ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อทารกในครรภ์ได้ ดังนั้นจึงควรรักษาสุขภาพจิตให้ดีด้วย
สภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัย ที่ทำงาน ควรเป็นที่ที่สะอาด มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก ปลอดภัยจากสารพิษหรือกัมมันตรังสี เพราะหากไม่เป็นเช่นนี้ จะทำให้แม่เจ็บป่วยง่าย สารพิษ เช่น ตะกั่ว ปรอท ที่แม่ได้รับอาจทำให้ทารกพิการทางกายและสมอง รังสี X-Ray และ Radium อาจทำให้ทารกพิการ ปัญญาอ่อน กระดูกเติบโตผิดปกติ มีโอกาสเป็นมะเร็งในเม็ดเลือดสูงกว่าคนปกติ
อุบัติเหตุ ขณะตั้งครรภ์ควรปฏิบัติสิ่งต่างๆ ด้วยความระมัดระวัง หากเกิดอุบัติเหตุ เช่น หกล้ม ได้รับการกระทบกระแทกอย่างรุนแรง อาจแท้งได้
สิ่งแวดล้อมหลังคลอดที่มีผลต่อบุคลิกภาพและพฤติกรรมของบุคคล ได้แก่
บ้านหรือครอบครัว นับเป็นสถาบันทางสังคมแห่งแรกที่มนุษย์สังกัดอยู่และรู้จัก สภาพแวดล้อมในบ้านนับตั้งแต่การอบรมเลี้ยงดู ความรัก ความเข้าใจ ความอบอุ่น ที่ทุกคนในครอบครัวมีต่อกันล้วนมีผลต่อพัฒนาการและบุคลิกภาพของเด็กเป็นอย่างมาก พ่อแม่ที่เลี้ยงดูลูกแบบประชาธิปไตย ย่อมทำให้ลูกเป็นคนมีเหตุผล ช่วยตัวเองได้ เคารพสิทธิของผู้อื่น ในขณะที่เด็กที่ได้รับการเลี้ยงดูอย่างตามใจ อาจกลายเป็นเด็กที่เจ้าอารมณ์ เอาแต่ใจตัวเอง พึ่งตัวเองไม่ค่อยได้ หรือเด็กที่พ่อแม่เลี้ยงอย่างเข้มงวดกวดขันแบบเผด็จการ เด็กอาจกลายเป็นคนไม่มั่นใจในตนเอง ไม่กล้าแสดงออกเป็นต้น
โรงเรียน นับเป็นสถาบันทางสังคมแห่งที่สองรองจากบ้านที่ให้การอบรมเด็ก สิ่งแวดล้อมที่ดีของโรงเรียน เช่น ได้ครูที่เป็นแบบอย่างที่ดี เพื่อนนักเรียนที่ดี หลักสูตรการเรียนการสอนดี เน้นคุณธรรม ความมีระเบียบวินัย สิ่งเหล่านี้จะทำให้เด็กเรียนรู้ที่จะเป็นคนดีเป็นที่ยอมรับของสังคมด้วย
สื่อสารมวลชน นับเป็นสถาบันทางสังคมที่กำลังมีความสำคัญเป็นอย่างมากในการเป็นแม่แบบทั้งในทางที่ดีและไม่ดีแก่เด็กได้ หากสารที่นำเสนอผ่านสื่อมวลชนประเภทต่างๆ เป็นสารที่เป็นภัย อาจชักจูงให้เด็กมีแนวคิดและการดำเนินชีวิตที่ผิดได้ง่าย ตัวอย่างจากการวิจัยพบว่ายุวอาชญากรจำนวนไม่น้อยที่เลียนแบบวิธีการกระทำผิดโดยดูจากภาพยนตร์
สถาบันศาสนา เป็นสถาบันที่มีอิทธิพลในการอบรมขัดเกลาให้เด็กมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ คุณธรรม จริยธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณีอันดีงาม อันเป็นวัฒนธรรมของสังคม ในสังคมไทยเราจะพบว่า วัดเป็นศูนย์รวมกิจกรรมทางสังคมของคนในชุมชน
สถาบันนันทนาการ เป็นสถาบันสังคมที่มีอิทธิพลอย่างมากในการสอนให้เด็กได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ด้วยการเล่นกีฬา หรือมีการพักผ่อนหย่อนใจที่เหมาะสม ด้วยการแสดงหรือดูการละเล่นต่างๆ ตามวัฒนธรรมในสังคม กีฬาก็ดี การละเล่นต่างๆ ก็ดี ล้วนฝึกให้เด็กมีระเบียบวินัย มีการทำงานเป็นกลุ่ม เคารพกติกา ช่วยให้เกอดความสามัคคี และช่วยให้สุขภาพกายและใจดีอีกด้วย
สิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อบุคคลหลายด้าน อาจกล่าวโดยสรุปได้ดังนี้
อิทธิพลต่อพัฒนาการทางกาย จะเห็นได้จากสิ่งแวดล้อมที่แม่ได้รับขณะตั้งครรภ์
อิทธิพลต่อพัฒนาการทางสติปัญญา จะเห็นได้ว่าจากการจัดสภาพแวดล้อมในการเลี้ยงดู เป็นความจริงที่ว่า พันธุกรรมมีอิทธิพลต่อระดับสติปัญญา แต่สิ่งแวดล้อมก็มีอิทธิพลในการที่จะเป็นสิ่งที่ช่วยส่งเสริมให้สติปัญญาดีขึ้น หรืออาจจะเป็นอุปสรรคที่ทำให้สติปัญญาด้วยลงก็ได้ ตัวอย่างเช่น แดงกับจ้อยเป็นเด็กที่มีระดับเชาว์ปัญญาเท่ากัน แต่พ่อแม่ของแดงส่งเสริมสิ่งแวดล้อมด้านการเรียนของแดงเป็นอย่างดี เอาใจใส่ถามเรื่องการเรียนอยู่เสมอ เรื่องใดที่แดงยังไม่เข้าใจ ถ้าพ่อแม่ช่วยอธิบายได้ ก็พยายามอย่างเต็มที่ ให้แดงไปเรียนพิเศษเพิ่มเติม ติดต่อถามเรื่องการเรียนและความประพฤติของแดงกับทางโรงเรียนอยู่เสมอ ส่วนจ้อยนั้น พ่อแม่ไม่เคยเอาใจใส่กับการเรียนของจ้อยเลย ไม่สนใจว่าจ้อยเรียนรู้เรื่องหรือไม่ อ่อนวิชาอะไร ไปโรงเรียนสม่ำเสมอหรือเข้ากับเพื่อที่โรงเรียนได้หรือไม่ เมื่อเปรียบเทียบผลการเรียนของแดงกับจ้อย ปรากฏว่าทั้งที่เด็กทั้งสองคน มี I.Q. เท่ากัน แต่แดงเรียนดีกว่าจ้อย ที่เป็นเช่นนี้ เพราะแดงมีสิ่งแวดล้อมที่ช่วยเสริมระดับสติปัญญาของแดงดีกว่าจ้อยนั่นเอง
นอกจากนี้ควรระวังเรื่องอุบัติเหตุด้วย หากสมองได้รับความกระทบกระเทือนอย่างหนัก อาจทำให้กลายเป็นคนปัญญาอ่อนได้
อิทธิพลต่อพัฒนาการทางอารมณ์ เด็กสามารถมีพัฒนาการทางอารมณ์ต่างๆ ได้ตั้งแต่แรกเกิด จนกระทั่งอายุได้ประมาณ 2 ขวบ ก็มีการเรียนรู้อารมณ์ต่างๆ ได้ครบ ส่วนจะมีการแสดงออกทางอารมณ์อย่างเหมาะสมมากน้อยแค่ไหน เมื่อโตขึ้นนั้นสิ่งแวดล้อมและประสบการณ์ที่ได้รับ จะมีส่วนสำคัญอย่างมากในการขัดเกลา สิ่งแวดล้อมดังกล่าวได้แก่ สภาพดินฟ้าอากาศ การศึกษาอบรม เป็นต้น
อิทธิพลต่อพัฒนาการทางภาษา เมื่อเด็กมีวุฒิภาวะพอที่จะพูดได้ การเรียนรู้จากสิ่งแวดล้อมที่เด็กได้รับ จะมีอิทธิพลต่อการพูดและการใช้ภาษาของเด็ก เช่น อยู่ในสังคมไทย ภาษาที่เด็กจะพูดได้ก็คือภาษาไทย อยู่ในท้องถิ่นภาคอีสาน ก็จะพูดภาษาถิ่นอีสาน อยู่ในกลุ่มผู้ใช้ถ้อยคำสุภาพ เด็กจะพูดภาษาสุภาพด้วย การอธิบายหรือทำความเข้าใจความยากง่ายของความหมายของถ้อยคำ ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ที่ได้รับเช่นเดียวกัน จะสังเกตได้ว่า คำคำหนึ่งเมื่อเป็นเด็กอาจไม่เข้าใจความหมายว่าหมายความว่าอย่างไร ใช้อย่างไร แต่เมื่อมีการเรียนรู้เพิ่มขึ้น จะเข้าใจและใช้ได้ถูกต้องเหมาะสม
อิทธิพลต่อพัฒนาการทางบุคลิกภาพ กิริยาท่าทาง คำพูด การแต่งกาย มารยาทในสังคม แนวคิด เจตคติ ในการดำรงชีวิต ภาพรวมแห่งบุคลิกภาพเหล่านี้ สิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลอย่างมากในการหล่อหลอมขัดเกลา
2.1.6 ความสัมพันธ์ระหว่างพันธุกรรมกับสิ่งแวดล้อม
ในปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันว่า ทั้งพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมต่างก็เป็นปัจจัยร่วมกัน ที่ทำให้บุคคลมีความแตกต่างกันในด้านต่างๆ แต่หากจะถามว่าระหว่างพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม อะไรสำคัญมากกว่ากันหรืออะไรมีอิทธิพลต่อบุคคลมากกว่ากัน ข้อนี้เป็นสิ่งที่ตอบได้ยากเพราะทั้งพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมต่างมีความสัมพันธ์กันและทำงานประสานกัน ในบางกรณีเราอาจประเมินได้ว่าพันธุกรรมมีอิทธิพลมาก เช่น ลักษณะทางกาย แต่บางกรณีประเมินได้ว่าสิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลค่อนข้างมาก เช่น การแสดงออกทางอารมณ์ แบบแผนการดำเนินชีวิต เป็นต้น และในบางกรณีก็มีอิทธิพลพอๆ กัน หรือเป็นเรื่องยากที่จะประเมินได้ว่าอะไรมีอิทธิพลมากกว่า อย่างไรก็ตามอาจกล่าวได้ว่าการกระทำร่วมกันของพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อพัฒนาการและความเจริญงอกงามของบุคคล พันธุกรรมเปรียบเสมือนทุนที่แต่ละบุคคลได้รับมา ในขณะที่สิ่งแวดล้อมเปรียบเสมือนเครื่องสนับสนุนหรือเครื่องกีดขวาง แล้วแต่ชนิดของสิ่งแวดล้อมนั้นๆ ในอันที่จะทำให้บุคคลมีพัฒนาการและพฤติกรรมแตกต่างกันออกไป ดังที่นักจิตวิทยาหลายท่านเชื่อกันว่า “พฤติกรรมของบุคคลนั้น ไม่ว่าจะเป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้น เพราะการเรียนรู้หรือพฤติกรรมที่เกิดขึ้นเองก็ตาม ย่อมเกิดขึ้นเพราะการแสดงปฏิกิริยาร่วมกันระหว่างพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม”
ตัวอย่างที่ชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมนั้น อาจดูได้จากวินาทีแรกของจุดเริ่มต้นแห่งชีวิตใหม่ จะพบว่าทั้งพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมต่างมรประสิทธิผลเป็นตัวกำหนดความเจริญเติบโตและพัฒนาการของทารก กล่าวคือ ทารกจะมีลักษณะทางกาย ระดับสติปัญญา อย่างไรย่อมเป็นไปตามลักษณะทางพันธุกรรมที่ได้รับถ่ายทอดจากพ่อแม่ ขณะเดียวกันสิ่งแวดล้อมก่อนคลอดที่ทารกได้รับก็จะมีส่วนเป็นตัวกำหนดในลักษณะที่อาจจะเป็นสิ่งส่งเสริมหรือขัดขวางพัฒนาการตามพันธุกรรมก็ได้ เช่น ทั้งพ่อและแม่ต่างมีเชาว์ปัญญาสูงทั้งคู่ แนวโน้มความน่าจะเป็นของลูก ก็ควรจะเป็นเด็กที่มีเชาว์ปัญญาดีเช่นกัน แต่ขณะตั้งครรภ์ในช่วง 3 เดือนแรก ได้ป่วยเป็นโรคหัดเยอรมัน ประกอบกับได้รับความกระทบกระเทือนทางใจอย่างรุนแรงไม่สนใจบำรุงรักษาสุขภาพ ดื่มสุรา สูบบุหรี่ ปรากฏว่าเด็กคลอดออกมากลายเป็นเด็กพิการ ตาบอด ปัญญาอ่อน ตัวเล็ก เจริญเติบโตช้า ในที่สุดก็เสียชีวิต
ความแตกต่างระหว่างบุคคล (จิตวิทยาเบื้องต้น พวงจันทร์ดุละลัมพะ M.S. 2512: หน้า131-140)
บุคคลมีความคล้ายคลึงกันอยู่หลายประการ เช่น ต่างก็มีความต้องการ มีความรู้สึก มีอารมณ์ แต่ในขณะเดียวกันบุคคลแต่ละคนก็มีความแตกต่างจากคนอื่น ๆ ได้หลายประการ เช่น มีรูปร่างต่างกัน สีของตา สีของผมต่างกัน บางคนก็มีความฉลาด บางคนโง่เขลา แม้แต่คู่ฝาแฝดก็ยังมีความแตกต่างกัน เช่น ในด้านความคิดและอารมณ์ ฉะนั้นเราอาจกล่าวได้ว่า ไม่มีผู้ใดที่จะมีความเหมือนกันไปเสียทุกสิ่งทุกอย่าง
วิวัฒนาการของการศึกษาเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล
ความแตกต่างระหว่างบุคคลเป็นเรื่องที่ได้มีการรับรู้มาเป็นเวลาช้านาน เพลโต (Palto,427 – 347 ก่อน ค.ศ.) นักปรัชญาชาวกรีสได้เขียนไว้ในหนังสือชื่อ The Republic ว่าไม่มีบุคคลสองคนที่เกิดมาเหมือนกันไปเสียทุกอย่าง อริสโตเติล นักปรัชญาที่มีชื่อเสียงอีกผู้หนึ่งก็ได้กล่าวไว้ว่า บุคคลมีความต่างกัน ต่อมาในศตวรรษที่สิบเก้า ผู้ที่ได้ศึกษาถึงเรื่องราวของความแตกต่างระหว่างบุคคลอย่างเป็นวิทยาศาสตร์ คือ เซอร์ ฟรานซิส กาลตัน (Sir Francis Galton) ซึ่งได้ศึกษาเรื่องราวของกรรมพันธุ์ และสรุปว่าสติปัญญาของแต่ละคนขึ้นอยู่กับกรรมพันธุ์ และได้เป็นผู้คิดประดิษฐ์แบบทดสอบสติปัญญาขึ้น ให้ชื่อว่าแบบทดสอบการเคลื่อนไหวและประสาทสัมผัส (Sensorimotor Tests) กาลตัน ยังกล่าวไว้ว่าลายมือของคนเรามีความแตกต่างกันอีกด้วยทางด้านการแพทย์ ดร.คารล์ แลนด์สเตมเมอร์ (Dr.Karl Landstemer) นักวิทยาศาสตร์ชาวเวียนนาได้ศึกษาเรื่องความแตกต่างของกลุ่มเลือดมนุษย์
ในศตวรรษที่ ๒๐ นักจิตวิทยาชาวอเมริกันชื่อ เจมส์ แมคคีน แคทเทลล์ (James Mckeen Cattell) ผู้เคยศึกษาร่วมกับ วิลเฮล์ม วุ้นท์ (Wilhelm Wundt) เรื่องจิตสำนึกของบุคคลต่อภาพที่มาเร้าในทันทีทันใด แคทเทลล์ ได้ให้ความสนใจในด้านการวัดความแตกต่างระหว่างบุคคล และได้ริเริ่มออกแบบทดสอบความสามารถของสมอง และแบบทดสอบประกอบการปฏิบัติงาน (Performance Test)
ลักษณะของความแตกต่างระหว่างบุคคล
ลักษณะของความแตกต่างระหว่างบุคคลมีมากมาย พอจะสรุปได้ดังนี้
ความแตกต่างระหว่างบุคคล(lndividual difference)
คือความไม่เหมือนกันของบุคคลซึ่งจะมีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของตน มีพันธุกรรม สิ่งแวดล้อม และพฤติกรรมที่ทำให้บุคคลแตกต่างกันได้ เช่น ร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ สังคมเพศ ความถนัด ความสนใจ เจตคติ แรงจูงใจในสังคม ค่านิยม รสนิยม ฐานะทางเศรษฐกิจและสังคม การศึกษา การได้รับการ เลี้ยงดูหรืออบรม อายุ เหล่านี้เป็นต้น ในแต่ละคนจะมีความแตกต่างกันออกไปไม่ว่าจะเป็นทางกาย ความคิด หรือจิตใจ เมื่อเรายอมรับความจริงว่าแต่ละคนย่อมมีความแตกต่างกันในทุกๆด้าน ก็ต้องมีการปรับตัวให้ได้ และคนเราจะแตกต่าง กันในทางใดบ้างไม่มีใครทราบเพราะ คนเราแต่ละคนมีความแตกต่างกันหลายด้าน ซึ่งเราสามารถจะพิจารณาได้คือ
ความแตกต่างทางด้านร่างกาย (จิตวิทยาเบื้องต้น พวงจันทร์ดุละลัมพะ M.S. 2512: หน้า131-140)
1. เพศ ผู้ชายและผู้หญิงในความแตกต่างกันในหลายๆด้าน ลักษณะความแตกต่างที่ส่งผลต่อการเรียนการสอน ได้แก่ ด้านความสามารถ เทอร์แมนและไทเลอร์ (Terman and Tyler, 1954) ศึกษาพบว่า ผู้หญิงมีความสามารถด้านภาษา การเขียน และศิลปะมากกว่าผู้ชาย ส่วนผู้ชายมีความสามารถทางด้านคณิตศาสตร์ ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ และวิทยาศาสตร์มากกว่าผู้หญิง แม็คโคบี และแจ็คคลิน (Macaoby and Jacklin, 1974) พบว่าผู้ชายมีความสามารถมากกว่าผู้หญิง ในด้านคณิตศาสตร์ การจำรูปทรง การคิดวิเคราะห์และการคิดริเริ่ม
คาสเซิล (Castle, 1913) พบว่าผู้หญิงมาความสามารถในการใช้ถ้อยคำได้อย่างคล่องแคล่วมากกว่าผู้ชาย ด้านอารมณ์และบุคลิกภาพอื่นๆ จากการศึกษาพบว่า ผู้ชายมีอารมณ์มั่นคง มีความหนักแน่น มั่นใจตัวเอง มีนิสัยกล้าเสี่ยง ชอบความท้าทายและมีอารมณ์ก้าวร้าวมากกว่า ในขณะที่ผู้หญิงมักมีอารมณ์อ่อนไหว มีความมั่นใจในตัวเองต่ำและมีแนวโน้มในการพึ่งพาและคล้อยตามผู้อื่นมากกว่าผู้ชาย นอกจากนี้ผู้หญิงและผู้ชายยังมีความสนใจในกิจกรรมต่างๆ ไม่เหมือนกันด้วย สำหรับ ด้านสติปัญญา จากการทดสอบเพื่อเปรียบเทียบระดับสติปัญญาของผู้หญิงและผู้ชาย ปรากฏว่าไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญระหว่างระดับสติปัญญาของผู้หญิงและผู้ชาย
2. อายุ ความแตกต่างด้านอายุหรือวัยของคนเรา มีส่วนเกี่ยวข้อง และก่อให้เกิดความแตกต่างในเรื่องต่อไปนี้ คือ ความรับผิดชอบ ความสนใจ ความรอบรู้ ความสามารถในการแก้ไขปัญหา ความคิด ความมีเหตุผล และวุฒิภาวะด้านอื่นๆ รวมทั้งความสามารถทางสติปัญญา จากการศึกษาเกี่ยวกับพัฒนาการทางสติปัญญา นักจิตวิทยาให้ข้อสรุปสอดคล้องกันว่า ความสามารถทางสมองของคนเราจะเจริญเติบโตไปเรื่อยๆ จนถึงประมาณ 20 ปี และต่อจากนั้นอัตราพัฒนาการทางสมองจะเริ่มลดระดับลงเมื่อย่างเข้าสู่วัยผู้ใหญ่
3. สุขภาพและลักษณะทางร่างกาย โรคภัยไข้เจ็บ ความพิการของร่างกาย ความผิดปกติในลักษณะต่างๆ ขนาดของร่างกาย ตลอดจนลักษณะเด่น- ด้อยของรูปร่างหน้าตา มีผลต่อการเรียนรู้ของบุคคลทั้งในทางส่งเสริมและเป็นอุปสรรค์ ทั้งนี้รวมถึงความบกพร่องบางอย่างทางร่างกายด้วย เช่น ความบกพร่องทางการมองเห็น หรือการได้ยิน เป็นต้น
แนวคิดทฤษฎีร่างกาย (http://joker225.multiply.com/journal/item (30 ธันวาคม 2553)
ร่างกายกับการปรับเปลี่ยนเรือนร่าง
ตั้งแต่ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมา ซึ่งเป็นยุคที่มีการพัฒนาทางวิทยาศาสตร์ ความคิดที่ว่าด้วยความแตกต่างทางชีววิทยาของมนุษย์ยิ่งเพิ่มบทบาทมากขึ้น โดยเมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 นี้ การแบ่งแยกโครงสร้างและหน้าที่ระหว่างร่างกายของผู้ชายและผู้หญิงมีความชัดเจนมาก ร่างกายจึงยังคงถูกมองว่าเป็นที่มาของอัตลักษณ์และการแบ่งหน้าที่ในสังคม ส่งผลให้ร่างกายกลายเป็นวัตถุทางการศึกษา เพื่อทำความเข้าใจปัจเจกบุคคลและสังคม และเมื่อเทคโนโลยีทางการแพทย์ได้มีการพัฒนาก้าวหน้าขึ้นตามลำดับตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 20 ทำให้ความเชื่อต่อความคิดและค่านิยมในเรื่องการเปลี่ยนแปลงร่างกายให้เป็นไปตามอุดมคติ มีความเป็นจริงมากยิ่งขึ้น
มนุษย์เราแทบทุกคนมีร่างกายสมบูรณ์ที่ถูกประกอบสร้างตั้งแต่เส้นผม-จรดปลายเท้า จะแตกต่างกันไปก็เพราะเรื่องเพศเข้ามาเป็นส่วนสำคัญต่ออวัยวะที่ต้องใช้งานต่างกัน เช่น เพศชาย มีกล้ามเนื้อที่แข็งแรง เหมาะสำหรับการทำงานหนัก ส่วนเพศหญิงนั้นมีเนื้อกายที่อ่อนนุ่ม เหมาะสำหรับการทำงานเบา และจากการที่โลกของเรามีภูมิประเทศที่หลากหลายทำให้ร่างกายของคนปรับเปลี่ยนไปตามความเหมาะสมของสภาวะแวดล้อม ผู้หญิงและผู้ชายในแต่ละประเทศจึงมีลักษณะร่างกายที่ต่างกัน จะมีความคล้ายคลึงกันบ้างสำหรับประเทศที่มีองค์ประกอบคล้ายๆ กันและใกล้เคียงกัน เช่น ภูมิประเทศ ภูมิอากาศ
เมื่อเรื่องเพศมีบทบาทสำคัญในการตัดสินใจต่อการปรับเปลี่ยนร่างกาย และการเปลี่ยนแปลงร่างกายนั้นเป็นเรื่องของ"เรือนร่างกับอำนาจ ที่ผู้หญิงใช้เป็นเครื่องต่อรองกับบุรุษ" ทำให้ผู้หญิงมีการเปลี่ยนแปลงร่างกายมากกว่าผู้ชาย และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ประกอบกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีวิทยาศาสตร์การแพทย์ ที่ทำให้โครงการของการปรับเปลี่ยนร่างกายมีความเป็นไปได้มากขึ้นและมีความปลอดภัย อีกทั้งร่างกายยังเป็นส่วนประกอบสำคัญในการสร้างอัตลักษณ์ของผู้หญิงด้วย ดังนั้น การมองปรากฏการณ์การเปลี่ยนผ่านของร่างกายในอุดมคติผู้หญิงอย่างพินิจพิเคราะห์ จึงช่วยสะท้อนภาพให้เราเห็นถึงการปะทะกันระหว่าง "แรงผลักดันทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม" ที่มีต่อการสร้างความหมายให้กับร่างกายของผู้หญิง (โกสุม โอมพรนุวัฒน์, 2545 : ออนไลน์)
สำหรับการปรับเปลี่ยนร่างกายนั้นเป็นไปใน 2 รูปแบบ นั่นคือ
- การปรับเปลี่ยนร่างกายด้วยวิธีการทรมาน และ
- การปรับเปลี่ยนร่างกายโดยไม่ทรมานตนเอง
ในส่วนของการปรับเปลี่ยนร่างกายด้วยวิธีการทรมานเพื่อสนองความต้องการของตนเองนั้น มีด้วยกันหลายวิธี ซึ่งได้สร้างความเจ็บปวดให้กับร่างกาย อาทิเช่น การรัดเอวให้คอดเล็กของสตรีในยุโรป (9) การรัดเท้าให้เล็กของหญิงชาวจีน (10) การสักลวดลายบนเรือนร่าง และการเจาะร่างกายเพื่อประดับสิ่งของ การลดน้ำหนักเพื่อให้มีรูปร่างผอมบาง การเปลี่ยนสีผิว และทำศัลยกรรมส่วนต่างๆ ของร่างกาย
(9) เกิดขึ้นในปลายศตวรรษที่ 19 เรียกว่า "health" corset ช่วยเสริมหน้าอกและสะโพกให้ยื่นไปด้านหลังมากขึ้น
ทำให้ร่างกายมีลักษณะรูปร่างเหมือนตัว S (สมศรี สุกุมลนันทน์, 2525 : 25 - 26)
(10) สายพิณ ศุพุทธมงคล และคณะ. เผยร่างพรางกาย : สำรวจทฤษฎีร่างกาย, 2541 : 17
ส่วนการปรับเปลี่ยนร่างกายในแบบที่ไม่ทรมาน หรือทรมานน้อยกว่าที่กล่าวมาข้างต้น อาทิเช่น การเปลี่ยนทรงผม(11) การเพาะกาย(12) การออกกำลังกายกระชับสัดส่วน การดูแลสุขภาพร่างกาย โดยการเลือกรับประทานอาหารที่มีคุณค่า มีประโยชน์ ซึ่งเป็นการกระทำต่อร่างกายที่เจ็บปวดน้อยกว่า และเกิดขึ้นกับคนในสังคมแบบอิสระที่สามารถเลือกได้ทั้งทางความคิดและการปฏิบัติ
(11) ทรงผมมีการปรับเปลี่ยนไปตามยุคสมัย ตามประวัติแฟชั่นผม ซึ่งเริ่มตั้งแต่ยุคของกรีก หรือยุคก่อนศาสนาคริสต์ เช่นในยุคของอียิปต์ ต่อมาในคริสตศตวรรษที่ 17 และศตวรรษที่18 ซึ่งถือว่าเป็นยุคที่แฟชั่นผมเฟื่องฟูมากในหมู่ขุนนาง ราชวงศ์ และศักดินา โดยเฉพาะยุคศตวรรษที่18 นั้น ถือว่าเป็นยุคของการใช้ "วิกผม" มากที่สุดยุคหนึ่ง มีการใช้วิกผมทั้งผู้ชายและผู้หญิง
สิ้นสุดจากคริสตศตวรรษที่ 18 หรือเรียกกันว่า "สไตล์โรโกโก" ซึ่งผู้หญิงยุคนั้นยังคงยึดถือแฟชั่นผมแบบเดียวกับยุค "เรเนอร์ซองต์" อันถือเป็นยุคเปลี่ยนประวัติศาสตร์แฟชั่นผม เสื้อผ้า อย่างสิ้นเชิงจากยุคอดีต และยุคเรเนอร์ซองต์นี้เองถือเป็นยุคที่เริ่มต้นการก่อเกิด"ปัจเจกชน" หรือคนที่กล้าเปลี่ยนแปลงตัวเองจากชนหมู่มากออกไป และสามารถทำให้คนอื่น "เอาเยี่ยงอย่าง" ทำตามได้แม้จะอยู่ภายใต้กฏระเบียบ แบบแผน ของขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรม
(12) เป็นหนึ่งในกีฬาชนิดหนึ่งที่เป็นการพัฒนากล้ามเนื้อโดยการฝึกน้ำหนัก, การเพิ่มปริมาณอาหาร, และการพักผ่อน เริ่มเกิดขึ้นในสมัยกรีกโรมัน (วิษณุ ตุวยานนท์, 2542 : ออนไลน์) พัฒนาเป็นกีฬาเมื่อปลายคริสตศตวรรษที่ 19 ในระหว่างปี ค.ศ. 1880 ถึง 1930 ถือเป็นยุคแรกของกีฬาเพาะกาย และยุคทองของกีฬาเพาะกาย อยู่ในช่วงเวลาระหว่างปี 1940 ถึง 1970 (วิกิพีเดีย, 2550 : ออนไลน์)
จากบทความเรื่อง "ศัลยกรรม...เสพติดความงาม" ของ นพ.มนตรี กิจมณี หัวหน้าสาขาศัลยศาสตร์ตกแต่ง โรงพยาบาลศิริราช เปิดเผยว่า มีคนมาทำศัลยกรรมเฉลี่ยแล้วประมาณ 20-30 รายต่อเดือน ซึ่งหากดูตามจำนวน ผู้หญิงมักมาทำศัลยกรรมมากกว่าผู้ชายประมาณ 70-80 เปอร์เซ็นต์ อีกทั้งยังได้กล่าวถึงปัจจัยที่ทำให้คนมาทำศัลยกรรมว่า "คนเรารูปร่างจิตใจแยกกันไม่ออกเพราะทุกคนมีภาพรวมของตัวเอง คือ self - image. ความสวยทำให้เกิดความสุข สบายใจ เหมือนกับได้อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดีๆ ซึ่งต้องโยงไปในเรื่องของ sex appeal (ความดึงดูดทางเพศ) ด้วย เพราะร่างกายอย่าง ลูกตา หน้าอก เป็นการ present ที่สำคัญ เป็นส่วนสำคัญทำให้ภาพเขาดีขึ้น บางคนทำแล้วทำอีกก็มี ขึ้นอยู่กับเทคนิคที่ทำ บางคนก็มาแก้ไข ไม่ได้มีปัญหาอะไรแต่อยากให้ดูดีขึ้นอีก" (โพสต์ทูเดย์, 2549 : ออนไลน์)
เมื่อผู้หญิงต้องการความสวย ซึ่งผู้หญิงสวยจะต้องมีรูปร่าง หน้าตา ผิวพรรณหมดจด เป็นที่พอตา (สมศรี สุกุมลนันทน์, 2531 : 11 ) ซึ่งผู้หญิงน้อยคนนักที่เกิดมาจะมีร่างกายทุกอย่างพร้อมสรรพหรือที่เรียกกันว่า เพอร์เฟ็กต์ ( Perfect ) และด้วยเหตุที่ว่าผู้หญิงในทุกชาติทุกภาษามักจะมีสิ่งหนึ่งที่เหมือนกันก็คือ การรักในความงามของร่างกาย บางคนโชคดีที่เกิดมาแล้วมีร่างกายสวยงามทุกอย่าง แต่บางคนโชคไม่ดีนักที่เกิดมาแล้วมีร่างกายไม่สวยงามตามต้องการ ก็พยายามเสริมแต่งให้มีความงามให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ แต่เนื่องจากเทคโนโลยีด้านการแพทย์เจริญก้าวหน้าอย่างมากโดยเฉพาะด้านศัลยกรรม จึงทำให้ผู้หญิงจำนวนไม่น้อยได้ใช้บริการด้านศัลยกรรมเพื่อความงาม เป็นผลให้ธุรกิจเกี่ยวกับการเสริมความงามเจริญขึ้นอย่างรวดเร็ว
ตัวอย่างเช่น ในประเทศจีนที่ "ผู้หญิง" เป็นกลุ่มคนที่รักสวยรักงาม มักนิยมใช้บริการด้านศัลยกรรมตกแต่ง(13) ความงามค่อนข้างมาก ทำให้ในประเทศจีนมีธุรกิจด้านศัลยกรรมเสริมความงามจำนวนมากเกือบ 1,000,000 แห่ง และยิ่งจีนเปิดประเทศเพื่อการพัฒนา ทำให้วัฒนธรรมตะวันตกเข้าสู่จีนมากขึ้น ผู้หญิงจีนรุ่นใหม่จะได้รับอิทธิพลด้านความงามจากสื่อต่างๆ มากมาย โดยเฉพาะนิตยสารต่างประเทศและภาพยนตร์ จึงนิยมทำศัลยกรรมเสริมความงามกันมากยิ่งขึ้น (บัญญัติ สุขศรีงาม, 2546 : ออนไลน์)
(13) ศัลยกรรมตกแต่ง หรือศัลยศาสตร์ตกแต่ง เป็นสาขาวิชาหนึ่งของวิชาศัลยศาสตร์ โดยเน้นเฉพาะการผ่าตัดที่เกี่ยวข้องกับรูปร่างที่ปรากฏให้เห็นภายนอกร่างกายให้ดูปกติ (FORM) และมีการทำงานที่ดี (Function) โดยจะสามารถแบ่งตามวัตถุประสงค์นี้ออกเป็น 2 ส่วนคือ "ศัลยศาสตร์เสริมสร้าง" และ "ศัลยศาสตร์ตกแต่งเสริมสวย"
ศัลยศาสตร์เสริมสร้าง (Reconstructure Plastic Surgery) เป็นการผ่าตัดแก้ไขความผิดปกติ ของรูปร่างหรือความพิการที่มีมาแต่กำเนิด หรือเกิดขึ้นภายหลังจากอุบัติเหตุ เช่น การผ่าตัดแก้ไขปากแหว่ง เพดานโหว่ การผ่าตัดเนื้องอกบริเวณศรีษะและคอ ศัลยกรรมอุบัติเหตุบริเวณใบหน้า ศัลยกรรมทางมือ อุบัติเหตุจากความร้อน (Burns) รวมทั้งความพิการที่ตามมา
ศัลยศาสตร์ตกแต่งเสริมสวย (Cosmetic Plastic Surgery) คือ การผ่าตัดเพื่อความสวยงามในคนที่ปกติให้ดูดีขึ้น เช่น การผ่าตัดเสริมจมูก, ตา 2 ชั้น, ดึงหน้า, เสริมหน้าอก, การผ่าตัดด้วยเลเซอร์ เป็นต้น ( BangkokHealth, 2548 : ออนไลน์ )
ตามความเข้าใจโดยทั่วไป การทำศัลยกรรม "เสริมความงาม" เป็นเรื่องเกี่ยวกับ "ความงาม" หรือกล่าวอย่างเจาะจง คือ ความสวย และ ความน่าดึงดูดใจทางร่างกาย ในปริบทของคนเอเชียการทำศัลยกรรมเสริมจมูก อาจหมายถึง การที่เจ้าของจมูกรู้สึกว่าจมูกของตนไม่สวย แบน ไม่มีดั้ง จึงอาศัยการทำศัลยกรรมเสริมให้จมูกโด่งขึ้น แลดูสวยขึ้น เกิดความสบายใจและมั่นใจในตนเอง เป้าหมายจึงเป็นไปเพื่อการได้ครอบครอง "ความสวย" ตามแบบที่เจ้าของจมูกปรารถนา การทำศัลยกรรมเสริมความงามซึ่งรวมไปถึงการทำศัลยกรรมเสริมจมูก จึงไม่ใช่แค่เรื่องการเปลี่ยนแปลงจมูกเพื่อแสวงหาอัตลักษณ์ของความสวยให้กับเจ้าของร่างกาย แต่ยังมีมิติของการปฏิเสธลักษณะทางชาติพันธุ์ของตน เพื่อแสวงหาอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์แบบใหม่ และแบบที่ถูกเลือกว่ามีคุณค่าและมูลค่า คือ แบบของคนผิวขาวชาวตะวันตก ดังที่ Anne Balsamo (1992: 228 อ้างถึงใน โกสุม โอมพรนุวัฒน์, 2543 : ออนไลน์) ได้กล่าวว่า "ใบหน้าอันสวยงาม ถูกทำให้เป็นสัญลักษณ์ของความสวยในอุดมคติตามมาตรฐานแบบคนผิวขาว" (โกสุม โอมพรนุวัฒน์, 2543 : ออนไลน์)
ในการทำศัลยกรรมความงามจากการศึกษาของ เชาวเลิศ มากสมบูรณ์ ได้กล่าวถึงผู้ที่ทำศัลยกรรมเสริมความงามว่า ได้สะท้อนให้เห็นถึงการรับรู้เกี่ยวกับหน้าตาของตนเองว่าไม่สวย ไม่มีเสน่ห์ ไม่ดึงดูดเพศตรงข้าม จึงได้ตัดสินใจทำศัลยกรรมเสริมจมูก หรือทำตาสองชั้น เพราะต้องการให้ตนเองมีภาพลักษณ์ที่ดีขึ้น มีความน่าเชื่อถือ และเป็นที่ยอมรับในการคบหาสมาคมกับผู้อื่น ต้องการให้ตนเองเป็นที่สนใจของบุคคลรอบข้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพศตรงข้าม ทำให้เกิดความมั่นใจมากขึ้นในการพบปะสังสรรค์กับเพศตรงข้าม และการหาคู่ครอง รวมทั้งต้องการสร้างภาพความประทับใจแก่ผู้พบเห็น เพื่อความสำเร็จทางหน้าที่การงาน อีกทั้งยังเผยให้เห็นถึงการให้ความหมายกับจมูกของผู้ที่ทำศัลยกรรมอีกด้วย (โกสุม โอมพรนุวัฒน์, 2543 : ออนไลน์)
ปรากฏการณ์ความนิยมกิจกรรมการทำศัลยกรรมเสริมความงาม โดยเฉพาะการทำศัลยกรรมจมูก (Rhinoplasty) ที่นิยมแพร่หลายและได้รับการยอมรับในสังคมไทยในปัจจุบัน ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีทางการแพทย์ช่วยขยายขอบเขตความปรารถนาของมนุษย์ ในการสร้างอัตลักษณ์ของตนผ่านการกระทำกับร่างกาย แพทย์เป็นผู้ช่วยเหลือให้ความปรารถนาที่ซ่อนอยู่ภายในจิตใจได้เผยตัวออกมาเป็นรูปธรรมบนร่างกาย บนจุดศูนย์กลางของใบหน้า บนจมูก
กระแสความนิยมทำศัลยกรรมจมูก หรืออาจรวมไปถึงการทำศัลยกรรมตาสองชั้น การใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงและปกป้องผิวให้ขาว เป็นผลมาจากการนิยมและยกย่องชาวตะวันตกให้เป็นต้นแบบของร่างกายในอุดมคติ และต้นแบบเหล่านั้นก็ถูกผลิตซ้ำและแพร่กระจายผ่านสื่อมวลชน. ผลผลิตทางวัฒนธรรมจากตะวันตก เจ้าของร่างกายที่รู้สึกว่าตนเองเป็นอื่นจากต้นแบบนั้น จึงพยายามจัด และกระทำกับร่างกายให้เข้าสู่มาตรฐานของแบบในอุดมคติ การทำศัลยกรรมเสริมความงาม ก็เป็นวิธีการหนึ่งเพื่อการเข้าสู่มาตรฐานนั้นด้วย ดังนั้น ประเด็นจึงไม่ใช่อยู่แค่เรื่องของ "ความสวย" แต่ผูกโยงกับ "ความแตกต่างทางชาติพันธุ์" โดยเป็นความแตกต่างทางชาติพันธุ์บนความไม่เท่าเทียมกัน (โกสุม โอมพรนุวัฒน์, 2543 : ออนไลน์)
ด้วยวิวัฒนาการที่ก้าวหน้าทางการแพทย์ ซึ่งเป็นวิธีที่ร่างกายถูกทำให้แปลงโฉม เปลี่ยนแปลงรูปแบบใหม่โดยผ่านกิจกรรมต่างๆ เพื่อทำให้ร่างสอดคล้องกับความรู้สึกหรือความต้องการของปัจเจกบุคคล จนกลายเป็นพื้นที่หนึ่งที่เทคโนโลยีเข้ามาเกี่ยวพันกับร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เทคโนโลยีในการควบคุมอาหาร การออกกำลังกาย และการศัลยกรรมความงาม ที่ได้เข้ามาเปลี่ยนแปลงรูปโฉมของร่างกายใหม่ให้กระชับ หรือเข้ากับค่านิยมของวัฒนธรรม การผสมผสานของร่างกายกับเทคโนโลยีได้ถูกทำให้กลายเป็นทฤษฎีหรือหลักการขึ้น โดยรวมเอาการทำงานด้านเทคโนโลยีทางการแพทย์อย่างกว้างๆ เข้าไปด้วย เพราะนับเป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลง แก้ไข(modify)ร่างกาย จึงเป็นที่มาของเทคโนโลยีการเป็นตัวแทน หรือการสร้างตัวตน (Technologies of Representation) การยอมรับเทคโนโลยีเข้ามาสู่ร่างกาย ทำให้คนเราขยายขอบเขตความสามารถโดยการแทนที่ส่วนประกอบหรืออวัยวะที่เสื่อมสภาพ จากนั้นจึงปรับปรุงและทำให้ร่างที่มีตามธรรมชาติหรือได้มาแต่กำเนิดนั้นดีขึ้น เทคโนโลยีที่ค่อยๆ พัฒนาไปในรูปแบบของการสนับสนุน ดังนั้นร่างกายจึงได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้นอย่างไม่มีที่สิ้นสุด (David Bell : 139 - 140)
David Bell (p.144) ยังได้กล่าวอีกว่า การยอมรับเอาเทคโนโลยีเข้ามาสู่ร่างกาย ทำให้คนเราขยายขอบเขตความสามารถ โดยการแทนที่ส่วนประกอบหรืออวัยวะที่เสื่อมสภาพ จากนั้นจึงปรับปรุงและทำให้ความสามารถตามธรรมชาติที่มีมาแต่กำเนิดนั้นดีขึ้น เทคโนโลยีจะค่อยๆ พัฒนาในลักษณะการให้การสนับสนุน ร่างกายที่เป็น Posthuman(14) จึงสามารถได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้นอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ดังนั้น การทำศัลยกรรมจึงเป็นเพียงการเริ่มต้นของคนที่รักสวยรักงาม ต้องการให้ส่วนต่างๆ ของร่างกายเป็นไปตามอุดมคติ
(14) Posthuman เป็นบุคคลซึ่งมีความสามารถอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ทั้งทางด้านจิตวิทยา สติปัญญา และร่างกาย รวมทั้งการจัดการด้วยตัวเอง การกำหนดชัดตัวเอง และเป็นปัจเจกบุคคลที่มีความเป็นอมตะและไม่มีขีดจำกัด. Posthuman สามารถเอาชนะข้อจำกัดทางชีววิทยา ประสาทวิทยา และจิตวิทยา ที่ค่อยๆ เกิดขึ้นในมนุษย์ แต่อาจมีรูปแบบบางส่วนหรือส่วนมากที่เป็นลักษณะทางชีววิทยา (David Bell , p.146)
"เรือนร่าง" หรือ "รูปร่าง" จึงเป็นสิ่งแรกๆ ที่คนเรามองเห็นได้ชัดว่ามีความแตกต่างกัน การมองว่าคนนั้นอ้วนไป หรือคนนี้ผอมไป ขึ้นอยู่กับค่านิยมของแต่ละสังคม ดังเช่น คนไทยที่ยังมีความเชื่อในเรื่องรูปร่างอ้วน-ผอมที่ได้รับค่านิยมมาจากจีนและชาติตะวันตกมาช้านาน ซึ่งภาพความอ้วนที่ถูกประกอบสร้าง เปรียบได้ดั่งอัตลักษณ์แห่งตัวตนที่ความหมายจากการสร้างเลื่อนไหลไปมา ดังเช่นในสมัยก่อนภาพคนอ้วนของทั้งผู้หญิงและผู้ชายในสังคมไทยที่ได้รับค่านิยมมาจากวัฒนธรรมจีน จะถูกให้ความหมายในเชิงบวกจากคนรอบข้างว่าเป็นสิ่งที่ดี มีคุณค่า เป็นสัญลักษณ์ของความร่ำรวย อิ่มหนำสำราญ เป็นเสี่ยและเถ้าแก่เนี้ย แต่ในปัจจุบันตัวตนของคนอ้วนถูกสร้างความหมายใหม่จากอิทธิพลของสังคมตะวันตก ความอ้วนที่รับรู้ที่อยู่ในความคิดความเชื่อ คือ การปล่อยตัว การไม่รู้จักดูแลตัวเอง การไม่รักตัวเองและหมายถึงการนำไปสู่การหมดคุณค่าในสังคม (นิษฐา หรุ่นเกษม, 2549 : ออนไลน์)
ในปัจจุบันพบว่า หนึ่งในปัจจัยเสี่ยงของคนไทยที่ทำให้เสียชีวิตก่อนวัยอันควรคือ ความอ้วน ซึ่งโรคอ้วนนี้พบมากในเด็กไทย ถึงแม้ว่าเด็กไทยที่มีปัญหาโรคอ้วนจะมีเพียง 25% เท่านั้น แต่อัตราการเกิดเด็กอ้วนในสังคมไทยเป็นไปอย่างรวดเร็วจนน่าวิตก ทั้งที่เมื่อ 20 ปีที่แล้วเด็กไทยยังผอมโกรกกันเป็นส่วนใหญ่ แต่ช่วงสิบปีที่ผ่านมานี้ ปรากฏว่าสัดส่วนเด็กไทยที่เป็นโรคอ้วนเพิ่มขึ้นเร็วมาก จนกลายเป็นว่าสัดส่วนของเด็กไทยที่อ้วนขึ้นเกิดขึ้นเร็วที่สุด เร็วกว่าเด็กจีน อินเดีย เกาหลี ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย เวียดนาม หรือแม้กระทั่งเร็วกว่าที่นิวซีแลนด์และออสเตรเลีย (จุฬากรณ์ มาเสถียรวงศ์, 2547 : ออนไลน์)
ด้วยเทคโนโลยีที่ได้รับจากสื่อต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นละคร นวนิยาย โฆษณาหรือในโลกแห่งความเป็นจริงที่นักแสดง นักร้อง นางแบบที่มีอิทธิพลและมีบทบาทต่อภาพลักษณ์ของคนในสังคมไทยส่วนใหญ่ ที่เป็นต้นแบบของความผอม ส่งผลให้เกิดค่านิยมของคนในสังคมไทยที่เป็นสังคมบริโภคได้ง่าย เมื่อความผอมได้รับการยอมรับของคนส่วนใหญ่ในสังคม ความอ้วนจึงเป็นสิ่งที่น่ารังเกียจ ถูกดูถูก เกิดเป็นปรากฏการณ์การนำเสนอภาพตัวแทนของคนอ้วนในทางเหยียดต่ำด้อยค่าในสังคมไทย ซึ่งคนไทยได้รับอิทธิพลนี้มาจากการสร้าง และนำเสนอมาตรฐานสังคม "ความผอมคือความสวย" ให้เป็นภาพในอุดมคติของผู้หญิงชาวตะวันตก ซึ่งภาพในอุดมคติความผอมคือความสวยนี้ Macdonald และ Myra (1995) กล่าวว่าได้เริ่มตั้งแต่สมัยที่อุตสาหกรรมเครื่องสำอางและอุตสาหกรรมแฟชั่น ที่มีคริสเตียนดิออร์ ลังโคม และ Mini-skirt เป็นตัวเร่งปรากฏการณ์ ตลอดจนการเกิดวัฒนธรรมการอดอาหารหลังสงครามในสังคมตะวันตกที่ "ความผอม ไม่ได้หมายถึง ความจน" (นิษฐา หรุ่นเกษม, 2545 : ออนไลน์) มาตรฐานสังคมดังกล่าวได้ถูกถ่ายทอด แผ่ขยาย กระจายอิทธิพลไปยังสังคมต่างๆ ทั่วโลก ไม่เว้นแม้แต่สังคมไทยที่มีค่านิยมในการมองเห็นตะวันตกเป็นเจ้าครอบครองวัฒนธรรมในเรื่องนี้อยู่ก่อนแล้ว (นิษฐา หรุ่นเกษม, 2545 : ออนไลน์)
ผิวขาว, Whitening, และความมีอำนาจ
นอกจากเรื่องรูปร่างแล้ว "สีผิว" ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่คนไทย หรือแม้กระทั่งคนในเอเชียให้ความสนใจ สังเกตได้จากผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้า ผิวกาย ประเภท Whitening ต่างๆ ที่มีออกมามากมาย ปรากฏต่อสายตาของคนไทย เน้นย้ำให้เห็นถึงความจริงที่มาจากความเชื่อที่มาจากบรรทัดฐานที่ว่าการมีผิวขาว และหน้าตาแบบตะวันตก เท่ากับความสวยนั้น ซึมซับเข้าไปในความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างผู้หญิงผิวขาวและผู้หญิงผิวสี ผู้หญิงผิวสีถูกโจมตีด้วยสารเชิงวัฒนธรรมที่ไม่เพียงแต่เชื่อมโยงความขาวไว้กับความสวยและความเป็นหญิง แต่ที่สำคัญกว่านั้น คือ เชื่อมโยงความขาวไว้กับ "ความเป็นผู้ดี การได้รับความคุ้มครองจากการตกเป็นแรงงาน มาตรฐานของชนชั้นสูงและความเหนือกว่าของ Anglo-Saxon" (Peiss, 1990: 164 อ้างใน Davis, 1995) หรือ ความขาวถูกเชื่อมโยงกับอำนาจนั่นเอง
เช่นเดียวกับในคริสตศตวรรษที่ 16 จนกระทั่งต้นคริสตศตวรรษที่ 17 ภายหลังการปฏิรูปศาสนา (Protestant Reformation) มีความเชื่อการสร้างความเป็นชาย / ความเป็นหญิงในประวัติศาสตร์ของประเทศในตะวันตก ซึ่งไปสัมพันธ์กับความคิดในเรื่องร่างกายของศาสนาคริสต์ ในประเทศอังกฤษเชื่อว่าร่างกายของผู้หญิงผิวขาวมีบทบาทในการสร้างเผ่าพันธุ์ (race) ที่แข็งแรงให้ครอบครัวและประเทศชาติ สำหรับร่างกายของคนผิวดำโดยรวมแสดงถึง "ความเป็นอื่นที่อันตราย" (dangerous others) เป็นร่างป่าเถื่อน (uncivilized) มีพลังทางเพศที่ไม่สามารถควบคุมได้ อีกทั้งเป็นร่างกายที่อุดมด้วยภัยที่คุกคามระเบียบอันดีงามทางศีลธรรมของอารยธรรมตะวันตก
การผูกโยงความขาวหรือผิวขาวเข้ากับอำนาจ ยังพบได้ในกรณีการแบ่งวรรณะของอินเดียเช่นกัน "วรรณะ" แปลว่า "สี" ซึ่งสีในที่นี้ คือ "สีผิว" ดร. ประมวล เพ็งจันทร์ (2545) ได้กล่าวถึงสีในวัฒนธรรมอินเดียว่า "เนื่องจากมีคนสองกลุ่มเข้ามาอยู่ในประเทศอินเดีย คือ คนที่อยู่เดิมหรือพวกทราวิด (Dravidian) ซึ่งเป็นคนผิวดำ แล้วพวกที่เข้ามาใหม่คือ พวกอารยันหรืออินโดยูโรเปียนที่มีผิวสีขาว เมื่อพวกผิวสีขาวเข้ามาสู่อินเดีย ก็ได้เข้ามาแย่งชิงพื้นที่และมีการต่อสู้กันทางวัฒนธรรม รวมทั้งการต่อสู้กันทางยุทธวิธียุโธปกรณ์ด้วย เมื่อผู้มาใหม่ผิวสีขาวชนะ ก็ได้พยายามสถาปนาสิ่งที่เรียกว่าวรรณะหรือสีผิวขึ้นมา ให้มีกรอบกำหนดเพื่อแสดงชัยชนะ เพราะฉะนั้น ตั้งแต่สมัยที่อารยันเข้ามาสู่อินเดีย จึงทำให้ "ผิวสีขาว" ถูกทำให้มีความหมายเหนือกว่า "ผิวสีดำ" นั่นหมายความว่า ผิวสีดำจะกลายเป็นความต่ำต้อย" (โกสุม โอมพรนุวัฒน์, 2545 : ออนไลน์)
จิราจารีย์ ชัยมุสิก ได้เขียนบทความลงในผู้จัดการรายวันว่ากระแสใหม่สังคมไทยที่พ้นจากยุค " J-Wave(15) ขับเคลื่อนสู่ยุคใหม่ " K-Wave(16) กระแสนิยมสินค้าเกาหลีในเชิงวัฒนธรรม ที่กำลังไหล่บ่ามาในรูป "สินค้าวัฒนธรรม" หลากหลายซึ่งเป็นปรากฏการณ์ "Korea Wave Fever" ที่ผู้บริโภคคนไทยกำลังตอบรับกระแสดังกล่าว นับเท่าทวีมากขึ้น (จิราจารีย์ ชัยมุสิก, 2549 : ออนไลน์)
จากการวิเคราะห์กระแสเกาหลีฟีเวอร์ในสังคมไทยอย่างน่าสนใจของ ไพบูลย์ ปีตะเสน นักเขียน เจ้าของผลงาน "ประวัติศาสตร์เกาหลี" ว่า คนไทยยอมรับสินค้า "เกาหลี" มากขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นเพราะไทย-เกาหลีไม่ค่อยแตกต่างกันมาก ในลักษณะเป็นเอเชียนด้วยกัน อีกทั้งวิธีคิด การดำรงชีวิตที่คล้ายคลึงกับไทยมาก ทำให้คนไทยยอมรับวัฒนธรรมสินค้าเกาหลีได้ไม่ยาก โดยเฉพาะในหมู่วัยรุ่น K-Pop (17) ซึ่งเป็นคลื่นกระแสความนิยมนักร้อง ดารา มาแรงอินเทรนด์ ขณะที่ J-Pop (18) กลับอยู่ในขาลง… (จิราจารีย์ ชัยมุสิก, 2549 : ออนไลน์ ) ซึ่งอิทธิพลของ Korea Power นี้ได้ออกฤทธิ์ไปแทบทุกด้าน ปลายปี 2548 ต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน (อรรถสิทธิ์ เหมือนมาตย์, 2549 : ออนไลน์ ) อีกทั้ง ดร. ณัฐกิตติ์ ตั้งพูลสินธนา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ฝ่ายการตลาด บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอ็น ได้กล่าวยืนยันถึง "กระแสเกาหลีฟีเวอร์" ที่เริ่มเกิดขึ้นในประเทศไทยเมื่อปี 2549 และมาแรงขึ้นอย่างน่าจับตามอง ซึ่งกระแสนิยมเกาหลี หรือโคเรียนเทรนด์ นี้มาแรงมาก และแทรกซึมเข้าไปอยู่ในแฟชั่น ดนตรี ทรงผม การแต่งหน้า เครื่องประดับ (ผู้จัดการรายวัน, 2550 : ออนไลน์)
(15) J-Wave ย่อมาจาก Japan Wave หมายถึง คลื่นความนิยม "สินค้าวัฒนธรรม" ญี่ปุ่น
(16) K-Wave ย่อมาจาก Korea Wave หมายถึง คลื่นความนิยม "สินค้าวัฒนธรรม" เกาหลี ในรูปแบบ อาทิ การท่องเที่ยว การศึกษา
(17) K-Pop หมายถึง กระแสความนิยมต่อศิลปิน ดารา นักร้อง เกาหลี
(18) J-Pop หมายถึง คลื่นกระแสนิยมศิลปินญี่ปุ่น
โลกาภิวัตน์และวัฒนธรรมข้ามพรมแดน กับการแปรเปลี่ยนเรื่องร่างกาย
สิ่งต่างๆ ที่ก่อให้เกิดการปรับเปลี่ยน ทั้งในเรื่องของการศัลยกรรม สีผิว และรูปร่าง มีอิทธิพลมาจากการรับวัฒนธรรมข้ามพรมแดน ดังเช่น David Levinson and Melvin Ember (1996) ที่ Javier Inda ได้แปลและรวบรวมแนวคิดของนักมานุษยวิทยาท่านต่างๆ ซึ่งได้ให้ความเห็นไว้ดังต่อไปนี้
Alfred L. Kroeber อธิบายว่าลักษณะทางวัฒนธรรมประการหนึ่งคือ ยอมรับสิ่งใหม่ๆ มีการแลกเปลี่ยนโดยผ่านวัตถุทางวัฒนธรรมจากที่อื่นๆ วัฒนธรรมหนึ่งๆจึงประกอบด้วยเค้าโครงของตัวเอง และเค้าโครงของวัฒนธรรมอื่น โครเบอร์เชื่อว่าโลกเต็มไปด้วยการติดต่อสัมพันธ์และเชื่อมโยงหากัน มีการแลกเปลี่ยนไปมา คล้ายกับพื้นที่วัฒนธรรมที่มีการปะทะสังสรรค์กันถาวร
ปัจจุบันนี้นักมานุษยวิทยาพบประเด็นอื่นๆ นอกเหนือจากการติดต่อสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมต่างๆ เพราะโลกมีกลวิธีใหม่ๆ ในการสร้างความสัมพันธ์. เทคโนโลยีในศตวรรษที่ 20 โดยเฉพาะการขนส่งและการสื่อสาร เช่น เครื่องบิน โทรศัพท์ คอมพิวเตอร์ และวีดิโอ ทำให้โลกติดต่อสัมพันธ์กันอย่างเข้มข้น โลกจึงเต็มไปด้วยการหลั่งไหลของผู้คน ภาพลักษณ์ และวัตถุ สิ่งเหล่านี้ส่งต่อข้ามพรมแดน และทำให้เกิดข้อถกเถียงใหม่เกี่ยวกับผลกระทบของสินค้า สื่อ และความหลากหลายทางวัฒนธรรมของโลก ซึ่งมีการอพยพย้ายเข้าและออกของผู้คนภายในรัฐชาติความสัมพันธ์แบบเชื่อมโยง ร้อยรัดเข้าด้วยกันที่เกิดขึ้นกับโลก คือการหลั่งไหลทางวัฒนธรรมข้ามพรมแดน ซึ่งการศึกษาทางมานุษยวิทยาอาจเรียกว่า ลักษณะข้ามพรมแดนรัฐชาติ (transnationalism)
Arjun Appadurai อธิบายว่าการข้ามพรมแดนมี 5 ลักษณะ คือ
1. การข้ามพรมแดนทางชาติพันธุ์ (ethnoscapes) เกิดการเคลื่อนไหวของผู้คน เช่น นักท่องเที่ยว คนอพยพ คนถูกเนรเทศ คนย้ายถิ่นอาศัย และคนทำงาน คนอพยพและคนทำงานในที่นี้เกิดขึ้นมากในโลกที่สาม ซึ่งมีแรงงานจำนวนมากย้ายถิ่นไปทำงานในโลกที่หนึ่ง การอพยพแรงงานนี้ทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายของมวลชนจำนวนมาก ประเทศอเมริกาและประเทศในยุโรปจึงกลายเป็นตัวแบบให้กับโลกที่สาม
2. การข้ามพรมแดนทางเทคโนโลยี (technoscapes) เทคโนโลยีข้อมูลข่าวสารหลั่งไหลโดยบริษัทการค้าต่างๆ กิจการพาณิชย์เกิดขึ้นในหลายประเทศ เช่น บริษัทผลิตเหล็กในลิเบีย อาจได้รับความสนใจจากอินเดีย รัสเซีย จีนหรือญี่ปุ่น
3. การข้ามพรมแดนการเงิน (finanscapes) มีการหลั่งไหลของเงินตราจำนวนมากในตลาดการค้าการลงทุน การเคลื่อนไหวของเงินตรากลายเป็นเรื่องยากที่จะกำหนดขอบเขต เพราะนายทุนต้องการผลกำไรมากโดยต้องติดต่อกับต่างประเทศ มิใช่ลงทุนในประเทศอย่างเดียว สิ่งนี้ก่อให้เกิดความขัดแย้งชนิดใหม่ เช่น ชาวลอสแอนเจลีสไม่พอใจชาวญี่ปุ่นที่มาซื้อเมืองของพวกเขา หรือชาวบอมเบย์กังวลเกี่ยวกับเมืองที่เขาอาศัยว่าจะถูกชาวเปอร์เซียยึดครอง
4. การข้ามพรมแดนสื่อ (mediascapes) ภาพลักษณ์ของความจริงถูกสร้างขึ้น และถูกเผยแพร่ออกไปมากมายโดยหนังสือพิมพ์ โทรทัศน์ และภาพยนตร์ พรมแดนสื่อทำให้เรื่องราวของผู้คนจากที่ต่างๆ ทั่วโลกเป็นที่รับรู้ในวงกว้าง และทำให้คนท้องถิ่นมีโอกาสเผยแพร่เรื่องราวของตัวเองได้อย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน
5. การข้ามพรมแดนความคิด (ideoscapes) รัฐชาติได้สร้างความคิดขึ้นมา ความคิดที่ถูกสร้างส่วนใหญ่เป็นเรื่องของความรุ่งเรือง ความเจริญก้าวหน้า อิสรภาพ ภราดรภาพ สิทธิเสรีภาพ ประชาธิปไตย และความเป็นเอกราช ความคิดเหล่านี้มีการต่อสู้แข่งขันกันในภูมิภาคยุโรป อเมริกา และส่วนต่างๆของโลก
Cees T. Hamelink กล่าวว่า การพัฒนาทางวัฒนธรรมในประเทศศูนย์กลาง เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นพร้อมกับการแผ่ขยายตัวไปยังประเทศชายขอบ และทำให้วัฒนธรรมของชุมชนชายขอบถูกทำลายไป หรือถูกทำให้เปลี่ยนแปลงไป คำอธิบายตามแนวทางนี้ต้องการบอกว่าโลกสมัยใหม่ทำให้ทุกอย่างดูคล้ายกัน และตอกย้ำว่าศูนย์กลางมีอำนาจที่จะครอบงำชายขอบ
Ult Hanners กล่าวว่า การหลั่งไหลของวัฒนธรรมข้ามชาติต้องมีเทคโนโลยีใหม่ และสัญลักษณ์ใหม่ให้กับชุมชนชายขอบคอยรองรับ
บทความโดย
ศิริลักษณ์ คชนิล : เขียน
นักศึกษา ป.โท หลักสูตรสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
จาก http://www.midnightuniv.org/midnight2544/0009999601.html
Arthur M. Schlesinger เชื่อว่ามนุษย์ที่อยู่ในสังคมที่มีความแตกต่างทางวัฒนธรรม เช่น อเมริกา จะสร้างความร้าวฉานและทำให้ตัวเองอยู่ในกลุ่มเฉพาะ หนทางที่จะทำให้อเมริกาห่างไกลจากความแตกแยกก็คือ การทำให้ประเทศหลอมรวมเป็นหนึ่งเดียว โดยทำให้ประชาชนซึมซับวัฒนธรรมเดียวกัน สิ่งที่เกิดขึ้นกับการหลั่งไหลของผู้คนข้ามพรมแดนรัฐชาติ ก็คือการสร้าง และปรับปรุงแก้ไขวัฒนธรรมประจำชาติ ซึ่งมีความตึงเครียดเกิดขึ้นกับนโยบายการเมืองของชาติเอง (นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ, 2550 : ออนไลน์)
ไม่ว่าจะเป็นวัฒนธรรมตะวันตกหรือตะวันออก ซึ่งปัจจุบันกำลังไหลบ่าและข้ามรัดตัดกันไปมาอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน ซึ่งได้ส่งผลกระทบให้แก่กันและกันในเชิงวัฒนธรรมและสังคมอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ผลของการแลกเปลี่ยนกันอย่างรวดเร็วในยุคข้อมูลข่าวสารและการขนส่งที่ทันสมัยนี้ ย่อมส่งอิทธิพลต่อคนที่มีส่วนเกี่ยวข้องด้วยกันทั้งสิ้น รวมทั้งคนไทยในการปรับเปลี่ยนร่างกายของตนเองไปตามกระแส หรือที่เรียกว่า อินเทรนด์ ดังจะเห็นได้จากวัยรุ่นชายหญิงในสังคมไทย โดยเฉพาะกลุ่มที่เข้าถึงข่าวสารข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว จะเป็นคนกลุ่มแรกๆ ที่พลิกผันตัวเองไปสู่อิทธิพลที่ไหลข้ามพรมแดน และยอมรับนับถือวัฒนธรรมนำเป็นค่านิยม
ความแตกต่างของบุคลิกภาพhttp://jutanok1989.spaces.live.com/blog/cns!230239D104056899!192.entry (5 มกราคม 2554)
ความแตกต่างของบุคลิกภาพ
บุคลิกภาพของบุคคลแต่ละคนจะมีลักษณะเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตน แต่ก็อาจมีบางคนที่มีบุคลิกภาพที่คล้ายคลึงกันได้บ้าง ดังนั้น จึงอาจจะกล่าวได้ว่าบุคลิกภาพของบุคคลมีความแตกต่างกัน นอกจากความแตกต่างของบุคลิกภาพในลักษณะปกติแล้วบางครั้งบุคลิกภาพของบุคคลก็จะมีการผันแปรออกไปจากมาตรฐานที่สังคมกำหนด ความเบี่ยงเบนของบุคลิกภาพนี้จะทราบได้โดยการประเมินบุคลิกภาพด้วยวิธีการต่างๆ
บุคลิกภาพของบุคคลจะแตกต่างกันเพราะ บุคคลที่มีความแตกต่างกันโดยพื้นฐานต่างๆ อยู่แล้ว ทางสรีระ สังคม และวัฒนธรรม สิ่งแวดล้อมที่ต่างกันก็ทำให้บุคคลได้รับประสบการณ์ที่แตกต่าง กันมากขึ้นมีผลทำให้บุคลิกภาพ แตกต่างกันไปด้วย ปัจจัยที่มีผลทำให้เกิดความแตกต่างของบุคลิกภาพ ที่จะยกมากล่าวในที่นี้ได้แก่
1. เพศ
2. อายุ
3. สุขภาพ
4. อาชีพ
5. ประสบการณ์
1. เพศกับความแตกต่างของบุคลิกภาพ
ชายและหญิงจะมีความแตกต่างกันในลักษณะบุคลิกภาพ เว้นแต่ในช่วงของวัยเด็กซึ่งยังไม่อยู่ในขั้นของการแยกแยะความแตกต่างระหว่างเพศอย่างชัดเจนมากการทดสอบความสามารถในการเข้าใจลักษณะอารมณ์โดยไม่มีการพูด ทำให้ทราบว่าผู้หญิงมีความสามารถในการเข้าใจอารมณ์ของบุคคคลได้ดีกว่าผู้ชาย โดยไม่ว่าจะเป็นผู้หญิงในช่วงอายุใดก็ตาม ซึ่งความสามารถในการเข้าใจสัญญาณต่างๆ ที่ไม่ใช่คำพูดนี้เอง เป็นเครื่องแสดงถึงความสามารถที่บุคคลจะมีความสามารถในการสอนและงานทางคลินิก
ในการศึกษาเรื่องของความก้าวร้าว ผู้วิจัยพบว่าเพศชายและเพศหญิง มีลักษณะบุคลิกภาพที่แตกต่างกันด้วยเช่นกัน ความแตกต่างในเรื่องของความก้าวร้าวนี้จากการศึกษาในกลุ่มวัยรุ่นที่มีช่วงอายุของนักศึกษาระดับวิทยาลัย พบว่าเพศชายมีความก้าวร้าวและดุร้ายมากกว่าเพศหญิงไม่ว่าจะเป็นการวัดแบบลึก หรือการวัดแบบอัตวิสัย โดยวัยรุ่นพวกนี้ได้แสดงความคิดเห็นอย่างก้าวร้าว และก็มีความเต็มใจที่จะแสดงออกอย่างก้าวร้าวในการทดลองสำหรับกรณีของผู้ใหญ่ก็เช่นเดียวกันผู้วิจัยพบว่า ผู้ชายมีความก้าวร้าวมากกว่าผู้หญิงในการทดลองทุกสถานการณ์
สำหรับเรื่องของการแสดงออกทางอารมณ์ และความรู้สึกจะพบว่าผู้หญิงมีการแสดงออกทางอารมณ์และความรู้สึกได้เหมาะสมกว่าผู้ชาย ทั้งนี้อาจจะเป็นผลจากการบังคับทางสังคมที่มีต่อผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย และอาจจะไม่ใช่ผลของความแตกต่างในบุคลิกภาพอย่างแท้จริงก็เป็นได้ นอกจากนี้ในกรณีที่เกี่ยวกับความสิ้นหวังและความเศร้าเมื่อศึกษาเปรียบเทียบกันระหว่างเพศชายและเพศหญิงพบว่า ผู้ชายได้รับความกระทบกระเทือนทางอารมณ์เกี่ยวกับความสิ้นหวังและความเศร้าได้มากกว่าผู้หญิง
2. อายุกับความแตกต่างของบุคลิกภาพ อายุก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่มีความเกี่ยวข้องในด้านของความแตกต่างของบุคลิกภาพ โดยบุคลิกภาพจะเปลี่ยนแปลงไปพร้อมๆ กับอายุ โดยเฉพาะในเรื่องความระมัดระวัง และความเข้มแข็งการเปลี่ยนแปลงบุคลิกภาพตามอายุนั้นสำหรับบางคนการพัฒนาบุคลิกภาพของเขาจะต่อเนื่องกันมาเรื่องจากวัยรุ่นจนถึงวัยชรา โดยที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลง แต่บางคนอาจะมีการเปลี่ยนแปบุคลิกภาพโดยเฉพาะในช่วงวัยรุ่นตอนกลางถึงประมาณอายุ 30 ปี นอกจากนี้อาการผิดปกติทางพฤติกรรมของบุคคลมักจะพบสถิติที่สูงที่สุดในกลุ่มอายุระหว่าง 25 ถึง 44 ปี ส่วนอาการผิดปกติทางพฤติกรรมที่เกิดจากความผิดปกติทางร่างกายซึ่งทำให้บุคคลมีการเปลี่ยนแปลงความคิด ความจำ และบุคลิกภาพอื่นๆ นั้น ส่วนใหญ่จะพบในกลุ่มคนที่มีอายุเกิน 60 ปีขึ้นไป
3. สุขภาพกับความแตกต่างของบุคลิกภาพ สุขภาพทางกาย และสุขภาพทางจิตของบุคคลมีความเกี่ยวข้องกับความแตกต่างของบุคลิกภาพ คือ ร่างการที่สมบูรณ์แข็งแรงจะเป็นพื้นฐานให้บุคคลมีความพร้อมในการสร้างบุคลิกภาพที่ดี สุขภาพทางจิตดีเช่นเดียวกัน คนที่มีสุขภาพจิตดีจะมีความสามารถในการปรับตัวได้ดี ดังนั้นลักษณะบุคลิกภาพที่แสดงออกมาก็จะเป็นบุคลิกภาพที่ดี แต่ในทางตรงข้ามพวกที่มีสุขภาพจิตไม่ดีจะปรับตัวไม่ได้ ทำให้มีบุคลิกภาพที่สังคมไม่พึงประสงค์ ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่าสุขภาพทางกายและจิตมีผลร่วมทำให้เกิดความแตกต่างของบุคลิกภาพได้
4. อาชีพกับความแตกต่างของบุคลิกภาพ อาชีพเป็นส่วนหนึ่งที่หล่อหลอมให้บุคคลมีบุคลิกภาพตามลักษณะของอาชีพได้ อาชีพบางอย่างเช่น ครู แพทย์ จะมีการหล่อหลอมให้บุคคลในอาชีพมีบุคลิกภาพที่มีเมตตา มีคุณธรรมสูงเพราะเป็นอาชีพที่ใช้เมตตาคุณต่อเพื่อนมนุษย์ ส่วนบางอาชีพ เช่น นักหนังสือพิมพ์ จะมีลักษณะบุคลิกภาพแบบที่คล่องแคล่วว่องไวและชอบซักถาม หรืออาชีพทหาร จะหล่อหลอมบุคลิกภาพของผู้อยู่ในอาชีพนี้ให้มีความเข้มแข็ง อดทน เป็นผู้นำ ดังนั้นจึงจะเห็นได้ว่า อาชีพมีบทบาทที่สำคัญทีเดียวในการหล่อหลอมลักษณะบุคลิกภาพให้เป็นไปตามอาชีพนั้นๆ ถ้าจะมองในอีกด้านหนึ่งคนที่มีบุคลิกภาพบางลักษณะก็มักจะนิยมเลือกอาชีพให้สอดคล้องกับบุคลิกภาพของตนด้วย เช่น คนที่ชอบต่อสู้ ผจญภัย ท้าทายก็มักจะเลือกอาชีพเป็นทหาร ตำรวจ เป็นต้น
5. ประสบการณ์กับความแตกต่างทางบุคลิกภาพ บุคคลแต่ละคนจะมี ประสบการณ์ในอดีตที่แตกต่างกัน บางคนก็มีประสบการณ์ในชีวิตที่ดี มีความสำเร็จ มีความอบอุ่นในครอบครัว บุคคลที่มีประสบการณ์เช่นนี้มาจะพัฒนาบุคลิกภาพในทางที่ดี มีความอบอุ่น มั่นคง เชื่อมั่นในตนเอง ซึ่งในทางตรงข้ามบุคคลที่มีประสบการณ์ที่เลวร้ายในชีวิตจะมีลักษณะการมองโลกในแง่ร้าย ขาดความมั่นใจ หวาดกลัว บุคคลเช่นนี้จะพัฒนาบุคลิกภาพที่ขาดความไว้วางใจผู้อื่นขี้ระแวงสงสัย ไม่มั่นใจตนเอง มองโลกแง่ร้าย
ความแตกต่างทางด้านบุคลิกภาพอื่นๆ
นอกจากบุคคลจะแตกต่างกันในด้านต่างๆ ดังที่กล่าวมาแล้ว ยังมีความแตกต่างกันด้านบุคลิกภาพอื่นๆ เช่น ความถนัดตาธรรมชาติ ความสนใจ ทัศนคติ แรงจูงใจ ความคิดสร้างสรรค์ ความรับผิดชอบ วิธีคิดและแบบของการเรียนรู้ ฯลฯ ซึ่งลักษณะดังกล่าวมีผลต่อการเรียนทั้งสิ้น โดนเฉพาะอย่างยิ่งแบบการเรียนรู้ซึ่งจะแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล เช่น คนบางคนเรียนรู้ได้ดีด้วยการใช้สายตาหรือการสังเกต (Visual) บางคนเรียนรู้ได้ดีด้วยการฟัง (Auditory) บางคนเรียนรู้ไดดีด้วยการพูด (Talking) และบางคนเรียนรู้ได้ดีโดยการใช้มือหรือการสัมผัส (Touching) นอกจากนี้ผู้เรียนบางคนเรียนรู้ได้ดีถ้ามีการกำหนดเวลาที่แน่นอน แต่บางคนจะทำได้ไม่ดี บางคนต้องการให้คอยดูหรือจ้ำจี้จ้ำไช แต่บางคนชอบอิสระ เป็นต้น
ในห้องเรียนหนึ่งๆ ประกอบด้วยนักเรียนที่มีความแตกต่างกันอย่างหลากหลายปละความแตกต่างเหล่าเป็นตัวแปรสำคัญที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพในการจัดการเรียนการสอน ถ้าครูตระหนักถึงความแตกต่างระหว่างผู้เรียนอย่างจริงจัง ก็สามารถจัดการเรียนการสอนเพื่อตอบสนองผู้เรียน และพัฒนาศักยภาพผู้เรียนอย่างเต็มที่
ความแตกต่างทางสติปัญญา (Intelligence)
http://www.chamlongclinic-psych.com/document/intelligence/index.htm(3 มกราคม 2554)
คนที่เคยเห็นชาวเขาปักผ้าเป็นลวดลายอย่างที่เรียกกันว่า ครอสติช (crosstich) ก็จะรู้สึกทึ่งในความสามารถของพวกเขา เพราะชาวเขาเวลาปักผ้าจะปักจากทางด้านหลังของผ้า ที่ไม่มีการวาดลวดลายเตรียมไว้ก่อน แต่จะต้องคิดหรือจำลวดลายนั้น ออกมาเอง มองดูไม่ออกว่าน่าจะเป็นลวดลายอะไร เห็นเป็นแต่เพียงงานปักลายเลอะ ๆ แต่ถ้าพลิกกลับเอาด้านตรงข้าม ที่เป็นด้านหลังมาดูก็จะเห็นเป็นลายปักที่มีลวดลายสลับสีสันงดงาม จะว่าไปแล้วงานปักผ้าของชาวเขาที่มีความคิด ในด้านการออกแบบลวดลาย (design) ลงบนผืนผ้า มีลักษณะที่เรียกว่า geometric folk art เป็นงานศิลปะที่ทรงคุณค่า ได้อย่างหนึ่ง ถ้าจะดูความสามารถจากการปักผ้าของชาวเขาเพียงอย่างเดียวอาจกล่าวได้ว่า ชาวเขาเป็นผู้มีเชาวน์ปัญญาสูง จึงสามารถสร้างงานปักผ้าออกมาได้ในลักษณะของงานศิลปะที่มีคุณค่าได้อย่างมีคุณภาพเช่นนี้
แต่ถ้าเอาชาวเขามาวัด IQ. โดยให้ทำการทดสอบจากแบบทดสอบที่ใช้วัด IQ. คนธรรมดาทั่วไป ผลการทดสอบอาจ แสดงค่าของ IQ. ที่ไม่สูงอย่างที่คิดไว้ เพราะชาวเขาอาจตอบคำถามธรรมดา ๆ ของคนเมืองไม่ได้ หรือชาวเขาอาจมีแนวคิด ที่แตกต่างไปจากที่คนเมือง หรือคนในที่ราบคิด เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว ค่า ของ IQ. ที่แสดงออกมาก็อาจจะต่ำกว่าที่ควรจะเป็น ทั้งที่ความจริงแล้วชาวเขาไม่ได้มีเชาวน์ปัญญาต่ำดังเช่นตัวเลข IQ.ที่แสดงค่าออกมา หรือจะว่าไปแล้วชาวเขาไม่น่าที่จะมี IQ. ต่ำกว่าคนเมือง
ถ้าเช่นนั้นแล้ว เชาวน์ปัญญาหมายถึงอะไร ?
นิยามของเชาวน์ปัญญา
มีผู้ให้นิยามคำว่าเชาวน์ปัญญา (intelligence) มากมายหลายคนดังนี้:
David Wechsler (1958) กล่าวว่า เชาวน์ปัญญาคือ ความสามารถโดยรวมของบุคคลที่แสดงออกอย่างมีเป้าหมาย คิดอย่างมีเหตุผล และจัดการกับสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพ
J.P. Gilford กล่าวว่าเชาวน์ปัญญามีองค์ประกอบ 3 มิติ ด้วยกันคือ
1. วิธีการคิด
2. สิ่งที่ก่อให้เกิดเป็นความคิด เช่น ภาพ สัญลักษณ์ หรือเรื่องราวต่าง ๆ
3. ผลของความคิด สามารถดัดแปลงนำไปใช้ในกิจกรรมต่าง ๆ
Charles Spearman กล่าวถึง เชาวน์ปัญญา ซึ่งประกอบด้วย 2 โครงสร้างคือ
1. ความสามารถทั่วไป เช่นเข้าใจความสัมพันธ์ของเหตุการณ์ต่าง ๆ การวางแผนและการคิดอย่างมีเหตุผล
2. ความสามารถพิเศษ เช่น ความสามารถด้านกีฬา ศิลปะ ดนตรี
ปี 1927 Spearman กล่าวว่าองค์ประกอบทั่วไปของเชาวน์ปัญญาเรียกว่า g หรือ g-factor เป็นความคิดแฝงที่อยู่ภายใต้การกระทำทุกชนิดที่บ่งบอกลักษณะของเชาวน์ปัญญา และ g-factor คือสิ่งที่ถูกวัดโดยแบบทดสอบทางเชาวน์ปัญญา
Howard Gardner (1983) กล่าวถึงเชาวน์ปัญญา 7 ชนิด แม้ว่าแต่ละชนิดต่างเป็นอิสระไม่ต้องอาศัยอย่างอื่นประกอบ แต่โดยทั่วไปแล้ว กิจกรรมต่าง ๆ จะประกอบด้วยส่วนของเชาวน์ปัญญาเหล่านี้ร่วมกัน (Gardner, 1983; Walter and Gardner,1986; Krechesky and Gardner,1990)
เชาวน์ปัญญา 7 ชนิดคือ
1. เชาวน์ปัญญาทางด้านดนตรี (Musical intelligence) ได้แก่ทักษะที่เกี่ยวข้องกับการดนตรี
2. เชาวน์ปัญญาที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวของร่างกาย (Bodily kinesthetic intelligence) ได้แก่ทักษะที่ใช้ส่วนต่าง ๆของร่างกายในการแสดง หรือแก้ไขปัญหาเช่น นักกรีฑา นักแสดง นักเต้นรำ และ ศัลยแพทย์
3. เชาวน์ปัญญาในด้านตรรก และการคำนวณ (Logical and mathematic intelligence) ได้แก่ทักษะในการใช้เหตุและผล รวมทั้งการคิดคำนวณ และความคิดเชิงวิทยาศาสตร์ในการแก้ไขปัญหา
4. เชาวน์ปัญญาทางด้านการใช้ภาษา (Linguistic intelligence) ได้แก่ทักษะซึ่งเป็นผลจากการใช้ภาษา
5. เชาวน์ปัญญาเกี่ยวกับที่ว่าง (Spatial intelligence) ได้แก่ทักษะที่ใช้ในการแก้ปัญหาเกี่ยวกับโครงสร้าง รูปพรรณสัณฐาน องค์ประกอบ มักพบในกลุ่มที่เป็นศิลปิน หรือสถาปนิก
6. เชาวน์ปัญญาเชิงปฏิสัมพันธ์ (Interpersonal intelligence) ได้แก่ทักษะที่ใช้ในการติดต่อสัมพันธ์กับผู้อื่น เช่นมีความไวในการรับหรือส่งอารมณ์ ความรู้สึก แรงจูงใจ หรือมีความเข้าใจในผู้อื่น ข้อนี้น่าจะคล้ายกับเรื่องของ EQ.
7. เชาวน์ปัญญาในด้านความรู้ความเข้าใจที่เกี่ยวข้องกับตนเอง (Intrapersonal intelligence)ได้แก่ความเข้าใจถึงอารมณ์ความรู้สึกที่ตนเองมีอยู่
Sternberg และคณะ (1981) กล่าวถึงเชาวน์ปัญญา (intelligence) ในด้านต่าง ๆ ดังนี้คือ
1. ความสามารถในการแก้ปัญหา (problem solving ability) ด้วยหลักเกณฑ์ที่มีเหตุและผล
2. มีความคิดที่แสดงความสามารถในเชิงภาษา การติดต่อสื่อสารด้วยคำพูดและวาจาและ
3. มีความสามารถทางสังคม มีความสนใจผู้อื่น และสามารถสร้างปฏิสัมพันธ์ต่อ
กันอย่างมีประสิทธิภาพ
Sternberg (1985, 1991) พัฒนาทฤษฎีทางเชาวน์ปัญญา 3 มิติ (Triarchic theory of intelligence) เขากล่าวถึงองค์ประกอบ 3 ด้านของเชาวน์ปัญญาคือ
1. ด้านองค์ประกอบ (componential aspect) เน้นในเรื่ององค์ประกอบของความคิด ที่เกี่ยวข้องในการวิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ ในการแก้ปัญหา โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับกระบวนการของความคิดหรือทักษะ(mental process or skill) เมื่อบุคคลแสดงพฤติกรรมที่มีเหตุผล
2. ด้านประสบการณ์ (experiential aspect) เน้นประสบการณ์ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อภูมิปัญญาของมนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประสบการณ์ในอดีตที่ช่วยในการแก้ปัญหาเมื่อเผชิญกับสถาณการณ์ต่าง ๆ เช่นการปรับตัวกับงานใหม่ ความขัดแย้งกับเพื่อนร่วมงาน เป็นต้น
3. ด้านบริบท (contextual aspect) ทุกวันนี้มนุษย์ต้องเผชิญกับสิ่ง แวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา บุคคลต้องใช้ความสามารถเชิงเชาวน์ปัญญาชนิดนี้เข้าจัดการแก้ไขปัญหาในสถานการณ์ต่าง ๆที่เปลี่ยนแปลงไป
ในปัจจุบันมีนักจิตวิทยารุ่นใหม่ ๆ ที่มีการจัดแบ่งเชาวน์ปัญญาออกไปในด้านต่าง ๆ เช่น ความฉลาดทางอารมณ์ (Emotional intelligence) หรือเชาวน์อารมณ์ ( Emotional Quotient, EQ.) เชาวน์ปัญญาเชิงปฎิบัติการ (Practical intelligence) และเชาวน์ปัญญาเชิงจริยธรรม (Moral intelligence) อย่างไรก็ตามทฤษฏีใหม่ในปัจจุบันเน้นถึงความสำคัญของเชาวน์ปัญญาเชิงปฏิบัติการ (practical intelligence) ที่ช่วยให้มนุษย์ประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานและการใช้ชีวิตอย่างมีความสุขในสังคมที่ต้องอาศัยความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน มากกว่าเชาวน์ปัญญาที่ได้รับจากการเรียนรู้ในโรงเรียน (school intelligence)
ในทางจิตวิทยา เชาวน์ปัญญา (Intelligence) หมายถึงความสามารถที่จะเข้าใจโลกตามความเป็นจริง คิดอย่างมีเหตุผลและใช้ทรัพยากรต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อต้องเผชิญกับการท้าทาย เชาวน์ปัญญายังหมายถึง ความสามารถทางการรู้ การเรียนรู้ ความจำทั้งในอดีตและปัจจุบัน การจัดแนวคิดทั้งในการใช้คำพูดและตัวเลข ความสามารถในการเปลี่ยนความคิดเชิงนามธรรมเป็นภาษาเขียนหรือคำพูด และการใช้ภาษากลับไป เป็นความคิดเชิงนามธรรมยังรวมถึงความสามารถในการวิเคราะห์และการสังเคราะห์รูปทรง และการจัดการกับปัญหาต่าง ๆ อย่างมีความหมายและแม่นยำตามลำดับก่อนหลัง ( พริ้มเพรา ดิษยวณิช, 2543 )
จากนิยามดังกล่าวจะเห็นได้ว่าเชาวน์ปัญญาเป็นลักษณะเฉพาะตัวของแต่ละบุคคลเป็นผลรวมของชีวิตที่เกี่ยวกับจิตใจ ซึ่งสัมพันธ์กับความสามารถในด้านการรู้หรือประชาน (cognitive ability) พัฒนาการของเชาวน์ปัญญาเกี่ยวข้องกับอิทธิพล ของพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม
ทฤษฎีเชาวน์ปัญญา
มี นักจิตวิทยา เสนอไว้หลายทฤษฎีที่สำคัญจะนำเสนอ 3 ทฤษฎี ดังนี้
1. ทฤษฎีเชาวน์ปัญญาจิตมิติ(Psychometric Theory of Intelligence)
ทฤษฎีเชาวน์ปัญญาจิตมิติเป็นทฤษฎีที่นักจิตวิทยา ใช้หลักสถิติการวิเคราะห์องค์ประกอบ(Factor Analysis) โดยมี สเปียร์แมนเป็นคนแรกที่ใช้วิธีนี้
ทฤษฎีเชาวน์ปัญญาจิตมิติมีหลายทฤษฎีแต่ที่จะขอนำเสนอ เพียง 5 ทฤษฎี คือ
1.1 ทฤษฎีองค์ประกอบเดียว (Single-Factor Theory หรือ Unitary Mental Factor)
ทฤษฎีองค์ประกอบเดียวเป็นของศาสตราจารย์ เทอร์แมน ผู้สร้างแบบทดสอบ สแตนฟอร์ด-บิเนต์
เทอร์แมน เชื่อว่าเชาว์ปัญญา คือความสามารถในการคิดแบบนามธรรม เป็นผลของพันธุกรรมแต่เพียงอย่างเดียว ดังนั้นจึงเป็นสิ่งคงที่ไม่เปลี่ยนแปลง
1.2 ทฤษฎีองค์ประกอบสองตัว (Two – Factor Theory)
สเปียร์แมน(Charles Spearman) นักจิตวิทยาชาวอังกฤษได้นำการวัดทางจิตวิทยา(Psychometric หรือ
การวัดความแตกต่างระหว่างบุคคลในด้านพฤติกรรม และความสามารถ) มาศึกษาเชาวน์ปัญญา โดยศึกษาความสามารถของบุคคลจากการทำกิจกรรมต่าง ๆ เช่น ความสามารถการคิดคำนวณทางตัวเลข การประเมินระดับเสียง การจัดคู่ของสี และการให้เหตุผล เป็นต้น จากการศึกษาสเปียร์แมนสรุปว่า เชาวน์ปัญญาประกอบด้วยความสามารถสำคัญ 2 ประการ คือ
1) ความสามารถทั่วไป(General intelligence หรือ g - factor) ซึ่งเป็นความสามารถพื้นฐานของแต่ละ
บุคคล ผู้ที่มี g สูง จะมีความสามารถในการทำงานทุกอย่างได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่วนผู้ที่มี g ต่ำ จะมีประสิทธิภาพการทำงานต่ำ
2) ความสามารถเฉพาะ(Specific intelligence หรือ s – factor) เป็นความสามารถเฉพาะของแต่ละ
บุคคล เช่น ความสามารถทางคณิตศาสตร์ ภาษา ดนตรี ศิลปะ หรือความคิดสร้างสรรค์ และพบว่า g-factorมีค่าสหสัมพันธ์ไม่สูงนักกับ s- factor
ความสามารถทั้งสองประการนี้ได้พัฒนาขึ้นมาในแต่ละบุคคลอย่างอิสระ ทั้งยังได้รับอิทธิพลมาจากการ
ถ่ายทอดคุณลักษณะทางพันธุกรรมจากบรรพบุรุษ มาสู่ลูกหลานมากน้อยแตกต่างกันไป สเปียร์แมนกำหนดใด้ g-factor มีบทบาทเด่น และ s – factor มีบทบาทสำคัญรองลงมา
1.3 ทฤษฎีองค์ประกอบหลายตัว (Multiple Factor Theory)
เธอร์สโตน(L.L.Thurstone) อธิบายว่า เชาวน์ปัญญาไม่ได้เป็นความสามารถทั่วไปเพียงอย่างเดียว แต่ประกอบด้วยความสามารถทางสมองหลายชนิด หลายลักษณะที่มีอยู่ในตัวบุคคล เธอร์สโตนเรียกความสามารถทางสมองทั้งหลายนี้ว่า Primary Mental Abilities ประกอบด้วยความสามารถดังนี้
1) การคิดหาเหตุผล (Resoning หรือ R-factor)
2) ความจำ (Memory หรือ M-factor)
3) ความสามารถทางตัวเลข (Number หรือ N-factor)
4) ความรวดเร็วในการรับรู้ (Perceptual Speed หรือ P-factor)
5) ความเข้าใจภาษา (Verbal Comprehension หรือ V-factor)
6) ความคล่องแคล่วในการใช้คำ (Word Fluency หรือ W-factor)
7) การมองมิติของภาพ (Space หรือ S-factor)
ทฤษฎีเชาวน์ปัญญาของเธอร์สโตนบางครั้งเรียกทฤษฎี องค์ประกอบเป็นกลุ่มของเชาวน์ปัญญา
หรือ Group Factor Theory of Intelligence และเธอร์สโตนได้สร้างแบบทดสอบเชาวน์ปัญญาประกอบด้วย 7 องค์ประกอบนี้ เรียกแบบทดสอบว่า Primary Mental Ability Test
1.4 ทฤษฎีโครงสร้างทางปัญญาของกิลฟอร์ด
กิลฟอร์ด นักจิตวิทยา ชาวอเมริกันเสนอทฤษฎีโครงสร้างทางเชาวน์ปัญญาที่ เรียกว่า Structure of Intellect
หรือเรียกย่อ ๆ ว่า SI กิลฟอร์ดเชื่อว่า ทฤษฎีองค์ประกอบเดียวหรือหลายองค์ประกอบไม่สามารถอธิบายความสามารถของมนุษย์ได้หมด ทฤษฎีของกิลฟอร์ดถือว่าความสามารถแต่ละอย่าง เป็นความสามารถเฉพาะ (Specific Ability) และได้เสนอว่าเชาวน์ปัญญาประกอบด้วย 3 มิติ คือ
มิติที่ 1 การคิด (Operation)
เป็นการรวบรวมข้อมูลข่าวสารที่ได้รับและพยายามเข้าใจความหมายประกอบด้วย
1) การรับรู้และเข้าใจ(Cognition)
2) การจำ(Memory) – ความจำที่บันทึกไว้ (Recording)
- ความจำระยะยาว(Retention)
3) การคิดเอนกนัย(Divergent Thinking)
4) การคิดเอกนัย (Convergent Thinking)
5) การประเมินค่า (Evaluation)
มิติที่ 2 เนื้อหา (Content)
เป็นการจัดจำพวกหรือประเภทของข้อมูลข่าวสารที่ได้รับแบ่งออกเป็น 4 จำพวก
1) ภาพ(Figural) – ได้ยิน(Auditory)
2) สัญลักษณ์(Symbolic)
3) ภาษา(Seantic)
4) พฤติกรรม(Behavioral)
มิติที่ 3 ผลการคิด(Product)
เป็นแบบต่างๆ ที่ใช้ในการคิดประกอบด้วย
1) แบบหน่วย(Units)
2) แบบกลุ่ม(Classes)
3) แบบความสัมพันธ์(Relations)
4) แบบระบบ(Systems)
5) แบบการแปลงรูป(Transformations)
6) แบบการประยุกต์(ImPlication)
สรุปแล้วโครงสร้างเชาวน์ปัญญาของกิลฟอร์ด ประกอบด้วยความความสามารถที่แตกต่างกัน 180 ชนิด คือ(เนื้อหา 5 วิธีการคิด 6 ผลการคิด 6) ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเชาวน์ปัญญาของแต่ละบุคคลไม่ควรที่จะวัดโดยใช้คะแนนรวมเพียงอย่างเดียว กิลฟอร์ดเชื่อว่าความสามารถแต่ละอย่างเปลี่ยนแปรได้ด้วยการฝึกหัดและการเรียนรู้
1.5 ทฤษฎีองค์ประกอบทั่วไปสองตัวของแคทเทลล์
ศาสตราจารย์ เรย์มอน แคทเทล ได้เสนอทฤษฎีเชาวน์ปัญญาว่าประกอบด้วยองค์ประกอบทั่วไป 2 ตัวคือ
1) Fluid Intelligence สัญลักษณ์ “ gf ” องค์ประกอบทางเชาวน์ปัญญาที่ได้รับสืบทอดมาจากพันธุกรรม เช่น ความสามารถในการคิดหาเหตุผล คิดแบบนามธรรม และความสามารถที่จะแก้ปัญหา
2) Crystallized Intelligence สัญลักษณ์ “ gc ” เชาวน์ปัญญาที่เป็นผลมาจากการเรียนรู้และประสบการณ์ วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม
2. ทฤษฎีเชาวน์ปัญญา นีโอพีอาเจต์-อินฟอร์เมชั่นโพรเซสซิ่ง (Neo-Piaget Theory of Intelligence – Information Processing )
ตั้งแต่พีอาเจต์ได้ตั้งทฤษฎีพัฒนาการทางเชาวน์ปัญญาขึ้น นักจิตวิทยาที่เป็นศิษย์ของพีอาเจต์ก็ได้ตั้งทฤษฎีเชาวน์ปัญญาขึ้น หนึ่งในนั้นคือ สเตินเบิร์ก (Robert Sternberg) เชื่อว่า เชาวน์ปัญญาเป็นสิ่งที่แปรเปลี่ยนได้และได้ตั้งทฤษฎีเชาน์ปัญญาชื่อว่า ทฤษฎีสามองค์ประกอบที่ควบคุมเชาวน์ปัญญา(Triarchic Thoery of Intelligence ) ซึ่งหมายความว่าเชาวน์ปัญญาของมนุษย์ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ คือ
1) เชาวน์ปัญญาคอมโพเนนเชียล (Componential Intelligence) หมายถึง ความสามารถในการคิด การเรียนรู้ การหาความรู้ การวางแผนในการทำงานและยุทธศาสตร์ในการแก้ปัญหา
2) เชาวน์ปัญญาเอ็กซ์พีเรียลเชียล (Experiential Intelligence ) หมายถึง ความสามารถที่จะสู้กับสถานการณ์ใหม่หรืองานใหม่ได้ แก้ปัญหาได้โดยใช้ความคิดสร้างสรรค์และการหยั่งรู้
3) เชาวน์ปัญญาคอนเทคชวล (Conntectual Intelligence) หมายถึงความสามารถที่มนุษย์ปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์และสิ่งแวดล้อมได้ เป็นเชาวน์ปัญญาที่ทำให้มนุษย์อยู่รอด
3. ทฤษฎีเชาวน์ปัญญา ประสาทวิทยา-จิตวิทยา (Neuro-Psychological Theory of Intelligence)
การ์ดเนอร์(Howard Gardner) ได้เสนอทฤษฎีเชาวน์ปัญญาที่มีชื่อเรียกว่า ทฤษฎีพหุปัญญา หรือ Theory of Multiple Intelligence การ์ดเนอร์เชื่อว่า เชาวน์ปัญญาเป็นสิ่งที่ไม่คงที่เปลี่ยนแปลงได้ และเชื่อว่า คนเรามีเชาวน์ปัญญาหลายชนิด แต่ละชนิดเป็นอิสระไม่เกี่ยวข้องกัน ประกอบด้วยเชาวน์ปัญญา 8 แบบคือ
1) การใช้เหตุผลและความสามารถทางคณิตศาสตร์ (Logical /Mathemetic)
2) ความสามารถในการใช้ภาษาทั้งการพูดและการเขียน (Verbal/Linguistic)
3) ความสามารถทางดนตรีและเสียงสัมผัสจังหวะ (Musical/Rhythnmic)
4) ความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ (Visual-Spatial)
5) ความสามารถที่จะใช้ความรู้เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของร่างกายและควบคุมได้ (Bodily/Kinesthetic)
6) ความสามารถที่จะมีความสัมพันธ์อันดีกับผู้อื่น (Interpersonal)
7) ความสามารถที่จะเข้าใจตนเอง (Intrapersonal)
8) ความสามารถที่จะเป็นนักธรรมชาติวิทยา(Naturalist)
การ์ดเนอร์เชื่อว่าบุคคลที่มีเชาวน์ปัญญาสูงหรือเด่นด้านใดด้านหนึ่งอาจจะมีเชาวน์ปัญยาด้อยในอีกด้านหนึ่งได้ จะไม่มีใครคนใดคนหนึ่งที่มีเชาวน์ปัญญาสูงหรือต่ำในทุก ๆ ด้าน และปัจจุบันนี้ นักจิตวิทยาและนักการศึกษาในความสนใจและตอบรับทฤษฎีพหุปัญญาของการ์ดเนอร์อย่างกว้างขวาง
การวัดเชาวน์ปัญญา
ราวปี ค.ศ. 1904 รัฐบาลฝรั่งเศสมีความคาดหวังว่าการแบ่งกลุ่มเด็กเรียนช้า เพื่อจัดชั้นเรียนพิเศษจะเป็นประโยชน์กับเด็กกลุ่มนี้มากกว่าที่จะให้เรียน ในชั้นเรียนตามปกติ จึงมีการขอความร่วมมือไปยัง Alfred Binet นักจิตวิทยาเพื่อพัฒนาแบบทดสอบ มาตราในการวัดเชาวน์ปัญญาในระยะเริ่มแรก เป็นการวัดสิ่งที่เด็กได้รับจากการเรียนรู้ หรือความรู้ทั่วไป (general knowledge) เช่น
คำถามเด็กเล็ก - ชี้ที่เท้าของหนู
- หยิบดินสอมาให้ฉัน 3 แท่ง ( จากดินสอจำนวนหลาย ๆ แท่งที่วางอยู่บนโต๊ะตรงหน้าเด็ก )
คำถามเด็กโต - ให้ความหมายคำว่า ตราผลิตภัณฑ์
- น้ำขึ้นให้รีบตักหมายความว่าอย่างไร
Alfred Binet และผู้ร่วมงานคือ Theodore Simon ตั้งคำถามจำนวนมากเพื่อให้เด็กทั้งเรียนดีและเรียนอ่อนในชั้นเรียนตอบ เฉพาะคำถามที่เด็กเรียนดีมักจะตอบได้ ก็ถูกบรรจุลงในแบบทดสอบส่วนท้ายของบรรดาคำถามทั้งหมด เมื่อแบบทดสอบ ทำเสร็จแล้วจะประกอบด้วยคำถามทั้งง่ายและยาก เป็นคำถามที่กว้างและครอบคลุมในสิ่งที่เด็กทั่วไปทุกคนควรรู้ และถ้าเป็นเด็กเก่งก็จะตอบได้มากกว่าเด็กอ่อน สิ่งที่ Binet ทำนั้นเป็นการทำนายผลของการกระทำในโรงเรียนของเด็กนักเรียน อาจกล่าวได้ว่าเขาได้ทำการสร้าง criterion validity ในการทดสอบ เขาปฏิเสธว่า แบบทดสอบของเขาไม่ได้วัดสิ่งที่เรียกว่า โครงสร้างทางทฤษฎี (theoretical construct) ที่ในปัจจุบันนี้เรียกว่า construct validity
เด็กโตรู้มากกว่าเด็กเล็ก ในแบบสอบถามความรู้ทั่วไป เด็กเรียนอ่อนอายุ 13 ปี ควรที่จะตอบคำถามได้ถูกต้องมากกว่าเด็กเรียนดีอายุ 6 ปี Binet และ Simmon สร้างชุดแบบสอบถามย่อย (subtest) แต่ละชนิดประกอบด้วยคำถามที่เด็กทั่วไปตามเกณฑ์อายุนั้น ๆ ควรที่จะทำได้อย่างถูกต้อง คะแนนรวมสุดท้ายที่ได้จากการทดสอบเรียกว่า อายุสมอง (Mental Age) เช่นอายุสมองมีคะแนนเท่ากับ 12 หมายความว่าเด็กสามารถทำสิ่งต่าง ๆ (performed) ได้เท่ากับเด็กทั่วไปอายุ 12 ปี
แน่นอนว่าเด็กอ่อนจะได้คะแนนของอายุสมอง (mental age) ต่ำกว่าคะแนนที่ควรจะได้ ที่เรียกว่าอายุจริง หรืออายุตามปฏิทิน(chronological age) ดังนั้นเด็กอ่อนจะได้คะแนนของ MA. ต่ำกว่า CA. และเด็กเก่งจะได้คะแนนของ MA. สูงกว่า CA.
The Intelligence Quotient (IQ.) คืออะไร?
ต่อมา Lewis Terman แห่งมหาวิทยาลัย Stanford สหรัฐอเมริกาได้ทำการปรับปรุงแบบทดสอบของ Binet และ Simon ในปีค.ศ. 1916 และใช้ชื่อแบบทดสอบว่า Stanford-Binet Test แบบทดสอบนี้ได้รับการปรับปรุงอีกหลายครั้ง จนกระทั่งปัจจุบันก็ยังเป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย
Terman นำความคิดเรื่อง ดัชนี (Index) ของเชาวน์ปัญญาซึ่งได้รับการเสนอแนะมาจาก นักจิตวิทยาชาวเยอรมันชื่อ William Stern (1917-1938) ดัชนีนี้คือ Intelligence Quotient หรือที่นิยมเรียกย่อว่า IQ. เป็นการแสดงค่าของอัตราส่วน (ratio) ของอายุสมอง Mental Age (MA) กับอายุจริงนับตามวันเดือนปีเกิด Chronological Age (CA) ดังนี้คือ
MA
IQ. = ___________ x 100
CA
100 ที่นำมาคูณเพื่อ IQ จะได้มีค่าเป็นจำนวนต็ม ไม่ติดทศนิยม ถ้า
น้องบอย มี CA เท่ากับ 5และมี MA เท่ากับ 5 น้องบอยมี IQ เท่ากับ 100
น้องกิฟ มี CA เท่ากับ 5และมี MA เท่ากับ 7 น้องกิฟมี IQ เท่ากับ 140
น้องนัทมี CA เท่ากับ 5 และมี MA เท่ากับ 4 น้องนัทมี IQ เท่ากับ 80
การแปลความหมายของ IQ. การจำแนกIQ.โดยใช้ลักษณะของโค้งปกติเพื่อการแจกแจงมีลักษณะเช่นเดียวกับ ในเรื่องของความแตกต่างระหว่างบุคคลหลาย ๆ ชนิดเช่น น้ำหนัก หรือ ความสูง ก็จะใช้โค้งปกติรูปทรงกระดิ่ง เพื่อการจำแนกแจกแจง (bell-shaped normal distribution curve)
จากรูปนี้จะเห็นได้ว่า IQ. 100 เป็นค่าของ IQ. ปกติของคนทั่วไปอยู่ที่กึ่งกลางของรูปทรงกระดิ่ง
David Wechsler ได้ทำการจำแนกเชาวน์ปัญญาคนทั่วไปดังนี้
INTELLIGENCE CLASSIFICATIONS
IQ.
Classifications
% Included
130 and +
Very Superior
2.2
120-129
Superior
6.7
110-119
Bright Normal
16.1
90-109
Average
50.0
80- 89
Dull Normal
16.1
70- 79
Borderline
6.7
69 and -
Mental Defective
2.2
ความแตกต่างเชิงเชาวน์ปัญญา
ปัญญาอ่อน (Mental Retardation, MR)
Mental Retardation (MR) หมายถึง สภาวะที่การทำหน้าที่ทางเชาวน์ปัญญาต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ยอย่างมีนัยสำคัญ พร้อมกับความบกพร่องในพฤติกรรมเกี่ยวกับการปรับตัว (adaptive behavior).
ตามเกณฑ์ (criteria) ของ DSM IV (ปัญญาอ่อนมีจำนวน 3% ของการเกิดและ 1% ของจำนวนประชากร ปริมาณของเพศชาย:หญิง = 1.5 : 1
การจัดจำแนก IQ. ของบุคคลปัญญาอ่อนตามการจำแนกโรคทางจิตเวช DSM IV เป็นดังนี้
ระดับ IQ.
การจัดจำแนกระดับเชาวน์ปัญญา
%
55-69
ปัญญาอ่อนเล็กน้อย (Mild mental retardation)
85 %
40-54
ปัญญาอ่อนปานกลาง (Moderate mental retardation)
10 %
25-39
ปัญญาอ่อนมาก (Severemental retardation)
3-4 %
25-
ปัญญาอ่อนต่ำสุด (Profoundmental retardation)
1-2 %
ปัญญาอ่อนที่รุนแรง (severity) และไม่สามารถจำแนกได้ (unspecified) เมื่อมีลักษณะที่เด่นชัดว่า เป็นปัญญาอ่อนและไม่สามารถทำการทดสอบด้วยแบบทดสอบของคนปกติได้ คนกลุ่มนี้ควรจัดการศึกษาพิเศษให้
ตามการจัดจำแนกข้างบนนี้ จำนวน 85 % ของบุคคลปัญญาอ่อนจัดอยู่ในประเภทปัญญาอ่อนเล็กน้อย มี IQ. ระหว่าง 55-69 สามารถเรียนจบชั้นประถมปลาย เมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่สามารถทำงานช่วยเหลือตนเอง มีครอบครัว และประกอบอาชีพ มีรายได้จากงานง่าย ๆ ที่ไม่ต้องใช้ความสามารถมากนัก
10 % ของบุคคลปัญญาอ่อนจัดอยู่ในกลุ่มปัญญาอ่อนปานกลาง (Moderate type) IQ. 40-54 แม้ว่าเด็กกลุ่มนี้สามารถให้การฝึกหัดได้ เรียนจบชั้นประถมต้นได้ แต่ก็เป็นกลุ่มที่มีความบกพร่องของพฤติกรรมการปรับตัว ที่เห็นได้ชัดตั้งแต่แรกเกิดว่ามักมีสิ่งที่ผิดปกติไปจากเด็กทั่วไป ทักษะในการใช้ภาษาและการเคลื่อนไหวช้ากว่าเด็กรุ่นเดียวกัน คนกลุ่มนี้พอจะช่วยเหลือตนเองได้แต่ก็ต้องการการดูแลเป็นพิเศษในสถาบันที่จัดให้โดยเฉพาะ
3-4 % ของบุคคลจัดว่าเป็นปัญญาอ่อนมาก (Severe type) IQ. 25-40 การเรียนรู้ช้ามาก
1-2 % ของบุคคลปัญญาอ่อนเป็นพวกปัญญาอ่อนต่ำสุด (Profound type) IQ. ต่ำกว่า 25
ทั้งสองกลุ่มนี้ ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ มีความบกพร่องของพฤติกรรมการปรับตัวหลายด้านเช่น ขาดทักษะในการใช้ภาษา มีปัญหาในเรื่องของการพูดออกเสียง การควบคุมการเคลื่อนไหวไม่ดีอย่างมาก หรือแม้แต่การควบคุมการขับถ่าย ต้องมีผู้ให้การดูแลเอาใจใส่เสมือนเป็นเด็กเล็ก ควรให้อยู่ในสถาบันตลอดชีวิต
สาเหตุของปัญญาอ่อน
จำนวน 1 ใน 3 ของปัญญาอ่อนพบว่าเป็นพวก ดาว์นซินโดรม (Down Syndrome) ในสมัยก่อนมีชื่อเรียกว่า มองโกลิซึม (Mongolism) เพราะคนกลุ่มนี้จะมีใบหน้าเหมือนคนเอเชียในแถบมองโกเลีย สาเหตุของปัญญาอ่อน Down syndrome เกิดจากโครงสร้างของโครโมโซมที่ผิดปกติ คือเป็นแบบtrisomy 21(Oberle et al., 1991; Yu et al., 1991) การคลอดที่มีปัญหาเช่นเด็กขาดออกซิเจนระหว่างคลอดก็จะทำให้เป็นปัญญาอ่อนได้
ส่วนใหญ่ของปัญญาอ่อนได้รับการจำแนกว่าเป็น Familial retardation เป็นปัญญาอ่อนที่มีประวัติว่ามีบุคคลในครอบครัว เป็นปัญญาอ่อนมาก่อน แต่ไม่พบหลักฐานจากสาเหตุทางชีวภาพ (biological cause) เช่นการคลอดที่ผิดปกติหรือ ความผิดปกติจากโครโมโซมดังกล่าวมาแล้ว สาเหตุของ Familial retardation อาจเกิดจากปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมเช่น ความยากจนอย่างรุนแรงที่เกิดติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจนำไปสู่ภาวะทุโภชนาการ หรืออาจเกิดจากปัจจัยทางพันธุกรรม ไม่มีใครบอกได้อย่างชัดเจนว่าเกิดจากอะไร แต่ลักษณะเฉพาะของ Familial retardation จะต้องมีคนปัญญาอ่อนในครอบครัวมากกว่าหนึ่งคนขึ้นไป
ในราว 20 ปีที่ผ่านมามีกฎหมายของสหรัฐเมริกา คือ public law 94-142 ว่าด้วยการให้การศึกษากับบุคคลปัญญาอ่อน ในสถาบันที่จัดไว้ให้ แต่เมื่อสังคมมีความเจริญมากขึ้นกฎหมายได้มีการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้เด็กปัญญาอ่อน ได้มีโอกาสเรียน ในชั้นเรียนปกติกับเด็กทั่วไปมากขึ้น โปรแกรมนี้เรียกว่า mainstreaming เพื่อเป็นการให้เด็กปัญญาอ่อนมีโอกาส ในด้านสังคมและมีการเรียนรู้ที่กว้างมากขึ้น
ปรัชญาที่อยู่เบื้องหลัง mainstreaming คือปฏิสัมพันธ์ระหว่างเด็กปัญญาอ่อนกับเด็กปกติในชั้นเรียนทั่วไปจะ เพิ่มโอกาส ของการเรียนรู้สำหรับเด็กปัญญาอ่อน เพิ่มการยอมรับทางสังคม และช่วยให้เด็กสามารถเข้ากับสังคมปกติได้ดียิ่งขึ้น
เด็กปัญญาดีพิเศษ (The Intellectually Gifted)
ในขณะที่เด็กกลุ่มหนึ่งมีปัญหาเรื่อง IQ ต่ำ จะมีเด็กอีกกลุ่มหนึ่งมีความแตกต่างไปจากเด็กปกติทั่วไปคือ เป็นเด็กปัญญาดีพิเศษ มีจำนวน 2-4 เปอร์เซ็นต์ของประชากรที่มี IQ. สูงกว่า 130 มักพบว่ามีปัญหาในด้านทำอะไรช้า ขี้อาย ไม่ถนัดในการเข้าสังคม อยู่ในกลุ่มเพื่อนไม่ค่อยได้ แต่มีงานวิจัยบางฉบับกล่าวคัดค้านว่า เด็กปัญญาดีพิเศษนี้ชอบออกสังคม ปรับตัวได้ดี เป็นคนที่ได้รับความนิยมสูง สามารถทำสิ่งต่าง ๆ ได้ดีกว่าคนปกติทั่วไป (Stanley, 1980; Horowitz & O’Brien,1987)
ตัวอย่างของการศึกษาระยะยาว (Longitudinal studies) โดย Lewis Terman เริ่มในปี ค.ศ. 1920 ใช้เวลาในการศึกษานานถึง 60 ปี เก็บข้อมูลจากเด็กจำนวน 1500 คน ที่มี IQ.สูงกว่า 140 เมื่อเริ่มศึกษาพบว่าสมาชิกของกลุ่มตัวอย่างนี้มีสุขภาพร่างกายดี มีความสามารถทางการศึกษาและการเข้าสังคม ได้ดีกว่าเด็กปกติทั่วไป ทางด้านการเจริญเติบโตทั่วไปของร่างกายดีกว่าแข็งแรงสมบูรณ์กว่า สูงกว่า และน้ำหนักดีกว่าเด็กปกติ ไม่เป็นที่สงสัยเลยว่าเด็กกลุ่มนี้จะมีผลการเรียนที่ดี ในด้านสังคมยังแสดงถึงการปรับตัวที่ดี และประสบความสำเร็จในวิชาชีพ เป็นผู้ที่ได้รับรางวัลและเป็นที่ยอมรับ มีรายได้สูง มีความสนใจในด้านงานศิลปะและวรรณคดี รายงานที่ได้รับบอกว่า เขาต่างมีความพอใจในชีวิตมากกว่าคนที่ไม่ใช่ปัญญาดีพิเศษ
ในทางตรงข้าม ภาพของผู้มีปัญญาดีพิเศษมิไช่ว่าจะอยู่ในทิศทางที่เป็นบวกเสมอไป ไม่ทุกคนที่ Terman ทำการศึกษาแล้วพบว่าเขาเหล่านั้นล้วนแต่ประสบความสำเร็จ แต่ความจริงแล้วบางคนก็ล้มเหลว งานวิจัยแสดงออกมาว่า คนที่มีเชาวน์ปัญญาสูงไม่ได้มีลักษณะที่เหมือนกันหมด (homogeneous quality) คนที่มี IQ. สูงไม่จำเป็นต้องเป็นคนพิเศษในทุกสาขาวิชา เขาอาจมีความสามารถเหนือกว่าในบางอย่างเท่านั้น (Stanley, 1980; Sternberg & Davidson, 1986) ดังนั้น IQ. ที่สูงไม่ได้ประกันความสำเร็จไปเสียทุกสิ่ง
ในขณะที่มีการจัดโปรแกรมพิเศษสำหรับกลุ่มปัญญาอ่อน เมื่อไม่นานมานี้ก็ได้มีโปรแกรมพิเศษสำหรับกลุ่มปัญญาดีพิเศษเพื่อที่จะดึงเอาความสามารถที่มีอยู่ในตัวของพวกเขาเหล่านั้นออกมาใช้ให้เป็นประโยชน์ได้มากที่สุด Reis และ Borland ต่างก็ทำการศึกษาในปี 1989 และทั้งสองคนก็พบสิ่งที่เหมือนกันคือ ถ้าไม่ให้ความเอาใจใส่เป็นพิเศษแล้ว กลุ่มปัญญาดีพิเศษนี้ก็จะเกิดความเบื่อหน่าย คับข้องใจต่อสภาพของโรงเรียนและไม่สามารถแสดงความสามารถออกมาได้อย่างเต็มกำลัง
อิทธิพลของพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม
มนุษย์มีความแตกต่างกันในเรื่องเชาวน์ปัญญา แต่จะแตกต่างกันมากน้อยอย่างไรนั้นขึ้นอยู่กับพันธุกรรมที่เป็น ส่วนหนึ่งซึ่งเปรียบเสมือนทุนเดิมที่แต่ละคนได้รับมา และที่สำคัญอีกส่วนหนึ่งนั้นคือสิ่งแวดล้อมที่เลี้ยงดูอบรมเขาเหล่านั้น มาด้วยเช่นกัน อิทธิพลของพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมเป็นหัวข้อที่ได้รับความสนใจและกล่าวถึงเป็นระยะเวลาอันยาวนานว่า อย่างไหนจะมีอิทธิพลต่อเชาวน์ปัญญามากกว่ากัน
ความสัมพันธ์ระหว่างพันธุกรรมและเชาวน์ปัญญา
ส่วนใหญ่แล้วการศึกษาเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างพันธุกรรมและเชาวน์ปัญญามักเป็นการหาค่าสหสัมพันธ์ (correlation) จากการสำรวจรายงานการวิจัยเกี่ยวกับการวัด IQ. จำนวน 111ฉบับ ข้อมูลแสดงค่าสหสัมพันธ์เฉลี่ย (average correlation coeffients) ของคะแนน IQ. กับความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในครอบครัวที่มีลักษณะต่างกัน โดยทั่วไปเป็นการชี้ให้เห็นว่าความสัมพันธ์ของบุคคลในครอบครัวที่มีความเกี่ยวข้องทางพันธุกรรมสูง จะมีค่าของสหสัมพันธ์ของ IQ. สูงเช่นกัน ตัวอย่างเช่น ค่าสหสัมพันธ์เฉลี่ยของความสัมพันธ์ระหว่าง IQ. ของพ่อแม่กับลูกของตนเองเท่ากับ .50 แต่ค่าสหสัมพันธ์เฉลี่ย IQ.ของพ่อแม่กับลูกที่รับมาเลี้ยงเป็นบุตรบุญธรรมเท่ากับ .25
ฝาแฝดที่เกิดจากไข่ใบเดียวกัน (identical twins) ได้รับอิทธิพลของพันธุกรรมเหมือนกัน ค่าสหสัมพันธ์ของ IQ. จะสูงถึง .90 ส่วนIQ. ของฝาแฝดที่เกิดจากไข่คนละใบ (Fraternal Twins) จะมีค่าสหสัมพันธ์เท่ากับ .55 เกี่ยวกับพันธุกรรมแล้วฝาแฝดที่เกิดจากไข่คนละใบ จะมีลักษณะไม่ต่างกับพี่น้องที่ไม่ได้เป็นฝาแฝดกัน
ถึงแม้ว่าพันธุกรรมจะเป็นตัวกำหนดเชาวน์ปัญญาที่มีอิทธิพลอย่างมากก็ตาม แต่สิ่งแวดล้อมและการอบรมเลี้ยงดูก็มีอิทธิพลไม่ด้อยไปกว่ากัน ดังนั้นจะเห็นได้ว่า พี่น้องที่ได้รับการอบรมเลี้ยงดูในครอบครัวเดียวกันค่าสหสัมพันธ์ของ IQ. จะสูงกว่าพี่น้องที่ได้รับการอบรมเลี้ยงดูแยกกัน ( ต่างสิ่งแวดล้อม ) การศึกษานี้เป็นเครื่องชี้ถึงอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมที่มีต่อเชาวน์ปัญญา
อิทธิพลของสิ่งแวดล้อม
มีความแตกต่างกันของศักยภาพทางพันธุกรรมกับการเลี้ยงดูภายใต้สิ่งแวดล้อมที่ต่างกัน ได้แก่สิ่งแวดล้อมที่ขาดแคลน สิ่งแวดล้อมปานกลางและสิ่งแวดล้อมที่อุดมสมบูรณ์มีการดูแลที่ดี ในแต่ละกรณีคือ สิ่งแวดล้อมที่อุดมสมบูรณ์ส่งผลให้มี IQ. สูง และสิ่งแวดล้อมขาดแคลนทำให้ IQ. ต่ำ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความแตกต่างของแต่ละบุคคล คนที่มีศักยภาพสูง มีความสามารถสูง เมื่ออยู่ภายใต้สิ่งแวดล้อมที่อุดมสมบูรณ์ จะพัฒนา IQ. ได้ดี แต่ศักยภาพนั้นจะลดต่ำลง ถ้าอยู่ภายใต้สิ่งแวดล้อมที่ขาดแคลน (ทำให้ IQ. ลดลง) Weisman (1966), Scarr-Salapatex (1971) จึงกล่าวได้ว่าสิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลสูง ต่อเด็กที่มี IQ. ตั้งแต่เกณฑ์เฉลี่ยขึ้นไป
สิ่งแวดล้อมที่กำหนดศักยภาพทางเชาวน์ปัญญา ได้แก่ อาหาร สุขภาพ คุณภาพของสิ่งเร้า บรรยากาศทางด้านอารมณ์ภายในครอบครัวและชนิดของพฤติกรรมที่มีการป้อนกลับ ถ้าเด็กสองคนที่มีพันธุกรรมเหมือนกัน เด็กที่ได้รับอาหาร การกระตุ้นเร้าทางปัญญา และมีความมั่นคงทางอารมณ์ภายในครอบครัวภายใต้ภาวะทั้งก่อนคลอดและหลังคลอด จะมี IQ. สูงกว่า คะแนนในชั้นเรียนก็สูงกว่าเด็กที่ไม่ได้รับสิ่งกระตุ้นเร้าที่ดีดังกล่าว
การศึกษานี้แสดงว่าสถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคมมีผลต่อความแตกต่างของ IQ. ในช่วงเกิดจนกระทั่งเข้าเรียน
ในขณะนี้ยังสรุปไม่ได้ว่าระหว่างพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม อย่างไหนจะมีอิทธิพลต่อเชาวน์ปัญญามากกว่ากัน ปัญหาในขณะนี้อยู่ที่ว่าหากทำการทดลองโดยนำทารกไปเลี้ยงดูภายใต้ภาวะสิ่งแวดล้อมที่ขาดแคลนหรืออุดมสมบูรณ์เพื่อนำมาเปรียบเทียบศึกษาในงานวิจัยโดยไม่กระทบกับปัญหาจริยธรรมแล้วจะทำได้อย่างไร ?
มีคำถามมากกว่านั้นว่า ไม่ว่าพันธุกรรม หรือสิ่งแวดล้อมที่เป็นตัวกำหนดเชาวน์ปัญญาแล้ว จะมีอย่างอื่นที่นอกเหนือไปจากนี้อีกบ้างไหมที่เข้ามามีบทบาทอย่างสูงต่อพัฒนาการทางด้านเชาวน์ปัญญาของแต่ละบุคคล และสามารถที่จะนำไปสู่ศักยภาพที่สูงขึ้น
การป้องกันและการรักษา (Prevention and Treatment)
ก. ขั้นปฐมภูมิ (กับพ่อแม่)
1. ให้การศึกษาแก่ประชาชน เกี่ยวกับสาเหตุและการรักษาภาวะเชาวน์ปัญญาอ่อน
2. โครงการด้านสังคมและเศรษฐกิจ แก้ไขปัญหาความยากจน ที่อยู่อาศํย การฝึกงาน บริการเกี่ยวกับการศึกษา
3. ด้านการแพทย์ เกี่ยวกับการคลอดและการดูแลทารก
4. การแนะแนวเกี่ยวกับกรรมพันธุ (Genetic counseling).
ข. ขั้นทุติยภูมิ (กับเด็ก)
1. การเสาะหาและการรักษา phenylketonuria, galactosemia, hypothyroidism และ aminoaciduria.
2. ให้การรักษาทันท่วงทีสำหรับ bacterial meningitis, lead poisoning, subdural hematoma, hydrocephaly, craniosynostosis และ epilepsy.
3. การรับรู้เด็กที่มีความบกพร่อง เช่น ความบกพร่องทางการรับรู้และการเคลื่อนไหว ความยากลำบากในการอ่านหนังสือ การคิดเลข หรือการเขียน ความแปรปรวนเกี่ยวกับช่วงของความสนใจ หรือ aphasias.
4. รีบให้การรักษาเด็กที่ขาดการกระตุ้นจากวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมอย่างทันท่วงที
ค. ขั้นตติยภูมิ ( กับเด็กและพ่อแม่ )
1. การรักษาปัญหาทางพฤติกรรม และบุคลิกภาพ ด้วยจิตบำบัดเฉพาะตัวหรือกลุ่ม การรักษาด้วยสิ่งแวดล้อม (milieu therapy) และยา
2. การแนะแนวแก่พ่อแม่ รวมทั้งการประคับประคอง การแนะนำ การช่วยเหลือเกี่ยวกับกิจกรรมในบ้าน การไปพักผ่อนหย่อนใจในวันหยุด กิจกรรมกลุ่ม
3. การให้อยู่ในสถาบันชั่วคราว โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อ การฝึกหัด การเรียน การรักษา และการดูแลเด็กที่อยู่ที่บ้านไม่ได้
4. การฟื้นฟูสมรรถภาพทางด้านอาชีพ โดยเน้นเกี่ยวกับการฝึกอาชีพที่เหมาะสำหรับแต่ละบุคคล จัดสถานที่สำหรับการฝึกให้ในระยะแรก
5. การฟื้นฟูสมรรถภาพทางร่างกาย เพื่อแก้ความพิการทางร่างกายบางอย่างที่เกิดร่วมกับภาวะเชาวน์ปัญญาอ่อน
6. ให้การศึกษาพิเศษ (special education) พอจะแบ่งเด็กเหล่านี้ได้เป็น 2 พวกคือ เด็กเชาวน์ปัญญาอ่อนที่ฝึกหัดได้ (trainable retarded children) มี IQ.30-49 เด็กกลุ่มนี้เรียนหนังสือได้ช้า แต่สามารถให้การฝึกหัดได้เกี่ยวกับการพูด การช่วยเหลือตนเอง การทำกิจกรรมบางอย่างในชีวิตประจำวันและการเข้าสังคม IQ.50-69 สามารถเรียนหนังสืออ่านออกเขียนได้ หลักสูตรในการสอนต้องจัดแบบง่ายและค่อยเป็นค่อยไป ทำงานช่วยเหลือตนเองประกอบอาชีพที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อนและมีครอบครัวได้ เด็กที่มีความพิการเกี่ยวกับสมอง ยิ่งต้องจัดการเรียนการสอนที่ซับซ้อนยิ่งขึ้นไปอีก
ความแตกต่างระหว่างบุคคล ( สติปัญญา และ ความสามารถ )
คนเรานั้นเกิดมามีความแตกต่างกันอย่างมากมาย ถึงจะมีรูปร่างสรีระ จมูก ปาก ฯลฯ เหมือนกัน แต่สี ขนาด ยังต่างกันอยู่ดีในรายล่ะเอียดเล็กๆหากเรามองลึกลงไปเราจะพบแตกต่างขององประกอบที่หลากหลาย
เช่นเดียวกับสมองถึงจะมีรูปลักษณะคล้ายกัน แต่การทำงานที่ซับซ้อนภายในก็ยังมีความแตกต่างกันอยู่ดี การทำงานของสมอง จึงเป็นตัวกำหนดความแตกต่างของบุคคล ผลกระทบที่ทำให้เกิดความแตกต่างนั้นมีอยู่หลากหลาย ทั้ง พันธุกรรม สภาพแวดล้อม ประสบการณ์เดิม การเลี้ยงดู ฯลฯดังนั้นคนเราจึงมีความคิด ความสามารถ และ ระดับสติปัญญา บุคลิกภาพ การแสดงออก นิสัย พฤติกรรมที่แตกต่างกันไปและสติปัญญามีผลต่อพฤติกรรมที่หลากหลายของมนุษย์เป็นอย่างมาก
สติปัญญาคืออะไร ?
บิเนต์ ( Alfred Binet ) เป็นนักวิจัยเกี่ยวกับ สติปัญญาที่มีชื่อเสียง ได้ให้ความหมายของคำว่า สติปัญญาดังนี้ สติปัญญาเป็นแนวคิดหรือทิศทางของความคิดและความสามารถในการปฏิบัติตามความคิดนั้นและเป็นสมรรถวิสัยที่จะเปลี่ยนแปลงแก้ไข หรือ ริเริ่มส่งใหม่ๆขึ้นได้
ก้อดดาร์ด ( H.H. Goddard ) กล่าวว่า สติปัญญา เป็นระดับความสามารถของแต่ล่ะบุคคลในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า และคาดคะเนผลที่จะเกิดขึ้นได้
เทอร์แมน ( Lewis Terman ) ได้ให้ความหมายว่า สติปัญญาหลายถึงความสามารถในการคิดแบบนามอธรรมของแต่ล่ะบุคคลใด้ดีและรวดเร็ว
ฟรีแมน ( Freeman ) กล่าวว่า สติปัญญาเปฌ็นความสามารถในการเรียนรู้ความสามารถในการคิดเกี่ยวกับนามอธรรม และความสามารถในการปรับตัวต่อสิ่งแวดล้อม
โคเลสนิค ( Kolesnik ) ได้ใให้ความหมายว่าสติปัญญาเป็นความสามารถหลายๆด้านดังนี้
1. เป็นความสามารถในการเอาประสบการณ์มาใช้ให้เกิดประโยชน์
2. ความสามารถในการปรับตัวต่อสิ่งแวดล้อม
3. ความสามารถในการแก้ปัญหา
4. ความสามารถในการมองเห็นความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งต่างๆ
5. ความสามารถในการคิดและเข้าใจนามอธรรม
6. ความสามารถในการเรียนรู้
ทฤษฏี สติปัญญาแบบหลายตัวประกอบ ผมขอยกตัวอย่างของ กิลฟอร์ด ( Guilford ) นะครับ
ในปี 1960 กิลฟอร์ด ได้แบ่งโครงสร้างของสติปัญญาของมนุษย์ได้ 3 มิติคือ
มิติที่ 1 เนื้อหาคือข้อมูลที่แยกจำชนิดและจำพวกต่างๆประกอบด้วย 4 จำพวกคือ
1.1ภาพหรือสิ่งที่มีรูปร่างตัวตน
1.2 สัญลักษณ์ หมายถึงข้อมูลที่อยู่ในรูปแบบของเครื่องหมายต่างๆ เช่นตัวอักษร ป้าย
1.3ภาษา หมายถึงข้อมูลที่อยู่ในรูปแบบของถ้อยคำที่มีความหมายแตกต่างกัน
1.4พฤติกรรม หมายถึงข้อมูลที่เป็นกริยาอาการของมนุษย์
มิติที่ 2 การปฏิบัติการ คือกระบวนการทางสมองหรือพฤติกรรมทางสมองของบุคคลเมื่อได้รับการเร่งเร้าจากข้อมูลต่างๆ ในมิติที่ 1กระบวนการทางสมองจะเร่มจากยากไปง่ายดังนี้
2.1การเข้าใจการรับรู้ หมายถึงความสามารถของบุคคลที่จะรับรู้สิ่งต่างๆ
2.2ความจำ หมายถึงความสามารถของบุคคลในการสะสมหรือเก็บข้อมูลต่างๆไว้ได้
2.3การคิดแบบ อเนกนัย หมายถึงความสามารถทางสมองของบุคคลที่จะให้จ้อมูลต่างๆโดยไม่จำกัดจากสิ่งเร้า
2.4ความคิดแบบ เอกนัย หมายถึงความสามารถของบุคคลที่จะสรุปข้อมูลที่ดีที่สุด ถูกต้องที่สุดจากข้อมูลที่กำหนดให้ได้
2.5การประเมินค่า หมายถึงความสามารถของบุคคลในการหาเกณฑ์ที่สมเหตุสมผลจากข้อมูบที่กำหนดให้และสรุปได้ว่ามีข้อมูลใดบ้างที่สอดคล้องกับเกณฑ์นั้นๆ
มิติที่ 3 ผลผลิต คือข้อมูลหรือผลที่ได้รับจากการปฏิบัติการขั้นต่างๆ แบ่งออกเป็น 6 ลักษณะคือ
3.1 หน่อย หมายถึงสิ่งที่เป็นลักษณะเฉพาะตัวที่แตกต่างไปจากสิ่งอื่น เช่น หมา แมว นก ปลา งู
3.2 จำพวกหมายถึง กลุ่มหน่วยต่างๆที่มีลักษณ์บางประการร่วมกัน เช่น แมว หมา คน วัว เป็นสัตว์จำพวกเดียวกัน คือเลี้ยงลูกด้วย นม
3.3 ความสัมพันธ์ หมายถึงการเชื่อมโยงผลที่ได้ประเภทต่างๆ 2 ประเภท หรือหลายประเภทเข้าด้วยกัน โดยอาศัยลักษณะบางประการเป็นเกณฑ์
3.4 ระบบ หมายถึงการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของผลลับธ์ที่ได้หลายคู่เข้าด้วยกันอย่างเป็นระเบียบ เช่น 2 4 6 8 เป็นเลขคู่เป็นต้น
3.5 การแปลงรูป หมายถึงการจัดเปลี่ยนแปลงหรับปรุงหรือจัดองค์ประกอบของข้อมูลที่กำหนดมาในรูปแบบใหม่ให้มีรุปเปลี่ยนไปจากเดิม
3.6 การประยุคต์ หมายถึงการคาดหวัง หรือการทำนายสิ่งหนึ่งจากข้อมูลที่กำหนดให้
ทั้งนี้รวมถึงการแสดงออกของกลุ่มคน ( ส่วนใหญ่จะปรากฏในเด็ก ) ที่มีความสามารถพิเศษ หลายด้าน ( Giftedness ) และความสามารถพิเศษเฉพาะด้าน ( Talentedness ) ยังเป็นตัวแยกความแตกต่างของความสามารถในอีกระดับหนึ่งด้วย ซึ่งประกอบด้วยความสามารถ 8 ด้านคือ
1. ด้านภาษา
2. ด้านดนตรี
3. ด้านการคิดเลข/การใช้เหตุผลเชิงคณิตศาสตร์ ( แบบที่ Caused ใช้คิดในรูปแบบของวิธีการที่แยกตัวก่อนที่จะทำให้สอดคล้องกันด้วยวิธีของ ฟิสิกส์ หรือ เคมี )
4. การเคลื่อนไหว ( สรีระศาสตร์ ด้านกีฬา )
5. มิติสัมพันธ์ ( การคิดเป็นมิติ รูปร่าง เช่นบ้าน รถ )
6. ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
7. ด้านการเข้าใจตนเอง
8. ด้านธรรมชาติวิทยา
ในแบบทดสอบของ ผศ.ดร. อุษณีย์ อนุรุทธ์วงศ์ มี 10 ด้านได้แก่
1. แววผู้นำ
2. นักสร้างสรรค์
3. นักคณิตศาสตร์
4. นักดนตรี
5. นักภาษา
6. นักคิด
7. นักวิชาการ
8. นักวิทยาศาสตร์
9. นักกีฬา
10. ศิลปิน
ทั้งนี้ ความแตกต่างระหว่างบุคคลยังมีความเหลืมล้ำในด้านอื่นๆอีก เช่นเด็กที่มีปัญหาด้านการทำงานของสมอง เช่น ออทิสติก เอสเพอร์เกอร์ Ld ด้อยความสามารถด้านภาษา ฯลฯ รวมถึงเด็กที่มีความเป็นเลิศทางปัญญาในด้านต่างๆ ผู้เขียน จะพยายามนำเสนอรายล่ะเอียดในบทความต่อไป ผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่า จะลงบทความเหล่านี้เพื่อประโยชน์ของผู้อ่านที่จะนำไปปรับใช้ในชิวิต เพราะเราทุกคนต้องใช้ชีวิตร่วมกับบุคลอื่น
หากท่านสนใจเรื่องเด็กที่มีความสามารถพิเศษลองติดต่อที่ ตึกอำนวยการ ม.ศรีนครินทรวิโรณประสานมิตร ที่ศูนย์พัฒนาอัจฉริยภาพเด็กปัญญาเลิศ หรือสอบถาม ผศ.ดร.อุษณีย์ ( โพธิสุข ) ก็ได้ครับ
“ความแตกต่างที่ถูกสร้างขึ้นโดยมิได้ตั้งใจ สิ่งนั้นเริ่มต้นง่ายแสนง่าย แต่กลับซับซ้อนยิ่งยากที่เราจะเข้าใจ” ขอมอบให้แด่เด็กพิเศษทุกคนคับ
Hinokami Akira บทความเกริ่นเฉยๆคับ เดี๋ยวเนื้
ความแตกต่างทางด้านอารมณ์(Emotion) http://www.chamlongclinicpsych.com/document/emotion/index.html (10 ธันวาคม 2553)
หมายถึงการแสดงออกทางอารมณ์หรือความรู้สึกต่างๆ เช่น ดีใจ เสียใจ โกรธ อิจฉา ก้าวร้าว เป็นต้น ซึ่งการแสดงออกทางอารมณ์มีมากน้อยไม่เท่ากันและแสดงออกมาไม่เหมือนกัน การควบคุมอารมณ์ก็เดียวกันถ้าคนเรามีความแตกต่างกัน บางคนมีความสามารถในการควบคุมทางอารมณ์ได้ดี แต่อีกหลายๆคนควบคุมให้ดีไม่ได้ปล่อยให้เป็นไปตามอารมณ์ที่เกิดซึ่งได้รับอิธิพลมาตั้งแต่วัยทารกเป็นต้นมา ปัจจุบันทางสังคมได้ให้ความสำคัญแก่คนที่มีความสามารถในการควบคุมอารมณ์ได้อย่างเหมาะสมเป็นอย่างมาก ที่เรียกกันว่า มีวุฒิภาวะทางอารมณ์ หรืออีคิว คนที่ได้รับความสำเร็จในชีวิตไม่ไช่อยู่ที่มีไอคิวสูงอย่างเดียวแต่ต้องมีอีคิวเป็นส่วนประกอบด้วย
ทฤษฎีอารมณ์ (Emotion) http://www.chamlongclinic-psych.com/document/emotion/index.html
อารมณ์เป็นพลังที่ทรงอำนาจอย่างหนึ่งของมนุษย์ อารมณ์อาจเป็นต้นเหตุของสงคราม อาชญากรรม ความขัดแย้งเรื่องเชื้อชาติ และความขัดแย้งอื่นๆ อีกหลายชนิดระหว่างมนุษย์ด้วยกัน ในทางตรงกันข้าม อารมณ์เป็นน้ำทิพย์ของชีวิต ทำให้ทุกสิ่งทุกอย่างสวยสดงดงามและน่าอภิรมย์ ความรัก ความสนุกสนาน ความเพลิดเพลิน ความพอใจ หรือความตลกขบขันล้วนแต่ทำให้ชีวิตมีคุณค่าและความหมายทั้งสิ้น
อารมณ์มีความสำคัญเช่นเดียวกับการจูงใจดังได้กล่าวแล้ว อารมณ์คืออะไร? อารมณ์คือ หลายสิ่งหลายอย่าง ในทัศนะหนึ่ง อารมณ์ คือ สภาวะของร่างกายซึ่งถูกยั่วยุ จนเกิดมีการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาหลายๆ อย่าง เช่น ใจสั่น, ชีพจรเต้นเร็ว, การหายใจเร็วและแรงขึ้น, หน้าแดง เป็นต้น ในอีกทัศนะหนึ่ง อารมณ์ คือความรู้สึกซึ่งเกิดขึ้นเพียงบางส่วนจากสภาวะของร่างกายที่ถูกยั่วยุ อาจเป็นความรู้สึกพอใจหรือไม่พอใจก็ได้ อารมณ์ยังเป็นสิ่งที่คนเราแสดงออกมาด้วยน้ำเสียง คำพูด สีหน้า หรือท่าทาง ประการสุดท้ายอารมณ์เป็นได้ทั้ง แรงจูงใจ หรือเป้าประสงค์ ถ้าเป็นอารมณ์ที่น่าพึงพอใจก็เป็นเป้าประสงค์เชิงนิยต (บวก) ถ้าไม่น่าพึงพอใจก็เป็นเป้าประสงค์เชิงนิเสธ (ลบ) ในแง่ของศัพท์บัญญัติ บางท่านใช้คำว่า “อาเวค” หรือ “ความสะเทือนใจ” แทน “อารมณ์”
แรงจูงใจและอารมณ์มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด บ่อยครั้งความโกรธเป็นผู้เร่งเร้าพฤติกรรมทางก้าวร้าว แม้ว่าพฤติกรรมเช่นนี้สามารถเกิดขึ้นได้โดยไม่มีความโกรธ อารมณ์สามารถกระตุ้น (activate) และชี้นำ (direct) พฤติกรรม ในทำนองเดียวกันกับแรงจูงใจทางชีวภาพหรือทางจิตใจ อารมณ์อาจเกิดร่วมกับพฤติกรรมที่ถูกจูงใจ ความรู้สึกทางเพศมิได้เป็นแต่เพียงแรงจูงใจที่ทรงอานุภาพเท่านั้น แต่ยังเป็นต้นตอของความพอใจอย่างยิ่งด้วย อารมณ์สามารถเป็นเป้าประสงค์ เราทำกิจกรรมบางอย่าง เพราะเรารู้ว่ามันจะนำความพึงพอใจมาให้
ความแตกต่างระหว่างอารมณ์กับการจูงใจ
(Differences between emotion and motivation)
ว่ากันตามความจริงแล้ว ไม่มีความแตกต่างที่ชัดเจนระหว่างอารมณ์และการจูงใจ หลักพื้นฐานที่สุดในการแบ่งแยกสิ่งสองสิ่งนี้คือ อารมณ์มักจะถูกยั่วยุโดยสิ่งเร้าภายนอกและการแสดงออกของอารมณ์จะมุ่งไปที่สิ่งเร้าในสิ่งแวดล้อมที่กระตุ้นให้เกิดขึ้น ในทางตรงกันข้ามแรงจูงใจมักจะถูกยั่วยุโดยสิ่งเร้าภายใน และโดยธรรมชาติจะมุ่งไปที่วัตถุบางอย่างในสิ่งแวดล้อม (เช่น อาหาร น้ำ เครื่องนุ่งห่ม) อย่างไรก็ตามในบางครั้งเราไม่อาจแยกความแตกต่างเช่นนี้ได้ ตัวอย่าง เหตุกระตุ้นใจบางอย่าง เช่น การเห็นหรือการได้กลิ่นอาหารที่อร่อย สามารถกระตุ้นให้เกิดความหิวทั้งๆ ที่ไม่มีสิ่งเร้าเกี่ยวกับความหิวจากภายใน สิ่งเร้าภายในเช่น การขาดอาหารอย่างรุนแรงสามารถเร่งเร้าให้เกิดอารมณ์หงุดหงิดและก้าวร้าวได้
อารมณ์และสมอง (Emotion and brain)
สมองมีหน้าที่ควบคุมและยั่วยุลักษณะเฉพาะทางสรีรวิทยาของอารมณ์ ส่วนที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์ คือ ระบบประสาทเสรี (autonomic nervous system) ทั้ง sympathetic และ parasympathetic divisions ระบบประสาทส่วนนี้ถูกควบคุมโดยศูนย์ต่างๆ ในสมอง ผู้ที่ได้ทำการทดลองเป็นคนแรกคือ Cannon และ Bard (1928) โดยใช้แมวและสุนัข ตอนแรกได้พยายามเอา cerebral cortex ออกหมด พบว่า threshold of irritability ลดลง แต่สัตว์ยังสามารถแสดงอารมณ์ได้ ต่อมาเอา cortex และ thalamus ออกไป การแสดงออกของอารมณ์ยังคงมีอยู่ สุดท้ายเมื่อเอา hypothalamus ออก พฤติกรรมทางอารมณ์จะหายไปจึงเชื่อว่า hypothalamus เป็นศูนย์กลางที่สำคัญสำหรับการรวมหน่วยของพลังกระทบทางอารมณ์ต่างๆ การกระตุ้นกระแสไฟฟ้าที่สมองส่วนนี้ทำให้เกิดความกลัวหรือความโกรธในสัตว์ได้
Hypothalamus เกี่ยวข้องกับอารมณ์สามทางด้วยกันคือ 1) neural impulse จาก receptor ผ่าน receptor ผ่าน hypothalamus หรืออาจอยู่แนบชิดส่วนนี้ เมื่อเดินทางไปสู่ cortex 2) neural impulse จาก cortex ผ่านมาที่ hypothalamus ในสถานการณ์บางอย่าง เช่น ความคิด ความจำ การตัดสินใจ เป็นต้น อาจมีการกระตุ้นให้เกิดกิจกรรมใน hypothalamus และ 3) neural impulse อาจถูกส่งจาก hypothalamus ไปยังกล้ามเนื้อและอวัยวะต่างๆ
ระบบลิมบิกและอารมณ์ (Limbic system and emotion)
James Papez มีทรรศนะว่า limbic lobe ก่อให้เกิดวงจรซึ่งพลังกระทบทางอารมณ์ (emotional impulse) ที่เกิดภายใน hypothalamus สามารถเดินทางไปสู่ cerebral cortex และโดยนัยเดียวกัน cerebral cortex ก็สามารถปรับสภาวะทางอารมณ์ได้ที่ระดับของ hypothalamus วงจรนี้เรียกว่า Papez circuit นอกจากนั้น limbic lobe ยังมีบทบาทสำคัญอันดับแรกในกระบวนการและการรวมหน่วยของสัญชานที่เกี่ยวกับการรู้ (cognitive perceptions) ซึ่งมีจุดเริ่มต้นในบริเวณ cerebral cortex และพลังกระทบทางสัญชาติญาณ (instinctual impulses) ที่ออกมาจาก hypothalamus. Papez ได้เสนอแนะอย่างจำเพาะเจาะจงว่ารายละเอียดจาก hypothalamus จะถูกนำจาก mammillary bodies ไปยัง anterior thalamic neucleus โดย mammillothalamic tract และหลังจากนั้นก็จะไปสู่ cingulate gyrus ซึ่งการรวมหน่วยกับรายละเอียดจาก cerebral cortex จะถูกนำจาก cingulated gyrus ไปสู่ hippocampal formation และจากที่นี้ก็จะผ่าน fornix ไปสู่ mammillary bodies อีกทอดหนึ่ง ( ดูรูปที่ 1)
รูปที่ 1 วงจรกระแสประสาทของ limbic system ซึ่งเกี่ยวข้องกับอารมณ์ เส้นหนาแสดงให้เห็นถึงวงจรเดิมที่ Papez เป็นผู้เสนอไว้ ส่วนเส้นบางบ่งถึงการเชื่อมโยงของส่วนต่าง ๆ ที่ MacLean เป็นผู้เสนอขึ้นภายหลัง ( จาก Kandel ER, Schwartz JH. Jessel TM eds: Principle of Neural Science. New York, Elsevier, 1991)
ต่อมา Paul MacLean ได้แนะนำว่าโครงสร้างอื่น ๆ ควรจะรวมเข้าไว้ใน limbic system ด้วย สิ่งเหล่านี้ได้แก่ amygdala, septum, nucleus accumbens (ส่วนของ striatum ใน basal ganglia), ส่วนของ hypothalamus anterior to mammillary bodies และ orbitofrontal cortex ( ส่วนของprefrontal และ limbic association cortices )
นิวเคลียสของ limbic system สมัยดั้งเดิมยังรวมถึง hypothalamus, amygdala, cingulate gyrus, septal neuclei และ hippocampus (รูปที่ 2 ) นิวเครียสเหล่านี้เกี่ยวข้องกับความจำ จินตภาพทางตา (visual imagery) ความรู้สึกทางเพศ (sexuality) การแสดงออกและการกำหนดรู้ด้านต่าง ๆ ของอารมณ์ซึ่งรวมเรื่องความรัก ความเสียใจ ความเศร้าโศก ความซึมเศร้า ความกลัว ความก้าวร้าว ความโกรธ ความพอใจ ความสุข ความครื้นเครง และยังรวมแม้แต่ความรู้สึกปีติทางเพศและ ศาสนา (sexual and religious ecstasy)
รูปที่ 2 ภาพกึ่งกลางของสมองแสดงส่วนของ limbic ซึ่งประกอบด้วย primitive cortical tissue (บริเวณที่เห็นเป็นจุด ๆ) ที่อยู่ล้อมรอบก้านสมองส่วนบน ส่วนที่รวมอยู่ใน limbic lobe ด้วย ได้แก่ hippocampus และ dentate gyrus ในภาพนี้เห็นส่วนของ temporal lobe ชัดเจน (จาก Kandel ER, Schwartz JH. Jessell TM eds: Principles of Neural Science. New York , Elsevier, 1991)
องค์ประกอบของอารมณ์ (The components of emotion)
การตอบสนองทางอารมณ์ ประกอบด้วยปัจจัยต่างๆ ดังนี้
1. ปฏิกิริยาทางอารมณ์ (emotion action) เช่น การวิ่งหนีจากสิ่งที่เรากลัว
2. การตอบสนองทางระบบประสาทอิสระ (autonomic responses) เช่น หัวใจเต้นแรงขึ้นและเหงื่อออก บริเวณฝ่ามือเมื่อตกใจกลัว
3. พฤติกรรมที่แสดงออกมา (expressive behavior) เช่น การยิ้ม หน้านิ่วคิ้วขมวด
4. ความรู้สึก (feelings) เช่น ความโกรธ ความปีติ ความเศร้าโศก
การเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาที่เกิดขึ้นระหว่างที่อามรณ์รุนแรงเป็นผลจากการกระตุ้น sympathetic division ของระบบประสาทเสรีเพื่อเป็นการเตรียมพร้อมสำหรับภาวะฉุกเฉิน
ปัจจุบันเชื่อว่า ระบบประสาทส่วนกลางของการตอบสนองทางอารมณ์ (emotional responses) ถูกควบคุมโดย cerebral cortex และ limbic system ซึ่งประกอบด้วย thalamus, hypothalamus, amygdala และ hippocampus
อารมณ์ยังขึ้นอยู่กับสารส่งต่อ พลังประสาท (neurotransmitters) ในสมองปัจจุบันนี้เป็นที่ยอมรับกันว่า “อาการซึมเศร้า” (depression) เกี่ยวข้องกับระดับของ norepinephrine (NE) ที่ลดลง ยาที่ทำให้ระดับของ NE ลดลง จะทำให้เกิดอาการซึมเศร้า ส่วนยาต้านซึมเศร้า (antidepressants) ทำให้ระดับของ NE สูงขึ้น
การตอบสนองทางสรีรวิทยา (Physiological responses)
เมื่อประสบกับอารมณ์ที่รุนแรง เช่น ความกลัว หรือความโกรธ เรารู้ตัวว่ามีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายหลายอย่าง หัวใจเต้นเร็ว หายใจเร็วขึ้น ปากและคอแห้ง กล้ามเนื้อตึง เครียด เหงื่อออก แขนขาสั่น แน่นและอึดอัดในท้อง ส่วนใหญ่ของการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาที่เกิดขึ้นระหว่างอารมณ์รุนแรงเป็นผลจากการกระตุ้น sympathetic division ของระบบประสาทเสรี เพื่อเป็นการเตรียมพร้อมร่างกายสำหรับภาวะฉุกเฉิน การเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาเมื่ออารมณ์เกิดขึ้นมีดังนี้
1. ความต้านทานทางกระแสไฟฟ้า (electrical resistance) ของผิวหนังลดลง ความต้านทานของผิวหนังเช่นนี้บางทีเรียกว่า galvanic skin response (GSR)
2. ความดันโลหิตเพิ่มขึ้น ปริมาตรของเลือดในอวัยวะต่างๆ ของร่างกายเปลี่ยนแปลงไป
3. หัวใจเต้นเร็วขึ้น บางรายอาจมีอาการเจ็บแปลบที่บริเวณหัวใจ
4. การหายใจเร็วและแรงขึ้น
5. รูม่านตาขยายทำให้แสงตกลงไปบนจอภาพ (retina) มากขึ้น
6. การหลั่งของน้ำลายลดลง ทำให้รู้สึกคอแห้ง
7. ขนลุกชัน (goose pimples)
8. การเคลื่อนไหวของกะเพาะและลำไส้ ลดลงหรือหยุดไปเลย เลือดจะเปลี่ยนทิศทางจากกระเพาะและลำไส้ไปยังสมองและกล้ามเนื้อลาย
9. กล้ามเนื้อตึงหรือกระตุก
10. มีการเปลี่ยนแปลงในส่วนประกอบของเลือดที่เห็นชัดที่สุดคือระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น เพื่อทำให้พลังงานเพิ่มมากขึ้น
เมื่อมีอารมณ์เกิดขึ้น sympathetic system จะกระตุ้นอินทรีย์เพื่อให้มีพลังงานออกมา เมื่ออารมณ์ลดลง parasympathetic system ซึ่งทำหน้าที่เป็นระบบอนุรักษ์พลังงาน energy-conserving system) จะทำงานแทนและทำให้อินทรีย์กลับคืนสู่ภาวะปกติ ทฤษฎีของอารมณ์ (theories of emotion)
1. James-Lange theory ดูรูปที่ 3
รูปที่ 3
William James นักจิตวิทยาที่มีชื่อเชื่อว่าปัจจัยที่สำคัญในอารมณ์ที่เรารู้สึก คือ ผลสะท้อน (feedback) จากการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายที่เกิดขึ้นเมื่อมีการตอบสนองต่อสถานการณ์ที่ทำให้ตกใจหรือไม่สบายใจ เข้าทำนอง “เรากลัวเพราะเราวิ่งหนี” “เราโกรธเพราะเราทุบตีเขา” นักสรีรวิทยาชาวเดนมาร์ก ชื่อ Carl – Lange มีแนวความคิดแบบเดียวกันและในเวลาใกล้เคียงกัน ทฤษฎีนี้จึงมีชื่อว่า James – Lange theory
2. Cannon’s Theory ดูรูปที่ 4
รูปที่ 4
นักสรีรวิทยาชื่อ Walter Cannon มีความเห็นขัดแย้งหลายอย่างกับทฤษฎีแรก ท่านได้ชี้ให้เห็นว่า
1. การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายดูเหมือนว่าไม่แตกต่างกันมากนัก จากการที่สภาพอารมณ์อย่างหนึ่งเปลี่ยนไปเป็นอีกอย่างหนึ่ง แม้จะมีความจริงว่าเราในฐานะบุคคลหนึ่ง มักรู้อย่างแจ่มแจ้งว่าเรากำลังประสบกับอารมณ์ชนิดไหน
2. อวัยวะภายในเป็นโครงสร้างที่ไม่ค่อยมีความไหวเร็วมากนัก และมีเส้นประสาทมาเลี้ยงไม่ค่อยดี และการเปลี่ยนแปลงภายในเกิดช้ามากจนไม่น่าจะเป็นต้นเหตุของความรู้สึกทางอารมณ์
3. การชักนำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายเทียม (เช่น การฉีด adrenalin) ซึ่งเกี่ยวโยงกับอารมณ์ มิได้ทำให้เกิดประสบการณ์ของอารมณ์ที่แท้จริง
Cannon เชื่อว่าส่วนของสมองที่มีบทบาทสำคัญต่ออารมณ์ คือ thalamus สมองส่วนนี้จะตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่ก่อให้เกิดอารมณ์ โดยการส่งพลังกระทบ พร้อมๆ กันไปยัง cortex และส่วนอื่นๆ ของร่างกาย ความรู้สึกทางอารมณ์เป็นผลของการยั่วยุพร้อมๆ กันของ cortex และระบบประสาทเสรีตามทฤษฎีนี้การเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย และประสบการณ์ของอารมณ์เกิดขึ้นในเวลาเดียวกัน บางคนเรียกทฤษฎีนี้ว่า thalamus theory
3. Cognitive – Physiological Theory
ระยะต่อมาพบว่า hypothalamus มิใช่ thalamus เป็นศูนย์กลางที่สำคัญของการรวมหน่วย (integration) ของพลังกระทบที่เกิดจากอารมณ์ ประสบการณ์ของอารมณ์ในจิตรู้สำนึกจะเกี่ยวข้องกับการรวมหน่วยของรายละเอียดจากแหล่งกำเนิดสามทางด้วยกัน 1) ปัจจัยทางสรีรวิทยาเป็นพลังที่ไปสู่สมองจากอวัยวะภายในและกล้ามเนื้อลาย 2) ปัจจัยทางสิ่งเร้าเป็นพลังที่ไปสู่สมองจากสิ่งเร้าภายนอก ซึ่งกระทบต่อระบบการรู้สึก และ 3) ปัจจัยทางการรับรู้ เป็นความจำจากประสบการณ์ในอดีตและการประเมินสถานการณ์ในปัจจุบัน ทั้งสองสิ่งนี้จะก่อให้เกิดรายละเอียดเพิ่มเติมไปสู่สมอง ดูรูปที่ 5
รูปที่ 5
ตามทฤษฎีนี้ความแตกต่างในเรื่องเวลาตามทฤษฎีของ James-Lange และ Cannon ไม่มีความหมายเท่าใดนัก ในบางโอกาสเมื่อมีอันตรายเกิดขึ้นทันทีทันใด กิจกรรมที่เกิดจากระบบประสาทเสรีอาจเกิดก่อน อาการแสดงอันแรกของประสบการณ์ทางอารมณ์ ในกรณีนี้ทฤษฎี
ของ James-Lange จะถูกต้องในโอกาสอื่นการรับรู้อารมณ์เกิดก่อนการเปลี่ยนแปลงของระบบประสาทเสรีอย่างชัดเจน เช่น เมื่อมีคนมาด่าเรา เราจะรู้สึกโกรธอย่างแรง ต่อมาจะมีอาการหน้าแดง ใจสั่น มือสั่น กล้ามเนื้อเกร็ง ในกรณีนี้ทฤษฎีของ Cannon จะถูกต้อง อย่างไรก็ตามสภาวะทางอารมณ์ที่เรารู้สึกนั้น มีแหล่งกำเนิดอันที่สามของรายละเอียดคือ ปัจจัยทางการรับรู้ (Cognitive factors)
การแสดงออกทางอารมณ์ (Emotional Expression)
ก. การแสดงออกทางอารมณ์โดยกำเนิด (Innate emotional expression) การแสดงอารมณ์พื้นฐานเป็นสิ่งที่มีมาตั้งแต่กำเนิด (innate) เด็กทุกชาติทุกภาษาจะร้องไห้เมื่อเจ็บปวดหรือเสียใจ และหัวเราะเมื่อสุขใจ จากการศึกษาเด็กที่ตาบอดหรือหูหนวกตั้งแต่แรกเกิดพบว่า การแสดงออกของสีหน้า ท่าทาง และท่วงทีกิริยาหลายๆ อย่าง ซึ่งเราเอาไปสัมพันธ์กับอารมณ์ชนิดต่างๆ ได้รับการพัฒนาโดยความสุกสมบูรณ์ (maturation) การแสดงออกของอารมณ์เหล่านี้เกิดขึ้นในช่วงอายุที่เหมาะสม แม้ว่าจะไม่มีโอกาสสังเกตได้ในคนอื่น
Sir Charles Darwin ได้เขียนหนังสือ The expression of emotions in man and animals ซึ่งพิมพ์ในปี 1872 ท่านกล่าวว่าวิธีแสดงออกของอารมณ์เป็นกระสวนที่ถูกถ่ายทอดทางพันธุกรรม และแต่เดิมมีคุณค่าเพื่อความอยู่รอด (Survival value) ของชีวิตบางอย่าง เช่น การแสดงความรังเกียจ (disgust) หรือการไม่ยอมรับ (rejection) เกิดจากการที่อินทรีย์พยายามขจัดเอาสิ่งที่ไม่ดีหรือไม่น่าพึงพอใจ ซึ่งได้กินเข้าไปแล้ว
การแสดงสีหน้าบางอย่างดูเหมือนจะมีความหมายสากล โดยมิได้คำนึงถึงวัฒนธรรมในที่ซึ่งคนเราได้รับการเลี้ยงดู เมื่อเอาภาพแสดงสีหน้าของความสุข ความโกรธ ความเสียใจ ความรังเกียจ ความกลัว และความประหลาดใจ มาแสดงต่อคนชาวอเมริกัน บราซิล ซิลี อาเจนตินา และญี่ปุ่น คนเหล่านี้ไม่มีความยากลำบากในการบอกความแตกต่างของอารมณ์แต่ละชนิด พวกชาวเขาและชาวเกาะที่อยู่ห่างไกลความเจริญก็บอกได้เช่นกัน
ข. บทบาทของการเรียนรู้ในการแสดงออกทางอารมณ์ (Role of learning in emotional expression) แม้ว่าการแสดงออกของอารมณ์บางอย่างมีมาตั้งแต่กำเนิดเป็นส่วนใหญ่แล้ว แต่อารมณ์ก็อาจได้รับการดัดแปลงมากมายโดยการเรียนรู้ ตัวอย่าง ความโกรธ อาจแสดงออกมาโดยการต่อสู้โดยการใช้ภาษาที่ก้าวร้าว หรือโดยการลุกออกไปนอกห้อง แน่นอนการออกจากห้องหรือการใช้คำหยาบมิใช้การแสดงความโกรธ ซึ่งมีมาตั้งแต่แรกเกิด
การแสดงออกทางอารมณ์ทางสีหน้าและท่าทาง อาจแตกต่างกันในแต่ละวัฒนธรรม ตัวอย่าง ชาวจีนมีการแสดงออกทางอารมณ์บางอย่างแตกต่างจากชาติอื่นๆ อย่างมาก การตบมือแสดงถึงความกังวลใจ หรือความผิดหวัง การเกาหูและแก้มบ่งถึงการมีความสุข การแลบลิ้นออกมาแสดงถึงความประหลาดใจ ในสังคมตะวันตก การตบมือหมายถึงความสุข การเกาหูแสดงถึงความกังวล และการแลบลิ้นบ่งถึงการยั่วโทสะ
การยั่วยุทางอารมณ์ และประสิทธิภาพของการทำงาน
(Emotion Arousal and Effectiveness of Performance)
ระดับต่ำของการยั่วยุทางอารมณ์มีแนวโน้มที่ก่อให้เกิดความตื่นตัว และความสนใจในงานใกล้มือ อย่างไรก็ตามเมื่ออารมณ์เกิดเข้มข้น (รุนแรง) ไม่ว่านะน่าพอใจหรือไม่พอใจ ความสามารถในการทำงานมักลดลง ส่วนโค้งในรูปที่ 6 แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างระดับของ การยั่วยุทางอารมณ์ และประสิทธิภาพของการทำงาน
รูปที่ 6 แสดงการยั่วยุทางอารมณ์และการทำงาน
เมื่อระดับของการยั่วยุต่ำมาก เช่นตอนกำลังตื่นนอนใหม่ๆ ระบบประสาทอาจไม่ได้ทำงานเต็มที่ และไม่สามารถรับรายงานทางการรู้สึก (sensory messages) การกระทำจะเหมาะสมหรือมีประสิทธิภาพมากที่สุด เมื่อ การยั่วยุอยู่ในระดับปานกลาง ที่ระดับของการยั่วยุซึ่งสูงขึ้นไปกว่านี้ ความสามารถในการทำงานเริ่มลดลง อาจเป็นไปได้ว่าระบบประสาทส่วนกลางมีการตอบสนองต่อหลายๆ สิ่งมากเกินไปทันทีทันใด จึงเป็นการป้องกันการตอบสนองที่เหมาะสมไม่ปรากฏออกมาเด่นชัด
ระดับของการยั่วยุที่เหมาะสมและรูปร่างของส่วนโค้งแตกต่างกันไปสำหรับงานแต่ละอย่าง เมื่อมีการยั่วยุของอารมณ์เกิดขึ้น นิสัยที่เกิดจากการเรียนรู้แบบง่ายๆ มีโอกาสสูญเสียหรือแตกแยกได้น้อยกว่าการตอบสนองอันซับซ้อนซึ่งต้องอาศัยการรวมหน่วยของกระบวนความคิดหลายๆ อย่าง ในขณะที่มีความกลัวอย่างสุดขีด เรายังอาจสามารถสะกดชื่อของเราได้ แต่ความสามารถของเราในการเล่นหมากรุกจะต้องสูญเสียไปอย่างมาก
คนเรามีการแตกแยกของพฤติกรรมโดยการยั่วยุทางอารมณ์ในขอบเขตที่แตกต่างกันไป การสังเกตคนจำนวนมากขณะมีวิกฤตกาล เช่น ไฟไหม้ น้ำท่วมทันทีทันใดพายุพัดบ้านพัง เป็นต้น พบว่าประมาณร้อยละ 18 แสดงพฤติกรรมแบบปกติ และมีประสิทธิภาพส่วนใหญ่ราวร้อยละ 70 มีการแตกแยกของบุคลิกภาพในระดับที่แตกต่างกันไป แต่ยังสามารถทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพตามสมควร ส่วนที่เหลือร้อยละ 15 มีการแตกแยกของบุคลิกภาพจนทำอะไรไม่ได้เลย อาจวิ่งวนไปวนมาส่งเสียงร้องกรีด โวยวาย บางคนกลับยืนนิ่ง หรือแสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมอย่างมาก การศึกษาทหารที่อยู่ภายใต้ความกดดันของการปะทะต่อสู้ที่รุนแรง พบว่าเพียงร้อยละ 15 ถึง 25 เท่านั้นสามารถใช้ปืนยิ่งต่อสู้ข้าศึกได้ พวกที่เหลือได้แต่ถือปืนจ้องแบบแข็งทื่อ และไม่สมารถยิงได้
ดังนั้นอารมณ์ที่เข้มข้นมากเกินไป สามารถก่อให้เกิดผลเสียอย่างรุนแรงต่อกระบวนการต่างๆ ที่ควบคุมพฤติกรรมปกติของคนเราได้
ภาวะทางอารมณ์ที่ยาวนาน (Enduring Emotional States)
บางครั้งอารมณ์ไม่อาจถูกระบาย (discharged) ออกไปได้ทันท่วงที แต่ยังคงมีอยู่ในลักษณะที่ถูกเก็บกดและไม่ได้รับการแก้ไขให้หมดไป ความโกรธ ความไม่เป็นมิตร ความอาฆาต หรือความกลัวที่ถูกเก็บกด (repressed) เอาไว้เป็นเวลานาน เช่น ความโกรธเจ้านาย ความกังวลเกี่ยวกับความเจ็บป่วยของภรรยา ความอาฆาตเพื่อนที่หักหลัง เป็นต้น อาจทำให้สมรรถภาพในการทำงานลดลง และมีผลเสียต่อสุขภาพทั้งทางร่างกายและจิตใจได้ มีความผิดปรกติทางร่างกายบางอย่าง ซึ่งเกี่ยวข้องกับความเครียดและความกดดันทางอารมณ์ เรียกว่า จิตสรีราพาธ (Psycho physiologic disorders) การยั่วยุของอารมณ์จะมีผลกระทบกระเทือนต่อระบบประสาทเสรีจนทำให้การเปลี่ยนแปลงของระบบสรีรวิทยาต่างๆ ในร่างกาย เกิดเป็นโรคขึ้น เช่น แผลในกระเพราะอาหาร หอบหืด โรคหลอดเลือดหัวใจ (coronary artery desease) ประสาทหัวใจ (cardiac neurosis)โรคปวดศีรษะข้างเดียว (migraine) โรคปวดศีรษะเนื่องจากความตึงเครียด (tension headache) ความดันโลหิตสูงและโรคผิวหนัง เป็นต้น
ความเครียดและโรคหัวใจ
แพทย์เฉพาะทางสองท่านคือ Friedman and Rosenman (1974) ทำการศึกษาผู้ป่วยโรคหัวใจเป็นเวลานานหลายปีพบว่า คนที่เป็นโรคหัวใจมักมีแบบกระสวนแห่งพฤติกรรมที่เรียกว่า “ พฤติกรรมชนิด ก. ( Type A behavior)” คนที่มีพฤติกรรมแบบนี้มีโอกาสเป็นโรคหัวใจได้สูงกว่าคนที่ชอบสูบบุหรี่ ขาดการออกกำลังกาย อ้วน หรือรับประทานอาหารที่มีไขมันมากเกินไป
ลักษณะเฉพาะของคนที่มีพฤติกรรมชนิด ก. คือ ชอบแข่งขันอย่างจริงจัง และพยายามผลักดันตัวเองให้ไปสู่ผลสัมฤทธิ์หรือเป้าประสงค์อย่างที่ได้ตั้งใจไว้ มีความทะเยอทะยานสูง มีความรู้สึกรีบเร่งกับเวลา หาโอกาสผ่อนคลายได้ยาก ขาดความอดทน ชอบโกรธเมื่อต้องเผชิญกับความล่าช้า เมื่อดูจากภายนอกแล้วคนประเภทนี้มีความเชื่อมั่นในตนเองสูง แต่ความจริงกลับเป็นคนที่ชอบสงสัยหรือไม่แน่ใจในตนเอง เชื่อว่าความเครียดที่ให้ได้สิ่งที่ต้องการร่วมกับความรู้สึกไม่เป็นมิตรที่แฝงอยู่ภายใน มีส่วนสนับสนุนคนที่มีพฤติกรรมชนิดนี้ให้เกิดเป็นโรคหัวใจได้ง่าย
ส่วนคนที่มี “พฤติกรรมชนิด ข. (type B. behavior)” จะไม่มีลักษณะเฉพาะต่าง ๆ อย่างในที่พบในพวกแรก คนพวกนี้ไม่ชอบแข่งขัน สามารถผ่อนคลายได้โดยไม่มีควาสำนึกผิด และทำงานได้โดยไม่มีความกระวนกระวายใจ ไม่ชอบโอ้อวดหรือพูดเรื่องความสำเร็จของตน ไม่มีความรู้สึกเร่งรัดเรื่องเวลา และมีความอดทนได้ดี ความรู้สึกโกรธ และความรู้สึกไม่เป็นมิตร ถูกกระตุ้นได้ยากในคนพวกนี้
ความแตกต่างระหว่างเพศ (http://www.golfprojack.com/index.php?lay(15 ธันวาคม 2553)
แม้ว่าจะเป็นการยอมรับกันว่า ผู้หญิงและผู้ชายแตกต่างกันทางสรีระ ความแตกต่างของพฤติกรรมของหญิงและชาย
ขึ้นอยู่กับสังคมและวัฒนธรรมสังคมและวัฒนธรรมไทยผู้หญิงได้รับสิทธิทุกอย่างเหมือนกับผู้ชายและในการเลือกอา
ชีพผู้หญิงมีโอกาสเลือกได้ทุกอาชีพ ขึ้นอยู่กับความสามารถของตน
แมคโคบี และแจ็คลิน ได้รวบรวมผลการวิจัยเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างเพศทั้งหมดและยังได้สรุปความแตกต่าง
ระหว่างหญิงและชายที่นักจิตวิทยาได้สรุปเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างเพศเป็นผลกาวิจัยออกเป็น 3 พวก คือ
1. ความแตกต่างระหว่างเพศที่มีผลต่อการสนับสนุนเป็นที่เชื่อถือได้
2. ความแตกต่างระหว่างเพศยังไม่มีผลการวิจัยสนับสนุนแน่นอน
3. ความแตกต่างระหว่างเพศยังไม่มีผลการวิจัยสนับสนุนเพียงพอ
ความแตกต่างระหว่างเพศที่มีผลการวิจัยสนับสนุนเป็นที่เชื่อถือได้ ผู้ชายมีความสามารถหรือพฤติกรรมดีกว่าหญิง เพียง 3 อย่างคือ
1. ผู้ชายมีความสามารถในการจำรูปร่างทรงสิ่งของได้
2. ผู้ชายมีความสามารถทางคณิตศาสตร์มากกว่าผู้หญิง
3. ผู้ชายแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวมากกว่าผู้หญิง
คำและความหมายที่เกี่ยวกับเรื่องเพศ
ในฐานะผู้ที่ต้องทำงานเรื่อง'เพศ'ศึกษา เราน่าจะมาทำความเข้าใจความหมายของคำศัพท์ที่
เกี่ยวข้องกับเรื่องเพศที่มีอยู่หลากหลาย คำต่างๆต่อไปนี้มีที่มาจากภาษาอังกฤษ ซึ่งในหลายคำเกือบจะหาคำแปลเป็นภาษาไทยไม่ได้ เริ่มตั้งแต่ศัพท์ง่ายๆระหว่างคำว่า sex กับsexuality จะแปลให้มองความหมายของความเหมือนและความต่างได้อย่างไร ในรายงานนี้จึงเจตนาใช้คำว่า 'เพศ'ศึกษา อย่างขีดเส้นใต้และเอียงคำว่า ‘เพศ’(sexuality) ในเครื่องหมายคำพูดนี้ไว้ว่าต่างจากคำว่า เพศ (sex) ที่คนไทยโดยทั่วไปมักคิดว่า เป็นเรื่องใต้สะดือ
• 'เพศ'ศึกษา (sexuality education) คือกระบวนการต่อเนื่องของชีวิตในการได้มาซึ่งข้อมูล การปลูกฝังทัศนคติ ความเชื่อ และคุณค่าของเอกลักษณ์ ความสัมพันธ์ และความรักเชิงพิศวาท มีสาระเกี่ยวกับการพัฒนาการทางเพศ สุขภาพอนามัยเจริญพันธุ์ ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ ความรักใคร่ ความปรารถนาภาพพจน์ในร่างกายตัวเอง และบทบาททางเพศ 'เพศ'ศึกษา จึงนำเสนอและค้นหาเรื่องราวเกี่ยวกับระบบชีววิทยาที่เกี่ยวกับเพศ สังคมวัฒนธรรม จิตใจ และวิญญาณที่เกี่ยวกับ ‘เพศ’ ของมนุษย์
• เพศ (sex) สถานภาพทางเพศว่า เป็นหญิงหรือชาย ตัดสินโดยอวัยวะทางเพศที่แต่ละคนมีอยู่
• เพศศาสตร์ (sexology) ศาสตร์หรือวิทยาการเรื่องที่เกี่ยวกับเพศ
• ปรัชญาเพศ (sexosophy) ความเข้าใจทางวัฒนธรรมว่าด้วยเรื่องเพศ
• เอกลักษณ์ทางเพศ (sexual identity) ความเป็นตัวตนภายในของมนุษย์ในฐานะสิ่งมีชีวิตที่มีเพศ รวมถึงการคิดหรือเชื่อว่าตนเองมีเอกลักษณ์และหรือรสนิยมทางเพศอย่างไร
• เพศสัมพันธ์หรือการร่วมเพศ (sexual intercourse) การร่วมประเวณี การมีเพศสัมพันธ์ที่มีการสอดใส่หรือการมีเพศสัมพันธ์ด้วยวิธีอื่นๆ เช่น ทางปาก ทางทวาร เป็นต้น
• รสนิยมทางเพศหรือวิถีทางเพศ (sexual orientation) ความพึงพอใจเชิงพิศวาท รักใคร่ผูกพันกับผู้อื่นที่มีเพศเดียวกัน หรือต่างเพศกัน
• รักสองเพศ (bisexual) ความพึงพอใจเชิงพิศวาท รักใคร่ผูกพันกับผู้อื่นที่มีเพศเดียวกัน และต่างเพศ จะหญิงหรือจะชายก็รักได้ทั้งสองเพศ
• รักต่างเพศ (heterosexual) ความพึงพอใจเชิงพิศวาท รักใคร่ผูกพันกับผู้อื่นที่มีเพศต่างกันเท่านั้น
• รักเพศเดียวกัน (homosexual) ความพึงพอใจเชิงพิศวาท รักใคร่ผูกพันกับผู้อื่นที่มีเพศเดียวกันเท่านั้น
• เพศสภาพหรือความเป็นหญิงเป็นชาย (gender) ความเป็นหญิง ความเป็นชาย ที่มาจากความรู้สึก
ส่วนตัว และหรือจากสถานภาพทางกฎหมาย เป็นสิ่งที่สังคมวัฒนธรรมปลูกฝังให้
• เอกลักษณ์ความเป็นหญิงชาย (gender identity) ความรู้สึกภายในตนเองว่า ตัวเองเป็นหญิงหรือเป็นชาย
• บทบาททางเพศ (gender role) ความเข้าใจของคนทั่วไปเกี่ยวกับเอกลักษณ์ทางเพศ และหรือความคาดหวังของสังคมต่อพฤติกรรมและการปฏิบัติตนของผู้หญิงและผู้ชาย
ที่มา 'เพศ' ศึกษา (Sexuality Education) : มุ่งสร้างคุณภาพชีวิตหญิงชายและความสัมพันธ์สร้างสรรค์ระหว่างมนุษย์ โดย กฤตยา อาชวนิจกุล สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
ความแตกต่างระหว่างเพศและวัย(About Golfer) http://www.golfprojack.com/index.php?lay(15 ธันวาคม 2553)
โครงสร้างของกระดูก การเจริญเติบโตของกระดูกคนเราคล้ายกันจนกระทั่งอายุ 9-10 ปี เด็กหญิงจะเริ่มโตเร็วกว่าเด็กชาย ช่วงที่สูงเร็วคือเมื่ออายุประมาณ 11 ปี เด็กผู้ชายจะโตช้ากว่าประมาณ 2 ปี และจะโตเร็วเมื่อเริ่มอายุ 13 ปี เด็กผู้หญิงหลังจากมีประจำเดือน(เฉลี่ยอายุ 12-14 ปี)จะโตช้าลง ซึ่งจะสูงเพิ่มขึ้นประมาณ 5 ซม. และจะสูงสุดเมื่ออายุ 16-17 ปี
เด็กผู้ชายมักจะโตเร็วระหว่างอายุ 12-15 ปี และจะยังมีโอกาสสูงเพิ่มขึ้นจนถึงอายุ 20-21 ปี เมื่อร่างกายเจริญเติบโตเต็มที่แล้ว ผู้ชายจะมีน้ำหนักมากกว่าผู้หญิงประมาณ 11 กิโลกรัม เนื่องจากกระดูกและกล้ามเนื้อที่มีประมาณมากกว่า ผู้ชายจะมีไหล่กว้างและสะโพกแคบ ผู้หญิงจะมีสะโพกกว้างกว่าไหล่และสูงน้อยกว่าผู้ชาย ทำให้จุดศูนย์ถ่วงของร่างกายในผู้หญิงต่ำกว่าของผู้ชายช่วยให้มีการทรงตัวดีขึ้น แต่ผู้หญิงจะมีความสูงน้อยกว่าโดยเฉพาะช่วงแขนท่อนบนสั้นกว่า ทำให้รัศมีของวงสวิงสั้นและปริมาณกล้ามเนื้อน้อยกว่าจึงทำให้ผู้หญิงไม่สามารถตีกอล์ฟได้ไกลเท่าผู้ชาย
ส่วนประกอบของร่างกาย ผู้หญิงมีส่วนประกอบของไขมันในร่างกาย 26% เปรียบเทียบกับผู้ชายซึ่งมีไขมัน 14% ผู้ชายมีปริมาณกล้ามเนื้อมากกว่า เนื่องจากมีฮอร์โมนเพศชาย(Androgen) ผู้หญิงได้รับอิทธิพลจากฮอร์โมนเอสโตรเจน(Estrogen) ทำให้มีอัตราส่วนของไขมันในร่างกายเพิ่มขึ้นและสะสมตามสะโพกและต้นขา
การเปลี่ยนแปลงทางสรีระวิทยาและการทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกาย ในระบบไหลเวียนเลือด ผู้หญิงมีหัวใจขนาดเล็กกว่าทำให้การสูบฉีดเลือดแต่ละครั้งได้ปริมาณเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อน้อยกว่า ทำให้มีการทดแทนโดยหัวใจบีบตัวเร็วขึ้น โดยเฉลี่ยผู้หญิงมีอัตราการเต้นของหัวใจ 80 ครั้งต่อนาที ของผู้ชาย 72 ครั้งต่อนาที
ผู้หญิงมีทรวงอกขนาดเล็กกว่าผู้ชาย ทำให้การหายใจเข้า-ออกแต่ละครั้งมีปริมาณอากาศน้อยกว่าผู้ชาย และปริมาณเม็ดเลือดแดงของผู้หญิงน้อยกว่าผู้ชาย เม็ดเลือดแดงมีหน้าที่นำออกซิเจนไปเลี้ยงเซลล์และขับเอาคาร์บอนไดออกไซด์ออก โดยการแลกเปลี่ยนที่ถุงลมในปอด ดังนั้น ความสามารถในการนำออกซิเจนไปเลี้ยงกล้ามเนื้อของผู้หญิงทำได้น้อยกว่าผู้ชาย ความทนทานของกล้ามเนื้อจึงน้อยกว่า
โดยสรุป ผู้หญิงมีความแข็งแรงเฉลี่ย 2 ใน 3 เท่าของผู้ชายเนื่องจากปริมาณของกล้ามเนื้อมีขนาดเล็กกว่าและเนื่องจากอิทธิพลจากฮอร์โมนเพศ ทำให้โครงสร้างของร่างกาย การทำงานของระบบไหลเวียน การหายใจและกล้ามเนื้อของผู้หญิง ไม่สามารถสร้างให้แข็งแรงเหมือนผู้ชายได้ ดังนั้น การเล่นกีฬาจึงต้องมีแยกประเภทหญิงและชาย รวมทั้งกีฬากอล์ฟด้วยซึ่งมีระยะที่แตกต่างกันระหว่างผู้หญิงกับผู้ชาย
พัฒนาการทางเพศ เป็นส่วนหนึ่งของพัฒนาการบุคลิกภาพ ที่จะเกิดขึ้นตั้งแต่เด็ก มีความต่อเนื่องไปจนพัฒนาการเต็มที่ในวัยรุ่น หลังจากนั้น จะเป็นส่วนหนึ่งของบุคลิกภาพที่ติดตัวตลอดชีวิต เมื่อสิ้นสุดวัยรุ่น จะเกิดการเปลี่ยนแปลงให้เกิดสิ่งต่อไปนี้
มีความรู้เรื่องเพศ ตามวัย และพัฒนาการทางเพศ ตั้งแต่ร่างกาย การเปลี่ยนแปลงไปตามวัย และจิตใจสังคม ของทั้งตนเอง และผู้อื่น ทั้งของเพศตรงกันข้าม ความแตกต่างกันระหว่างเพศ
เอกลักษณ์ทางเพศของตนเอง ได้แก่ การรับรู้เพศตนเอง(core gender) บทบาททางเพศและพฤติกรรมทางเพศ(gender role) มีความพึงพอใจทางเพศหรือความรู้สึกทางเพศต่อเพศตรงข้ามหรือต่อเพศเดียวกัน(sexual orientation)
มีพฤติกรรมการรักษาสุขภาพทางเพศ(sexual health) การรู้จักร่างกายและอวัยวะเพศของตนเอง ดูแลรักษาทำความสะอาด ป้องกันการบาดเจ็บ การติดเชื้อ การถูกล่วงเกินละเมิดทางเพศ การป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ
ทักษะในการสร้างความสัมพันธ์กับผู้ที่จะร่วมเป็นคู่ครอง การเลือกคู่ครอง การรักษาความสัมพันธ์นี้ให้ยาวนาน แก้ไขปัญหาต่างๆในชีวิตร่วมกัน การสื่อสาร การมีความสัมพันธ์ทางเพศกับคู่ครองอย่างปลอดภัย
หลักพัฒนาการของมนุษย์
ตามหลักสัจธรรม เราได้ยอมรับกันแล้วว่า”ทุกสิ่งเป็นอนัตตา ความแน่นอน คือสิ่งที่ไม่แน่นอน สรรพสิ่งมีเกิดมีดับ” ดังนั้นชีวิตมนุษย์ย่อมมีเกิด แก่ เจ็บละตายด้วยกันทุกคนในช่วงจังหวะชีวิตตั้งแต่เกิดจนถึงแก่ หรือวัยชรา จะมีพัฒนาการตามขั้นตอนซึ่งมีหลักการสำคัญของพัฒนาการของมนุษย์ดังนี้ 1. พัฒนาการจะเป็นไปในลักษณะต่อเนื่องกัน (Continuity) หลังจากมีการปฏิสนธิแล้ว จะโดยธรรมชาติหรือจากหลอดแก้วก็ตาม จะเกิดเป็นตัวอ่อนขึ้นแล้วพัฒนาเป็นทารก เป็นเด็กเป็นวัยรุ่น และเป็นผู้ใหญ่ในลักษณะต่อเนื่องกัน
2. พัฒนาการจะพัฒนาไปตามขั้นตอนตามลำดับ (Sequence) พัฒนาการของมนุษย์จะเป็นไปตามขั้นตอน เช่น ทารกจะเอียงตัว พลิกหงายพลิกคว่ำ คลาน นั่ง ตั้งไข่ ยืน และเดินตามลำดับ
3. พัฒนาการจะพัฒนาตามทิศทางโดยเฉพาะ (Development Direction) ซึ่งเป็นไปตามกฎเกณฑ์ดังนี้
3.1 กฎจากส่วนบนสู่ส่วนล่าง (The cephalocaudal Law) มนุษย์จะพัฒนาที่ศรีษะลำตัว และปลายเท้า ตามลำดับ
3.2 กฏจากส่วนกลางสู่ภายนอก (The proximodistal Law) มนุษย์จะพัฒนาจากส่วนอกสู่ส่วนแขน และมือตามลำดับ เช่น ทารกจะใช้แขนได้ก่อนใช้นิ้วมือเป็นต้น
4. อัตราของพัฒนาการของแต่ละคนจะแตกต่างกัน (Different Ratio) เด็กวัยรุ่นบางคนเป็นหนุ่มสาวเร็ว แต่บางคนเป็นหนุ่มสาวช้า
5. อัตราของพัฒนาการของแต่ละวัยจะแตกต่างกัน (Different Age) วัยก่อนคลอดอัตราของพัฒนาการจะสูงที่สุด (1-9 เดือน) เฉลี่ยน้ำหนักจาก 1 กรัม เป็น 2,800 กรัม และความสูงจาก 1 เซนติเมตร เป็น 50 เซนติเมตร อัตราพัฒนาการของวัยทารกอยู่ในอัตราสูง ต่อจากนั้นจะลดลงและอัตราของพัฒนาการจะสูงอีกในวันรุ่น แต่จะค่อยๆ ช้าลงในวัยผู้ใหญ่ และวัยชราตามลำดับ
6. อัตราการเจริญเติบโตของอวัยวะของแต่ละคนจะแตกต่างกัน (Different Organs)อวัยวะที่สำคัญมีอัตราการเจริญเติบโตที่แตกต่างกัน จัดแบ่งเป็น 4 ประเภท คือ
6.1 การเจริญเติบโตของร่างกายทั่วไป (general type) เป็นการเจริญเติบโตของร่างกายด้าน น้ำหนัก ส่วนสูง ระบบการหายใจ ระบบทางเดินอาหาร ระบบทางเดินปัสสาวะ ระบบไหลเวียน ไขมันใต้ผิวหนัง ตับ ม้าม กล้ามเนื้อ โครงกระดูก และหลอดเลือด ซึ่งจะเติบโตรวดเร็วมากในขวบปีแรกแล้วค่อยๆ ช้าลง และเข้าสู่อัตราการเติบโตที่เร็วอีกครั้งหนึ่งในระยะวัยรุ่น
6.2 การเจริญเติบโตของระบบประสาท (neural type) ได้แก่ สมอง ไขสันหลัง ตาและประสาทของตา ศีรษะ อวัยวะเหล่านี้เติบโตรวดเร็วในระยะ2 ปีแรกหลังเกิด และเติบโตเกือบเต็มที่เมื่อเด็กอายุประมาณ 6 ปี
6.3 การเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อ น้ำเหลือง (Iymphoid type) ได้แก่ ต่อมน้ำเหลือง ต่อมไธมัส ต่อมทอนซิล และอะดินอยด์ ต่อมเหล่านี้โตเร็วมากเป็น 2 เท่าของผู้ใหญ่ เมื่อเด็กอายุ 10 - 12 ปี หลังจากนั้นแล้วต่อมเหล่านี้จะค่อยๆ เล็กลงเมื่อเข้าวัยรุ่น
6.4 การเจริญเติบโตของอวัยวะสืบพันธุ์ (genital type) ได้แก่ ลูกอัณฑะ ต่อมลูกหมากในเด็กชาย รังไข่และมดลูกในเด็กหญิง อวัยวะเหล่านี้จะเติบโตอย่างช้าๆ ภายหลังเกิดและจะเติบโตอย่างรวดเร็วเมื่อย่างเข้าสู่วัยรุ่นและระยะหนุ่มสาว (puberty)
7. อัตราการเจริญเติบโตของเด็กชายและเด็กหญิงจะแตกต่างกัน คือ (Different Sex) อัตราการเจริญเติบโตของเด็กชายและเด็กหญิงจะแตกต่างกัน คือ
7.1 น้ำหนักเฉลี่ย (ก.ก.) จะปรากฎความแตกต่างระหว่างเด็กชายและเด็กหญิง ดังข้อมูลต่อไปนี้
7.2 ส่วนสูงเฉลี่ย (ช.ม.) จะปรากฎความแตกต่างระหว่างเด็กชายและเด็กหญิง ดังรูปด้านบน
เมื่อพูดถึงเรื่องเพศกับลูก คุณแม่หลายท่านคงจะมีความรู้สึกว่าเป็นเรื่องหนักหนา หรือยังไม่ถึงเวลาอันควรที่จะอธิบายให้ลูกน้อยได้เข้าใจ และเมื่อลูกตั้งคำถามในเรื่องนี้ ก็อาจจะเผลอตวาดลูก คิดว่าลูกแก่แดดแก่ลม ทั้งๆ ที่ในความเป็นจริง คงต้องยอมรับว่าเด็กสมัยนี้ค่อนข้างเร็ว ด้วยอิทธิพลของสื่อต่างๆ ใกล้ตัว ทำให้แทบเป็นไปไม่ได้เลยที่จะปิดเขาไว้ในโลกอันไร้เดียงสา
เพศศึกษาไม่ใช่เพศสัมพันธ์ แต่เพศศึกษา คือ การศึกษาพัฒนาการทางเพศตั้งแต่วัยทารก วัยเด็ก วัยเจริญพันธ์ ไปจนถึงการวางแผนครอบครัว รวมทั้งการมีความรักในวัยเรียน เมื่อพูดถึงเรื่องนี้ คุณแม่หลายท่านอาจนึกแย้งว่าจะเป็นการชี้นำเด็กเกินไปหรือไม่ ถ้าหากจะพูดกับเขา แม้ว่าจะอธิบายเหตุผลอย่างถ่องแท้แล้ว มันจะเป็นการป้องกันเด็กหรือทำร้ายเด็กกันแน่ เห็นทีคงต้องหาคำตอบ คุยเรื่องเพศแบบตรงไปตรงมา
เมื่อลูกย่างเข้าวัยรุ่น มีหลายอย่างที่เริ่มจะเปลี่ยนแปลงไป
ในเด็กผู้หญิง
เขาจะเริ่มมีประจำเดือน คุณแม่ควรสอนให้เค้ารู้จักรักษาความสะอาด วิธีดูแลร่างกาย รวมถึงการใช้ผ้าอนามัยที่ถูกต้อง คุณแม่ไม่ควรอายหรือบ่ายเบี่ยงคำถาม มีคุณแม่หลายท่านที่เข้าใจผิด เช่น ลูกถามว่า “แม่คะ ประจำเดือนคืออะไร” แม่ก็ตอบว่า “จะรู้ไปทำไม ถึงเวลาก็รู้เองแหละ” นี่เป็นการคุยที่ไม่ตรงไปตรงมากับลูก ทำให้เด็กเกิดความรู้สึกว่าเรื่องเพศเป็นเรื่องที่น่าอาย ซึ่งเป็นการหนีปัญหาและปกปิด เมื่อเด็กโตขึ้นโอกาสที่เข้าจะเข้าใจอะไรผิดๆ ก็เป็นได้
วิธีปฏิบัติ คุณแม่ควรอธิบายให้ลูกเข้าใจ อย่างตรงไปตรงมา และเปิดใจ และที่สำคัญ ควรสอนให้เค้ารู้จักรักนวลสงวนตัว และปฏิบัติต่อความเปลี่ยนแปลงของตัวเองในทางที่ถูก เปิดใจให้ลูกตั้งคำถามเรื่องนี้ได้ ไม่ใช่ห้ามไม่ให้ลูกพูด
ในเด็กผู้ชาย
วัยนี้อาจจะมีความอยากรู้อยากเห็นเรื่องเพศอย่างคึกคะนองสักหน่อย บางคนอาจจะแอบดูผู้หญิงอาบน้ำ แอบเปิดกระโปรง ซึ่งการแสดงออกดังกล่าวนั้น คุณแม่ควรบอกให้เค้าเข้าใจ ไม่ใช่ใช้อารมณ์ดุด่าอย่างเดียว ส่วนทางร่างกาย เมื่อเค้าเติบโตถึงวัยที่ลูกอัณฑะมีการผลิตตัวอสุจิและน้ำอสุจิจนหลั่งออกมาตอนกลางคืน ที่เรียกว่า ‘ฝันเปียก’ และถ้าลูกอาย คุณพ่อคุณแม่จะต้องทำเป็นไม่รู้ไม่เห็นบ้างเวลาที่ผ้าปูที่นอนของลูกเปื้อนอะไรขาวๆ คุณแม่ควรสอนให้เค้ารู้จักรักษาความสะอาด และวิธีป้องกันโรคร้ายต่างๆ เมื่อเค้าโตขึ้น
ในการสอนเรื่องเพศกับลูกบางครั้ง คุณแม่เองอาจเขินอายที่จะพูดเรื่องเพศกับลูกตรงๆ ทางออกอีกวิธีหนึ่ง อาจเลือกการยกตัวอย่างหรือเหตุการณ์ขึ้นมาอธิบายให้เค้าเพื่อเข้าใจง่ายขึ้น และปัจจุบันก็มีวีซีดีที่สอนเรื่องเพศสำหรับเด็ก ที่สามารถดูได้ทั้งแม่และลูก คุณแม่อาจจะนำมาใช้ก็ได้ จะช่วยได้มากขึ้น หรืออาจจะเป็นหนังสือที่สอนเกี่ยวกับเพศศึกษา ที่สอนเรื่องเพศ พร้อมมีภาพประกอบที่เป็นรูปการ์ตูนน่ารักๆ ก็สามารถที่จะมาอ่านและค่อยๆ คุยกับลูกได้ ในเวลาที่เด็กสงสัยเกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้
อย่าไรก็ดี การพูดคุยเรื่องเพศไม่ใช่การคุยแค่ครั้งเดียวจบ แต่ต้องค่อยๆ พูดทีละน้อย เพราะนี่จะเป็นการเตรียมความพร้อมเรื่องเพศให้กับลูกได้อย่างไม่เขินอาย และอีกอย่างหนึ่ง พัฒนาการทางการทางเพศหรือร่างกายของเด็กก็มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ฉะนั้น ไม่ควรรอให้ถึงวัยหนุ่มสาวเสียก่อน แต่ควรเริ่มตั้งแต่ยังเล็ก
ในปัจจุบันตามโรงเรียนต่างๆ ได้มีการเพิ่มเติมการเรียนการสอนเรื่องเพศ บรรจุไว้ในหลักสูตรมากขึ้น และเริ่มที่จะเปิดกว้างมากขึ้น แต่บางครั้งการเรียนการสอนในห้องเรียนอาจจะเป็นเรื่องน่าอายสำหรับเด็ก หรืออาจจะน่าเบื่อทำให้เด็กไม่สนใจก็ได้ ดังนั้น เรื่องนี้ควรเริ่มต้นที่บ้านและเริ่มจากตัวผู้ปกครองเอง หากเป็นลูกชายก็ให้เด็กคุยกับพ่อ ส่วนเด็กหญิงก็ให้คุยกับแม่ จะสร้างความเข้าใจ และลดความเขินอายของทั้งสองฝ่ายได้ดีกว่า
สิ่งสำคัญ การสร้างความรัก ความอบอุ่นให้เกิดขึ้นกับครอบครัว อย่างไรก็เป็นวิธีที่ดีที่สุด เมื่อเค้าได้รับความอบอุ่นที่พอเพียง ประกอบการรับรู้เรื่องเพศอย่างถูกต้อง ก็จะเป็นเกราะป้องกันให้เด็กแสดงออกเรื่องเพศได้อย่างถูกต้อง และเหมาะสม
ความแตกต่างทางสังคม (จิตวิทยาทั่วไป อ.สุธีรา เผ่าโภคสถิตย์:2543 หน้า 40-42)
บุคคลเกิดมาภายใต้สิ่งแวดล้อมไม่เหมือนกัน ได้รับประสบการณ์ร่วมและประสบการเฉพาะที่แตกต่างกัน ดังนั้น พฤติกรรมที่แสดงออกทางสังคมของแต่ละคนจึงแตกต่างกันไปด้วยและพฤติกรรมทางสังคมนั้นเปลี่ยนแปลงได้เสมอ จะสังเกตได้ว่าความเจริญงอกงามของอายุไมเพียงแต่จะไม่มีผลต่อความเปลี่ยนแปลงทางกาย แต่ยังมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมด้วย
ความแตกต่างในความถนัดตามธรรมชาติ
บางคนมีพรสวรรค์ในเรื่องของศิลปะ บางคนก็มีความถนัดทางดนตรี บางคนก็ถนัดเกี่ยวกับเครื่องยนต์กลไกลต่างๆ นักจิตวิทยาได้สร้างแบบทดสอบความถนัดขึ้นเพื่อหาความถนัดของแต่ละคน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการแนะแนว โดยเฉพาะในเรื่องเกี่ยวกับความถนัดทางอาชีพ
ประโยชน์ในการศึกษาความแตกต่างระหว่างบุคคล
เราทราบแล้วว่า มนุษย์มีความแตกต่างกันในหลายๆด้าน และมนุษย์ที่มีความแตกต่างกันหลากหลายเหล่านี้ก็จำเป็นต้องอยู่รวมกันในสังคมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้นการการศึกษาทำความเข้าใจเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างบุคคลจึงเป็นสิ่งจำเป็น เพราะจะช่วยให้เข้าใจเหตุผลแห่งพฤติกรรมที่มนุษย์แสดงออกต่อกัน อันเป็นแนวทางในการปรับตนของบุคคลเพื่อให้อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขตามอัตภาพ และร่วมกันใช้ความรู้ความสามารถที่แต่ละคนมีอยู่ต่างกันนั้น ในการะสร้างสรรค์ตนเอง และสังคมให้มีความเจริญก้าวหน้ามากที่สุดเท่าที่จะมากได้
Bigge และ Hunt ได้กล่าวถึงความสำคัญของการศึกษาความแตกต่างระหว่างบุคคลว่า จะช่วยให้เข้าใจธรรมชาติของคน ช่วยในการจัดการศึกษาเพื่อส่งเสริมให้แต่ละคนมีพัฒนาการและความเจริญงอกงามได้อย่างเต็มที่ตามระดับความสามรถให้ดำเนินไปได้ด้วยดี ซึ่งนับว่าช่วยสามารถนำกำลังคน (Man Power) มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการพัฒนาประเทศได้อย่างถูกต้องและเต็มที่
Gleun M. Blairคณะ อธิบายว่า การศึกษาให้เข้าใจความแตกต่างระหว่างบุคคล เป็นสิ่งจำเป็นในการประกอบอาชีพ
อาจกล่าวได้ว่า การเข้าใจเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการตอบสนองพฤติกรรมและการฝึกอบรมหรือการปกครอง
ความแตกต่างทางสังคมและวัฒนธรรม( http://www.lks.ac.th/kukiat/student/betterroyal/social/45.html) (5 มกราคม 2554)
ประเทศต่างๆในโลกมีความแตกต่างกันทางวัฒนธรรมความเชื่อและค่านิยมเนื่องจากแต่ละประเทศ มีลักษณะทางวัฒนธรรม สภาพแวดล้อมทางกายภาพ และการพัฒนาเศรษฐกิจ วิทยาการและเทคโนโลยีที่แตกต่างกัน จึงเป็นเหตุให้เกิดความขัดแย้งกันอันนำไปสู่ชนวนการทำสงครามได้ การแก้ไขและป้องก้นความขัดแย้งทางสังคมและวัฒนธรรมคือการหันหน้ามาปรึกษาหารือกัน และยอมรับในความแตกต่างของแต่ละประเทศเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหา ต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้
สาเหตุความแตกต่างทางสังคมและวัฒนธรรม
1. ความแตกต่างทางเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ และศาสนา ย่อมมีวิถีการดำเนินชีวิตในแต่ละสังคมที่แตกต่างกัน เช่น การแต่งกาย การกินอยู่ พิธีกรรม จึงมีลักษณะที่แตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด
2. ลักษณะสภาพทางภูมิศาสตร์ ภูมิประเทศ และภูมิอากาศ ย่อมทำให้มีวัฒนธรรมที่แตกต่างกันไป เช่น คนที่อาศัยอยู่ในที่ราบลุ่มจะมีลักษณะการกินอยู่ ประเพณี ความเชื่อ และค่านิยมที่แตกต่างกันไปจากคนที่อาศัยอยู่ในเขตที่ราบสูงหรือเขตทะเลทราย
3. รูปแบบทางเศรษฐกิจ สภาพทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม ลักษณะงาน และการทำงาน จะทำให้มีความเชื่อและค่านิยมที่แตกต่างกันออกไปดังเช่นคนที่มีความคิดแบบตะวันตกนิยมใช้เทคโนโลยีจะแตกต่างกันกับการดำรงชีวิตแบบเกษตรกรรม
หรือพึ่งพาธรรมชาติ
ความเชื่อและค่านิยมของมนุษย์
- ความเชื่อหมายถึง ความไว้วางใจ ความมั่นใจ หรือความเห็นชอบ ต่อสิ่งหนึ่งสิ่งใดและยินดีที่จะปฏิบัติ
- ค่านิยม หมายถึง สิ่งที่คนในสังคมยึดถือและปฏิบัติ
ความเชื่อและค่านิยมที่นำไปสู่ความขัดแย้ง
- ความเชื่อในหลักศาสนา
- ความเชื่อในไสยศาสตร์
- ความเชื่อในหลักปรัชญา
- ความเชื่อในอุดมการณ์ทางการเมือง
ความเชื่อในสังคมไทย
สังคมไทยมีพื้นฐานมาจากพระพุทธศาสนา และความเชื่อพื้นบ้าน ได้แก่
- ความเชื่อเกี่ยวกับธรรมชาติ
- ความเชื่อเรื่องการเกิด การตาย
- ความเชื่อเรื่องไสยศาสตร์
- ความเชื่อเรื่องพิธีกรรม
- ความเชื่อเรื่องอาชีพ
ความเชื่อและค่านิยมทางศาสนา
ศาสนา หมายถึง หลักคำสอนที่เป็นสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจของมนุษย์
ปัจจุบันศาสนาที่มีคนนับถือมาก คือ ศาสนาพุทธ ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ซึ่งศาสนามีอิทธิพลต่อการสร้างทัศนคติ หรือค่านิยมของคนในสังคมทั้งทางบวกและทางลบที่แตกต่างกัน รวมทั้งความเชื่อ และพิธีกรรมที่แตกต่างกัน สิ่งที่ทุกศาสนามีจุดมุ่งหมายเดียวกัน คือ ทุกศาสนาสอนให้คนทุกคนประพฤติตนเป็นคนดี
ความเชื่อและค่านิยมทางลัทธิ
ศาสนาลัทธิ หมายถึง คำสั่งสอนที่มีผู้ยึดถือหรือเชื่อถือเป็นจำนวนมาก มีผลต่อการดำเนินชีวิตของผู้นับถือ ลัทธิที่มีอิทธิพลต่อสังคม ได้แก่
- ลัทธิเสรีนิยม เป็นลัทธิที่ให้ความสำคัญในการให้อิสระและเสรีภาพของบุคคลในการแสดงความคิด และการกระทำที่เป็นประโยชน์ต่อตนเองและสังคม
- ลัทธิประชาธิปไตย เป็นลัทธิที่ยึดหลักการปกครองที่มุ่งหวังผลประโยชน์ของประชาชนเป็นใหญ่
- ลัทธิทุนนิยม เป็นระบบเศรษฐกิจที่เอกชนมีเสรีภาพในการประกอบการ การแข่งขันทางเศรษฐกิจและการแสวงหาผลกำไรตามความสามารถของตนเอง
- ลัทธิคอมมิวนิสต์ เป็นลัทธิที่ให้ความเสมอภาคเท่าเทียมกันของประชาชนในทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมทุกคน
- ลัทธิสังคมนิยม เป็นลัทธิที่มีการสร้างความเสมอภาคทางเศรษฐกิจในสังคม
- ลัทธิปัจเจกชนนิยม เป็นลัทธิที่มีความเชื่อในตัวบุคคลผู้เป็นเจ้าของแนวคิดใดแนวคิดหนึ่ง เช่น ลัทธิฟาสซิสม์ ลัทธินาซี
- ลัทธิชาตินิยม เป็นกระแสความคิดและความรู้สึกของคนหรือกลุ่มคนที่มีความรักชาติของตนเอง อย่างรุนแรง
- ลัทธิเหยีดสีผิว เป็นแนวความคิดที่แบ่งแยกสีผิวในประเทศแถบตะวันตก เกิดขึ้นในสมัยที่มีการแสวงหาอาณานิคม ทำให้เกิดการเหยียดสีผิวกันขึ้น เช่น ชาวผิวดำจะถูกรังเกียจจากคนผิวขาว
ความเชื่อและค่านิยมทางวัฒนธรรม
วัฒนธรรม หมายถึง สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นในสังคมหนึ่ง ๆ และเป็นวิถีการดำเนินชีวิต เป็นแบบแผนพฤติกรรมของคนในสังคม วัฒนธรรมจึงมีรูปแบบของตนเองและมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอตามกาลเวลา
องค์ประกอบของวัฒนธรรม
องค์ประกอบทางวัฒนธรรมเป็นสิ่งที่กำหนดวิถีการดำเนินชีวิตของคนแต่ละกลุ่ม ให้มีความแตกต่างกัน ได้แก่
- ความเชื่อ
- ค่านิยม
- ศาสนา
- เชื้อชาติ
บริเวณวัฒนธรรม หมายถึง พื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งซึ่งมีวัฒนธรรม เป็นเอกลักษณ์เด่นเฉพาะตัว ซึ่งจะมีความแตกต่างกันทางวัฒนธรรม อย่างเห็นได้ชัด
การแบ่งบริเวณวัฒนธรรมมีหลายรูปแบบ ได้แก่
- วัฒนธรรมโลกตะวันตกและโลกตะวันออก เช่น โลกตะวันตกนิยมนับถือความคิดของบุคคลเป็นหลัก ส่วนโลกตะวันออกยึดถือสังคมมากกว่าความคิดของบุคคล
- การแบ่งบริเวณวัฒนธรรมตามประเทศต่าง ๆ เช่น ประเทศจีนมีวัฒนธรรมที่แตกต่างจากประเทศไทย
- การแบ่งบริเวณวัฒนธรรมในท้องถิ่น ในแต่ละประเทศยังมีลักษณะวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน เช่น ประเทศไทยมีวัฒนธรรมในแต่ละภาคแตกต่างกัน
การพิจารณาความแตกต่างทางสังคมและวัฒนธรรม
- ศาสนา เป็นหลักคำสอนที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของมนุษย์ แต่ความแตกต่างกันในการนับถือศาสนาเป็นสาเหตุให้เกิดความขัดแย้งกันได้ทั้งภายในประเทศ และระหว่างประเทศได้เสมอ
- ความเชื่อ สังคมหนึ่งมีความเชื่อที่แตกต่างกันไป เช่น ชาวยิวเชื่อว่าดินแดนปาเลสไตน์เป็นดินแดนที่พระเจ้าประทานให้ชาวยิว แต่ชาวอาหรับไม่เชื่อเช่นนั้น จึงทำให้เกิดความขัดแย้งและนำไปสู่ภาวะการทำสงครามกัน
- ค่านิยม ค่านิยมเป็นแนวทางในการประพฤติปฏิบัติที่ต่อกันมา วัฒนธรรมแตกต่างกันค่านิยมย่อมแตกต่างกัน เช่น สังคมตะวันตกไม่เคร่งครัดในความสัมพันธ์ระหว่างชายและหญิง ส่วนโลกตะวันออกมีการเคร่งครัดในเรื่องนี้
การแก้ไขปัญหาความแตกต่างทางสังคมและวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนาประเทศ
1. ศึกษาเรียนรู้ และยอมรับวัฒนธรรมของชนชาติอื่น เพื่อทำความเข้าใจในความจำเป็นของประเทศนั้น ๆ
2. จัดตั้งองค์กรหรือหน่วยงานทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ เพื่อให้เกิดการยอมรับระหว่างกัน
3.การปรับตัวทางวัฒนธรรมเพื่อหลีกเลี่ยงความขัดแย้งทางความเชื่อค่านิยมและวัฒนธรรม
ปัจจุบันโลกมีการสื่อสารและคมนาคมที่กว้างไกล มีการยอมรับความแตกต่างระหว่างกัน และสามารถปรับโลกทัศน์ระหว่างกันได้ จึงช่วยให้ผู้คนสามารถเรียนรู้วัฒนธรรมกันและกัน จนเกิดเป็นวัฒนธรรมสากล ปัญหาความขัดแย้งทางสังคมและวัฒนธรรมจึงเริ่มลดน้อยลงตามกาลเวลาที่เปลี่ยนแปลงไป
สาเหตุของความแตกต่างทางสังคมและวัฒนธรรม
1) ความหลากหลายทางด้านเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ และศาสนา
2) สภาพทางภูมิศาสตร์
3 ) รูปแบบทางเศรษฐกิจ
ความแตกต่างทางสังคมและวัฒนธรรมในภูมิภาคต่าง ๆ ในโลกปัจจุบันบริเวณวัฒนธรรมคือพื้นที่หนึ่ง ๆ ซึ่งวัฒนธรรมเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว มี 3 ระดับดังต่อไปนี้
1) เขตวัฒนธรรมของโลก 2 เขตใหญ่ ได้แก่
1.1) วัฒนธรรมของโลกตะวันตก ยึดถือเหตุผลและความคิดของบุคคล เป็นวัฒนธรรมของชาวยุโรป และสหรัฐ
1.2) วัฒนธรรมของโลกตะวันออก ยึดถือประเพณี รักพวกด้อง เคารพผู้อาวุโส เป็นวัฒนธรรมของจีนและอินเดีย
2) เขตวัฒนธรรมระดับประเทศ
3) เขตวัฒนธรรมระดังท้องถิ่น
องค์ประกอบของวัฒนธรรม ในแต่ละเขตประกอบด้วยความเชื่อ ค่านิยม ศาสนา และ
เชื้อชาติ
ปัญหาที่เกิดจากความแตกต่างทางสังคมและวัฒนธรรม
1) ปัญหาด้านค่านิยม
2) ปัญหาด้านศาสนา เช่น ชาวฮินดูและชาวซิกก์ในอินเดีย มุสลิมและคริสต์ในเลบานอน
3) ปัญหาด้านความเชื่อ เช่น ความเชื่อทางการเมืองระหว่างค่ายเสรีประชาธิปไตยกับค่ายคอมมิวนิสต์ ปัญหาความเชื่อของ ชาวยิวเรื่องดินแดนปาเลสไตน์
4) ปัญหาด้านเชื้อชาติได้แก่การไม่ยอมรับความแตกต่างของเชื้อชาติหรือดูถูกเชื้อชาติอื่นเช่นในสหรัฐมีการสมาคมต่อต้านคนผิวดำ ที่เรียกว่า “สมาคมดูลักศ์แคลน” ในเยอรมันมีการตั้งขบวนการนาซีใหม่ (นีโอนาซี) เพื่อต่อต่านชาวผิดเหลืองในเยอรมัน สงครามกลางเมืองในยูโกสลาเวีย ระหว่างมุสลิม เซิร์บ และโครแอต และสงครามระหว่างชาวทมิฬ และสิงหล ในศรีลังกา เป็นต้น
แนวทางการปรับตัวให้เข้ากับสังคมและวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน
1) การเปิดใจกว้างยอมรับความแตกต่าง
2) การประสานความเข้าใจ ระหว่างประเทศ ทั้งนี้องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศที่ช่วยเหลือส่งเสริมความเข้าใจอันดีทางสังคมและวัฒนธรรมระหว่างประเทศที่สำคัญ มีดังนี้
1) องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่ง UN (UNESCO)
2) องค์การเอกภาพแอฟริกา (OAU)
3) กลุ่มประชาคมยุโรป
4) กลุ่มอาเซียน
การพัฒนาคุณภาพประชากร
- มนุษย์เป็นทรัพยากรที่มีค่าสูงสุดทั้งนี้เพราะมนุษย์เป็นผู้ผลิต เป็นผู้ใช้ และเป็นอนุรักษ์ทรัพยากรอื่น ๆ เพื่อผลประโยชน์ของมนุษย์เองคุณภาพของประชากร จะมีผลความสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาประเทศทั้งในด้านเศรษฐกิจและการเมือง
สภาพของประชากรโลก การเพิ่มขึ้นของประชากรโลก แบ่งออกได้เป็น 4 ระยะ ดังนี้
1) ระยะที่ 1 อยู่ในช่วงก่อนการเกษตรกรรม มนุษย์มีสภาวะการเจริญพันธุ์สูง
2) ระยะที่ 2 นับตั้งแต่ช่วงมนุษย์ประกอบอาชีพเกษตรได้จนถึงเริ่มการปฏิวัติอุตสาหกรรม อัตราเพิ่มของประชากรเพิ่มขึ้นอย่างช้าๆและค่อยๆเพิ่มมากขึ้นทุกทีอัตราการเกิดสูง อัตราการตายต่ำ เนื่องจากเทคโนโลยีการเกษตรผลิตอาหารได้มากขึ้น
3) ระยะที่ 3 เริ่มจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมจนถึงสงครามโลกครั้งที่ 2 ลักษณะการเพิ่มของประชากรเป็นไปอย่างรวดเร็ว จากความสำเร็จในการปฏิรูปอุตสาหกรรมและความก้าวหน้าทางการแพทย์
4) ระยะที่ 4 เริ่มจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ถึงปัจจุบัน อัตราการเกิดยังคงสูง
ปัญหาประชากรโลกที่สำคัญในปัจจุบัน ได้แก่
- อัตราการเพิ่มประชากรที่ไม่เหมาะสม (เป้าหมายของ UN ต้องการให้ลดอัตราการเพิ่มของประชากรโลกให้มีค่าเป็นศูนย์หรือใกล้เคียงกับศูนย์ (ประมาณร้อยละ 0.2) ซึ่งเยอรมันตะวันออกทำได้สำเร็จชาติแรกของโลก และญี่ปุ่นประเทศแรกในเอเชีย
ผลกระทบจากการเพิ่มประชากร
1) ปัญหาขาดแคลนอาหารบริโภค
2) ปัญหาความเสื่อมโทรมของสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ
3) ปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างประเทศ
4) ปัญหาเศรษฐกิจและสังคมอื่น ๆ
การพัฒนาคุณภาพของประชากรโลก
1) การพัฒนาด้านการศึกษา องค์การยูเนสโก รับผิดชอบ
2) การพัฒนาด้านสาธารณสุขและอนามัย องค์การอนามัยโลก (WHO) รับผิดชอบ
3) การพัฒนาคุณภาพของเยาวชน องค์การยูนิเซฟ (UNECEF) รับผิดชอบ
คุณภาพชีวิตของประชากร
หมายถึง “ชีวิตที่มีความสมบูรณ์ทั้งร่างกายจิตใจและทักษะองค์การยูเนสโก กำหนดว่าคุณภาพชีวิตจะดีหรือไม่เพียงใดขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ 5 ประการ” ได้แก่
1) มาตรฐานการครองชีพ
2) พลวัตรของประชากร เกี่ยวกับโครงสร้างทางอายุ เพศ อัตราการเกิด อัตราการตาย
3) ปัจจัยทางสังคมและวัฒนธรรม
4) กระบวนการพัฒนา
5) ทรัพยากร
แนวทางในการพัฒนาคุณภาพประชากรแนวคิดและหลักการทั่ว ๆ ไปของการพัฒนาคุณภาพประชากร คือการพัฒนาทั้งทางด้านทักษะ ร่างกายและจิตใจ ตลอดจนสภาพแวดล้อม ซึ่งกระทำได้ดังต่อไปนี้
1) การให้การศึกษา
2) การให้บริการด้านการแพทย์และสาธารณสุข
3) การพัฒนาคุณภาพชีวิต
4) การมีงานทำและมีรายได้
5) การลดจำนวนเพิ่มของประชากร
6) การบริหารทรัพยากรมนุษย์
การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชากรกับการพัฒนาประเทศไทย โครงสร้างประชากรไทย
1) การเปลี่ยนแปลงจำนวนประชากรจำนวนประชากรในประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงในด้านจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ คาดว่าในปี พ.ศ. 2539 จะมีประชากรประมาณ 61 ล้านคนการเปลี่ยนแปลงจำนวนประชากรขึ้นอยู่กับ อัตราการเกิด อัตราการตาย และอัตราการย้ายถิ่น
2) โครงสร้างทางอายุ
2.1) อัตราการเกิดลดลง ทำให้ประชากรวัยเด็กลดลง จำนวนประชากรในวัยแรงงานและจำนวนประชากรสูงอายุจะมากขึ้น
2.2) อัตราการเกิดลดลง ทำให้ประชากรวันพึ่งพิงที่เป็นเด็ก (อายุไม่เกิน 15 ปี ลดลง แต่จำนวนประชากรวัยพึ่งพิงที่เป็นผู้สูงอายุ (60 ปีขึ้นไป) จะเพิ่มสูงขึ้น
2.3) สัดส่วนโครงสร้างอายุในปัจจุบัน วัยเด็กประมาณร้อยละ 40 วัยทำงาน ร้อยละ 55 และผู้สูงอายุมีประมาณร้อยละ 5 ของจำนวนประชากรทั้งหมด วัยเด็ก อายุ 0 – 14 ปี วัยทำงาน อายุ 15 – 59 ปี วันสูงอายุ อายุ 60 ปีขึ้นไป
3) ปัญหาและผลกระทบการพัฒนาคุณภาพประชากรที่มีต่อการพัฒนาประเทศไทยด้านการศึกษามีดังนี้
3.1) ปัญหาโครงสร้างของประชากรกับการจัดการศึกษา
3.2) ปัญหาด้านคุณภาพการศึกษา
3.3) ปัญหาความเสมอภาคทางการศึกษา
4) ปัญหาการจัดการศึกษา ไม่ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงาน
5) ปัญหาการจัดสรรทรัพยากรและบริหารการศึกษา
6) ด้านสุขภาพอนามัยมีดังนี้
6.1) ปัญหาด้านสาธารณสุข
6.2) ปัญหาเรื่องโภชนาการ
7) ด้านคุณธรรมและจริยธรรมมีดังนี้
7.1) เกิดความเคียดและความกดดันทางสังคม
7.2) ค่านิยมทางด้านวัตถุ
http://tanakornhomrod.igetweb.com/?mo=3&art=585201
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น