แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ เทคโนโลยี แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ เทคโนโลยี แสดงบทความทั้งหมด

วันเสาร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ICT ในการสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ

บทความ เรื่อง ICT ในการสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ

ปัจจุบันพัฒนาการทางเทคโนโลยีสารสนเทศก้าวหน้าขึ้นอย่างรวดเร็ว มีการประยุกต์ใช้งานอย่างกว้างขวาง คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตได้เข้ามีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวัน ทั้งนี้เพราะเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และระบบสื่อสารโทรคมนาคมสามารถประมวลผลข้อมูลข่าวสารได้เร็ว และสื่อสารกันได้สะดวก เทคโนโลยีดังกล่าวจึงเรียกรวมว่า ICT - Information and Communication Technology ไอซีที มีบทบาทต่อการศึกษาอย่างมาก โดยเฉพาะการประยุกต์ในระบบการศึกษา ดังกระทรวงศึกษาธิการ ได้กำหนดวิสัยทัศน์ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (พ.ศ. 2547 - 2549) ไว้ว่า “ผู้เรียน สถานศึกษา และหน่วยงานทางการศึกษา ทุกแห่งมีโอกาสเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต การบริหารจัดการ การวิจัย การพัฒนาอาชีพ การพัฒนาคุณภาพชีวิตโดยได้รับบริการอย่างทั่วถึง เท่าเทียม มีคุณภาพและประสิทธิภาพ นำไปสู่สังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้”

พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ได้กำหนดแนวทางในการปฏิรูปการศึกษาไทย โดยให้ความสำคัญ กับผู้เรียนเป็นหลัก เพื่อรองรับกระแสความเปลี่ยนแปลงของโลกทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมและเทคโนโลยี ให้ความสำคัญสูงสุดในกระบวนการการปฏิรูปการเรียนรู้ ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง เพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาเต็มศักยภาพ สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง และรู้จักแสวงหาความรู้ได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต จัดกระบวนการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของผู้เรียน โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล ฝึกทักษะ กระบวนการคิด การจัดการให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง การปฏิบัติให้คิดเป็น ทำเป็น ปลูกฝังคุณธรรมในทุกวิชา มีเป้าหมายให้ผู้เรียนเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เป็นคนดี คนเก่ง และมีความสุขอย่างแท้จริง



ลักษณะการใช้ ICT

· การสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต

· การนำข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตมาใช้งาน

· การสร้างแหล่งข้อมูลด้วยตนเอง

แผนหลักใช้ ICT เพื่อพัฒนาการศึกษา

กระทรวงศึกษาธิการมีภารกิจหลักที่จะต้องดูแลเด็กและเยาวชนทั้งในระบบโรงเรียนและนอกระบบโรงเรียน รวมแล้วประมาณ 18 ล้านคน ให้ได้รับการศึกษาภาคบังคับ (9 ปี) และการศึกษาขั้นพื้นฐานในเบื้องต้น (12 ปี) รวมทั้งสนับสนุนให้เรียนถึงระดับอุดมศึกษา ตามศักยภาพของแต่ละคนเพื่อสามารถประกอบอาชีพเลี้ยงตนเองและครอบครัวได้ รวมทั้งเป็นกำลังงานของประเทศชาติ ช่วยพัฒนาด้านต่าง ๆ ให้สังคมร่มเย็นเป็นสุขและสามารถไปสู่เป้าหมายข้อหนึ่งที่รัฐบาลระบุไว้ คือ เพื่อให้เป็นสังคมแห่งคุณธรรม ภูมิปัญญาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต มีการสร้างเสริม ต่อยอดการเรียนรู้และสร้างมูลค่าเพิ่มอยู่ตลอดเวลา

นโยบายการเร่งใช้ ICT (Information and Communication Technology) เพื่อพัฒนาการศึกษาในทุกด้านโดยเฉพาะการช่วยพัฒนา ครู อาจารย์ การช่วยให้เด็กและเยาวชนได้เข้าถึงแหล่งความรู้และได้เรียนอย่างทัดเทียมกัน การพัฒนาระบบบริหารจัดการให้ฉับไว มีประสิทธิภาพสูงสุด การจัดเครื่องมืออุปกรณ์คอมพิวเตอร์และการเชื่อมโยงเครือข่ายจึงเป็นนโยบายสำคัญของกระทรวง ศึกษาธิการ

แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ (พ.ศ.2547-2549) ที่จัดทำโดยผู้ทรงคุณวุฒิจากส่วนราชการและภาคเอกชนภายนอกที่เกี่ยวข้องและผู้แทนระดับ CIO (Chief Information Officer) ของแต่ละกรมของกระทรวงศึกษาธิการ มีรายละเอียดขั้นตอน วิธีการทำงานชัดเจนมาก แต่ในที่นี้ขอกล่าวเฉพาะยุทธศาสตร์ 4 ประการที่แผนหลักนี้ระบุไว้ เพื่อไปสู่ความสำเร็จ คือ 1) การใช้ ICT เพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ 2) การใช้ ICT เพื่อการบริหารและบริการทางการศึกษา 3) การผลิตและการพัฒนาบุคลากร และ 4) การกระจายโครงสร้างพื้นฐาน ICT เพื่อการศึกษา



ในเรื่องการใช้ ICT เพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ มีเป้าหมายให้ผู้เรียนทุกคนมีโอกาสเข้าถึงและสามารถใช้ ICT ตามมาตรฐานหลักสูตร ซึ่งจะประกอบด้วยเรื่องสำคัญ อาทิ ความหมายของข้อมูล แหล่งข้อมูล การจัดเก็บและเรียกใช้ ส่วนประกอบหลักของคอมพิวเตอร์ ประโยชน์ และการใช้ระบบปฏิบัติการ การใช้คอมพิวเตอร์ การใช้เทคโนโลยีกับภูมิปัญญาท้องถิ่นและสากลความรู้และการใช้เครือข่ายค้นคว้า วิเคราะห์ภาษาคอมพิวเตอร์ และการพัฒนาโปรแกรม ซึ่งกรอบหลักสูตรดังกล่าว จะมีความยากง่าย เป็นขั้นตอน ครู อาจารย์ จะเป็นส่วนสำคัญมากที่จะพัฒนาความรู้ กระบวนการ ถ่ายทอดความรู้ ให้เด็กเรียนอย่างเข้าใจและสนุกสนาน รวมทั้งใช้เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต คุณภาพการทำงานของครู อาจารย์ เด็กและผู้ปกครองที่เกี่ยวข้องทุกคน

นอกจากนั้นในแผนหลัก กระทรวงศึกษาธิการจะจัดทำและสนับสนุนหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-Book) อย่างน้อยปีละ 1,000 เล่ม เพื่อเสริมการเรียนการสอน (ปัจจุบันกรมวิชาการได้จัดทำแล้วประมาณ 500 เล่ม) จะมีศูนย์รวมสื่อและมีห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ (e-Library) เพื่อให้บริการนักเรียนและประชาชนทุกเขตพื้นที่การศึกษา มีการวิจัยพัฒนาการประยุกต์ใช้ ICT อย่างน้อยปีละ 100 เรื่อง มีหลักสูตร ICT ในระดับการศึกษาพื้นฐาน อาชีวศึกษา อุดมศึกษา และการศึกษานอกโรงเรียน รวมทั้งมีการทำงานร่วมกันระหว่างมหาวิทยาลัย และโรงเรียนประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ทั้งของรัฐบาลและเอกชน เพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ไปสู่การศึกษาผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (e-Learning) อย่างเหมาะสมและเกิดประโยชน์สูงสุด

ในส่วนของการใช้ ICT เพื่อการบริหารและบริการทางการศึกษา มีการจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการในระดับเขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษาเพิ่มจากระดับกระทรวง ระดับกรมที่ตั้งเรียบร้อยแล้วมีข้อมูลทะเบียนนักเรียนโดยใช้ระบบ EIS (Educational Information Systems) ซึ่งจะมีการใช้เลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก เป็นตัวเชื่อมโยงและรวบรวมข้อมูล ซึ่งสามารถติดตามความก้าวหน้า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนติดตามเพื่อให้การช่วยเหลือกรณีที่อยู่ในกลุ่มยากไร้ ด้อยโอกาสหรือพิการ หรือเป็นกลุ่มมีความสามารถพิเศษ ซึ่งข้อมูลต่าง ๆ เหล่านี้จะสามารถถ่ายโอนไปยังโรงเรียนแห่งใหม่ได้โดยสะดวก มีระบบบริหารงานบุคคล ระบบงานสารบรรณ ระบบห้องสมุด ซึ่งจะเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อการค้นคว้าที่กว้างขวางขึ้นได้ ระบบบริหารพัสดุครุภัณฑ์ ระบบบริหารสถานศึกษาโดยจะนำระบบ GIS (Geographic Information Systems) เข้ามาช่วยในการดูแลการจัดสรรทรัพยากรการจัดการในระดับพื้นที่

สำหรับด้านการผลิตและพัฒนาบุคลากร มุ่งด้านพัฒนาครู อาจารย์ ให้สามารถใช้ ICT ช่วยให้การสอนมีความน่าสนใจ สนุกสนาน ค้นคว้าต่อยอด ความรู้ประสบการณ์จากที่มีอยู่เดิม (ครู อาจารย์ทั้งหมดประมาณ 522,000 คน อบรมไปแล้ว 353,000 คน คิดเป็นประมาณร้อยละ 67 แผนหลักนี้จะเร่งดำเนินการในส่วนที่เหลือโดยสถาบันราชภัฏทั่วประเทศเป็นเจ้าภาพเรื่องนี้ ร่วมกับกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และภาคเอกชน ซึ่งดำเนินการหลายโครงการ อาทิ โครงการอบรมโปรแกรม Think.com และโครงการ Intel Teach to the Future โครงการความร่วมมือกับประเทศญี่ปุ่น JICA (Japan International Cooperation Agency) ความร่วมมือจากองค์การ Unicef เป็นต้น ซึ่งในจำนวนนี้จะมีครู อาจารย์ จำนวนมากที่จะสามารถพัฒนาโปแกรมเพื่อช่วยการสอน CAI (Computer Assisted Instruction) ได้เอง ปัจจุบันมีการประกวด Website และ CAI โดยมีผู้สนใจส่งเข้าประกวดหลายร้อยรายการ

นอกจากนั้นในแผนนี้ยังมุ่งผลิตบุคลากรที่สามารถเขียนและพัฒนาโปรแกรมได้เอง โดยปูพื้นฐานนักเรียนมัธยมศึกษาและต่อยอดที่ระดับอุดมศึกษา เพื่อให้เป็นกำลังสำคัญในการผลิตทรัพย์สินทางปัญญา ลดการนำเข้า และสร้างความสามารถในการแข่งขัน ในระดับนานาชาติ ให้ประเทศชาติแข็งแรงและมีความมั่นคงในด้านนี้ต่อไปด้วย

ในเรื่องการกระจายโครงสร้างพื้นฐาน ICT เพื่อการศึกษา แผนหลักได้ระบุพันธกิจและเป้าหมายให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะศูนย์สารสนเทศ กระทรวงศึกษาธิการ และหน่วยงานด้านสารสนเทศของกรมเป็นเจ้าภาพ ให้จัดหาและสนับสนุนเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ประกอบ และที่สำคัญ คือการทำงานร่วมกับกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อต่อเชื่อมเครือข่าย Internet จากเดิมที่ไม่ทั่วถึง ให้เป็นเครือข่ายครอบคลุมทั่วประเทศ (EdNet) โดยจะมีการต่อเชื่อมไปยังโรงเรียนมัธยมศึกษาและประถมศึกษาที่สอนมัธยม ภายในปีงบประมาณ 2546 และ 2547 และโรงเรียนประถมศึกษาทุกแห่ง ภายในปีงบประมาณ 2548 ตามลำดับ (จำนวนโรงเรียนทั้งสิ้น 37,000 โรงเรียน) โดยทุกตำบลจะมีโรงเรียนอย่างน้อย 1 แห่ง มีห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ในช่วงเวลาที่รัฐบาลโดยกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กำลังให้จองคอมพิวเตอร์รุ่น "สินสมุทร" และ "สุดสาคร" ที่มีคุณภาพมาตรฐานและราคาย่อมเยานั้น ท่านปองพล อดิเรกสาร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ประธาน การจัดทำแผนแม่บทของกระทรวงฉบับนี้ ได้ให้กรมสำรวจความต้องการของครู อาจารย์ และ บุคลากรที่เกี่ยวข้องเพื่อจะได้สั่งจองในภาพรวม ซึ่งจะช่วยให้มีเครื่องมือนี้ทำงาน เป็นการช่วยเสริมการจัดหาของราชการอีกทางหนึ่งด้วย นอกจากนี้จะจัดหาโปรแกรมมีลิขสิทธ์ตามกฎหมายหรือโปรแกรมที่เป็นชนิด open source เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนและบริหารจัดการ ทั้งนี้จะรวมถึงการเชื่อมโยงเครือข่ายไปยังโรงเรียนสมบูรณ์แบบของทุกอำเภอที่เป็นนโยบายของรัฐบาลและกระทรวงศึกษาธิการในช่วงกำลังดำเนินการนี้ด้วย

ปัจจุบันกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ซึ่งนอกจากจะเป็นกำลังสำคัญด้านวางโครงสร้างให้ทั่วถึงและกระจายเครือข่ายให้สมบูรณ์ (โรงเรียนในฝัน) รวมทั้งประสานการผลิตคอมพิวเตอร์รุ่นพิเศษแล้ว ยังช่วยระดมการบริจาคเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่ใช้แล้วแต่ยังมีคุณภาพใช้ได้ สมทบกับ "โครงการปลูกต้นกล้าปัญญาเด็กไทย" ที่ท่านรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง (ดร.สิริกร มณีรินทร์) เป็นประธานการดำเนินการ ทำให้กระทรวงศึกษาธิการ มีเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สำคัญเพิ่มขึ้น จากที่ได้รับบริจาคไว้ รอตรวจสอบสมรรถนะ จากศูนย์ซ่อมบำรุง สังกัดกรมอาชีวศึกษา พร้อมจะจัดสรรทยอยให้โรงเรียนที่ขาดแคลนอุปกรณ์ด้านนี้ นับหมื่นเครื่อง ซึ่งจะช่วยลดภาระรัฐในการจัดหาเครื่องโดยเงินงบประมาณแผ่นดิน ในช่วงเวลาที่งบประมาณแผ่นดินยังมีค่อนข้างจำกัดนี้ได้เป็นอย่างมาก

แผนหลักด้าน ICT ของกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งกำหนดกรอบงบประมาณรวม 22,885 ล้านบาท เพื่อดำเนินการตามยุทธศาสตร์หลักในช่วงเวลา 3 ปีดังกล่าวแล้วนั้น มิใช่แผนหลักที่เป็นความฝัน แต่เป็นแผนที่เป็นจริงได้และส่วนหนึ่งเป็นจริงแล้ว การทำงานด้านพัฒนาครู อาจารย์ และบุคลากรที่เกี่ยวข้องจะดำเนินให้ได้ครบถ้วน การมุ่งใช้ ICT ช่วยพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ การบริหารการจัดการการ การจัดหาเครื่องมืออุปกรณ์ การเชื่อมโยงเครือข่าย การจัดทำ Website ของสถานศึกษา การแลกเปลี่ยนความรู้ แนวคิดผ่านเครือข่าย จะมีความเป็นรูปธรรมมากขึ้นและจะสมบูรณ์มากขึ้น นอกจากนั้น มิติการทำงานกับชุมชน องค์กรเอกชนทั้งในประเทศและต่างประเทศ มีความเป็นรูปธรรมอย่างเห็นได้ชัด

ตัวชี้วัดส่วนหนึ่ง คือ Website ของเขตพื้นที่การศึกษาและของโรงเรียนที่มีเพิ่มขึ้นทุกวัน จำนวน CAI ที่ครู อาจารย์ทุกระดับ รวมทั้งอาจารย์มหาวิทยาลัย ร่วมกับนักวิชาการด้านคอมพิวเตอร์พัฒนามีแพร่หลายในงานนิทรรศการและวงการธุรกิจด้านนี้ เห็นได้ชัดเจนทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ และจะมีมากขึ้นอีก จำนวน e-mail ที่ส่งถึงกัน แลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน เป็นหนังสือราชการมากขึ้น มีความเป็นวิชาการ มีส่วนของความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ต่อยอดกันมากขึ้น

นอกจากนี้ยังมี Website ที่เด็กนักเรียนสร้างขึ้นเป็นส่วนตัวมีเพิ่มขึ้นเป็นการเอื้อต่อการระดมกำลังกัน ร่วมกันทำงาน เสริมความรู้ซึ่งกันและกันทำให้การเรียนรู้เป็นประโยชน์มากกว่าการรู้แบบแยกส่วน แบบต่างคนต่างรู้ ซึ่งการเสริมกำลังความรู้กันนั้นทำให้หนึ่งบวกหนึ่งมีค่ามากกว่าสองจะเป็นประโยชน์และสร้างความเข้มแข็งทางพลังปัญญา ช่วยในการพัฒนาด้านต่าง ๆ แก่ประเทศชาติโดยรวม ได้มากขึ้นแน่นอน

ดร.สิริกร มณีรินทร์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยว่า บทบาทของกระทรวง ศึกษาธิการต่อการศึกษาไทยในอนาคตนั้น ในพระราชบัญญัติการศึกษาได้แบ่งการปฏิรูปการศึกษา เป็น 5 ด้าน ซึ่ง ฯพณฯ รมต. ปองพล อดิเรกสารเรียกว่า ปัญจปฏิรูป ซึ่งประกอบด้วย

1) ปฏิรูประบบการศึกษา เร่งดำเนินการการเรียนรู้ตลอดชีวิต, การบูรณาการการเรียนรู้ 3 รูปแบบ คือ การศึกษาในระบบโรงเรียน การศึกษานอกระบบโรงเรียน และการศึกษาตามอัธยาศัย, การเทียบโอนผลการเรียนรู้, การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน, การศึกษาปฐมวัย, การศึกษาภาคบังคับ 9 ปี, การศึกษาสำหรับผู้ด้อยโอกาส ผู้พิการ และผู้มีความสามารถพิเศษ ,การปฏิรูปอาชีวศึกษา, และ การปฏิรูปอุดมศึกษา การปฎิรูปที่กล่าวมาข้างต้นนี้เน้นให้ทุกส่วนของสังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา

2) ปฏิรูปการเรียนรู้ โดยให้มีการเรียนรู้เต็มตามศักยภาพของผู้เรียน, เชื่อมโยงหลักสูตรสาระ การเรียนรู้ของ ผู้เรียนตั้งแต่อายุ 0-20 ปี, ปฏิรูปวิธีการเรียนรู้และการสอนโดยใช้กระบวนการวิจัย, ใช้แหล่งเรียนรู้ทุกรูปแบบ, ประเมินผลจากพัฒนาการของผู้เรียน และใช้วิธีที่หลากหลายในการจัดสรรโอกาสการเข้าศึกษาต่อ

3) ปฏิรูประบบการบริหารและการจัดการศึกษา ส่วนกลาง กำหนดนโยบาย แผนมาตรฐานการ ศึกษา สนับสนุน ทรัพยากร ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผล, กระจายอำนาจการบริหารและ การจัดการศึกษาไปสู่เขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษา และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, การมีส่วนร่วม ของผู้เกี่ยวข้องในการบริหารสถานศึกษาและเขตพื้นที่การศึกษาในรูปองค์คณะบุคคล, ส่งเสริม การจัดการศึกษาของเอกชน และให้ระบบการประกันคุณภาพเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารสถานศึกษา

4) ปฏิรูปครูและบุคลากรทางการศึกษา มีการเร่งพัฒนาครูประจำการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน, การยกย่องและให้ผู้นำครูสร้างเครือข่ายปฏิรูปการเรียนรู้, การผลิตครูใหม่, ยกฐานะครูเป็นผู้ประกอบ วิชาชีพชั้นสูง, กระจายอำนาจการบริหารงานบุคคลไปยังเขตพื้นที่การศึกษา, สนับสนุนเงินเดือนและ ค่าตอบแทนที่สอดคล้องกับมาตรฐานวิชาชีพ และสนับสนุนให้ครูภูมิปัญญาไทยในท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา

5) ปฏิรูปทรัพยากร มีการระดมทรัพยากรจากทุกส่วนของชุมชนเพื่อการเรียนรู้, จัดสรร ทรัพยากรอย่างทั่วถึง เสมอภาค และเป็นธรรม รวมทั้งเร่งปรับปรุงประสิทธิภาพของการใช้ทรัพยากรเพื่อการศึกษา

“ทั้งนี้ คนไทยควรจะได้รับการพัฒนาและส่งเสริมให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เป็นคนดี คนเก่ง มีความสุข รักการเรียนรู้ พึ่งตนเองได้ มีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืนเพื่อความมั่นคงของ มนุษย์ และพร้อมก้าวทันสังคมโลก ในส่วนของ ICT นั้น ผู้เรียน สถานศึกษาและหน่วยงานทาง การศึกษาทุกแห่ง ควรมีโอกาสเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต การบริหารจัดการ การวิจัย การพัฒนาอาชีพ การพัฒนา คุณภาพชีวิตโดยได้รับบริการอย่างทั่วถึง เท่าเทียม มีคุณภาพและประสิทธิภาพนำไปสู่สังคมแห่ง ภูมิปัญญาและการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิตระทรวงศึกษาธิการได้มีการดำเนิน โครงการต่าง ๆ อาทิ การแก้ปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา โครงการรักการอ่าน การจัดการศึกษา สำหรับผู้อยู่นอกระบบ การพัฒนาห้องสมุด ที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน การปฏิรูปกระบวนการ เรียนรู้ การนำหลักสูตรใหม่ไปประยุกต์ใช้การพัฒนาครูทั้งระบบ

นอกจากนี้ กระทรวงศึกษาธิการยังได้ดำเนินการจัดตั้ง วิทยาลัยชุมชนขึ้น 10 แห่ง คือ วิทยาลัยชุมชนจังหวัดตาก, พิจิตร, อุทัยธานี, บุรีรัมย์, สระแก้ว, มุกดาหาร, หนองบัวลำภู, ระนอง,แม่ฮ่องสอนและนราธิวาส

ปัจจุบันกระทรวงศึกษาธิการได้มีการกำหนดให้ ICT เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของเนื้อหาหลักสูตร ทั้งในระดับประถมและมัธยมศึกษาและมีนโยบายเน้นให้ใช้ ICT เป็นเครื่องมือครูในการพัฒนา คุณภาพของนักเรียน การร่วมมือระหว่างกระทรวงศึกษาธิการกับภาคเอกชน มูลนิธิ รวมทั้งองค์กร ต่างประเทศในการให้ การอบรมครูเพื่อนำเอาความรู้ทางด้าน ICT เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอน อาทิ โครงการ Think.com เป็นความร่วมมือระหว่างกระทรวงศึกษาธิการกับบริษัท Oracle เน้นการนำเอา ICT มาใช้ในการเรียนการสอนในชั้นเรียน โครงการ Intel Teach to the Future เป็นความร่วมมือระหว่างกระทรวงศึกษาธิการกับบริษัท Intel เน้นการนำเอา ICT มาเพื่อสนับสนุน การเรียนการสอน ให้ครูแต่ละกลุ่มสาระวิชานำเอา ICT มาใช้ในการเรียนการสอน โครงการความ ร่วมมือระหว่างกระทรวงศึกษาธิการและ British Council เน้นการใช้ภาษาอังกฤษในการติดต่อสื่อสาร ให้นักเรียน ครู อาจารย์ ในประเทศไทยได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และดำเนินโครงการ ร่วมกับนักเรียน ครู อาจารย์ในประเทศอังกฤษ โครงการความร่วมมือระหว่างกระทรวงศึกษาธิการ และรัฐบาลญี่ปุ่น (JICA) เพื่อพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมด้าน IT และ ฝึกอบรมครู บุคลากรทางการศึกษา และประชาชนในด้านความรู้ความสามารถด้าน IT โครงการความร่วมมือระหว่างกระทรวงศึกษาธิการ กับ Edgewood College โดยเน้นภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา การเตรียมความพร้อมของครูเพื่อ รองรับการปฏิรูปการเรียนรู้ และการจัดทำเครือข่ายทางการศึกษา เช่น โครงการแลกเปลี่ยนนักเรียน ครู ผู้บริหาร การจัด Bilingual Education การพัฒนาจริยศึกษา การดำเนินงานในเรื่อง Choice School และความร่มมือในการจัดการศึกษาโดยผ่านระบบonline

โครงการความร่วมมือระหว่างกระทรวงศึกษาธิการ ประเทศไทย และกระทรวงศึกษาธิการจีน โดยจะมีการแลกเปลี่ยนบุคลากรด้านต่าง ๆ เช่น ครูสอนภาษา วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ การพัฒนา สื่อตำราเรียน โครงการโรงเรียนพี่โรงเรียนน้อง การดำเนินการรับบริจาคเครื่องเพื่อนำเครื่องไปใช้ ในการเรียนการสอน คือ โครงการปลูกต้นกล้าปัญญาเด็กไทย ซึ่งปัจจุบันได้รับบริจาคเครื่องมาแล้ว ประมาณ 1900 เครื่องและได้แจกจ่ายไปยังโรงเรียนต่าง ๆ แล้วจำนวน 1300 เครื่อง เช่น โรงเรียนมุสลิมบำรุง จังหวัดยะลา โรงเรียนสีคิ้วหนองขาว จังหวัดนครราชสีมา โรงเรียนบ้านนาทราบ จังหวัดลำพูน โรงเรียนวัดสุพรรณพนมทอง จังหวัดพิษณุโลก โรงเรียนสระกำแพงวิทยาคม จังหวัด ศรีสะเกษ เป็นต้น และในระหว่างมีกำลังมีการดำเนินการซ่อมบำรุงอยู่ 600 เครื่อง โดยได้รับความอนุเคราะห์จาก วิทยาลัยเทคนิคราชบุรี, เทคนิคมีนบุรี, เทคนิคราชสิทธาราม, เทคนิคปทุมธานี และ เทคนิคดอนเมือง เป็นหน่วยตรวจสอบและซ่อมบำรุงก่อนแจกจ่ายไปยัง โรงเรียนต่าง ๆ ทั้งนี้ ในส่วนของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ได้รับจากกระทรวง ICT จะส่งไปซ่อมบำรุงยัง วิทยาลัยเทคนิคทั้ง 5 แห่งก่อนกระจายไปยังโรงเรียน ต่าง ๆ ทั่วประเทศต่อไป” อนึ่ง ผู้ที่สนใจสามารถ แสดงความจำนงบริจาคคอมพิวเตอร์ได้ที่หมายเลข 1545 ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป และขอเชิญประชาชน ทั่วไปติดตามชมการถ่ายทอดสดในวันศุกร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ 2546 เวลา 21.30 – 23.00 น. ณ สถานี โทรทัศน์ ช่อง 11 ซึ่งนอกจากจะบริจาคคอมพิวเตอร์แล้ว ผู้ที่สนใจสามารถร่วมแสดงความคิดเห็นต่อ โครงการได้ด้วย



แหล่งที่มา http://www.it.mut.ac.th/news/ittechno/newtechno14.html
แหล่งที่มา http://www.thaigoodview.com/ict/main/what_ict.html

https://www.google.co.th/url?sa=t&rct=j&q=&esrc=s&source=web&cd=4&cad=rja&ved=0CEgQFjAD&url=http%3A%2F%2Fwww.kroobannok.com%2Fblog%2F47711&ei=HI-2Uar4OIm3rAecmIH4Cw&usg=AFQjCNFk6S91RzvwoOZfw1F_D3T5yTCh4w&sig2=tKmJDj9PyBP69OCJx8Ju-A&bvm=bv.47534661,d.bmk



การบำรุงรักษาคอมฯ

http://noomook-ict.exteen.com/20090812/ict




ความหมายของเทคโนโลยี

ความหมายของเทคโนโลยี

ความเจริญในด้านต่างๆ ที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบัน เป็นผลมาจากการศึกษาค้นคว้าทดลองประดิษฐ์คิดค้นสิ่งต่างๆ โดยอาศัยความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เมื่อศึกษาค้นพบและทดลองใช้ได้ผลแล้ว ก็นำออกเผยแพร่ใช้ในกิจการด้านต่างๆ ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพัฒนาคุณภาพ และประสิทธิภาพในกิจการต่างๆ เหล่านั้น และวิชาการที่ว่าด้วยการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ มาใช้ในกิจการด้านต่างๆ จึงเรียกกันว่า "วิทยาศาสตร์ประยุกต์" หรือนิยมเรียกกันทั่วไปว่า "เทคโนโลยี" (boonpan edt01.htm)

เทคโนโลยี หมายถึง การใช้เครื่องมือให้เหมาะสมกับสถานการณ์ในการแก้ปัญหา ผู้ที่นำเอาเทคโนโลยีมาใช้ เรียกว่านักเทคโนโลยี (Technologist) (boonpanedt01.htm)

เทคโนโลยีทางการศึกษา (Educational Technology) ตามรูปศัพท์ เทคโน (วิธีการ) + โลยี(วิทยา) หมายถึง ศาสตร์ที่ว่าด้วยวิธีการทางการศึกษา ครอบคลุมระบบการนำวิธีการ มาปรับปรุงประสิทธิภาพของการศึกษาให้สูงขึ้นเทคโนโลยีทางการศึกษาครอบคลุมองค์ประกอบ 3 ประการ คือ วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการ (boonpan edt01.htm)

สภาเทคโนโลยีทางการศึกษานานาชาติได้ให้คำจำกัดความของ เทคโนโลยีทางการศึกษา ว่าเป็นการพัฒนาและประยุกต์ระบบเทคนิคและอุปกรณ์ ให้สามารถนำมาใช้ในสถานการณ์ได้อย่างเหมาะสม เพื่อสร้างเสริมกระบวนการเรียนรู้ของคนให้ดียิ่งขึ้น (boonpan edt01.htm)

ดร.เปรื่อง กุมุท ได้กล่าวถึงความหมายของเทคโนโลยีการศึกษาว่า เป็นการขยายขอบข่ายของการใช้สื่อการสอน ให้กว้างขวางขึ้นทั้งในด้านบุคคล วัสดุเครื่องมือ สถานที่ และกิจกรรมต่างๆในกระบวนการเรียน

Edgar Dale กล่าวว่า เทคโนโลยีทางการศึกษา ไม่ใช่เครื่องมือ แต่เป็นแผนการหรือวิธีการทำงานอย่างเป็นระบบ ให้บรรลุผลตามแผนการ นอกจากนี้เทคโนโลยีทางการศึกษา เป็นการขยายแนวคิดเกี่ยวกับโสตทัศนศึกษา ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น ทั้งนี้ เนื่องจากโสตทัศนศึกษาหมายถึง การศึกษาเกี่ยวกับการใช้ตาดูหูฟัง ดังนั้นอุปกรณ์ในสมัยก่อนมักเน้นการใช้ประสาทสัมผัส ด้านการฟังและการดูเป็นหลัก จึงใช้คำว่าโสตทัศนอุปกรณ์ เทคโนโลยีทางการศึกษา มีความหมายที่กว้างกว่า ซึ่งอาจจะพิจารณาจาก ความคิดรวบยอดของเทคโนโลยีได้เป็น 2 ประการ คือ

1. ความคิดรวบยอดทางวิทยาศาสตร์กายภาพ ตามความคิดรวบยอดนี้ เทคโนโลยีทางการศึกษาหมายถึง การประยุกต์วิทยาศาสตร์กายภาพ ในรูปของสิ่งประดิษฐ์ เช่น เครื่องฉายภาพยนตร์ โทรทัศน์ ฯลฯ มาใช้สำหรับการเรียนรู้ของนักเรียนเป็นส่วนใหญ่ การใช้เครื่องมือเหล่านี้ มักคำนึงถึงเฉพาะการควบคุมให้เครื่องทำงาน มักไม่คำนึงถึงจิตวิทยาการเรียนรู้ โดยเฉพาะเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล และการเลือกสื่อให้ตรงกับเนื้อหาวิชา

ความหมายของเทคโนโลยีทางการศึกษา ตามความคิดรวบยอดนี้ ทำให้บทบาทของเทคโนโลยีทางการศึกษาแคบลงไป คือมีเพียงวัสดุ และอุปกรณ์เท่านั้น ไม่รวมวิธีการ หรือปฏิกิริยาสัมพันธ์อื่น ๆ เข้าไปด้วย ซึ่งตามความหมายนี้ก็คือ "โสตทัศนศึกษา" นั่นเอง

2. ความคิดรวบยอดทางพฤติกรรมศาสตร์ เป็นการนำวิธีการทางจิตวิทยา มนุษยวิทยา กระบวนการกลุ่ม ภาษา การสื่อความหมาย การบริหาร เครื่องยนต์กลไก การรับรู้มาใช้ควบคู่กับผลิตกรรมทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรม เพื่อให้ผู้เรียน เปลี่ยนพฤติกรรมการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นมิใช่เพียงการใช้เครื่องมืออุปกรณ์เท่านั้น แต่รวมถึงวิธีการทางวิทยาศาสตร์เข้าไปด้วย มิใช่วัสดุ หรืออุปกรณ์ แต่เพียงอย่างเดียว



ขอบข่ายของเทคโนโลยีการศึกษา



เทคโนโลยีการศึกษา มี 5 ขอบข่าย ดังรายละเอียดต่อไปนี้

1. การออกแบบ (Design)

2. การพัฒนา (Development)

3. การใช้ (Utilization)

4. การจัดการ (Management)

5. การประเมิน (Evaluation)



1. การออกแบบ (Design) คือ กระบวนการในการกำหนดสภาพของการเรียนรู้ ได้แก่



1.1 การออกแบบระบบการสอน (Instructional systems design) มี 5 ขั้นตอนดังนี้

1) การวิเคราะห์ (analysis) คือ กระบวนการที่กำหนดว่าต้องการให้ผู้เรียนได้รับอะไรจากการเรียน ต้องเรียนในเนื้อหาอะไรบ้าง

2) การออกแบบ (design) คือ กระบวนการที่จะต้องระบุว่าให้ผู้เรียนเรียนอย่างไร ที่สามารถทำให้เกิดการเรียนรู้สูงสุดต่อผู้เรียน

3) การพัฒนา (development) คือ กระบวนการสร้าง การผลิตสื่อการสอน

4) การนำไปใช้ (implementation) คือ การใช้วัสดุและยุทธศาสตร์ต่างๆ ในการสอน

5) การประเมิน (evaluation) คือ กระบวนการในการประเมินการสอน



1.2 ออกแบบสาร (message design) คือ การวางแผน เปลี่ยนแปลงสารเน้นทฤษฎีการเรียนที่ประยุกต์ความรู้บนพื้นฐานของความสนใจ การรับรู้ ความจำ การออกแบบสารมีจุดประสงค์เพื่อการสื่อความหมายกับผู้เรียน



1.3 กลยุทธ์การสอน (instructional strategies) เน้นที่การเลือก ลำดับเหตุการณ์ และกิจกรรมในบทเรียน ในทางปฏิบัติกลยุทธ์การสอนมีความสัมพันธ์กับสถานการณ์การเรียน ผลของปฏิสัมพันธ์นี้สามารถอธิบายได้โดยโมเดลการสอน การเลือกยุทธศาสตร์การสอนและโมเดลการสอนต้องขึ้นอยู่กับสถานการณ์การเรียน รวมถึงลักษณะผู้เรียน ธรรมชาติของเนื้อหาวิชา และจุดประสงค์ของผู้เรียน



1.4 ลักษณะผู้เรียน (learner characteristics)คือ ลักษณะและประสบการณ์เดิมของผู้เรียนที่จะมีผลต่อกระบวนการเรียนการสอน การเลือก และการใช้ยุทธศาสตร์การสอน



2. การพัฒนา (Development) คือ กระบวนการเปลี่ยนการออกแบบ



2.1 เทคโนโลยีสิ่งพิมพ์ (print technologies) เป็นการผลิต หรือส่งสาร สื่อด้านวัสดุ เช่น หนังสือ โสตทัศนวัสดุพื้นฐานประเภทภาพนิ่ง ภาพถ่าย รวมถึงสื่อข้อความ กราฟิก วัสดุภาพสิ่งพิมพ์ ทัศนวัสดุ สิ่งเหล่านี้เป็นพื้นฐานของการพัฒนา การใช้สื่อวัสดุการสอนอื่นๆ ตัวอย่าง หนังสือพิมพ์ วารสาร แมกกาซีน



2.2 เทคโนโลยีโสตทัศนูปกรณ์ (audiovisual technologies) เป็นวิธีการในการจัดหา หรือส่งถ่ายสาร โดยใช้เครื่องมืออุปกรณ์ หรือเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์เพื่อนำเสนอสารต่างๆ ด้วยเสียง และภาพ โสตทัศนูปกรณ์จะช่วยแสดงสิ่งที่เป็นธรรมชาติจริง ความคิดที่เป็นนามธรรม เพื่อผู้สอนนำไปใช้ให้มีปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียน ตัวอย่างอุปกรณ์โสตฯ โปรเจคเตอร์, เครื่องเสียง, ไมโครโฟน, ลำโพง, กล้องวีดีโอ, กล้องดิจิตอล, เครื่องฉายข้ามศีรษะ



2.3 เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ (computer – based technologies) เป็นวิธีการในการจัดหา หรือส่งถ่ายสารโดยการใช้ไมโครโพรเซสเซอร์ เพื่อรับและส่งข้อมูลแบบดิจิตอล ประกอบด้วย คอมพิวเตอร์ช่วยสอน คอมพิวเตอร์จัดการสอน โทรคมนาคม การสื่อสารทางอิเล็กทรอนิกส์ การเข้าถึงและใช้แหล่งข้อมูลในเครือข่าย



2.4 เทคโนโลยีบูรณาการ (integrated technologies) เป็นวิธีการในการจัดหา หรือส่งถ่ายข้อมูลกับสื่อหลาย ๆ รูปแบบภายใต้การควบคุมของคอมพิวเตอร์







3. การใช้ (Utilization) คือ ใช้กระบวนการ และแหล่งทรัพยากรเพื่อการเรียนการสอน



3.1 การใช้สื่อ (Media Utilization) เป็นระบบของการใช้สื่อ แหล่งทรัพยากรเพื่อ การเรียน โดยใช้กระบวนการตามที่ผ่านการออกแบบการสอน



3.2 การแพร่กระจายนวัตกรรม (Diffusion of innovation) เป็นกระบวนการสื่อความหมาย รวมถึงการวางยุทธศาสตร์ หรือจุดประสงค์ให้เกิดการยอมรับนวัตกรรม



3.3 วิธีการนำไปใช้ และการจัดการ (Implementation and Institutionalization) เป็นการใช้สื่อการสอนหรือยุทธศาสตร์ในสถานการณ์จริงอย่างต่อเนื่องและใช้นวัตกรรมการศึกษาเป็นประจำในองค์การ



3.4 นโยบาย หลักการและกฎระเบียบข้อบังคับ (policies and regulation) เป็นกฎระเบียบ ข้อบังคับของสังคมที่ส่งผลต่อการแพร่กระจาย และการใช้เทคโนโลยีการศึกษา



4. การจัดการ (Management) คือ ควบคุมกระบวนการทางเทคโนโลยีการศึกษา ตลอดจนการวางแผน จัดการ การประสานงาน และให้คำแนะนำ



4.1 การจัดการโครงการ (Project Management) เป็นการวางแผน กำกับ ควบคุม การออกแบบ และพัฒนาโครงการ



4.2 การจัดการแหล่งทรัพยากร (Resource Management) เป็นการวางแผน กำกับ ควบคุมแหล่งทรัพยากร ที่ช่วยระบบและการบริการ



4.3 การจัดการระบบส่งถ่าย (Delivery System Management) เป็นการวางแผน กำกับ ควบคุมวิธีการซึ่งแพร่กระจายสื่อการสอนในองค์การ รวมถึงสื่อ และวิธีการใช้ที่จะนำเสนอสารไปยังผู้เรียน



4.4 การจัดการสารสนเทศ (Information Management) เป็นการวางแผน กำกับ ควบคุม การเก็บ การส่งถ่าย หรือกระบวนการของข้อมูลสารเพื่อสนับสนุนแหล่งทรัพยากรการเรียน



5. การประเมิน (Evaluation) คือ การหาข้อมูลเพื่อกำหนดความเหมาะสมของการเรียนการสอน



5.1 การวิเคราะห์ปัญหา (Problem Analysis) เป็นการทำให้ปัญหาสิ้นสุด โดยการใช้ข้อมูลต่างๆ และวิธีการที่จะช่วยตัดสินใจ



5.2 เกณฑ์การประเมิน (Criterion – Reference Management) เทคนิคการใช้เกณฑ์เพื่อการประเมินการสอน หรือประเมินโครงการเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา



5.3 การประเมินความก้าวหน้า (Formative Evaluation) มีการใช้ข้อมูลอย่างเหมาะสมจากการประเมินความก้าวหน้าเพื่อเป็นฐานในการพัฒนาต่อไป



5.4 การประเมินผลสรุป (Summative Evaluation) มีการใช้ข้อมูลอย่างเหมาะสมที่จะตัดสินใจกับการดำเนินงานโปรแกรม หรือโครงการต่อไป



ขอขอบคุณแหล่งศึกษาจากอาจารย์ผู้สอน ดร.ดิศกุล เกษมสวัสดิ์ และแหล่งข้อมูลขนาดใหญ่ในโลกไซเบอร์นี้ค่ะ จาก Google และ danupon89.multiply.multiplycontent.com ค่ะ



คำสำคัญ (keywords): กลยุทธ์การสอน, การจัดการ, การจัดการสารสนเทศ, การจัดการโครงการ, การประเมิน, การพัฒนา, การวิเคราะห์ปัญหา, การออกแบบ, การแพร่กระจายนวัตกรรม, การใช้, การใช้สื่อ, ขอบข่ายของเทคโนโลยีการศึกษา, เกณฑ์การประเมิน, เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์, เทคโนโลยีสิ่งพิมพ์, การออกแบบระบบการสอน, ออกแบบสาร, ลักษณะผู้เรียน, เทคโนโลยีโสตทัศนูปกรณ์, เทคโนโลยีบูรณาการ, วิธีการนำไปใช้ และการจัดการ, นโยบาย หลักการ และกฎระเบียบข้อบังคับ, การจัดการแหล่งทรัพยากร, การจัดการระบบส่งถ่าย, การประเมินความก้าวหน้า, การประเมินผลสรุป



แนวคิดของสมาคมสื่อสารและเทคโนโลยีการศึกษาแห่งสหรัฐอเมริกา (Association for Educational Communications and Technology: AECT, 1994)

ได้แบ่งขอบข่ายเทคโนโลยีการศึกษาตาม Seels and Richey ได้ศึกษาไว้ ประกอบด้วย 5 ขอบข่ายใหญ่ และแต่ละขอบข่ายแยกเป็น 4 ขอบข่ายย่อย รวมเป็นขอบข่ายย่อยทั้งหมด 20 ขอบข่าย ดังนี้

1.1 การออกแบบ (design) คือ กระบวนการในการกำหนดสภาพของการเรียนรู้1.1.1 การออกแบบระบบการสอน (instructional systems design) เป็นวิธีการจัดการที่รวมขั้นตอนของการสอนประกอบด้วย การวิเคราะห์ (analysis) คือ กระบวนการที่กำหนดว่าต้องการให้ผู้เรียนได้รับอะไร เรียนในเนื้อหาอะไร การออกแบบ (design) กระบวนการที่จะต้องระบุว่าให้ผู้เรียนเรียนอย่างไร การพัฒนา (development) คือ กระบวนการสร้างผลิตสื่อวัสดุการสอน การนำไปใช้ (implementation) คือ การใช้วัสดุและยุทธศาสตร์ต่างๆ ในการสอน และ การประเมิน (evaluation) คือ กระบวนการในการประเมินการสอน 1.1.2 ออกแบบสาร (message design) เป็นการวางแผน เปลี่ยนแปลงสารเน้นทฤษฎีการเรียนที่ประยุกต์ความรู้บนพื้นฐานของความสนใจ การรับรู้ ความจำ การออกแบบสารมีจุดประสงค์เพื่อการสื่อความหมายกับผู้เรียน 1.1.3 กลยุทธ์การสอน (instructional strategies) เน้นที่การเลือก ลำดับเหตุการณ์ และกิจกรรมในบทเรียน ในทางปฏิบัติกลยุทธ์การสอนมีความสัมพันธ์กับสถานการณ์การเรียน ผลของปฏิสัมพันธ์นี้สามารถอธิบายได้โดยโมเดลการสอน การเลือกยุทธศาสตร์การสอนและโมเดลการสอนต้องขึ้นอยู่กับสถานการณ์การเรียน รวมถึงลักษณะผู้เรียน ธรรมชาติของเนื้อหาวิชา และจุดประสงค์ของผู้เรียน

1.1.4 ลักษณะผู้เรียน (learner characteristics) คือลักษณะและประสบการณ์เดิมของผู้เรียนที่จะมีผลต่อกระบวนการเรียน การสอน การเลือก และการใช้ยุทธศาสตร์การสอน

1.2 การพัฒนา (development) เป็นกระบวนการของการเปลี่ยนการออกแบบ ประกอบด้วย 1.2.1 เทคโนโลยีสิ่งพิมพ์ (print technologies) เป็นการผลิต หรือส่งสาร สื่อด้านวัสดุ เช่น หนังสือ โสตทัศนวัสดุพื้นฐานประเภทภาพนิ่ง ภาพถ่าย รวมถึงสื่อข้อความ กราฟิก วัสดุภาพสิ่งพิมพ์ ทัศนวัสดุ สิ่งเหล่านี้เป็นพื้นฐานของการพัฒนา การใช้สื่อวัสดุการสอนอื่นๆ 1.2.2 เทคโนโลยีโสตทัศนูปกรณ์ (audiovisual technologies) เป็นวิธีการในการจัดหา หรือส่งถ่ายสาร โดยใช้เครื่องมืออุปกรณ์ หรือเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์เพื่อนำเสนอสารต่างๆ ด้วยเสียง และภาพ โสตทัศนูปกรณ์จะช่วยแสดงสิ่งที่เป็นธรรมชาติจริง ความคิดที่เป็นนามธรรม เพื่อผู้สอนนำไปใช้ให้มีปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียน 1.2.3 เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ (computer – based technologies) เป็นวิธีการในการจัดหา หรือส่งถ่ายสารโดยการใช้ไมโครโพรเซสเซอร์ เพื่อรับและส่งข้อมูลแบบดิจิตอล ประกอบด้วย คอมพิวเตอร์ช่วยสอน คอมพิวเตอร์จัดการสอน โทรคมนาคม การสื่อสารทางอิเล็กทรอนิกส์ การเข้าถึงและใช้แหล่งข้อมูลในเครือข่าย 1.2.4 เทคโนโลยีบูรณาการ (integrated technologies) เป็นวิธีการในการจัดหา หรือส่งถ่ายข้อมูลกับสื่อหลาย ๆ รูปแบบภายใต้การควบคุมของคอมพิวเตอร์

1.3 การใช้ (utilization) เป็นการใช้กระบวนการ และแหล่งทรัพยากรเพื่อการเรียนการสอน

ประกอบด้วย 1.3.1 การใช้สื่อ (media utilization) เป็นระบบของการใช้สื่อ แหล่งทรัพยากรเพื่อ การเรียน โดยใช้กระบวนการตามที่ผ่านการออกแบบการสอน 1.3.2 การแพร่กระจายนวัตกรรม (diffusion of innovations) เป็นกระบวนการสื่อความหมาย รวมถึงการวางยุทธศาสตร์ หรือจุดประสงค์ให้เกิดการยอมรับนวัตกรรม 1.3.3 วิธีการนำไปใช้ และการจัดการ (implementation and institutionalization) เป็นการใช้สื่อการสอนหรือยุทธศาสตร์ในสถานการณ์จริงอย่างต่อเนื่องและใช้นวัตกรรมการศึกษาเป็นประจำในองค์การ 1.3.4 นโยบาย หลักการและกฎระเบียบข้อบังคับ (policies and regulations)

เป็นกฎระเบียบ ข้อบังคับของสังคมที่ส่งผลต่อการแพร่กระจาย และการใช้เทคโนโลยีการศึกษา

1.4 การจัดการ (management) เป็นการควบคุมกระบวนการทางเทคโนโลยีการศึกษา ตลอดจนการวางแผน การจัดการ การประสานงาน และการให้คำแนะนำ ประกอบด้วย 1.4.1 การจัดการโครงการ (project management) เป็นการวางแผน กำกับ ควบคุม การออกแบบ และพัฒนาโครงการสอน 1.4.2 การจัดการแหล่งทรัพยากร (resource management) เป็นการวางแผน กำกับ ควบคุมแหล่งทรัพยากร ที่ช่วยระบบและการบริการ 1.4.3 การจัดการระบบส่งถ่าย (delivery system management) เป็นการวางแผน กำกับ ควบคุมวิธีการซึ่งแพร่กระจายสื่อการสอนในองค์การ รวมถึงสื่อ และวิธีการใช้ที่จะนำเสนอสารไปยังผู้เรียน

1.4.5 การจัดการสารสนเทศ (information management) เป็นการวางแผน กำกับ ควบคุม การเก็บ การส่งถ่าย หรือกระบวนการของข้อมูลสารเพื่อสนับสนุนแหล่งทรัพยากรการเรียน



1.5 การประเมิน (evaluation) กระบวนการหาข้อมูลเพื่อกำหนดความเหมาะสมของการเรียนการสอน

ประกอบด้วย 1.5.1 การวิเคราะห์ปัญหา (problem analysis) เป็นการทำให้ปัญหาสิ้นสุด โดยการใช้ข้อมูลต่างๆ และวิธีการที่จะช่วยตัดสินใจ 1.5.2 เกณฑ์การประเมิน (criterion – reference measurement) เทคนิคการใช้เกณฑ์เพื่อการประเมินการสอน หรือประเมินโครงการเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา 1.5.3 การประเมินความก้าวหน้า (formative evaluation) มีการใช้ข้อมูลอย่างเหมาะสมจากการประเมินความก้าวหน้าเพื่อเป็นฐานในการพัฒนาต่อไป 1.5.4 การประเมินผลสรุป (summative evaluation) มีการใช้ข้อมูลอย่างเหมาะสมที่จะตัดสินใจกับการดำเนินงานโปรแกรม หรือโครงการต่อไป

ที่มา : http://richey.exteen.com/20080201/entry


ธรรม(ชาติ)ของมนุษย์กับเทคโนโลยี ICT









ธรรม(ชาติ)ของมนุษย์กับเทคโนโลยี ICT Print


Friday, 29 January 2010 21:09


มนุษย์เป็นสัตว์สังคมซึ่งต้องอาศัยพึ่งพากัน การติดต่อสื่อสารจึงเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นสำหรับการดำเนินชีวิต เทคโนโลยีที่เข้ามาเสริมด้านการสื่อสารเพื่อตอบสนองปัจจัยพื้นฐานหรือเพิ่มขีดความสามารถของมนุษย์ด้านนี้จึงกลายเป็นที่ต้องการ(และทำรายได้)อย่างมากหรือกลายเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในวิถีชีวิตยุคนี้ ตัวอย่างเช่น โทรศํพท์มือถือที่ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการรับฟังระยะไกล เทคโนโลยีนี้พัฒนาจากสิ่งที่ต้องการเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ไปแล้วในปัจจุบัน อีกเทคโนโลยีหนึ่งที่ขาดไม่ได้คืออินเทอร์เน็ต ซึ่งมีวิวัฒนาการตามเทคโนโลยีการสื่อสารที่รวดเร็วขึ้น เข้าถึงได้มากขึ้น ขยายบริบทของการสื่อสารให้ครอบคลุมทั้งโลกและหลอมรวมสื่อทุกประเภทเข้าด้วยกัน


นอกจากความต้องการด้านการสื่อสารแล้ว เทคโนโลยีสารสนเทศก็เข้ามาเปลี่ยนวิถีชีวิตอย่างมากมายดังจะเห็นได้จากบริการของธนาคารที่เป็น Automation ด้วยตู้อัตโนมัติต่างๆหรือ การทำธุรกรรมผ่านโทรศัพท์มือถือที่เพิ่มบริการมากขึ้นทุกวัน


คำถามที่ผู้วางนโยบายต้องการทราบคือในอนาคตวิถีชีวิตกับเทคโนโลยีจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรอีก คำตอบนี้หาได้จากการศึกษาข้อมูลการเปลี่ยนแปลงในอดีตจนถึงปัจจุบัน แนวโน้มเทคโนโลยีในอนาคต และความต้องการของมนุษย์


อนึ่งแม้ว่าเทคโนโลยีจะก้าวหน้าไปอาทิความเร็วของการสื่อสารไร้สายยุค 4G แต่สุดท้ายก็ต้องนำมาประยุกต์เพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์อยู่ดี ในบทความนี้จะใช้ความต้องการของมนุษย์เป็นตัวหลักในการให้โจทย์ว่าเทคโนโลยีในอนาคตควรจะต้องเป็นอย่างไร


ความต้องการของมนุษย์ตามแนวความคิดของมาสโลว์ (Abraham Maslow นักจิตวิทยาชาวสหรัฐอเมริกา) เขาได้แบ่งความต้องการของมนุษย์ออกเป็น 5 ขั้นเรียงตามลำดับ ดังนี้


ขั้นที่ 1 ความต้องการทางด้านร่างกาย (Physiological Needs) คือความต้องการปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิต ถือเป็นความต้องการที่มีอำนาจมากที่สุดและสังเกตได้ชัดที่สุด ในส่วนของเทคโนโลยี ICT ที่ตอบสนองความต้องการในขั้นนี้จะเป็นในทางอ้อม เพราะตัวสารสนเทศกับการสื่อสารไม่เป็นปัจจัยโดยตรงที่ร่างกายต้องการ แต่เราก็อาศัย ICT เพื่อแสวงหาปัจจัยพื้นฐานเหล่านี้เช่น เราสั่งอาหารทางโทรศัพท์หรืออินเทอร์เน็ต


ขั้นที่ 2 ความต้องการความมั่นคงปลอดภัย (Safety and Security Needs) คือความต้องการที่จะมีชีวิต


ที่มั่นคง ปลอดภัย สำหรับเทคโนโลยี ICT มีส่วนอย่างมากในด้านนี้เพราะข้อมูลสารสนเทศเองก็ต้องการความมั่นคงปลอดภัยในธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ความปลอดภัยต่อการใช้งานคอมพิวเตอร์ โทรศัทพ์มือถือ ทั้งในแง่สุขภาพและความเป็นส่วนตัว เมื่อเทคโนโลยีก้าวหน้าไป ความมั่นคงปลอดภัยก็จำเป็นต้องก้าวให้ทัน เพื่ออุดช่องโหว่หรือป้องกันการนำเทคโนโลยีไปใช้ในทางที่ผิด อย่างเช่น virus/worm ก็เกิดมาแพร่ทางอินเทอร์เน็ต Anti-virus ก็ต้องพัฒนาอยู่ตลอดเวลา แนวคิดของ Virtualization ก็กลับมาเพื่อแยกทรัพยากรระดับล่างออกจากผู้ใช้ ทำให้ผู้ใช้ได้ทรัพยากรเสมือนและไม่ต้องห่วงเรื่องความปลอดภัยในทรัพยากรจริง นอกจากนี้เทคโนโลยียังเข้ามามีบทบาทด้านความปลอดภัยต่อร่ายกายโดยตรงเช่น การขับขี่รถที่มีระบบแจ้งเตือนอุบัติเหตุ ระบบช่วยในการมองเห็นในที่มืด ระบบ CCTVกันการโจรกรรม เป็นต้น ในเรื่องของมาตรการ นโยบายและการกำกับก็มีบทบาทต่อความต้องการด้านนี้ อย่างเช่น ISO/IEC ได้ออกมาตรฐาน ISO/IEC 27001 Information Security Management มากำกับหน่วยงานเพื่อรักษาความมั่งคงปลอดภัยให้ได้ตามเกณฑ์มาตรฐาน สำหรับเรื่องกระแสการรณรงค์ลดภาวะโลกร้อน ลึกๆแล้วก็เป็นความต้องการความมั่่นคงปลอดภัย Green IT จึงกลายเป็นประเด็นที่ Gartner จัดไว้เป็น top 10 strategic technologies สำหรับปี 2009 ที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นวัสดุของผลิตภัณฑ์ การทำลาย การประหยัดพลังงาน การลดการปล่อยกาซเรือนกระจก เหล่านี้เกี่ยวพันกับเทคโนโลยี ICT ทั้งสิ้น


ขั้นที่ 3 ความต้องการความรักและการเป็นที่ยอมรับของกลุ่ม (Love and Belonging Needs) มนุษย์เมื่อเข้าไปอยู่ในกลุ่มใดก็ต้องการให้ตนเป็นที่รักและยอมรับในกลุ่มที่ตนอยู่ แฟร์ชันของการบริโภคเทคโนโลยีเพื่อไม่ให้ตัวเองตกรุ่น หรือเพื่อให้เข้าสังคมได้ หรือการสร้างกลุ่มเพื่อนฝูง เริ่มตั้งแต่ mail-group, blog, กลุ่มใน Hi5, facebook ก็เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนว่าเราต้องการกลุ่ม ต้องการสังกัด ต้องการคนเอาใจใส่ข้อความหรือรูปภาพที่เราโพสท์ลงในเว็บ เทคโนโลยี ICT จะมีพัฒนาการเพื่อตอบโจทย์ความต้องการนี้ได้ดีขึ้นเรื่อยๆ Hi-speed Internet หรือ 3G/4G ทำให้เราคุยกันผ่านวิดีโอ ส่งคลิปแทนคำพูดที่ใช้ใน emailยุคเก่า ทำให้เราสื่อความรู้สึกถึงกันได้ ในอนาคตก็น่าจะแบ่งปัน กลิ่น รส หรือสัมผัสได้ หรือแม้แต่การอ่านคลื่นสมอง คลื่นความร้อนเพื่อทำนายอารมณ์และความคิดได้ ก็จะเกิดขึ้นได้ในอนาคตเช่นกัน ในส่วนเทคโนโลยีICT ที่ต้องใช้กับคนหมู่มากนี้ อินเทอร์เน็ตถือว่าเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญที่ทำให้วิถีชีวิตเปลี่ยนแปลงไป ปฎิสัมพันธ์ระหว่างคนน้อยลงแต่มีชีวิตอยู่กับหน้าจอหรือโทรศัทพ์เครื่องมือถือ แต่กลับสื่่อสารกับคนได้มากขึ้นพร้อมๆกัน ตัดข้อจำกัดด้านระยะทางออกไป เมื่อขีดจำกัดกลับมาอยู่ที่ความสามารถของเทคโนโลยี ด้วย CPU ที่เร็วขึัน Network ที่เร็วขึ้น Storage ที่มากขึ้น และราคาที่ถูกลงทำให้การบริการคนหมู่มากทั้ง HaaS, IaaS, PaaS และ SaaS (Hardware, Infrastructure, Platform, Software as a service) ผ่าน Cloud computing อุบัติขึ้นมา อนึ่ง Cloud computing จะเป็นประโยขน์อย่างมากต่อหน่วยงานในการลดภาระ infrastructure หรือบริการที่ไม่เป็นความลับและสามารถพึ่งพา Cloud computing ภายนอกได้ หรือหากองค์กรมีขนาดใหญ่มากก็พัฒนา Internal Cloud computing ขึ้นภายในองค์กรได้เช่นกัน


ขั้นที่ 4 ความต้องการได้ รับการยกย่องจากผู้อื่น (Self -Esteem Needs) เป็นความต้องการในลำดับต่อมา ซึ่งความต้องการในชั้นนี้ถ้าได้รับจะก่อให้เกิดความภาคภูมิใจใจตนเอง แฟร์ชันของเทคโนโลยีก็จัดอยู่ในข้อนี้ การที่คนเราเปลี่ยนมือถือทั้งที่ยังใช้ได้อยู่ หรือมีมือถือที่มีฟังก์ชันเกินความต้องการ แต่เนื่องจากเราต้องการได้รับการยกย่อง(รวมทั้งยอมรับ)จากผู้อื่น เช่นเดียวกันกับการ share รูปภาพใน Social network เพื่อให้คนวิจารณ์ ก็คงหวังจะได้รับคำชมเชยเช่นกัน เทคโนโลยี ICT ก็นำข้อนี้มาพัฒนาApplication ได้หลากหลาย การเล่นเกมส์ออนไลน์ การสร้าง Blog ของตัวเอง การเล่น twitter เพื่อสร้างอำนาจกับฐานจำนวนผู้ตามให้สูงขึ้นก็เพื่อการยกย่องเช่นกัน


ขึ้นที่ 5 ความต้องการในการเข้าใจและรู้จักตนเอง (Self-Actualization Needs) เป็นความต้องการชั้นสูง


ของมนุษย์ ซึ่งน้อยคนที่จะประสบได้ถึงขั้นนี้ Maslow อธิบาย ความต้องการเข้าใจตนเองอย่างแท้จริง ว่าเป็นความปรารถนาในทุกสิ่งทุกอย่างซึ่งบุคคลสามารถจะได้รับอย่างเหมาะสม บุคคลที่ประสบผลสำเร็จในขั้นสูงสุดนี้จะใช้พลังอย่างเต็มที่ในสิ่งที่ท้าทายความสามารถและศักยภาพของเขาให้บรรลุถึงจุดสูงสุด ของศักยภาพ เช่น นักดนตรีก็ต้องใช้ความสามารถทางด้านดนตรี ศิลปินก็จะต้อง วาดรูป สำหรับงานของโปรแกรมเมอร์ก็มีช่องทางของ Opensourceที่เปิดโอกาสให้นักพัฒนาทั่วไปแสดงความสามารถของตนเองด้าน ICTออกมา นอกจากนี้ API ต่างๆ เช่น Twitter API ก็มีส่วนช่วยผลักดันความต้องการข้อนี้ได้อย่างมาก แนวโน้มของการพัฒนาจึงออกมาในแนวการเปิดโอกาสให้ผู้อื่นมา "ต่อยอด" แทนการพัฒนาเองคิดเองทั้งหมดซึ่งจะสู้การลงแขกช่วยกันต่อยอดไม่ได้


นอกจากความต้องการทั้ง 5 ของมนุษย์ตามปรัชญาของ Maslow นี้แล้วยังมีอีกสองความต้องการระดับสูงที่จะพัฒนาตนเองไปสู่ความเจริญได้แก่


ความต้องการรู้และเข้าใจ หลายครั้งที่เราต้องพึ่ง Search engine หรือ Wikipedia เพื่อค้นคว้าวิจัย ตอบสนองความอยากรู้อย่างรวดเร็ว การตั้งกระทู้ถามใน pantip.com ก็เป็นการถามความเห็นหรือประสบการณ์ตรงจากสังคมผู้สนใจในเรื่องเดียวกัน การเรียนการสอนทางไกล การเฝ้าติดตามข่าวผ่านRSS feed เพื่อให้รู้ทันการณ์ เพื่อดูผลกีฬา การดู Review product จาก youtube.com เพื่อการตัดสินใจ จะเห็นได้ว่าเทคโนโลยี ICT มีบทบาทมากในความต้องการข้อนี้


ความต้องการสุนทรีย์ ความซาบซึ้งในศิลปะและดนตรี(ภาพยนต์) เทคโนโลยี ICT มีบทบาทตั้งแต่การค้นคว้า การสร้างแรงบันดาลใจ การสร้างผลงาน การนำเสนอ การวิจารณ์ ในอนาคตหากเทคโนโลยีICT พัฒนาก้าวไปก็จะช่วยตอบสนองความต้องการนี้ได้ดีขึ้น เช่น ความคมชัดของจอภาพ ความจุของ Blu-ray (50GB สำหรับ double layer disc) ที่จะมาแทนที่ DVD เป็นต้น


ในเรื่องของความต้องการของมนุษย์อาจจะศึกษาจากบริบทของธรรมะในพุทธศาสนาหรือทฤษฎีของเมอร์เรย์(Murray)ได้เช่นกัน ในทางพุทธศาสนา กล่าวถึง ความต้องการของมนุษย์ หรือความอยากซึ่งเรียกว่า กิเลส มีอยู่ 3 อย่าง คือ ( พระธรรมปิฎก ป.อ. ปยุตโต , 2538: 67 - 70) 



กามตัณหา คือ ความอยากในกามคุณทั้ง 5 คือ ความอยากหรือปรารถนาในสิ่งน่ารักใคร่พอใจ ซึ่งอาจเป็น รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส มิใช่หมายถึงความต้องการทางเพศเพียงอย่างเดียวอย่างเช่นที่คนส่วนใหญ่เข้าใจกัน ในข้อนี้เทียบเคียงได้กับความต้องการในข้อที่1 ของ Maslow สิ่งนี้เป็นความต้องการที่เทคโนโลยี ICT สนองความต้องการได้ดีดังที่กล่าวมาแล้ว เพราะความต้องการไม่มีที่สิ้นสุด เทคโนโลยีก็จะถูกจับมาพัฒนาสนองความต้องการนี้ไม่สิ้นสุดเช่นกัน



ภวตัณหา คือ ความอยากมี อยากเป็น อยากได้
 ซึ่งเทียบได้กับความต้องการตั้งแต่ข้อ 2 เป็นต้นไปของ Maslow


วิภวตัณหา คือ ความไม่อยากมี ไม่อยากเป็น ไม่อยากได้
 ข้อนี้เป็นข้อที่น่าทึ่งในหลักธรรม และเป็นความท้าทายของนักพัฒนาเทคโนโลยี ICTอย่างยิ่งว่าจะตอบโจทย์ข้อนี้ได้อย่างไร พุทธศาสนาสอนให้เราคิดให้เป็นหรือรู้จักคิด(โยนิโสมนสิการ) แทนที่จะปล่อยให้เทคโนโลยีดึงเราไปจมติดอยู่กับข้อ 1 และข้อ 2


อีกประเด็นหนึ่งที่ไม่อยากให้ข้างไปคือการเทียบความต้องการกับอิฐารมณ์ 4 คือ (เสถียร เหลืองอร่าม, 2519 : 21) 
1. ลาภ ซึ่งได้แก่ ทรัพย์ ศฤงคาร(สิ่งที่ทำให้เกิดความรัก, ความใคร่) เงินทอง
 2. ยศ ได้แก่ ตำแหน่ง เหรียญตรา ปริญญา วิทยฐานะ 
3. สรรเสริญ ได้แก่ ความเคารพ นับถือจากผู้อื่น
 4. ความสุข ทั้งในร่างกายและจิตใจ


กล่าวโดยสรุปจะเห็นได้ว่าความต้องการจะหนีไม่พ้นสิ่งเหล่านี้ ก็อยู่ที่การรู้จักคิดนำเทคโนโลยีมาตอบสนองความต้องการที่ละเอียดขึ้นเรื่อยๆ หากเราวิเคราะห์ความต้องการได้ถ่องแท้และรู้ทันเทคโนโลยีก็เป็นไปได้ว่าเราจะคาดการณ์ความเป็นไปของ ICT ในอนาคตได้ถูกต้องยิ่งขึ้น


ภาสกร ประถมบุตร


ที่มา


http://blogs.gartner.com/david_cearley/2008/10/14/gartner’s-top-10-strategic-technologies-for-2009/


http://th.wikipedia.org/wiki/อับราฮัม_มาสโลว์


http://www.novabizz.com/NovaAce/Personality/Human_Needs.htm

การลบบัญชี Gmail จากบัญชีของตนเอง

จีเมล์ ต่างจาก ฮอทเมล์อยู่อย่าง คือ
ให้เราต้อง ติ๊ก ตรง yes , I acknowledge ....  ที่ให้เรารับผิดชอบเรื่องค่าใช้จ่ายค้างจากการชาร์จค่าอะไรๆ ซึ่ง อะไรฟระ งง ฟร่ะ คือว่าถ้าไม่ติ๊กเนี่ย มันไม่ดำเนินการต่อให้
ใช้อีเมล์อย่างเดียว แล้วเป็นฟรีเมล์ จะมาเก็บค่าบริการอะไรกะเราได้ มันมีตรงนี้ทำไมฟระ แต่จำต้องติ๊ก ไม่งั้นเค้าก็ไม่ยอมให้ลบบัญชี   ก็เตือนเพื่อนๆกันหน่อย เพราะในฮอทเมล์ไม่เห็นจะมีอย่างนี้ ยาฮูเหมือนกัน ไม่เห็นมีตรงนี้ เราน่ะ ยกเลิกไปหลายบัญชีแล้วไม่มีแบบนี้มาก่อน เจอแบบนี้ซึมเลยเรา
http://www.oknation.net/blog/chayada/2011/04/03/entry-2

การยกเลิกที่อยู่ Gmail ของคุณ

หมายเหตุ: การลบที่อยู่ไม่ได้ทำให้ชื่อผู้ใช้ของคุณว่างสำหรับการใช้งาน เมื่อคุณลบที่อยู่ Gmail แล้ว คุณจะไม่สามารถใช้ชื่อผู้ใช้เดียวกันนี้ (username@gmail.com) ได้อีกในอนาคต
หากคุณตัดสินใจแล้วว่าคุณไม่จำเป็นต้องใช้ที่อยู่ Gmail ของคุณอีกต่อไป คุณสามารถนำ Gmail ออกจากบัญชี Google ได้ที่นี่:
  1. ไปที่แท็บผลิตภัณฑ์ในการตั้งค่าบัญชีของคุณ
  2. คลิกลิงก์ แก้ไข ที่อยู่ถัดจาก "ผลิตภัณฑ์ของคุณ"
  3. คลิก นำ Gmail ออกถาวร
ฉันลงชื่อเข้าใช้ไม่ได้
คุณจำเป็นต้องลงชื่อเข้าใช้ให้ได้ จึงจะสามารถลบที่อยู่ Gmail คลิกที่นี่เพื่อกู้คืนการเข้าถึงบัญชีของคุณ
ฉันกำลังใช้ Gmail แบบออฟไลน์
หากคุณใช้ Gmail แบบออฟไลน์ คุณจะต้องลบคุกกี้ที่เชื่อมโยงกับ Gmail แบบออฟไลน์เพื่อนำบัญชีออกอย่างสมบูรณ์ โดยใน Google Chrome ให้ปฏิบัติตามขั้นตอนต่อไปนี้:
  1. พิมพ์ chrome://settings/cookies ลงในแถบที่อยู่และกด Enter
  2. ค้นหา mail.google.com
  3. วางเมาส์เหนือผลการค้นหาและคลิกเครื่องหมาย X ที่ปรากฏขึ้น
ฉันต้องการเรียกคืนบัญชีที่ลบไปแล้วของฉัน
สำเนาที่เหลืออยู่ของข้อความและบัญชีที่ลบไปแล้วจะใช้เวลานาน 60 วันในการลบออกจากเซิร์ฟเวอร์ที่ใช้งานอยู่ของเราและอาจจะยังคงอยู่ในระบบสำรองข้อมูลของเราเป็นเวลาอีกสักระยะหนึ่ง หากคุณลบที่อยู่ Gmail ไปแล้ว แต่ต้องการดึงกลับคืนมา เราจะพยายามช่วยเหลือคุณในการกู้คืนบัญชีดังกล่าวเมื่อสามารถทำได้ อย่างไรก็ตาม โดยปกติแล้วภายในช่วงเวลาสองถึงสามสัปดาห์ บัญชีจะไม่สามารถเรียกคืนได้อีกต่อไป โปรดทราบว่าการกู้คืนจะสามารถทำได้เพียงแค่การกู้คืนชื่อผู้ใช้ที่เชื่อมโยงกับบัญชีนั้นเท่านั้น

การลบ Facebook จากบัญชี

สำหรับผู้ที่ต้องการจะ ลบเฟสบุ๊คแบบถาวร ให้หมดจดเลย แต่ยังหาวิธีไม่ได้สักที วันนี้เดี๋ยวทางทีมงาน Thai-facebook จะพาคุณ ลบ Account ของคุณออกจากเว็บ Facebook กันนะครับ จากครั้งก่อนที่เคยพาทำ วิธีปิด Account แบบชั่วคราว มาแล้ว (Deactivate) ก็ยังสามารถกลับมาใช้ได้อีกเช่นเคย แต่สำหรับครั้งนี้จะเป็น การลบทิ้งทั้งบัญชี เลยครับ (Delete) ซึ่งวิธีนั่นแสนจะง่ายดายครับ มาเริ่มกันเลยดีกว่า 1. ให้คุณ Login เข้าบัญชีเฟสบุ๊คของคุณก่อนนะครับ แล้วให้ไปที่ URL นี้ครับ https://www.facebook.com/help/contact.php?show_form=delete_account แล้วจะพบกับหน้าเว็บเหมือนรูปด้านล่างนี้ครับ 2. ให้คลิกที่ปุ่ม Submit นะครับ เพื่อเป็นการยินยอมให้ลบบัญชีของเรา แล้วบัญชีของเราก็จะถูกปิดลงครับ 3. ที่สำคัญมากๆ นั่นก็คือ ห้าม เข้าไป Login เข้าบัญชีที่คุณปิดอีก ภายในระยะเวลา 2 สัปดาห์ หลังจากที่คุณทำการลบบัญชีคุณไปแล้ว 4. ให้ ลบ History และ Cookies ในเว็บเบราเซอร์ ของคุณออกให้หมดครับ 5. และ ส่งเมล์ ไปแจ้งกับทาง Facebook ด้วยครับว่าต้องการลบ Account นี้รวมถึงข้อมูลต่างๆในเว็บเฟสบุ๊ค ส่งไปที่ info@facebook.com ครับ (ส่งเป็นภาษาอังกฤษนะครับ อิอิ) เพื่อยืนยันว่าเรามีความต้องการที่จะลบบัญชีนี้จริงๆครับ เพียงแค่นี้คุณก็จะสามารถลบบัญชีเฟสบุ๊คของคุณได้อย่างถาวร พร้อมทั้งทำลายข้อมูลทุกๆอย่างที่มีอยู่ในบัญชีของคุณด้วยครับ ค่อนข้างจะง่ายเลยใช่มั้ยละ (ถ้าไม่นับเขียนเมล์เป็นภาษาอังกฤษนะ ฮ่าๆๆ
ที่มา
http://www.thai-fb.com/2011/06/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B5%E0%B8%A5%E0%B8%9A-facebook-%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%96%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%A3/