สถิติขั้นสูง
1. ไคสแควร์ (Chi-Square)
เปรียบเทียบข้อมูลที่อยู่ในรูปความถี่หรือสัดส่วน
เช่น เจตคติ คิดเห็น ความสนใจ การยอมรับ
ไม่สามารถวัดเป็นค่าที่แน่นอนหรือเป็นตัวเลข จัดเป็นหมวดหมู่ได้ การทดสอบโดยใช้สถิติไม่อ้างอิงพารามิเตอร์
(Nonparametric Statistics) ซึ่งการทดสอบแบบไคสแควร์เป็นการทดสอบค่าสถิติในกลุ่มนอนพารา
เมตริกที่เป็นสถิติที่ไม่มีเงื่อนไขเกี่ยวกับข้อตกลงเบื้องต้นว่าข้อมูลที่นามาทดสอบว่าจะต้องมีลักษณะ
อย่างไร แต่จะมีประสิทธิภาพในการสรุปอ้างอิงข้อมูลในระดับที่ต่ำกว่าค่าสถิติในกลุ่มพาราเมตริก
(สุชาดา บวรกิติวงศ์, 2548 : 169)
การทดสอบไคสแควร์
Chi-Square Test เป็นวิธีการทดสอบผลการศึกษาทดลองว่าคลาดเคลื่อนไปจากความถี่ที่คาดหวัง
(หรือความถี่ที่ควรจะเป็น) มากน้อยเพียงใด การทดสอบจะบอกให้ทราบว่าตัวแปรทั้งสองที่มีข้อมูลปรากฏในตารางมีความเป็นอิสระต่อกันหรือไม่
แต่ผลของการทดสอบจะไม่ได้ระบุถึงระดับของความสัมพันธ์ของตัวแปรทั้งสอง ทราบเพียงแต่ว่ามีความสัมพันธ์กันหรือไม่เท่านั้น
การทดสอบไคสแควร์ แบ่งออกได้ 3 ลักษณะ คือ
1. การทดสอบความกลมกลืน
(The goodness of fit test) เป็นการทดสอบไคสแควร์
เพื่อศึกษาว่าการแจกแจงความถี่ของตัวแปรเป็นไปตามรูปแบบที่กำหนดไว้หรือไม่ โดยศึกษาจากตัวแปรเพียงตัวเดียว
โดยการเปรียบเทียบระหว่างข้อมูลจากตัวแปรกับข้อมูลที่ได้จากความคาดหมายหรือจากทฤษฎีใด
ๆ ว่ามีความสอดคล้องกันหรือไม่
2. การทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร
(Test of Association) หรือ การทดสอบความเป็นอิสระ (Test of
Independence) เป็นการทดสอบไคสแควร์ เพื่อศึกษาว่าตัวแปรต่าง ๆ สัมพันธ์กันหรือไม่
โดยศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรทีละคู่ ๆ ซึ่งตัวแปรแต่ละตัว อาจจำแนกออกเป็นหลายกลุ่มหรือหลายพวกที่แจกแจงอยู่ในตารางมิติต่าง
ๆ เช่น 2 x 2, 3 x 2 หรือ 2 x 3 เป็นต้น 3. การทดสอบความเป็นเอกภาพ
(Test of Homogeneity) การทดสอบความเป็นเอกภาพ
หรือเรียกว่า การทดสอบความเป็นเอกพันธ์หรือการทดสอบความคล้ายคลึงกันของตัวแปร
(Test of Homogeneity) เป็นการทดสอบความเหมือนกัน (หรือไม่แตกต่างกัน) ของตัว
วัตถุประสงค์
1.เพื่อทดสอบอัตราส่วน
2.เพื่อทดสอบความสัมพันธ์
พื้นฐานทางสถิติ
เก็บข้อมูลจากการสุ่มตัวอย่าง
ข้อมูลในแต่ละเซลล์ควรมีค่ามากกว่า 5 ถ้าน้อยกว่าไม่ควรเกินร้อยละ 20
ถ้าละเมิดจะทำให้ผลสรุปผิดพลาด หลักการของการทดสอบมีว่า ผลรวมกำลังสองของค่าความแตกต่างระหว่างค่าสังเกต (Observed value) กับค่าคาดหวัง (Expected value) หารด้วยค่าคาดหวัง
(Summation of (O-E)^2/E) ตามสูตรดังกล่าวสามารถทำการทดสอบกับข้อมูลชนิดตารางสองทาง
(Contingency table หรือ 2 x 2 table) หรือตารางหลายทาง
(r x c table)โดยมีข้อตกลงเบื้องต้นในการทดสอบเบื้องต้นดังนี้ ข้อมูลที่ใช้ในการทดสอบเป็นข้อมูลที่ได้จากการสุ่ม
ข้อมูลจะถูกแจกแจงในกรณีต่างๆ ได้เพียงกรณีเดียวทั้งแถวและสดมภ์ ต้องมีค่าคาดหวังมากกว่าหรือเท่ากับ
5 ในกรณีที่ค่าคาดหวังน้อยกว่า 5 จะใช้ได้เมื่อค่าคาดหวังมีค่ามากกว่า
1 และน้อยกว่า 5 แต่ไม่เกินร้อยละ 20 ของ จำนวนแถวและสดมภ์ และในกรณีที่ค่าคาดหวังเกินมากกว่า 1 และน้อยกว่า 5 มากกว่าร้อยละ 20ให้ทำการรวมกลุ่มย่อยของตัวแปรที่มีลักษณะใกล้เคียงเข้าด้วยกัน
ขั้นตอนการใช้สถิติ
ทดสอบสมมติฐานเกี่ยวกับค่าเฉลี่ย
ค่าสัดส่วนหรือความแปรปรวนของประชาการ เป็นตัวเลขหรือข้อมูลเชิงปริมาณ อยู่ในระดับนามบัญญัติ
(Nominal)
จำแนกทางเดียว -สัดส่วนของประชากร k
กลุ่ม (K>2)
-การแจกแจงของประชากร จำแนก 2 ทาง
-การทดสอบความเป็นอิสระของลักษณะ
2 ลักษณะ เช่น เพศกับผลการเรียนมีความสัมพันธ์กันหรือไม่
จำแนกทางเดียว จำแนก
2 ทาง
.
ประโยชน์
1)
เป็นการทดสอบความสัมพันธ์ (Test of association)
2) การทดสอบความเหมาะสมของ
Model ทางสถิติในการวิเคราะห์ (Test of goodness of fit) และ
3) การทดสอบความแตกต่างหรือความเป็นอิสระ
(Test of independence) ตัวแปรที่จะนำมาทดสอบนั้นต้องเป็นตัวแปรที่มีระดับการวัดแบบนามบัญญัติ
(nominal scale) คือ ตัวแปรกลุ่มชนิดไม่ต่อเนื่อง (discrete)
ขั้นตอนการทดสอบไคสแควร์ ทั้ง 3 ลักษณะ ได้แก่ การทดสอบความกลมกลืน
การทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร และการทดสอบความเป็นเอกภาพ มีดังนี้
1. กำหนดสมมติฐานการวิจัย โดยจะต้องกำหนดสมมติฐานเป็นกลาง (H0) ไว้ว่า ไม่มีความแตกต่างระหว่างความถี่ที่ได้จากการศึกษา (O) กับ ความถี่ที่คาดหวังหรือความถี่ที่ควรจะเป็น (E) และกำหนดสมมติฐานตรงข้าม
(H1) ไว้ว่า มีความแตกต่างกันระหว่างความถี่ทั้งสอง
2. หาค่าความถี่ที่คาดหวัง (หรือความถี่ควรจะเป็น)
ตามหลักของความน่าจะเป็น โดยการแทนค่าในสูตรเพื่อหาค่า E แต่ละเซล จนครบทุกเซลตามขนาดมติของตาราง
3. คำนวณหาค่าไคสแควร์ (c2)
4. เปรียบเทียบค่าที่คำนวณได้กับค่าที่ได้จากตารางที่ระดับนัยสำคัญตามที่กำหนด
5. สรุปผลการทดสอบ ถ้าค่าที่คำนวณได้มีค่ามากกว่าค่าที่ได้จากตาราง แสดงว่าความแตกต่างของความถี่ที่ได้จากตัวแปรที่ศึกษา
มีนัยสำคัญกับความถี่ที่คาดหวัง (หรือความถี่ที่ควรจะเป็น)
นั่นคือ ยอมรับตามสมมติฐานตรงข้าม (H1) และปฏิเสธสมมติฐานเป็นกลาง
(H0) แต่ถ้าไม่มีความแตกต่าง ก็จะเป็นการยอมรับสมมติฐานเป็นกลาง
(H0) และปฏิเสธสมมติฐานตรงข้าม (H1)
สรุป
:
Chi-Square ความถี่่/สัดส่วน/ข้อมูล, ความถี่ที่คาดหวังมาก-น้อย,
ตัวแปรมีอิสระต่อกันหรือไม่, ความคาดหวังไม่น้อยกว่า
5 ร้อยละ 20 , มี 3 ขั้นตอน กลมกลืน-สัมพันธ์-เอกภาพ และการทดสอบสมมติฐานขึ้นอยู่กับการเก็บข้อมูลจะต้องเก็บข้อมูลจากการสุ่มตัวอย่างเสมอและข้อมูลที่เก็บมาได้ในแต่ละเซลล์ควรมีค่ามากกว่า
5 ถ้ามีค่าน้อยกว่า 5ไม่ควรเกินร้อยละ
20 นั้น และที่สำคัญค่าคาดหวังในแต่ละเซลล์ไม่ควรน้อยกว่า 5
1. ใช้กับข้อมูลที่เก็บเป็นนามบัญญัติ
2. ตัวแปรเป็นอิสระไม่ขึ้นต่อกัน
3. เวลาใช้ก็ให้ดูว่ามีอยู่กี่ช่องที่มีค่าคาดหวังน้อยกว่า 5 ถ้ามีน้อยกว่าร้อยละ
20 ของจำนวนช่องทั้งหมด ก็ถือว่าผ่านไปข้อต่อไป
4. ดูค่า p value เทียบกับ 0.05 ถ้ามากกว่า
0.05 แสดงว่าตัวแปรที่ 1 กับตัวแปรที่ 2
ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ แต่ถ้าหากได้ค่าน้อยกว่า 0.05
แสดงว่าตัวแปรที่ 1 กับตัวแปรที่ 2 มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ
การทดสอบไคสแควร์ เป็นการทดสอบสมมุติฐานของข้อมูลที่อยู่ในระดับนามบัญญัติ
(Nominal) หรือเรียงลาดับ (Ordinal) เพื่อใช้สรุปอ้างอิงข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างสู่ประชากรที่นาเสนอ โดย คาร์ล เพียร์สัน
ที่เป็นการทดสอบนัยสำคัญในการเปรียบเทียบสัดส่วน,ความสัมพันธ์
และ ความแปรปรวนของประชากร 1 กลุ่มเท่านั้น การทดสอบแบบไคสแควร์เป็นการทดสอบค่าสถิติ
ในกลุ่มนอนพาราเมตริกที่เป็นสถิติที่ไม่มีเงื่อนไขเกี่ยวกับข้อตกลงเบื้องต้นว่าข้อมูลที่นำมาทดสอบว่าจะต้องมีลักษณะอย่างไร
แต่จะมีประสิทธิภาพในการสรุปอ้างอิงข้อมูลในระดับที่ต่ำกว่าค่าสถิติในกลุ่มพาราเมตริก
วิธีการทดสอบด้วยไคสแควร์ จำแนกได้ดังนี้ 1) การทดสอบนัยสำคัญความถูกต้องตามทฤษฏี
หรือความถี่ที่สังเกตได้เป็นไปตามความถี่ที่คาดหวังหรือไม่ 2) การทดสอบนัยสำคัญระหว่างตัวแปรหรือการทดสอบความเป็นอิสระและ 3) การทดสอบความเป็นเอกพันธ์ในการแจกแจงข้อมูล
2. Factor Analysis
การวิเคราะห์องค์ประกอบ (factor analysis) หรือการวิเคราะห์ปัจจัย
เป็นเทคนิคการวิเคราะห์ทางสถิติของการวิจัยที่มุ่งลดจำนวนตัวแปรที่มีอยู่จำนวนมาก
ตัวแปรที่มีความสัมพันธ์ใกล้เคียงกันจะถูกจัดรวมเข้าเป็นกลุ่มเดียวกัน เรียกว่า
“องค์ประกอบหรือปัจจัย (factor)”
การรวมกลุ่มตัวแปรว่าจะจัดได้กี่กลุ่มหรือกี่ปัจจัย
วิเคราะห์ดูความสัมพันธ์กันของตัวแปรในทางบวกหรือทางลบก็ได้
ปัจจัยที่วิเคราะห์ได้นี้สามารถนำมาวิเคราะห์ทางสถิติต่อไป
ตัวแปรที่ใช้ในการวิเคราะห์ปัจจัยควรเป็นตัวแปรเชิงปริมาณหรือตัวแปรทวิ มีค่าเป็น
0 กับ 1 การวิเคราะห์องค์ประกอบมีเหตุผลให้ได้จำนวนองค์ประกอบน้อยที่สุด
เพื่ออธิบายความผันแปรของข้อมูลให้ได้มากที่สุด
โดยการวิเคราะห์องค์ประกอบจะไม่มีตัวแปรใดเป็นตัวแปรอิสนะหรือตัวแปรตาม
การวิเคราะห์จะเป็นการศึกษาลักษณะการรวมตัวของกลุ่มตัวแปรในลักษณะเชิงเส้นตรง (Linear
combination)
วัตถุประสงค์
1.เพื่อสำรวจหรือค้นหาตัวแปรแฝงที่ซ่อนอยู่ภายใต้ตัวแปรที่สังเกตหรือวัดได้
เรียกว่า การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (Exploratory Factor Analysis)
2.เพื่อพิสูจน์
ตรวจสอบหรือยืนยันทฤษฎีที่ผู้อื่นค้นพบ เรียกว่า การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน
Confirmatory
Factor Analysis Model: CFA
องค์ประกอบร่วมที่จะสามารถอธิบายความสัมพันธ์ร่วมกันระหว่างตัวแปรต่างๆ
โดยจำนวนองค์ประกอบร่วมที่หาได้จะมีจำนวนน้อยกว่าจำนวนตัวแปรนั้น
ทำให้ทราบว่ามีองค์ประกอบร่วมอะไรบ้าง เรียกว่า Exploratory Factor
Analysis Model: EFA หรือเพื่อลดตัวแปรหรือปัจจัย
เมื่อมีการลดตัวแปรหลายตัวเหลือเพียง 3
ปัจจัยแล้วจะต้องมีการตั้งชื่อหรือกำหนดชื่อปัจจัยไว้ด้วย เช่นคำถามเกี่ยวกับบุคคล
ประกอบด้วย รายได้ ระดับการศึกษา และอาชีพ เมื่อวิเคราะห์แล้วพบว่าตัวแปรทั้ง 3
มีความสัมพันธ์กันจะรวมอยู่ในปัจจัยเดียวกัน เช่น
องค์ประกอบที่ 1
ประกอบด้วย
องค์ประกอบที่ 2
ประกอบด้วย
องค์ประกอบที่ 3
ประกอบด้วย
การทดสอบสมมติฐานหรือความถูกต้องเกี่ยวกับโครงสร้างขององค์ประกอบว่า
องค์ประกอบแต่ละองค์ประกอบประกอบด้วยตัวแปรอะไรบ้าง
และตัวแปรแต่ละตัวควรมีน้ำหนักหรืออัตราความสัมพันธ์กับองค์ประกอบมากน้อยเพียงใด
ตรงกับที่คาดคะเนไว้หรือไม่ หรือสรุปได้ว่าเพื่อต้องการทดสอบว่าตัวประกอบอย่างนี้ตรงกับโมเดลหรือตรงกับทฤษฎีที่มีอยู่หรือไม่
ผู้วิจัยต้องกำหนดความสำคัญหรือน้ำหนักให้กับตัวแปร เช่น ต้องการสร้างปัจจัยหรือดัชนีวัดประสิทธิภาพของการทำงาน
ซึ่งต้องพิจารณาจากตัวแปรหลายๆ ตัว เช่น ผลงาน ระยะเวลา จำนวนวันลา (ประสิทธิภาพ P =
) เรียกว่า Confirmatory Factor Analysis
Model: CFA
ข้อตกลงเบื้องต้น
1. Common factors ทุกตัวมีความสัมพันธ์กัน
2. ตัวแปรที่สังเกตได้ทั้งหมดจะต้องเป็นผลทางตรงจาก
Common factors ทุกตัว
3. unique factors แต่ละตัวจะต้องไม่มีความสัมพันธ์กัน
4. ตัวแปรที่สังเกตได้ทุกตัวจะต้องเป็นผลทางตรงจาก
unique factors
5.
Common factors ทั้งหมดไม่สัมพันธ์กับ unique factors
พื้นฐานทางสถิติ
1. ตัวแปรที่คัดเลือกมาวิเคราะห์องค์ประกอบ ต้องเป็นตัวแปรที่มีค่าต่อเนื่อง หรือมีค่าในมาตราระดับช่วง
(Interval scale) และมาตราอัตราส่วน (Ratio scale)
2. ตัวแปรที่คัดเลือกมาวิเคราะห์องค์ประกอบ ควรมีความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรในระดับสูง
(r = 0.30 – 0.70)
รูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบและตัวแปรที่อยู่ในรูปเชิงเส้น
(linear) เท่านั้น
3. จำนวนตัวแปรที่คัดเลือกมาวิเคราะห์องค์ประกอบ ควรมีจำนวนมากกว่า 30
ตัวแปร
4. กลุ่มตัวอย่าง ควรมีขนาดใหญ่และควรมีมากกว่าจำนวนตัวแปร จำนวนข้อมูลมากกว่าจำนวนตัวแปรอย่างน้อย
5 – 20 เท่า
กระบวนการวิเคราะห์องค์ประกอบและแปลความหมาย
ขั้นตอนในการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจสามารถแบ่งได้ 5 ขั้นตอนคือ
1. เก็บข้อมูลแลสร้างเมตริกสหสัมพันธ์
2. การสกัดองค์ประกอบ
3. เลือกวิธีการหมุนแกน
4. เลือกค่า
loading
5.
ตั้งชื่อองค์ประกอบที่วิเคราะห์ได้
เทคนิคของการวิเคราะห์องค์ประกอบ
แบ่งออกเป็น 2 ประเภท
1.การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (Exploratory
Factor Analysis) จะใช้ในกรณีผู้ศึกษาต้องการมีความรู้เกี่ยวกับโครงสร้างความสัมพันธ์ของตัวแปรเพื่อศึกษาโครงสร้างของตัวแปรและลดจำนวนตัวแปรที่มีอยู่เดิมให้มีการรวมกันได้
2.การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน
(Confirmatory Factor Analysis) จะใช้ในกรณีที่ผู้ศึกษาทราบโครงสร้างความสัมพันธ์ของตัวแปร
ควรจะเป็นรูปแบบใดหรือคาดว่าตัวแปรใดบ้างที่มีความสัมพันธ์กันมากและควรอยู่ในองค์ประกอบเดียวกัน
หรือคาดว่ามีตัวแปรใดที่ไม่มีความสัมพันธ์กัน ควรจะอยู่ต่างองค์ประกอบกัน
ประโยชน์ของ
Factor
Analysis
1.ลดจำนวนตัวแปร โดยการรวมตัวแปลหลาย ๆ ตัว ให้อยู่ในปัจจัยเดียวกัน
ปัจจัยที่ได้เป็นตัวแปรใหม่ ที่สามารถหาค่าข้อมูลของปัจจัยที่สร้างขึ้นได้
และนำปัจจัยนั้นเป็นตัวแปรสำหรับการวิเคราะห์ทางสถิติ เช่น
การวิเคราะห์ความถดถอดและสหสัมพันธ์ (Regression and Correlation Analysis)
การวิเคราะห์ความแปรปรวน (ANOVA) ทดสอบสมมติฐาน
t-test, z-test และการวิเคราะห์จำแนกกลุ่ม (Discriminant
Analysis)
2.ใช้แก้ปัญหา
ตัวแปรอิสระของเทคนิคการวิเคราะห์ความถดถอยมีความสัมพันธ์กัน
แก้โดยรวมตัวแปรอิสระที่มีความสัมพันธ์กันเข้าด้วยกัน เป็นตัวแปรหรือปัจจัยใหม่
แล้วใช้การวิเคราะห์ความถดถอยต่อไป
3.ทำให้เห็นโครงสร้างความสัมพันธ์ของตัวแปรที่ศึกษา
เทคนิค Factor
จะหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของตัวแปรทีละคู่แล้วรวมตัวแปรที่สัมพันธ์กันมากไว้ในปัจจัยเดียวกัน
จึงจะสามารถวิเคราะห์ความสัมพันธ์นั้นได้
งานวิจัย: การวิเคราะห์องค์ประกอบพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย
จังหวัดปทุมธานี (จิตเจริญ ศรขวัญ)
สรุป
:
Factor= ลดจำนวนตัวแปรหลายตัว, ตรวจสอบความถูกต้อง, วิเคราะห์หลายตัวแปร
(วิเคราะห์ปัญหา,ออกแบบ,ตรวจสอบ,วิเคราะห์,ตีความ,ตรวจสอบ,ใช้ผลที่ได้
3. การวิเคราะห์ความแปรปรวน
Analysis of Variance : ANOVA
t –test
เป็นการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย 2 ค่า ( 2 กลุ่ม ) แต่ถ้ามี 3 กลุ่ม ต้องทดสอบถึง 3
ครั้ง กล่าวคือ กลุ่มที่ 1 – กลุ่มที่ 2 , กลุ่มที่ 2 – กลุ่มที่ 3 และกลุ่มที่ 2 – กลุ่มที่ 3 ซึ่งทำให้เสียเวลา และความคลาดเคลื่อน ประเภทที่ 1 ( Type
I Ewor ) จะเพิ่มขึ้น เช่น กำหนด ถ้าทดสอบ t
–test 3 ครั้ง จะทำให้ ที่ได้จะเท่ากับ 1-
( 1- ) เมื่อ k คือจำนวนกลุ่มผลที่ได้จะทำให้ค่าความน่าจะเป็นที่ 1 แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญ
โดยบังเอิญมากขึ้น ( Levin . 1983 ; Chase .1968 ) ดังนั้น
เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว
ในการทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยที่มากกว่าสองค่าจึงทดสอบด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวน
ด้วยสถิติ F -test
การทดสอบความแปรปรวนนั้น
ในกรณีที่มีตัวแปรอิสระ 1 ตัวจะเรียก One – way ANOVA , 2 ตัว เรียก Two –way
ANOVA และ ถ้ามีตัวแปรอิสระ 3 ตัว
ก็จะเป็นการวิเคราะห์ 3-way ANOVA ซึ่งการวิเคราะห์และการตีความก็จะยากขึ้นตามลำดับ
การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว
( One- way ANOVA )
ใช้สำหรับการทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยที่ได้จากกลุ่มตัวอย่าง
3 กลุ่มขึ้นไป เพื่อตรวจสอบว่าตัวแปรอิสระ 1 ตัว แบ่งออกเป็น k ประเภท จะส่งผลต่างกันหรือไม่
โดยแต่ละกลุ่มควรมีสมาชิกที่เท่ากันหรือใกล้เคียงกัน
ข้อตกลงเบื้องต้นในการวิเคราะห์ความแปรปรวน
1.
ข้อมูลที่นำมาวิเคราะห์ ( ตัวแปรตาม) ต้องมีระดับการวัดตั้งแต่มาตราอันตรภาค (Interval scale) ขึ้นไป
2. กลุ่มตัวอย่างแต่ละกลุ่มมาจากประชากรที่มีการแจกแจงปกติ
3.
กลุ่มตัวอย่างแต่ละกลุ่มต้องเป็นอิสระจากกัน
4.
กลุ่มตัวอย่างแต่ละกลุ่มมาจากประชากรที่มีความแปรปรวนเท่ากัน
ตัวอย่าง
การทดลองสอน
4 วิธี กับนักเรียน
4 กลุ่ม
เมื่อสอนจนจบเนื้อหาตามที่ต้องการทดสอบสอนทั้ง 4
วิธีให้ผลแตกต่างกันหรือไม่
สรุป
การวิเคราะห์ความแปรปรวน Analysis of Variance
(ANOVA) ที่อยู่ในระดับอันตรภาคหรืออัตราส่วนจะใช้การวิเคราะห์ ความแปรปรวนแบบทางเดียว
(One-Way Analysis of Variance : One-Way ANOVA)หรือ การทดสอบเอฟ
(F-test)
X Y
การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว ที่มีแนวคิดพื้นฐานว่าการเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่าง
ตั้งแต่
3 กลุ่มขึ้นไป จะใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนโดยในกรณีที่มีตัวแปรอิสระเพียง
1 ตัว เป็นตัวแปรเชิงกลุ่มที่จำแนกระดับได้ตั้งแต่ 3 ระดับขึ้นไปและมีตัวแปรตาม 1 ตัวที่อยู่ในระดับอันตรภาคหรืออัตราส่วน
การวิเคราะห์ความแปรปรวน
(Two-Way ANOVA)
วัตถุประสงค์
เพื่อทดสอบสมมติฐานของผลต่างระหว่างค่าเฉลี่ยประชากร 2 ประชากร ใช้ในงานวิจัยที่มีการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่าง
เพื่ออ้างอิงไปยังประชากรในลักษณะที่งานวิจัยที่มีตัวแปรต้น 2 ตัว
แต่ละตัวแบ่งได้อย่างน้อย 2 ระดับ และตัวแปรตาม 1 ตัว การวิเคราะห์ความแปรปรวนมี 2
องค์ประกอบจะใช้กับตัวแปรอิสระ 2 ตัวพร้อมกัน โดยต้องการศึกษาผลของตัวแปรอิสระแต่ละตัวที่มีต่อตัวแปรตามและศึกษาปฏิสัมพันธ์
(Interaction) ระหว่างตัวแปรอิสระ 2 ตัวนั้น มีตัวแปร 2 ชนิด
คือ ตัวแปรอิสระ 2 ตัว ตัวแปรตาม 1 ตัว
ตัวแปรตามจะเป็นผลที่ผู้ทดลองสังเกตได้หรือวัดได้ และใช้สถิติทดสอบ Z หรือ t ถ้าเปรียบเทียบคุณภาพการสอน 3 วิธี
จะทำให้เสียเวลาทดสอบซึ่งต้องทดความแตกต่างครั้งละคู่ มี 3 วิธี ต้องทำการทดสอบ 3 ครั้ง 3 คู่
-การทดลองสอนโดยใช้วิธีสอน
4 วิธีกับนักเรียน 3 กลุ่ม ซึ่งมีระดับอายุต่างกัน จะมีผลคะแนนต่างกันหรือไม่
เงื่อนไข
1.กลุ่มตัวอย่างได้รับการสุ่มมาจากประชากรที่มีการแจกแจงเป็นโค้งปกติ
2.ตัวแปรอิสระ 2 ตัว
แต่ละตัวแบ่งได้มากกว่า 2 ระดับ และตัวแปรตาม 1 ตัว
3.ข้อมูลอยู่ในมาตราอันตรภาคชั้น
หรือมาตราอัตราส่วน
4.ไม่ทราบความแปรปรวนของประชากรแต่ละกลุ่ม
แต่สมมติให้เท่ากัน
หลักการของการวิเคราะห์
การวิเคราะห์ความแปรปรวนจะทำให้สามารถทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยประชากรตั้งแต่
3 ประชากรขึ้นไป ซึ่งหลักเกณฑ์สำคัญในการทดสอบสมมติฐาน คือ การแยกตามความแปรปรวน
ความผันแปรทั้งหมดของข้อมูลออกตามสาเหตุที่ทำให้ข้อมูลแตกต่างกัน คือ
1.ความผันแปรหรือความแตกต่างระหว่างประชากร
2.ความผันแปรหรือความแตกต่างภายในประชากรเดียวกัน
สรุป
:
Two-way= ตัวแปรต้น 2 ตัว ตาม 1 ตัว, แจกแจงแบบปกติ ความแปรปรวนไม่ต่างกัน เป็นอิสระต่อกัน (ตัวแปรต้นเชิงคุณภาพ
ตัวแปรตามเชิงปริมาณ,แตกต่างกันอย่างน้อย 1
คู่ทดสอบด้วยเชฟเฟ่
สรุป การวิเคราะห์ความแปรปรวน
Analysis
of Variance (Three-way ANOVA)
X1
X2 Y
X3
การเปรียบเทียบพหุคูณภายหลังการวิเคราะห์ความแปรปรวน
เป็นการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของข้อมูลหลังจากการสรุปผลว่าผลการทดสอบสมมุติฐานโดยที่การวิเคราะห์ความแปรปรวนนั้น
ปฏิเสธสมมุติฐานหลัก (H0) ดังนั้นจะต้องนาค่าเฉลี่ยมาเปรียบเทียบเป็นรายคู่ที่จะมีการควบคุมความคลาดเคลื่อนของการทดสอบไม่ให้เกินค่าความคลาดเคลื่อนที่กำหนดไว้
สำหรับการปฏิเสธสมมุติฐานหลักที่เป็นจริง ที่มีวิธีการเปรียบเทียบพหุคูณภายหลังการวิเคราะห์ความแปรปรวน
มีดังนี้
1) วิธีการของเชพเฟ
2) วิธีการผลต่างที่มีนัยสำคัญน้อยที่สุดของพิชเชอร์
3) วิธีการ
Turkey’s Honestly Significant Difference
การวิเคราะห์ความแปรปรวน
Analysis
of Covariate (ANCOVA)
การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยตั้งแต่
2 กลุ่มขึ้นไป ลักษณะเดียวกันกับ ANOVA กรณีงานวิจัยที่ต้องควบคุมตัวแปรแทรกซ้อน
อันเนื่องมาจากการไม่เท่าเทียมกันตั้งแต่ต้นของกลุ่มตัวอย่าง ควรออกแบบให้มีการ Pretest
และ Posttest กรณีงานวิจัยทดลองโดยที่กลุ่มตัวอย่างไม่สามารถสุ่มได้
หรือแบ่งนักเรียนเป็นกลุ่มแต่ไม่เท่ากันในด้านความสามารถ เช่น เก่ง ปานกลาง อ่อน
เป็นต้น
การวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม
มีหลายประเภท เช่นเดียวกับ ANOVA การวิเคราะห์ความแปรปรวนอย่างง่าย
คือ มีตัวแปรอิสระ 1 ตัว แบ่งเป็น k ระดับ ตัวแปรตาม 1 ตัว
และตัวแปรร่วม 1 ตัว จำนวนกลุ่มตัวอย่างอาจเท่ากันหรือไม่เท่ากันก็ได้
ตัวแปรที่ต้องการศึกษาคือ
X
และ Y ส่วน Z จะเป็นตัวแปรเกิน
(ตัวแปรที่ไม่ได้ศึกษา) แต่มีผลต่อตัวแปร X และ Y
X Y (One-way ANOVA)
X Y
Z ตัวแปรร่วม (การวิเคราะห์ ANCOVA)
เงื่อนไข
1.ข้อมูลอยู่ในมาตราอัตรภาคชั้น
หรืออัตราส่วน
2.
ตัวแปรอินสะ 1 ตัว แบ่งได้ตั้งแต่ 3 ระดับขึ้นไป
3.
ตัวแปรร่วม มีความสัมพันธ์เชิงเส้นตรงกับตัวแปรตาม
4.
ข้อมูลมีการแจกแจงเป็นโค้งปกติ
การวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วมพหุคูณ (Multivariate
Analysis of Variance (MANOVA)
Y1
X1
Y2
X2
Y3
Two-way MANOVA
|
|
การวิเคราะห์ความแปรปรวนของตัวแปรตามหลายตัว
(Multi-Variate
Analysis of Variance : MANOVA)
กรณีที่มีตัวเป็นเชิงปริมาณซึ่งเป็นตัวแปรตามหลายตัว จะใช้เทคนิค
MANOVA
ซึ่งเป็น
เทคนิคที่ใช้วิเคราะห์ความแปรปรวนของตัวแปรเชิงปริมาณหลาย ๆ ตัวพร้อมกัน เช่น ศึกษาเปรียบเทียบ
ยอดขายเฉลี่ย กาไรเฉลี่ย ของเครื่องสำอางหลาย ๆ ยี่ห้อว่าแตกต่างกันหรือไม่ ในที่นี้ตัวแปรตามมี
2 ตัว คือ ยอดขาย
และกำไร ซึ่งเป็นตัวแปรเชิงปริมาณ ส่วนตัวแปรอิสระ คือ ยี่ห้อ ซึ่งเป็นตัวแปรเชิงกลุ่ม
ตัวแปรอิสระอาจจะเป็นตัว แปรเชิงกลุ่ม และตัวแปรเชิงปริมาณได้ ตัวแปรอิสระที่เป็นตัวแปรเชิงปริมาณจะถือเป็น
Covariate
เงื่อนไขของการวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุคูณ (MANOVA)
1.
มีการสุ่มตัวอย่างเป็นอิสระกัน
2.
Variance-Covariance matrices ของกลุ่มต้องเท่ากัน
3.
ตัวแปรตาม p ตัว มีการแจกแจงแบบ
Multivariate normal (นั่นคือ linear combination ของตัวแปรตาม จะต้องมีการแจกแจงแบบปกติ)
ลักษณะการวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุคูณ
MANOVA
เป็นเทคนิคที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลการทดลองที่มีตัวแปรอิสระตั้งแต่
1 ตัวขึ้นไป มี
กลุ่มตัวอย่างตั้งแต่สองกลุ่มขึ้นไป ตามจำนวนระดับหรือประเภทย่อยของตัวแปรอิสระ โดยมุ่งทดสอบ
สมมติฐานทางสถิติเกี่ยวกับค่าเฉลี่ยในตัวแปรตามของกลุ่มเหล่านั้นตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไป
1. การวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุคูณทางเดียว (one-way MANOVA) จะมีตัวแปรเดียว
ซึ่งระดับหรือประเภทตั้งแต่ 2 ระดับหรือประเภทขึ้นไป ในตัวอย่างนี้เป็นรูปแบบข้อมูลที่จะวิเคราะห์
ความแปรปรวนพหุคูณทางเดียวอย่างง่าย ตัวแปรอิสระมีตัวเดียวซึ่งมี 3 ระดับหรือประเภท
จึงมีกลุ่มตัวอย่าง 3
กลุ่ม
แต่ละกลุ่มมีจำนวนเท่ากันหรือไม่เท่ากันก็ได้ ตัวแปรตามมี 2 ตัวแปร คือ X1 กับ X2
2. การวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุคูณสองทาง (two-way MANOVA) จะมีตัวแปรอิสระสองตัว
เป็นลักษณะข้อมูลที่จะวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุคูณสองทางอย่างง่าย ตัวแปรอิสระมี 2 ตัวแปร คือ A กับ B ตัวแปร A มี 2 ระดับหรือประเภท
ส่วนตัวแปร B
มี
3 ระดับหรือประเภท
จึงมีกลุ่มตัวอย่าง 2x3
= 6 กลุ่มย่อย
ตัวแปรตามมี 2
ตัวแปร
คือ กับ
ตัวอย่าง การสอนด้วยวิธีที่แตกต่างกัน 3 วิธี คือ ก ข
และ ค จะทำให้นักเรียน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ()
และเจตคติต่อการเรียน
() แตกต่างกันหรือไม่
การทดลองเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความสนใจในวิชาที่เรียน
อัตมโนภาพ แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์และความแปรปรวนของอัตราการเรียนรู้ ระหว่างนักเรียนที่สอน
โดยวิธีเรียนเพื่อรู้แจ้งกับกลุ่มที่สอนโดยวิธีบรรยาย (ดารง ศิริเจริญ. 2524)
4. การวิเคราะห์ความถดถอย
Simple Regression
ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร
2 ตัว
โดยต้องทราบค่าของตัวแปรตัวหนึ่งหรือต้องกำหนดค่าของตัวแปรตัวหนึ่งไว้ล่วงหน้า
เช่น ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างรายจ่ายกับรายได้ ยอดขายกับค่าโฆษณา ฯลฯ
วัตถุประสงค์
1.เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรว่ามีความสัมพันธ์กันมากน้อยเพียงใด
2.ใช้ความสัมพันธ์ที่วิเคราะห์ได้มาประมาณค่าหรือพยากรณ์ค่า
Y
ในอนาคตเมื่อกำหนดค่า X
ขั้นตอนการใช้สถิติ
ใช้เมื่อต้องการสร้างสมการถดถอยอย่างง่าย
ประกอบไปด้วยตัวแปรทำนาย 1 ตัว และตัวแปรเกณฑ์ 1 ตัว โดยควรจะอยู่ในมาตรการวัดระดับ Interval หรือ Ratio
Scale ทั้งคู่
สรุป
1.พิจารณาถึงตัวแปรอิสระ
X
ที่คาดว่าจะมีความสัมพันธ์กับตัวแปรตาม Y มากที่สุด
2.นำข้อมูลตัวอย่างของ
X
และ Y มาเขียนแผนภาพการกระจาย
3.พิจารณาจากภาพการกระจาย
ควรมีความสัมพันธ์กันในรูปแบบใด เช่น เส้นตรง พาราโบลา ฯลฯ
Y =
+ +e
ขั้นตอนการวิเคราะห์ Multiple
Linear Regression
ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง
ตัวแปรตาม (Y) หนึ่งตัวกับตัวแปรอิสระ (X)
มากกว่าหนึ่งตัว
แต่ความสัมพันธ์ดังกล่าวยังคงเป็นแบบเส้นตรงอยู่ หรือ Y มักจะขึ้นอยู่ X หลายตัว
การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis)
ใช้เมื่อการสร้างสมการถดถอย
ประกอบไปด้วยตัวแปรทำนายตั้งแต่ 1 ตัวขึ้นไป และตัวแปรเกณฑ์ 1 ตัว
โดยตัวแปรทั้งหมดควรจะอยู่ในมาตราการวัดระดับ Interval หรือ
Ratio Scale
ถ้ามีตัวแปรใดอยู่ในมาตราการวัดระดับ
Nominal
หรือ Ordinal Scale ควรจะเปลี่ยนให้เป็นตัวแปรดัมมี่
(Dummy Variable)
มีตัวแปรอิสระมากกว่าหนึ่งตัว (, ...)
ลักษณะของข้อมูล
1.ตัวแปรตามหรือตัวแปรเกณฑ์ควรอยู่ในระดับ
interval
ขึ้นไป
2.ตัวแปรอิสระหรือตัวแปรทำนาย
ควรเป็นตัวแปรแบบเรียงลำดับขึ้นไป ถ้าเป็นตัวแปรนามบัญญัติต้องทำเป็นแปรหุ่น
3.ตัวแปรเกณฑ์และตัวแปรพยากรณ์ต้องมีความสัมพันธ์กันในระดับสู
4.ตัวแปรพยากรณ์แต่ละตัวต้องไม่สัมพันธ์กันหรือมีความสัมพันธ์กันในระดับต่ำ
-จำนวนกลุ่มตัวอย่าง
ต้องมีประมาณ 5-10 เท่าของตัวแปร (ตัวแปร 5 ตัวควรมีกลุ่มตัวอย่าง 50 คน)
-ถ้าจะลดความสัมพันธ์ของตัวแปรพยากรณ์ให้มีจำนวน
20 เท่า (ตัวแปร 5 ตัวควรมีกลุ่มตัวอย่าง 100 คน)
การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ
X1
X2
Y
X3
X4
Multiple
Regression Analysis(MRA)
|
|
วิธีการวิเคราะห์แบบถดถอย
1.การวิเคราะห์ถดถอยเข้าทีละตัว
2.การวิเคราะห์ถดถอยแบบเดินหน้า
3.การวิเคราะห์ถดถอยแบบถอยหลัง
4.การวิเคราะห์ถดถอยแบบขั้นตอน
Multivariate Regression
Analysis ใช้เมื่อการสร้างสมการถดถอย
ประกอบไปด้วยตัวแปรทำนายตั้งแต่ 1 ตัวขึ้นไป และตัวแปรเกณฑ์มากกว่า 1 ตัว
โดยตัวแปรทั้งหมดควรจะอยู่ในมาตราการวัดระดับ Interval หรือ
Ratio Scale
ถ้ามีตัวแปรใดอยู่ในมาตราการวัดระดับ
Nominal
หรือ Ordinal Scale ควรจะเปลี่ยนให้เป็นตัวแปรดัมมี่
(Dummy Variable) สถิตินี้เหมาะที่จะใช้เมื่อพบว่าตัวแปรเกณฑ์แต่ละตัวมีความสัมพันธ์กัน
Multiple Correlation เป็นการหาความสัมพันธ์ระหว่างชุดของตัวแปรที่อยู่ในระดับ Interval หรือ Ratio Scale ที่ประกอบไปด้วยตัวแปรตาม 1
ตัวและตัวแปรอิสระมากกว่า 1 ตัว
สรุป
:
Regression= พยากรณ์/ประมาณค่า, ตัวแปรตามY ต้นX. มีความคลาดเคลื่อนน้อยจะได้ค่าความจริงสูง
(simple=ตัวแปรอิสระ1 ตัว ตัวแปรตาม 1ตัว, เช่น ความดันโลหิตกับอายุ)
5. เดลฟาย (Delfhi)
กำหนดผู้เชี่ยวชาญตั้งแต่
17 คนขึ้นไป 3-4 รอบ , ร่วมตัดสินใจกลุ่ม
จะมีความตรงมากกว่า มี 4 ขั้นตอน วางกรอบ-กำหนดผู้เชี่ยวชาญ-เก็บข้อมูล-รายงานผล,
แบบปลายเปิด-ปิด ความเห็นอย่างน้อยร้อยละ 60,คำตอบเพิ่มลดไม่น้อยร้อยละ
15 ค่าความกระจายมากกว่า 0.5
ข้อตกลงเบื้องต้น
1.
การตัดสินใจโดยใช้กลุ่มบุคคลจะมีความตรงมากกว่าการตัดสินใจโดยคนคนเดียว
และการตัดสินในจะมีความตรงมากขึ้น
หากผู้เชี่ยวชาญในกลุ่มประกอบด้วยผู้ที่มีความรู้ความชำนาญในประเด็นนั้นๆ
2.
การตัดสินใจโดยกลุ่มบุคคลจะมีความเที่ยงมากขึ้นและหากไม่มีการเผชิญหน้าระหว่างสมาชิกในกลุ่มจะสามารถลดผลกระทบจากอิทธิพล
จากอคติและความคิดกลุ่มได้
วัตถุประสงค์
วิธีการคาดการณ์ผลลัพธ์โดยวิธีการออกความเห็นของผู้เชี่ยวชาญ
ผู้เชี่ยวชาญตอบแบบสอบถามจำนวนสองรอบหรือมากกว่านั้น แต่ละรอบผู้จัดทำจะสรุปคำตอบของรอบนั้นเพื่อเป็นข้อมูลสำหรับตอบคำถามในรอบถัดไป
พื้นฐานทางสถิติ
ผู้เชี่ยวชาญตั้งแต่
17 คนขึ้นไป 3-4 รอบ
ขั้นตอนการใช้สถิติ
1) ขั้นการวางกรอบการเก็บข้อมูล
2) ขั้นการกำหนดผู้เชี่ยวชาญ
3) ขั้นการเก็บข้อมูล
4) ขั้นการรายงานผล
ลักษณะสำคัญของเทคนิคเดลฟาย
ได้แก่
1.การไม่เปิดเผยตน
(anonymity)
ได้จากการใช้แบบสอบถาม เพื่อไม่ให้ผู้ออกความเห็นต้องเผชิญหน้ากัน
จะได้ไม่รู้ว่าใครเป็นเจ้าของความเห็น
ทำให้สามารถพิจารณาคุณค่าของความเห็นโดยไม่ถูกเบี่ยงเบนด้วยตำแหน่งหรือความสามารถในการโน้มน้าวของเจ้าของความเห็น
ผู้ออกความเห็นที่แตกต่างออกไปไม่รู้สึกว่าถูกกดดันจากผู้ที่มีวุฒิสูงกว่าหรือความเห็นของคนส่วนใหญ่
2.การทำซ้ำ
(iteration)
ได้จากการส่งแบบสอบถามเดียวกันให้ตอบหลายรอบ
ให้โอกาสผู้ตอบเปลี่ยนใจโดยไม่เสียหน้า จากการพิจารณาความเห็นและเหตุผลของผู้อื่น
3.การป้อนกลับโดยมีการควบคุม
(controlled
feedback) มีการกลั่นกรองและป้อนกลับความเห็นของกลุ่มให้ผู้ตอบแบบสอบถามได้ทราบในการส่งแบบสอบถามรอบต่อไป
ผู้ตอบจะได้ทราบสถานภาพของความเห็นรวม คำวิจารณ์ ข้อเสนอแนะ
และเหตุผลประกอบความคิดเห็นของทั้งผู้เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย
4.การนำเสนอคำตอบด้วยสถิติ
(statistical
group response) เป็นส่วนหนึ่งของการป้อนกลับระหว่างการสอบถามแต่ละรอบ
โดยเสนอผลคำตอบของกลุ่มเป็นค่ามัธยฐานและระดับความเห็นที่กระจายออกไป
กลุ่มผู้เกี่ยวข้อง
1.กลุ่มผู้ตัดสินใจ
ซึ่งต้องใช้ผลการทำเดลฟายในการวางแผนพัฒนางาน
2.กลุ่มผู้รับผิดชอบในกระบวนการเดลฟาย
3.กลุ่มผู้ให้ข้อมูล
ข้อดีของเทคนิคเดลฟาย
การไม่เปิดเผยชื่อของผู้ตอบ
ทำให้ผู้ตอบมีอิสรภาพทางความคิด
สามารถได้ความเห็นจากกลุ่มผู้เชี่ยวชาญจำนวนมาก
ซึ่งอาจสูงเป็นร้อยเป็นพันได้
การใช้วิธีการทางสถิติเพื่อประมวลผล
เป็นการลดอคติ (bias) ทำให้ได้ข้อมูลที่น่าเชื่อถือ
เหมาะสำหรับคำถามยากๆ
ที่มีหลายมิติ ที่ต้องประเมินทั้งข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์และ คุณค่าทางสังคม
หรือคำถามในเรื่องที่ยังขาดองค์ความรู้อย่างเพียงพอ
เพื่อหาคำตอบในขณะที่จำเป็นต้องมีการตัดสินใจ
ข้อเสียของเทคนิคเดลฟาย
ใช้เวลานานและการลงทุนสูง
จึงนิยมทำการสำรวจเพียงสองรอบ แต่ในปัจจุบัน
หลายโครงการมีการให้ตอบแบบสอบถามในเว็บไซต์แบบออนไลน์
ซึ่งลดค่าใช้จ่ายและเวลาลงได้มาก
ปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เชี่ยวชาญผ่านแบบสำรวจไม่เข้มข้นเหมือนการเผชิญหน้า
จึงถูกกล่าวหาว่าการสำรวจได้เพียงความเห็นเฉลี่ย ซึ่งอาจไม่ใช่ความเห็นที่ดีที่สุด
วิธีลดระยะเวลาเก็บข้อมูล
คือ ระดมความคิด สัมภาษณ์ ประชุม คอมพิวเตอร์เป็นฐาน และเดลฟายกลุ่ม
ขั้นตอนการใช้เทคนิคเดลฟาย
แบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน ดังนี้
1. ขั้นตอนการกรอบการเก็บข้อมูล
การกำหนดคำถามสำหรับการวางกรอบการเก็บข้อมูล ผู้รับผิดชอบต้องสอบถามความคิดเห็นจากผู้ตัดสินใจว่าต้องการนำข้อมูลไปทำอะไร
สนใจข้อมูลอะไร ใช้เวลาประมาณ 3-4 ชั่วโมง
2. ขั้นการกำหนดผู้เชี่ยวชาญ
สิ่งที่ต้องพิจารณาคือ คุณสมบัติของกลุ่มผู้ให้ข้อมูลและขนาดของกลุ่มผู้ให้ข้อมูล
และต้องมีส่วนร่วมในกระบวนการ มีข้อมูลเพียงพอในการแลกเปลี่ยน มีแรงจูงใจ
รู้สึกสนใจผลจากการสรุปความคิดของผู้เกี่ยวข้อง
ส่วนใหญ่ผู้ที่ใช้เทคนิคเดลฟายมักจะอ้างอิงจากการศึกษาของ
Macmillan (1971) ที่พบว่าหากจำนวนผู้เชี่ยวชาญมีขนาดตั้งแต่
17 คนขึ้นไปอัตราความคลาดเคลื่อนจะน้อยมากจนคงที่ จึงนิยมใช้จำนวนผู้เชี่ยวชาญ
17 คนขึ้นไป แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับความเป็นเอกพันธ์ของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้วย
3. ขั้นการเก็บข้อมูล การเก็บข้อมูลส่วนใหญ่จะไม่เกิน
4 รอบ แต่ละรอบจะมีการเตรียมข้อมูล และนำเสนอข้อมูลต่างกัน ดังนี้
รอบที่ 1 เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญโดยใช้คำถามปลายเปิด ทำให้เกิดอิสระในความคิด
และอาจมีการส่งจดหมายนำชี้แจงจุดมุ่งหมายของการเก็บข้อมูล
รอบที่ 2 เมื่อได้คำตอบจากรอบแรกแล้ว ต้องทำการวิเคราะห์เนื้อหา สรุปประเด็นความคิดเห็นทั้งหมด
และนำมาจัดทำเป็นแบบสอบถามปลายปิดในรูปของมาตรประมาณค่า ซึ่งนิยมใช้แบบ 5 ระดับ โดยคำถามต้องมาจากความคิดเห็นของผู้ให้ข้อมูลในรอบแรกเท่านั้น ไม่นำเสนอความคิดเห็นส่วนตัวของผู้วิจัย
รอบที่ 3 นำข้อมูลในรอบที่ 2 มาสร้างเป็นแบบสอบถาม โดยจุดมุ่งหมายในรอบนี้เพื่อตรวจสอบความคิดเห็นของผู้ให้ข้อมูลซ้ำ
ซึ่งผู้ให้ข้อมูลแต่ละคนจะได้รับข้อมูลย้อนกลับประกอบด้วยข้อมูล 2 ส่วน คือ ส่วนแรกเป็นข้อมูลที่เป็นความคิดเห็นของกลุ่มที่แสดงด้วยค่าสถิติ
ส่วนที่สองเป็นคำตอบของผู้เชี่ยวชาญที่เป็นเจ้าของคำตอบแต่ละคน
4. ขั้นการรายงานผล
ขั้นตอนนี้เป็นการจัดทำรายงานผลที่ได้จากการวิเคราะห์ข้อมูลรอบสุดท้าย เพื่อเสนอกลุ่มผู้เชี่ยวชาญและผู้มีอำนาจในการตัดสินใจสำหรับนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป
เครื่องมือที่ใช้ในเทคนิคเดลฟาย
มี 2 ประเภท คือ แบบสอบถามปลายเปิด และแบบสอบถามปลายปิดชนิดมาตรประมาณค่า
โดยการจัดทำแบบสอบถามในรอบที่ 3 นั้นจะมีการนำเสนอค่าสถิติเพื่อให้ข้อมูลย้อนกลับสำหรับการพิจารณาลงความเห็นเพื่อหาฉันทามติของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ
ซึ่งค่าสถิติที่ใช้เป็นข้อมูลย้อนกลับมีหลายวิธี คือ
1. การตรวจสอบจากค่าร้อยละ
โดยใช้เกณฑ์ความคิดเห็นที่สอดคล้องกันอย่างน้อยร้อยละ 60
และจะได้ฉันทามติเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงคำตอบในแต่ละรอบเพิ่มขึ้นหรือลดลงไม่น้อยกว่าร้อยละ
15
2. การตรวจสอบด้วยค่าฐานนิยม
ค่ามัธยฐาน และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์
แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ แบบประมาณค่า
5 ระดับจะใช้เกณฑ์การประเมินแบ่งเป็น 4 กรณี ซึ่งจะคล้ายคลึงกัน
คือ ค่ามัธยฐานไม่ต่ำกว่า 3.50 ค่าสัมบูรณ์ของผลต่างระหว่างค่ามัธยฐานและฐานนิยมไม่เกิน
1.00 และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ไม่เกิน 1.50
สำหรับแบบประมาณค่า 6 ระดับ จะใช้เกณฑ์ค่าสัมบูรณ์ของผลต่างระหว่างค่ามัธยฐานและฐานนิยมไม่เกิน
1.00 และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ไม่เกิน 1.50
3. การตรวจสอบด้วยค่าสัมประสิทธิ์การกระจาย
การแปลความหมายจากค่าสัมประสิทธิ์การกระจายไปสู่การได้รับฉันทามติมี 2 แบบ คือ
1) ค่าสัมประสิทธิ์การกระจายมีค่ามากกว่าศูนย์แต่ไม่เกิน
0.5 สรุปว่า ได้รับฉันทามติในระดับสูงสามารถยุติกระบวนการเดลฟายได้
2) ค่าสัมประสิทธิ์การกระจายมีค่ามากกว่า
0.5 สรุปว่า ได้รับฉันทามติในระดับต่ำ ควรดำเนินการในรอบต่อไป
รูปแบบของเทคนิคเดลฟาย มี 2 รูปแบบคือ
1. รูปแบบดั้งเดิม
หมายถึง วิธีการเก็บรวบรวมความคิดเห็นหรือการตัดสินใจในเรื่องใดเรื่องหนึ่งเกี่ยวกับเหตุการณ์หรือแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในอนาคตจากกลุ่มผู้ที่มีความรู้ความสามารถในเรื่องนั้นๆ
เพื่อสร้างความคิดเห็นที่สอดคล้องต้องกันหรือฉันทามติระหว่างกลุ่มผู้เชี่ยวชาญในการนำมาสู่ข้อสรุปที่น่าเชื่อถือ
โดยใช้แบบสอบถามปลายเปิดนำในรอบแรก และใช้แบบสอบถามปลายปิดในรอบต่อๆ ไป
ปัญหาของเทคนิคเดลฟายแบบเดิม
คือ
1) ใช้เวลานานในการตอบแบบสอบถามปลายเปิด
2) การเก็บข้อมูลหลายรอบทำให้ผู้เชี่ยวชาญรู้สึกเบื่อและถูกรบกวนมากเกินไป
3) อัตราการตอบกลับค่อนข้างต่ำ
4) ข้อมูลที่ได้ไม่ค่อยมีความหลากหลาย
ตอบเข้าหาค่ากลางเพื่อให้ยุติโดยเร็ว
2. รูปแบบปรับปรุง
เทคนิคเดลฟายที่มีการปรับปรุงวิธีการหรือขั้นตอนการดำเนินการให้บรรลุตามวัตถุประสงค์
และลดข้อจำกัดในเทคนิคเดลฟายแบบเดิม โดยเฉพาะข้อจำกัดเกี่ยวกับเวลาในการเก็บข้อมูล
ด้วยเทคนิคต่างๆ ดังนี้
1) การใช้วิธีการระดมความคิดแทนการตอบแบบสอบปลายเปิดในรอบแรก
2) การใช้วิธีการสัมภาษณ์แทนการตอบแบบสอบถามปลายเปิดในรอบแรก
3) การประชุมแบบเดลฟาย
4) เดลฟายที่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นฐาน
5) เดลฟายกลุ่ม
หลักการของเดลฟายมี 3 ประการ คือ
1. การกำหนดโครงการของเส้นทางการส่งผ่านข้อมูลข่าวสาร
2. การให้ข้อมูลย้อนกลับ
3. การเก็บรักษาความลับของผู้ให้ข้อมูล
ตัวอย่างโครงการที่ใช้เทคนิคเดลฟาย
ประเทศญี่ปุ่นได้มีการมองอนาคตโดยใช้เทคนิคเดลฟายระดับประเทศทุก
5 ปีมาตั้งแต่ปี 2514 นอกจากระดับประเทศแล้ว
ญี่ปุ่นได้มีการมองอนาคตในระดับกระทรวง ระดับอุตสาหกรรม
และระดับบริษัท/องค์กรมาโดยตลอด การมองอนาคตครั้งที่ 8
เพิ่งจะเสร็จไปในเดือนพฤษภาคม 2549 ซึ่งครั้งนี้นอกจากเทคนิคเดลฟายแล้ว
ยังใช้วิธีการสร้างภาพอนาคต การวิเคราะห์บทความวิชาการ
และการวิเคราะห์ความต้องการด้านเศรษฐกิจและสังคมควบคู่กันด้วย
ตัวอย่างอีกประเทศหนึ่งคือ ประเทศออสเตรียซึ่งทำการสำรวจเดลฟายด้านเทคโนโลยีพร้อมๆ
กับการสำรวจเดลฟายเชิงนโยบายในปี 1999
สรุป
เทคนิคเดลฟาย เป็นการวิจัยไม่ทดลอง ใช้การพยากรณ์ภาพในอนาคต แบบสอบถามอย่างเดียว
เก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญตั้งแต่ 17 คนขึ้นไป 3-4 รอบ
เพื่อให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน นิยมวิจัยในอนาคตด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เพื่อนำผลวิจัยไปตัดสินวางแผนเกี่ยวกับอนาคต ขั้นตอนเริ่มต้นด้วยการกำหนดปัญหาการวิจัย
การคัดเลือกผู้เชี่ยวชาญ การสร้างเครื่องมือการวิจัยและเก็บรวบรวมข้อมูล
และการสรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูล องค์ประกอบสำคัญที่สุดคือการสร้างเครื่องมือ
ได้แก่ รอบที่ 1 แบบสอบถามปลายเปิด รอบที่ 2-4 แบบมาตราส่วนประมาณค่า
หลังจากนั้นวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่ามัธยฐานและค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ มีค่าน้อย ๆ แสดงว่ามีความคิดเห็นอันเดียวกัน
6. การวิเคราะห์เส้นทาง (Path
Analysis)
การวิเคราะห์เส้นทาง
เป็นวิธีการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรหลายตัวแปรในเชิงเหตุและผล
มีพื้นฐานจากการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณเชิงเส้นตรง
การเคราะห์เส้นทางจึงมุ่งศึกษาว่าด้วยตัวแปรพยากรณ์หลายตัว โดยวิเคราะห์เส้นทาง
วิเคราะห์เส้นโยง วิเคราะห์อิทธิพล
และวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุจำแนกตัวแปรได้ 3 ประเภท
ตัวแปรภายนอก
(Exogenous
Variable) เป็นตัวแปรเริ่มแตกของรูปแบบ ตัวแปรที่เป็นผลมาจากตัวแปรอื่นนอกรูปแบบ
ซึ่งผู้วิจัยไม่สนใจอธิบายความแปรปรวนของตัวแปรดังกล่าวว่าได้รับอิทธิพลจากตัวแปรใดบ้าง
ตัวแปรภายใน
(Endogenous
Variable) เป็นตัวแปรที่เป็นผลของตัวแปรที่อยู่ในรูปแบบ
ตัวแปรส่วนที่เหลือ
(Residual
Variable) เป็นตัวแปรที่ไม่อยู่ในรูปแบบ
แต่อาจมีอิทธิพลต่อตัวแปรในรูปแบบที่สร้างขึ้น
ข้อตกลงเบื้องต้น
1.ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่าง
ๆ ในรูปแบบ
การวิเคราะห์เส้นทางเป็นความสัมพันธ์แบบสมการเส้นตรงและเป็นการแสดงความสัมพันธ์แบบเหตุผล
2.ความคลาดเคลื่อนของการวัดตัวแปรต่าง
ๆ ไม่สัมพันธ์กัน
3.เหตุผลในแผนภาพหรือ
รูปแบบของการวิเคราะห์เส้นทางเป็นเหตุผลทางตรงทางเดียว
4.ระดับการวัดของตัวแปรต่าง
ๆ อยู่ในมาตราอัตราภาคชั้น หรือมาตราอัตราส่วน
ขั้นตอนการวิเคราะห์
ต้องพิจารณาจากหลักการที่สำคัญ 3 ประการคือ
1.พิจารณาจากแนวคิดหรือทฤษฎีที่ประกอบกับวิจารณญาณของผู้ศึกษา
2.พิจารณาจากแบบแผนค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่างๆ
3.ยึดข้อตกลงเบื้องต้นของการวิเคราะห์เส้นทาง
เช่น
ถ้าให้
เป็นตัวพยากรณ์ที่มีต่อตัวเกณฑ์
(Y) โดยยึดทฤษฎีและหลักการต่าง ๆ
อาจสร้างรูปแบบของความสัมพันธ์เชิงเหตุและผล
การศึกษาว่าด้านนโยบายองค์การ
ลักษณะองค์การ
สภาพแวดล้อมขององค์การและลักษณะบุคคลในองค์การส่งผลต่อประสิทธิผลขององค์การหรือไม่
ตรวจสอบแนวคิดของบลูมว่า
ความรู้ ความจำ ความเข้าใจ การนำไปใช้ การเคราะห์และการสงเคราะห์
ส่งผลต่อความสามารถในการประเมินค่าหรือไม่
ข้อจำกัด
1.แบบจำลองการวิเคราะห์เส้นทางเป็นแบบจำลองเชิงเส้นตรงทางเดียว
ซึ่งในสถานการณ์จริงอาจมีสถานการณ์อื่นๆ ที่มีลักษณะตรงข้ามก็ได้
2.การระบุตัวแปรเชิงเหตุและผล
โดยการกำหนดทิศทางความสัมพันธ์ต้องอาศัยทฤษฎีหรือข้อสมมติฐาน
การเลือกทฤษฎีจึงมีผลต่อการกำหนดทิศทางของตัวแปรว่าควรเป็นตัวแปรพยากรณ์หรือตัวแปรเกณฑ์
3.ทางปฏิบัติไม่อาจลีกเลี่ยงความสัมพันธ์ไปมาระหว่างตัวแปรพยากรณ์
โดยเฉพาะตัวพยากรณ์ที่ไม่ได้รวมอยู่ในการเคราะห์นี้
เกิดขึ้นเสมอกับการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงไขว้ (Crossection Data)
-การศึกษาอิทธิพลของการคุมกำเนิดต่อการมีบุตรโดยการควบคุมอายุปัจจุบันและอายุแรกสมรส
การวิเคราะห์สหสัมพันธ์
(correlation
analysis) เป็นการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง
ตัวแปรที่มีอยู่ว่า มีความสัมพันธ์กันมากน้อยเพียงใด ถ้ามีตัวแปรเพียงสองตัว
เรียกว่า การ
วิเคราะห์สหสัมพันธ์อย่างง่าย
หรือ การวิเคราะห์สหสัมพันธ์เชิงเดี่ยว (simple correlation analysis) แต่ถ้ามีตัวแปรมากกว่าสองตัว เรียกว่า การวิเคราะห์สหสัมพันธ์พหุคูณ
(multiple correlation analysis)
Correlation เพื่อทดสอบความสัมพันธ์ทั้งแบบ
pearson correlation และแบบ Spearman Rank Correlation
โดยมีเงื่อนไขในการใช้แตกต่างกัน
t – test
1. กรณีกลุ่มตัวอย่างหนึ่งกลุ่ม
ใช้ทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยระหว่างกลุ่มตัวอย่างกับประชากร
2. กรณีกลุ่มตัวอย่างสองกลุ่ม
-
ทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยระหว่างกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่มที่เป็นอิสระจากกัน
- ทดสอบความแตกต่างของสัดส่วนระหว่างกลุ่มตัวอย่าง
2 กลุ่มที่สัมพันธ์กัน
z-test
1. กรณีกลุ่มตัวอย่างหนึ่งกลุ่ม
- ทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยระหว่างกลุ่มตัวอย่างกับประชากร
- ทดสอบความแตกต่างของสัดส่วนระหว่างกลุ่มตัวอย่างกับประชากร
2. กรณีกลุ่มตัวอย่างสองกลุ่ม
- ทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยระหว่างกลุ่มตัวอย่าง
2 กลุ่ม
- ทดสอบความแตกต่างของสัดส่วนระหว่างกลุ่มตัวอย่าง
2 กลุ่ม
Pearson Correlation
เป็นการหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร 2 ตัวที่อยู่ในมาตราการวัดระดับ Interval
หรือ Ratio Scale ค่าที่ได้เรียกว่า
"สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์" โดยปกติจะมีค่าอยู่ระหว่าง -1.00 ถึง 1.00
-
ถ้ามีค่าติดลบหมายความว่า ตัวแปร 2 ตัวมีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้าม
-
ถ้ามีค่าเป็นบวกหมายความว่า ตัวแปร 2 ตัวมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกัน
- ถ้ามีค่าเป็น 0
หมายความว่าตัวแปร 2 ตัวไม่มีความสัมพันธ์กัน
Spearman Rank Correlation
เป็นการหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร 2 ตัวที่อยู่ในมาตราการวัดระดับ Ordinal
Scale โดยปกติจะมีค่าอยู่ระหว่าง -1.00 ถึง 1.00
-
ถ้ามีค่าติดลบหมายความว่า ตัวแปร 2 ตัวมีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้าม
-
ถ้ามีค่าเป็นบวกหมายความว่า ตัวแปร 2 ตัวมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกัน
- ถ้ามีค่าเป็น 0
หมายความว่าตัวแปร 2 ตัวไม่มีความสัมพันธ์กัน
Kendall Tau Correlation
เป็นการหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร 2 ตัวที่อยู่ในมาตราการวัดระดับ Ordinal
Scale โดยปกติจะมีค่าอยู่ระหว่าง -1.00 ถึง 1.00
- ถ้ามีค่าติดลบหมายความว่า
ตัวแปร 2 ตัวมีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้าม
-
ถ้ามีค่าเป็นบวกหมายความว่า ตัวแปร 2 ตัวมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกัน
- ถ้ามีค่าเป็น 0
หมายความว่าตัวแปร 2 ตัวไม่มีความสัมพันธ์กัน
Point Biserial Correlation
เป็นการหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร 2 ตัว
โดยตัวแปรตัวหนึ่งอยู่ในมาตราการวัดระดับ Interval หรือ
Ratio Scale และอีกตัวหนึ่งอยู่ในมาตราการวัดระดับ Nominal
Scale ที่แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม โดยปกติจะมีค่าอยู่ระหว่าง -1.00 ถึง
1.00
-
ถ้ามีค่าติดลบหมายความว่า ตัวแปร 2 ตัวมีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้าม
-
ถ้ามีค่าเป็นบวกหมายความว่า ตัวแปร 2 ตัวมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกัน
- ถ้ามีค่าเป็น 0
หมายความว่าตัวแปร 2 ตัวไม่มีความสัมพันธ์กัน
Multiple Correlation
เป็นการหาความสัมพันธ์ระหว่างชุดของตัวแปรที่อยู่ในระดับ Interval
หรือ Ratio Scale ที่ประกอบไปด้วยตัวแปรตาม 1
ตัวและตัวแปรอิสระมากกว่า 1 ตัว
Multiserial Correlation
เป็นการหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรโดยตัวแปรตัวหนึ่งจะต้องอยู่ในมาตราการวัดระดับ
Interval
หรือ Ratio Scale และชุดของตัวแปรที่อยู่ในมาตราการวัดระดับ
Ordinal Scale
Partial Correlation
กรณีที่มีตัวแปรหลาย ๆ ตัว และตัวแปรแต่ละตัวต่างก็มีความสัมพันธ์กัน
หากคำนวณหาค่าสหสัมพันธ์ทีละคู่
ค่าที่ได้จะไม่ตรงกับความเป็นจริงเพราะได้รวมความสัมพันธ์ของตัวแปรอื่น ๆ ไว้ด้วย
ดังนั้นจึงต้องมีการขจัดอิทธิพลของตัวแปรอื่น ๆ ออกไปด้วย
สำหรับหาสหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร 2
ตัวที่อยู่ในมาตราการวัดระดับ Interval หรือ Ratio
Scale ที่มีการขจัดตัวแปรอื่น ๆ ออกไป
Phi Coefficient
เป็นการหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร 2 ตัวที่อยู่ในมาตราการวัดระดับ Nominal
Scale ที่แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มเท่านั้น
Contingency Coefficient
เป็นการหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร 2 ตัวที่อยู่ในมาตราการวัดระดับ Nominal
Scale โดยปกติจะมีค่าอยู่ระหว่าง 0 กับ 1
Analysis of Variance
เป็นการหาความแตกต่างของค่าเฉลี่ยระหว่างกลุ่มตัวอย่างตั้งแต่ 2 กลุ่มขึ้นไป
โดยตัวแปรตามจะมีเพียง 1 ตัวอยู่ในมาตราการวัดระดับ Interval
หรือ Ratio Scale และตัวแปรอิสระตั้งแต่ 1
ตัวขึ้นไปอยู่ในมาตราการวัดระดับ Nominal Scale
ถ้าวิเคราะห์กับตัวแปรอิสระ
1 ตัว เรียกว่า One-way ANOVA
ถ้าวิเคราะห์กับตัวแปรอิสระ
2 ตัว เรียกว่า Two-way ANOVA
ถ้าวิเคราะห์กับตัวแปรอิสระ
3 ตัว เรียกว่า Three-way ANOVA
ฯลฯ
Analysis of Covariance
เป็นการหาความแตกต่างของค่าเฉลี่ยระหว่างกลุ่มตัวอย่างตั้งแต่ 2 กลุ่มขึ้นไป
โดยตัวแปรตามจะมีเพียง 1 ตัวอยู่ในมาตราการวัดระดับ Interval
หรือ Ratio Scale ตัวแปรอิสระตั้งแต่ 1
ตัวขึ้นไปอยู่ในมาตราการวัดระดับ Nominal Scale และตัวแปรร่วมตั้งแต่
1 ตัวขึ้นไปอยู่ในมาตราการวัดระดับ Interval หรือ Ratio
Scale
ถ้าวิเคราะห์กับตัวแปรอิสระ
1 ตัว เรียกว่า One-way ANCOVA
ถ้าวิเคราะห์กับตัวแปรอิสระ
2 ตัว เรียกว่า Two-way ANCOVA
ถ้าวิเคราะห์กับตัวแปรอิสระ
3 ตัว เรียกว่า Three-way ANCOVA
ฯลฯ
Analysis of variance with Repeated measures
เป็นรูปแบบการวิเคราะห์ความแปรปรวนที่มีการวัดซ้ำมากกว่า 1
ครั้งในช่วงเวลาที่แตกต่างกัน กลุ่มตัวอย่างตั้งแต่ 1 กลุ่มขึ้นไป
โดยตัวแปรตามจะมีเพียง 1 ตัวอยู่ในมาตราการวัดระดับ Interval
หรือ Ratio Scale ที่มีการวัดซ้ำมากกว่า 1
ครั้ง ถ้ากลุ่มตัวอย่าง 1 กลุ่มจะไม่ปรากฏตัวแปรอิสระ
Discriminant Analysis
เป็นการศึกษาว่ามีตัวแปรทำนายตัวใดบ้างที่สามารถใช้ในการจำแนกกลุ่มของตัวแปรเกณฑ์ได้
เพื่อประโยชน์ในการจำแนกกลุ่มตัวอย่างออกเป็นกลุ่ม ๆ ได้อย่างถูกต้อง
ตัวแปรทำนายตั้งแต่ 1
ตัวขึ้นไปอยู่ในมาตราการวัดระดับ Interval หรือ
Ratio Scale และตัวแปรเกณฑ์ 1 ตัวอยู่ในมาตราการวัดระดับ Nominal
Scale
Factorial ANOVA
เป็นคำที่ใช้เรียกสถิติในกลุ่มของการวิเคราะห์ความแปรปรวน ทั้ง ANOVA,
ANCOVA และ Repeated Measure ที่มีตัวแปรอิสระตั้งแต่
2 ตัวขึ้นไป
Canonical Correlation
เป็นการหาความสัมพันธ์ระหว่างชุดของตัวแปรอิสระและชุดของตัวแปรตาม
โดยตัวแปรอิสระจะมีตั้งแต่ 1 ตัวขึ้นไป และตัวแปรตามมีมากกว่า 2 ตัว
โดยตัวแปรทั้งหมดควรอยู่ในมาตราการวัดระดับ Interval หรือ
Ratio Scale
Hotelling เป็นการทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม โดยมีตัวแปรอิสระ 1 ตัวอยู่ในมาตราการวัดระดับ
Nominal Scale ที่แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม
และตัวแปรตามมากกว่า 1 ตัวอยู่ในมาตราการวัดระดับ Interval
หรือ Ratio Scale
Multivariate Analysis of Variance
เป็นการทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่างตั้งแต่ 2 กลุ่มขึ้นไป
โดยตัวแปรอิสระจะมีตั้งแต่ 1 ตัวขึ้นไปอยู่ในมาตราการวัดระดับ Nominal
Scale และตัวแปรตามมากกว่า 1 ตัวอยู่ในมาตรการวัดระดับ Interval
หรือ Ratio Scale
ถ้ามีตัวแปรอิสระ 1
ตัว เรียกว่า One-way MANOVA
ถ้ามีตัวแปรอิสระ 2
ตัว เรียกว่า Two-way MANOVA
ถ้ามีตัวแปรอิสระ 3
ตัว เรียกว่า Three-way MANOVA
ฯลฯ
ถ้ามีตัวแปรร่วม
จะเรียกว่า "Multivariate Analysis of Covariance"
Binomial Test
เป็นการทดสอบความน่าจะเป็นของข้อมูลระดับ Nominal Scale ที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้เพียง 2 อย่าง (Dichotomous)
Kolmogorov Smirnov Test
1. Kolmogorov Smirnov One
Sample Test เป็นการทดสอบตัวแปรว่ามีการแจกแจงเป็นโค้งปกติหรือไม่ (Goodness
of fit) โดยตัวแปรจะต้องอยู่มาตราการวัด Ordinal Scale
2. Kolmogorov Smirnov Two-Sample
Test เป็นการทดสอบความแตกต่างระหว่างกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่มที่เป็นอิสระจากกัน โดยตัวแปรที่นำมาทดสอบจะต้องอยู่มาตราการวัด Ordinal
Scale
Wilcoxon matched-pairs Test
เป็นการทดสอบความแตกต่างระหว่างกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่มที่สัมพันธ์กัน
โดยข้อมูลที่นำมาทดสอบต้องอยู่ในมาตราการวัด Ordinal Scale
Sign Test
เป็นการทดสอบความแตกต่างระหว่างกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่มที่สัมพันธ์
โดยข้อมูลที่นำมาทดสอบต้องอยู่ในมาตราการวัด Ordinal Scale
McNemar Test
เป็นการทดสอบความแตกต่างระหว่างข้อมูลก่อนและหลังของกลุ่มตัวอย่างกลุ่มเดียวกัน
ข้อมูลที่นำมาทดสอบอยู่ในมาตราการวัด Nominal หรือ Ordinal
Scale
Mann Whitney U Test
เป็นการทดสอบความแตกต่างระหว่างกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่มที่เป็นอิสระจากกัน
โดยข้อมูลที่นำมาทดสอบต้องอยู่ในมาตราการวัด Ordinal Scale
Median Test
เป็นการทดสอบความแตกต่างระหว่างกลุ่มตัวอย่างตั้งแต่ 2
กลุ่มขึ้นไปที่เป็นอิสระจากกัน โดยข้อมูลที่นำมาทดสอบต้องอยู่ในมาตราการวัด Ordinal
Scale
Fisher exact test เป็นการทดสอบความแตกต่างระหว่างกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่มที่เป็นอิสระจากกัน
โดยข้อมูลที่นำมาทดสอบต้องอยู่ในมาตราการวัด Nominal Scale ที่แบ่งเป็น
2 กลุ่ม
Friedman Test
เป็นการทดสอบความแตกต่างระหว่างกลุ่มตัวอย่างมากกว่า 2 กลุ่มที่สัมพันธ์กัน
โดยข้อมูลที่นำมาทดสอบต้องอยู่ในมาตราการวัด Ordinal Scale
Cochran Q Test
เป็นการทดสอบความแตกต่างระหว่างกลุ่มตัวอย่างมากกว่า 2 กลุ่มที่สัมพันธ์กัน
โดยข้อมูลที่นำมาทดสอบต้องอยู่ในมาตราการวัด Nominal Scale
Kruskal Wallis Test
เป็นการทดสอบความแตกต่างระหว่างกลุ่มตัวอย่างมากกว่า 2 กลุ่มที่เป็นอิสระจากกัน
โดยข้อมูลที่นำมาทดสอบต้องอยู่ในมาตราการวัด Ordinal Scale