วิเคราะห์และออกแบบโครงงานการออกแบบเว็บไซต์อีเลิร์นนิงที่คาดว่าจะพัฒนาในรายวิชานี้
ชื่อเรื่อง วิชา
และสาระการเรียนรู้/สาขาวิชา ของเว็บไซต์อีเลิร์นนิงที่คาดว่าจะพัฒนา
กลุ่มเป้าหมาย
และวัตถุประสงค์ของการพัฒนาเว็บไซต์อีเลิร์นนิงนี้
เพื่อจะได้รู้ว่าผู้ชมหลักของเราคือใคร
และออกแบบ เว็บไซต์ ให้ตอบสนองความต้องการผู้ชมกลุ่มนั้นให้มากที่สุด
วิเคราะห์และออกแบบโครงสร้างเนื้อหาของเว็บไซต์
ออกแบบกิจกรรมที่คาดว่าจะมีในเว็บไซต์
(เบื้องต้น)
ออกแบบโครงสร้างเว็บไซต์ (Site
Structure)
ตัวอย่างการออกแบบหน้าจอเว็บไซต์
โดยผู้เรียนสามารถใช้ Template ที่มีอยู่แล้ว
หรือบันทึกภาพหน้าจอการออกแบบของเว็บไซต์ที่มีความใกล้เคียงกับงานที่จะ
พัฒนามานำเสนอได้เช่นเดียวกัน
1.โครงสร้างเว็บ
โครงสร้างเว็บไซท์ ( Site Structure ) เป็นแผนผังของการลำดับเนื้อหาหรือการจัดวางตำแหน่งเว็บเพจทั้งหมด
ซึ่งจะทำให้เรารู้ว่าทั้งเว็บไซท์ประกอบไปด้วยเนื้อหาอะไรบ้าง
และมีเว็บเพจหน้าไหนที่เกี่ยวข้องเชื่อมโยงถึงกัน
ดังนั้นการออกแบบโครงสร้างเว็บไซท์จึงเป็นเรื่องสำคัญ
เปรียบเสมือนกับการเขียนแบบอาคารก่อนที่จะลงมือสร้าง เพราะจะทำให้เรามองเห็นหน้าตาของเว็บไซท์เป็นรูปธรรมมากขึ้น
สามารถออกแบบระบบเนวิเกชั่นได้เหมาะสม และเป็นแนวทางการทำงานที่ชัดเจน
สำหรับขั้นตอนต่อๆไป
นอกจากนี้โครงสร้างเว็บไซท์ที่ดียังช่วยให้ผู้ชมไม่สับสนและค้นหาข้อมูลที่ต้องการได้อย่างรวดเร็ว
วิธีการจัดโครงสร้างเว็บไซท์สามารถทำได้หลายแบบ
แต่แนวคิดหลักๆที่นิยมใช้กันมีอยู่ 2 แบบคือ
จัดตามกลุ่มเนื้อหา ( Content-based
Structure )
จัดตามกลุ่มผู้ชม ( User-based
Structure )
Analysis การวิเคราะห์ (Analysis)
คือ ขั้นตอนการวิเคราะห์เป็นรากฐานสำหรับขั้นตอนการออกแบบการสอนขั้นตอนอื่นๆ ในระหว่างขั้นตอนนี้
คุณจะต้องระบุปัญหา, ระบุแหล่งของปัญหา
และวินิจฉัยคำตอบที่ทำได้ ขั้นตอนนี้อาจประกอบด้วยเทคนิคการวินิจฉัยเฉพาะ
เช่น การวิเคราะห์ความต้องการ(ความจำเป็น) , การวิเคราะห์งาน, การวิเคราะห์ภารกิจ ผลลัพธ์ของขั้นตอนนี้มักประกอบด้วย
เป้าหมาย (goal), และรายการภารกิจที่จะสอน
ผลลัพธ์เหล่านี้จะถูกนำเข้าไปยังขั้นตอนการออกแบบต่อไป
รูปภาพเว็บ
การออกแบบ
(Design)
คือ ขั้นตอนการออกแบบเกี่ยวข้องกับการใช้ผลลัพธ์จากขั้นตอนการวิเคราะห์
เพื่อวางแผนกลยุทธ์สำหรับพัฒนาการสอนในระหว่างขั้นตอนนี้คุณจะต้องกำหนดโครงร่างวิธีการให้บรรลุถึงเป้าหมายการสอน ซึ่งได้รับการวินิจฉัยในระหว่างขั้นตอนการวิเคราะห์ และขยายผลสารัตถะการสอน
องค์ประกอบบางประการของขั้นตอนการออกแบบอาจจะประกอบด้วยการเขียนรายละเอียดกลุ่มประชากรเป้าหมาย, การดำเนินการวิเคราะห์การเรียน, การเขียนวัตถุประสงค์และข้อทดสอบ, เลือกระบบการนำส่ง
และจัดลำดับขั้นตอนการสอน ผลลัพธ์ของขั้นตอนการออกแบบจะเป็นข้อมูลนำเข้าสำหรับขั้นตอนการพัฒนาต่อไป
Site Structure = Main, Home, Resource, About me, WBI,
Webquest
Sequence = Page 1, Page2, Page3, Page4
Hierarchy = Unit1, Unit2, Unit3, Unit1.1, Unit2.1, Unit3.1
Combination = Home, Unit1, Unit2, Unit3
การพัฒนา (Development)
ขั้นตอนการพัฒนาสร้างขึ้นบนบนขั้นตอนการวิเคราะห์และการออกแบบ จุดมุ่งหมายของขั้นตอนนี้คือสร้างแผนการสอนและสื่อของบทเรียนในระหว่างขั้นตอนนี้คุณจะต้องพัฒนาการสอนและสื่อทั้งหมดที่ใช้ในการสอน และเอกสารสนับสนุนต่างๆ สิ่งเหล่านี้อาจจะประกอบด้วยฮาร์ดแวร์ (เช่น เครื่องมือสถานการณ์จำลอง) และซอฟต์แวร์ (เช่น บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน)
การดำเนินการให้เป็นผล (Implementation)
ขั้นตอนการดำเนินการให้เป็นผล หมายถึงการนำส่งที่แท้จริงของการสอน ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบชั้นเรียน หรือห้องทดลอง
หรือรูปแบบใช้คอมพิวเตอร์เป็นฐานก็ตาม จุดมุ่งหมายของขั้นตอนนี้คือการนำส่งการสอนอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
ขั้นตอนนี้จะต้องให้การส่งเสริมความเข้าใจของผู้เรียนในสารปัจจัยต่างๆ, สนับสนุนการเรียนรอบรู้ของผู้เรียนในวัตถุประสงค์ต่างๆและเป็นหลักประกันในการถ่ายโอนความรู้ของผู้เรียนจากสภาพแวดล้อมการเรียนไปยังการงานได้
การประเมินผล (Evaluation)
ขั้นตอนนี้วัดผลประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการสอน การประเมินผลเกิดขึ้นตลอดกระบวนการออกแบบการสอนทั้งหมด กล่าวคือ
ภายในขั้นตอนต่างๆ และระหว่างขั้นตอนต่างๆ
และภายหลังการดำเนินการให้เป็นผลแล้ว การประเมินผล อาจจะเป็นการประเมินผลเพื่อพัฒนา (Formative evaluation) หรือการประเมินผลรวม (Summative evaluation)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น