วันจันทร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2557

การออกแบบการสอน

การออกแบบการเรียนการสอน

บทนำ

การจัดการศึกษาปัจจุบันยึดหลักว่า “ผู้เรียนสามารถศึกษาค้นคว้า ส่งเสริมการเรียนรู้ พัฒนาตนเองให้มีศักยภาพ หรือ เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง โดยผู้สอนเป็นเพียงผู้คอยชี้แนะแนวทางการเรียนแบบต่างๆ เมื่อผู้เรียนได้รับการชี้แนะแล้วจะต้องศึกษาค้นคว้าพัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเองเป็นหลัก ทั้งนี้การเรียนการสอนปัจจุบันต้องเน้นการสร้างกระบวนการคิดและการเรียนรู้ด้วยตนเอง ซึ่งนักเรียนจะต้องลงมือทำและสะท้อนความคิดจากประสบการณ์ต่างๆ ที่นักเรียนได้รับมาจากสิ่งที่นักเรียนสนใจ ทำให้เกิดความตระหนักในสิ่งที่ได้เรียนรู้ สามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ ตามรูปแบบการเรียนรู้เชิงประจักษ์ เพราะเกิดจากการฝึกฝนการเรียนรู้ด้วยตนเอง การคิดทบทวนความรู้ การออกแบบพัฒนาการเรียนการสอนจึงเกิดจากความต้องการพัฒนาระบบการเรียนการสอนให้ดียิ่งขึ้น จึงได้มีการวิเคราะห์สภาพปัญหาและนำมาทดลองใช้แก้ปัญหาต่างๆ ด้วยการทดลองปฏิบัติและปรับปรุงเรื่อยมา จากการออกแบบพัฒนาการเรียนการสอนหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการเรียนการสอนอย่างรวดเร็ว แต่การเปลี่ยนแปลงการเรียนรู้ในห้องเรียนยังมีการเปลี่ยนแปลงน้อยหรือไม่เคยเปลี่ยนแปลงเลย การเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาจึงกลายเป็นสิ่งจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงบทบาทผู้สอน จากการถ่ายทอดความรู้เป็นผู้คอยชี้แนะแก้ปัญหา ผู้ร่วมกิจกรรม เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองมากขึ้น รู้จักสืบเสาะหาความรู้จากแหล่งทรัพยากรต่างๆ ด้วยเหตุนี้ผู้สอนจึงจำเป็นต้องมีความรู้ความสามารถ มีบทบาทสำคัญต่อนักเรียนเพิ่มขึ้น ทั้งในการออกแบบ วางแผนพัฒนาหลักสูตรและการสอน การแนะนำและการประเมินผลการเรียน การเรียนรู้จึงเป็นกิจกรรมที่ซับซ้อนและได้มีการออกแบบพัฒนาการสอนที่ได้จากการเปลี่ยนแปลงแนวคิดที่เกิดจากตัวแปรหลายประการที่ทำให้แนวคิดเปลี่ยนไป ได้แก่ทฤษฎีการเรียนรู้และกระบวนการออกแบบและพัฒนาระบบการแก้ปัญหาการเรียนการสอน ได้รับการวางแผนที่เหมาะสม ปฏิบัติได้จริงด้วยการแก้ไขปัญหาได้ เป็นการช่วยลดช่องว่างระหว่างแนวทฤษฎีและการปฏิบัติได้ หลังจากนั้นจึงมีการนำเอาเทคโนโลยีเข้ามาช่วยจัดการเรียนการสอน การแก้ปัญหา ผลิตสื่อใช้ในการเรียนรู้เพื่อลดภาระเวลาการสอนของผู้สอนได้ ช่วยให้ผู้เรียนประสบความสำเร็จในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเรียนตามจุดมุ่งหมายการสอนการใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์สูงสุด และลดอุปสรรคต่างๆ ในการออกแบบการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การออกแบบพัฒนาระบบการเรียนการสอน สามารถแบ่งออกเป็น 5 ลักษณะ ได้แก่
1. การวิเคราะห์
โดยสภาพการมนุษย์มีความต้องการปัจจัยพื้นฐานของชีวิตและความต้องการในการดำเนินชีวิต ความต้องการนี่เองที่ทำให้มนุษย์คิดค้นวิธีการ สร้างสิ่งที่ตนต้องการให้มีประสิทธิภาพและตรงตามความต้องการมากที่สุด จึงเกิดแนวคิดเบื้องต้นในการออกแบบซึ่งจะต้องวิเคราะห์เป็นขั้นแรก ด้วยเหตุนี้เองการพัฒนาการเรียนการสอนจึงต้องมีการวิเคราะห์องค์ประกอบสำคัญเกี่ยวกับการเรียนการสอน แบ่งออกได้ 4 ประการ ได้แก่
ความจำเป็นหรือความต้องการทางการเรียน (Learning Needs Analysis) คือกระบวนการจำแนกให้ทราบความจำเป็น ปัญหาหรือเหตุผลในการออกแบบ เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจและกำหนดทิศทางในเชิงปฏิบัติ
ผู้เรียน (Learner Characteristics) คือ การวิเคราะห์พฤติกรรมของผู้เรียนในด้านต่างๆ เช่น ความรู้ ความคิด เจตคติและทักษะของผู้เรียน เป็นการวิเคราะห์พฤติกรรมเบื้องต้น สิ่งที่ควรนำมาช่วยวิเคราะห์ คือ ข้อมูลทางวิชาการ ทักษะการสื่อสาร วิธีการเรียนรู้ คือความถนัดในการเรียนรู้ของนักเรียน บุคลิกภาพและเจตคติทางสังคม สุขภาพกายและสุขภาพจิต ลักษณะที่แตกต่างกันของผู้เรียน
เนื้อหา/ภารกิจ (Subject Content and Task Analysis) คือการกำหนดจุดมุ่งหมายทั่วไปของการเรียนการสอนขึ้นมาแล้วทำการวิเคราะห์เนื้อหา ภารกิจ ที่มีอิทธิพลสำคัญต่อการสร้างเจตคติและค่านิยม และแรงจูงใจต่อความรู้สึกของผู้เรียนที่แฝงอยู่ในกิจกรรมการเรียนการสอน
สภาพการณ์ (Instructional Situation Analysis) คือ การออกแบบการสอนใหม่ที่ต้องคำนึงถึงข้อจำกัดและตัวแปรต่างๆ ได้แก่ ลักษณะของเนื้อหา/หลักสูตร บุคลากร วัสดุอุปกรณ์ งบประมาณ สภาพแวดล้อมทางกายภาพ ลักษณะชุมชนและตลาดแรงงาน ซึ่งสิ่งเหล่านี้มีอิทธิพลต่อการปรับปรุงหรือการออกแบบ จึงต้องมีการจัดลำดับความสำคัญของปัญหาหรือลดอุปสรรคที่อาจจะเกิดขึ้น เพื่อป้องกันปัญหานี้จึงต้องมีการนำมาวิเคราะห์สภาพการณ์ต่างๆ ด้วย


2. การออกแบบ
ผลของการวิเคราะห์เป็นองค์ประกอบสำคัญในการนำมาออกแบบการพัฒนาการเรียนการสอน หมายถึงการนำเอาผลหรือความรู้นั้นมาเป็นข้อมูลในการออกแบบให้บรรลุจุดมุ่งหมายหรือแผนงาน จึงเป็นการวางแผนกระบวนการเรียนการสอน เริ่มต้นด้วยการกำหนดจุดมุ่งหมายการเรียนเชิงพฤติกรรม ยุทธศาสตร์และรูปแบบการสอน และการเลือกสื่อการเรียนการสอน เป็นแนวทางการพิจารณาเลือกหรือออกแบบด้านพุทธิพิสัย จิตพิสัย และทักษะพิสัย เพื่อมุ่งให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ตามลำดับขั้นก่อนการเรียนรู้จุดหมายปลายทาง
จุดมุ่งหมายการสอน หมายถึง ผลที่ได้จากการวิเคราะห์เนื้อหา ภารกิจ หลักสูตร จะนำมาเขียนหรือเลือกจุดมุ่งหมายชี้นำวิธีการปฏิบัติ ให้นักเรียนมีองค์ความรู้ เปรียบเทียบความรู้ใหม่เกิดความสัมพันธ์กับแนวคิดพื้นฐานเดิมของผู้เรียน สามารถมองเห็นความเหมือนหรือความแตกต่างในสิ่งที่เรียน โดยต้องผ่านกระบวนการทดสอบทั้งผู้สอนและผู้เรียนยอมรับ รับผิดชอบการออกแบบและพัฒนาการเรียนการสอนได้เป็นอย่างดี การจัดลำดับจุดมุ่งหมายอย่างมีเหตุผลมีความสัมพันธ์กับความก้าวหน้าด้านการเรียนรู้ หรือพฤติกรรมอื่นที่ซับซ้อนจึงต้องมีการจัดลำดับจุดมุ่งหมายการสอนอย่างเหมาะสม สามารถแบ่งองค์ประกอบได้ 4 ประการ คือ ผู้เรียน พฤติกรรม สภาพการณ์ และระดับความสามารถ
ทฤษฎีและรูปแบบการสอน การพัฒนายุทธศาสตร์การสอนต้องอาศัยข้อมูลของผู้เรียน วิธีการเรียนรู้ คุณลักษณะของเนื้อหาที่สอน และการเลือกยุทธศาสตร์การสอนที่มีประสิทธิผล จากลักษณะของผู้เรียนที่แตกต่างกัน อาจต้องกำหนดให้ผู้เรียนฝึกทางสติปัญญาและทักษะต่างๆ ยุทธศาสตร์การสอนจึงควรมีเนื้อหาและสื่อเรียนเป็นหลัก สามารถแบ่งรูปแบบการสอนได้ 4 กลุ่ม คือ เน้นกระบวนการความรู้ เน้นบุคคล เน้นปฏิสัมพันธ์ทางสังคม เน้นพฤติกรรม
การออกแบบการสอน ต้องอาศัยข้อมูลข้อมูลของผู้เรียน การสะท้อนจุดมุ่งหมายของผู้เรียน การเรียนรู้ การสอนและการสื่อสาร วิธีการเรียนรู้ คุณลักษณะ ความแตกต่างกันของผู้เรียน ช่วยในการออกแบบการสอนตามยุทธศาสตร์จุดมุ่งหมายเพื่อฝึกสติปัญญาและทักษะต่างๆ จึงควรยึดผู้เรียน เนื้อหาและทรัพยากรการเรียนเป็นหลัก ส่วนทฤษฎีการสอน การเรียนรู้และการรับรู้ขึ้นอยู่กับตัวแปร คือ การกำหนดแนวทางการตอบสนอง การให้ข้อมูลย้อนกลับควรให้ทันทีภายหลังการฝึกปฏิบัติและเข้าใจง่าย การกระทำซ้ำให้เกิดการปรับปรุงการเรียนรู้ และเมื่อมีการเตรียมตัวล่วงหน้าด้วยการใช้สื่อที่เหมาะสมผู้เรียนจะตั้งใจเรียนมากกว่า
สื่อการเรียนการสอน การพิจารณาเลือกคุณลักษณะของสื่อหรือทรัพยากรการเรียนการสอนที่มีผลต่อการเรียนรู้จะช่วยเสริมแรงการเรียนรู้ให้กับนักเรียนมากขึ้น ลักษณะของข้อมูลย้อนกลับทางบวกหรือตัวแปรอื่นๆ และความแตกต่างของด้านช่องทางการสื่อสาร รูปร่างลักษณะของสื่อ ราคา ความสะดวก สื่อของจริง สื่อภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว สื่อประสม คอมพิวเตอร์ เกม และการจำลองสถานการณ์ สื่อกิจกรรม มีผลต่อแรงจูงใจของผู้เรียนเช่นกัน แต่ลื่อทั้งหลายก็มีข้อดีข้อจำกัด เมื่อนำมาใช้ต้องใช้เกณฑ์การพิจารณ์ความเหมาะสมต่อการจัดลักษณะกลุ่มผู้เรียน


3. การพัฒนา
การพัฒนาวัสดุและกิจกรรมการสอน คือการจัดการปรับปรุง ดัดแปลง หรือผลิตแผนการสอน วัสดุการเรียนการสอน เหตุการณ์ และกิจกรรมการเรียนการสอน รวมทั้งการจัดการด้านบุคลากร งบประมาณ และการบริการสนับสนุน กระบวนการพัฒนาการสอนต้องอาศัยยุทธศาสตร์และสื่อที่ควรพัฒนาให้เป็นวัสดุการเรียนการสอน ได้แก่ คู่มือการเรียน วัสดุการเรียนการสอน แบบทดสอบ คู่มือครูหรือแผนการสอน โดยผู้สอนเน้นกระบวนการพัฒนาการเรียนการสอนเป็นการชี้แนะ กำกับ นิเทศ ควบคุม เป็นผู้มีส่วนร่วมในกิจกรรม ส่วนกระบวนการออกแบบการสอนเป็นการวางแผนการสอนรายวิชาหรือการเตรียมการสอน เรียกกันว่า “การบันทึกการสอน”
การเลือกระบบการเรียนการสอน ต้องพิจารณาเลือกระบบการสอนที่คุ้มกับประโยชน์ในการนำมาใช้สอนเป็นสำคัญ ซึ่งการใช้ระบบการเรียนจะใช้งบประมาณในระดับค่อนข้างสูง แต่ในขณะที่ผู้สอนหรือกิจกรรมการสอนมีผู้สอนเป็นฐานยังปฏิบัติภารกิจได้ไม่เต็มที่ กิจกรรมการเรียนการสอนเป็นเครื่องมือพัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้องให้มีทักษะและการเตรียมการสอนจริงไม่เพียงแต่บันทึกข้อมูลแผนการสอนไว้เท่านั้น แต่ยังนำมาพิจารณากำกับพฤติกรรมการเรียนของนักเรียนและผู้สอนให้ดำเนินกิจกรรมต่างๆ ตามเงื่อนไขการเรียนการสอนได้


4. การนำไปใช้
การจัดการเรียนการสอน สามารถจัดทำได้หลายรูปแบบขึ้นอยู่กับสภาพการณ์การสอน เช่น ผู้เรียน เนื้อหาวิชา จุดมุ่งหมายการสอนและอื่นๆ ผู้สอนจะดำเนินการสร้างความพร้อมโดยการจัดเตรียมและจัดให้มีการทดสอบก่อนเรียนเพื่อสร้างความพร้อมให้กับผู้สอนและผู้เรียน สิ่งที่ต้องวางแผนคือ การกำหนดเวลาจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้ผู้ที่เรียนช้าสามารถเรียนได้ทันเพื่อน ไม่เกิดความรู้สึกเบื่อหน่ายในการเรียนจึงจะบรรลุจุดมุ่งหมายเนื้อหาสาระการสอนได้ ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ ความรู้ความเข้าใจแบ่งออกเป็น 3 ระดับคือ เนื้อหาประเภทข้อเท็จจริง เนื้อหาประเภทหลักการและมโนทัศน์ และเนื้ออหาประเภทการคิดแก้ปัญหาและความคิดสร้างสรรค์ เจตคติหรือจิตพิสัยมีขั้นตอน 3 ขั้นคือ การรับทราบข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งนั้นๆ การเกิดความรู้สึกต่อสิ่งนั้น และมีแนวโน้มการแสดงพฤติกรรมในลักษณะของการชอบหรือเกลียดสิ่งนั้น เทคนิคการสอนเนื้อหาประเภททักษะ แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน คือ การให้ความรู้ที่เกี่ยวกับทักษะที่จะเรียนรู้ การฝึกหเกิดทักษะโดยเริ่มจากการจำลองและปฏิบัติจริง เกิดทักษะเป็นการปฏิบัติกิจได้โดยอัตโนมัติ เนื้อหาทั้งสามประเภทนี้ต้องปฏิบัติควบคู่กันอยู่เสมอ


5. การประเมินและการปรับปรุง
การประเมินเป็นรูปแบบหนึ่งของการควบคุมคุณภาพการเรียนการสอน ถ้าผู้เรียนไม่เรียนหรือเรียนไม่ได้ ไม่ได้เป็นข้อบกพร่องของผู้สอนหรือระบบการเรียนการสอน เพราะคนทั่วไปเข้าใจว่าการสอนทำให้เกิดการเรียนรู้ ถ้าไม่เกิดความรู้แสดงว่าไม่ได้สอน แต่การประเมินที่ถูกต้องคือการประเมินการศึกษาภาพรวมของระบบการสอน เพื่อปรับปรุงแก้ไขการเรียนการสอนให้ดีขึ้น การประเมินโปรแกรมทำได้ 2 ลักษณะคือ การประเมินระหว่างดำเนินการและการประเมินผลรวม ซึ่งจะต้องมีการออกแบบการประเมินโดยบุคคลหรือกลุ่มคณะออกแบบและพัฒนาการสอนตรงตามเป้าหมายของการนำไปใช้สอนได้ การประเมินผลการเรียนเป็นส่วนหนึ่งของโปรแกรมการเรียนการสอน อาจวัดได้หลายวิธีแต่ที่นิยมมี 2 วิธี คือ การวัดแบบอิงกลุ่ม หมายถึงการนำผู้เรียนแต่ละคนไปเปรียบเทียบกับผู้เรียนคนอื่นๆ ในชั้นเรียนเดียวกันหรือระดับเดียวกัน ผู้เรียนจะเกิดการแข่งขันกัน ส่วนการวัดแบบอิงเกณฑ์ วัดความรู้ความสามารถของผู้เรียนแต่ละคน โดยอิงเกณฑ์ตามจุดมุ่งหมายการเรียนเป็นหลัก ผู้เรียนจะแข่งกับตัวเอง พยายามเรียนรู้อย่างเต็มที่ด้วยตนเอง ในการประเมินโปรแกรมศึกษาโดยทั่วไปจะมีรูปแบบสำคัญ 4 กลุ่ม คือ 1)กลุ่มการประเมินที่ยึดวัตถุประสงค์และจุดมุ่งหมายโปรแกรมเป็นหลัก 2)กลุ่มการประเมินแบบตอบสนองที่ยึดความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องกับโครงการเป็นหลัก 3)กลุ่มการประเมินเพื่อการตัดสินใจ 4)กลุ่มการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญ จึงกลายเป็นกระบวนการที่มีประโยชน์ เป็นแนวทางการตัดสินใจในการดำเนินการโปรแกรมและสุดท้ายต้องมีการรายงานผลการประเมินให้ผู้เกี่ยวข้องทราบด้วย

ตัวอย่าง


การออกแบบการเรียนออนไลน์ด้วย Moodle
เรื่อง การใช้งาน Social Network ด้วย Facebook และ Google Docs
          ปัจจุบันคอมพิวเตอร์เป็นส่วนหนึ่งด้านการจัดการศึกษา ช่วยส่งเสริมความพร้อมและสนับสนุนการเรียนรู้ สร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้งาน Facebook และ Google Docs ในการเรียนการสอนให้เกิดประสิทธิภาพและเข้าถึงข้อมูลได้รวดเร็ว พฤติกรรมการใช้ Social Network มีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา จึงกลายเป็นที่รู้จักและเล่นกันอย่างแพร่หลาย นักเรียนสามารถใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตเข้าถึงการบริการ เพื่อสนทนา ติดต่อสื่อสารกับเพื่อหรือคนรุ้จักได้ตลอดเวลา โต้ตอบ ฝากข้อความ แลกเปลี่ยนรูปถ่าย ภาพเคลื่อนไหวผ่านเครื่อง PC, Notebook, Smart Phone และ iPhone
ดังนั้น การใช้ Social Network ในการเรียนรู้ สามารถเชื่อมโยงผู้ใช้ในทิศทางต่างๆ มีพื้นที่ในการทำความรู้จักกัน โดยสามารถเลือกมีการมีปฏิสัมพันธ์กับใครก็ได้ตามต้องการ ส่วน Google Docs สามารถสร้างและการใช้เว็บไซต์ของกลุ่มหรือรายวิชาร่วมกันได้


หัวข้อที่ 1 : ให้นักเรียนสมัคร E-mail , สมัครสมาชิก Moodleและล็อกอินเข้าเรียน
นักเรียนสมัคร E-mail ผ่าน gmail.com ลงทะเบียนหรือล็อกอินเข้าสู่บทเรียน โดยระบุชื่อผู้ใช้ และรหัสผ่าน เพื่อยืนยันการเข้าเข้าระบบทางอีเมล และล็อกอินเข้าระบบ
ให้นักเรียนลงทะเบียนเข้าเรียนประจำรายวิชา รายงานตัว กรอกข้อมูลประวัติ กำหนดชื่อแทนตัวเองอีเมล และรูปภาพแทนตัวตน หลังจากนั้นทุกคนร่วมตอบกระทู้แนะนำตัวเองให้เพื่อนๆ ได้ทราบเป็นข้อมูลเบื้องต้น ส่วนนักเรียนที่ยังไม่ได้สมัครเข้าใช้งาน Google Docs ให้ทำการสมัครผ่านเว็บไซต์ Gmail.com โดยนักเรียนจะต้องมีอีเมล Gmail เป็นของตนเองอย่างน้อย ๑ อีเมล เมื่อนักเรียนสมัครครบทุกคนแล้วผู้สอนจะแจ้งให้นักเรียนเทราบและกำหนดการใช้งานร่วมกัน
นักเรียนศึกษาข้อตกลงการศึกษาและข้อปฏิบัติเกี่ยวกับรายวิชา ศึกษาเอกสารและร่วมทำกิจกรรมประจำหัวข้อ ดังนี้
1) ศึกษาบทเรียนและเอกสาร
2) เข้าร่วมกิจกรรมในกระดานสนทนา ซักถามข้อสงสัย
3) โพสต์แสดงความคิดเห็นการเรียนออนไลน์ตามประเด็นที่กำหนด


จุดประสงค์การเรียนรู้
ผู้เรียนสามารถให้บอกประวัติความเป็นมาของ Facebook และ Google Docs จำแนกความสำคัญของแต่ละข้อ แนวคิดเกี่ยวกับการใช้งาน องค์ประกอบ โดยเน้นแนวคิดความสำคัญต่อการประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนได้


เนื้อหา
Facebook คือ บริการบนอินเทอร์เน็ตบริการหนึ่ง ที่จะทำให้ผู้ใช้สามารถติดต่อสื่อสารและร่วมทำกิจกรรมใดกิจกรรม หนึ่งหรือหลายๆ กิจกรรมกับผู้ใช้ Facebook คนอื่นๆ ได้ หรือการตั้งประเด็นถามตอบในเรื่องที่สนใจ โพสต์รูปภาพ โพสต์คลิปวิดีโอ เขียนบทความหรือบล็อก แชทคุยกันแบบสดๆ เล่นเกมส์แบบเป็นกลุ่ม (เป็นที่นิยมกันอย่างมาก) และยังสามารถทำกิจกรรมอื่นๆ ผ่านแอพลิเคชั่นเสริม (Applications) ที่มีอยู่อย่างมากมาย ซึ่งแอพลิเคชั่นดังกล่าวได้ถูกพัฒนาเข้ามาเพิ่ม เติมอยู่เรื่อยๆ
Google Docs คือเว็บไซต์ของ Google ที่ให้บริการสร้างเว็บไซต์ฟรี ซึ่งเราสามารถสร้างเว็บไซต์ได้อย่างง่ายดาย โดยผู้ใช้สามารถปรับแต่งลักษณะของเว็บไซต์ได้ตามความต้องการ สามารถรวบรวมความหลากหลายของข้อมูลไว้ในที่เดียวได้ เช่น วิดีโอ ปฏิทินการนําเสนอเอกสารหรือสิ่งที่แนบ และข้อความ รวมไปถึงความสามารถในการกําหนดความเป็นส่วนตัวของเว็บไซต์ด้วย
           
แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม
บทเรียน How to Facebook.mp4 นักเรียนต้องเปิดด้วย filefox, IE8 และ Chrome และติดตั้ง Plugin Windows Media Player


ศึกษาเอกสารประกอบการเรียนตอนที่ 1 :
E-Book การใช้งาน Facebook เบื้องต้น
การสร้างงานด้วย Google Docs จากเอกสารเรื่อง Google-Documents, การสร้างงานด้วย Google Docs ประกอบด้วย เอกสาร สเปรดชีต งานนำเสนอ ภาพวาด และฟอร์ม
เอกสารอ่านเพิ่มเติม ศึกษาบทเรียนบนเว็บไซต์ การสร้างงานด้วย Facebook และ Google Docs


กิจกรรมเรียนรู้
นักเรียนเล่าประสบการณ์การใช้ Facebook และ Google Docs ผ่านกระดานสนทนา
นักเรียนทบทวนบทเรียน เอกสารการเรียน และเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง
ทำแบบทดสอบก่อนเรียน เพื่อวัดระดับความรู้นักเรียนเบื้องต้น
เข้าสู่บทเรียนออนไลน์
ถาม-ตอบระหว่างกัน แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการเรียนการสอนผ่าน Facebook และ Google Docs ผ่านกระดานเสวนา
ทำงานตามใบงานที่กำหนดขึ้น และส่งงานผ่าน Facebook และ Google Docs
แทรกคลิปวีดีโอจาก Youtube นำมาวางใน Facebook และแสดงความคิดเห็นจากประเด็นที่กำหนด
Google Docs
วิเคราะห์ผู้ฟัง จากการนำเสนอผลงาน
ค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติม
แสดงความคิดเห็น “การนำเสนอผลงานผ่าน Google Doc” โดยการสร้างงาน PowerPoint ใน Google Docs




เครื่องมือที่ใช้ / การเก็บข้อมูล
แบบกรอกประวัตินักเรียน
แบบบันทึกการใช้งานผ่าน Social Network ของนักเรียน
ใบงานการใช้ Facebook และ Google Docs โดยการทำงานกลุ่ม และการมีส่วนร่วมในการทำงาน
ผลการแก้ปัญหา
หลังจากทำการเรียนการสอนพบว่า Social Network เป็นเครื่องมือการเรียนการสอนที่เข้าถึงผู้เรียนได้ดีและรวดเร็ว ทำให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น การทำงานและส่งงานรวดเร็ว โดยสังเกตจากการทำงานของนักเรียน ได้แก่
1.นักเรียนมีความสามารถเข้าถึง Facebook และ Google Docs ได้รวดเร็ว เพราะในชีวิตประจำวันนักเรียนมีการติดต่อสื่อสารระหว่างกลุ่ม เพื่อน คนรู้จัก มีทักษะการใช้งานเป็นประจำผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์และโทรศัพท์มือถือ ส่วน Google Docs แม้นักเรียนจะยังไม่เคยใช้งาน แต่ไม่ได้ทำเกิดความยากในการใช้งานไม่ซับซ้อน ไม่ยากต่อการเรียนรู้ นักเรียนสามารถสร้างงานตามที่ผู้สอนกำหนด และส่งงานตามที่ได้รับมอบหมายได้
2.นักเรียนสามารถใช้ Facebook และ Google Docs ในการทำงานกลุ่ม โดยนักเรียนทุกคนมีส่วนร่วมในการทำงาน เช่น การตั้งชื่อกลุ่ม การแทนชื่อตนเองบนเว็บไซต์ การใช้สีอักษรในการทำงานที่แตกต่างกันทำให้สังเกตได้ง่ายว่าผู้ใดทำงานหรือไม่ทำงาน รวมถึงการสนทนาบนกระดานสนทนา การซักถามประเด็นที่เกี่ยวข้อง
3.นักเรียนที่ไม่เข้าเรียนในกลุ่ม ไม่สนทนาถาม-ตอบกับกลุ่มเพื่อน หัวหน้ากลุ่มจะต้องติดตาม ผู้สอนถามประเด็นปัญหาการไม่เข้าเรียน และร่วมแก้ปัญหานักเรียนรายบุคคลต่อไป


สิ่งที่ได้จากการเรียนในตอนที่ 1 (การวิเคราะห์)
การศึกษาวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมด้วยการละลายพฤติกรรมให้นักเรียนได้แสดงความคิดเห็น แนะนำตัว การกรอกประวัตินักเรียนทำให้ทราบข้อมูลเบื้องต้น สร้างปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนนักเรียนและผู้สอน ทำการสอบวัดความรู้เบื้องต้นด้วยแบบทดสอบก่อนเรียน นำผลที่ได้มาประเมินค่าพื้นฐาน วิเคราะห์ผู้เรียน เนื้อหาข้อสอบ และจัดเก็บแบบทดสอบที่มีความสมบูรณ์เหมาะสมไว้สอบหลังเรียน แบบทดสอบต้องมีกระบวนการคิดของผู้เรียน ความสามารถในการอ่าน การใช้ศัพท์ของผู้สอน ลักษณะเด่น ข้อบกพร่องของข้อสอบแต่ละข้อเพื่อนำไปใช้ให้เหมาะสม ได้จากการวางแผน จุดประสงค์ที่เหมาะสมกับคะแนนตามสถานการณ์ ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้มากขึ้น ด้านกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจและการเรียนรู้ร่วมกัน โดยใช้กระดานสนทนา อภิปรายแสดงความคิดเห็น การสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างการเรียนผ่านห้องสนทนา


ประโยชน์


ตอนที่ 2 การออกแบบ
หัวข้อนี้จะสรุปบทเรียนของหัวข้อที่ผ่านมาถึงกิจกรรมต่างๆ อันสะท้อนถึงเป้าหมายการเรียน ที่แสดงให้เห็นถึงวิธีการออกแบบสำหรับกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลาย เช่น นักศึกษา สำหรับครู นักเรียนชั้นมัธยม และกลุ่มเป้าหมายทุกกลุ่ม ในขณะที่หัวข้อแรกเปิดโอกาสให้นักเรียนได้ลองวิเคราะห์การใช้งานออนไลน์ Facebook และ Google Docs ซึ่งเป็นการมองกลับไปดูว่า ในแต่ละกลุ่ม มีการออกแบบอย่างไร เพื่อเป็นแนวทางในการออกแบบการเรียน ในหัวข้อที่ 2 มีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักเรียนเห็นว่าองค์ประกอบใดเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ขาดไม่ได้ของการออกแบบการเรียนการสอน ซึ่งมีผลต่อแรงจูงใจในการเข้าเรียน
กิจกรรมในหัวข้อที่ 2 เริ่มเข้าสู่ขั้นตอนของการออกแบบการเรียนออนไลน์ ซึ่งในการออกแบบดำเนินการตามขั้นตอน ADDIE อันประกอบด้วย A = Analysis (การวิเคราะห์) D = Design (การออกแบบ) D = Development (การพัฒนา) I = Implementation (การนำไปใช้) และ E = Evaluation (การประเมินผล)


รายละเอียดกิจกรรม
1) ศึกษาบทเรียน เอกสารการเรียน E-Book และเอกสารที่เกี่ยวข้อง
2) เข้าร่วมกิจกรรมเรียนรู้
3) โพสต์ Online Learning Log ตามประเด็นที่กำหนด
4) ลงชื่อสมัครเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มเตรียมพร้อมสำหรับทำกิจกรรม


จุดประสงค์การเรียนรู้
นักเรียนสามารถวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน ได้แก่ กลุ่มเป้าหมาย วัตถุประสงค์ เนื้อหา บริบทการเรียน เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการออกแบบและพัฒนาการสร้าง Facebook และ Google Docs สำหรับการเรียนได้
นักเรียนสามารถวิเคราะห์โครงสร้าง Facebook และ Google Docs เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการออกแบบและพัฒนาเว็บไซต์สำหรับการเรียนการสอนได้
นักเรียนสามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์องค์ประกอบที่สำคัญของ Facebook และ Google Docs ที่ีประสิทธิภาพสำหรับการเรียนได้


เนื้อหาการเรียน
ลักษณะและรูปแบบการสร้างกลุ่มการเรียน Facebook (กลุ่มเปิด, กลุ่มปิด, กลุ่มลับ) และ Google Docs
การเรียนรู้และการประยุกต์ใช้ Facebook และ Google Docs (การสร้างกิจกรรมในกลุ่ม)
สำรวจการใช้งาน Facebook และ Google Docs จากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ
เครื่องมือที่ใช้ออกแบบและพัฒนาการเรียนบน Facebook และ Google Docs
เอกสารประกอบการเรียนที่ 2.1
เอกสารประกอบการเรียนที่ 2.2


กิจกรรมเรียนรู้
กระดานเสวนา : รูปแบบการสร้างกลุ่มการเรียน Facebook และ Google Docs
กระดานเสวนา : การประยุกต์ใช้ Facebook และ Google Docs ในการทำงาน
กระดานเสวนา : สำรวจการใช้งาน Facebook และ Google Docs
กระดานเสวนา : เครื่องมือที่ใช้ออกแบบและพัฒนาการเรียนบน Facebook และ Google Docs
กระดานเสวนา : ถาม-ตอบประเด็นปัญหาการใช้งาน Facebook และ Google Docs ระหว่างกัน
นักเรียนลงชื่อทำกิจกรรม และแบ่งกลุ่มนักเรียน กลุ่มละ 3-5 คน หรือทำงานเดี่ยวแต่ต้องได้รับการพิจารณาจากผู้สอน
กระดานเสวนา : ลงชื่อทำงานเดี่ยว
กระดานเสวนา : ลงชื่อกลุ่มที่ 1
กระดานเสวนา : ลงชื่อกลุ่มที่ 2
กระดานเสวนา : ลงชื่อกลุ่มที่ 3
ส่งงานผ่าน Facebook และ Google Docs


หัวข้อที่ 3 การพัฒนา (Develop)
จากการเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ในตอนที่ 2 นักเรียนได้ออกแบบการสร้างกลุ่มบน Facebook และ Google Docs ตามความเหมาะสม โดยเลือกกลุ่มเป้าหมาย วัตถุประสงค์ องค์ประกอบที่สำคัญ ซึ่งเป็นขั้นตอนที่นักเรียนจะต้องลงมือปฏิบัติ และลงชื่อเข้าสมัครเรียนในกลุ่มอื่น นำผลการศึกษาในกลุ่มที่นักเรียนได้ศึกษามาร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับสมาชิกในกลุ่ม นำผลที่ได้จากการสนทนาแลกเปลี่ยนมาปรับปรุงเพื่อพัฒนาชิ้นงาน หรือนำจุดเด่นของกลุ่มอื่นๆ ผสมผสานพัฒนาชิ้นงานกลุ่มของตนเองได้ สมาชิกในกลุ่มต้องใช้เครื่องมือการสื่อสาร Facebook, Google Docs และ Chatroom ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกัน โดยผู้สอนจะคอยกำกับ ควบคุมดูแลการเข้าเรียนของนักเรียนแต่ละกลุ่ม และรายบุคคล ตรวจสอบการร่วมมือในการเรียนภายในกลุ่ม ในด้านการอภิปราย ติดต่อสื่อสาร แลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน ใน Google Docs นักเรียนอาจพิจารณาใช้สี เช่น ภายในกลุ่มมีนักเรียน 5 คน ใช้คนละสีแต่ไม่ซ้ำกัน รวมแล้วมี 5 สี และภายในกลุ่มต้องมีการนัดหมายร่วมประชุมกันเพื่อแบ่งบทบาทหน้าที่รับผิดชอบแต่ละคน กำหนดสิทธิ์ในการทำงานร่วมกัน ในการทำงาน Facebook, Google Docs และ Chatroom ในประเด็นที่ผู้สอนกำหนดให้ ผู้สอนร่วมประเมินงานกลุ่มของนักเรียน สรุปงานที่จะต้องส่ง พร้อมทั้งเสริมแรงให้นักเรียนมีแรงจูงใจต่อการเรียนมากยิ่งขึ้น


จุดประสงค์การเรียนรู้
ผู้เรียนสามารถระบุและวิเคราะห์ถึงองค์ประกอบที่สำคัญของเว็บไซต์สำหรับใช้ในการเรียน Facebook และ Google Docs ได้
ผู้เรียนสามารถพัฒนาประยุกต์ใช้แนวทางในการออกแบบและพัฒนา Facebook และ Google Docs ได้


เนื้อหาการเรียน
ออกแบบการเรียน Facebook ได้แก่ สร้างกลุ่ม, สร้างกิจกรรม, ตารางนัดหมาย, สร้างหน้า Page และ สร้าง Quiz ข้อสอบ
ออกแบบการเรียน Google Docs ได้แก่ การสร้างเอกสาร, การสร้างสเปรดชีต, การสร้างงานนำเสนอ, สร้างภาพวาด, การสร้างฟอร์ม สร้างเอกสารและกำหนดสิทธิ์ใช้งานร่วมกัน
เอกสารประกอบการเรียน ได้แก่ เอกสารการสร้างหน้าเพจ, สอนวิธีทํา quiz ใน facebook, เอกสารการสอน Google Documents, การสร้างตารางด้วยสเปรดชีต, การสร้างแบบสอบถามด้วย Form


กิจกรรมเรียนรู้
Facebook :
กระดานเสวนา : กิจกรรมที่ 1 สร้างกลุ่ม
กระดานเสวนา : กิจกรรมที่ 2 สร้างกิจกรรม
กระดานเสวนา : กิจกรรมที่ 3 ตารางนัดหมาย
กระดานเสวนา : กิจกรรมที่ 4 สร้างหน้า Page หน้าแฟนเพจ
กระดานเสวนา : กิจกรรมที่ 5 สร้าง Quiz ข้อสอบ
Google Docs :
กระดานเสวนา : กิจกรรมที่ 1 การสร้างเอกสาร (ประเภทข้อความ txt, HTML)
กระดานเสวนา : กิจกรรมที่ 2 การสร้างสเปรดชีต (แปลงสเปรดชีต .xls, .xlsx และ .ods ไม่เกิน 20M)
กระดานเสวนา : กิจกรรมที่ 3 การสร้างงานนำเสนอ (แปลงงานนำเสนอ .ppt, และ .pps ไม่เกิน 10M)
กระดานเสวนา : กิจกรรมที่ 4 การสร้างวาดภาพ (แปลงภาพวาด ไม่เกิน 2M)
กระดานเสวนา : กิจกรรมที่ 5 การสร้างฟอร์ม
กระดานเสวนา : ถาม-ตอบระหว่างกัน “การทำงานร่วมกันในแบบออนไลน์ และการเผยแพร่”
Facebook
Google Docs
สมัคร Facebook (ถ้ามีแล้วให้ข้าม)
สมัคร Gmail.com (ถ้ามีแล้วให้ข้าม)
สร้างกลุ่ม และตั้งชื่อกลุ่ม
สร้างกลุ่ม และตั้งชื่อกลุ่ม
โพสต์ข้อความสั่งงาน หรือนัดหมาย
โพสต์ข้อความสั่งงาน หรือนัดหมาย
โพสต์รูปภาพจาก PowerPoint, Google Doc
อัพโหลดรูปภาพ
อัพโหลดไฟล์อื่นๆ เพื่อให้เพื่อนดาวน์โหลด
แชร์ไฟล์ให้เพื่อนๆ ร่วมทำงาน


หัวข้อที่ 4 การนำไปใช้


บทเรียนนี้ นักเรียนที่ยังไม่ได้ส่งงานที่ได้รับมอบหมาย ขอให้ตรวจสอบรายชื่อกิจกรรมการเรียนการสอน (ส่งการบ้าน) ตามลิงค์ด้านส่งการบ้าน นักเรียนที่ยังไม่ได้ส่งขอให้รีบดำเนินการตามกำหนด สัปดาห์นี้จะเริ่มการประยุกต์ใช้ทฤษฎีการเรียนรู้ และทฤษฎีด้านการออกแบบการเรียนด้วย Facebook และ Google Docs เพื่อให้การออกแบบของนักเรียนตรงตามจุดประสงค์ ซึ่งจะนำไปสู่การเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพสูงสุดเนื้อหาการเรียนจะกล่าวถึงขั้นตอนการพัฒนา (Development) ที่มีรูปแบบแตกต่างกันออกไป จะเน้นในเรื่องของการจัดการเนื้อหา เน้นรูปแบบที่สวยงาม จัดการการเรียนการสอน การติดตามการเรียนของผู้เรียน และระบบสนับสนุนการเรียนต่างๆ สามารถเข้าเรียนได้ทาง M-Learning หรือลองใช้ smart phone เข้าเรียนได้


การศึกษาค้นคว้าข้อมูลจากแหล่งต่างๆ และนำความรู้ที่ได้ไปร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างกันในการพัฒนา Facebook และ Google Docs ของกลุ่มให้เสร็จสมบูรณ์ ศึกษาในบทเรียนที่เกี่ยวข้อง ผู้สอนจะเข้าไปเยี่ยมชมการทำงานในกลุ่มแต่ละกลุ่ม เพื่อศึกษาว่านักเรียนได้ร่วมงานกันเป็นทีมหรือไม่ อย่างไร ถ้ามีการร่วมทำงานกันดี ผู้สอนจะแสดความชื่นมที่มีการร่วมปรึกษา แสดงความคิดเห็น และร่วมแก้ปัญหาการทำงาน ติดตามนักเรียนที่ไม่เข้าร่วมกิจกรรม หรือขาดหายเป็นบางช่วงเวลา ไม่ทำงานส่งหรือส่งยังไม่ครบจำนวนชิ้นงาน ตามลำดับ ต่อจากนั้นจะมีการมอบหมายงานโดยจะมีทั้งงานเดี่ยวและงานกลุ่ม ดังนี้
1) งานกลุ่ม ให้นักเรียนร่วมศึกษาและอภิปรายเนื้อหาเกี่ยวกับการเรียนรู้ (เอกสารแนบ) และหลักการวิธีการออกแบบฯ (เอกสารแนบ) สามารถสืบค้นเนื้อหาเพิ่มเติม จากนั้นขอให้แต่ละกลุ่มประยุกต์ใช้การออกแบบ โดยแสดงสัญลักษณ์ถึงการได้ร่วมอภิปราย เน้นเนื้อหาที่ต้องการจากการใช้ความรู้ต่างๆ บันทึกเป็นไฟล์ภาพนำไปวางในกระดานสนทนา เพื่อให้เพื่อนๆ หรือกลุ่มอื่นได้ร่วมแสดงความคิดเห็น หากกลุ่มใดหรือนักเรียนใดที่ยังไม่ใช้โปรแกรม Google Docs ไม่เป็นควรศึกษาวิธีการจากเอกสาร บทเรียน ขั้นตอนการใช้งานหรือสอบถามหัวหน้ากลุ่ม ก่อนทำงานส่งทุกครั้ง
2) งานเดี่ยว ศึกษาบทเรียนและเอกสาร E-Book (เอกสารแนบ) เข้าร่วมกิจกรรมเรียนรู้ นำกิจกรรมของนักเรียน บันทึกเป็นไฟล์ภาพ สำเนาลงในกระดานสนทนาให้เพื่อนๆ ร่วมโพสต์แสดงความคิดเห็น และร่วมแสดงความคิดเห็นในกลุ่มอื่นๆ ด้วย จากนั้นโพสต์ Online ตามประเด็นที่กำหนด ผู้เรียนค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติมมาแลกเปลี่ยนกับสมาชิกในกลุ่มเพื่อเป็นการสร้างปฏิสัมพันธ์ และนำมาใช้การพัฒนา Facebook และ Google Docs โดยสามารถใช้เครื่องมือที่มีในโปรแกรมหรือวิธีการอื่นๆ ในการติดต่อสื่อสารระหว่างกันได้ตามความสะดวกของผู้เรียน และนักเรียนต้องสรุป เชื่อมโยงประสบการณ์ นำผลการแลกเปลี่ยนความรู้ลงในบันทึกผลการประชุมของแต่ละกลุ่ม โดยส่งตัวแทนนำเสนอตัวอย่างการพัฒนาโครงการของกลุ่มตนเองใน PowerPoint Online


จุดประสงค์การเรียนรู้
ผู้เรียนสามารถประยุกต์ใช้การเรียนรู้ และหลักการออกแบบฯ Facebook และ Google Docs สำหรับใช้ในการเรียนการสอนแบบออนไลน์ได้
ผู้เรียนสามารถระบุและวิเคราะห์ถึงองค์ประกอบที่สำคัญของ Facebook และ Google Docs สำหรับใช้ในการเรียนการสอนแบบออนไลน์ ในรูปแบบจัดการและจัดการการเรียนการสอนได้
ผู้เรียนสามารถพัฒนาประยุกต์ใช้องค์ประกอบที่สำคัญของจัดการเว็บไซต์ Facebook และ Google Docs การจัดการการเรียนการสอน ในการออกแบบบทเรียนออนไลน์ได้ โดยเน้นที่ความสำคัญและการใช้งานตามสภาพจริง


เนื้อหาการเรียน
แหล่งข้อมูล : การติดตั้งโปรแกรมเสริม
แหล่งข้อมูล : การทำลิ้งข้อมูล
แหล่งข้อมูล : กลุ่มการเรียน
แหล่งข้อมูล : การจัดการเพจ
แหล่งข้อมูล : การใช้แบบทดสอบ
แหล่งข้อมูล : รูปแบบคำถาม
แหล่งข้อมูล : การนำแบบสอบถามไปใช้งานจริง
แหล่งข้อมูล : การเข้าดูข้อมูลผู้ตอบแบบสอบถาม
แหล่งข้อมูล : การจัดการฟอร์ม
แหล่งข้อมูล : การแชร์ไฟล์เพื่อเผยแพร่


กิจกรรมเรียนรู้
การบ้าน : นำเสนอความคืบหน้าของงานที่ได้รับมอบหมาย เพื่อเป็นตัวช่วยให้งานแต่ละกลุ่มขับเคลื่อนได้มากขึ้น ผู้สอนจึงได้จัดเตรียมเครื่องมือ เพื่อช่วยในการติดต่อสื่อสารระหว่างกันในการทำงานกลุ่มและเสริมแรงให้ทุกกลุ่มมีแรงจูงใจการทำงานให้ประสบผลสำเร็จ
กระดานเสวนา : กลุ่มที่ 1
กระดานเสวนา : กลุ่มที่ 2
กระดานเสวนา : กลุ่มที่ 3
กระดานเสวนา : การนำไปใช้งานจริง, ชีวิตประจำวัน
กระดานเสวนา : การประยุกต์ใช้ ผลที่ได้จากเรียน
กระดานเสวนา : ประโยชน์ที่ได้จากการเรียนรู้ประจำหัวข้อ
กระดานเสวนา : ถาม-ตอบระหว่างกัน


หัวข้อที่ 5 การประเมิน
กิจกรรมนี้ ขอให้นักเรียนนำเสนองานที่ได้พัฒนาขึ้น โดยการบันทึกภาพหน้าจอและแนบเอกสารที่ได้ทำไว้ รวมถึงอธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับขั้นตอนการพัฒนา Facebook และ Google Docs ของแต่ละกลุ่ม นักเรียนประเมินงานของกลุ่มตัวเอง และของกลุ่มอื่น โดยใช้แนวทางจากเอกสารเกี่ยวกับแนวทางในการประเมินการเรียน ผลการประเมินที่ได้ขอให้นำไปใช้เพื่อปรับปรุง Facebook และ Google Docs ให้ดียิ่งขึ้น
เกณฑ์การประเมินได้แนบมาพร้อมแล้ว โดยพิจารณาเกณฑ์การประเมินผลงานกลุ่มของนักเรียน และส่งตัวแทนร่วมสรุปผลงาน จุดเด่น ข้อเสนอแนะ สิ่งที่ควรปรับปรุงพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น
งานในหัวข้อนี้ ผู้สอนเปิดโอกาสให้นักเรียนได้จัดการงานของตนเองที่ยังค้างอยู่ นำส่งให้เรียบร้อย เพราะเป็นเรืองการเรียนการสอนสุดท้าย นอกจากนั้นจะเป็นการทดสอบวัดความรู้หลังเรียน ซึ่งนักเรียนสามารถนำหนังสือ เอกสารการเรียน และการสรุปผลการนำเสนอกลุ่ม ประกอบการสอบในครั้งนี้ได้ (Open Book) โดยแต่ละกลุ่มจะต้องเล่าถึงกระบวนการในการออกแบบและพัฒนา Facebook และ Google Docs และโพสต์ผลงานที่ได้พัฒนาแล้ว ทำลิ้ง แชร์ไฟล์ ผ่าน Facebook และ Google Docs ให้ผู้สนใจได้ร่วมศึกษา
กิจกรรมนี้เป็นเรื่องสุดท้าย ให้นักเรียนได้แสดงความคิดเห็น ติ-ชม หรือให้คำเสนอแนะสำหรับรายวิชา สิ่งที่นักเรียนอยากเสนอต่อผู้สอนเพื่อนำไปพัฒนาปรับปรุงแก้ไขในการสอนครั้งต่อไป หรือสิ่งอื่นๆ ที่นักเรียนคิดว่ามีประโยชน์และเหมาะสมในการเรียน นักเรียนสามารถส่งข้อความ โพสต์ในการดานเสวนา ส่งทางอีเมลให้ผู้สอนได้รับทราบ ผู้สอนขอขอบคุณนักเรียนทุกคนที่ให้ความร่วมมือ ตั้งใจศึกษาในการเรียนออนไลน์ผ่าน Facebook และ Google Docs สามารถนำไปใช้พัฒนาการเรียนให้ดียิ่งขึ้นต่อไป


เนื้อหาประจำสัปดาห์
แหล่งข้อมูล : แนวทางในการประเมิน Facebook
แหล่งข้อมูล : แนวทางในการประเมิน Google Docs หรือออนไลน์


กิจกรรมเรียนรู้ประจำสัปดาห์
กระดานเสวนา : ประเมินงานกลุ่ม
กระดานเสวนา : จุดเด่น สรุปผลงาน
กระดานเสวนา : ข้อเสนอแนะ สิ่งที่ควรปรับปรุงพัฒนา


สรุป

การจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์สามารถใช้กระบวนการประมวลรายวิชา ตารางเรียน เนื้อหากิจกรรม ข่าวประชาสัมพันธ์ เอกสารประกอบการเรียน แบบทดสอบ การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น อภิปราย ห้องสนทนา โต้ตอบ แหล่งสนับสนุนการเรียนรู้ แหล่งเรียนรู้เพิ่มเติม รายงานผลการประเมิน ประวัติการเรียน และสุดท้ายการออกจากบทเรียน ซึ่งทุกกระบวนการสามารถนำมาวิเคราะห์ประเมินระบบการเรียนการสอนเพื่อนำไปออกแบบการสอนให้มีประสิทธิภาพต่อผู้สอนและผู้เรียน นักออกแบบและพัฒนาต้องเข้าใจ มีความรู้ความสามารถต่อการประยุกต์ใช้การแก้ปัญหาและพัฒนาคุณภาพการศึกษา การประเมิน การจัดการ การเผยแพร่นวัตกรรมใหม่ๆ ต้องมีปัจจัยสนับสนุนการใช้ การจัดการของนักออกแบบต้องยึดหลักความสำคัญในการจัดการ 5 ประการ คือ การวางแผน การรวบรวมจัดองค์กร การประสานงาน การประเมิน และการรายงานผล

วันอาทิตย์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2557

Blended learning การเรียนรู้แบบผสมผสาน

Blended learning การเรียนรู้แบบผสมผสาน เบล็นเด็ดเลินนิ่ง หมายถึง กระบวนการเรียนรู้ ที่ผสมผสานรูปแบบการเรียนรู้ที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นในห้องเรียน ผสมผสานกับการเรียนรู้นอกห้องเรียนที่ผู้เรียนผู้สอนไม่เผชิญหน้ากัน หรือการใช้แหล่งเรียนรู้ที่มีอยู่หลากหลาย กระบวนการเรียนรู้และกิจกรรมเกิดขึ้นจากยุทธวิธี การเรียนการสอนที่หลากรูปแบบ เป้าหมายอยู่ที่การให้ผู้เรียนบรรลุเป้าหมายการเรียนรู้เป็นสำคัญ การสอนด้วยวิธีการเรียนรู้แบบผสมผสานนั้น ผู้สอน สามารถใช้วิธีการสอน สองวิธีหรือมากกว่า ในการเรียนการสอน เช่น ผู้สอนนำเสนอเนื้อหาบทเรียนผ่านเทคโนโลยีผนวกกับการสอนแบบเผชิญหน้า แต่หลังจากนั้นผู้สอนนำเนื้อหาบทความแขวนไว้บนเว็บ จากนั้นติดตามการดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้อีเลินนิ่ง ด้วยระบบแอลเอ็มเอส (Learning Management System ) ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ในห้องแล็บ หลังจากนั้นสรุปบทเรียน ด้วยการอภิปรายร่วมกับอาจารย์ผู้สอนในห้องเรียน "Blended learning เป็นสิ่งสำคัญของการศึกษาและเทคโนโลยี ,blended learning มีการใช้งานที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว,เป็นการบูรณาการระหว่างการเรียนในชั้นเรียนและการเรียนแบบออนไลน์,สามารถช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนและการใช้เวลาในชั้นเรียนได้เหมาะสม" การเรียนแบบผสมผสาน (Blended learning) การเรียนแบบผสมผสาน (Blended learning)การเรียนแบบผสมผสาน เป็นการรวมกันหรือนำสิ่งต่างๆมาผสม โดยที่สิ่งที่ถูกผสมนั้น คือ - รวม รูปแบบการเรียนการสอน - รวม วิธีการเรียนการสอน - รวม การเรียนแบบออนไลด์ และรูปแบบการเรียนการสอนในชั้นเรียนการเติบโตของการเรียนแบบผสมผสานตั้งแต่อดีต ปัจจุบันและอนาคตการเรียนรู้แบบผสมผสาน โดยในอดีตนั้น การเรียนแบบผสมผสานคือส่วนที่ได้มีการรวมเข้าหากันจาก 2 รูปแบบสภาพแวดล้อมของการเรียนแบบเดิม นั้นก็คือ การเรียนแบบเผชิญหน้าในชั้นเรียนกับ การเรียนแบบออนไลน์ ซึ่งในอดีตนั้นการเรียนทั้ง 2 รูปแบบจะมีช่องว่างหรือระยะห่างระหว่างกันค่อยข้างมาก คือจะมีการจัดการเรียนการสอนเฉพาะของตัวเองมีรูปแบบ และการดำเนินการในรูปแบบที่ต่างกันเพราะว่าต่างก็ใช้สื่อและเครื่องมือที่แตกต่างกัน และมีสถานที่ในการเรียนที่แตกต่างกันเพราะมีกลุ่มผู้เรียนที่ต่างกันด้วย แต่ในขณะเดียวกันนั้นการเรียนแบบทางไกลก็กำลังมีการเติบโตและแผ่ขยายอย่างรวดเร็วซึ่งได้เข้ามาในรูปของเทคโนโลยีใหม่ ที่มีความเป็นไปได้อย่างสูงที่การเรียนแบบออนไลน์นั้นจะมีการแผ่ขยายเข้ามาสู่การเรียนในชั้นเรียนอย่างรวดเร็วในปัจจุบันการเรียนแบบออนไลน์นั้นได้เข้ามามีส่วนร่วมในการติดต่อสื่อสารและมีปฏิสัมพันธ์ร่วมในการเรียนการสอนในชั้นเรียนเกิดเป็นการเรียนแบบผสมผสานขึ้นมาซึ่งคาดว่าในอนาคตนั้นการเรียนแบบผสมผสานจะมีการขยายตัวที่มากขึ้นตามรูปแบบการเรียนแบบออนไลน์ที่จะมีการเติบโตขึ้นมากกว่าปัจจุบัน จึงส่งผลให้การเรียนแบบผสมผสานนั้นมีการขยายวงกว้างออกไปจากเดิมยิ่งขึ้นอีกด้วย ข้อดี-ข้อเสีย การเรียนแบบผสมผสานสรุป Blended Learning การเรียนการสอนแบบผสมผสาน ความหมายและความสำคัญ 1. การเรียนแบบผสมผสาน (blended learning) เป็นการเรียนที่ใช้กิจกรรมที่ต้องออนไลน์และการพบปะกันในห้องเรียนจริง (hybrid) โดยใช้สื่อที่มีความหลากหลายเหมาะกับบริบทและสถานการณ์ การเรียนรู้ เพื่อตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคล 2. การเรียนแบบผสมผสาน เป็นการรวมกันหรือนำสิ่งต่าง ๆ มาผสม โดยที่สิ่งที่ถูกผสมนั้น การเรียนอาจจะเรียนในห้องเรียน 60% เรียนบนเว็บ 40% ไม่ได้มีกฎตายตัวว่าจะต้องผสมผสานกันเท่าใด เช่น- รวม รูปแบบการเรียนการสอน- รวม วิธีการเรียนการสอน- รวม การเรียนแบบออนไลน์ และรูปแบบการเรียนการสอนในชั้นเรียน .....3. การเรียนแบบผสมผสาน (Blended learning) การเติบโตของการเรียนแบบผสมผสานตั้งแต่อดีต ปัจจุบันและอนาคตการเรียนรู้แบบผสมผสาน โดยในอดีตนั้น การเรียนแบบผสมผสานคือส่วนที่ได้มีการรวมเข้าหากัน จาก 2 รูปแบบ 3.1 สภาพแวดล้อมของการเรียนแบบเดิม นั้นก็คือ การเรียนแบบเผชิญหน้าในชั้นเรียน 3.2 การเรียนแบบออนไลน์ ซึ่งในอดีตนั้นการเรียนทั้ง 2 รูปแบบจะมีช่องว่างหรือระยะห่างระหว่างกันค่อยข้างมาก คือจะมีการจัดการเรียนการสอนเฉพาะของตัวเองมีรูปแบบ และการดำเนินการในรูปแบบที่ต่างกันเพราะว่าต่างก็ใช้สื่อและเครื่องมือที่แตกต่างกัน และมีสถานที่ในการเรียนที่แตกต่างกันเพราะมีกลุ่มผู้เรียนที่ต่างกันด้วย แต่ในขณะเดียวกันนั้นการเรียนแบบทางไกลก็กำลังมีการเติบโตและแผ่ขยายอย่างรวดเร็ว ซึ่งได้เข้ามาในรูปของเทคโนโลยีใหม่ ที่มีความเป็นไปได้อย่างสูงที่การเรียนแบบออนไลน์นั้นจะมีการแผ่ขยายเข้ามาสู่การเรียนในชั้นเรียนอย่างรวดเร็วในปัจจุบันการเรียนแบบออนไลน์นั้นได้เข้ามามีส่วนร่วมในการติดต่อสื่อสารและมีปฏิสัมพันธ์ร่วม ในการเรียนการสอนในชั้นเรียนเกิดเป็นการเรียนแบบผสมผสานขึ้นมาซึ่งคาดว่าในอนาคตนั้นการเรียนแบบผสมผสานจะมีการขยายตัวที่มากขึ้นตามรูปแบบการเรียนแบบออนไลน์ที่จะมีการเติบโตขึ้นมากกว่าปัจจุบัน จึงส่งผลให้การเรียนแบบผสมผสานนั้นมีการขยายวงกว้างออกไปจากเดิมยิ่งขึ้นอีกด้วย สรุป 1. การเรียนการสอนแบบผสมผสาน Blended Learning เป็นการเรียนรู้แบบผสมผสานหลากหลายวิธี เพื่อให้ผู้เรียนได้มีการเรียนรู้ที่หลากหลาย และเพื่อผู้เรียนได้พัฒนาเต็มศักยภาพเหมาะกับบริบทและสถานการณ์ การเรียนรู้และตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคลเกิดการเรียนรู้และเกิดทักษะด้านการปฏิบัติ (Practice Skill )โดยใช้เทคโนโลยี เช่น การเรียนการสอนในชั้นเรียนร่วมกับการเรียนการสอนแบบออนไลน์(a combination of face-to-face and Onine Learning) การเรียนแบบหมวก 6 ใบ, สตอรี่ไลน์ จุดมุ่งหมายสูงสุดอยู่ที่ผู้เรียน โดยอัตราส่วนการผสมผสาน จะขึ้นอยู่กับลักษณะเนื้อหา และการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน กรณี - ครูผู้สอนสั่งงานทาง e-mail หรือ chatroom หรือ webbord ถือเป็นการเรียนรู้แบบผสมผสาน- ครูสั่งให้ส่งงานเป็นรูปเล่มรายงานถือว่าเป็นการเรียนรู้แบบผสมผสานเช่นกัน เพราะต้องไปค้นคว้าสืบค้นข้อมูลและนำมาอภิปราย สรุป เนื้อหาเป็นแนวเดียวกัน ผู้เรียนทุกคนเข้าใจตรงกัน 2. การใช้งานจริง ณ ขณะนี้ สรุป การใช้ Blended Learning ในองค์กร หรือบริษัท ช่วยในการประชุม การสั่งงาน โดยมีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตระบบเครือข่าย ส่วนมาก นิยมใช้ระบบ LMS เป็นระบบการบริหาร ผ่าน Sever เป็นระบบเครือข่ายผู้ใช้งานในระบบ 2.1 กลุ่มผู้บริหาร Administrator ทำหน้าที่ดูแลระบบ 2.2 กลุ่ม ครู อาจารย์ Instructor/ teacher ทำหน้าที่สอน 2.3 กลุ่มผู้เรียน Student /Guest นักเรียน นักศึกษาสำหรับขั้นตอนการออกแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานของ Beijing Normal University (BNU) ประกอบด้วย 3 ขั้นตอนหลักดังนี้ 1. ขั้นก่อนการวิเคราะห์ (Pre-Analysis) เป็นขั้นตอนแรกของการออกแบบการเรียนรู้แบบผสมผสาน ประกอบการพิจารณาข้อมูลทั่ว ๆ ไป ได้แก่ 1.1 การวิเคราะห์คุณสมบัติของผู้เรียน 1.2 การวิเคราะห์วัตถุประสงค์ในการเรียนรู้ 1.3 การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมของการเรียนรู้แบบผสมผสานผลลัพธ์ที่ได้จากขั้นตอนแรก จะเป็นรายงานผลที่จะนำไปใช้ในขั้นต่อไป 2. ขั้นการออกแบบกิจกรรมและการออกแบบวัสดุการเรียนรู้ (Design of Activity and Resources) เป็นขั้นตอนที่สองที่นำผลลัพธ์ที่ได้จากขั้นตอนแรกมาออกแบบกิจกรรมและวัสดุการเรียนรู้ ซึ่งจำแนกออกเป็น 3 ส่วนย่อย ๆ ได้แก่ 2.1 การออกแบบภาพรวมของการเรียนรู้แบบผสมผสาน ประกอบด้วย -กิจกรรมการเรียนรู้แต่ละหน่วยเรียน -กลยุทธ์การนำส่งบทเรียนในการเรียนรู้แบบผสมผสาน -ส่วนสนับสนุนการเรียนรู้แบบผสมผสาน -2.2 การออกแบบกิจกรรมแต่ละหน่วยเรียนประกอบด้วย -นิยามผลการกระทำของผู้เรียน -กิจกรรมในแต่ละวัตถุประสงค์ -การจัดกลุ่มของกิจกรรมทั้งหมด -การประเมินผลในแต่ละหน่วยเรียน 3 การออกแบบและพัฒนาวัสดุการเรียนรู้ประกอบด้วย -การเลือกสรรเนื้อหาสาระ -การพัฒนากรณีต่าง ๆ -การนำเสนอผลการออกแบบและการพัฒนาผลที่ได้จากขั้นตอนที่สอง จะเป็นรายละเอียดของการออกแบบบทเรียนในแต่ละส่วน 3. ขั้นการประเมินผลการเรียนการสอน (Instructional Assessment) เป็นขั้นตอนสุดท้ายในการออกแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานประกอบด้วย .1 การประเมินผลขั้นตอนการเรียนรู้ 3.2 การจัดการสอบตามหลักสูตร 3.3 การประเมินผลกิจกรรมทั้งหมดผลที่ได้จากขั้นตอนสุดท้าย จะนำไปพิจารณาตรวจปรับกระบวนการออกแบบในแต่ละขั้นที่ผ่านมาทั้งหมด เพื่อให้การเรียนรู้แบบผสมผสานมีประสิทธิภาพและเกดประสิทธิผลกับผู้เรียนอย่างแท้จริง ขั้นตอนการออกแบบการเรียนรู้แบบผสมผสาน การเรียนรู้แบบผสมผสานมีสิ่งต่างๆจะต้องพิจารณา ดังนี้ 1. เพิ่มทางเลือกของวิธีการนำส่งการเรียนรู้ไปยังผู้เรียนให้มีความหลากหลายมากขึ้น จะเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับผู้ออกแบบ 2. เกณฑ์การตัดสินความสำเร็จในการเรียนรู้แบบผสมผสานไม่ได้มีเพียงเกณฑ์เดียว เช่น รูปแบบการเรียนรู้และวิธีการเรียนรู้ ซึ่งสามารถนำมาพิจารณาร่วมกันได้ 3. การออกแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานจะต้องพิจารณาประเด็นของความเร็วในการเรียนรู้ ขนาดของผู้เรียน และการสนับสนุนช่วยเหลือผู้เรียน 4. สภาพแวดล้อมทางการเรียนของผู้เรียน จะมีความแตกต่างกันเป็นธรรมชาติซึ่งการจัดการเรียนรู้จะต้องสนับสนุนให้ผู้เรียนบรรลุตามวัตถุประสงค์เป็นสำคัญ 5. หน้าที่ของผู้เรียน จะต้องศึกษาและค้นพบตัวเอง เพื่อสร้างสรรค์ความรู้ตามศักยภาพของตนเอง 6. การออกแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานต้องการทีมงานออกแบบที่มีความรู้เรื่องการปรับปรุงด้านธุรกิจด้วยเช่นกัน กรณี - การเรียนการสอนทางไกลของ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (มสธ) ถือว่าเป็นการเรียนการสอนแบบผสมผสานเช่นกัน คอร์สการเรียนภาษาอังกฤษทางไกล ของ แอนดรูส์ บิ๊ก ที่ใช้ระบบ(Bkended Learning for Distance Learning) ซึ่งสามารถสอนนักเรียนพร้อมกันทีเดียวได้เป็นพันคน 3. ประโยชน์ ข้อดี และข้อเสีย ประโยชน์ ข้อดี 1. แบ่งเวลาเรียนอย่างอิสระ 2. เลือกสถานที่เรียนอย่างอิสระ . เรียนด้วยระดับความเร็วของตนเอง 4. สื่อสารอย่างใกล้ชิดกับครูผู้สอน 5. การผสมผสานระหว่างการเรียนแบบดั้งเดิมและแบบอนาคต 6. เรียนกับสื่อมัลติมีเดีย 7. เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง Child center 8. ผู้เรียนสามารถมีเวลาในการค้นคว้าข้อมูลมาก สามารถวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลได้อย่างดี 9. สามารถส่งเสริมความแม่นยำ ถ่ายโอนความรู้จากผู้หนึ่งไปยังผู้หนึ่งได้ สามารถทราบผลปฏิบัติย้อนกลับได้รวดเร็ว (กาเย่) 10. สร้างแรงจูงใจในบทเรียนได้(กาเย่) 11. ให้แนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้(กาเย่) 12. สามารถทบทวนความรู้เดิม และสืบค้นความรู้ใหม่ได้ตลอดเวลา (กาเย่) 13. สามารถหลีกเลี่ยงสิ่งที่รบกวนภายในชั้นเรียนได้ ทำให้ผู้เรียนมีสมาธิในการเรียน 14. ผู้เรียนมีช่องทางในการเรียน สามารถเข้าถึงผู้สอนได้ 15. เหมาะสำหรับผู้เรียนที่ค่อนข้างขาดความมั่นใจในตัวเอง 16. ใช้ในบริษัท หรือองค์กรต่างๆ สามารถลดต้นทุนในการอบรม สัมมนาได้ ข้อเสีย 1. ไม่สามารถแสดงความคิดเห็น หรือถ่ายทอดความคิดเห็นอย่างรวดเร็ว 2. มีความล่าช้าในการปฏิสัมพันธ์ 3. การมีส่วนร่วมน้อย โดยผู้เรียนไม่สามารถมีส่วนร่วมทุกคน 4. ความไม่พร้อมด้าน ซอฟแวร์ Software บางอย่างมีราคาแพง (ของจริง) 5. ใช้งานค่อนข้างยาก สำหรับผู้ไม่มีความรู้ด้าน ซอฟแวร์ Software 6. ผู้เรียนบางคนคิดว่าไม่คุ้มค่าต่อการลงทุน เพราะราคาอุปกรณ์ค่อนข้างสูง 7. ผู้เรียนต้องมีความรู้ ความเข้าใจด้านการใช้งานคอมพิวเตอร์ เพื่อเข้าถึงข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต 8. ผู้เรียนต้องมีความรับผิดชอบต่อตนเองอย่างสูง ในการเรียนการสอนแบบนี้ 9. ความแตกต่างของผู้เรียนแต่ละคนเป็นอุปสรรคในการเรียนการสอนแบบผสมผสาน 10. สภาพแวดล้อมไม่เหมาะสมในการใช้เครือข่าย หรือระบบอินเทอร์เน็ต เกิดปัญหาด้านสัญญาณ 11. ขาดการปฏิสัมพันธ์แบบ face to faec (เรียลไทม์) ความเป็นไปได้ในการไปใช้งานจริงของ Blened Learning การเรียนการสอนแบบผสมผสาน 1. มีการเปลี่ยนแปลงไปสู่ยุค ICT ทำให้มีการเรียนรู้ที่หลากหลายวิธี เช่น 2 วิธี หรือมากกว่านั้นได้ 2. ดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้ e-Learning 3. สามารถนำไปใช้ได้จริงในสถานศึกษา เช่น โรงเรียน หรือมหาวิทยาลัย รวมไปถึง บริษัท องค์กร ต่าง ๆ เพื่อประหยัดงบประมาณและต้นทุน 4. เป็นไปได้หรือไม่ในการนำไปใช้งานได้จริงขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม ความเหมาะสมขององค์ประกอบในการจัดการเรียนการสอน อุปกรณ์ ผู้เรียน และผู้สอน ที่มา : http://bunmamint10.blogspot.com/

วันจันทร์ที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2557

การพัฒนาระบบสารสนเทศการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา

การพัฒนาระบบสารสนเทศการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาโรงเรียนบ้านบักดอก
อำเภอปราสาท  จังหวัดสุรินทร์
Developing the Information System of Internal Quality Assurance ,Bakdok school, Prasat DistrictSurin Province
พิมพ์ขวัญ  งามศิริ,1 จุฑาพร  บุญวรรณ  2
Pimkwan Ngamsiri,1  Juthaporn Boonwan2
1นิสิตระดับปริญญาโทสาขาการบริหารการศึกษาคณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
2อาจารย์ดร. ที่ปรึกษาการศึกษาค้นคว้าอิสระ
1students graduate degree in Educational Administration, Faculty of Education, Mahasarakham University.
 
2Dr. Advisor Independent Study.


บทคัดย่อ

             การดำเนินการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของโรงเรียนบ้านบักดอก อำเภอปราสาท  จังหวัดสุรินทร์  ให้มีประสิทธิภาพ โดยใช้หลักการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ตามกรอบกระบวนการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาตามวงจรการพัฒนาระบบสแตร์ 5 กรอบกลยุทธ์ที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ได้แก่  การประชุมเชิงปฏิบัติการ และการนิเทศภายใน กลุ่มผู้ร่วมศึกษาค้นคว้าและผู้ให้ข้อมูลจำนวน 12 คนได้แก่ กลุ่มผู้ร่วมศึกษาค้นคว้า จำนวน 11 คน และกลุ่มผู้ให้ข้อมูล จำนวน 1 คน ประกอบด้วยผู้ศึกษาค้นคว้า   ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านบักดอก   ครูโรงเรียนบ้านบักดอก   จำนวน  8  คนครูหัวหน้างานด้านการประกันคุณภาพ  จำนวน 1 คน  ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้ที่มีความรู้และเชี่ยวชาญทางด้านระบบสารสนเทศการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา จำนวน 1 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่  แบบบันทึกการประชุมเชิงปฏิบัติการ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง แบบสังเกตแบบมีโครงสร้าง แบบบันทึกการนิเทศภายใน แบบประเมินการใช้โปรแกรมและแบบวัดความพึงพอใจ ตรวจสอบข้อมูลด้วยวิธีการสามเส้า วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพจากเอกสารเชิงปริมาณใช้สถิติพื้นฐานค่าเฉลี่ย นำเสนอผลการศึกษาค้นคว้า ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยตารางและข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยวิธีพรรณนา
           ผลการศึกษาค้นคว้า พบว่า การพัฒนาระบบสารสนเทศการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาโรงเรียนบ้านบักดอก อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ ทำให้ได้ระบบสารสนเทศการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของโรงเรียนบ้านบักดอก อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ ที่มีประสิทธิภาพรวดเร็วสมบูรณ์เป็นปัจจุบันและสืบค้นง่าย

คำสำคัญ : การพัฒนาระบบสารสนเทศ, การประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา,
              การวิจัยเชิงปฏิบัติการ

ABSTRACT

             
The purpose of this study is to develop Information system development  quality assurance ,Banbakdok school, Prasat DistrictSurin Province. To be effective. Using action research principles. By the process development cycle, quality assurance in education by developing a Terre five strategic framework for the study of this question. Workshop. And Supervision. Study group participants and contributors in 12 patients, including a study group of 11 people and the number one people comprised the study. Banbakdok school,  director. School teacher at Banbakdok school, 8 teachers, supervisors, quality assurance 1 person contributors include people with knowledge and expertise in information systems and quality assurance study of one of the instruments used to collect data. question. Form workshop. A structured interview. Structured observation. Supervision records. Evaluating the use and satisfaction. To check the data centers. Quantitative analysis of qualitative data from the statistics, the average. Present study. Quantitative data with qualitative data with tables and descriptive.
           The study found that the development of information systems for quality assurance in education,
Banbakdok school, Prasat DistrictSurin Province .Make information systems for quality assurance in education of the Banbakdok school, Prasat DistrictSurin Province. Powerful, fast, complete, current, and easily searched.

Key words:   Information systems development, Quality assurance in education,.
     Action research.

บทนำ
              การปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ.๒๕๕๒-๒๕๖๑) มุ่งเน้นเป้าหมายหลักคือการพัฒนาคุณภาพการศึกษาการพัฒนาคุณภาพการศึกษาจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องบริหารจัดการในเชิงคุณภาพโดยมีการประกันคุณภาพการศึกษาเป็นกลไกลสำคัญที่จะส่งเสริมและผลักดันให้กระบวนการทำงานในทุกระดับและบุคลากรที่เกี่ยวข้องดำเนินไปอย่างต่อเนื่องเป็นระบบมุ่งหน้าไปในทิศทางเดียวกันเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของการปฏิรูปการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพโดยอาศัยหลักการวิธีการบริหารและการจัดการเชิงคุณภาพ (Quality Management) สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพุทธศักราช 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่2) พุทธศักราช 2545กำหนดไว้ในหมวด 6 มาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษามาตรา 47 ให้มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาทุกระดับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ..2542 ได้กำหนดไว้ชัดเจนในหมวด6 เรื่องมาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษามาตรา47ว่าให้มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา (กระทรวงศึกษาธิการ.2553 : 1-3 )
           ดังนั้นการประกันคุณภาพการศึกษาจึงเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้เกี่ยวข้องทุกคนจะได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพจากสถานศึกษาซึ่งเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบและพัฒนาความรู้ความสามารถและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามมาตรฐานการศึกษาที่กำหนดในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างเต็มศักยภาพสอดคล้องกับมาตรา 48 ระบุว่า การประกันคุณภาพภายในเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการการจัดการศึกษาที่สถานศึกษาต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องสถานศึกษาถือเป็นหน่วยงานที่สำคัญอย่างหนึ่งที่มีความรับผิดชอบโดยตรงต่อการจัดการศึกษาการนำข้อมูลจากสถานศึกษาไปใช้เพื่อการบริการหรือการปฏิบัติงานการจัดการศึกษาจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่สถานศึกษาจะต้องมีระบบสารสนเทศซึ่งประกอบด้วยสารสนเทศที่สมบูรณ์เป็นปัจจุบัน สะดวกรวดเร็ว เรียกใช้ง่ายทันสมัยมีข้อมูลเป็นปัจจุบันครอบคลุมทุกตัวชี้วัดในแต่ละมาตรฐานคุณภาพการศึกษาที่กำหนดจึงเป็นการส่งเสริมให้โรงเรียนสามารถพัฒนาคุณภาพได้ตามมาตรฐานที่กำหนดอันจะนำไปสู่การได้รับรองคุณภาพตามระบบประกันคุณภาพการศึกษาภายนอกรอบต่อไป (กระทรวงศึกษาธิการ.2553 : 4-6 )
            จุดมุ่งหมายของการพัฒนาระบบสารสนเทศการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาคือการที่สถานศึกษาร่วมกันพัฒนาปรับปรุงคุณภาพให้เป็นไปตามมาตรฐานการศึกษาโดยเป้าหมายที่สำคัญอยู่ที่การพัฒนาคุณภาพให้เกิดขึ้นกับผู้เรียนระบบสารสนเทศการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารจัดการและการทำงานของบุคลากรทุกคนในสถานศึกษาโดยสถานศึกษาจะต้องวางแผนพัฒนาและแผนปฏิบัติการที่มีเป้าหมายชัดเจนทำตามแผนสามารถตรวจสอบประเมินผลและพัฒนาปรับปรุงระบบสารสนเทศอย่างต่อเนื่องมีความโปร่งใสและมีจิตสำนึกในการพัฒนาคุณภาพการทำงาน ในปัจจุบันระบบสารสนเทศมีความสำคัญและความจำเป็นอย่างยิ่งในการดำเนินงานของหน่วยงานต่างๆไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานรัฐบาลหรือเอกชนโดยอาศัยกระบวนข้อมูลข่าวสารที่มีอยู่มาจัดการบริหารโดยใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการดำเนินงานประหยัดทั้งเวลางบประมาณและบุคลากรที่มีจำนวนจำกัดระบบสารสนเทศการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาเพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาโรงเรียนบ้านบักดอก อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) เพื่อให้การจัดการมีข้อมูลสารสนเทศการประกันคุณภาพการศึกษาภายในโรงเรียนอย่างเป็นระบบถูกต้องมีประสิทธิภาพรวดเร็วสมบูรณ์เป็นปัจจุบันและสืบค้นง่ายโดยนำระบบดังกล่าวมาใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนส่งผลให้ผู้เรียนมีความรู้ตามมาตรฐานคุณภาพการศึกษาช่วยให้บุคลากรในสถานศึกษาได้เข้าใจและมีความตระหนักถึงประโยชน์ของการประกันคุณภาพได้อย่างชัดเจนและถูกต้องสามารถวางแผนการดำเนินงานในการพัฒนาปรับปรุงคุณภาพการศึกษาต่อไป (แนวทางการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. 2553 : 19-21 )
                       
การดำเนินการศึกษาค้นคว้า
               การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้  ใช้หลักการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) ตามแนวคิดของ เคมมิส และแม็กแท็กการ์ท ( Kemmis  and  McTaggart. 1988 : 14 ) โดยดำเนินการตามขั้นตอน 4 ขั้นตอน ดังนี้  1)  การวางแผน ( Planning 2)  การปฏิบัติ ( Action ) 3) การสังเกต
( Observation )  4) การสะท้อนผล ( Reflection)

เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า
                         เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ ได้แก่ แบบบันทึกการประชุมเชิงปฏิบัติการ แบบบันทึกการนิเทศภายใน  แบบสังเกตแบบมีโครงสร้าง แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างแบบประเมินการใช้โปรแกรม และแบบวัดความพึงพอใจ

การจัดกระทำและการวิเคราะห์ข้อมูล
           1.  ข้อมูลสภาพปัจจุบันปัญหาของระบบสารสนเทศตามมาตรฐานการศึกษา 5 ด้าน 15 มาตรฐาน 65 ตัวบ่งชี้โดยใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล จากการดำเนินการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อศึกษาระบบสารสนเทศการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาโดยใช้วิธีการสังเกตแบบมีโครงสร้างการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างและการบันทึกการประชุมเชิงปฏิบัติการ
           2. ข้อมูลจากการวิเคราะห์ระบบเพื่อวิเคราะห์จุดแข็งจุดอ่อน วิธีแก้ไขปัญหาและนำข้อมูลไปจัดทำข้อมูลระบบสารสนเทศตามมาตรฐานการศึกษาจากการดำเนินการประชุมเชิงปฏิบัติการโดยใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการจากการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างและการบันทึกการประชุมเชิงปฏิบัติการ
               3. ข้อมูลจากการออกแบบระบบเพื่อให้ได้โปรแกรมการพัฒนาระบบสารสนเทศการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาตามมาตรฐานการศึกษา 5 ด้าน 15 มาตรฐาน 65 ตัวบ่งชี้จากการดำเนินการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อการออกแบบระบบโดยใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการจากการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง การสังเกตแบบมีโครงสร้าง การบันทึกการประชุมเชิงปฏิบัติการและการประเมินการใช้โปรแกรม
           4. ข้อมูลจากการนำระบบไปใช้เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจความสามารถและมีทักษะในการใช้โปรแกรมการพัฒนาระบบสารสนเทศการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาจากการดำเนินการนิเทศภายในโดยผู้เชี่ยวชาญด้านโปรแกรมจากภายในโรงเรียนบ้านบักดอกทำหน้าที่คอยช่วยเหลือให้คำแนะนำปรึกษาด้านการใช้โปรแกรมในการกรอกข้อมูลโดยใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง การสังเกตแบบมีโครงสร้างการบันทึกการนิเทศภายใน การประเมินการใช้โปรแกรมและการวัดความพึงพอใจ
           5. ข้อมูลจากการดูแลรักษาและตรวจสอบระบบเพื่อให้เข้าใจขั้นตอนและวิธีการดูแลรักษา การตรวจสอบระบบและป้อนข้อมูลให้ใช้งานได้จากการดำเนินการนิเทศภายในโดยผู้เชี่ยวชาญด้านโปรแกรมจากภายในโรงเรียนบ้านบักดอกโดยใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และการบันทึกการนิเทศภายใน
           6.  นำผลการศึกษาค้นคว้าไปหาข้อสรุปและปรับปรุงเป็นข้อมูลในการพัฒนาระบบ
สารสนเทศการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาโรงเรียนบ้านบักดอกมาจัดหมวดหมู่ข้อมูลตามขอบเขตการศึกษาค้นคว้า แล้วสรุปผลการศึกษาค้นคว้าและเขียนรายงาน


ผลการศึกษาค้นคว้า
           การศึกษาค้นคว้าในครั้งนี้ ได้ดำเนินงานตามกระบวนการพัฒนาระบบ 5 ขั้นตอน ได้แก่
การศึกษาระบบ การวิเคราะห์ระบบ การออกแบบระบบ การนำระบบไปใช้ และการดูแลรักษาและตรวจสอบระบบ โดยใช้กลยุทธ์ในการพัฒนา ได้แก่ การประชุมเชิงปฏิบัติการ และการนิเทศภายใน
สามารถสรุปผลได้ดังนี้
            1. ขั้นตอนการศึกษาระบบ ปรากฏว่า ได้ทราบถึงสภาพปัญหาการพัฒนาระบบสารสนเทศการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาโรงเรียนบ้านบักดอกตามมาตรฐานการศึกษา 5 ด้าน 15 มาตรฐาน 65 ตัวบ่งชี้ระบบสารสนเทศการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาในด้านต่างๆ ยังไม่เป็นระบบ ข้อมูลสารสนเทศไม่มีประสิทธิภาพ ล่าช้า ไม่มีการสรุปและนำไปใช้ได้ตามต้องการ ข้อมูลอ้างอิงเกณฑ์มาตรฐานการศึกษาไม่สอดคล้องกันและไม่เป็นปัจจุบันปัญหาที่พบมากคือ ขาดผู้รับผิดชอบ ข้อมูลไม่สมบูรณ์ไม่ตรงประเด็นตามตัวบ่งชี้และขาดความเป็นปัจจุบันมีการประมวลผลด้วยมือ แฟ้มงานกระจัดกระจายตามกลุ่มงานต่าง ๆ  จำเป็นต้องมีการปรับปรุงแก้ไขเป็นการด่วน
           2. ขั้นตอนการวิเคราะห์ระบบ ปรากฏว่าการวิเคราะห์ระบบทำให้ทราบจุดอ่อนจุดแข็งของงานสารสนเทศการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนอย่างแท้จริงจุดแข็งของการพัฒนาระบบสารสนเทศการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาโรงเรียนบ้านบักดอกโรงเรียนได้ดำเนินการจัดทำโครงการต่อเนื่องที่ตรงกับตัวบ่งชี้ตามราย มาตรฐาน และแบ่งหน้าที่บุคลากรรับผิดชอบแต่ละมาตรฐานจุดอ่อน ของระบบ คือการรวบรวมและสรุปข้อมูลความสำคัญและความจำเป็นในการใช้ข้อมูลแต่ละประเภท การนำมาใช้ได้ยังไม่เป็นปัจจุบันและทันต่อเหตุการณ์
           3. ขั้นการออกแบบระบบ กลุ่มผู้ร่วมศึกษาค้นคว้าทุกคนให้ความสนใจเป็นอย่างดี เห็นความสำคัญในการออกแบบโปรแกรมการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาให้มีความถูกต้องสมบูรณ์ เป็นปัจจุบัน สะดวกรวดเร็วในการสืบค้นสามารถเรียกใช้ได้ทันที มีความทันสมัย เป็นระบบสามารถนำเข้าข้อมูลและจัดเก็บข้อมูลสะดวกรวดเร็วทั้ง 5 ด้าน 15 มาตรฐาน 65 ตัวบ่งชี้ โปรแกรมเป็นระบบกึ่งอัตโนมัติออกแบบจากโปรแกรม Microsoft Office Excel ในการประเมินมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาที่มีคู่มือในการใช้งานที่เข้าใจง่าย
          4. ขั้นตอนการนำระบบไปใช้ ปรากฏว่า การใช้ระบบเดิมร่วมกับระบบใหม่ทำให้ได้ข้อมูลสารสนเทศตรงกับความต้องการของผู้ใช้ ระบบใหม่ใช้การประมวลผลอย่างเป็นรูปแบบ ผู้รับผิดชอบหรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง สามารถศึกษาการใช้งานและปฏิบัติงานได้ ทำให้การปฏิบัติงานระบบประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ได้ข้อมูลสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพและเหมาะสมยิ่งขึ้นจากผลการประเมินความเหมาะสมด้านเนื้อหาของโปรแกรมการพัฒนาระบบสารสนเทศการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาตามมาตรฐานการศึกษา 5 ด้าน 15 มาตรฐานของโรงเรียนบ้านบักดอก  ปรากฏว่า ผลการประเมินการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อการพัฒนาระบบสารสนเทศการพัฒนาการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาโดยกลุ่มผู้ร่วมศึกษาค้นคว้าและผู้ให้ข้อมูล ค่าเฉลี่ยโดยรวม 4.46 มีระดับความเหมาะสมมาก         
            5.  ขั้นตอนการดูแลรักษาและการตรวจสอบระบบ ปรากฏว่า กลุ่มผู้ร่วมศึกษาค้นคว้ามีความรู้ความเข้าใจขั้นตอนและวิธีการดูแลรักษาการตรวจสอบระบบและป้อนข้อมูลให้ใช้งานได้ การจัดระบบบริหารและสารสนเทศมีความจำเป็นอย่างมากในปัจจุบัน การดำเนินงานมีจัดเก็บและรวบรวมข้อมูลเป็นระบบมากขึ้นมีการพัฒนาที่ดีขึ้น มีผู้รับผิดชอบชัดเจนโดยมีการแต่งตั้งผู้รับผิดชอบดูแลรักษาโปรแกรม กำหนดวิธีการป้องกันรักษาข้อมูลโดยการจัดเก็บเป็นไฟล์ต่างๆเพื่อไม่ให้ข้อมูลในระบบสูญหายเมื่อต้องการเรียกใช้งานใหม่ทุกครั้งการตรวจสอบการใช้ระบบจะต้องมีการกำหนดระยะเวลาในการตรวจสอบให้ชัดเจน รวมถึงการป้องกันไวรัสและสำรองข้อมูลทุก 2 เดือนและการตรวจสอบระบบควรให้ครอบคลุมในเรื่อง การจัดเก็บข้อมูลตรงตามต้องการ การทำงานของระบบมีประสิทธิภาพ การปรับปรุงแก้ไข และพัฒนาระบบให้สามารถใช้งานได้ดีตลอดเวลาแต่ยังมีกลุ่มผู้ร่วมศึกษาบางคนที่ยังไม่เกิดความชำนาญในการใช้ระบบ และต้องได้รับการพัฒนาในวงรอบที่ 2 ต่อไป
              จากผลการดำเนินงานตามกระบวนการพัฒนาในวงรอบที่ 2 การพัฒนาระบบสารสนเทศการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาผู้ศึกษาค้นคว้าและกลุ่มผู้ร่วมศึกษาค้นคว้าได้พัฒนาตามกลยุทธ์การประชุมเชิงปฏิบัติการ การนิเทศภายใน พบว่า การดำเนินการในวงรอบที่ 2 ขั้นการนำระบบไปใช้ ปรากฏว่า กลุ่มผู้ร่วมศึกษาค้นคว้า มีความสามารถและทักษะสามารถใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการจัดเก็บข้อมูลได้ และเข้าใจระบบสารสนเทศการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาได้อย่างถูกต้อง ชัดเจนขึ้นมากและมีทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ดีขึ้น สามารถลงมือปฏิบัติได้จริง ป้อนข้อมูล การเรียกใช้ข้อมูลได้รวดเร็วและถูกต้องผลการประเมินการใช้โปรแกรมโดยกลุ่มผู้ร่วมศึกษาและกลุ่มผู้ให้ข้อมูลมีระดับความเหมาะสมมากที่สุดและผู้เชี่ยวชาญด้านโปรแกรมมีระดับความเหมาะสมมากที่สุดและผลการวัดความพึงพอใจในการใช้โปรแกรมมีระดับความพึงพอใจมากที่สุด ขั้นการดูแลรักษาและตรวจสอบระบบปรากฏว่าครูมีความเข้าใจขั้นตอนและวิธีการดูแลรักษาระบบและป้อนข้อมูลให้ใช้งานได้ตรงตามกำหนดมีผลสะท้อนในการพัฒนา ดังนี้ 1) ครูมีความสามารถใช้งานโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา 2) ครูสามารถกรอกข้อมูลได้ถูกต้องและส่งตรงตามกำหนดเวลา
           จากผลการพัฒนาระบบสารสนเทศการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาทั้ง 2 วงรอบ ทำให้ผู้ศึกษาค้นคว้าและผู้ร่วมศึกษาค้นคว้าสามารถใช้ระบบสารสนเทศการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาได้ดี ทำให้โรงเรียนบ้านบักดอกมีระบบสารสนเทศการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาที่ครอบคลุม มีความทันสมัย การจัดเก็บและการประมวลผลได้ถูกต้อง สะดวกในการใช้งานและรวดเร็วในการให้บริการ ส่งผลให้การบริการข้อมูลและสารสนเทศของโรงเรียนเป็นระบบที่ทันสมัย รวดเร็ว และสามารถเรียกใช้ได้ทันเวลาและทุกเวลา ทุกสถานที่ การนำระบบกึ่งอัตโนมัติมาใช้ในการบริหารงานด้านระบบสารสนเทศการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาทำให้ข้อมูลสารสนเทศมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผลอีกทั้งสารสนเทศที่ได้จากระบบมีความถูกต้อง สมบูรณ์ เป็นปัจจุบันและเรียกใช้ได้สะดวกมากขึ้น



อภิปรายผล


           การพัฒนาระบบสารสนเทศการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา โรงเรียนบ้านบักดอก อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ โดยใช้กลยุทธ์ในการพัฒนา คือ การประชุมเชิงปฏิบัติการ การนิเทศภายใน ทำให้การจัดเก็บข้อมูลเป็นระบบ มีความถูกต้องสมบูรณ์และเป็นปัจจุบัน สามารถนำมาวางแผนพัฒนาโรงเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ การตัดสินใจ การเรียกใช้ข้อมูล ทำได้สะดวกรวดเร็วตรงตามความต้องการของผู้ใช้ สอดคล้องกับงานวิจัยของ ณิรัชกร ทองน้อย (2550 : 148-149) ได้ศึกษาการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการประกันคุณภาพการศึกษา โรงเรียนบ้านเปลือย (สามัคคีราษฎร์ประสิทธิ์) ทั้งมาตรฐานด้านคุณภาพผู้เรียน มาตรฐานด้านการเรียนการสอน มาตรฐานด้านการบริหารและการจัดการศึกษาและมาตรฐานด้านการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ ข้อมูลยังเป็นระบบไม่เป็นปัจจุบันไม่สมบูรณ์ และข้อมูลยังเก็บไว้กับเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบเป็นส่วนใหญ่ ทำให้ไม่สะดวกในการสืบค้นข้อมูล พบว่า ได้ระบบสารสนเทศเพื่อการประกันคุณภาพการศึกษาที่มีการประมวลผลโดยใช้โปรแกรม Microsoft Access ทำให้สารสนเทศเพื่อการประกันคุณภาพการศึกษามีความถูกต้องสมบูรณ์ เป็นปัจจุบัน และสืบค้นได้ง่ายขึ้น และวีระศักดิ์ ตะหน่อง ( 2550 :  147-150 ) ได้ศึกษาการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาด้านการรายงานคุณภาพการศึกษาประจำปีโรงเรียนดอนตาลดงบังวิทยา อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี พบว่า การพัฒนาระบบการพัฒนางานประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาด้านการรายงานคุณภาพการศึกษาประจำปีโรงเรียนดอนตาลดงบังวิทยา ก่อนการพัฒนาโรงเรียนมีการเก็บรวบรวมข้อมูลพัฒนาคุณภาพการศึกษาแต่ยังไม่ครอบคลุมมีวิธีการเก็บที่ไม่เป็นระบบมีการจัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์ในการประชุมเชิงปฏิบัติการและการนิเทศภายใน พบว่า โรงเรียนมีระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ด้านการรายงานคุณภาพการศึกษาประจำปี ที่ถูกต้อง สมบูรณ์เป็นปัจจุบัน ในด้านระบบการจัดทำรายงานใช้กลยุทธ์การประชุมแบบมีส่วนร่วมอย่างสร้างสรรค์ ยังมีจุดอ่อน คือต้องปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่องและต้องมีการพัฒนาผู้ปฏิบัติงานเพื่อให้มีการพัฒนาระบบงานการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาด้านการรายงานคุณภาพการศึกษาประจำปีให้มีประสิทธิภาพ การใช้ระบบสารสนเทศการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษายังช่วยการจัดการเรียนการสอนได้ดีอีกด้วย สอดคล้องกับงานวิจัยของ สุนีย์ สอนตระกูล. (2550 : 63-65)  ได้ศึกษาการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในโรงเรียนรัตนาธิเบศร์ พบว่า ระบบการประกันคุณภาพภายในโรงเรียนรัตนาธิเบศร์ เป็นระบบที่สามารถนำมาใช้ในการเรียนการสอนตามปกติโดยได้จัดทำคู่มือครูในการประกันคุณภาพภายในเพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงาน และเพื่อให้บุคลากรในโรงเรียนมีความเข้าใจตรงกัน มีความสะดวกในการรวบรวมข้อมูล สะดวกในการวิเคราะห์ข้อมูล มีการประสานงานกันอย่างเป็นระบบ มีระบบการนิเทศติดตาม และให้คำแนะนำ และจากการได้ศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับระบบการประกันคุณภาพจากเอกสารต่างๆ ได้  การจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการแต่ละครั้งต้องมีขั้นตอนการวางแผนอย่างมีระบบ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและการแก้ไขปัญหาร่วมกัน ดำเนินการไปในทิศทางเดียวกัน งานจึงจะเกิดการพัฒนาที่รวดเร็วได้ สอดคล้องกับงานวิจัยของ สิทธิชัย อาทิตย์ตั้ง (2550 : 90-93) ได้ศึกษาการพัฒนาระบบงานการประกันคุณภาพการศึกษาภายในโรงเรียนนาทมวิทยาเป็นการดำเนินงานที่ขาดการวางแผนอย่างเป็นระบบผู้ศึกษาค้นคว้าและผู้ร่วมศึกษาค้นคว้าได้ร่วมกันวิเคราะห์สภาพปัญหาการดำเนินการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาโดยศึกษาแผนพัฒนาคุณภาพให้เกิดการเข้าใจในการปฏิบัติร่วมกัน การวิเคราะห์ระบบโดยการประชุมเชิงปฏิบัติการ การนำระบบไปใช้และการดูแลตรวจสอบระบบโดยใช้กิจกรรมการนิเทศภายในผลการศึกษาค้นคว้าพบว่าการพัฒนาระบบงานการประกันคุณภาพทำให้ได้ระบบการพัฒนาที่มีคุณภาพ มีขั้นตอนการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นได้รับความรู้มีความสามารถที่จะทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพเกี่ยวกับการปฏิบัติงานตามระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในได้อย่างครบถ้วนถูกต้อง
           จากการใช้กลยุทธ์การประชุมเชิงปฏิบัติการ การนิเทศภายใน ในการพัฒนาระบบสารสนเทศการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา โรงเรียนบ้านบักดอก อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ นั้น สามารถอภิปรายผล ดังนี้
                1. การประชุมเชิงปฏิบัติการ เป็นการเน้นการร่วมกันทำงานเพื่อฝึกการแก้ปัญหาโดยผู้เข้าประชุมทุกคนจะต้องมีส่วนร่วมลงมือปฏิบัติ การประชุมลักษณะนี้มีเป้าหมายเพื่อให้ได้อะไรซักอย่างที่เป็นผลงานอย่างเป็นรูปธรรมเป็นผลสำเร็จออกไปเป็นที่ประจักษ์สอดคล้องกับหลักการประชุมเชิงปฏิบัติการของนาฏสุดา เขมนะศิริ (2542 : 63) ได้สรุปว่า การประชุมเชิงปฏิบัติการคือ การศึกษาปัญหาต่างๆ โดยหมู่คณะ ทำให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการปรับปรุงหน่วยงาน การดำเนินการประชุมตามขั้นตอนต่อไปนี้ 1) ศึกษาสภาพปัญหา 2) วิเคราะห์สาเหตุปัญหา 3) กำหนดจุดมุ่งหมายในการแก้ปัญหาและ 4) วิธีแก้ปัญหาและทางเลือก การประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้จึงทำให้รู้ว่าโรงเรียนบ้านบักดอกมีจุดแข็ง จุดอ่อนด้านระบบสารสนเทศการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ซึ่งจะต้องนำจุดแข็งจุดอ่อนมาปรับปรุงพัฒนาการจัดการข้อมูลได้ สามารถเรียกใช้ได้สะดวก รวดเร็ว มีประสิทธิภาพ
               2. การใช้กลยุทธ์การนิเทศภายใน โดยผู้ศึกษาค้นคว้าร่วมกับผู้ร่วมศึกษาค้นคว้าได้จัดกิจกรรมการนิเทศภายใน และประเมินผลการนำโปรแกรมระบบสารสนเทศการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาไปใช้ในการจัดเก็บข้อมูลให้ตรงตามความต้องการ เพื่อการทำงานของระบบมีประสิทธิภาพ สามารถรับทราบข้อมูลปัญหาการใช้ การเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อวางแผน กำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาและดำเนินการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ได้โปรแกรมที่สมบูรณ์และมีประสิทธิภาพมากที่สุด สอดคล้องกับผลงานวิจัยของชาตรี พิมพ์ชัย (2550 : 97 – 99) ได้ศึกษาการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการประกันคุณภาพการศึกษา โรงเรียนบ้านโนนจิก อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ พบว่า ได้ดำเนินการตามขั้นตอนการพัฒนาระบบ 5 ขั้นตอน คือ การศึกษาระบบ การวิเคราะห์ระบบ การออกแบบระบบ การใช้ระบบและการดูแลรักษาและตรวจสอบระบบ โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ คือ การวางแผน การปฏิบัติ การสังเกตและการสะท้อนผลการปฏิบัติทั้ง 2 วงรอบ ตามกรอบมาตรฐานการประกันคุณภาพ 18 มาตรฐาน 84 ตัวบ่งชี้นั้น ผู้ศึกษาผู้ร่วมศึกษา ผู้ให้ข้อมูล ผู้เชี่ยวชาญด้านการเขียนโปรแกรม ได้พยายามใช้กิจกรรม เพื่อให้เกิดความสัมพันธ์และสอดคล้องในการพัฒนาระบบสารสนเทศ จากสภาพปัจจุบัน ปัญหาการดำเนินการระบบสารสนเทศเพื่อการประกันคุณภาพการศึกษา พบว่า ไม่มีระบบสารสนเทศเพื่อการประกันคุณภาพการศึกษาที่เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ การจัดเก็บข้อมูลอยู่ในรูปเอกสารที่เป็นกระดาษ ระบบสารสนเทศด้านต่าง ๆ ที่ดำเนินการเกี่ยวกับการประกันคุณภาพ ตามกรอบงานยากต่อการสืบค้น ใช้เวลานาน ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่งานประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนไม่สามารถนำสารสนเทศที่มีอยู่ไปใช้ในการวางแผนดำเนินการและตัดสินใจที่จะพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา ใช้กิจกรรม 3 กิจกรรม คือการประชุมเชิงปฏิบัติการ การมอบหมายงานให้ปฏิบัติ และการนิเทศติดตาม เมื่อมีการพัฒนาโดยการสร้างประกันคุณภาพทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านผู้บริหาร ด้านครูผู้สอน และด้านนักเรียน ถูกเก็บไว้ในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นเครื่องมือกลที่มีประสิทธิภาพและเป็นที่ยอมรับในปัจจุบัน เป็นผลให้โรงเรียนมีระบบสารสนเทศที่ทันสมัย การค้นหาสะดวกรวดเร็ว นำสารสนเทศเพื่อการประกันคุณภาพการศึกษามาใช้อย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น เป็นที่ยอมรับจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสถานศึกษาทั่วไปสอดคล้องกับงานวิจัยของสุรัตน์ แสงสว่าง ( 2552: 121-124 ) การพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสำหรับสถาบันอุดมศึกษาของกองทัพไทยดำเนินการศึกษา 2 ระยะโดยระยะที่ 1 การศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการประกันคุณภาพและแหล่งข้อมูลบุคคลที่เลือกแบบเจาะจงเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสังเกตแบบมีส่วนร่วมการสัมภาษณ์ พบว่า ระบบการประกันคุณภาพภายในเน้นการรับตรวจจาก สมศ.ขาดขั้นตอนการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพตามอัตลักษณ์สถาบัน ผลการประเมินคุณภาพจากผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นด้วยกับการนำประโยชน์ไปใช้ให้มากที่สุดและเห็นว่าระบบประกันคุณภาพภายในจะทำให้นักเรียนทหารมีอุดมการณ์ ความรู้ ทักษะที่เกี่ยวข้องกับทหารและสมรรถนะที่เป็นที่ต้องการของทหารอาชีพ และการผลวิจัยของประสิทธิ์ พ้องเสียง ( 2553: 106 ) ได้ศึกษาการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในวิทยาลัยการอาชีพโพนทอง  อำเภอโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ดตามกรอบการศึกษา 3 ด้านคือ ด้านการเตรียมการ ด้านการดำเนินการและด้านการรายงานผลการปฏิบัติงาน โดยใช้หลักการวิจัยปฏิบัติการ ใช้วงจรการพัฒนาระบบ 5 ขั้นตอนของสแตร์  ใช้กลยุทธ์การประชุมเชิงปฏิบัติการ และการนิเทศภายใน เป็นกลยุทธ์ในการพัฒนาโดยดำเนินการ 2 วงรอบ ผลการศึกษาพบว่า การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในวิทยาลัยการอาชีพโพนทองอำเภอโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด โดยใช้กลยุทธ์การประชุมปฏิบัติการและการนิเทศ ทำให้ได้ระบบประกันคุณภาพการศึกษา บุคลากรมีความตระหนัก ความรู้ ความเข้าใจในระบบการประกันคุณภาพภายในวิทยาลัย จึงควรสนับสนุนส่งเสริมให้นำกลยุทธ์การประชุมเชิงปฏิบัติการและการนิเทศภายใน ไปใช้พัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ในสถานศึกษาอื่นๆ


ข้อเสนอแนะ

            1. ข้อเสนอแนะในการนำผลการศึกษาค้นคว้าไปใช้
                1.1 ควรมีการขยายผลการดำเนินการพัฒนาบุคลากรในการประชุมเชิงปฏิบัติการและประชาสัมพันธ์ให้ครูทุกคนมาใช้บริการให้ครบทุกคนเพื่อช่วยสร้างความตระหนักในคุณค่าและความสำคัญของการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาให้แก่ครู อาจารย์และบุคคลที่เกี่ยวข้อง
                1.2 ควรจัดให้มีการประชุมเชิงปฏิบัติการแก่บุคลากรอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ทันต่อยุคการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน
                1.3 ควรจัดให้ครูทุกคนได้รับผิดชอบแต่ละมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาร่วมกัน ทุกคนจะได้เห็นความสำคัญในงานของตนเองและโรงเรียนมากขึ้น
                1.4 ในการวางแผนพัฒนาโรงเรียนบ้านบักดอก ควรนำเอาข้อมูลสารสนเทศไปประกอบในการวางแผนทุกครั้ง
            2. ข้อเสนอแนะในการศึกษาค้นคว้าครั้งต่อไป
                2.1ควรพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของระบบสารสนเทศการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา
                2.2 ควรมีการพัฒนาระบบสารสนเทศการประกันคุณภาพอย่างต่อเนื่อง
                2.3 ควรศึกษาปัญหาการพัฒนาระบบสารสนเทศการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของโรงเรียนในภาพรวม เพื่อนำข้อมูลไปใช้วางแผนพัฒนาการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาและการดำเนินการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพต่อไป


เอกสารอ้างอิง

กรมวิชาการ. (2544). การประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
            ระบบการประกันคุณภาพการศึกษา กรอบและแนวคิดการดำเนินการ. กรุงเทพฯ :
             โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
_______. (2544). การประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
           แนวทางการจัดทำระบบสารสนเทศสถานศึกษา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภา.
_______. (2539). การพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศของสถานศึกษา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภา.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). การกำหนดมาตรฐานการศึกษา : สำนักทดสอบทางการศึกษา
           สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.
_______. (2553).การจัดระบบบริหารและสารสนเทศภายในสถานศึกษา : สำนักทดสอบทาง
           การศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
_______. (2553). แนวทางการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา :
           สำนักทดสอบทางการศึกษาสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
โกวัฒน์ เทศบุตร ดร. (2545). เอกสารประกอบการสอนวิชาการ 501807 การวิเคราะห์
            และการพัฒนาระบบงาน. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม : ภาควิชาการบริหารการศึกษา
            คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
_______. (2554). ทฤษฎีระบบและการประยุกต์ใช้: ภาควิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์
               มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
เกรียงศักดิ์ พราวศรี. (2544).การจัดระบบสารสนเทศในการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานเพื่อการ
           ประเมินคุณภาพการศึกษา. กรุงเทพฯ : บุ๊คพอยท์.
จิติมา เทียมบุญประเสริฐ. (2544). ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ. กรุงเทพฯ : วี.เจพริ้นติ้ง.
ชัยวัฒน์  ถิระพันธุ์ และปาริชาต สถาปิตานนท์ ดร. (2547).หนังสือ  การประชุมอย่างสร้างสรรค์” ,
              สืบค้น http://utcc.ac.th/el/kaewta/meeting.
ณิรัชกร ทองน้อย. (2550). การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการประกันคุณภาพการศึกษา โรงเรียน
           บ้านเปลือย (สามัคคีราษฎร์ประสิทธิ์) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาร้อยเอ็ด เขต 1.
           การศึกษาค้นคว้าอิสระ กศ.ม. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ดรุพร มณีวรรณ. (2554). การพัฒนาระบบสารสนเทศงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา
            ด้านปัจจัยทางการศึกษา โรงเรียนเทศบาลพลประชานุกูล อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น.
            กศ.ม. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ทิพวรรณ หล่อสุวรรณรัตน์. (2545). ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ. กรุงเทพฯ : สถาบันบัณฑิต
            พัฒนบริหารศาสตร์.
ประสิทธิ์ พ้องเสียง. (2553). การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในวิทยาลัยการอาชีพ
           โพนทอง  อำเภอโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด. กศ.ม.การบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัย
           มหาสารคาม.
ผุสดี ยืนชีวิต. (2551). การพัฒนาระบบสารสนเทศการประกันคุณภาพ ด้านการเรียนการสอน
           โรงเรียนมัธยมหนองศาลา อำเภอแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ. การศึกษาค้นคว้าอิสระ กศ.ม.
           มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
วีรศักดิ์ ตะหน่อง. (2550). การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาด้านการรายงาน
           คุณภาพ  การศึกษาประจำปีโรงเรียนดอนตาลดงบังวิทยา อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี.
            กศ.ม การบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สุนีย์ สอนตระกูล. (2550). การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในโรงเรียนรัตนาธิเบศร์.
           วิทยานิพนธ์ ค.ม. การบริหารการศึกษา:มหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม.
สุนีย์ เหมาะประสิทธิ์. (2540). การวิจัยเชิงปฏิบัติการ," วารสารศึกษาศึกษาศาสตร์. 2(2) : 136 ;
           เมษายน- กันยายน,
สุรัตน์ แสงสว่าง. (2552). การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในสำหรับสถาบันอุดมศึกษา
           กองทัพไทย ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. การประเมินการศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สิทธิชัย อาทิตย์ตั้ง. (2550). การพัฒนาระบบงานการประกันคุณภาพการศึกษาภายในโรงเรียนนาทม
           วิทยา. การศึกษาค้นคว้าอิสระ กศ.ม. การบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
อรุณศรี  เกษกร. (2554). การพัฒนาระบบสารสนเทศการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน
           สถานศึกษา โรงเรียนวังไม้แดงพิทยาคม อำเภอประทาย จังหวัดนครราชสีมา. การศึกษา
           ค้นคว้าอิสระ กศ.ม. การบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.