วันอาทิตย์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2559

การใช้สารเคมีป้องกันกำจัดโรคของมะนาว

การใช้สารเคมีป้องกันกำจัดโรคของมะนาว


1. โรคแคงเกอร์ เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ใช้สารเคมีประเภทคอปเปอร์ไฮดรอกไซต์, คอปเปอร์ออกซีคลอไรด์, คอปเปอร์ออกไซด์ (หรือเรียกว่ายารักษาโรคแคงเกอร์ ชื่อทางการค้า แคงเกอร์เอ็กซ์)
2. โรครากเน่าโคนเน่า เกิดจากเชื้อราไฟทอปธอรา ใช้สารเคมีประเภทมีทาแลคซิล หรือแคปตาโฟล (หรือเรียกว่ายารักษาโรครากเน่าโคนเน่า ชื่อทางการค้า เมทาแลคซิล)
3. โรคราดำ ใช้สารเคมีประเภทกำจัดเชื้อราในสวนส้มหรือมะนาวทั่วๆ ไปได้ หรือสารเคมีกลุ่มแมนโคเซ็บ
4. โรคยางไหล เกิดจากเชื้อรา ใช้สารเคมีประเภทกำจัดเชื้อรา เช่น คูปราวิท, กำมะถันผสมปูนขาว ทาบาดแผลของลำต้น
5. โรคใบแก้ว-ใบด่าง ใช้สารป้องกันกำจัดเชื้อราประเภท ไดแทนเอ็ม-45 และให้ปุ๋ยทางรากทางใบและฮอร์โมนพืช
หมายเหตุ - สารเคมีข้างต้นหาซื้อได้ตามร้านเคมีเกษตรทั่วไป

สูตรยาฆ่าแมลง

สูตรยาฆ่าแมลง
วัสดุอุปกรณ์  (ขิง ข่า ตะไคร้ สะเดา นำตาลแดง เหล้าขาว)
1. โอ่งน้ำหรือถังพลาสติก ขนาดบรรจุ 5 ลิตร
2. กระดาษสา 1 แผ่น (สำหรับปิดปากโอ่งหรือถัง)
3. เหล้าขาว ( 40 ดีกรี ) 2 ขวด รวมปริมาตร 1.5 ลิตร
4. น้ำตาลทรายแดง 1 กิโลกรัม
5. ขิงแก่ 1 กิโลกรัม


ขั้นตอนและวิธีทำ
1. นำขิงมาหั่นเป็นแผ่น ๆ แล้วทุบให้ละเอียด
2. แบ่งน้ำตาลทรายแดงออกเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 จำนวน 3 ขีด ส่วนที่ 2 จำนวน 5 ขีด และส่วนที่ 3 จำนวน 2 ขีด
3. ใส่น้ำตาลทรายแดงส่วนที่ 1 ลงในโอ่งหรือถังพลาสติก
4. นำขิงที่ทุบแล้วมาผสมกับน้ำตาลทรายแดงส่วนที่ 2 คลุกเคล้าให้เข้ากัน แล้วใส่ลงในโอ่งเป็นชั้นที่ 2
5. นำน้ำตาลทรายแดงส่วนที่ 3 โรยทับเป็นชั้นที่ 3
6. ปิดปากโอ่งหรือถังพลาสติกด้วยกระดาษสา ทิ้งไว้ 5 วัน
7. หลังจากนั้นเทเหล้าขาวลงไป ทิ้งไว้อีก 7 วัน ก็นำไปใช้ได้


วิธีใช้
1. นำน้ำที่ได้จากการหมักมาผสมกับน้ำสะอาดในอัตราส่วน 1 ต่อ 1,000 จากนั้นนำมาฉีดพ่นใต้ใบมะนาว สัปดาห์ละ 1 ครั้ง สามารถแก้ปัญหาเชื้อราใบมะนาวได้
2. ส่วนกากที่เหลือนำมาทำปุ๋ย โดยการนำมาผสมกับปุ๋ยคอกในอัตราส่วน 1 ต่อ 50 ซึ่งปุ๋ยที่ได้จะมีกลิ่นเหม็น หมักไว้ประมาณ 2 – 3 วัน กลิ่นก็จะหาย จึงนำไปใส่รอบโคนต้นไม้ผล
1. สามารถฆ่าเชื้อราในใบมะนาว เป็นการลดค่าใช้จ่ายในการซื้อยาฆ่าเชื้อราได้

2. เพิ่มผลผลิตและความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ดินได้
ที่มา บุญชวน มะลัยโย

วิธีเพาะเห็ดฟางในตะกร้า

วิธีเพาะเห็ดฟางในตะกร้า
ข้อมูลจากคุณ Chai Linma

มีแต่ฟาง..เพาะได้ไหม ?ได้ค่ะ.โดยใช้สูตร น้ำ 100 กก.+ แป้งข้าวเหนียว 1 กก.+ อีเอ็ม 1 แก้ว ( 250 ซีซี ) ละลายแป้งข้าวเหนียวและอีเอ็มในน้ำ นำฟางไปแช่จนอิ่มน้ำ 1 ชม. นำมาอัดลงตะกร้าสลับฟางกับเชื้อเห็ด ให้ครบ3ชั้น ชั้นที่3ให้โรยเชื้อเห็ดเต็มหน้าตะกร้า แล้วเอาฟางมาวางปิดเชื้อเห็ดอีกทีให้พอดีกับขอบตระกร้าด้านบน โดย แต่งฟางเสมอขอบตะกร้า เชื้อเห็ดฟาง 1 ก้อน สามารถปลูกเห็ดได้ 2 ตะกร้าค่ะ เสร็จแล้ว ครอบด้วยซุ่มไก่ หรืออะไรก็ได้ที่สามารถนำมาครอบตะกร้าได้ค่ะ สามารถทำจากไม้ไผ่ได้ค่ะเอาไม้ไผ่ตั้งเป็นสี่มุมก็ได้ คลุมด้วยพลาสติก ปิดด้วยแสลนหรือผ้า ทิ้งไว้ 3 คืน เช้าวันที่ 4 เปิดรูระบายตรงวงกลมด้านบนพอ นาน15-20นาทีก็ได้ แล้ว คลุมด้วยแสลน หรือผ้าอย่างเดิม รอ...6 คืนเห็ดเริ่มออกดอกแล้วค่ะ?(ไม่ต้องรดน้ำซ้ำอีกเพราะจะทำให้เห็ดฝ่อง่ายมาก)

การคัดเลือกเมล็ดพันธุ์

การคัดเลือกเมล็ดพันธุ์
วิธีผลิด
ข้าวสุก (ข้าวกล้อง)
ซื้อหัวเชื้อผสม
ที่มา : ลงชัยพร พรหมพันธ์ อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี


การปลูกมะนาวในกระถาง
1.พันธ์ุอิติ
2.พันธ์ุพิจิตร ให้น้ำมะนาวมาก
นำลงปลูก ปิดเทับด้วยฟางข้าว หรือใบไม้แห้ง
วิธีการปลูก  ดินธรรมดากับปุ่ยคอก ขี้เถ้า แกลบ ใส่ในอัตราส่วนที่เท่ากัน


วิธีป้องกันแมลง

ยาฉุน ใบตองแห้ง ใบยาสูบ จำนวน 1 จับ แช่น้ำสะอาด 1 ลิตร ใช้เวลา 2-3G ชั่วโมงแล้วกรองเอาน้ำที่เป็นสีชาผสมกับเหล้าขาว 35 ดีกรี จำนวน 1 เป๊ก ก่วนให้เข้ากันใส่ป๊อกเกอร์ ฉีดพ้นให้ทั่วทั้งใบและกิ่ง ฉีดวันเว้นวันให้ครบ 7 วัน (ห้ามนำไปดื่มจะเกิดอันตรายต่อสุขภาพ)

สูตรปุ๋ย (หลวงพ่อนาน)

สูตรปุ๋ย (หลวงพ่อนาน)


ขี้วัว ขี้ควาย ขี้เป็ด ลำพวนข้าว ใบไม้ สาบเสือ น้ำหมัก กากน้ำตาล (หมักไว้ 5 วัน ให้พรวน ตากแดด ผสมดินจอมปลวก 5 กก. ละอองหิน 5 กก. (ร่อนเอาหินละเอียด) รำละเอียด 5 กก. ปุ่ยเคมี 5 กก.


ความยากจนของชาวนา จับมากรรมัฎฐาน ถือศีล 5 พัฒนาสิ่งแวดล้อม เลี้ยงเป็ด ทำปุ่ย หว่านในทุ่งนา ลองผิดลองถูก การคัดเลือกพันธุ์จะเกิดธรรมชาติ


เปลือกข้าว ต้องแช่หลายวัน งอกยาก เปลือกแห้งรากกันยาก จะงอ ต้นไม้ตรง ไม่สมบูรณ์ จึงมองว่า ควรหาวิธกีการใหม่ โดยการนำไปสีในลักษณะข้าวกล้อง ขัดเลือกเฉพาะเมล็ดยาว สวย ข้าวจะงอกสวย ต้นกล้าแข็งแรง แตกกอดี


ข้าวตั้งท้อง ต้องบำรุงให้ดี หาผลไม้ รากไม้ มาหมักเป็นปุ๋ยจุลินทรีย์ นำไปรดข้าว
เศรษฐี ทำของที่ไม่มีค่าให้มีค่า เอาสิ่งที่ไร้ค่า มาทำใช้ให้มีค่า
ผลกระทบจากการคิดของหลวงพ่อ ทำให้สตรีไหวตัว ทอผ้าไร้สาร หาครั่ง

การผสมปุ๋ยอินทรีย์แบบพื้นฐาน

การผสมปุ๋ยอินทรีย์แบบพื้นฐาน
1.ดิน จำนวน 1 ถัง
2. แกลบ จำนวน 3 ถัง
3. แกลบเผา จำนวน 3 ถัง
4.มูลสัตว์ จำนวน 1 ถัง


1.การปลูกมะนาวในท่อ
นำมาผสมกัน รดน้ำอบทิ้งไว้อย่างน้อย 3 วัน แต่ต้องมาผลิกกลับด้าน เพื่อให้สารอินทรีย์ย่อยสลายได้ วิธีนี้จะทำให้ปุ๋ยที่ได้มีส่วนผสมที่เข้ากันได้ีดี เมื่อครบจำนวนให้นำไปใส่ภาชนะที่ต้องการปลูกได้ แต่ถ้าเป็นถึงใหญ่ให้รดน้ำให้ชุ่มหมักทิ่้งไว้ก่อนปลูกอย่างน้อย 15 วัน ถึง 1 เดือน เพราะปุ๋ยที่ได้จะยังมีความร้อน ซึ่งหลักการนี้ไม่สามารถปลูกพืชได้ ถ้าปลูกมีสิทธิ์ตายได้เร็ว
2.การดน้ำ
       การรดน้ำตนไม้จะต้องรดให้ท่วม จนกระทั่งน้ำไหลออกจากท่อ เพราะการผสมปุ๋ยจะไม่ค่อยมีดิน ดินจะไม่อมน้ำ ส่วนมากมีแต่แกลบ เหมาะกับพื้ชที่จะแทงรากได้ง่าย และเจริญเติบโตได้รวดเร็ว การรดน้ำจึงต้องหมั่นรด อาจจะทุกวัน กรณีนี้ต้องลดน้ำนิดหนึ่ง ถ้าสองวันรดน้ำ 1 ครั้งจะต้องรดให้มากกว่าเดิม สาเหตุเพราะมะนาวจะต้องการน้ำมากเป็นพิเศษ ยิ่งเป็นช่วงที่ออกผลแล้วจะต้องรดน้ำให้มากขึ้น
3. การกำจัดแมลง
      วิธีกำจัดแมลงมีหลายวิธี ในที่นี้จะกล่าวถึงวิธีกำจัดแบบธรรมชาติ ซึ่งสามารถทำได้โดยการหาพืชที่เป็นยามาหมักผสมกัน บรเพ็ด กลอยดิบ สะเดา ขี้เหล็ก ตะไคร้หอม เหล้า โซดา หอม ข่า (ดีปลี สาบเสือ) น้ำส้มสายชู และกากน้ำตาล  สรุป พืชจากธรรมชาติ หมักด้วยถังใหญ่
นำหมักผลไม้ (กล้วย ฟักทอง มะละกอ)

เกษตรอินทรีย์

เกษตรอินทรีย์ 
        วิธีการปลูกข้าวไร้เปลือก (หลวงพ่อนาน) ข้าวสารต้องผ่านการสี แบบข้าวกล้อง เมื่อได้แล้วให้คัดเลือกเมล็ดพันธุ์ (เอาสิ่งแปลกปลอมออกให้หมด) ต้องไม่เกิน 7 วัน แล้วเอาไปแช่น้ำ 6 ชม. หมักทิ้งไว้ 1 คืน ทั้งนี้ต้องเตรียมแปลงให้เรียบร้อยก่อนจะเป็นการดี ที่มา : คนขับรถ ในแปลงหว่านให้หาต้นกล้วยลากให้ดินสม่ำเสมอ อย่าให้มีน้ำขัง การงอกของเมล็ดพันธ์ประมาณ 60 เปอร์เซ็นต์ มะลิแดง จะงอกมาดีกว่า มะลิขาว 10 เปอร์เซ็นต์ ข้าวหอมนิล (มะลิดำ) จะงอกได้ดีกว่า การคำนวณค่าจ้างของชาวนาภาคอีสาน 1.เมล็ดพันธุ์ข้าว 50 กก. 2,000 บาท, 2. ไถดักไร่ละ 200 บาท (อาจจะ 3 รอบ) , ไถหว่านไร่ล่ะ 250 บาท, ปุ่ยราคา 800 บาท (ตามยี่ห้อ), เกี่ยวข้าวไร่ละ 500-800 บาท, ยาฆ่าแมลงไร่ละ 200 บาท, ราคาข้าว/ไร่ 300 กก. /15 บาท


ชีวิตชาวนา
ภาคปฏิบัติ

วันศุกร์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2558

สลับเปลี่ยนแถวกับคอลัมน์

จัดเรียง (สลับเปลี่ยนแถวกับคอลัมน์) ข้อมูลใหม่จากคอลัมน์เป็นแถวหรือกลับกัน หากมีการป้อนข้อมูลในคอลัมน์หรือแถว แต่คุณต้องการจัดเรียงข้อมูลดังกล่าวใหม่ลงใน
แถวหรือคอลัมน์แทน คุณจะสามารถสลับเปลี่ยนข้อมูลจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งได้อย่างรวดเร็ว ตัวอย่างเช่น ข้อมูลยอดขายในภูมิภาคที่ได้รับการจัดเรียงในคอลัมน์จะปรากฏขึ้นในแถวหลัง

จากที่สลับเปลี่ยนแถวกับคอลัมน์ข้อมูล ตามที่แสดงในภาพกราฟิกต่อไปนี้บนแผ่นงาน ให้ดำเนินการดังต่อไปนี้

ในการจัดเรียงข้อมูลจากคอลัมน์ไปยังแถว ให้เลือกเซลล์ในคอลัมน์ที่มีข้อมูลอยู่ ในการจัดเรียงข้อมูลจากแถวไปยังคอลัมน์ ให้เลือกเซลล์ในแถวที่มีข้อมูลอยู่ในแท็บ หน้าแรก ในกลุ่ม คลิปบอร์ด ให้คลิก คัดลอก รูปปุ่ม รูป Ribbon ของ Excel
แป้นพิมพ์ลัด ในการคัดลอกข้อมูลที่เลือก คุณสามารถใช้ปุ่ม CTRL+C ได้ด้วยเช่นกัน
หมายเหตุ คุณสามารถใช้คำสั่ง คัดลอก เพื่อจัดเรียงข้อมูลใหม่เท่านั้น ในการทำให้กระบวน งานนี้เสร็จสมบูรณ์ ห้ามใช้คำสั่งตัด บนแผ่นงาน ให้เลือกเซลล์แรกสุดของแถวหรือคอลัมน์ปลายทางที่คุณต้องการจัดเรียงข้อมูลที่คัดลอกใหม่
หมายเหตุ พื้นที่คัดลอก และ พื้นที่วาง จะคาบเกี่ยวกันไม่ได้ ตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเลือกเซลล์ที่อยู่ในพื้นที่วาง ซึ่งอยู่ภายนอกพื้นที่ที่คุณคัดลอกข้อมูลมา
บนแท็บ หน้าแรก ในกลุ่ม คลิปบอร์ด ให้คลิกลูกศรใต้ วาง แล้วคลิก สลับเปลี่ยนแถวกับคอลัมน์

หลังจากที่สลับเปลี่ยนแถวกับคอลัมน์ข้อมูลเสร็จเรียบร้อย คุณสามารถลบข้อมูลในพื้นที่คัดลอกออกได้
เคล็ดลับ หากเซลล์ที่คุณสลับเปลี่ยนมีสูตรอยู่ ระบบจะสลับเปลี่ยนสูตรต่างๆ และจะปรับการ อ้างอิงเซลล์กับข้อมูลในเซลล์ที่สลับเปลี่ยนแถวกับคอลัมน์ให้โดยอัตโนมัติ ในการตรวจสอบความถูกต้องของการอ้างอิงสูตรกับข้อมูลในเซลล์ที่ไม่ได้สลับเปลี่ยน ให้ใช้การอ้างอิงแบบสัมบูรณ์ในสูตรต่างๆ ก่อนที่คุณจะสลับเปลี่ยนแถวกับคอลัมน์
โปรดดูข้อมูลเพิ่มเติมที่ สลับระหว่างการอ้างอิงแบบสัมพัทธ์ สัมบูรณ์ และผสม 
ที่มา : https://support.office.com/th-th/article/%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%87-%E0%B8%AA%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%96%E0%B8%A7%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%84%E0%B8%AD%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B9%8C-%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%B9%E0%B8%A5%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%84%E0%B8%AD%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%96%E0%B8%A7%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%99-ed1215f5-59af-47e6-953b-0b513b094dc2 ขอบคุณสำเรื่องดีๆ

วันอังคารที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2558

การยกเลิกบัญชีผู้ใช้ Facebook

คุณสามารถยกเลิกบัญชี Facebook ที่ไม่ต้องการใช้งาน โดยวิธีการง่ายๆ ดังนี้

(ท่านสามารถดูวิธีการลบบัญชี Gmail ได้ด้วย ค้นหาได้ในบล็อกนี้)
1. ลบบัญชีผู้ใช้ Facebook
2. คลิกเมนูบัญชีผู้ใช้ ที่มุมขวาบนของเพจ Facebook
3. เลือก บัญชีของฉัน > การตั้งค่าบัญชี >ลบบัญชีหรือบริการ
4. คลิก ความปลอดภัย ในคอลัมน์ซ้าย (อาจมีการเปลี่ยนแปลง)
5. เลือกยกเลิกการใช้งาน Facebook > ยืนยัน
หมายเหตุ:
1.ถ้าคุณไม่ต้องการให้ชื่อบางคนแสดงบน Facebook ของเรา แนะนำว่าควรใช้วิธีการ Block รายชื่อนั้นดีว่า
2.หากคุณต้องการกลับมายัง Facebook หลังจากที่คุณยกเลิกการใช้งานไปแล้ว คุณสามารถเปิดใช้งานบัญชีผู้ใช้ของคุณใหม่ได้โดยเข้าสู่ระบบด้วยอีเมล์และรหัสผ่านของคุณ
3.ถ้าคุณลบอีเมล์ของคุณแล้ว คุณไม่สามารถดึงข้อมูลนั้นกลับมาได้ เพราะเป็นการลบแบบถาวร วิธีง่ายคือสมัครอีเมล์ใหม่ หรือใช้อีเมล์อื่น

วันจันทร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

โปรแกรม Bit Che ช่วยหาไฟล์บิต จากเว็บบิตทั่วโลก

เว็บไซต์บิตแบบเปิดในโลกนี้มีมากมาย ซึ่งจะต้องใช้เวลามากกว่า แต่ด้วยโปรแกรม Bit Che เพียงโปรแกรมเดียว สามารถหาไฟล์บิตตามต้องการเพียงไม่กี่คลิก (ส่วนใหญ่เอาไว้หาไฟล์เพลง ไฟล์โปรแกรม ไฟล์หนัง)
ดาวน์โหลดโปรแกรมได้ตามลิงก์ด้านล่างนี้ครับ

คลิกดาวน์โหลด Bit Che

วิธีการใช้งานโปรแกรม ต้องติดตั้งโปรแกรมบิต เช่น µTorrent หรือ BitComet
1. เปิดโปรแกรม Bit Che ขึ้นมาแล้วพิมพ์ชื่อไฟล์ที่ต้องการค้นหา
2. คลิกปุ่ม Search เพื่อสั่งโปรแกรมค้นหาไฟล์ที่ต้องการจากเว็บบิตทั่วโลก
3. รอสักครู่รายชื่อไฟล์ที่หาเจอก็จะปรากฏขึ้นมา อยากจะดาวน์โหลดไฟล์ไหนก็เพียงแค่ดับเบิลคลิกที่ไปชื่อไฟล์นั้น แต่ควรจะดูตรงคอลัมน์ Seeders ด้วยนะครับ ถ้าคนปล่อยไฟล์มีจำนวนน้อยก็จะทำให้ดาวน์โหลดช้าลงด้วย
4. พอดับเบิลที่ชื่อไฟล์เสร็จ ก็จะมีหน้าต่างปรากฏรายละเอียดของไฟล์ คลิกปุ่ม Open Torrent
5. โปรแกรมบิตที่คุณติดตั้งในเครื่องก็จะเปิดขึ้นมา คลิกปุ่ม ตกลง อีกครั้งโปรแกรมก็จะเริ่มดาวน์โหลดไฟล์ทันที
เลือกเอาเฉพาะไฟล์ที่ต้องการจะดาวน์โหลดได้เลย
***ใช้งานได้ดีจริงๆ ลองแล้ว***
ที่มา: http://pssix.blogspot.com/2009/03/bit-che.html

วันอาทิตย์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558


วิธีการทำเว็บในเครื่องของเราให้เร็วขึ้น โดยการเปลี่ยน DNS ฟรีจาก Google

การเปิดเว็บไซต์ทุกครั้งจะต้องมีการเปลี่ยนจากข้อความที่พิมพ์ดึงข้อมูลเว็บตามตำแหน่งหมายเลขไอพีนั้นๆมาใช้ ถ้าเปิดเว็บแบบช้าสุดๆ (เกิดจากการเปลี่ยนแปลงชื่อเว็บเป็นไอพีนั่นเอง)
วิธีแก้ปัญหาซึ่งเราสามารถทำได้ คือ การเข้าไปเปลี่ยน DNS เครื่องของเรา โดยการใช้ DNS ฟรีของ Google จะช่วยให้ใช้งานได้อย่างไม่มีปัญหา (ทั้งของไทยและต่างประเทศ)
วิธีการตั้งค่า มีขั้นตอน ดังนี้
1.คลิกขวาไอคอน Network (รูปจออินเทอร์เน็ตด้านล่างขวา) เลือก Open Network and Sharing Center หรือ Control Panel เลือก View network status and tasks
2.Network and Sharing Center คลิก Local Area Connection
3.Local Area Connection Status คลิกที่ Properties
4.Local Area Cjonnection คลิกที่ตัวเลือก Internet Protocol Version 4 (TCP/IPv4)
5.ช่อง Use the followin DNS server address: ตั้งค่าของ Google Public DNS คือ
แถวแรก : 8.8.8.8
แถวสอง : 8.8.4.4
6.OK และ Restrat เครื่อง
7.หากต้องการยกเลิกให้คลิกที่ปุ่ม Obtain DNS server address แทน
ที่มา : http://pssix.blogspot.com/2010/08/dns-google.html

วันพฤหัสบดีที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ยกเลิก Gmail แบบถาวร


ยกเลิก Gmail การปิดอีเมล์ของ Gmail ทำอย่างไร


ยกเลิกบัญชี Gmail ต้องทำอย่างไร
การลกเลิกบัญชีต้อง login เข้าสู่ Gmail แล้วเลือก การตั้งค่า ดังภาพด้านล่าง
เลือกเมนู การตั้งค่า ดังภาพด้านล่าง
เลือกเมนู การตั้งค่า ดังภาพด้านล่าง
ให้เลือกแถบบัญชี ที่เมนูด้านบน จากนั้นเลือก การตั้งค่าอื่นๆ ของบัญชี Google
ให้เลือกแถบ บัญชี ที่เมนูด้านบน จากนั้นเลือก การตั้งค่าอื่นๆ ของบัญชี Google

จะมาหน้าบริหารบัญชีให้เลือกเม้าส์ลงมาล่างๆ แล้วคลิกที่ "ปิดบัญชีและลบบริการและข้อมูลทั้งหมดที่เชื่อมโยงกับบัญชี" ดังภาพด้านบน
จะมาหน้าบริหารบัญชีให้เลือกเม้าส์ลงมาล่างๆ แล้วคลิกที่ “ปิดบัญชีและลบบริการและข้อมูลทั้งหมดที่เชื่อมโยงกับบัญชี” ดังภาพด้านบน
Google จะเตื่อนว่าคุณกำลังจะลบบัญชีของ Google ให้แน่ใจว่าคุณอยากจะลบจริงๆ คลิกเลือกสิ่งที่ต้องการลบ หากต้องการจะลบทั้หมดก็ติ๊กถูกให้หมด แล้วกด ลบบัญชี Google
Google จะเตื่อนว่าคุณกำลังจะลบบัญชีของ Google ให้แน่ใจว่าคุณอยากจะลบจริงๆ คลิกเลือกสิ่งที่ต้องการลบ หากต้องการจะลบทั้หมดก็ติ๊กถูกให้หมด ใส่รหัสผ่านของบัญชี แล้วกด ลบบัญชี Google
ที่มา : http://www.modify.in.th/2219

วันศุกร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2557

การใช้สถิติขั้นสูง

สรุปการใช้สถิติขั้นสูง

1. กรณีกลุ่มตัวอย่างเดียว ใช้ t-test, z-test (Dependent) One sample t-test ไม่สนใจตัวแปรต้น
ทดสอบค่าเฉลี่ยกรณีประชากรกลุ่มเดียว
กลุ่มตัวอย่างขนาดใหญ่และรู้ค่าความแปรปรวนของประชากร ใช้ z-test (n>30)
กลุ่มตัวอย่างขนาดเล็กและไม่รู้ค่าความแปรปรวนของประชากร ใช้ t-test (n<30 o:p="">
ทดสอบค่าเฉลี่ยกรณีประชากรสองกลุ่มใช้แบบเดียวกับ t-test แต่ขยายข้อมูลกว้างกว่า
2. กลุ่มตัวอย่างเป็นอิสระต่อกัน (แปรปรวนเท่าและไม่เท่ากัน) ใช้ t-test, z-test (independent)
3. กรณี 2 กลุ่ม ไม่เป็นอิสระต่อกัน (สัมพันธ์กัน) ใช้ t-test (Independent ใน SPSS ใช้ pears t-test) กรณีนี้ หมายถึง 2 กลุ่ม วัดซ้ำ เช่น ก่อนเรียนกับหลังเรียน
ตัวแปรตาม DV หนึ่งตัววัดแบบอันตรภาคหรืออัตราส่วน ตัวแปรต้น IV หนึ่งตัวมีสองค่า วัดแบบนาบัญญัติหรือเรียงลำดับ ไม่มีตัวแปรแทรกซ้อน EV ผลค่าเฉลี่ยประชากรสองกลุ่มไม่แตกต่างกัน
4. กรณีมากกว่า 2 กลุ่ม เป็นอิสระต่อกันใช้ F-test (One-way ANOVA)
5. กรณี Factorial Design ใช้ F-test (Two-way ANOVA, Three-way ANOVA ฯลฯ)
นามบัญญัติ (Nominal) เรียงอันดับ (Ordinal) ระดับช่วง (Interval) ระดับอัตราส่วน (Ratio)

Dependent One-simple t-test ใช้กรณีเปรียบเทียบกับเกณฑ์
Independent ตัวแปรต้น 1 ตัวแปรตาม 2 (Independent sample t-test ใช้เปรียบเทียบคะแนนสองกลุ่มอิสระจากกัน)
Paired sample t-test ใช้กรณีกลุ่มเดียววัดซ้ำ เช่น ก่อนเรียน-หลังเรียน

การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว One-way ANOVA t-test
ตัวแปรต้น 1 ตัวแปรตาม 3 คือ กรณีเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มที่มีจำนวนแตกต่างกัน (N ไม่เท่ากัน) ใช้ของเชฟเฟ่ (N เท่ากัน) ใช้ของ Tukey
          เงื่อนไข 1.กลุ่มตัวอย่างมากกว่า 2 กลุ่มเป็นอิสระจากกัน, มาตราอันตรภาคชั้นหรือมาตราอัตราส่วน, ไม่ทราบความแปรปรวนของประชากรแต่ละกลุ่ม แต่สมมติให้เท่ากัน
การประยุกต์ใช้ ใช้เปรียบเทียบค่าเฉลี่ย กรณีกลุ่มตัอย่างเป็นอิสระต่อกัน 3 กลุ่มขึ้นไป เช่น
          1.เปรียบเทียบว่า ประชากรอาชีพแตกต่างกัน 4 อาชีพ มีส่วนร่วมทางการเมืองแตกต่างกันหรือไม่
          2.การใส่ปุ๋ย 3 ชนิดกับต้นพืช ถ้า F เข้าใกล้ 0 แสดงว่าไม่มีความแตกต่าง หรือแตกต่างน้อย
ANOVA ใช้เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยประชากรสองกลุ่มขึ้นไป ศึกษาอิทธิพลหลักและอิทธิพลสัมพันธ์ IV (ตัวแปรต้น) ที่มีต่อ DV (ตัวแปรตาม) ความแปรปรวน DV ที่อธิบายด้วย IV
ANOVA ต่างจาก t-test วิเคราะห์ข้อมูลได้เมื่อ IV มีค่าตัวแปรมากกว่า 2 กลุ่มและมีหลายตัวแปร
ANOVA กลุ่มตัวอย่างมีอิสระต่อกัน (แปรปรวนเท่าและไม่เท่ากัน) และกลุ่มตัวอย่างสัมพันธ์กัน DV หนึ่งตัววัดแบบอันตรภาคหรืออัตราส่วน (ตัวแปรเมตริก) หนึ่งตัวขึ้นไปมีค่าอย่างน้อยสองค่า วัดแบบนามบัญญัติหรือเรียงลำดับ (ตัวแปรนันเมตริก) ไม่มี EV หรือมีตั้งแต่หนึ่งตัวขึ้นไป
ผลการทดสอบค่าเฉลี่ยอิทธิพลหลักและอิทธิพลปฏิสัมพันธ์ ปฏิเสธสมมติฐานศูนย์ต้องเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยรายคู่
Multiple Regression Analysis (MRA) วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่าง DV & IV หลายตัวแปรพร้อมกัน โดยมีความต่าง
IV ใน ANOVA เป็นตัวแปรนันเมตริก ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรเป็นแบบเส้นตรงหรือเส้นโค้ง ได้ (เปลี่ยนตัวแปรเมตริกเป็นตัวแปรดัมมี่ (ตัวแปรเทียม) จะปรากฏผลวิเคราะห์เหมือน ANOVA
IV ใน MRA เป็นตัวแปรเมตริก และความสัมพันธ์ต้องเป็นแบบเส้นตรงเท่านั้น
วิเคราะห์ ความสัมพันธ์ระหว่าง DV หนึ่งตัวกับ IV หลายตัว, เปรียบเทียบอิทธิพลของ IV แต่ละตัวที่มีต่อ DV, สร้างสมการพยากรณ์ DV เมื่อรู้ค่าของ IV, ศึกษาอิทธิพลหลักและอิทธิพลปฏิสัมพันธ์ IV ที่มีต่อ DV, เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยเหมือน ANOVA, สัดส่วนความแปรปรวน DV อธิบายด้วย IV
DV หนึ่งตัวเป็นตัวแปรเมตริก แต่ IV หนึ่งตัวขึ้นไปเป็นตัวแปรเมตริกและนันเมตริก ในขณะที่ตัวแปรเมตริกต้องเปลี่ยนเป็นตัวแปรดัมมี่มี EV ได้ด้วย

ความแปรปรวนร่วม ANCOVA ใช้เทคนิค MRA และ ANOVA ประกอบกัน
          ใช้เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยประชากรจำแนกตาม IV สองกลุ่มขึ้นไป ใช้วิธีการ ANOVA ขจัดอิทธิพล EV (ตัวแปรร่วม) ออกจาก DV ด้วยการวิเคราะห์ถดถอย
          ANCOVA แบ่งออกเป็น 2 ชนิดเช่นเดียวกับ ANOVA
          DV หนึ่งตัวเป็นตัวแปรเมตริก IV หนึ่งตัวขึ้นไปเป็นนันเมตริก มี EV หรือตัวแปรร่วมหนึ่งตัวขึ้นไปตัวแปรเมตริก
          ผลวิเคราะห์ เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยที่ปรับแก้ ทดสอบอิทธิพลสัมพันธ์และอิทธิพลหลัก ความแปรปรวน DV อธิบายด้วย IV
          ANCOVA มีการปฏิเสธสมมติฐานศูนย์ เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยรายคู่แบบเดียวกับ ANOVA


การหาความสัมพันธ์
ข้อมูลนามบัญญัติ ใช้  (Chi-Square), ข้อมูลเรียบอันดับใช้ rank correlation, ข้อมูลอันตรภาคชั้น/อัตราส่วนใช้ Pearson’s correlation, ความสัมพันธ์แบบหลายตัวแปรใช้ Multiple Correlation
                   1) การพยากรณ์ใช้ Simple Regression, Multiple regression
                   2) การหาองค์ประกอบของตัวแปรใช้ Factor Analysis

สถิติวิเคราะห์ตัวแปรพหุนาม (multivariate Statistical Analysis)
          DV สองตัวขึ้นไป สรุปผลรวมเชิงเส้นมีจุดมุ่งหมายเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยหลายตัว “เวคเตอร์ค่าเฉลี่ยหรือเซ็นทรอยด์) กรณีประชากรสองกลุ่มวิเคราะห์ด้วย Hotelling T square สามกลุ่มขึ้นไปวิเคราะห์ด้วย MANOVA ศึกษาสหสัมพันธ์และการถดถอยวิเคราะห์ด้วย MMRA และ MANCOVA
          สถิติวิเคราะห์ตัวแปรพหุนามทุกชนิด วิเคราะห์จุดมุ่งหมายข้อ 1-5 ต่างกันที่ DV มากกว่าหนึ่ง
          มีการเปรียบเทียบเซ็นทรอยด์ระหว่างกลุ่ม ศึกษาความสัมพันธ์และการวิเคราะห์ถดถอยมีหลายชนิด
          ตัวแปรพหุนามทุกชนิดใช้กับ DV หนึ่งตัวขึ้นไป ตัวแปรเมตริก IV หนึ่งตัวขึ้นไป ตัวแปรนันเมตริกเหมือน ANOVA หรือตัวแปรเมตริก สำหรับวิเคราะห์ MDA วิเคราะห์ข้อมูล DV ตัวแปรนันเมตริก และ IV หนึ่งตัวขึ้นไปเป็นตัวแปรนันเมตริกหรือตัวแปรเมตริก

Chi-Square
          ใช้กรณีทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างประชากร 2 กลุ่ม ที่เป็นอิสระต่อกัน เปรียบเทียบข้อมูลในรูปแบบความถี่หรือสัดส่วน เช่น เจตคติ ความคิดเห็น สนใจ ยอมรับ เป็นตัวเลขที่แน่นอน จำแนกเป็นหมวดหมู่ เช่น มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย น้อยที่สุด ดี-ไม่ดี
          เปรียบเทียบตัวแปร 2 กลุ่มขึ้นไปมีความสัมพันธ์กัน ประชากรกลุ่มเดียววิเคราะห์ด้วย z-test
          แบ่งเป็น 3 คือ ทดสอบความกลมกลืน ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร ความเป็นเอกภาพ
          นามบัญญัติ อิสระต่อกัน ค่าความคาดหวังน้อยกว่า 5 น้อยกว่าร้อยละ 20 จำนวนช่องทั้งหมดผ่านได้ ค่า p value=0.05 มากกว่าไม่แตกต่าง ถ้าน้อยกว่าแตกต่าง

การวิเคราะห์องค์ประกอบ Factor Analysis
          วิเคราะห์ปัจจัยทางบวกหรือลบ ลดจำนวนตัวแปรหลายตัวเป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ไว้ด้วยกัน และทดสอบความถูกต้อง
          วิเคราะห์หลายตัวแปร ไม่มีแบ่งเป็นตัวแปรตาม ตัวแปรต้น, ศึกษาโครงสร้างความสัมพันธ์ ,ลดจำนวนตัวแปร, ตรวจสอบยืนยันตามทฤษฎีหรือผู้วิจัยคาดไว้
          เชิงปริมาณ ตัวแปรอย่างน้อย 5 ตัว/ตัวแปร ตัวอย่างน้อยที่สุด 50 เหมาะสมควรมีมากว่า 100

การวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทาง (Two-way ANOVA)
          วิเคราะห์ความสัมพันธ์ IV สองตัว (เชิงคุณภาพ) DV หนึ่งตัว (ปริมาณ) ศึกษาความสัมพันธ์ตัวแปรอิสระส่งผลกับตัวแปรตาม, แจกแจงแบบปกติ, ความแปรปรวนไม่ต่างกัน, มีอิสระต่อกัน, IV มีค่าอย่างน้อยสองค่า,การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว Two-way ANOVA (ตัวแปรต้น 2 ตาม 1)
Two-way ANOVA มีปฏิสัมพันธ์กับตัวแปร ส่วน One-way ANOVA ไม่มีปฏิสัมพันธ์กับตัวแปร

การวิเคราะห์การถดถอย (Regression Analysis)
          หาความสัมพันธ์ตัวแปรเชิงปริมาณสองตัวขึ้นไป ใช้พยากรณ์ค่าตัวแปรของตัวแปรหนึ่งจากตัวแปรอื่นๆ
          Simple Regression ตัวแปรทำนายหนึ่ง ตัวแปรเกณฑ์หนึ่ง มาตราวัดระดับช่วงและอัตราส่วน (Interval & Ratio) ถ้ามีตัวแปรนามบัญญัติหรือเรียงอันดับ เปลี่ยนเป็นตัวแปรดัมมี่ (ตัวแปรเทียม)
          ตัวแปรพยากรณ์, ประมาณค่า, ตัวแปรตาม Y ตัวแปรต้น X, มีค่าความคลาดเคลื่อนน้อย ได้ค่าจริงสูง
          Multivariate Regression Analysis ตัวแปรทำนายหนึ่งตัว ตัวแปรเณฑ์หนึ่งตัว มาตราวัดระดับช่วงและอัตราส่วน (Interval & Ratio) ถ้ามีตัวแปรนามบัญญัติหรือเรียงอันดับ เปลี่ยนเป็นตัวแปรดัมมี่ (ตัวแปรเทียม) ทราบค่าตัวแปรต้น ไม่ทราบค่าตัวแปรตามแต่ต้องหาความสัมพันธ์หรือพยากรณ์
          การวิเคราะห์การถดถอยพหุ (Multiple Regression Analysis) DV สองตัวขึ้นไป IV ตัวเดียว

เทคนิคเดลฟาย (Delphi Technique)
          กลุ่มบุคคลจะมีความตรงมากกว่าตัดสินใจคนเดียว ไม่มีการเผชิญหน้า อิทธิพล อคติและความคิดของกลุ่ม จะตรงมากขึ้นหากผู้เชี่ยวชาญในกลุ่มมีความรู้ความชำนาญในประเด็นนั้นๆ
          ไม่เปิดเผยข้อมูล, เก็บข้อมูลซ้ำ, ข้อมูลย้อนกลับ, สรุปคำตอบของกลุ่มจากสถิติ
          แบ่งเป็น 3 คือ กลุ่มตัดสินใจ, กลุ่มผู้รับผิดชอบ, กลุ่มผู้ให้ข้อมูล
          มี 4 ขั้นตอน     1.กรอบการเก็บข้อมูล ผู้รับผิดชอบสอบถามความคิดเห็นจากผู้ตัดสินใจ สนใจข้อมูลอะไร ใช้เวลา 3-4 ชม.
          2.กำหนดผู้เชี่ยวชาญ กลุ่มสมบัติและขนาดผู้ให้ข้อมูล ต้องมีส่วนร่วม แลกเปลี่ยนความคิดเห็น จูงใจ สนใจอยากเข้าร่วม ผู้เชี่ยวชาญมีขนาด 17 คนขึ้นไป ความคลาดเคลื่อนจะน้อยมากจนคงที่
          3.ขั้นเก็บข้อมูล ส่วนใหญ่ไม่เกิน 4 รอบ แต่ละรอบเตรียมข้อมูลและนำเสนอต่างกัน
                   รอบที่ 1 เก็บข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญ คำถามปลายเปิด อิสระในความคิดเห็น
                   รอบที่ 2 จากรอบแรก วิเคราะห์เนื้อหา สรุปประเด็นทั้งหมดทำเป็นแบบสอบถามปลายปิดแบบประมาณค่า นิยม 5 ระดับ คำถามมาจากความคิดเห็นรอบแรกเท่านั้น
                   รอบที่ 3 นำข้อมูลรอบสอง สร้างแบบสอบถาม มุ่งตรวจสอบความคิดเห็นผู้ให้ข้อมูลซ้ำ ผู้ให้ได้รับข้อมูลย้อนกลับ 2 ส่วน ส่วนแรกความคิดเห็นกลุ่มด้วยค่าสถิติ ส่วนสองคำตอบผู้เชี่ยวชาญ
          4.รายงานผล วิเคราะห์ข้อมูลรอบสุดท้าย เสนอผู้เชี่ยวชาญตัดสินใจ
          ตรวจสอบความคิดเห็นอย่างน้อยร้อยละ 60 เปลี่ยนแปลงคำตอบแต่ละรอบเพิ่ม-ลดไม่น้อยร้อยละ 15
          ค่าสัมประสิทธิ์กระจายมากกว่าศูนย์แต่ไม่เกิน 0.5 ได้รับฉันทามติในระดับสูง แต่มากกว่า 0.5 ได้รับฉันทามติระดับต่ำ ควรดำเนินการรอบต่อไป

การวิเคราะห์เส้นทาง Path Analysis
          เป็นการประยุกต์การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ศึกษาขนาดและทิศทางความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรเหตุที่มีต่อตัวแปรผล อธิบายด้วยรูปแบบจำลองโมเดลและสมการโครงสร้างตามรูปแบบจำลองที่สร้างขึ้น ตัวแปรที่ไม่มีอยู่ในรูปแบบอาจมีอิทธิพลต่อตัวแปรรูปแบบที่สร้างขึ้นได้ X1 X2 X3 และ Y
          ระดับอันตรภาคขึ้นไป ความสัมพันธ์กันในเชิงเส้นตรงเท่านั้นและในแบบเหตุและผล
          ตัวแปรแอบแฝงในสมการถดถอยพหุคูณและละสมการต้องมีการกระจายแบบสุ่ม ต้องไม่มีความสัมพันธ์กันเองและกับตัวแปรเกณฑ์ของสมการ ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุและผลต้องตรงทางเดียวกัน ไม่มีผลย้อนกลับ

Cluster Analysis
          ใช้จำแนกหรือแบ่ง Case (คน สัตว์ สิ่งของ หรือองค์กร) แบ่งเป็นกลุ่มย่อยตั้งแต่ 2 กลุ่มขึ้นไป สามารถจัดตามกลุ่มความเหมือน ความต่างของตัวแปร, บุคคลหรือสิ่งที่คล้ายกันจัดอยู่ในกลุ่มเดียวกัน ใช้มาตราวัดระยะห่าง การวัดต่างกันผลวิเคราะห์ต่างกัน ควรใช้หลายมาตรวัดและเปรียบเทียบผล ตัวแปรวัดคะแนนต่างกันควรแปลงเป็นคะแนนมาตรฐานก่อนการวิเคราะห์, เลือกวิธี ตัดสินใจ แปลความหมาย ทดสอบความเที่ยงตรงของกลุ่ม วิเคราะห์ Profile ของกลุ่ม

การจำแนกกลุ่มด้วยเทคนิค Discriminant Analysis

          ใช้วิเคราะห์จำแนกกลุ่มตั้งแต่ 2 กลุ่มขึ้นไป DV หนึ่งตัว IV หนึ่งตัวขึ้นไป คล้ายกับการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ เพื่อหาสาเหตุปัจจัยที่ควรใช้, สร้างสมการจำแนกกลุ่ม, นำสมการจำแนกกลุ่มใช้พยากรณ์, DV แจกแจงปกติหลายตัวแปร ความแปรปรวนร่วมของแต่ละกลุ่มเท่ากัน มีความสัมพันธ์เชิงเส้น, DV ไม่สัมพันธ์ร่วมเชิงพหุเชิงเส้น ตรวจสอบด้วยสหสัมพันธ์เพียร์สัน มีค่าเข้าใกล้ 0 มากเท่าใด ระดับความสัมพันธ์ร่วมเชิงพหุเชิงเส้นของตัวแปรมีปัญหามาก