วันจันทร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2557

สถิติขั้นสูง

สถิติขั้นสูง
1. ไคสแควร์ (Chi-Square)
            เปรียบเทียบข้อมูลที่อยู่ในรูปความถี่หรือสัดส่วน เช่น เจตคติ คิดเห็น ความสนใจ การยอมรับ ไม่สามารถวัดเป็นค่าที่แน่นอนหรือเป็นตัวเลข จัดเป็นหมวดหมู่ได้ การทดสอบโดยใช้สถิติไม่อ้างอิงพารามิเตอร์ (Nonparametric Statistics) ซึ่งการทดสอบแบบไคสแควร์เป็นการทดสอบค่าสถิติในกลุ่มนอนพารา เมตริกที่เป็นสถิติที่ไม่มีเงื่อนไขเกี่ยวกับข้อตกลงเบื้องต้นว่าข้อมูลที่นามาทดสอบว่าจะต้องมีลักษณะ อย่างไร แต่จะมีประสิทธิภาพในการสรุปอ้างอิงข้อมูลในระดับที่ต่ำกว่าค่าสถิติในกลุ่มพาราเมตริก (สุชาดา บวรกิติวงศ์, 2548 : 169)
                     การทดสอบไคสแควร์ Chi-Square Test เป็นวิธีการทดสอบผลการศึกษาทดลองว่าคลาดเคลื่อนไปจากความถี่ที่คาดหวัง (หรือความถี่ที่ควรจะเป็น) มากน้อยเพียงใด การทดสอบจะบอกให้ทราบว่าตัวแปรทั้งสองที่มีข้อมูลปรากฏในตารางมีความเป็นอิสระต่อกันหรือไม่ แต่ผลของการทดสอบจะไม่ได้ระบุถึงระดับของความสัมพันธ์ของตัวแปรทั้งสอง ทราบเพียงแต่ว่ามีความสัมพันธ์กันหรือไม่เท่านั้น การทดสอบไคสแควร์ แบ่งออกได้ 3 ลักษณะ คือ
                     1. การทดสอบความกลมกลืน (The goodness of fit test) เป็นการทดสอบไคสแควร์ เพื่อศึกษาว่าการแจกแจงความถี่ของตัวแปรเป็นไปตามรูปแบบที่กำหนดไว้หรือไม่ โดยศึกษาจากตัวแปรเพียงตัวเดียว โดยการเปรียบเทียบระหว่างข้อมูลจากตัวแปรกับข้อมูลที่ได้จากความคาดหมายหรือจากทฤษฎีใด ๆ ว่ามีความสอดคล้องกันหรือไม่
                     2. การทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร (Test of Association) หรือ การทดสอบความเป็นอิสระ (Test of Independence) เป็นการทดสอบไคสแควร์ เพื่อศึกษาว่าตัวแปรต่าง ๆ สัมพันธ์กันหรือไม่ โดยศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรทีละคู่ ๆ ซึ่งตัวแปรแต่ละตัว อาจจำแนกออกเป็นหลายกลุ่มหรือหลายพวกที่แจกแจงอยู่ในตารางมิติต่าง ๆ เช่น 2 x 2, 3 x 2 หรือ 2 x 3 เป็นต้น             3. การทดสอบความเป็นเอกภาพ (Test of Homogeneity) การทดสอบความเป็นเอกภาพ หรือเรียกว่า การทดสอบความเป็นเอกพันธ์หรือการทดสอบความคล้ายคลึงกันของตัวแปร (Test of Homogeneity) เป็นการทดสอบความเหมือนกัน (หรือไม่แตกต่างกัน) ของตัว

วัตถุประสงค์
1.เพื่อทดสอบอัตราส่วน   
2.เพื่อทดสอบความสัมพันธ์
พื้นฐานทางสถิติ
            เก็บข้อมูลจากการสุ่มตัวอย่าง ข้อมูลในแต่ละเซลล์ควรมีค่ามากกว่า 5 ถ้าน้อยกว่าไม่ควรเกินร้อยละ 20 ถ้าละเมิดจะทำให้ผลสรุปผิดพลาด หลักการของการทดสอบมีว่า ผลรวมกำลังสองของค่าความแตกต่างระหว่างค่าสังเกต (Observed value) กับค่าคาดหวัง (Expected value) หารด้วยค่าคาดหวัง (Summation of (O-E)^2/E) ตามสูตรดังกล่าวสามารถทำการทดสอบกับข้อมูลชนิดตารางสองทาง (Contingency table หรือ 2 x 2 table) หรือตารางหลายทาง (r x c table)โดยมีข้อตกลงเบื้องต้นในการทดสอบเบื้องต้นดังนี้ ข้อมูลที่ใช้ในการทดสอบเป็นข้อมูลที่ได้จากการสุ่ม ข้อมูลจะถูกแจกแจงในกรณีต่างๆ ได้เพียงกรณีเดียวทั้งแถวและสดมภ์ ต้องมีค่าคาดหวังมากกว่าหรือเท่ากับ 5 ในกรณีที่ค่าคาดหวังน้อยกว่า 5 จะใช้ได้เมื่อค่าคาดหวังมีค่ามากกว่า 1 และน้อยกว่า 5 แต่ไม่เกินร้อยละ 20 ของ จำนวนแถวและสดมภ์ และในกรณีที่ค่าคาดหวังเกินมากกว่า 1 และน้อยกว่า 5 มากกว่าร้อยละ 20ให้ทำการรวมกลุ่มย่อยของตัวแปรที่มีลักษณะใกล้เคียงเข้าด้วยกัน
ขั้นตอนการใช้สถิติ
            ทดสอบสมมติฐานเกี่ยวกับค่าเฉลี่ย ค่าสัดส่วนหรือความแปรปรวนของประชาการ เป็นตัวเลขหรือข้อมูลเชิงปริมาณ อยู่ในระดับนามบัญญัติ (Nominal)
            จำแนกทางเดียว                                      -สัดส่วนของประชากร k กลุ่ม (K>2)
            -การแจกแจงของประชากร                       จำแนก 2 ทาง
            -การทดสอบความเป็นอิสระของลักษณะ 2 ลักษณะ เช่น เพศกับผลการเรียนมีความสัมพันธ์กันหรือไม่
                                      
จำแนกทางเดียว                                                              จำแนก 2 ทาง
.
ประโยชน์
1) เป็นการทดสอบความสัมพันธ์ (Test of association)
2) การทดสอบความเหมาะสมของ Model ทางสถิติในการวิเคราะห์ (Test of goodness of fit) และ
3) การทดสอบความแตกต่างหรือความเป็นอิสระ (Test of independence) ตัวแปรที่จะนำมาทดสอบนั้นต้องเป็นตัวแปรที่มีระดับการวัดแบบนามบัญญัติ (nominal scale) คือ ตัวแปรกลุ่มชนิดไม่ต่อเนื่อง (discrete)
              ขั้นตอนการทดสอบไคสแควร์ ทั้ง 3 ลักษณะ ได้แก่ การทดสอบความกลมกลืน การทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร และการทดสอบความเป็นเอกภาพ มีดังนี้
                     1. กำหนดสมมติฐานการวิจัย โดยจะต้องกำหนดสมมติฐานเป็นกลาง (H0) ไว้ว่า ไม่มีความแตกต่างระหว่างความถี่ที่ได้จากการศึกษา (O) กับ ความถี่ที่คาดหวังหรือความถี่ที่ควรจะเป็น (E) และกำหนดสมมติฐานตรงข้าม (H1) ไว้ว่า มีความแตกต่างกันระหว่างความถี่ทั้งสอง
                     2. หาค่าความถี่ที่คาดหวัง (หรือความถี่ควรจะเป็น) ตามหลักของความน่าจะเป็น โดยการแทนค่าในสูตรเพื่อหาค่า E แต่ละเซล จนครบทุกเซลตามขนาดมติของตาราง
                     3. คำนวณหาค่าไคสแควร์ (c2)
                     4. เปรียบเทียบค่าที่คำนวณได้กับค่าที่ได้จากตารางที่ระดับนัยสำคัญตามที่กำหนด
                     5. สรุปผลการทดสอบ ถ้าค่าที่คำนวณได้มีค่ามากกว่าค่าที่ได้จากตาราง แสดงว่าความแตกต่างของความถี่ที่ได้จากตัวแปรที่ศึกษา มีนัยสำคัญกับความถี่ที่คาดหวัง (หรือความถี่ที่ควรจะเป็น) นั่นคือ ยอมรับตามสมมติฐานตรงข้าม (H1) และปฏิเสธสมมติฐานเป็นกลาง (H0) แต่ถ้าไม่มีความแตกต่าง ก็จะเป็นการยอมรับสมมติฐานเป็นกลาง (H0) และปฏิเสธสมมติฐานตรงข้าม (H1)
สรุป : Chi-Square  ความถี่่/สัดส่วน/ข้อมูล, ความถี่ที่คาดหวังมาก-น้อย, ตัวแปรมีอิสระต่อกันหรือไม่, ความคาดหวังไม่น้อยกว่า 5 ร้อยละ 20 , มี 3 ขั้นตอน กลมกลืน-สัมพันธ์-เอกภาพ และการทดสอบสมมติฐานขึ้นอยู่กับการเก็บข้อมูลจะต้องเก็บข้อมูลจากการสุ่มตัวอย่างเสมอและข้อมูลที่เก็บมาได้ในแต่ละเซลล์ควรมีค่ามากกว่า 5 ถ้ามีค่าน้อยกว่า 5ไม่ควรเกินร้อยละ 20 นั้น และที่สำคัญค่าคาดหวังในแต่ละเซลล์ไม่ควรน้อยกว่า 5
                    1. ใช้กับข้อมูลที่เก็บเป็นนามบัญญัติ
                     2. ตัวแปรเป็นอิสระไม่ขึ้นต่อกัน
                     3. เวลาใช้ก็ให้ดูว่ามีอยู่กี่ช่องที่มีค่าคาดหวังน้อยกว่าถ้ามีน้อยกว่าร้อยละ 20 ของจำนวนช่องทั้งหมด ก็ถือว่าผ่านไปข้อต่อไป
                     4. ดูค่า p value เทียบกับ 0.05 ถ้ามากกว่า 0.05 แสดงว่าตัวแปรที่ 1 กับตัวแปรที่ 2 ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ แต่ถ้าหากได้ค่าน้อยกว่า 0.05 แสดงว่าตัวแปรที่ 1 กับตัวแปรที่ 2 มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ

การทดสอบไคสแควร์ เป็นการทดสอบสมมุติฐานของข้อมูลที่อยู่ในระดับนามบัญญัติ (Nominal) หรือเรียงลาดับ (Ordinal) เพื่อใช้สรุปอ้างอิงข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างสู่ประชากรที่นาเสนอ โดย คาร์ล เพียร์สัน ที่เป็นการทดสอบนัยสำคัญในการเปรียบเทียบสัดส่วน,ความสัมพันธ์ และ ความแปรปรวนของประชากร 1 กลุ่มเท่านั้น การทดสอบแบบไคสแควร์เป็นการทดสอบค่าสถิติ ในกลุ่มนอนพาราเมตริกที่เป็นสถิติที่ไม่มีเงื่อนไขเกี่ยวกับข้อตกลงเบื้องต้นว่าข้อมูลที่นำมาทดสอบว่าจะต้องมีลักษณะอย่างไร แต่จะมีประสิทธิภาพในการสรุปอ้างอิงข้อมูลในระดับที่ต่ำกว่าค่าสถิติในกลุ่มพาราเมตริก วิธีการทดสอบด้วยไคสแควร์ จำแนกได้ดังนี้ 1) การทดสอบนัยสำคัญความถูกต้องตามทฤษฏี หรือความถี่ที่สังเกตได้เป็นไปตามความถี่ที่คาดหวังหรือไม่ 2) การทดสอบนัยสำคัญระหว่างตัวแปรหรือการทดสอบความเป็นอิสระและ 3) การทดสอบความเป็นเอกพันธ์ในการแจกแจงข้อมูล

2. Factor Analysis
            การวิเคราะห์องค์ประกอบ (factor analysis) หรือการวิเคราะห์ปัจจัย เป็นเทคนิคการวิเคราะห์ทางสถิติของการวิจัยที่มุ่งลดจำนวนตัวแปรที่มีอยู่จำนวนมาก ตัวแปรที่มีความสัมพันธ์ใกล้เคียงกันจะถูกจัดรวมเข้าเป็นกลุ่มเดียวกัน เรียกว่า “องค์ประกอบหรือปัจจัย (factor)” การรวมกลุ่มตัวแปรว่าจะจัดได้กี่กลุ่มหรือกี่ปัจจัย วิเคราะห์ดูความสัมพันธ์กันของตัวแปรในทางบวกหรือทางลบก็ได้ ปัจจัยที่วิเคราะห์ได้นี้สามารถนำมาวิเคราะห์ทางสถิติต่อไป ตัวแปรที่ใช้ในการวิเคราะห์ปัจจัยควรเป็นตัวแปรเชิงปริมาณหรือตัวแปรทวิ มีค่าเป็น 0 กับ 1 การวิเคราะห์องค์ประกอบมีเหตุผลให้ได้จำนวนองค์ประกอบน้อยที่สุด เพื่ออธิบายความผันแปรของข้อมูลให้ได้มากที่สุด โดยการวิเคราะห์องค์ประกอบจะไม่มีตัวแปรใดเป็นตัวแปรอิสนะหรือตัวแปรตาม การวิเคราะห์จะเป็นการศึกษาลักษณะการรวมตัวของกลุ่มตัวแปรในลักษณะเชิงเส้นตรง (Linear combination)
วัตถุประสงค์
1.เพื่อสำรวจหรือค้นหาตัวแปรแฝงที่ซ่อนอยู่ภายใต้ตัวแปรที่สังเกตหรือวัดได้ เรียกว่า การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (Exploratory Factor Analysis)
2.เพื่อพิสูจน์ ตรวจสอบหรือยืนยันทฤษฎีที่ผู้อื่นค้นพบ เรียกว่า การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน Confirmatory Factor Analysis Model: CFA
องค์ประกอบร่วมที่จะสามารถอธิบายความสัมพันธ์ร่วมกันระหว่างตัวแปรต่างๆ โดยจำนวนองค์ประกอบร่วมที่หาได้จะมีจำนวนน้อยกว่าจำนวนตัวแปรนั้น ทำให้ทราบว่ามีองค์ประกอบร่วมอะไรบ้าง เรียกว่า Exploratory Factor Analysis Model: EFA หรือเพื่อลดตัวแปรหรือปัจจัย เมื่อมีการลดตัวแปรหลายตัวเหลือเพียง 3 ปัจจัยแล้วจะต้องมีการตั้งชื่อหรือกำหนดชื่อปัจจัยไว้ด้วย เช่นคำถามเกี่ยวกับบุคคล ประกอบด้วย รายได้ ระดับการศึกษา และอาชีพ เมื่อวิเคราะห์แล้วพบว่าตัวแปรทั้ง 3 มีความสัมพันธ์กันจะรวมอยู่ในปัจจัยเดียวกัน เช่น
องค์ประกอบที่ 1 ประกอบด้วย
องค์ประกอบที่ 2 ประกอบด้วย
องค์ประกอบที่ 3 ประกอบด้วย
การทดสอบสมมติฐานหรือความถูกต้องเกี่ยวกับโครงสร้างขององค์ประกอบว่า องค์ประกอบแต่ละองค์ประกอบประกอบด้วยตัวแปรอะไรบ้าง และตัวแปรแต่ละตัวควรมีน้ำหนักหรืออัตราความสัมพันธ์กับองค์ประกอบมากน้อยเพียงใด ตรงกับที่คาดคะเนไว้หรือไม่ หรือสรุปได้ว่าเพื่อต้องการทดสอบว่าตัวประกอบอย่างนี้ตรงกับโมเดลหรือตรงกับทฤษฎีที่มีอยู่หรือไม่ ผู้วิจัยต้องกำหนดความสำคัญหรือน้ำหนักให้กับตัวแปร เช่น ต้องการสร้างปัจจัยหรือดัชนีวัดประสิทธิภาพของการทำงาน ซึ่งต้องพิจารณาจากตัวแปรหลายๆ ตัว เช่น ผลงาน ระยะเวลา จำนวนวันลา (ประสิทธิภาพ P = ) เรียกว่า Confirmatory Factor Analysis Model: CFA
ข้อตกลงเบื้องต้น
1. Common factors ทุกตัวมีความสัมพันธ์กัน
2. ตัวแปรที่สังเกตได้ทั้งหมดจะต้องเป็นผลทางตรงจาก Common factors ทุกตัว
3. unique factors แต่ละตัวจะต้องไม่มีความสัมพันธ์กัน
4. ตัวแปรที่สังเกตได้ทุกตัวจะต้องเป็นผลทางตรงจาก unique factors
5. Common factors ทั้งหมดไม่สัมพันธ์กับ unique factors

พื้นฐานทางสถิติ
1. ตัวแปรที่คัดเลือกมาวิเคราะห์องค์ประกอบ ต้องเป็นตัวแปรที่มีค่าต่อเนื่อง หรือมีค่าในมาตราระดับช่วง (Interval scale) และมาตราอัตราส่วน (Ratio scale)
2. ตัวแปรที่คัดเลือกมาวิเคราะห์องค์ประกอบ ควรมีความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรในระดับสูง (r = 0.30 – 0.70) รูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบและตัวแปรที่อยู่ในรูปเชิงเส้น (linear) เท่านั้น
3. จำนวนตัวแปรที่คัดเลือกมาวิเคราะห์องค์ประกอบ ควรมีจำนวนมากกว่า 30 ตัวแปร
4. กลุ่มตัวอย่าง ควรมีขนาดใหญ่และควรมีมากกว่าจำนวนตัวแปร จำนวนข้อมูลมากกว่าจำนวนตัวแปรอย่างน้อย 5 – 20 เท่า
กระบวนการวิเคราะห์องค์ประกอบและแปลความหมาย
ขั้นตอนในการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจสามารถแบ่งได้ 5 ขั้นตอนคือ
1. เก็บข้อมูลแลสร้างเมตริกสหสัมพันธ์
2. การสกัดองค์ประกอบ
3. เลือกวิธีการหมุนแกน
4. เลือกค่า loading
5. ตั้งชื่อองค์ประกอบที่วิเคราะห์ได้

เทคนิคของการวิเคราะห์องค์ประกอบ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท
            1.การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (Exploratory Factor Analysis) จะใช้ในกรณีผู้ศึกษาต้องการมีความรู้เกี่ยวกับโครงสร้างความสัมพันธ์ของตัวแปรเพื่อศึกษาโครงสร้างของตัวแปรและลดจำนวนตัวแปรที่มีอยู่เดิมให้มีการรวมกันได้
            2.การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis) จะใช้ในกรณีที่ผู้ศึกษาทราบโครงสร้างความสัมพันธ์ของตัวแปร ควรจะเป็นรูปแบบใดหรือคาดว่าตัวแปรใดบ้างที่มีความสัมพันธ์กันมากและควรอยู่ในองค์ประกอบเดียวกัน หรือคาดว่ามีตัวแปรใดที่ไม่มีความสัมพันธ์กัน ควรจะอยู่ต่างองค์ประกอบกัน

            ประโยชน์ของ Factor Analysis
            1.ลดจำนวนตัวแปร โดยการรวมตัวแปลหลาย ๆ ตัว ให้อยู่ในปัจจัยเดียวกัน ปัจจัยที่ได้เป็นตัวแปรใหม่ ที่สามารถหาค่าข้อมูลของปัจจัยที่สร้างขึ้นได้ และนำปัจจัยนั้นเป็นตัวแปรสำหรับการวิเคราะห์ทางสถิติ เช่น การวิเคราะห์ความถดถอดและสหสัมพันธ์ (Regression and Correlation Analysis) การวิเคราะห์ความแปรปรวน (ANOVA) ทดสอบสมมติฐาน t-test, z-test และการวิเคราะห์จำแนกกลุ่ม (Discriminant Analysis)
            2.ใช้แก้ปัญหา ตัวแปรอิสระของเทคนิคการวิเคราะห์ความถดถอยมีความสัมพันธ์กัน แก้โดยรวมตัวแปรอิสระที่มีความสัมพันธ์กันเข้าด้วยกัน เป็นตัวแปรหรือปัจจัยใหม่ แล้วใช้การวิเคราะห์ความถดถอยต่อไป
            3.ทำให้เห็นโครงสร้างความสัมพันธ์ของตัวแปรที่ศึกษา เทคนิค Factor จะหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของตัวแปรทีละคู่แล้วรวมตัวแปรที่สัมพันธ์กันมากไว้ในปัจจัยเดียวกัน จึงจะสามารถวิเคราะห์ความสัมพันธ์นั้นได้
            งานวิจัย: การวิเคราะห์องค์ประกอบพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย จังหวัดปทุมธานี (จิตเจริญ ศรขวัญ)
สรุป : Factor= ลดจำนวนตัวแปรหลายตัว, ตรวจสอบความถูกต้อง, วิเคราะห์หลายตัวแปร (วิเคราะห์ปัญหา,ออกแบบ,ตรวจสอบ,วิเคราะห์,ตีความ,ตรวจสอบ,ใช้ผลที่ได้

3. การวิเคราะห์ความแปรปรวน Analysis of Variance : ANOVA
 t –test เป็นการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย 2 ค่า ( 2 กลุ่ม ) แต่ถ้ามี 3 กลุ่ม ต้องทดสอบถึง 3 ครั้ง กล่าวคือ กลุ่มที่ 1 กลุ่มที่ 2 , กลุ่มที่ 2 กลุ่มที่ 3 และกลุ่มที่ 2 กลุ่มที่ 3 ซึ่งทำให้เสียเวลา และความคลาดเคลื่อน ประเภทที่ 1 ( Type I  Ewor )  จะเพิ่มขึ้น เช่น กำหนด    ถ้าทดสอบ t –test  3 ครั้ง จะทำให้    ที่ได้จะเท่ากับ 1- (  1-  ) เมื่อ k คือจำนวนกลุ่มผลที่ได้จะทำให้ค่าความน่าจะเป็นที่  1 แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญ โดยบังเอิญมากขึ้น ( Levin . 1983 ; Chase .1968 ) ดังนั้น เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว ในการทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยที่มากกว่าสองค่าจึงทดสอบด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวน ด้วยสถิติ F -test
การทดสอบความแปรปรวนนั้น ในกรณีที่มีตัวแปรอิสระ 1  ตัวจะเรียก    One – way ANOVA , 2 ตัว  เรียก Two –way ANOVA และ ถ้ามีตัวแปรอิสระ 3 ตัว ก็จะเป็นการวิเคราะห์ 3-way ANOVA ซึ่งการวิเคราะห์และการตีความก็จะยากขึ้นตามลำดับ
การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ( One- way  ANOVA )
ใช้สำหรับการทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยที่ได้จากกลุ่มตัวอย่าง 3 กลุ่มขึ้นไป เพื่อตรวจสอบว่าตัวแปรอิสระ 1 ตัว แบ่งออกเป็น k ประเภท จะส่งผลต่างกันหรือไม่ โดยแต่ละกลุ่มควรมีสมาชิกที่เท่ากันหรือใกล้เคียงกัน
ข้อตกลงเบื้องต้นในการวิเคราะห์ความแปรปรวน
            1. ข้อมูลที่นำมาวิเคราะห์ ( ตัวแปรตาม) ต้องมีระดับการวัดตั้งแต่มาตราอันตรภาค (Interval  scale) ขึ้นไป
            2. กลุ่มตัวอย่างแต่ละกลุ่มมาจากประชากรที่มีการแจกแจงปกติ
            3. กลุ่มตัวอย่างแต่ละกลุ่มต้องเป็นอิสระจากกัน
            4. กลุ่มตัวอย่างแต่ละกลุ่มมาจากประชากรที่มีความแปรปรวนเท่ากัน
ตัวอย่าง การทดลองสอน  4  วิธี  กับนักเรียน  4  กลุ่ม  เมื่อสอนจนจบเนื้อหาตามที่ต้องการทดสอบสอนทั้ง  4  วิธีให้ผลแตกต่างกันหรือไม่
สรุป การวิเคราะห์ความแปรปรวน Analysis of Variance (ANOVA) ที่อยู่ในระดับอันตรภาคหรืออัตราส่วนจะใช้การวิเคราะห์ ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-Way Analysis of Variance : One-Way ANOVA)หรือ การทดสอบเอฟ (F-test)
                        X                      Y
การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว ที่มีแนวคิดพื้นฐานว่าการเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่าง ตั้งแต่ 3 กลุ่มขึ้นไป จะใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนโดยในกรณีที่มีตัวแปรอิสระเพียง 1 ตัว เป็นตัวแปรเชิงกลุ่มที่จำแนกระดับได้ตั้งแต่ 3 ระดับขึ้นไปและมีตัวแปรตาม 1 ตัวที่อยู่ในระดับอันตรภาคหรืออัตราส่วน

การวิเคราะห์ความแปรปรวน  (Two-Way ANOVA)
วัตถุประสงค์
            เพื่อทดสอบสมมติฐานของผลต่างระหว่างค่าเฉลี่ยประชากร 2 ประชากร ใช้ในงานวิจัยที่มีการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่าง เพื่ออ้างอิงไปยังประชากรในลักษณะที่งานวิจัยที่มีตัวแปรต้น 2 ตัว แต่ละตัวแบ่งได้อย่างน้อย 2 ระดับ และตัวแปรตาม 1 ตัว การวิเคราะห์ความแปรปรวนมี 2 องค์ประกอบจะใช้กับตัวแปรอิสระ 2 ตัวพร้อมกัน โดยต้องการศึกษาผลของตัวแปรอิสระแต่ละตัวที่มีต่อตัวแปรตามและศึกษาปฏิสัมพันธ์ (Interaction) ระหว่างตัวแปรอิสระ 2 ตัวนั้น มีตัวแปร 2 ชนิด คือ ตัวแปรอิสระ 2 ตัว ตัวแปรตาม 1 ตัว ตัวแปรตามจะเป็นผลที่ผู้ทดลองสังเกตได้หรือวัดได้ และใช้สถิติทดสอบ Z หรือ t ถ้าเปรียบเทียบคุณภาพการสอน 3 วิธี จะทำให้เสียเวลาทดสอบซึ่งต้องทดความแตกต่างครั้งละคู่  มี 3 วิธี ต้องทำการทดสอบ 3 ครั้ง 3 คู่

            -การทดลองสอนโดยใช้วิธีสอน 4 วิธีกับนักเรียน 3 กลุ่ม ซึ่งมีระดับอายุต่างกัน จะมีผลคะแนนต่างกันหรือไม่
เงื่อนไข
1.กลุ่มตัวอย่างได้รับการสุ่มมาจากประชากรที่มีการแจกแจงเป็นโค้งปกติ
2.ตัวแปรอิสระ 2 ตัว แต่ละตัวแบ่งได้มากกว่า 2 ระดับ และตัวแปรตาม 1 ตัว
3.ข้อมูลอยู่ในมาตราอันตรภาคชั้น หรือมาตราอัตราส่วน
4.ไม่ทราบความแปรปรวนของประชากรแต่ละกลุ่ม แต่สมมติให้เท่ากัน
            หลักการของการวิเคราะห์
            การวิเคราะห์ความแปรปรวนจะทำให้สามารถทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยประชากรตั้งแต่ 3 ประชากรขึ้นไป ซึ่งหลักเกณฑ์สำคัญในการทดสอบสมมติฐาน คือ การแยกตามความแปรปรวน ความผันแปรทั้งหมดของข้อมูลออกตามสาเหตุที่ทำให้ข้อมูลแตกต่างกัน คือ
            1.ความผันแปรหรือความแตกต่างระหว่างประชากร
            2.ความผันแปรหรือความแตกต่างภายในประชากรเดียวกัน

สรุป : Two-way= ตัวแปรต้น 2 ตัว ตาม 1 ตัว, แจกแจงแบบปกติ ความแปรปรวนไม่ต่างกัน เป็นอิสระต่อกัน (ตัวแปรต้นเชิงคุณภาพ ตัวแปรตามเชิงปริมาณ,แตกต่างกันอย่างน้อย 1 คู่ทดสอบด้วยเชฟเฟ่
                         
สรุป การวิเคราะห์ความแปรปรวน Analysis of Variance (Three-way ANOVA)
                        X1
                        X2                    Y
                        X3
การเปรียบเทียบพหุคูณภายหลังการวิเคราะห์ความแปรปรวน เป็นการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของข้อมูลหลังจากการสรุปผลว่าผลการทดสอบสมมุติฐานโดยที่การวิเคราะห์ความแปรปรวนนั้น ปฏิเสธสมมุติฐานหลัก (H0) ดังนั้นจะต้องนาค่าเฉลี่ยมาเปรียบเทียบเป็นรายคู่ที่จะมีการควบคุมความคลาดเคลื่อนของการทดสอบไม่ให้เกินค่าความคลาดเคลื่อนที่กำหนดไว้ สำหรับการปฏิเสธสมมุติฐานหลักที่เป็นจริง ที่มีวิธีการเปรียบเทียบพหุคูณภายหลังการวิเคราะห์ความแปรปรวน มีดังนี้
1) วิธีการของเชพเฟ 
2) วิธีการผลต่างที่มีนัยสำคัญน้อยที่สุดของพิชเชอร์ 
3) วิธีการ Turkey’s Honestly Significant Difference

การวิเคราะห์ความแปรปรวน Analysis of Covariate (ANCOVA)
            การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยตั้งแต่ 2 กลุ่มขึ้นไป ลักษณะเดียวกันกับ ANOVA กรณีงานวิจัยที่ต้องควบคุมตัวแปรแทรกซ้อน อันเนื่องมาจากการไม่เท่าเทียมกันตั้งแต่ต้นของกลุ่มตัวอย่าง ควรออกแบบให้มีการ Pretest และ Posttest  กรณีงานวิจัยทดลองโดยที่กลุ่มตัวอย่างไม่สามารถสุ่มได้ หรือแบ่งนักเรียนเป็นกลุ่มแต่ไม่เท่ากันในด้านความสามารถ เช่น เก่ง ปานกลาง อ่อน เป็นต้น
            การวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม มีหลายประเภท เช่นเดียวกับ ANOVA การวิเคราะห์ความแปรปรวนอย่างง่าย คือ มีตัวแปรอิสระ 1 ตัว แบ่งเป็น k ระดับ ตัวแปรตาม 1 ตัว และตัวแปรร่วม 1 ตัว จำนวนกลุ่มตัวอย่างอาจเท่ากันหรือไม่เท่ากันก็ได้
            ตัวแปรที่ต้องการศึกษาคือ X และ Y ส่วน Z จะเป็นตัวแปรเกิน (ตัวแปรที่ไม่ได้ศึกษา) แต่มีผลต่อตัวแปร X และ Y
                        X                      Y                      (One-way ANOVA)
                        X                      Y
                                    Z   ตัวแปรร่วม               (การวิเคราะห์ ANCOVA)
เงื่อนไข
            1.ข้อมูลอยู่ในมาตราอัตรภาคชั้น หรืออัตราส่วน
            2. ตัวแปรอินสะ 1 ตัว แบ่งได้ตั้งแต่ 3 ระดับขึ้นไป
            3. ตัวแปรร่วม มีความสัมพันธ์เชิงเส้นตรงกับตัวแปรตาม
            4. ข้อมูลมีการแจกแจงเป็นโค้งปกติ

                Y1
X
                Y2
One-way MANOVA
 
การวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วมพหุคูณ (Multivariate Analysis of Variance (MANOVA)

                        Y1
X1
                        Y2
X2    
                        Y3
Two-way MANOVA
 
           
 


                       


การวิเคราะห์ความแปรปรวนของตัวแปรตามหลายตัว (Multi-Variate Analysis of Variance : MANOVA)
กรณีที่มีตัวเป็นเชิงปริมาณซึ่งเป็นตัวแปรตามหลายตัว จะใช้เทคนิค MANOVA ซึ่งเป็น เทคนิคที่ใช้วิเคราะห์ความแปรปรวนของตัวแปรเชิงปริมาณหลาย ๆ ตัวพร้อมกัน เช่น ศึกษาเปรียบเทียบ ยอดขายเฉลี่ย กาไรเฉลี่ย ของเครื่องสำอางหลาย ๆ ยี่ห้อว่าแตกต่างกันหรือไม่ ในที่นี้ตัวแปรตามมี 2 ตัว คือ ยอดขาย และกำไร ซึ่งเป็นตัวแปรเชิงปริมาณ ส่วนตัวแปรอิสระ คือ ยี่ห้อ ซึ่งเป็นตัวแปรเชิงกลุ่ม ตัวแปรอิสระอาจจะเป็นตัว แปรเชิงกลุ่ม และตัวแปรเชิงปริมาณได้ ตัวแปรอิสระที่เป็นตัวแปรเชิงปริมาณจะถือเป็น Covariate
เงื่อนไขของการวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุคูณ (MANOVA)
1. มีการสุ่มตัวอย่างเป็นอิสระกัน
2. Variance-Covariance matrices ของกลุ่มต้องเท่ากัน
3. ตัวแปรตาม p ตัว มีการแจกแจงแบบ Multivariate normal (นั่นคือ linear combination ของตัวแปรตาม จะต้องมีการแจกแจงแบบปกติ)
ลักษณะการวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุคูณ
MANOVA เป็นเทคนิคที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลการทดลองที่มีตัวแปรอิสระตั้งแต่ 1 ตัวขึ้นไป มี กลุ่มตัวอย่างตั้งแต่สองกลุ่มขึ้นไป ตามจำนวนระดับหรือประเภทย่อยของตัวแปรอิสระ โดยมุ่งทดสอบ สมมติฐานทางสถิติเกี่ยวกับค่าเฉลี่ยในตัวแปรตามของกลุ่มเหล่านั้นตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไป
1. การวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุคูณทางเดียว (one-way MANOVA) จะมีตัวแปรเดียว ซึ่งระดับหรือประเภทตั้งแต่ 2 ระดับหรือประเภทขึ้นไป ในตัวอย่างนี้เป็นรูปแบบข้อมูลที่จะวิเคราะห์ ความแปรปรวนพหุคูณทางเดียวอย่างง่าย ตัวแปรอิสระมีตัวเดียวซึ่งมี 3 ระดับหรือประเภท จึงมีกลุ่มตัวอย่าง 3 กลุ่ม แต่ละกลุ่มมีจำนวนเท่ากันหรือไม่เท่ากันก็ได้ ตัวแปรตามมี 2 ตัวแปร คือ X1 กับ X2
2. การวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุคูณสองทาง (two-way MANOVA) จะมีตัวแปรอิสระสองตัว เป็นลักษณะข้อมูลที่จะวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุคูณสองทางอย่างง่าย ตัวแปรอิสระมี 2 ตัวแปร คือ A กับ B ตัวแปร A มี 2 ระดับหรือประเภท ส่วนตัวแปร B มี 3 ระดับหรือประเภท จึงมีกลุ่มตัวอย่าง 2x3 = 6 กลุ่มย่อย ตัวแปรตามมี 2 ตัวแปร คือ กับ
ตัวอย่าง การสอนด้วยวิธีที่แตกต่างกัน 3 วิธี คือ ก ข และ ค จะทำให้นักเรียน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน () และเจตคติต่อการเรียน () แตกต่างกันหรือไม่  
การทดลองเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความสนใจในวิชาที่เรียน อัตมโนภาพ แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์และความแปรปรวนของอัตราการเรียนรู้ ระหว่างนักเรียนที่สอน โดยวิธีเรียนเพื่อรู้แจ้งกับกลุ่มที่สอนโดยวิธีบรรยาย (ดารง ศิริเจริญ. 2524)

4. การวิเคราะห์ความถดถอย Simple Regression
ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร 2 ตัว โดยต้องทราบค่าของตัวแปรตัวหนึ่งหรือต้องกำหนดค่าของตัวแปรตัวหนึ่งไว้ล่วงหน้า เช่น ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างรายจ่ายกับรายได้ ยอดขายกับค่าโฆษณา ฯลฯ
วัตถุประสงค์
1.เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรว่ามีความสัมพันธ์กันมากน้อยเพียงใด
2.ใช้ความสัมพันธ์ที่วิเคราะห์ได้มาประมาณค่าหรือพยากรณ์ค่า Y ในอนาคตเมื่อกำหนดค่า X
ขั้นตอนการใช้สถิติ
ใช้เมื่อต้องการสร้างสมการถดถอยอย่างง่าย ประกอบไปด้วยตัวแปรทำนาย 1 ตัว และตัวแปรเกณฑ์ 1 ตัว โดยควรจะอยู่ในมาตรการวัดระดับ Interval หรือ Ratio Scale ทั้งคู่
สรุป
1.พิจารณาถึงตัวแปรอิสระ X ที่คาดว่าจะมีความสัมพันธ์กับตัวแปรตาม Y มากที่สุด
2.นำข้อมูลตัวอย่างของ X และ Y มาเขียนแผนภาพการกระจาย
3.พิจารณาจากภาพการกระจาย ควรมีความสัมพันธ์กันในรูปแบบใด เช่น เส้นตรง พาราโบลา ฯลฯ
Y =  +  +e


ขั้นตอนการวิเคราะห์ Multiple Linear Regression
ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง ตัวแปรตาม (Y) หนึ่งตัวกับตัวแปรอิสระ (X) มากกว่าหนึ่งตัว แต่ความสัมพันธ์ดังกล่าวยังคงเป็นแบบเส้นตรงอยู่ หรือ Y มักจะขึ้นอยู่ X หลายตัว
            การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis)
ใช้เมื่อการสร้างสมการถดถอย ประกอบไปด้วยตัวแปรทำนายตั้งแต่ 1 ตัวขึ้นไป และตัวแปรเกณฑ์ 1 ตัว โดยตัวแปรทั้งหมดควรจะอยู่ในมาตราการวัดระดับ Interval หรือ Ratio Scale
ถ้ามีตัวแปรใดอยู่ในมาตราการวัดระดับ Nominal หรือ Ordinal Scale ควรจะเปลี่ยนให้เป็นตัวแปรดัมมี่ (Dummy Variable)
มีตัวแปรอิสระมากกว่าหนึ่งตัว (, ...)
            ลักษณะของข้อมูล
1.ตัวแปรตามหรือตัวแปรเกณฑ์ควรอยู่ในระดับ interval ขึ้นไป
            2.ตัวแปรอิสระหรือตัวแปรทำนาย ควรเป็นตัวแปรแบบเรียงลำดับขึ้นไป ถ้าเป็นตัวแปรนามบัญญัติต้องทำเป็นแปรหุ่น
            3.ตัวแปรเกณฑ์และตัวแปรพยากรณ์ต้องมีความสัมพันธ์กันในระดับสู
            4.ตัวแปรพยากรณ์แต่ละตัวต้องไม่สัมพันธ์กันหรือมีความสัมพันธ์กันในระดับต่ำ
            -จำนวนกลุ่มตัวอย่าง ต้องมีประมาณ 5-10 เท่าของตัวแปร (ตัวแปร 5 ตัวควรมีกลุ่มตัวอย่าง 50 คน)
            -ถ้าจะลดความสัมพันธ์ของตัวแปรพยากรณ์ให้มีจำนวน 20 เท่า (ตัวแปร 5 ตัวควรมีกลุ่มตัวอย่าง 100 คน)
           

การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ
X1
X2
                        Y
X3
X4
Multiple Regression Analysis(MRA)
 
วิธีการวิเคราะห์แบบถดถอย
            1.การวิเคราะห์ถดถอยเข้าทีละตัว
            2.การวิเคราะห์ถดถอยแบบเดินหน้า
            3.การวิเคราะห์ถดถอยแบบถอยหลัง
            4.การวิเคราะห์ถดถอยแบบขั้นตอน

Multivariate Regression Analysis ใช้เมื่อการสร้างสมการถดถอย ประกอบไปด้วยตัวแปรทำนายตั้งแต่ 1 ตัวขึ้นไป และตัวแปรเกณฑ์มากกว่า 1 ตัว โดยตัวแปรทั้งหมดควรจะอยู่ในมาตราการวัดระดับ Interval หรือ Ratio Scale
ถ้ามีตัวแปรใดอยู่ในมาตราการวัดระดับ Nominal หรือ Ordinal Scale ควรจะเปลี่ยนให้เป็นตัวแปรดัมมี่ (Dummy Variable) สถิตินี้เหมาะที่จะใช้เมื่อพบว่าตัวแปรเกณฑ์แต่ละตัวมีความสัมพันธ์กัน
Multiple Correlation เป็นการหาความสัมพันธ์ระหว่างชุดของตัวแปรที่อยู่ในระดับ Interval หรือ Ratio Scale ที่ประกอบไปด้วยตัวแปรตาม 1 ตัวและตัวแปรอิสระมากกว่า 1 ตัว
สรุป : Regression= พยากรณ์/ประมาณค่า, ตัวแปรตามY ต้นX. มีความคลาดเคลื่อนน้อยจะได้ค่าความจริงสูง (simple=ตัวแปรอิสระ1 ตัว ตัวแปรตาม 1ตัว, เช่น ความดันโลหิตกับอายุ)

5. เดลฟาย (Delfhi)
กำหนดผู้เชี่ยวชาญตั้งแต่ 17 คนขึ้นไป 3-4 รอบ , ร่วมตัดสินใจกลุ่ม จะมีความตรงมากกว่า มี 4 ขั้นตอน วางกรอบ-กำหนดผู้เชี่ยวชาญ-เก็บข้อมูล-รายงานผล, แบบปลายเปิด-ปิด ความเห็นอย่างน้อยร้อยละ 60,คำตอบเพิ่มลดไม่น้อยร้อยละ 15 ค่าความกระจายมากกว่า 0.5
            ข้อตกลงเบื้องต้น
            1. การตัดสินใจโดยใช้กลุ่มบุคคลจะมีความตรงมากกว่าการตัดสินใจโดยคนคนเดียว และการตัดสินในจะมีความตรงมากขึ้น หากผู้เชี่ยวชาญในกลุ่มประกอบด้วยผู้ที่มีความรู้ความชำนาญในประเด็นนั้นๆ
            2. การตัดสินใจโดยกลุ่มบุคคลจะมีความเที่ยงมากขึ้นและหากไม่มีการเผชิญหน้าระหว่างสมาชิกในกลุ่มจะสามารถลดผลกระทบจากอิทธิพล จากอคติและความคิดกลุ่มได้
วัตถุประสงค์
วิธีการคาดการณ์ผลลัพธ์โดยวิธีการออกความเห็นของผู้เชี่ยวชาญ ผู้เชี่ยวชาญตอบแบบสอบถามจำนวนสองรอบหรือมากกว่านั้น แต่ละรอบผู้จัดทำจะสรุปคำตอบของรอบนั้นเพื่อเป็นข้อมูลสำหรับตอบคำถามในรอบถัดไป
พื้นฐานทางสถิติ
ผู้เชี่ยวชาญตั้งแต่ 17 คนขึ้นไป 3-4 รอบ
ขั้นตอนการใช้สถิติ
1) ขั้นการวางกรอบการเก็บข้อมูล
2) ขั้นการกำหนดผู้เชี่ยวชาญ
3) ขั้นการเก็บข้อมูล
4) ขั้นการรายงานผล
ลักษณะสำคัญของเทคนิคเดลฟาย ได้แก่
1.การไม่เปิดเผยตน (anonymity) ได้จากการใช้แบบสอบถาม เพื่อไม่ให้ผู้ออกความเห็นต้องเผชิญหน้ากัน จะได้ไม่รู้ว่าใครเป็นเจ้าของความเห็น ทำให้สามารถพิจารณาคุณค่าของความเห็นโดยไม่ถูกเบี่ยงเบนด้วยตำแหน่งหรือความสามารถในการโน้มน้าวของเจ้าของความเห็น ผู้ออกความเห็นที่แตกต่างออกไปไม่รู้สึกว่าถูกกดดันจากผู้ที่มีวุฒิสูงกว่าหรือความเห็นของคนส่วนใหญ่
2.การทำซ้ำ (iteration) ได้จากการส่งแบบสอบถามเดียวกันให้ตอบหลายรอบ ให้โอกาสผู้ตอบเปลี่ยนใจโดยไม่เสียหน้า จากการพิจารณาความเห็นและเหตุผลของผู้อื่น
3.การป้อนกลับโดยมีการควบคุม (controlled feedback) มีการกลั่นกรองและป้อนกลับความเห็นของกลุ่มให้ผู้ตอบแบบสอบถามได้ทราบในการส่งแบบสอบถามรอบต่อไป ผู้ตอบจะได้ทราบสถานภาพของความเห็นรวม คำวิจารณ์ ข้อเสนอแนะ และเหตุผลประกอบความคิดเห็นของทั้งผู้เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย
4.การนำเสนอคำตอบด้วยสถิติ (statistical group response) เป็นส่วนหนึ่งของการป้อนกลับระหว่างการสอบถามแต่ละรอบ โดยเสนอผลคำตอบของกลุ่มเป็นค่ามัธยฐานและระดับความเห็นที่กระจายออกไป
กลุ่มผู้เกี่ยวข้อง
1.กลุ่มผู้ตัดสินใจ ซึ่งต้องใช้ผลการทำเดลฟายในการวางแผนพัฒนางาน
2.กลุ่มผู้รับผิดชอบในกระบวนการเดลฟาย
3.กลุ่มผู้ให้ข้อมูล
ข้อดีของเทคนิคเดลฟาย
การไม่เปิดเผยชื่อของผู้ตอบ ทำให้ผู้ตอบมีอิสรภาพทางความคิด
สามารถได้ความเห็นจากกลุ่มผู้เชี่ยวชาญจำนวนมาก ซึ่งอาจสูงเป็นร้อยเป็นพันได้
การใช้วิธีการทางสถิติเพื่อประมวลผล เป็นการลดอคติ (bias) ทำให้ได้ข้อมูลที่น่าเชื่อถือ
เหมาะสำหรับคำถามยากๆ ที่มีหลายมิติ ที่ต้องประเมินทั้งข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์และ คุณค่าทางสังคม หรือคำถามในเรื่องที่ยังขาดองค์ความรู้อย่างเพียงพอ เพื่อหาคำตอบในขณะที่จำเป็นต้องมีการตัดสินใจ
ข้อเสียของเทคนิคเดลฟาย
ใช้เวลานานและการลงทุนสูง จึงนิยมทำการสำรวจเพียงสองรอบ แต่ในปัจจุบัน หลายโครงการมีการให้ตอบแบบสอบถามในเว็บไซต์แบบออนไลน์ ซึ่งลดค่าใช้จ่ายและเวลาลงได้มาก
ปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เชี่ยวชาญผ่านแบบสำรวจไม่เข้มข้นเหมือนการเผชิญหน้า จึงถูกกล่าวหาว่าการสำรวจได้เพียงความเห็นเฉลี่ย ซึ่งอาจไม่ใช่ความเห็นที่ดีที่สุด
วิธีลดระยะเวลาเก็บข้อมูล คือ ระดมความคิด สัมภาษณ์ ประชุม คอมพิวเตอร์เป็นฐาน และเดลฟายกลุ่ม
ขั้นตอนการใช้เทคนิคเดลฟาย แบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน ดังนี้
1. ขั้นตอนการกรอบการเก็บข้อมูล การกำหนดคำถามสำหรับการวางกรอบการเก็บข้อมูล ผู้รับผิดชอบต้องสอบถามความคิดเห็นจากผู้ตัดสินใจว่าต้องการนำข้อมูลไปทำอะไร สนใจข้อมูลอะไร ใช้เวลาประมาณ 3-4 ชั่วโมง
2. ขั้นการกำหนดผู้เชี่ยวชาญ สิ่งที่ต้องพิจารณาคือ คุณสมบัติของกลุ่มผู้ให้ข้อมูลและขนาดของกลุ่มผู้ให้ข้อมูล และต้องมีส่วนร่วมในกระบวนการ มีข้อมูลเพียงพอในการแลกเปลี่ยน มีแรงจูงใจ รู้สึกสนใจผลจากการสรุปความคิดของผู้เกี่ยวข้อง
ส่วนใหญ่ผู้ที่ใช้เทคนิคเดลฟายมักจะอ้างอิงจากการศึกษาของ Macmillan (1971) ที่พบว่าหากจำนวนผู้เชี่ยวชาญมีขนาดตั้งแต่ 17 คนขึ้นไปอัตราความคลาดเคลื่อนจะน้อยมากจนคงที่ จึงนิยมใช้จำนวนผู้เชี่ยวชาญ 17 คนขึ้นไป แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับความเป็นเอกพันธ์ของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้วย
3. ขั้นการเก็บข้อมูล  การเก็บข้อมูลส่วนใหญ่จะไม่เกิน 4 รอบ แต่ละรอบจะมีการเตรียมข้อมูล และนำเสนอข้อมูลต่างกัน ดังนี้
รอบที่ 1 เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญโดยใช้คำถามปลายเปิด ทำให้เกิดอิสระในความคิด และอาจมีการส่งจดหมายนำชี้แจงจุดมุ่งหมายของการเก็บข้อมูล
รอบที่ 2 เมื่อได้คำตอบจากรอบแรกแล้ว ต้องทำการวิเคราะห์เนื้อหา สรุปประเด็นความคิดเห็นทั้งหมด และนำมาจัดทำเป็นแบบสอบถามปลายปิดในรูปของมาตรประมาณค่า ซึ่งนิยมใช้แบบ 5 ระดับ โดยคำถามต้องมาจากความคิดเห็นของผู้ให้ข้อมูลในรอบแรกเท่านั้น ไม่นำเสนอความคิดเห็นส่วนตัวของผู้วิจัย
รอบที่ 3 นำข้อมูลในรอบที่ 2 มาสร้างเป็นแบบสอบถาม โดยจุดมุ่งหมายในรอบนี้เพื่อตรวจสอบความคิดเห็นของผู้ให้ข้อมูลซ้ำ ซึ่งผู้ให้ข้อมูลแต่ละคนจะได้รับข้อมูลย้อนกลับประกอบด้วยข้อมูล 2 ส่วน คือ ส่วนแรกเป็นข้อมูลที่เป็นความคิดเห็นของกลุ่มที่แสดงด้วยค่าสถิติ ส่วนที่สองเป็นคำตอบของผู้เชี่ยวชาญที่เป็นเจ้าของคำตอบแต่ละคน
4. ขั้นการรายงานผล ขั้นตอนนี้เป็นการจัดทำรายงานผลที่ได้จากการวิเคราะห์ข้อมูลรอบสุดท้าย เพื่อเสนอกลุ่มผู้เชี่ยวชาญและผู้มีอำนาจในการตัดสินใจสำหรับนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป
เครื่องมือที่ใช้ในเทคนิคเดลฟาย มี 2 ประเภท คือ แบบสอบถามปลายเปิด และแบบสอบถามปลายปิดชนิดมาตรประมาณค่า โดยการจัดทำแบบสอบถามในรอบที่ 3 นั้นจะมีการนำเสนอค่าสถิติเพื่อให้ข้อมูลย้อนกลับสำหรับการพิจารณาลงความเห็นเพื่อหาฉันทามติของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งค่าสถิติที่ใช้เป็นข้อมูลย้อนกลับมีหลายวิธี คือ
1. การตรวจสอบจากค่าร้อยละ
โดยใช้เกณฑ์ความคิดเห็นที่สอดคล้องกันอย่างน้อยร้อยละ 60 และจะได้ฉันทามติเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงคำตอบในแต่ละรอบเพิ่มขึ้นหรือลดลงไม่น้อยกว่าร้อยละ 15
2. การตรวจสอบด้วยค่าฐานนิยม ค่ามัธยฐาน และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์  แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ แบบประมาณค่า 5 ระดับจะใช้เกณฑ์การประเมินแบ่งเป็น 4 กรณี ซึ่งจะคล้ายคลึงกัน คือ ค่ามัธยฐานไม่ต่ำกว่า 3.50 ค่าสัมบูรณ์ของผลต่างระหว่างค่ามัธยฐานและฐานนิยมไม่เกิน 1.00 และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ไม่เกิน 1.50
สำหรับแบบประมาณค่า 6 ระดับ จะใช้เกณฑ์ค่าสัมบูรณ์ของผลต่างระหว่างค่ามัธยฐานและฐานนิยมไม่เกิน 1.00 และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ไม่เกิน 1.50
3. การตรวจสอบด้วยค่าสัมประสิทธิ์การกระจาย การแปลความหมายจากค่าสัมประสิทธิ์การกระจายไปสู่การได้รับฉันทามติมี 2 แบบ คือ
1) ค่าสัมประสิทธิ์การกระจายมีค่ามากกว่าศูนย์แต่ไม่เกิน 0.5 สรุปว่า ได้รับฉันทามติในระดับสูงสามารถยุติกระบวนการเดลฟายได้
2) ค่าสัมประสิทธิ์การกระจายมีค่ามากกว่า 0.5 สรุปว่า ได้รับฉันทามติในระดับต่ำ ควรดำเนินการในรอบต่อไป

รูปแบบของเทคนิคเดลฟาย มี 2 รูปแบบคือ
1. รูปแบบดั้งเดิม  หมายถึง วิธีการเก็บรวบรวมความคิดเห็นหรือการตัดสินใจในเรื่องใดเรื่องหนึ่งเกี่ยวกับเหตุการณ์หรือแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในอนาคตจากกลุ่มผู้ที่มีความรู้ความสามารถในเรื่องนั้นๆ เพื่อสร้างความคิดเห็นที่สอดคล้องต้องกันหรือฉันทามติระหว่างกลุ่มผู้เชี่ยวชาญในการนำมาสู่ข้อสรุปที่น่าเชื่อถือ โดยใช้แบบสอบถามปลายเปิดนำในรอบแรก และใช้แบบสอบถามปลายปิดในรอบต่อๆ ไป
ปัญหาของเทคนิคเดลฟายแบบเดิม คือ
1) ใช้เวลานานในการตอบแบบสอบถามปลายเปิด
2) การเก็บข้อมูลหลายรอบทำให้ผู้เชี่ยวชาญรู้สึกเบื่อและถูกรบกวนมากเกินไป
3) อัตราการตอบกลับค่อนข้างต่ำ
4) ข้อมูลที่ได้ไม่ค่อยมีความหลากหลาย ตอบเข้าหาค่ากลางเพื่อให้ยุติโดยเร็ว
2. รูปแบบปรับปรุง เทคนิคเดลฟายที่มีการปรับปรุงวิธีการหรือขั้นตอนการดำเนินการให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ และลดข้อจำกัดในเทคนิคเดลฟายแบบเดิม โดยเฉพาะข้อจำกัดเกี่ยวกับเวลาในการเก็บข้อมูล ด้วยเทคนิคต่างๆ ดังนี้
1) การใช้วิธีการระดมความคิดแทนการตอบแบบสอบปลายเปิดในรอบแรก
2) การใช้วิธีการสัมภาษณ์แทนการตอบแบบสอบถามปลายเปิดในรอบแรก
3) การประชุมแบบเดลฟาย
4) เดลฟายที่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นฐาน
5) เดลฟายกลุ่ม
หลักการของเดลฟายมี 3 ประการ คือ
1. การกำหนดโครงการของเส้นทางการส่งผ่านข้อมูลข่าวสาร
2. การให้ข้อมูลย้อนกลับ
3. การเก็บรักษาความลับของผู้ให้ข้อมูล

ตัวอย่างโครงการที่ใช้เทคนิคเดลฟาย
ประเทศญี่ปุ่นได้มีการมองอนาคตโดยใช้เทคนิคเดลฟายระดับประเทศทุก 5 ปีมาตั้งแต่ปี 2514 นอกจากระดับประเทศแล้ว ญี่ปุ่นได้มีการมองอนาคตในระดับกระทรวง ระดับอุตสาหกรรม และระดับบริษัท/องค์กรมาโดยตลอด การมองอนาคตครั้งที่ 8 เพิ่งจะเสร็จไปในเดือนพฤษภาคม 2549 ซึ่งครั้งนี้นอกจากเทคนิคเดลฟายแล้ว ยังใช้วิธีการสร้างภาพอนาคต การวิเคราะห์บทความวิชาการ และการวิเคราะห์ความต้องการด้านเศรษฐกิจและสังคมควบคู่กันด้วย ตัวอย่างอีกประเทศหนึ่งคือ ประเทศออสเตรียซึ่งทำการสำรวจเดลฟายด้านเทคโนโลยีพร้อมๆ กับการสำรวจเดลฟายเชิงนโยบายในปี 1999
สรุป เทคนิคเดลฟาย เป็นการวิจัยไม่ทดลอง ใช้การพยากรณ์ภาพในอนาคต แบบสอบถามอย่างเดียว เก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญตั้งแต่ 17 คนขึ้นไป 3-4 รอบ เพื่อให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน นิยมวิจัยในอนาคตด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อนำผลวิจัยไปตัดสินวางแผนเกี่ยวกับอนาคต ขั้นตอนเริ่มต้นด้วยการกำหนดปัญหาการวิจัย การคัดเลือกผู้เชี่ยวชาญ การสร้างเครื่องมือการวิจัยและเก็บรวบรวมข้อมูล และการสรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูล องค์ประกอบสำคัญที่สุดคือการสร้างเครื่องมือ ได้แก่ รอบที่ 1 แบบสอบถามปลายเปิด รอบที่ 2-4 แบบมาตราส่วนประมาณค่า หลังจากนั้นวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่ามัธยฐานและค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ มีค่าน้อย ๆ แสดงว่ามีความคิดเห็นอันเดียวกัน

6. การวิเคราะห์เส้นทาง (Path Analysis)
            การวิเคราะห์เส้นทาง เป็นวิธีการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรหลายตัวแปรในเชิงเหตุและผล มีพื้นฐานจากการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณเชิงเส้นตรง การเคราะห์เส้นทางจึงมุ่งศึกษาว่าด้วยตัวแปรพยากรณ์หลายตัว โดยวิเคราะห์เส้นทาง วิเคราะห์เส้นโยง วิเคราะห์อิทธิพล และวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุจำแนกตัวแปรได้ 3 ประเภท
            ตัวแปรภายนอก (Exogenous Variable) เป็นตัวแปรเริ่มแตกของรูปแบบ ตัวแปรที่เป็นผลมาจากตัวแปรอื่นนอกรูปแบบ ซึ่งผู้วิจัยไม่สนใจอธิบายความแปรปรวนของตัวแปรดังกล่าวว่าได้รับอิทธิพลจากตัวแปรใดบ้าง
            ตัวแปรภายใน (Endogenous Variable) เป็นตัวแปรที่เป็นผลของตัวแปรที่อยู่ในรูปแบบ
            ตัวแปรส่วนที่เหลือ (Residual Variable) เป็นตัวแปรที่ไม่อยู่ในรูปแบบ แต่อาจมีอิทธิพลต่อตัวแปรในรูปแบบที่สร้างขึ้น
            ข้อตกลงเบื้องต้น
            1.ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่าง ๆ ในรูปแบบ การวิเคราะห์เส้นทางเป็นความสัมพันธ์แบบสมการเส้นตรงและเป็นการแสดงความสัมพันธ์แบบเหตุผล
            2.ความคลาดเคลื่อนของการวัดตัวแปรต่าง ๆ ไม่สัมพันธ์กัน
            3.เหตุผลในแผนภาพหรือ รูปแบบของการวิเคราะห์เส้นทางเป็นเหตุผลทางตรงทางเดียว
            4.ระดับการวัดของตัวแปรต่าง ๆ อยู่ในมาตราอัตราภาคชั้น หรือมาตราอัตราส่วน
            ขั้นตอนการวิเคราะห์ ต้องพิจารณาจากหลักการที่สำคัญ 3 ประการคือ
            1.พิจารณาจากแนวคิดหรือทฤษฎีที่ประกอบกับวิจารณญาณของผู้ศึกษา
            2.พิจารณาจากแบบแผนค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่างๆ
            3.ยึดข้อตกลงเบื้องต้นของการวิเคราะห์เส้นทาง
            เช่น
            ถ้าให้   เป็นตัวพยากรณ์ที่มีต่อตัวเกณฑ์ (Y) โดยยึดทฤษฎีและหลักการต่าง ๆ อาจสร้างรูปแบบของความสัมพันธ์เชิงเหตุและผล
            การศึกษาว่าด้านนโยบายองค์การ ลักษณะองค์การ สภาพแวดล้อมขององค์การและลักษณะบุคคลในองค์การส่งผลต่อประสิทธิผลขององค์การหรือไม่
ตรวจสอบแนวคิดของบลูมว่า ความรู้ ความจำ ความเข้าใจ การนำไปใช้ การเคราะห์และการสงเคราะห์ ส่งผลต่อความสามารถในการประเมินค่าหรือไม่
ข้อจำกัด
1.แบบจำลองการวิเคราะห์เส้นทางเป็นแบบจำลองเชิงเส้นตรงทางเดียว ซึ่งในสถานการณ์จริงอาจมีสถานการณ์อื่นๆ ที่มีลักษณะตรงข้ามก็ได้
2.การระบุตัวแปรเชิงเหตุและผล โดยการกำหนดทิศทางความสัมพันธ์ต้องอาศัยทฤษฎีหรือข้อสมมติฐาน การเลือกทฤษฎีจึงมีผลต่อการกำหนดทิศทางของตัวแปรว่าควรเป็นตัวแปรพยากรณ์หรือตัวแปรเกณฑ์
3.ทางปฏิบัติไม่อาจลีกเลี่ยงความสัมพันธ์ไปมาระหว่างตัวแปรพยากรณ์ โดยเฉพาะตัวพยากรณ์ที่ไม่ได้รวมอยู่ในการเคราะห์นี้ เกิดขึ้นเสมอกับการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงไขว้ (Crossection Data)
-การศึกษาอิทธิพลของการคุมกำเนิดต่อการมีบุตรโดยการควบคุมอายุปัจจุบันและอายุแรกสมรส

การวิเคราะห์สหสัมพันธ์ (correlation analysis) เป็นการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง
ตัวแปรที่มีอยู่ว่า มีความสัมพันธ์กันมากน้อยเพียงใด ถ้ามีตัวแปรเพียงสองตัว เรียกว่า การ
วิเคราะห์สหสัมพันธ์อย่างง่าย หรือ การวิเคราะห์สหสัมพันธ์เชิงเดี่ยว (simple correlation analysis) แต่ถ้ามีตัวแปรมากกว่าสองตัว เรียกว่า การวิเคราะห์สหสัมพันธ์พหุคูณ (multiple correlation analysis)
Correlation เพื่อทดสอบความสัมพันธ์ทั้งแบบ pearson correlation และแบบ Spearman Rank Correlation โดยมีเงื่อนไขในการใช้แตกต่างกัน

t – test
1. กรณีกลุ่มตัวอย่างหนึ่งกลุ่ม ใช้ทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยระหว่างกลุ่มตัวอย่างกับประชากร
2. กรณีกลุ่มตัวอย่างสองกลุ่ม
- ทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยระหว่างกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่มที่เป็นอิสระจากกัน
- ทดสอบความแตกต่างของสัดส่วนระหว่างกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่มที่สัมพันธ์กัน
z-test
1. กรณีกลุ่มตัวอย่างหนึ่งกลุ่ม
- ทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยระหว่างกลุ่มตัวอย่างกับประชากร
- ทดสอบความแตกต่างของสัดส่วนระหว่างกลุ่มตัวอย่างกับประชากร
2. กรณีกลุ่มตัวอย่างสองกลุ่ม
- ทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยระหว่างกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม
- ทดสอบความแตกต่างของสัดส่วนระหว่างกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม
Pearson Correlation เป็นการหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร 2 ตัวที่อยู่ในมาตราการวัดระดับ Interval หรือ Ratio Scale ค่าที่ได้เรียกว่า "สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์" โดยปกติจะมีค่าอยู่ระหว่าง -1.00 ถึง 1.00
- ถ้ามีค่าติดลบหมายความว่า ตัวแปร 2 ตัวมีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้าม
- ถ้ามีค่าเป็นบวกหมายความว่า ตัวแปร 2 ตัวมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกัน
- ถ้ามีค่าเป็น 0 หมายความว่าตัวแปร 2 ตัวไม่มีความสัมพันธ์กัน
Spearman Rank Correlation เป็นการหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร 2 ตัวที่อยู่ในมาตราการวัดระดับ Ordinal Scale โดยปกติจะมีค่าอยู่ระหว่าง -1.00 ถึง 1.00
- ถ้ามีค่าติดลบหมายความว่า ตัวแปร 2 ตัวมีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้าม
- ถ้ามีค่าเป็นบวกหมายความว่า ตัวแปร 2 ตัวมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกัน
- ถ้ามีค่าเป็น 0 หมายความว่าตัวแปร 2 ตัวไม่มีความสัมพันธ์กัน
Kendall Tau Correlation เป็นการหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร 2 ตัวที่อยู่ในมาตราการวัดระดับ Ordinal Scale โดยปกติจะมีค่าอยู่ระหว่าง -1.00 ถึง 1.00
- ถ้ามีค่าติดลบหมายความว่า ตัวแปร 2 ตัวมีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้าม
- ถ้ามีค่าเป็นบวกหมายความว่า ตัวแปร 2 ตัวมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกัน
- ถ้ามีค่าเป็น 0 หมายความว่าตัวแปร 2 ตัวไม่มีความสัมพันธ์กัน
Point Biserial Correlation เป็นการหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร 2 ตัว โดยตัวแปรตัวหนึ่งอยู่ในมาตราการวัดระดับ Interval หรือ Ratio Scale และอีกตัวหนึ่งอยู่ในมาตราการวัดระดับ Nominal Scale ที่แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม โดยปกติจะมีค่าอยู่ระหว่าง -1.00 ถึง 1.00
- ถ้ามีค่าติดลบหมายความว่า ตัวแปร 2 ตัวมีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้าม
- ถ้ามีค่าเป็นบวกหมายความว่า ตัวแปร 2 ตัวมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกัน
- ถ้ามีค่าเป็น 0 หมายความว่าตัวแปร 2 ตัวไม่มีความสัมพันธ์กัน
Multiple Correlation เป็นการหาความสัมพันธ์ระหว่างชุดของตัวแปรที่อยู่ในระดับ Interval หรือ Ratio Scale ที่ประกอบไปด้วยตัวแปรตาม 1 ตัวและตัวแปรอิสระมากกว่า 1 ตัว
Multiserial Correlation เป็นการหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรโดยตัวแปรตัวหนึ่งจะต้องอยู่ในมาตราการวัดระดับ Interval หรือ Ratio Scale และชุดของตัวแปรที่อยู่ในมาตราการวัดระดับ Ordinal Scale
Partial Correlation กรณีที่มีตัวแปรหลาย ๆ ตัว และตัวแปรแต่ละตัวต่างก็มีความสัมพันธ์กัน หากคำนวณหาค่าสหสัมพันธ์ทีละคู่ ค่าที่ได้จะไม่ตรงกับความเป็นจริงเพราะได้รวมความสัมพันธ์ของตัวแปรอื่น ๆ ไว้ด้วย ดังนั้นจึงต้องมีการขจัดอิทธิพลของตัวแปรอื่น ๆ ออกไปด้วย
สำหรับหาสหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร 2 ตัวที่อยู่ในมาตราการวัดระดับ Interval หรือ Ratio Scale ที่มีการขจัดตัวแปรอื่น ๆ ออกไป
Phi Coefficient เป็นการหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร 2 ตัวที่อยู่ในมาตราการวัดระดับ Nominal Scale ที่แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มเท่านั้น
Contingency Coefficient เป็นการหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร 2 ตัวที่อยู่ในมาตราการวัดระดับ Nominal Scale โดยปกติจะมีค่าอยู่ระหว่าง 0 กับ 1
Analysis of Variance เป็นการหาความแตกต่างของค่าเฉลี่ยระหว่างกลุ่มตัวอย่างตั้งแต่ 2 กลุ่มขึ้นไป โดยตัวแปรตามจะมีเพียง 1 ตัวอยู่ในมาตราการวัดระดับ Interval หรือ Ratio Scale และตัวแปรอิสระตั้งแต่ 1 ตัวขึ้นไปอยู่ในมาตราการวัดระดับ Nominal Scale
ถ้าวิเคราะห์กับตัวแปรอิสระ 1 ตัว เรียกว่า One-way ANOVA
ถ้าวิเคราะห์กับตัวแปรอิสระ 2 ตัว เรียกว่า Two-way ANOVA
ถ้าวิเคราะห์กับตัวแปรอิสระ 3 ตัว เรียกว่า Three-way ANOVA
ฯลฯ
Analysis of Covariance เป็นการหาความแตกต่างของค่าเฉลี่ยระหว่างกลุ่มตัวอย่างตั้งแต่ 2 กลุ่มขึ้นไป โดยตัวแปรตามจะมีเพียง 1 ตัวอยู่ในมาตราการวัดระดับ Interval หรือ Ratio Scale ตัวแปรอิสระตั้งแต่ 1 ตัวขึ้นไปอยู่ในมาตราการวัดระดับ Nominal Scale และตัวแปรร่วมตั้งแต่ 1 ตัวขึ้นไปอยู่ในมาตราการวัดระดับ Interval หรือ Ratio Scale
ถ้าวิเคราะห์กับตัวแปรอิสระ 1 ตัว เรียกว่า One-way ANCOVA
ถ้าวิเคราะห์กับตัวแปรอิสระ 2 ตัว เรียกว่า Two-way ANCOVA
ถ้าวิเคราะห์กับตัวแปรอิสระ 3 ตัว เรียกว่า Three-way ANCOVA
ฯลฯ
Analysis of variance with Repeated measures เป็นรูปแบบการวิเคราะห์ความแปรปรวนที่มีการวัดซ้ำมากกว่า 1 ครั้งในช่วงเวลาที่แตกต่างกัน กลุ่มตัวอย่างตั้งแต่ 1 กลุ่มขึ้นไป โดยตัวแปรตามจะมีเพียง 1 ตัวอยู่ในมาตราการวัดระดับ Interval หรือ Ratio Scale ที่มีการวัดซ้ำมากกว่า 1 ครั้ง ถ้ากลุ่มตัวอย่าง 1 กลุ่มจะไม่ปรากฏตัวแปรอิสระ
Discriminant Analysis เป็นการศึกษาว่ามีตัวแปรทำนายตัวใดบ้างที่สามารถใช้ในการจำแนกกลุ่มของตัวแปรเกณฑ์ได้ เพื่อประโยชน์ในการจำแนกกลุ่มตัวอย่างออกเป็นกลุ่ม ๆ ได้อย่างถูกต้อง
ตัวแปรทำนายตั้งแต่ 1 ตัวขึ้นไปอยู่ในมาตราการวัดระดับ Interval หรือ Ratio Scale และตัวแปรเกณฑ์ 1 ตัวอยู่ในมาตราการวัดระดับ Nominal Scale
Factorial ANOVA เป็นคำที่ใช้เรียกสถิติในกลุ่มของการวิเคราะห์ความแปรปรวน ทั้ง ANOVA, ANCOVA และ Repeated Measure ที่มีตัวแปรอิสระตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไป
Canonical Correlation เป็นการหาความสัมพันธ์ระหว่างชุดของตัวแปรอิสระและชุดของตัวแปรตาม โดยตัวแปรอิสระจะมีตั้งแต่ 1 ตัวขึ้นไป และตัวแปรตามมีมากกว่า 2 ตัว โดยตัวแปรทั้งหมดควรอยู่ในมาตราการวัดระดับ Interval หรือ Ratio Scale
Hotelling  เป็นการทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม โดยมีตัวแปรอิสระ 1 ตัวอยู่ในมาตราการวัดระดับ Nominal Scale ที่แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม และตัวแปรตามมากกว่า 1 ตัวอยู่ในมาตราการวัดระดับ Interval หรือ Ratio Scale
Multivariate Analysis of Variance เป็นการทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่างตั้งแต่ 2 กลุ่มขึ้นไป โดยตัวแปรอิสระจะมีตั้งแต่ 1 ตัวขึ้นไปอยู่ในมาตราการวัดระดับ Nominal Scale และตัวแปรตามมากกว่า 1 ตัวอยู่ในมาตรการวัดระดับ Interval หรือ Ratio Scale
ถ้ามีตัวแปรอิสระ 1 ตัว เรียกว่า One-way MANOVA
ถ้ามีตัวแปรอิสระ 2 ตัว เรียกว่า Two-way MANOVA
ถ้ามีตัวแปรอิสระ 3 ตัว เรียกว่า Three-way MANOVA
ฯลฯ
ถ้ามีตัวแปรร่วม จะเรียกว่า "Multivariate Analysis of Covariance"
Binomial Test เป็นการทดสอบความน่าจะเป็นของข้อมูลระดับ Nominal Scale ที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้เพียง 2 อย่าง (Dichotomous)
Kolmogorov Smirnov Test
1. Kolmogorov Smirnov One Sample Test เป็นการทดสอบตัวแปรว่ามีการแจกแจงเป็นโค้งปกติหรือไม่ (Goodness of fit) โดยตัวแปรจะต้องอยู่มาตราการวัด Ordinal Scale
2. Kolmogorov Smirnov Two-Sample Test เป็นการทดสอบความแตกต่างระหว่างกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่มที่เป็นอิสระจากกัน โดยตัวแปรที่นำมาทดสอบจะต้องอยู่มาตราการวัด Ordinal Scale
Wilcoxon matched-pairs Test เป็นการทดสอบความแตกต่างระหว่างกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่มที่สัมพันธ์กัน โดยข้อมูลที่นำมาทดสอบต้องอยู่ในมาตราการวัด Ordinal Scale
Sign Test เป็นการทดสอบความแตกต่างระหว่างกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่มที่สัมพันธ์ โดยข้อมูลที่นำมาทดสอบต้องอยู่ในมาตราการวัด Ordinal Scale
McNemar Test เป็นการทดสอบความแตกต่างระหว่างข้อมูลก่อนและหลังของกลุ่มตัวอย่างกลุ่มเดียวกัน ข้อมูลที่นำมาทดสอบอยู่ในมาตราการวัด Nominal หรือ Ordinal Scale
Mann Whitney U Test เป็นการทดสอบความแตกต่างระหว่างกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่มที่เป็นอิสระจากกัน โดยข้อมูลที่นำมาทดสอบต้องอยู่ในมาตราการวัด Ordinal Scale
Median Test เป็นการทดสอบความแตกต่างระหว่างกลุ่มตัวอย่างตั้งแต่ 2 กลุ่มขึ้นไปที่เป็นอิสระจากกัน โดยข้อมูลที่นำมาทดสอบต้องอยู่ในมาตราการวัด Ordinal Scale
Fisher exact test เป็นการทดสอบความแตกต่างระหว่างกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่มที่เป็นอิสระจากกัน โดยข้อมูลที่นำมาทดสอบต้องอยู่ในมาตราการวัด Nominal Scale ที่แบ่งเป็น 2 กลุ่ม
Friedman Test เป็นการทดสอบความแตกต่างระหว่างกลุ่มตัวอย่างมากกว่า 2 กลุ่มที่สัมพันธ์กัน โดยข้อมูลที่นำมาทดสอบต้องอยู่ในมาตราการวัด Ordinal Scale
Cochran Q Test เป็นการทดสอบความแตกต่างระหว่างกลุ่มตัวอย่างมากกว่า 2 กลุ่มที่สัมพันธ์กัน โดยข้อมูลที่นำมาทดสอบต้องอยู่ในมาตราการวัด Nominal Scale

Kruskal Wallis Test เป็นการทดสอบความแตกต่างระหว่างกลุ่มตัวอย่างมากกว่า 2 กลุ่มที่เป็นอิสระจากกัน โดยข้อมูลที่นำมาทดสอบต้องอยู่ในมาตราการวัด Ordinal Scale

การออกแบบการสอน

การออกแบบการเรียนการสอน

บทนำ

การจัดการศึกษาปัจจุบันยึดหลักว่า “ผู้เรียนสามารถศึกษาค้นคว้า ส่งเสริมการเรียนรู้ พัฒนาตนเองให้มีศักยภาพ หรือ เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง โดยผู้สอนเป็นเพียงผู้คอยชี้แนะแนวทางการเรียนแบบต่างๆ เมื่อผู้เรียนได้รับการชี้แนะแล้วจะต้องศึกษาค้นคว้าพัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเองเป็นหลัก ทั้งนี้การเรียนการสอนปัจจุบันต้องเน้นการสร้างกระบวนการคิดและการเรียนรู้ด้วยตนเอง ซึ่งนักเรียนจะต้องลงมือทำและสะท้อนความคิดจากประสบการณ์ต่างๆ ที่นักเรียนได้รับมาจากสิ่งที่นักเรียนสนใจ ทำให้เกิดความตระหนักในสิ่งที่ได้เรียนรู้ สามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ ตามรูปแบบการเรียนรู้เชิงประจักษ์ เพราะเกิดจากการฝึกฝนการเรียนรู้ด้วยตนเอง การคิดทบทวนความรู้ การออกแบบพัฒนาการเรียนการสอนจึงเกิดจากความต้องการพัฒนาระบบการเรียนการสอนให้ดียิ่งขึ้น จึงได้มีการวิเคราะห์สภาพปัญหาและนำมาทดลองใช้แก้ปัญหาต่างๆ ด้วยการทดลองปฏิบัติและปรับปรุงเรื่อยมา จากการออกแบบพัฒนาการเรียนการสอนหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการเรียนการสอนอย่างรวดเร็ว แต่การเปลี่ยนแปลงการเรียนรู้ในห้องเรียนยังมีการเปลี่ยนแปลงน้อยหรือไม่เคยเปลี่ยนแปลงเลย การเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาจึงกลายเป็นสิ่งจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงบทบาทผู้สอน จากการถ่ายทอดความรู้เป็นผู้คอยชี้แนะแก้ปัญหา ผู้ร่วมกิจกรรม เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองมากขึ้น รู้จักสืบเสาะหาความรู้จากแหล่งทรัพยากรต่างๆ ด้วยเหตุนี้ผู้สอนจึงจำเป็นต้องมีความรู้ความสามารถ มีบทบาทสำคัญต่อนักเรียนเพิ่มขึ้น ทั้งในการออกแบบ วางแผนพัฒนาหลักสูตรและการสอน การแนะนำและการประเมินผลการเรียน การเรียนรู้จึงเป็นกิจกรรมที่ซับซ้อนและได้มีการออกแบบพัฒนาการสอนที่ได้จากการเปลี่ยนแปลงแนวคิดที่เกิดจากตัวแปรหลายประการที่ทำให้แนวคิดเปลี่ยนไป ได้แก่ทฤษฎีการเรียนรู้และกระบวนการออกแบบและพัฒนาระบบการแก้ปัญหาการเรียนการสอน ได้รับการวางแผนที่เหมาะสม ปฏิบัติได้จริงด้วยการแก้ไขปัญหาได้ เป็นการช่วยลดช่องว่างระหว่างแนวทฤษฎีและการปฏิบัติได้ หลังจากนั้นจึงมีการนำเอาเทคโนโลยีเข้ามาช่วยจัดการเรียนการสอน การแก้ปัญหา ผลิตสื่อใช้ในการเรียนรู้เพื่อลดภาระเวลาการสอนของผู้สอนได้ ช่วยให้ผู้เรียนประสบความสำเร็จในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเรียนตามจุดมุ่งหมายการสอนการใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์สูงสุด และลดอุปสรรคต่างๆ ในการออกแบบการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การออกแบบพัฒนาระบบการเรียนการสอน สามารถแบ่งออกเป็น 5 ลักษณะ ได้แก่
1. การวิเคราะห์
โดยสภาพการมนุษย์มีความต้องการปัจจัยพื้นฐานของชีวิตและความต้องการในการดำเนินชีวิต ความต้องการนี่เองที่ทำให้มนุษย์คิดค้นวิธีการ สร้างสิ่งที่ตนต้องการให้มีประสิทธิภาพและตรงตามความต้องการมากที่สุด จึงเกิดแนวคิดเบื้องต้นในการออกแบบซึ่งจะต้องวิเคราะห์เป็นขั้นแรก ด้วยเหตุนี้เองการพัฒนาการเรียนการสอนจึงต้องมีการวิเคราะห์องค์ประกอบสำคัญเกี่ยวกับการเรียนการสอน แบ่งออกได้ 4 ประการ ได้แก่
ความจำเป็นหรือความต้องการทางการเรียน (Learning Needs Analysis) คือกระบวนการจำแนกให้ทราบความจำเป็น ปัญหาหรือเหตุผลในการออกแบบ เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจและกำหนดทิศทางในเชิงปฏิบัติ
ผู้เรียน (Learner Characteristics) คือ การวิเคราะห์พฤติกรรมของผู้เรียนในด้านต่างๆ เช่น ความรู้ ความคิด เจตคติและทักษะของผู้เรียน เป็นการวิเคราะห์พฤติกรรมเบื้องต้น สิ่งที่ควรนำมาช่วยวิเคราะห์ คือ ข้อมูลทางวิชาการ ทักษะการสื่อสาร วิธีการเรียนรู้ คือความถนัดในการเรียนรู้ของนักเรียน บุคลิกภาพและเจตคติทางสังคม สุขภาพกายและสุขภาพจิต ลักษณะที่แตกต่างกันของผู้เรียน
เนื้อหา/ภารกิจ (Subject Content and Task Analysis) คือการกำหนดจุดมุ่งหมายทั่วไปของการเรียนการสอนขึ้นมาแล้วทำการวิเคราะห์เนื้อหา ภารกิจ ที่มีอิทธิพลสำคัญต่อการสร้างเจตคติและค่านิยม และแรงจูงใจต่อความรู้สึกของผู้เรียนที่แฝงอยู่ในกิจกรรมการเรียนการสอน
สภาพการณ์ (Instructional Situation Analysis) คือ การออกแบบการสอนใหม่ที่ต้องคำนึงถึงข้อจำกัดและตัวแปรต่างๆ ได้แก่ ลักษณะของเนื้อหา/หลักสูตร บุคลากร วัสดุอุปกรณ์ งบประมาณ สภาพแวดล้อมทางกายภาพ ลักษณะชุมชนและตลาดแรงงาน ซึ่งสิ่งเหล่านี้มีอิทธิพลต่อการปรับปรุงหรือการออกแบบ จึงต้องมีการจัดลำดับความสำคัญของปัญหาหรือลดอุปสรรคที่อาจจะเกิดขึ้น เพื่อป้องกันปัญหานี้จึงต้องมีการนำมาวิเคราะห์สภาพการณ์ต่างๆ ด้วย


2. การออกแบบ
ผลของการวิเคราะห์เป็นองค์ประกอบสำคัญในการนำมาออกแบบการพัฒนาการเรียนการสอน หมายถึงการนำเอาผลหรือความรู้นั้นมาเป็นข้อมูลในการออกแบบให้บรรลุจุดมุ่งหมายหรือแผนงาน จึงเป็นการวางแผนกระบวนการเรียนการสอน เริ่มต้นด้วยการกำหนดจุดมุ่งหมายการเรียนเชิงพฤติกรรม ยุทธศาสตร์และรูปแบบการสอน และการเลือกสื่อการเรียนการสอน เป็นแนวทางการพิจารณาเลือกหรือออกแบบด้านพุทธิพิสัย จิตพิสัย และทักษะพิสัย เพื่อมุ่งให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ตามลำดับขั้นก่อนการเรียนรู้จุดหมายปลายทาง
จุดมุ่งหมายการสอน หมายถึง ผลที่ได้จากการวิเคราะห์เนื้อหา ภารกิจ หลักสูตร จะนำมาเขียนหรือเลือกจุดมุ่งหมายชี้นำวิธีการปฏิบัติ ให้นักเรียนมีองค์ความรู้ เปรียบเทียบความรู้ใหม่เกิดความสัมพันธ์กับแนวคิดพื้นฐานเดิมของผู้เรียน สามารถมองเห็นความเหมือนหรือความแตกต่างในสิ่งที่เรียน โดยต้องผ่านกระบวนการทดสอบทั้งผู้สอนและผู้เรียนยอมรับ รับผิดชอบการออกแบบและพัฒนาการเรียนการสอนได้เป็นอย่างดี การจัดลำดับจุดมุ่งหมายอย่างมีเหตุผลมีความสัมพันธ์กับความก้าวหน้าด้านการเรียนรู้ หรือพฤติกรรมอื่นที่ซับซ้อนจึงต้องมีการจัดลำดับจุดมุ่งหมายการสอนอย่างเหมาะสม สามารถแบ่งองค์ประกอบได้ 4 ประการ คือ ผู้เรียน พฤติกรรม สภาพการณ์ และระดับความสามารถ
ทฤษฎีและรูปแบบการสอน การพัฒนายุทธศาสตร์การสอนต้องอาศัยข้อมูลของผู้เรียน วิธีการเรียนรู้ คุณลักษณะของเนื้อหาที่สอน และการเลือกยุทธศาสตร์การสอนที่มีประสิทธิผล จากลักษณะของผู้เรียนที่แตกต่างกัน อาจต้องกำหนดให้ผู้เรียนฝึกทางสติปัญญาและทักษะต่างๆ ยุทธศาสตร์การสอนจึงควรมีเนื้อหาและสื่อเรียนเป็นหลัก สามารถแบ่งรูปแบบการสอนได้ 4 กลุ่ม คือ เน้นกระบวนการความรู้ เน้นบุคคล เน้นปฏิสัมพันธ์ทางสังคม เน้นพฤติกรรม
การออกแบบการสอน ต้องอาศัยข้อมูลข้อมูลของผู้เรียน การสะท้อนจุดมุ่งหมายของผู้เรียน การเรียนรู้ การสอนและการสื่อสาร วิธีการเรียนรู้ คุณลักษณะ ความแตกต่างกันของผู้เรียน ช่วยในการออกแบบการสอนตามยุทธศาสตร์จุดมุ่งหมายเพื่อฝึกสติปัญญาและทักษะต่างๆ จึงควรยึดผู้เรียน เนื้อหาและทรัพยากรการเรียนเป็นหลัก ส่วนทฤษฎีการสอน การเรียนรู้และการรับรู้ขึ้นอยู่กับตัวแปร คือ การกำหนดแนวทางการตอบสนอง การให้ข้อมูลย้อนกลับควรให้ทันทีภายหลังการฝึกปฏิบัติและเข้าใจง่าย การกระทำซ้ำให้เกิดการปรับปรุงการเรียนรู้ และเมื่อมีการเตรียมตัวล่วงหน้าด้วยการใช้สื่อที่เหมาะสมผู้เรียนจะตั้งใจเรียนมากกว่า
สื่อการเรียนการสอน การพิจารณาเลือกคุณลักษณะของสื่อหรือทรัพยากรการเรียนการสอนที่มีผลต่อการเรียนรู้จะช่วยเสริมแรงการเรียนรู้ให้กับนักเรียนมากขึ้น ลักษณะของข้อมูลย้อนกลับทางบวกหรือตัวแปรอื่นๆ และความแตกต่างของด้านช่องทางการสื่อสาร รูปร่างลักษณะของสื่อ ราคา ความสะดวก สื่อของจริง สื่อภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว สื่อประสม คอมพิวเตอร์ เกม และการจำลองสถานการณ์ สื่อกิจกรรม มีผลต่อแรงจูงใจของผู้เรียนเช่นกัน แต่ลื่อทั้งหลายก็มีข้อดีข้อจำกัด เมื่อนำมาใช้ต้องใช้เกณฑ์การพิจารณ์ความเหมาะสมต่อการจัดลักษณะกลุ่มผู้เรียน


3. การพัฒนา
การพัฒนาวัสดุและกิจกรรมการสอน คือการจัดการปรับปรุง ดัดแปลง หรือผลิตแผนการสอน วัสดุการเรียนการสอน เหตุการณ์ และกิจกรรมการเรียนการสอน รวมทั้งการจัดการด้านบุคลากร งบประมาณ และการบริการสนับสนุน กระบวนการพัฒนาการสอนต้องอาศัยยุทธศาสตร์และสื่อที่ควรพัฒนาให้เป็นวัสดุการเรียนการสอน ได้แก่ คู่มือการเรียน วัสดุการเรียนการสอน แบบทดสอบ คู่มือครูหรือแผนการสอน โดยผู้สอนเน้นกระบวนการพัฒนาการเรียนการสอนเป็นการชี้แนะ กำกับ นิเทศ ควบคุม เป็นผู้มีส่วนร่วมในกิจกรรม ส่วนกระบวนการออกแบบการสอนเป็นการวางแผนการสอนรายวิชาหรือการเตรียมการสอน เรียกกันว่า “การบันทึกการสอน”
การเลือกระบบการเรียนการสอน ต้องพิจารณาเลือกระบบการสอนที่คุ้มกับประโยชน์ในการนำมาใช้สอนเป็นสำคัญ ซึ่งการใช้ระบบการเรียนจะใช้งบประมาณในระดับค่อนข้างสูง แต่ในขณะที่ผู้สอนหรือกิจกรรมการสอนมีผู้สอนเป็นฐานยังปฏิบัติภารกิจได้ไม่เต็มที่ กิจกรรมการเรียนการสอนเป็นเครื่องมือพัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้องให้มีทักษะและการเตรียมการสอนจริงไม่เพียงแต่บันทึกข้อมูลแผนการสอนไว้เท่านั้น แต่ยังนำมาพิจารณากำกับพฤติกรรมการเรียนของนักเรียนและผู้สอนให้ดำเนินกิจกรรมต่างๆ ตามเงื่อนไขการเรียนการสอนได้


4. การนำไปใช้
การจัดการเรียนการสอน สามารถจัดทำได้หลายรูปแบบขึ้นอยู่กับสภาพการณ์การสอน เช่น ผู้เรียน เนื้อหาวิชา จุดมุ่งหมายการสอนและอื่นๆ ผู้สอนจะดำเนินการสร้างความพร้อมโดยการจัดเตรียมและจัดให้มีการทดสอบก่อนเรียนเพื่อสร้างความพร้อมให้กับผู้สอนและผู้เรียน สิ่งที่ต้องวางแผนคือ การกำหนดเวลาจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้ผู้ที่เรียนช้าสามารถเรียนได้ทันเพื่อน ไม่เกิดความรู้สึกเบื่อหน่ายในการเรียนจึงจะบรรลุจุดมุ่งหมายเนื้อหาสาระการสอนได้ ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ ความรู้ความเข้าใจแบ่งออกเป็น 3 ระดับคือ เนื้อหาประเภทข้อเท็จจริง เนื้อหาประเภทหลักการและมโนทัศน์ และเนื้ออหาประเภทการคิดแก้ปัญหาและความคิดสร้างสรรค์ เจตคติหรือจิตพิสัยมีขั้นตอน 3 ขั้นคือ การรับทราบข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งนั้นๆ การเกิดความรู้สึกต่อสิ่งนั้น และมีแนวโน้มการแสดงพฤติกรรมในลักษณะของการชอบหรือเกลียดสิ่งนั้น เทคนิคการสอนเนื้อหาประเภททักษะ แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน คือ การให้ความรู้ที่เกี่ยวกับทักษะที่จะเรียนรู้ การฝึกหเกิดทักษะโดยเริ่มจากการจำลองและปฏิบัติจริง เกิดทักษะเป็นการปฏิบัติกิจได้โดยอัตโนมัติ เนื้อหาทั้งสามประเภทนี้ต้องปฏิบัติควบคู่กันอยู่เสมอ


5. การประเมินและการปรับปรุง
การประเมินเป็นรูปแบบหนึ่งของการควบคุมคุณภาพการเรียนการสอน ถ้าผู้เรียนไม่เรียนหรือเรียนไม่ได้ ไม่ได้เป็นข้อบกพร่องของผู้สอนหรือระบบการเรียนการสอน เพราะคนทั่วไปเข้าใจว่าการสอนทำให้เกิดการเรียนรู้ ถ้าไม่เกิดความรู้แสดงว่าไม่ได้สอน แต่การประเมินที่ถูกต้องคือการประเมินการศึกษาภาพรวมของระบบการสอน เพื่อปรับปรุงแก้ไขการเรียนการสอนให้ดีขึ้น การประเมินโปรแกรมทำได้ 2 ลักษณะคือ การประเมินระหว่างดำเนินการและการประเมินผลรวม ซึ่งจะต้องมีการออกแบบการประเมินโดยบุคคลหรือกลุ่มคณะออกแบบและพัฒนาการสอนตรงตามเป้าหมายของการนำไปใช้สอนได้ การประเมินผลการเรียนเป็นส่วนหนึ่งของโปรแกรมการเรียนการสอน อาจวัดได้หลายวิธีแต่ที่นิยมมี 2 วิธี คือ การวัดแบบอิงกลุ่ม หมายถึงการนำผู้เรียนแต่ละคนไปเปรียบเทียบกับผู้เรียนคนอื่นๆ ในชั้นเรียนเดียวกันหรือระดับเดียวกัน ผู้เรียนจะเกิดการแข่งขันกัน ส่วนการวัดแบบอิงเกณฑ์ วัดความรู้ความสามารถของผู้เรียนแต่ละคน โดยอิงเกณฑ์ตามจุดมุ่งหมายการเรียนเป็นหลัก ผู้เรียนจะแข่งกับตัวเอง พยายามเรียนรู้อย่างเต็มที่ด้วยตนเอง ในการประเมินโปรแกรมศึกษาโดยทั่วไปจะมีรูปแบบสำคัญ 4 กลุ่ม คือ 1)กลุ่มการประเมินที่ยึดวัตถุประสงค์และจุดมุ่งหมายโปรแกรมเป็นหลัก 2)กลุ่มการประเมินแบบตอบสนองที่ยึดความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องกับโครงการเป็นหลัก 3)กลุ่มการประเมินเพื่อการตัดสินใจ 4)กลุ่มการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญ จึงกลายเป็นกระบวนการที่มีประโยชน์ เป็นแนวทางการตัดสินใจในการดำเนินการโปรแกรมและสุดท้ายต้องมีการรายงานผลการประเมินให้ผู้เกี่ยวข้องทราบด้วย

ตัวอย่าง


การออกแบบการเรียนออนไลน์ด้วย Moodle
เรื่อง การใช้งาน Social Network ด้วย Facebook และ Google Docs
          ปัจจุบันคอมพิวเตอร์เป็นส่วนหนึ่งด้านการจัดการศึกษา ช่วยส่งเสริมความพร้อมและสนับสนุนการเรียนรู้ สร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้งาน Facebook และ Google Docs ในการเรียนการสอนให้เกิดประสิทธิภาพและเข้าถึงข้อมูลได้รวดเร็ว พฤติกรรมการใช้ Social Network มีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา จึงกลายเป็นที่รู้จักและเล่นกันอย่างแพร่หลาย นักเรียนสามารถใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตเข้าถึงการบริการ เพื่อสนทนา ติดต่อสื่อสารกับเพื่อหรือคนรุ้จักได้ตลอดเวลา โต้ตอบ ฝากข้อความ แลกเปลี่ยนรูปถ่าย ภาพเคลื่อนไหวผ่านเครื่อง PC, Notebook, Smart Phone และ iPhone
ดังนั้น การใช้ Social Network ในการเรียนรู้ สามารถเชื่อมโยงผู้ใช้ในทิศทางต่างๆ มีพื้นที่ในการทำความรู้จักกัน โดยสามารถเลือกมีการมีปฏิสัมพันธ์กับใครก็ได้ตามต้องการ ส่วน Google Docs สามารถสร้างและการใช้เว็บไซต์ของกลุ่มหรือรายวิชาร่วมกันได้


หัวข้อที่ 1 : ให้นักเรียนสมัคร E-mail , สมัครสมาชิก Moodleและล็อกอินเข้าเรียน
นักเรียนสมัคร E-mail ผ่าน gmail.com ลงทะเบียนหรือล็อกอินเข้าสู่บทเรียน โดยระบุชื่อผู้ใช้ และรหัสผ่าน เพื่อยืนยันการเข้าเข้าระบบทางอีเมล และล็อกอินเข้าระบบ
ให้นักเรียนลงทะเบียนเข้าเรียนประจำรายวิชา รายงานตัว กรอกข้อมูลประวัติ กำหนดชื่อแทนตัวเองอีเมล และรูปภาพแทนตัวตน หลังจากนั้นทุกคนร่วมตอบกระทู้แนะนำตัวเองให้เพื่อนๆ ได้ทราบเป็นข้อมูลเบื้องต้น ส่วนนักเรียนที่ยังไม่ได้สมัครเข้าใช้งาน Google Docs ให้ทำการสมัครผ่านเว็บไซต์ Gmail.com โดยนักเรียนจะต้องมีอีเมล Gmail เป็นของตนเองอย่างน้อย ๑ อีเมล เมื่อนักเรียนสมัครครบทุกคนแล้วผู้สอนจะแจ้งให้นักเรียนเทราบและกำหนดการใช้งานร่วมกัน
นักเรียนศึกษาข้อตกลงการศึกษาและข้อปฏิบัติเกี่ยวกับรายวิชา ศึกษาเอกสารและร่วมทำกิจกรรมประจำหัวข้อ ดังนี้
1) ศึกษาบทเรียนและเอกสาร
2) เข้าร่วมกิจกรรมในกระดานสนทนา ซักถามข้อสงสัย
3) โพสต์แสดงความคิดเห็นการเรียนออนไลน์ตามประเด็นที่กำหนด


จุดประสงค์การเรียนรู้
ผู้เรียนสามารถให้บอกประวัติความเป็นมาของ Facebook และ Google Docs จำแนกความสำคัญของแต่ละข้อ แนวคิดเกี่ยวกับการใช้งาน องค์ประกอบ โดยเน้นแนวคิดความสำคัญต่อการประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนได้


เนื้อหา
Facebook คือ บริการบนอินเทอร์เน็ตบริการหนึ่ง ที่จะทำให้ผู้ใช้สามารถติดต่อสื่อสารและร่วมทำกิจกรรมใดกิจกรรม หนึ่งหรือหลายๆ กิจกรรมกับผู้ใช้ Facebook คนอื่นๆ ได้ หรือการตั้งประเด็นถามตอบในเรื่องที่สนใจ โพสต์รูปภาพ โพสต์คลิปวิดีโอ เขียนบทความหรือบล็อก แชทคุยกันแบบสดๆ เล่นเกมส์แบบเป็นกลุ่ม (เป็นที่นิยมกันอย่างมาก) และยังสามารถทำกิจกรรมอื่นๆ ผ่านแอพลิเคชั่นเสริม (Applications) ที่มีอยู่อย่างมากมาย ซึ่งแอพลิเคชั่นดังกล่าวได้ถูกพัฒนาเข้ามาเพิ่ม เติมอยู่เรื่อยๆ
Google Docs คือเว็บไซต์ของ Google ที่ให้บริการสร้างเว็บไซต์ฟรี ซึ่งเราสามารถสร้างเว็บไซต์ได้อย่างง่ายดาย โดยผู้ใช้สามารถปรับแต่งลักษณะของเว็บไซต์ได้ตามความต้องการ สามารถรวบรวมความหลากหลายของข้อมูลไว้ในที่เดียวได้ เช่น วิดีโอ ปฏิทินการนําเสนอเอกสารหรือสิ่งที่แนบ และข้อความ รวมไปถึงความสามารถในการกําหนดความเป็นส่วนตัวของเว็บไซต์ด้วย
           
แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม
บทเรียน How to Facebook.mp4 นักเรียนต้องเปิดด้วย filefox, IE8 และ Chrome และติดตั้ง Plugin Windows Media Player


ศึกษาเอกสารประกอบการเรียนตอนที่ 1 :
E-Book การใช้งาน Facebook เบื้องต้น
การสร้างงานด้วย Google Docs จากเอกสารเรื่อง Google-Documents, การสร้างงานด้วย Google Docs ประกอบด้วย เอกสาร สเปรดชีต งานนำเสนอ ภาพวาด และฟอร์ม
เอกสารอ่านเพิ่มเติม ศึกษาบทเรียนบนเว็บไซต์ การสร้างงานด้วย Facebook และ Google Docs


กิจกรรมเรียนรู้
นักเรียนเล่าประสบการณ์การใช้ Facebook และ Google Docs ผ่านกระดานสนทนา
นักเรียนทบทวนบทเรียน เอกสารการเรียน และเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง
ทำแบบทดสอบก่อนเรียน เพื่อวัดระดับความรู้นักเรียนเบื้องต้น
เข้าสู่บทเรียนออนไลน์
ถาม-ตอบระหว่างกัน แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการเรียนการสอนผ่าน Facebook และ Google Docs ผ่านกระดานเสวนา
ทำงานตามใบงานที่กำหนดขึ้น และส่งงานผ่าน Facebook และ Google Docs
แทรกคลิปวีดีโอจาก Youtube นำมาวางใน Facebook และแสดงความคิดเห็นจากประเด็นที่กำหนด
Google Docs
วิเคราะห์ผู้ฟัง จากการนำเสนอผลงาน
ค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติม
แสดงความคิดเห็น “การนำเสนอผลงานผ่าน Google Doc” โดยการสร้างงาน PowerPoint ใน Google Docs




เครื่องมือที่ใช้ / การเก็บข้อมูล
แบบกรอกประวัตินักเรียน
แบบบันทึกการใช้งานผ่าน Social Network ของนักเรียน
ใบงานการใช้ Facebook และ Google Docs โดยการทำงานกลุ่ม และการมีส่วนร่วมในการทำงาน
ผลการแก้ปัญหา
หลังจากทำการเรียนการสอนพบว่า Social Network เป็นเครื่องมือการเรียนการสอนที่เข้าถึงผู้เรียนได้ดีและรวดเร็ว ทำให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น การทำงานและส่งงานรวดเร็ว โดยสังเกตจากการทำงานของนักเรียน ได้แก่
1.นักเรียนมีความสามารถเข้าถึง Facebook และ Google Docs ได้รวดเร็ว เพราะในชีวิตประจำวันนักเรียนมีการติดต่อสื่อสารระหว่างกลุ่ม เพื่อน คนรู้จัก มีทักษะการใช้งานเป็นประจำผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์และโทรศัพท์มือถือ ส่วน Google Docs แม้นักเรียนจะยังไม่เคยใช้งาน แต่ไม่ได้ทำเกิดความยากในการใช้งานไม่ซับซ้อน ไม่ยากต่อการเรียนรู้ นักเรียนสามารถสร้างงานตามที่ผู้สอนกำหนด และส่งงานตามที่ได้รับมอบหมายได้
2.นักเรียนสามารถใช้ Facebook และ Google Docs ในการทำงานกลุ่ม โดยนักเรียนทุกคนมีส่วนร่วมในการทำงาน เช่น การตั้งชื่อกลุ่ม การแทนชื่อตนเองบนเว็บไซต์ การใช้สีอักษรในการทำงานที่แตกต่างกันทำให้สังเกตได้ง่ายว่าผู้ใดทำงานหรือไม่ทำงาน รวมถึงการสนทนาบนกระดานสนทนา การซักถามประเด็นที่เกี่ยวข้อง
3.นักเรียนที่ไม่เข้าเรียนในกลุ่ม ไม่สนทนาถาม-ตอบกับกลุ่มเพื่อน หัวหน้ากลุ่มจะต้องติดตาม ผู้สอนถามประเด็นปัญหาการไม่เข้าเรียน และร่วมแก้ปัญหานักเรียนรายบุคคลต่อไป


สิ่งที่ได้จากการเรียนในตอนที่ 1 (การวิเคราะห์)
การศึกษาวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมด้วยการละลายพฤติกรรมให้นักเรียนได้แสดงความคิดเห็น แนะนำตัว การกรอกประวัตินักเรียนทำให้ทราบข้อมูลเบื้องต้น สร้างปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนนักเรียนและผู้สอน ทำการสอบวัดความรู้เบื้องต้นด้วยแบบทดสอบก่อนเรียน นำผลที่ได้มาประเมินค่าพื้นฐาน วิเคราะห์ผู้เรียน เนื้อหาข้อสอบ และจัดเก็บแบบทดสอบที่มีความสมบูรณ์เหมาะสมไว้สอบหลังเรียน แบบทดสอบต้องมีกระบวนการคิดของผู้เรียน ความสามารถในการอ่าน การใช้ศัพท์ของผู้สอน ลักษณะเด่น ข้อบกพร่องของข้อสอบแต่ละข้อเพื่อนำไปใช้ให้เหมาะสม ได้จากการวางแผน จุดประสงค์ที่เหมาะสมกับคะแนนตามสถานการณ์ ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้มากขึ้น ด้านกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจและการเรียนรู้ร่วมกัน โดยใช้กระดานสนทนา อภิปรายแสดงความคิดเห็น การสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างการเรียนผ่านห้องสนทนา


ประโยชน์


ตอนที่ 2 การออกแบบ
หัวข้อนี้จะสรุปบทเรียนของหัวข้อที่ผ่านมาถึงกิจกรรมต่างๆ อันสะท้อนถึงเป้าหมายการเรียน ที่แสดงให้เห็นถึงวิธีการออกแบบสำหรับกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลาย เช่น นักศึกษา สำหรับครู นักเรียนชั้นมัธยม และกลุ่มเป้าหมายทุกกลุ่ม ในขณะที่หัวข้อแรกเปิดโอกาสให้นักเรียนได้ลองวิเคราะห์การใช้งานออนไลน์ Facebook และ Google Docs ซึ่งเป็นการมองกลับไปดูว่า ในแต่ละกลุ่ม มีการออกแบบอย่างไร เพื่อเป็นแนวทางในการออกแบบการเรียน ในหัวข้อที่ 2 มีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักเรียนเห็นว่าองค์ประกอบใดเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ขาดไม่ได้ของการออกแบบการเรียนการสอน ซึ่งมีผลต่อแรงจูงใจในการเข้าเรียน
กิจกรรมในหัวข้อที่ 2 เริ่มเข้าสู่ขั้นตอนของการออกแบบการเรียนออนไลน์ ซึ่งในการออกแบบดำเนินการตามขั้นตอน ADDIE อันประกอบด้วย A = Analysis (การวิเคราะห์) D = Design (การออกแบบ) D = Development (การพัฒนา) I = Implementation (การนำไปใช้) และ E = Evaluation (การประเมินผล)


รายละเอียดกิจกรรม
1) ศึกษาบทเรียน เอกสารการเรียน E-Book และเอกสารที่เกี่ยวข้อง
2) เข้าร่วมกิจกรรมเรียนรู้
3) โพสต์ Online Learning Log ตามประเด็นที่กำหนด
4) ลงชื่อสมัครเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มเตรียมพร้อมสำหรับทำกิจกรรม


จุดประสงค์การเรียนรู้
นักเรียนสามารถวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน ได้แก่ กลุ่มเป้าหมาย วัตถุประสงค์ เนื้อหา บริบทการเรียน เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการออกแบบและพัฒนาการสร้าง Facebook และ Google Docs สำหรับการเรียนได้
นักเรียนสามารถวิเคราะห์โครงสร้าง Facebook และ Google Docs เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการออกแบบและพัฒนาเว็บไซต์สำหรับการเรียนการสอนได้
นักเรียนสามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์องค์ประกอบที่สำคัญของ Facebook และ Google Docs ที่ีประสิทธิภาพสำหรับการเรียนได้


เนื้อหาการเรียน
ลักษณะและรูปแบบการสร้างกลุ่มการเรียน Facebook (กลุ่มเปิด, กลุ่มปิด, กลุ่มลับ) และ Google Docs
การเรียนรู้และการประยุกต์ใช้ Facebook และ Google Docs (การสร้างกิจกรรมในกลุ่ม)
สำรวจการใช้งาน Facebook และ Google Docs จากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ
เครื่องมือที่ใช้ออกแบบและพัฒนาการเรียนบน Facebook และ Google Docs
เอกสารประกอบการเรียนที่ 2.1
เอกสารประกอบการเรียนที่ 2.2


กิจกรรมเรียนรู้
กระดานเสวนา : รูปแบบการสร้างกลุ่มการเรียน Facebook และ Google Docs
กระดานเสวนา : การประยุกต์ใช้ Facebook และ Google Docs ในการทำงาน
กระดานเสวนา : สำรวจการใช้งาน Facebook และ Google Docs
กระดานเสวนา : เครื่องมือที่ใช้ออกแบบและพัฒนาการเรียนบน Facebook และ Google Docs
กระดานเสวนา : ถาม-ตอบประเด็นปัญหาการใช้งาน Facebook และ Google Docs ระหว่างกัน
นักเรียนลงชื่อทำกิจกรรม และแบ่งกลุ่มนักเรียน กลุ่มละ 3-5 คน หรือทำงานเดี่ยวแต่ต้องได้รับการพิจารณาจากผู้สอน
กระดานเสวนา : ลงชื่อทำงานเดี่ยว
กระดานเสวนา : ลงชื่อกลุ่มที่ 1
กระดานเสวนา : ลงชื่อกลุ่มที่ 2
กระดานเสวนา : ลงชื่อกลุ่มที่ 3
ส่งงานผ่าน Facebook และ Google Docs


หัวข้อที่ 3 การพัฒนา (Develop)
จากการเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ในตอนที่ 2 นักเรียนได้ออกแบบการสร้างกลุ่มบน Facebook และ Google Docs ตามความเหมาะสม โดยเลือกกลุ่มเป้าหมาย วัตถุประสงค์ องค์ประกอบที่สำคัญ ซึ่งเป็นขั้นตอนที่นักเรียนจะต้องลงมือปฏิบัติ และลงชื่อเข้าสมัครเรียนในกลุ่มอื่น นำผลการศึกษาในกลุ่มที่นักเรียนได้ศึกษามาร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับสมาชิกในกลุ่ม นำผลที่ได้จากการสนทนาแลกเปลี่ยนมาปรับปรุงเพื่อพัฒนาชิ้นงาน หรือนำจุดเด่นของกลุ่มอื่นๆ ผสมผสานพัฒนาชิ้นงานกลุ่มของตนเองได้ สมาชิกในกลุ่มต้องใช้เครื่องมือการสื่อสาร Facebook, Google Docs และ Chatroom ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกัน โดยผู้สอนจะคอยกำกับ ควบคุมดูแลการเข้าเรียนของนักเรียนแต่ละกลุ่ม และรายบุคคล ตรวจสอบการร่วมมือในการเรียนภายในกลุ่ม ในด้านการอภิปราย ติดต่อสื่อสาร แลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน ใน Google Docs นักเรียนอาจพิจารณาใช้สี เช่น ภายในกลุ่มมีนักเรียน 5 คน ใช้คนละสีแต่ไม่ซ้ำกัน รวมแล้วมี 5 สี และภายในกลุ่มต้องมีการนัดหมายร่วมประชุมกันเพื่อแบ่งบทบาทหน้าที่รับผิดชอบแต่ละคน กำหนดสิทธิ์ในการทำงานร่วมกัน ในการทำงาน Facebook, Google Docs และ Chatroom ในประเด็นที่ผู้สอนกำหนดให้ ผู้สอนร่วมประเมินงานกลุ่มของนักเรียน สรุปงานที่จะต้องส่ง พร้อมทั้งเสริมแรงให้นักเรียนมีแรงจูงใจต่อการเรียนมากยิ่งขึ้น


จุดประสงค์การเรียนรู้
ผู้เรียนสามารถระบุและวิเคราะห์ถึงองค์ประกอบที่สำคัญของเว็บไซต์สำหรับใช้ในการเรียน Facebook และ Google Docs ได้
ผู้เรียนสามารถพัฒนาประยุกต์ใช้แนวทางในการออกแบบและพัฒนา Facebook และ Google Docs ได้


เนื้อหาการเรียน
ออกแบบการเรียน Facebook ได้แก่ สร้างกลุ่ม, สร้างกิจกรรม, ตารางนัดหมาย, สร้างหน้า Page และ สร้าง Quiz ข้อสอบ
ออกแบบการเรียน Google Docs ได้แก่ การสร้างเอกสาร, การสร้างสเปรดชีต, การสร้างงานนำเสนอ, สร้างภาพวาด, การสร้างฟอร์ม สร้างเอกสารและกำหนดสิทธิ์ใช้งานร่วมกัน
เอกสารประกอบการเรียน ได้แก่ เอกสารการสร้างหน้าเพจ, สอนวิธีทํา quiz ใน facebook, เอกสารการสอน Google Documents, การสร้างตารางด้วยสเปรดชีต, การสร้างแบบสอบถามด้วย Form


กิจกรรมเรียนรู้
Facebook :
กระดานเสวนา : กิจกรรมที่ 1 สร้างกลุ่ม
กระดานเสวนา : กิจกรรมที่ 2 สร้างกิจกรรม
กระดานเสวนา : กิจกรรมที่ 3 ตารางนัดหมาย
กระดานเสวนา : กิจกรรมที่ 4 สร้างหน้า Page หน้าแฟนเพจ
กระดานเสวนา : กิจกรรมที่ 5 สร้าง Quiz ข้อสอบ
Google Docs :
กระดานเสวนา : กิจกรรมที่ 1 การสร้างเอกสาร (ประเภทข้อความ txt, HTML)
กระดานเสวนา : กิจกรรมที่ 2 การสร้างสเปรดชีต (แปลงสเปรดชีต .xls, .xlsx และ .ods ไม่เกิน 20M)
กระดานเสวนา : กิจกรรมที่ 3 การสร้างงานนำเสนอ (แปลงงานนำเสนอ .ppt, และ .pps ไม่เกิน 10M)
กระดานเสวนา : กิจกรรมที่ 4 การสร้างวาดภาพ (แปลงภาพวาด ไม่เกิน 2M)
กระดานเสวนา : กิจกรรมที่ 5 การสร้างฟอร์ม
กระดานเสวนา : ถาม-ตอบระหว่างกัน “การทำงานร่วมกันในแบบออนไลน์ และการเผยแพร่”
Facebook
Google Docs
สมัคร Facebook (ถ้ามีแล้วให้ข้าม)
สมัคร Gmail.com (ถ้ามีแล้วให้ข้าม)
สร้างกลุ่ม และตั้งชื่อกลุ่ม
สร้างกลุ่ม และตั้งชื่อกลุ่ม
โพสต์ข้อความสั่งงาน หรือนัดหมาย
โพสต์ข้อความสั่งงาน หรือนัดหมาย
โพสต์รูปภาพจาก PowerPoint, Google Doc
อัพโหลดรูปภาพ
อัพโหลดไฟล์อื่นๆ เพื่อให้เพื่อนดาวน์โหลด
แชร์ไฟล์ให้เพื่อนๆ ร่วมทำงาน


หัวข้อที่ 4 การนำไปใช้


บทเรียนนี้ นักเรียนที่ยังไม่ได้ส่งงานที่ได้รับมอบหมาย ขอให้ตรวจสอบรายชื่อกิจกรรมการเรียนการสอน (ส่งการบ้าน) ตามลิงค์ด้านส่งการบ้าน นักเรียนที่ยังไม่ได้ส่งขอให้รีบดำเนินการตามกำหนด สัปดาห์นี้จะเริ่มการประยุกต์ใช้ทฤษฎีการเรียนรู้ และทฤษฎีด้านการออกแบบการเรียนด้วย Facebook และ Google Docs เพื่อให้การออกแบบของนักเรียนตรงตามจุดประสงค์ ซึ่งจะนำไปสู่การเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพสูงสุดเนื้อหาการเรียนจะกล่าวถึงขั้นตอนการพัฒนา (Development) ที่มีรูปแบบแตกต่างกันออกไป จะเน้นในเรื่องของการจัดการเนื้อหา เน้นรูปแบบที่สวยงาม จัดการการเรียนการสอน การติดตามการเรียนของผู้เรียน และระบบสนับสนุนการเรียนต่างๆ สามารถเข้าเรียนได้ทาง M-Learning หรือลองใช้ smart phone เข้าเรียนได้


การศึกษาค้นคว้าข้อมูลจากแหล่งต่างๆ และนำความรู้ที่ได้ไปร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างกันในการพัฒนา Facebook และ Google Docs ของกลุ่มให้เสร็จสมบูรณ์ ศึกษาในบทเรียนที่เกี่ยวข้อง ผู้สอนจะเข้าไปเยี่ยมชมการทำงานในกลุ่มแต่ละกลุ่ม เพื่อศึกษาว่านักเรียนได้ร่วมงานกันเป็นทีมหรือไม่ อย่างไร ถ้ามีการร่วมทำงานกันดี ผู้สอนจะแสดความชื่นมที่มีการร่วมปรึกษา แสดงความคิดเห็น และร่วมแก้ปัญหาการทำงาน ติดตามนักเรียนที่ไม่เข้าร่วมกิจกรรม หรือขาดหายเป็นบางช่วงเวลา ไม่ทำงานส่งหรือส่งยังไม่ครบจำนวนชิ้นงาน ตามลำดับ ต่อจากนั้นจะมีการมอบหมายงานโดยจะมีทั้งงานเดี่ยวและงานกลุ่ม ดังนี้
1) งานกลุ่ม ให้นักเรียนร่วมศึกษาและอภิปรายเนื้อหาเกี่ยวกับการเรียนรู้ (เอกสารแนบ) และหลักการวิธีการออกแบบฯ (เอกสารแนบ) สามารถสืบค้นเนื้อหาเพิ่มเติม จากนั้นขอให้แต่ละกลุ่มประยุกต์ใช้การออกแบบ โดยแสดงสัญลักษณ์ถึงการได้ร่วมอภิปราย เน้นเนื้อหาที่ต้องการจากการใช้ความรู้ต่างๆ บันทึกเป็นไฟล์ภาพนำไปวางในกระดานสนทนา เพื่อให้เพื่อนๆ หรือกลุ่มอื่นได้ร่วมแสดงความคิดเห็น หากกลุ่มใดหรือนักเรียนใดที่ยังไม่ใช้โปรแกรม Google Docs ไม่เป็นควรศึกษาวิธีการจากเอกสาร บทเรียน ขั้นตอนการใช้งานหรือสอบถามหัวหน้ากลุ่ม ก่อนทำงานส่งทุกครั้ง
2) งานเดี่ยว ศึกษาบทเรียนและเอกสาร E-Book (เอกสารแนบ) เข้าร่วมกิจกรรมเรียนรู้ นำกิจกรรมของนักเรียน บันทึกเป็นไฟล์ภาพ สำเนาลงในกระดานสนทนาให้เพื่อนๆ ร่วมโพสต์แสดงความคิดเห็น และร่วมแสดงความคิดเห็นในกลุ่มอื่นๆ ด้วย จากนั้นโพสต์ Online ตามประเด็นที่กำหนด ผู้เรียนค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติมมาแลกเปลี่ยนกับสมาชิกในกลุ่มเพื่อเป็นการสร้างปฏิสัมพันธ์ และนำมาใช้การพัฒนา Facebook และ Google Docs โดยสามารถใช้เครื่องมือที่มีในโปรแกรมหรือวิธีการอื่นๆ ในการติดต่อสื่อสารระหว่างกันได้ตามความสะดวกของผู้เรียน และนักเรียนต้องสรุป เชื่อมโยงประสบการณ์ นำผลการแลกเปลี่ยนความรู้ลงในบันทึกผลการประชุมของแต่ละกลุ่ม โดยส่งตัวแทนนำเสนอตัวอย่างการพัฒนาโครงการของกลุ่มตนเองใน PowerPoint Online


จุดประสงค์การเรียนรู้
ผู้เรียนสามารถประยุกต์ใช้การเรียนรู้ และหลักการออกแบบฯ Facebook และ Google Docs สำหรับใช้ในการเรียนการสอนแบบออนไลน์ได้
ผู้เรียนสามารถระบุและวิเคราะห์ถึงองค์ประกอบที่สำคัญของ Facebook และ Google Docs สำหรับใช้ในการเรียนการสอนแบบออนไลน์ ในรูปแบบจัดการและจัดการการเรียนการสอนได้
ผู้เรียนสามารถพัฒนาประยุกต์ใช้องค์ประกอบที่สำคัญของจัดการเว็บไซต์ Facebook และ Google Docs การจัดการการเรียนการสอน ในการออกแบบบทเรียนออนไลน์ได้ โดยเน้นที่ความสำคัญและการใช้งานตามสภาพจริง


เนื้อหาการเรียน
แหล่งข้อมูล : การติดตั้งโปรแกรมเสริม
แหล่งข้อมูล : การทำลิ้งข้อมูล
แหล่งข้อมูล : กลุ่มการเรียน
แหล่งข้อมูล : การจัดการเพจ
แหล่งข้อมูล : การใช้แบบทดสอบ
แหล่งข้อมูล : รูปแบบคำถาม
แหล่งข้อมูล : การนำแบบสอบถามไปใช้งานจริง
แหล่งข้อมูล : การเข้าดูข้อมูลผู้ตอบแบบสอบถาม
แหล่งข้อมูล : การจัดการฟอร์ม
แหล่งข้อมูล : การแชร์ไฟล์เพื่อเผยแพร่


กิจกรรมเรียนรู้
การบ้าน : นำเสนอความคืบหน้าของงานที่ได้รับมอบหมาย เพื่อเป็นตัวช่วยให้งานแต่ละกลุ่มขับเคลื่อนได้มากขึ้น ผู้สอนจึงได้จัดเตรียมเครื่องมือ เพื่อช่วยในการติดต่อสื่อสารระหว่างกันในการทำงานกลุ่มและเสริมแรงให้ทุกกลุ่มมีแรงจูงใจการทำงานให้ประสบผลสำเร็จ
กระดานเสวนา : กลุ่มที่ 1
กระดานเสวนา : กลุ่มที่ 2
กระดานเสวนา : กลุ่มที่ 3
กระดานเสวนา : การนำไปใช้งานจริง, ชีวิตประจำวัน
กระดานเสวนา : การประยุกต์ใช้ ผลที่ได้จากเรียน
กระดานเสวนา : ประโยชน์ที่ได้จากการเรียนรู้ประจำหัวข้อ
กระดานเสวนา : ถาม-ตอบระหว่างกัน


หัวข้อที่ 5 การประเมิน
กิจกรรมนี้ ขอให้นักเรียนนำเสนองานที่ได้พัฒนาขึ้น โดยการบันทึกภาพหน้าจอและแนบเอกสารที่ได้ทำไว้ รวมถึงอธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับขั้นตอนการพัฒนา Facebook และ Google Docs ของแต่ละกลุ่ม นักเรียนประเมินงานของกลุ่มตัวเอง และของกลุ่มอื่น โดยใช้แนวทางจากเอกสารเกี่ยวกับแนวทางในการประเมินการเรียน ผลการประเมินที่ได้ขอให้นำไปใช้เพื่อปรับปรุง Facebook และ Google Docs ให้ดียิ่งขึ้น
เกณฑ์การประเมินได้แนบมาพร้อมแล้ว โดยพิจารณาเกณฑ์การประเมินผลงานกลุ่มของนักเรียน และส่งตัวแทนร่วมสรุปผลงาน จุดเด่น ข้อเสนอแนะ สิ่งที่ควรปรับปรุงพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น
งานในหัวข้อนี้ ผู้สอนเปิดโอกาสให้นักเรียนได้จัดการงานของตนเองที่ยังค้างอยู่ นำส่งให้เรียบร้อย เพราะเป็นเรืองการเรียนการสอนสุดท้าย นอกจากนั้นจะเป็นการทดสอบวัดความรู้หลังเรียน ซึ่งนักเรียนสามารถนำหนังสือ เอกสารการเรียน และการสรุปผลการนำเสนอกลุ่ม ประกอบการสอบในครั้งนี้ได้ (Open Book) โดยแต่ละกลุ่มจะต้องเล่าถึงกระบวนการในการออกแบบและพัฒนา Facebook และ Google Docs และโพสต์ผลงานที่ได้พัฒนาแล้ว ทำลิ้ง แชร์ไฟล์ ผ่าน Facebook และ Google Docs ให้ผู้สนใจได้ร่วมศึกษา
กิจกรรมนี้เป็นเรื่องสุดท้าย ให้นักเรียนได้แสดงความคิดเห็น ติ-ชม หรือให้คำเสนอแนะสำหรับรายวิชา สิ่งที่นักเรียนอยากเสนอต่อผู้สอนเพื่อนำไปพัฒนาปรับปรุงแก้ไขในการสอนครั้งต่อไป หรือสิ่งอื่นๆ ที่นักเรียนคิดว่ามีประโยชน์และเหมาะสมในการเรียน นักเรียนสามารถส่งข้อความ โพสต์ในการดานเสวนา ส่งทางอีเมลให้ผู้สอนได้รับทราบ ผู้สอนขอขอบคุณนักเรียนทุกคนที่ให้ความร่วมมือ ตั้งใจศึกษาในการเรียนออนไลน์ผ่าน Facebook และ Google Docs สามารถนำไปใช้พัฒนาการเรียนให้ดียิ่งขึ้นต่อไป


เนื้อหาประจำสัปดาห์
แหล่งข้อมูล : แนวทางในการประเมิน Facebook
แหล่งข้อมูล : แนวทางในการประเมิน Google Docs หรือออนไลน์


กิจกรรมเรียนรู้ประจำสัปดาห์
กระดานเสวนา : ประเมินงานกลุ่ม
กระดานเสวนา : จุดเด่น สรุปผลงาน
กระดานเสวนา : ข้อเสนอแนะ สิ่งที่ควรปรับปรุงพัฒนา


สรุป

การจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์สามารถใช้กระบวนการประมวลรายวิชา ตารางเรียน เนื้อหากิจกรรม ข่าวประชาสัมพันธ์ เอกสารประกอบการเรียน แบบทดสอบ การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น อภิปราย ห้องสนทนา โต้ตอบ แหล่งสนับสนุนการเรียนรู้ แหล่งเรียนรู้เพิ่มเติม รายงานผลการประเมิน ประวัติการเรียน และสุดท้ายการออกจากบทเรียน ซึ่งทุกกระบวนการสามารถนำมาวิเคราะห์ประเมินระบบการเรียนการสอนเพื่อนำไปออกแบบการสอนให้มีประสิทธิภาพต่อผู้สอนและผู้เรียน นักออกแบบและพัฒนาต้องเข้าใจ มีความรู้ความสามารถต่อการประยุกต์ใช้การแก้ปัญหาและพัฒนาคุณภาพการศึกษา การประเมิน การจัดการ การเผยแพร่นวัตกรรมใหม่ๆ ต้องมีปัจจัยสนับสนุนการใช้ การจัดการของนักออกแบบต้องยึดหลักความสำคัญในการจัดการ 5 ประการ คือ การวางแผน การรวบรวมจัดองค์กร การประสานงาน การประเมิน และการรายงานผล

วันอาทิตย์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2557

Blended learning การเรียนรู้แบบผสมผสาน

Blended learning การเรียนรู้แบบผสมผสาน เบล็นเด็ดเลินนิ่ง หมายถึง กระบวนการเรียนรู้ ที่ผสมผสานรูปแบบการเรียนรู้ที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นในห้องเรียน ผสมผสานกับการเรียนรู้นอกห้องเรียนที่ผู้เรียนผู้สอนไม่เผชิญหน้ากัน หรือการใช้แหล่งเรียนรู้ที่มีอยู่หลากหลาย กระบวนการเรียนรู้และกิจกรรมเกิดขึ้นจากยุทธวิธี การเรียนการสอนที่หลากรูปแบบ เป้าหมายอยู่ที่การให้ผู้เรียนบรรลุเป้าหมายการเรียนรู้เป็นสำคัญ การสอนด้วยวิธีการเรียนรู้แบบผสมผสานนั้น ผู้สอน สามารถใช้วิธีการสอน สองวิธีหรือมากกว่า ในการเรียนการสอน เช่น ผู้สอนนำเสนอเนื้อหาบทเรียนผ่านเทคโนโลยีผนวกกับการสอนแบบเผชิญหน้า แต่หลังจากนั้นผู้สอนนำเนื้อหาบทความแขวนไว้บนเว็บ จากนั้นติดตามการดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้อีเลินนิ่ง ด้วยระบบแอลเอ็มเอส (Learning Management System ) ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ในห้องแล็บ หลังจากนั้นสรุปบทเรียน ด้วยการอภิปรายร่วมกับอาจารย์ผู้สอนในห้องเรียน "Blended learning เป็นสิ่งสำคัญของการศึกษาและเทคโนโลยี ,blended learning มีการใช้งานที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว,เป็นการบูรณาการระหว่างการเรียนในชั้นเรียนและการเรียนแบบออนไลน์,สามารถช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนและการใช้เวลาในชั้นเรียนได้เหมาะสม" การเรียนแบบผสมผสาน (Blended learning) การเรียนแบบผสมผสาน (Blended learning)การเรียนแบบผสมผสาน เป็นการรวมกันหรือนำสิ่งต่างๆมาผสม โดยที่สิ่งที่ถูกผสมนั้น คือ - รวม รูปแบบการเรียนการสอน - รวม วิธีการเรียนการสอน - รวม การเรียนแบบออนไลด์ และรูปแบบการเรียนการสอนในชั้นเรียนการเติบโตของการเรียนแบบผสมผสานตั้งแต่อดีต ปัจจุบันและอนาคตการเรียนรู้แบบผสมผสาน โดยในอดีตนั้น การเรียนแบบผสมผสานคือส่วนที่ได้มีการรวมเข้าหากันจาก 2 รูปแบบสภาพแวดล้อมของการเรียนแบบเดิม นั้นก็คือ การเรียนแบบเผชิญหน้าในชั้นเรียนกับ การเรียนแบบออนไลน์ ซึ่งในอดีตนั้นการเรียนทั้ง 2 รูปแบบจะมีช่องว่างหรือระยะห่างระหว่างกันค่อยข้างมาก คือจะมีการจัดการเรียนการสอนเฉพาะของตัวเองมีรูปแบบ และการดำเนินการในรูปแบบที่ต่างกันเพราะว่าต่างก็ใช้สื่อและเครื่องมือที่แตกต่างกัน และมีสถานที่ในการเรียนที่แตกต่างกันเพราะมีกลุ่มผู้เรียนที่ต่างกันด้วย แต่ในขณะเดียวกันนั้นการเรียนแบบทางไกลก็กำลังมีการเติบโตและแผ่ขยายอย่างรวดเร็วซึ่งได้เข้ามาในรูปของเทคโนโลยีใหม่ ที่มีความเป็นไปได้อย่างสูงที่การเรียนแบบออนไลน์นั้นจะมีการแผ่ขยายเข้ามาสู่การเรียนในชั้นเรียนอย่างรวดเร็วในปัจจุบันการเรียนแบบออนไลน์นั้นได้เข้ามามีส่วนร่วมในการติดต่อสื่อสารและมีปฏิสัมพันธ์ร่วมในการเรียนการสอนในชั้นเรียนเกิดเป็นการเรียนแบบผสมผสานขึ้นมาซึ่งคาดว่าในอนาคตนั้นการเรียนแบบผสมผสานจะมีการขยายตัวที่มากขึ้นตามรูปแบบการเรียนแบบออนไลน์ที่จะมีการเติบโตขึ้นมากกว่าปัจจุบัน จึงส่งผลให้การเรียนแบบผสมผสานนั้นมีการขยายวงกว้างออกไปจากเดิมยิ่งขึ้นอีกด้วย ข้อดี-ข้อเสีย การเรียนแบบผสมผสานสรุป Blended Learning การเรียนการสอนแบบผสมผสาน ความหมายและความสำคัญ 1. การเรียนแบบผสมผสาน (blended learning) เป็นการเรียนที่ใช้กิจกรรมที่ต้องออนไลน์และการพบปะกันในห้องเรียนจริง (hybrid) โดยใช้สื่อที่มีความหลากหลายเหมาะกับบริบทและสถานการณ์ การเรียนรู้ เพื่อตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคล 2. การเรียนแบบผสมผสาน เป็นการรวมกันหรือนำสิ่งต่าง ๆ มาผสม โดยที่สิ่งที่ถูกผสมนั้น การเรียนอาจจะเรียนในห้องเรียน 60% เรียนบนเว็บ 40% ไม่ได้มีกฎตายตัวว่าจะต้องผสมผสานกันเท่าใด เช่น- รวม รูปแบบการเรียนการสอน- รวม วิธีการเรียนการสอน- รวม การเรียนแบบออนไลน์ และรูปแบบการเรียนการสอนในชั้นเรียน .....3. การเรียนแบบผสมผสาน (Blended learning) การเติบโตของการเรียนแบบผสมผสานตั้งแต่อดีต ปัจจุบันและอนาคตการเรียนรู้แบบผสมผสาน โดยในอดีตนั้น การเรียนแบบผสมผสานคือส่วนที่ได้มีการรวมเข้าหากัน จาก 2 รูปแบบ 3.1 สภาพแวดล้อมของการเรียนแบบเดิม นั้นก็คือ การเรียนแบบเผชิญหน้าในชั้นเรียน 3.2 การเรียนแบบออนไลน์ ซึ่งในอดีตนั้นการเรียนทั้ง 2 รูปแบบจะมีช่องว่างหรือระยะห่างระหว่างกันค่อยข้างมาก คือจะมีการจัดการเรียนการสอนเฉพาะของตัวเองมีรูปแบบ และการดำเนินการในรูปแบบที่ต่างกันเพราะว่าต่างก็ใช้สื่อและเครื่องมือที่แตกต่างกัน และมีสถานที่ในการเรียนที่แตกต่างกันเพราะมีกลุ่มผู้เรียนที่ต่างกันด้วย แต่ในขณะเดียวกันนั้นการเรียนแบบทางไกลก็กำลังมีการเติบโตและแผ่ขยายอย่างรวดเร็ว ซึ่งได้เข้ามาในรูปของเทคโนโลยีใหม่ ที่มีความเป็นไปได้อย่างสูงที่การเรียนแบบออนไลน์นั้นจะมีการแผ่ขยายเข้ามาสู่การเรียนในชั้นเรียนอย่างรวดเร็วในปัจจุบันการเรียนแบบออนไลน์นั้นได้เข้ามามีส่วนร่วมในการติดต่อสื่อสารและมีปฏิสัมพันธ์ร่วม ในการเรียนการสอนในชั้นเรียนเกิดเป็นการเรียนแบบผสมผสานขึ้นมาซึ่งคาดว่าในอนาคตนั้นการเรียนแบบผสมผสานจะมีการขยายตัวที่มากขึ้นตามรูปแบบการเรียนแบบออนไลน์ที่จะมีการเติบโตขึ้นมากกว่าปัจจุบัน จึงส่งผลให้การเรียนแบบผสมผสานนั้นมีการขยายวงกว้างออกไปจากเดิมยิ่งขึ้นอีกด้วย สรุป 1. การเรียนการสอนแบบผสมผสาน Blended Learning เป็นการเรียนรู้แบบผสมผสานหลากหลายวิธี เพื่อให้ผู้เรียนได้มีการเรียนรู้ที่หลากหลาย และเพื่อผู้เรียนได้พัฒนาเต็มศักยภาพเหมาะกับบริบทและสถานการณ์ การเรียนรู้และตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคลเกิดการเรียนรู้และเกิดทักษะด้านการปฏิบัติ (Practice Skill )โดยใช้เทคโนโลยี เช่น การเรียนการสอนในชั้นเรียนร่วมกับการเรียนการสอนแบบออนไลน์(a combination of face-to-face and Onine Learning) การเรียนแบบหมวก 6 ใบ, สตอรี่ไลน์ จุดมุ่งหมายสูงสุดอยู่ที่ผู้เรียน โดยอัตราส่วนการผสมผสาน จะขึ้นอยู่กับลักษณะเนื้อหา และการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน กรณี - ครูผู้สอนสั่งงานทาง e-mail หรือ chatroom หรือ webbord ถือเป็นการเรียนรู้แบบผสมผสาน- ครูสั่งให้ส่งงานเป็นรูปเล่มรายงานถือว่าเป็นการเรียนรู้แบบผสมผสานเช่นกัน เพราะต้องไปค้นคว้าสืบค้นข้อมูลและนำมาอภิปราย สรุป เนื้อหาเป็นแนวเดียวกัน ผู้เรียนทุกคนเข้าใจตรงกัน 2. การใช้งานจริง ณ ขณะนี้ สรุป การใช้ Blended Learning ในองค์กร หรือบริษัท ช่วยในการประชุม การสั่งงาน โดยมีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตระบบเครือข่าย ส่วนมาก นิยมใช้ระบบ LMS เป็นระบบการบริหาร ผ่าน Sever เป็นระบบเครือข่ายผู้ใช้งานในระบบ 2.1 กลุ่มผู้บริหาร Administrator ทำหน้าที่ดูแลระบบ 2.2 กลุ่ม ครู อาจารย์ Instructor/ teacher ทำหน้าที่สอน 2.3 กลุ่มผู้เรียน Student /Guest นักเรียน นักศึกษาสำหรับขั้นตอนการออกแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานของ Beijing Normal University (BNU) ประกอบด้วย 3 ขั้นตอนหลักดังนี้ 1. ขั้นก่อนการวิเคราะห์ (Pre-Analysis) เป็นขั้นตอนแรกของการออกแบบการเรียนรู้แบบผสมผสาน ประกอบการพิจารณาข้อมูลทั่ว ๆ ไป ได้แก่ 1.1 การวิเคราะห์คุณสมบัติของผู้เรียน 1.2 การวิเคราะห์วัตถุประสงค์ในการเรียนรู้ 1.3 การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมของการเรียนรู้แบบผสมผสานผลลัพธ์ที่ได้จากขั้นตอนแรก จะเป็นรายงานผลที่จะนำไปใช้ในขั้นต่อไป 2. ขั้นการออกแบบกิจกรรมและการออกแบบวัสดุการเรียนรู้ (Design of Activity and Resources) เป็นขั้นตอนที่สองที่นำผลลัพธ์ที่ได้จากขั้นตอนแรกมาออกแบบกิจกรรมและวัสดุการเรียนรู้ ซึ่งจำแนกออกเป็น 3 ส่วนย่อย ๆ ได้แก่ 2.1 การออกแบบภาพรวมของการเรียนรู้แบบผสมผสาน ประกอบด้วย -กิจกรรมการเรียนรู้แต่ละหน่วยเรียน -กลยุทธ์การนำส่งบทเรียนในการเรียนรู้แบบผสมผสาน -ส่วนสนับสนุนการเรียนรู้แบบผสมผสาน -2.2 การออกแบบกิจกรรมแต่ละหน่วยเรียนประกอบด้วย -นิยามผลการกระทำของผู้เรียน -กิจกรรมในแต่ละวัตถุประสงค์ -การจัดกลุ่มของกิจกรรมทั้งหมด -การประเมินผลในแต่ละหน่วยเรียน 3 การออกแบบและพัฒนาวัสดุการเรียนรู้ประกอบด้วย -การเลือกสรรเนื้อหาสาระ -การพัฒนากรณีต่าง ๆ -การนำเสนอผลการออกแบบและการพัฒนาผลที่ได้จากขั้นตอนที่สอง จะเป็นรายละเอียดของการออกแบบบทเรียนในแต่ละส่วน 3. ขั้นการประเมินผลการเรียนการสอน (Instructional Assessment) เป็นขั้นตอนสุดท้ายในการออกแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานประกอบด้วย .1 การประเมินผลขั้นตอนการเรียนรู้ 3.2 การจัดการสอบตามหลักสูตร 3.3 การประเมินผลกิจกรรมทั้งหมดผลที่ได้จากขั้นตอนสุดท้าย จะนำไปพิจารณาตรวจปรับกระบวนการออกแบบในแต่ละขั้นที่ผ่านมาทั้งหมด เพื่อให้การเรียนรู้แบบผสมผสานมีประสิทธิภาพและเกดประสิทธิผลกับผู้เรียนอย่างแท้จริง ขั้นตอนการออกแบบการเรียนรู้แบบผสมผสาน การเรียนรู้แบบผสมผสานมีสิ่งต่างๆจะต้องพิจารณา ดังนี้ 1. เพิ่มทางเลือกของวิธีการนำส่งการเรียนรู้ไปยังผู้เรียนให้มีความหลากหลายมากขึ้น จะเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับผู้ออกแบบ 2. เกณฑ์การตัดสินความสำเร็จในการเรียนรู้แบบผสมผสานไม่ได้มีเพียงเกณฑ์เดียว เช่น รูปแบบการเรียนรู้และวิธีการเรียนรู้ ซึ่งสามารถนำมาพิจารณาร่วมกันได้ 3. การออกแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานจะต้องพิจารณาประเด็นของความเร็วในการเรียนรู้ ขนาดของผู้เรียน และการสนับสนุนช่วยเหลือผู้เรียน 4. สภาพแวดล้อมทางการเรียนของผู้เรียน จะมีความแตกต่างกันเป็นธรรมชาติซึ่งการจัดการเรียนรู้จะต้องสนับสนุนให้ผู้เรียนบรรลุตามวัตถุประสงค์เป็นสำคัญ 5. หน้าที่ของผู้เรียน จะต้องศึกษาและค้นพบตัวเอง เพื่อสร้างสรรค์ความรู้ตามศักยภาพของตนเอง 6. การออกแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานต้องการทีมงานออกแบบที่มีความรู้เรื่องการปรับปรุงด้านธุรกิจด้วยเช่นกัน กรณี - การเรียนการสอนทางไกลของ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (มสธ) ถือว่าเป็นการเรียนการสอนแบบผสมผสานเช่นกัน คอร์สการเรียนภาษาอังกฤษทางไกล ของ แอนดรูส์ บิ๊ก ที่ใช้ระบบ(Bkended Learning for Distance Learning) ซึ่งสามารถสอนนักเรียนพร้อมกันทีเดียวได้เป็นพันคน 3. ประโยชน์ ข้อดี และข้อเสีย ประโยชน์ ข้อดี 1. แบ่งเวลาเรียนอย่างอิสระ 2. เลือกสถานที่เรียนอย่างอิสระ . เรียนด้วยระดับความเร็วของตนเอง 4. สื่อสารอย่างใกล้ชิดกับครูผู้สอน 5. การผสมผสานระหว่างการเรียนแบบดั้งเดิมและแบบอนาคต 6. เรียนกับสื่อมัลติมีเดีย 7. เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง Child center 8. ผู้เรียนสามารถมีเวลาในการค้นคว้าข้อมูลมาก สามารถวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลได้อย่างดี 9. สามารถส่งเสริมความแม่นยำ ถ่ายโอนความรู้จากผู้หนึ่งไปยังผู้หนึ่งได้ สามารถทราบผลปฏิบัติย้อนกลับได้รวดเร็ว (กาเย่) 10. สร้างแรงจูงใจในบทเรียนได้(กาเย่) 11. ให้แนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้(กาเย่) 12. สามารถทบทวนความรู้เดิม และสืบค้นความรู้ใหม่ได้ตลอดเวลา (กาเย่) 13. สามารถหลีกเลี่ยงสิ่งที่รบกวนภายในชั้นเรียนได้ ทำให้ผู้เรียนมีสมาธิในการเรียน 14. ผู้เรียนมีช่องทางในการเรียน สามารถเข้าถึงผู้สอนได้ 15. เหมาะสำหรับผู้เรียนที่ค่อนข้างขาดความมั่นใจในตัวเอง 16. ใช้ในบริษัท หรือองค์กรต่างๆ สามารถลดต้นทุนในการอบรม สัมมนาได้ ข้อเสีย 1. ไม่สามารถแสดงความคิดเห็น หรือถ่ายทอดความคิดเห็นอย่างรวดเร็ว 2. มีความล่าช้าในการปฏิสัมพันธ์ 3. การมีส่วนร่วมน้อย โดยผู้เรียนไม่สามารถมีส่วนร่วมทุกคน 4. ความไม่พร้อมด้าน ซอฟแวร์ Software บางอย่างมีราคาแพง (ของจริง) 5. ใช้งานค่อนข้างยาก สำหรับผู้ไม่มีความรู้ด้าน ซอฟแวร์ Software 6. ผู้เรียนบางคนคิดว่าไม่คุ้มค่าต่อการลงทุน เพราะราคาอุปกรณ์ค่อนข้างสูง 7. ผู้เรียนต้องมีความรู้ ความเข้าใจด้านการใช้งานคอมพิวเตอร์ เพื่อเข้าถึงข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต 8. ผู้เรียนต้องมีความรับผิดชอบต่อตนเองอย่างสูง ในการเรียนการสอนแบบนี้ 9. ความแตกต่างของผู้เรียนแต่ละคนเป็นอุปสรรคในการเรียนการสอนแบบผสมผสาน 10. สภาพแวดล้อมไม่เหมาะสมในการใช้เครือข่าย หรือระบบอินเทอร์เน็ต เกิดปัญหาด้านสัญญาณ 11. ขาดการปฏิสัมพันธ์แบบ face to faec (เรียลไทม์) ความเป็นไปได้ในการไปใช้งานจริงของ Blened Learning การเรียนการสอนแบบผสมผสาน 1. มีการเปลี่ยนแปลงไปสู่ยุค ICT ทำให้มีการเรียนรู้ที่หลากหลายวิธี เช่น 2 วิธี หรือมากกว่านั้นได้ 2. ดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้ e-Learning 3. สามารถนำไปใช้ได้จริงในสถานศึกษา เช่น โรงเรียน หรือมหาวิทยาลัย รวมไปถึง บริษัท องค์กร ต่าง ๆ เพื่อประหยัดงบประมาณและต้นทุน 4. เป็นไปได้หรือไม่ในการนำไปใช้งานได้จริงขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม ความเหมาะสมขององค์ประกอบในการจัดการเรียนการสอน อุปกรณ์ ผู้เรียน และผู้สอน ที่มา : http://bunmamint10.blogspot.com/